ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-03-2024, 11:46
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น  (อ่าน 2972 ครั้ง)
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« เมื่อ: 08-07-2008, 23:15 »

สำหรับแนวคิดรวบยอดอันล่าสุด ให้ข้ามไปดูได้ที่ตอนที่ 6 เลยครับ

http://forum.serithai.net/index.php?topic=29267.msg369080#msg369080




*********

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น

ตอนที่ 1

โดย วิหค อัสนี
8 กรกฎาคม 2551

จะขอบอกกล่าวให้ย้อนระลึกถึงจิตวิญญาณแห่งการปฏิรูปการเมือง เมื่อหลายปีก่อนโน้นกันสักหน่อย...

ถ้าใครยังจำได้ ตอนนั้นดูเหมือนเราจะมีความหวังอันสดใสเจิดจ้ากันมากมาย ว่าการเมืองไทยคงจะหลุดพ้นออกจากวังวนน้ำเน่าเดิมๆ ได้เสียที
แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความไร้เดียงสาค่อนข้างมาก
ตอนนี้ ดูเหมือนเราจะมืดมน สิ้นหวังเสียแล้ว มองไปทางไหนก็หาทางออกไม่เจอ
แต่ก็ได้ผ่านประสบการณ์และความเจ็บปวดมาพอดูแล้ว ความรู้ที่เราใช้ได้ผ่านการทดสอบ ลองผิดลองถูกมาอย่างหนักภายในไม่กี่ปีเท่านั้น

วันนี้ คงไม่มีเวลาไหนอีกแล้วนอกจากเวลานี้ ที่เราจะต้องรื้อฟื้นและทบทวนภารกิจใหญ่คือการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคมขึ้นมาใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้รับมาทั้งหมด...ก่อนที่จะสายเกินไป

หลังจากได้เห็นและได้ฟังแบบร่าง "การเมืองใหม่" ที่เขาเสนอกันขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะหลายๆ รูปแบบ ผมก็จะขอเสนอแบบร่างที่ผมเห็นว่าดีบ้าง และก็จะต้องขอความเห็นจากท่านอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนและต่อยอดต่อไป เพราะตอนนี้ยังเป็นแบบร่างอย่างคร่าวๆ มากเท่านั้น

โดยการพัฒนา ปฏิวัติ ปฏิรูป หรืออภิวัฒน์ก็แล้วแต่จะเรียก ไปสู่การเมืองใหม่นี้ ผมพยายามจะเน้นวิถีทาง "ทำจากภายในออกไปภายนอก" "ทำจากเล็กไปหาใหญ่" และ "ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว" ให้มากที่สุด

มาเริ่มจากพื้นฐานที่สุดคือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของส่วนกลางของปวงชน รวมศูนย์เข้าไปที่ประมุขแห่งรัฐ (พระมหากษัตริย์) และถูกแบ่งสรรออกมาเป็นอำนาจ 3 ฝ่าย แต่เดิมจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

แต่ในหลักการเมืองใหม่ ขอเสนอการจัดแบ่งเป็นดังนี้คือ

(1) ฝ่ายบริหาร-พัฒนา

- ภารกิจหลักคือ บริหารราชการแผ่นดิน จัดสรรทรัพยากรส่วนรวมไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เน้นเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ตอบสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป และเป็นตัวแทนของประเทศชาติในประชาคมโลกเป็นหลัก
- ใช้อำนาจในลักษณะค่อนข้างอ่อนตัว ประนีประนอม แต่ก็ใช้อำนาจได้อย่างกว้างขวางและยืดหยุ่นมาก และเน้นเชิงรุก เน้นหลักรัฐศาสตร์
- ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเลือกตั้งมาตามเขตจังหวัดและตามพรรค คล้ายกับที่เป็นอยู่ตอนนี้ แต่ให้ถือว่าทำหน้าที่ฝ่ายบริหารทั้งหมด ให้ถือหลักว่า ส.ส. แต่ละคน ทำหน้าที่พิทักษ์ต่อรองผลประโยชน์ เป็นปากเสียงให้กับประชาชนที่เลือกตนมา และผลักดันแนวคิดของพรรคเป็นหลัก ยกเลิกการมีฝ่ายค้าน แต่อาจมีคณะรัฐบาลเงาซึ่งได้รับเสียงเป็นอันดับสองจากประชาชน พร้อมจะทำหน้าที่ต่อจากคณะรัฐบาลได้ถ้ามีปัญหา
- หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วๆ ไป จะขึ้นกับฝ่ายนี้
- เชื่อมต่อกับภาคประชาชนคือ พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาส่วนท้องถิ่น และองค์กรที่ทำงานในลักษณะของฝ่ายนี้


(2) ฝ่ายมั่นคง-ยุติธรรม

- ภารกิจหลักคือ คุ้มครองรักษาสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน บังคับใช้กฎหมายรักษาความยุติธรรมในสังคม รักษาเอกราช ความมั่นคงของชาติและพิทักษ์พระราชอำนาจ
- ใช้อำนาจในลักษณะแข็งและเด็ดขาดที่สุด แต่ก็ถูกจำกัดขอบเขตในการใช้อำนาจมากที่สุด และเน้นเชิงรับมากกว่าฝ่ายบริหาร (ยกเว้นงานความมั่นคง) เน้นหลักนิติศาสตร์
- ประกอบด้วยส่วนย่อยคือฝ่ายมั่นคง มีกองทัพเป็นแกนหลัก และฝ่ายยุติธรรม มีสถาบันตุลาการเป็นแกนหลัก
- ตำรวจและอัยการ จะต้องแยกจากฝ่ายบริหารมาขึ้นกับฝ่ายยุติธรรม
- เชื่อมต่อกับภาคประชาชนคือ องค์กรอาสาสมัครเฝ้าระวังภัย อาสาสมัครความมั่นคงประเภทต่างๆ และองค์กรที่ทำงานในลักษณะของฝ่ายนี้


(3) ฝ่ายภูมิปัญญา

- ภารกิจหลักคือ รักษาองค์ความรู้และระบบคุณค่าของสังคม ดูแลการศึกษา-ศิลปะ-วัฒนธรรม-ศาสนา คุ้มครองรักษาสื่อมวลชนและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในสังคมให้เป็นไปตามปกติโดยไม่ปิดกั้นหรือบิดเบือน หยั่งวัดสำรวจความคิดเห็นและเป็นผู้ทำประชามติในเรื่องต่างๆ วิพากษ์และชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสังคม รวมทั้งกำหนดมาตรการลงโทษทางสังคมต่อบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานใดๆ ให้คำปรึกษากับอีกสองฝ่าย และ คอยปรับสมดุลระหว่างอำนาจอีกสองฝ่ายที่เหลือ
- ใช้อำนาจในลักษณะเบาบางและมีผลโดยตรงน้อยที่สุด มีการจัดระบบภายในตนเองที่หลวมที่สุด แต่ก็เชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมและกลไกส่วนอื่นๆ มากที่สุด และเปิดกว้างต่อสาธารณะมากที่สุด
- อาจจะให้วุฒิสภาเป็นแกนหลัก และมีองค์กรอิสระต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในลักษณะของฝ่ายนี้เป็นส่วนประกอบ
- เชื่อมต่อกับภาคประชาชนในรูปแบบอื่นๆ ทั้งหมด


แล้วอำนาจนิติบัญญัติล่ะ จะเอาไปไว้ไหน?

อำนาจนิติบัญญัติ คือการออกกฎหมาย ยกเลิกกฎหมาย และแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จะแบ่งสรรไปให้กับแต่ละฝ่ายเพื่อใช้ในขอบเขตภารกิจของตนโดยตรง

นั่นคือฝ่ายบริหารก็ออกกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานบริหารได้ ฝ่ายมั่นคงยุติธรรม และฝ่ายภูมิปัญญาก็มีอำนาจออกกฎหมายในขอบเขตเพื่อใช้ในงานของตน

แต่จะมีกฎหมายส่วนกลาง ตั้งแต่ระดับสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ ลงมาเป็นกฎหมายเสริมรัฐธรรมนูญ กฎหมายหลักมูลฐานทางอาญา,แพ่ง,การเมือง ฯลฯ และกฎหมายจำกัดขอบเขตการบัญญัติกฎหมายของแต่ละฝ่าย ที่ถือว่าจะต้องใช้มติของสองฝ่าย คือฝ่ายบริหารร่วมกับฝ่ายภูมิปัญญา ฝ่ายยุติธรรมร่วมกับฝ่ายภูมิปัญญา หรือไม่ก็ใช้ทั้งสามฝ่ายมาร่วมกัน (เช่นการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ) จึงจะแก้ไขได้


ยังมีต่อครับ ผมจะพยายามเรียบเรียงความคิดมาขยายให้เห็นการทำงานของผังการเมืองแบบใหม่นี้อีกเรื่อยๆ พร้อมกับที่เก็บข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปพร้อมกัน

โปรดติดตามตอนต่อไป...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 14:56 โดย วิหค อัสนี » บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #1 เมื่อ: 08-07-2008, 23:20 »

กระทู้ซ้ำ  (โพสรอบแรกแล้วไม่ติด)

ย้ายมาอันนี้แล้วกันครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-07-2008, 22:03 โดย วิหค อัสนี (ศรีวิชัย) » บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #2 เมื่อ: 21-07-2008, 21:36 »

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น
ตอนที่ 2


โดย วิหค อัสนี
21 กรกฎาคม 2551


วันนี้จะมาขยายความเพิ่มเติม เกี่ยวกับระบบการเมืองใหม่ที่เคยมองไว้ ค่อยๆ ต่อยอดไปเรื่อยๆ

แต่ยังเป็นภาพร่างอย่างหยาบๆ มากอยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องการความเห็นจากท่านอื่นๆ ช่วยกันเสริมแต่ง ขัดเกลาอีกพอสมควรนะครับ

ภารกิจ และแนวคิดในการจัดองค์กร

ฝ่ายบริหาร-พัฒนา
- การทำงานของฝ่ายนี้ ต้องเป็นไปเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ถือสิทธิ์ในกิจการและผลประโยชน์ของชาติอย่างเต็มที่ ให้ประชาชนได้รับการดูแลในเรื่องความเป็นอยู่อย่างทั่วถึง ไม่มีส่วนใดถูกทอดทิ้ง
- เป็นผู้จัดสรรทรัพยากรคืองบประมาณแผ่นดิน ให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 3 ฝ่าย โดยหน่วยงานในแต่ละฝ่ายจัดทำแผนรวบยอดขึ้นมาแล้วอนุมัติ
- คณะรัฐมนตรีนำโดยนายกรัฐมนตรีเป็นแกนหลักฝ่ายบริหาร โดยทำงานร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร รวมเป็นรัฐสภา
- คณะรัฐมนตรีมาจากปาร์ตี้ลิสท์คล้ายๆ กับปัจจุบัน แต่จะออกแนวให้แต่ละพรรคที่ต้องการเข้าเป็นรัฐบาลส่งทีมของตนมารับเลือก พรรคไหนได้คะแนนมากที่สุดก็เอาทีมนั้นเข้ามาเป็นรัฐบาลไปเลย พรรคที่ได้คะแนนรองลงมาก็จะกลายเป็นรัฐบาลเงาหรือรัฐบาลสำรอง (หมายเหตุ: ตรงนี้รู้สึกจะเคยถกเถียงกันมาเยอะว่ามันกลายเป็นระบบประธานาธิบดีไปหรือเปล่า แต่น่าจะมีวิธีทำให้สอดคล้องกับประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขได้)
- ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สส. ให้แยกไปต่างหากเลย ถือว่าเป็นอิสระไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคก็ได้ และจะต้องมีกฎหมายคุ้มครองเอกสิทธิ์ ไม่ให้อำนาจของพรรคการเมืองมาบังคับเหนือการลงความเห็น สส. ในสภาได้โดยเด็ดขาด เพราะ สส. ต้องเป็นผู้รับใช้-รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชนในพื้นที่ และดังนั้น ถึงจะลาออกหรือถูกขับไล่ออกจากพรรคในสมัยประชุม ก็ยังทำหน้าที่ สส. ต่อไปได้ ถ้าไม่ไปทำความผิดอะไรหรือขาดคุณสมบัติบางอย่างที่ขัดต่อการเป็น สส.
- แต่ให้คนในเขตพื้นที่สามารถยื่นถอดถอน สส. ของตนเองได้โดยตรงเมื่อเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม สร้างความเสียหายต่างๆ (อาจจะกำหนดจำนวนคนที่ต้องใช้ เป็นสัดส่วนกับจำนวนคะแนนเสียงตอนได้รับเลือกเข้าไป กำหนดเป็นช่วงๆ หรือจะกำหนดตายตัว อันนี้ยังไม่แน่ใจว่าอย่างไหนจะเหมาะกว่า)


ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม
- การทำงานของฝ่ายนี้ ต้องเป็นไปเพื่อปกป้องคุ้มครองให้ประเทศชาติและประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในขั้นพื้นฐานที่สุด ให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป ประชาชนมีความเคารพและสามารถพึ่งพากฎหมายได้ ไม่ถูกคุกคามจากภายนอก ภายใน และจากอำนาจรัฐ-อำนาจการเมือง และมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการเยียวยา ชดใช้ความเสียหายถ้าเกิดการล่วงละเมิด
- ให้มีสภาตุลาการแผ่นดินหรือสภายุติธรรมเป็นแกนหลัก มีฝ่ายความมั่นคงคือกองทัพแยกออกไปเป็นแขนงรองอีกแขนงหนึ่ง
- หน่วยงานความมั่นคง กองทัพ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้และเปิดเผยต่อสาธารณะ สามารถเข้าไปช่วยในงานพัฒนา สาธารณประโยชน์ต่างๆ โดยประสานงานกับอีกสองฝ่าย ถ้าเป็นกิจการเร่งด่วนและ/หรือจำเป็นต้องมีความลับ สามารถเคลื่อนไหวได้โดยประสานกับฝ่ายรัฐบาลโดยตรง
- สำนักงานตำรวจ และสำนักงานอัยการ ขึ้นตรงต่อฝ่ายตุลาการ


ฝ่ายภูมิปัญญา
- การทำงานของฝ่ายนี้ ต้องเป็นไปเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของความเป็นสังคมส่วนรวม เก็บรักษาและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งทางศิลปะ วิทยาการ ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ในสังคมชาติ เป็นผู้นำในการพัฒนาทางการเมือง ถึงที่สุดคือต่อสู้เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับพลังภาคประชาสังคม ป้องกันไม่ให้เกิดการปิดหูปิดตา ปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ป้องกันไม่ให้เกิดการเข้ายึดกุมกลไกของประเทศชาติอย่างเบ็ดเสร็จได้
- แกนหลักของฝ่ายนี้ น่าจะเป็นวุฒิสภา ทำหน้าที่ลงมติรับรองในการคัดสรรองค์กรอิสระต่างๆ เป็นผู้ตรวจสอบกลั่นกรองเมื่อต้องเปิดสภาร่วมกับฝ่ายอื่นๆ เพื่อพิจารณากฎหมาย เป็นผู้เปิดสภาเพื่อซักถามการดำเนินงานทั่วๆ ไปของรัฐบาลเป็นสมัยสามัญ และเปิดสภาไต่สวน อภิปราย ซักฟอกรัฐบาลเป็นสมัยวิสามัญเมื่อเกิดเหตุขึ้น
- วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ และแต่ละวงวิชาชีพหรือกลุ่มสังคม ที่ต้องกำหนดไว้ให้ครอบคลุมโดยไม่มากมายซ้ำซ้อนจนเกินไป (อาจจะมีกำหนดโครงสร้างแตกแขนงออกไปเป็นวงย่อยๆ)
- การเลือกตั้ง สว. จากพื้นที่ ละไว้ไม่ขออธิบาย (น่าจะเหมือนๆ กับที่เป็นอยู่ตอนนี้) ส่วนการกำหนดผู้มีสิทธิออกเสียงของแต่ละกลุ่ม จะต้องมีการรับรองสถานะขององค์กรในแต่ละวงวิชาชีพหรือกลุ่มสังคม (อันนี้จะเอาไปใช้ในการเลือกสรรคณะกรรมการอิสระต่างๆ ด้วย) ต้องใช้เงื่อนไขที่ค่อนข้างตายตัวและพิสูจน์ได้ง่ายๆ เช่น มีหลักฐานว่าบุคคลหรือองค์กรนี้เป็นผู้ประกอบกิจการประเภทนี้ๆ มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปีๆ ก็มีสิทธิไปยื่นขอให้รับรองสถานะบุคคลหรือองค์กรนั้นในวงการนั้นๆ แล้วตอนหลังก็ให้ส่งตัวแทนองค์กรหรือนำตัวเองเข้ามาเลือกกันเองอีกทีในแต่ละวงให้เหลือจำนวนเท่าที่ต้องการ
- เรื่องวงสังคม/วิชาชีพ ตรงนี้อาจจะนำรูปแบบของ "กลุ่มภารกิจ" ที่สอดคล้องเกี่ยวเนื่องกัน แบบที่มีคนเสนอไว้ในเว็บบอร์ดเสรีไทย มาปรับใช้
- งานใหญ่อีกด้านของ สว. จะอยู่ที่ การเป็นเจ้าภาพเลือกสรรองค์กรอิสระในการตรวจสอบการบริหารราชการ องค์กรอิสระที่กำกับด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา ด้านสังคม-วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องอาศัยการเลือกกันเข้ามาจากวงวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ถ่วงดุลกับตัวแทนจากวงอื่นๆ ที่มีความหลากหลาย
- หน่วยงานเช่น สภาที่ปรึกษาแห่งชาติ ก็จะมาอยู่กับฝ่ายนี้
- งานอื่นๆ เช่น การหยั่งสำรวจความเห็นของประชาชนผ่านการกำกับดูแลสำนักโพลต่างๆ การเข้าไปเชื่อมต่อและให้การสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ
- องค์กรในฝ่ายนี้ ที่ดำเนินงานในด้านสังคม-วัฒนธรรม มีภารกิจที่จะรักษาคุณค่าทางสังคม ศีลธรรมอันดีของประชาชน และมีอำนาจที่จะออกกฎระเบียบต่างๆ บังคับใช้ได้ภายในเขตอำนาจของตน เช่น ระเบียบในสถานศึกษา ระเบียบในวัด โบราณสถาน สถานที่สำคัญต่างๆ และมีอำนาจที่จะออกมาตรการเพื่อกีดกันขัดขวางสิ่งที่เห็นว่าทำให้สังคมเสื่อมได้ โดยไม่ได้มีลักษณะเป็นการห้ามเด็ดขาด หรือตราว่า "คนไทยไม่มีสิทธิทำ แตะต้อง หรือได้รู้ได้เห็นสิ่งนี้" เหมือนกฎทางอาญา แต่เป็นไปเพื่อจำกัดมันให้อยู่ในที่ๆ ควรอยู่ และไม่ให้แพร่หลายมากกว่าที่จำเป็นเท่านั้น ยกเว้นบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้มาตรการอย่างแข็งกว่าปกติ ก็ต้องทำงานร่วมกับฝ่ายยุติธรรมเพื่อออกกฎนั้นๆ
- องค์กรในฝ่ายนี้ ที่ดำเนินงานในด้านสื่อสารมวลชน ข้อมูลข่าวสาร การศึกษา จะต้องทำงานด้วยหลักความโปร่งใส ความหลากหลาย และเป็นเสรีนิยม (ที่มีความรับผิดชอบ) มากกว่าอำนาจส่วนอื่นๆ


รูปแบบความสัมพันธ์ การตรวจสอบ-ถ่วงดุล-คานอำนาจระหว่างฝ่ายต่างๆ

- กกต. กลาง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งและลงประชามติเป็นการทั่วไป อาจจะมาจากการลงมติเลือกสรรร่วมกันทั้งสามฝ่าย
- ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) มีความคล่องตัว และสิทธิอำนาจเต็มที่ ในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากร สำหรับการทำงานบำบัดทุกข์-บำรุงสุขให้กับประชาชน สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติ แต่จะไม่มีอำนาจของกองกำลังตำรวจ-ทหาร-ตุลาการ ที่จะไปคุกคามหรือบีบบังคับประชาชนหรือหน่วยงานฝ่ายอื่นได้ และไม่มีอำนาจที่จะไปยึดสื่อเป็นกระบอกเสียงในการโฆษณาชวนเชื่อฝ่ายเดียวล้างสมองประชาชน (แต่ก็จะต้องมีกฎหมายกำหนดให้แบ่งช่องทางสื่อของรัฐไว้ส่วนหนึ่ง ให้รัฐบาลมีโอกาสประชาสัมพันธ์ผลงานได้เรื่อยๆ ด้วย)
- ฝ่ายภูมิปัญญา ดูแลสื่อมวลชนและช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ดูแลนโยบาย-หลักสูตร-สถาบันการศึกษาทั้งหมด นอกจากนี้ต้องมีบทบาทเป็นผู้นำทางความคิด ช่วยค้นหาและกระตุ้นการพัฒนาประชาธิปไตย ต่อสู้เพื่อป้องกันเสรีภาพทางความคิดและข้อมูลข่าวสารของสังคม วินิจฉัยชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นสาธารณะ ช่วยป้องกันสังคมจากความเท็จ ความบิดเบือน ฉ้อฉลต่างๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีอำนาจไปชี้เป็นชี้ตายใครได้โดยตรง แต่มีมาตรการลงโทษทางสังคมเช่นการออกมติตำหนิและประณามอย่างเป็นทางการ (ใช้ตอบโต้พวกศรีธนญชัย ที่ถือว่ายังไม่ได้ทำผิดกฎหมายแบบโจ๋งครึ่ม ยังไม่ถูกจับเข้าคุก ก็ยังเกาะติดเก้าอี้ต่อไปได้เรื่อยๆ ถึงจะทำอะไรฝืนหลักความชอบธรรมทางการเมืองและจริยธรรมมากแค่ไหนก็ตาม มาตรการเหล่านี้ไม่ทำให้เขาหลุดออกจากเก้าอี้ แต่จะยันไว้ไม่ให้เขาลอยหน้าลอยตาออกมาอวดอ้างเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ทำถูกต้องทุกอย่าง แล้วโจมตีว่ามีฝ่ายตรงข้ามที่เอาแต่จ้องทำลายไปได้ และการตัดสินเหล่านี้จะเอาไปเพิ่มน้ำหนักการต่อสู้ในศาลได้อีก)
- ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม มีลักษณะเป็นระบบปิดมากที่สุดโดยธรรมชาติ มีกำลังอำนาจแข็งที่สุด ทั้งทหาร-ตำรวจ-ศาล แต่ถูกจำกัดความเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวดและจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงยึดหลักกฎหมายมากที่สุดด้วย ถ้าบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤตเมื่อไหร่ ฝ่ายนี้ต้องเป็นเสาสุดท้ายที่จะตั้งอยู่ไม่ล้มลงไป แต่ถ้ามีความเสื่อมเกิดขึ้นภายในจะกระทบกระเทือนถึงพระราชอำนาจอย่างรุนแรงที่สุด การทำผิด ใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงานยุติธรรมในทุกระดับจำเป็นต้องมีโทษทางกฎหมายที่รุนแรงมาก (เช่นถ้าผู้พิพากษารับสินบนในคดีอาญาแผ่นดินและคดีการเมือง ต้องมีโทษในระดับใกล้เคียงกับการก่อกบฎ ขั้นสูงสุดคือประหารชีวิต)
- ไม่ให้มี สส. ฝ่ายค้านที่ถูกตั้งไว้ให้ทำหน้าที่ยืนตรงข้ามเพื่อค้านรัฐบาลเป็นกิจจะลักษณะ (แต่ในขณะเดียวกันก็อยู่ในฐานะคู่แข่งโดยตรงของพรรครัฐบาล) อีกแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้พรรครัฐบาลที่ประสงค์ร้ายยัดเยียดบทให้เป็น "ตัวอิจฉา" หรือตั้งขึ้นมาเป็น "เป้านิ่ง" เป้าใหญ่ๆ สำหรับโจมตี เป็นข้ออ้างโยนความผิดไปให้ เป็นเครื่องมือปลุกกระแสต่อต้านและแบ่งแยกในหมู่ประชาชน นำไปสู่เผด็จการรัฐสภาและการครอบงำเบ็ดเสร็จนั่นเอง
- เมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ตาม จงใจใช้อำนาจเกินขอบเขตของตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างทางการเมือง อีกสองฝ่ายมีอำนาจและมีหน้าที่ที่จะประกาศจำกัดขอบเขตอำนาจของฝ่ายที่ล้ำเส้นลงไปชั่วคราว และให้เปิดเวทีกลางสะสางวิกฤตทางการเมือง (จะอธิบายต่อในหัวข้อ กลไกแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง)
- ถ้ามีสองฝ่ายใดๆ รวมกันมุ่งขัดขวางและทำลายอีกฝ่ายที่เหลือ อีกฝ่ายมีอำนาจและมีหน้าที่ที่จะประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนในชาติโดยส่วนรวม เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจของอีกสองฝ่ายลงไปชั่วคราวอีกเหมือนกัน และให้เปิดเวทีกลางสะสางวิกฤตทางการเมืองโดยทันที


ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและงบประมาณ

- ให้ภาษีที่จัดเก็บจากแต่ละท้องถิ่น มีการแบ่งสัดส่วน ให้วนกลับไปในท้องถิ่นนั้นมากขึ้น โดยภาษีส่วนกลางที่จะเอาเข้ามาเป็นงบประมาณแผ่นดิน ให้ถือว่าดึงจากงบฯ ของแต่ละท้องถิ่นมารวมกันอีกทีเท่าที่จำเป็น ตามที่กฎหมายกลางให้อำนาจคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนฯ ไว้ แต่จะต้องมีความเป็นธรรมต่อทุกภูมิภาค ทุกจังหวัด และเป็นไปตามความจำเป็นของประชาชนส่วนรวม (อาจจะมีการจัดเก็บขึ้นมาแบบทุกจังหวัดเข้าส่วนกลางโดยตรง หรือรวมเป็นงบระดับภูมิภาคก่อนอีกชั้น)
- ถ้ามีเมกะโปรเจ็กต์ หรือโครงการพัฒนาใดๆ ก็ตามที่เป็นประโยชน์ และ/หรือส่งผลกระทบกับประชาชนในหลายจังหวัด หลายภูมิภาค ก็ให้รัฐบาลจัดทำโครงการขึ้นมา แล้วกำหนดให้เอางบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ของจังหวัด ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมารวมกันสำหรับทำโครงการนั้นๆ แล้วแบ่งงบส่วนกลางลงไปเสริม (ท้องถิ่นที่มาร่วมโครงการไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ติดกันเสมอไป เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกพืชบางอย่างที่ทำได้ในบางพื้นที่ที่มีสภาพเหมาะสม แต่อยู่กระจัดกระจายออกไปทั่วประเทศ)
- วิธีนี้ จะทำให้แต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาคมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการบังคับให้ต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น ป้องกันไม่ให้มีการแย่งผันงบ พัฒนาท้องถิ่นจากงบฯ ส่วนกลางไปลงจังหวัดของนายกหรือ สส. แกนนำรัฐบาลอย่างฟุ่มเฟือยเหมือนในอดีต และเพื่อเป็นการคลายชนวนความขัดแย้งทางการเมืองที่วิวาทะและสร้างกระแสต่อสู้กันมากในพักหลังๆ ว่า ภาคนั้นท้องถิ่นนั้นสูบเอาทรัพยากรหยาดเหงื่อแรงงานจากคนภาคอื่นๆ ไปใช้สร้างรากฐานของตนเอง หรือคนภาคนี้ทำมาหากินเสียภาษีตั้งเยอะให้ภาคโน้นเอาไปถลุง ฯลฯ


ยังมีต่อครับ

โปรดติดตามตอนต่อไป...

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
bangkaa
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407



« ตอบ #3 เมื่อ: 21-07-2008, 23:02 »

ถ้ามองการเมืองในด้านของผู้ปกครอง...ดูที่ 2 อย่าง...

1. คนที่มีอำนาจรัฐ

2. ระบบการเมือง การปกครอง

ถ้าคนดี...ระบบดี...  การเมืองก็ควรจะออกมาดี...

ถ้าคนดี... ระบบไม่ดี... ก็อาจจะไม่ราบรื่น ไม่มีประสิทธิภาพ... แต่น่าจะใช้ได้อยู่...

ถ้าคนไม่ดี... ระบบดี... ยังไงก็ไม่แน่ว่าจะออกมาดี

ถ้าคนไม่ดี...ระบบก็ไม่ดี... เลิกพูดไปเลย จบเห่...

ถ้าสมมุติฐานเป็นอย่างที่ว่า...จะเห็นได้ว่าสำคัญที่สุดก็คือ คนที่มีอำนาจรัฐนั่นเอง

..........................................................

แล้วสถานะของประเทศไทยตอนนี้เป็นไง

ผู้มีอำนาจรัฐ... ไม่รู้สิ ลิ่วล้ออาจไม่เห็นด้วยกับผม... แต่ผมว่า ผู้มีอำนาจรัฐตอนนี้ไม่ได้เรื่อง (อันนี้ให้เกียรติแล้วนะ)

ระบบการเมือง การปกครอง... ก็อย่างที่ว่ากัน ผมก็เห็นว่า ประชาธิปไตยเรามันยังไม่ดีพอ... ความเลวร้ายทางการเมืองตั้งแต่ 2475 มาถึงตอนนี้เป็นหลักฐาน...
รัฐธรรมนูญที่เขียนก็ไม่ดีพอไม่ว่าฉบับไหนๆ... รวมทั้ง 2540 และ 2550 ด้วย...

...........................................................

ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ต้องทำก่อนคือ... แก้ระบบก่อนเป็นอันดับแรก... เพราะแก้ที่คนมีอำนาจมันไม่ง่ายมั้ง...
อันนี้ไม่ได้ สนับสนุนให้แก้รัฐธรรมนูญแบบ พปช. นะ พวกนี้มันแก้เพื่อตัวเอง ไม่ช่วยอะไรดีขึ้นหรอก...
ต้องแก้ให้ถูดจุด ถูกที่ ถูกเวลา... ผู้แก้ก็ต้องมีความเหมาะสม...

และถ้าผู้มีอำนาจไม่ดี... การเมืองภาคประชาชน ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีในการกดดันให้นักการเมืองไม่ทำตัวเลว
เพียงแต่ ต้องเป็นเสียงมวลชนที่พร้อมเพรียงกัน...
ที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ดีขึ้น...แต่ส่วนใหญ่ คนไทยก็ยังไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจเรื่องสาธารณะ สนแต่เรื่องตัวเอง... ทั้งพร้อมสนับสนุนนักการเมืองเลว แลกกับผลประโยชน์ที่ตนจะได้
กว่าจะถึงที่คาดหวังก็ไม่รู้อีกนานไหม...


................................................copy ของตัวเองมาครับ


 
บันทึกการเข้า

มาทำหน้าที่... ใช้หนี้แผ่นดิน...และมาทำบุญ...
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22-07-2008, 11:43 »

วิเคราะห์ได้ดีมากครับ

ยังติดตามผลงานตอนต่อไปนะครับ

 
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #5 เมื่อ: 22-07-2008, 11:47 »

น้ำท่วมทุ่ง...ผักบุ้งโหรงเหรง   ฝนตกขี้หมูไหล....คน_ะไรคิดได้อย่าง_ะไร  คริ คริ
บันทึกการเข้า
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #6 เมื่อ: 06-09-2008, 23:05 »

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น
ตอนที่ 3


โดย วิหค อัสนี
6 กันยายน 2551


ปัญหาว่าด้วยระบบการเมืองใหม่ 70:30 หรือสภาวิชาชีพ กลุ่มสังคม

จากกระแสการเมืองใหม่ที่พันธมิตรเคยจุดกระแสไว้ในชื่อ 70:30 และถูกนำมาใช้เป็นประเด็นโจมตีจากฝ่ายอื่นๆ อยู่ในขณะนี้ ผมก็รวบรวมเอาข้อมูลมาบางส่วน รวมทั้งคำวิจารณ์จากฝ่ายต่างๆ มาศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ผมเสนอไว้ และพบว่า

- การสรรหา 70 ส่วน (หรือจะกี่ส่วนก็แล้วแต่) ที่ว่าสรรหา อาจถูกเข้าใจผิดโดยนัยของข้อความไปได้ง่ายๆ ว่าหมายถึงแต่งตั้ง แต่ที่จริงแล้วหมายถึงการเลือกตั้งจากสมาคม วงการวิชาชีพและวงสังคมต่างๆ ขึ้นมาเป็นตัวแทนคู่ขนานกับตัวแทนตามเขตพื้นที่
- แต่ระบบการสรรหาแบบที่ว่านี้ก็ถูกต่อต้าน เพราะเขาบอกว่ามันทำให้คนที่ไม่มีงานทำ หรือคนที่ไม่ได้สังกัดองค์กรวิชาชีพหรือกลุ่มสังคมใดๆ มีสิทธิ์มีเสียงในรัฐสภาน้อยกว่าคนที่สังกัดองค์กรเหล่านี้ ขัดกับระบบ 1 คน 1 เสียง ในระบอบประชาธิปไตย

- ผมมองในแง่ที่ว่า ระบบ 1 คน 1 เสียง คือความเท่าเทียมกันของประชาชนทุกคน เป็นหลักการทั่วไป แต่ไม่ใช่ว่าจะเอาไปหลับหูหลับตาใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ทุกอย่าง
- ขอถามทุกท่านว่า ถ้าอยู่ๆ วันหนึ่ง รัฐบาลจะมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน้าบ้านท่าน ท่านจะยอมให้รัฐบาลอ้างเอาเสียง สส. จากคนหมู่บ้านอื่น จังหวัดอื่น ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลนี้ทั่วประเทศ แต่พวกเขาไม่ได้มารับผลอะไรกับหมู่บ้านของท่านด้วย มาขู่บังคับให้ชาวบ้านอย่างท่านหุบปากแล้วยอมรับโดยดุษฎีหรือเปล่า? ถึงเขาอาจจะอ้างคำว่า "ประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง" ก็ตาม แต่ถามใจท่านเถอะว่า...แบบนี้เป็นความยุติธรรมแล้วหรือไม่?

- ในสังคมประเทศชาติแต่ไหนแต่ไรมาจนถึงทุกวันนี้ ย่อมต้องมีหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะ ทำงานที่มีความสำคัญ แต่ลึกลับซับซ้อนมากน้อยต่างกันไปจนคนทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้รู้เรื่องด้วย และจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อไม่ถูกอิทธิพลภายนอกเข้าไปแทรกแซงให้วุ่นวายมากนัก
- ถ้าญาติผู้ใหญ่ของท่านกำลังป่วยหนัก และแพทย์ประจำหมู่บ้านกำลังดูอาการอยู่ ท่านจะอยากให้ผู้ใหญ่บ้านโผล่มา แล้วก็อ้างว่า "เขาเป็นตัวแทนของคนในหมู่บ้านนับพันคน จึงขอสั่งให้แพทย์ต้องรักษาตามที่ผู้ใหญ่บ้านต้องการ อย่าอวดฉลาดเพราะหมอ 1 เสียง ชาวบ้านแต่ละคนก็ 1 เสียงเท่าเทียมกัน" หรือไม่?
- ถ้าท่านเป็นหมอ เป็นสถาปนิก เป็นวิศวกร เป็นคนทำงานระบบการเงินการคลังของประเทศ หรือแม้แต่เป็นเกษตรกร เป็นผู้ค้าปลีก ท่านจะยอมหรือไม่ ที่จะปล่อยให้นักการเมืองที่ถืออำนาจรัฐ มาออกกฎหมาย ข้อบังคับที่กระทบต่อวิชาชีพของท่านตามใจชอบ ทั้งที่เขาไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับกิจการงานนั้นๆ เลย แล้วก็อ้างเสียงของประชาชนทั่วไปในประเทศว่าต้องให้น้ำหนักคนละ 1 เสียง เท่ากันหมด ถึงจะเป็นประชาธิปไตย?

- สิ่งเหล่านี้ นำมาจากหลักธรรมชาติที่ว่า "ใครไม่เกี่ยวข้อง และไม่มีความรู้ในเรื่องใด ก็ไม่ควรไปอ้างเสียงร่วมตัดสินใจในเรื่องนั้นเท่ากับคนที่เขารู้ เขาได้รับผลกระทบโดยตรงจากเรื่องนั้น"

- ดังนั้น ผมจะขอเสนอระบบการเมืองใหม่ที่ปรับปรุงล่าสุด ให้ "สภาประชาสังคมแห่งชาติ" หรือ สปช. เป็นแกนหลักของอำนาจฝ่ายภูมิปัญญา ซึ่งจะทำงานได้ตามเงื่อนไขเฉพาะ ไม่ได้มามีอำนาจตัดสินใจกิจการต่างๆ ทั่วไปโดยตรง จึงไม่อาจกล่าวว่าไปล่วงล้ำหรือเบียดบังสิทธิ์ของประชาชนแบบ 1 คน 1 เสียงตามเขตพื้นที่ได้
- หรืออาจจะดึงเอาวุฒิสภาแยกจากฝ่ายบริหารมาเป็นแกนหลักของฝ่ายภูมิปัญญา ตามที่เคยออกแบบไว้แต่เดิม แล้วให้องค์กรนี้มีบทบาทรองจากวุฒิสภาอีกทีหนึ่ง (อาจดูเหมือนซ้ำซ้อน แต่ สปช. จะเปิดกว้างกว่า ยืดหยุ่นกว่า และครอบคลุมกลุ่มวงการต่างๆ ในสังคมมากกว่า)
- สปช. นี้ สมาชิกไม่จำเป็นต้องอยู่รับเงินเดือนประจำจากภาษีประชาชน เพียงแต่ให้รับรองสถานะทางกฎหมายขององค์กรนี้ในฝ่ายภูมิปัญญา จะเรียกประชุมกันเมื่อมีภารกิจให้พิจารณาเท่านั้น (แต่การเรียกประชุมแต่ละครั้งก็ควรมีเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้ และมีข้อผูกมัดว่าถ้าไม่ยอมเข้าประชุมตามที่ถูกเรียกโดยไม่มีเหตุอันควรเกินกี่ครั้งให้เป็นอันพ้นสภาพไป เลือกตัวแทนในวงนั้นๆ ซ่อมใหม่) และส่วนมากก็ไม่จำเป็นต้องประชุมร่วมกันทั้งสภาในทุกวาระ แต่จะมีการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการต่างๆ ของแต่ละวงสังคมอย่างเป็นเอกเทศจากกัน มีสปช. เป็นผู้กำกับนโยบายและแนวทางโดยรวม
- ส่วนฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐบาล ก็อาจจะใช้ปาร์ตี้ลิสท์แบบเดิม ให้เข้ามาเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร ก็ยังคงอาศัยการเลือกตั้งตามเขตแบบเดิมเป็นหลัก วุฒิสภา อาจจะคงไว้ในรูปแบบเดิม หรือจะเปลี่ยนให้เป็นเลือกตั้งตามเขตเหมือน สส. ก็ได้ และให้สมาชิกคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รวมกันอยู่ภายใต้รัฐสภา (ถ้าไม่แยกวุฒิสภาไปทำเป็นหัวของฝ่ายภูมิปัญญา)

- ปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของเสียงในวงวิชาชีพและวงสังคม อาจแก้ได้โดย ให้แต่ละคนใช้สิทธิ์เลือกตัวแทนวงวิชาชีพหรือวงสังคมได้ครั้งละ 1 เสียงเท่านั้น เมื่อมีการเลือกตั้งตัวแทนของ 1 วงสังคมเสร็จแล้ว ทุกคนที่เข้าใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนั้น จะไม่มีสิทธิ์เลือกตัวแทนของวงสังคมอื่นๆ อีก จนกว่าจะตัวแทนที่ถูกเลือกมาในวงสังคมเดิมจะครบวาระหรือพ้นสภาพออกไปเสียก่อน เพราะฉะนั้นคนแต่ละคนก็ต้องเลือกเอาว่าตนเองจะออกเสียงเลือกตัวแทนในฐานะสมาชิกของวงสังคมไหนดีในช่วงเวลานั้นๆ
- ที่จริงเราอาจจะใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว คือการทำประชามติ หรือประชาพิจารณ์เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาเฉพาะที่มีผลกระทบกับผู้คนก็ได้ โดยไม่ต้องมีตัวแทนอย่างเป็นทางการของแต่ละสาขาอาชีพ แต่ละวงสังคม แต่กลไกเหล่านี้อาจจะสิ้นเปลืองและหละหลวมเกินไปที่จะมีพลังขับเคลื่อนต่อเนื่องกันและมีการสะสมองค์ความรู้ไว้พัฒนาต่อยอดได้

ประเด็นเสริม ของการมีตัวแทนกลุ่มสังคม
- ประเด็นแถมอีกอย่างก็คือ คนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ที่หนึ่ง แต่กลับไม่ได้อาศัยประจำในที่นั้น อาจจะเข้ามาเช่าที่พักอาศัยและทำงานในเมืองใหญ่ หรือคนทำงานที่ต้องเดินทางไปเรื่อยๆ ไม่มีหลักแหล่งแน่นอน แต่มีความผูกพันกับงานและวงสังคมเฉพาะของตนอย่างสูง
- พวกเขาไม่สามารถจะใช้เสียงของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเมื่อชีวิตและบทบาทส่วนใหญ่ของเขา ไม่ได้อยู่กับเขตพื้นที่ตามทะเบียนบ้าน ถ้าหากเราเปิดช่องทางให้มีตัวแทนของวงสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการได้ ก็จะช่วยชดเชยตรงนี้

- พูดถึงคนที่อยู่อาศัยและทำงานในเมืองใหญ่ๆ โดยมีทะเบียนบ้านอยู่ที่อื่นจำนวนมาก อย่างผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่อยู่ใน กทม. เป็นประจำมาเกือบสิบปี และจึงต้องได้รับผลจากนโยบายของ กทม. อย่างมาก แต่ไม่เคยมีสิทธิ์เลือกผู้ว่า กทม. กลับต้องไปลงคะแนนเสียงเลือก สส. สว. และตัวแทนระดับท้องถิ่นในจังหวัดที่ผมแทบไม่รู้จักใครเลย และเกือบจะเป็นเสียงที่เสียไปเปล่าๆ อย่างน่าเสียดายมาตลอดหลายปีนี้ เพราะเรายึดติดกับการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่เพียงอย่างเดียว
- ในตัวอย่างนี้ ถ้ามีการจัดตั้งเวทีหรือองค์กรอย่าง "ประชาคม กทม." ให้คนที่ไม่ได้มีทะเบียนบ้าน แต่อยู่อาศัยประจำใน กทม. มีโอกาสได้เข้าไปมีสิทธิ์เสียงในกิจการต่างๆ ของเมืองด้วย โดยมีเงื่อนไข ข้อผูกมัดอะไรตามสมควร ผมคนหนึ่งก็ยินดีจะเข้าร่วมด้วยตราบใดที่ผมยังอยู่ ไม่อพยพไปจังหวัดอื่นซะก่อน

โปรดติดตามตอนต่อไป...

*********

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
Augustine
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 219



« ตอบ #7 เมื่อ: 07-09-2008, 02:38 »

การเมืองใหม่ โดนรัฐบาลยิงพรุนเลยครับ ข้างนอก...
แม่ง พล่ามทุกวัน

ก่อนอื่น อย่าลืมทำความเข้าใจกับผู้รับสารด้วย ว่าระบบตัวแทนพื้นที่ มันก็"ห่วย"
บันทึกการเข้า


ประชาธิปไตย...   ...ที่ไหนเค้าทำกันแบบนี้

วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #8 เมื่อ: 14-09-2008, 23:41 »

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น
ตอนที่ 4


โดย วิหค อัสนี
14 กันยายน 2551


เพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้งสามฝ่าย

การเมืองใหม่นี้ จะต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า แต่ละฝ่ายในอำนาจทั้งสามฝ่าย มีเครื่องมือที่จะถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้เพียงพอ
มิใช่การให้ความเชื่อไว้ก่อนว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่มีการล้ำเส้นกัน

ระบบถ่วงดุลที่เสนอไว้คร่าวๆ อาจยังมีช่องโหว่อยู่มาก ขอให้ช่วยกันพิจารณาและตรวจสอบดูนะครับ

ฝ่ายบริหาร:
- อำนาจจัดสรร อนุมัติงบประมาณแผ่นดินให้กับโครงการและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของอีก 2 ฝ่าย
- เอกสิทธิ์คุ้มครองทางกฎหมาย
- อำนาจการทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ ขอพระราชทานลดโทษ สำหรับคดีทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ต้องมีเงื่อนไขกำกับไว้ชัดเจนว่าคดีลักษณะไหนบ้างที่ทำได้
- อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามระดับต่างๆ ให้ฝ่ายบริหารโดยรัฐบาล โดย ครม. โดยนายกรัฐมนตรี เริ่มต้นประกาศภาวะเหล่านี้ได้เหมือนเดิม แต่ให้แบ่งระดับมากขึ้นเป็นภาวะฉุกเฉิน ภาวะอันตราย ภาวะเฝ้าระวัง ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจฉุกเฉินพร่ำเพรื่อ โดยมีหน่วยงาน กอ.รมน. แต่งตั้งจากฝ่ายบริหารและฝ่ายความมั่นคงร่วมกันเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติ และให้มีเงื่อนไขมากขึ้นในการรักษาประกาศให้มีผลต่อไป และมีบทลงโทษถ้าเอามาใช้ในทางที่ผิด
- อำนาจเรียกขอกำลังตำรวจ ทหาร หรือฝ่ายงานความมั่นคงอื่นๆ มาคุ้มครองหรือช่วยสนับสนุนในการงานของฝ่ายบริหาร ในระยะสั้นหรือยาว (แต่ต้นสังกัดของกำลังพลเหล่านี้ต้องอยู่กับฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรมอย่างถาวร)

ฝ่ายภูมิปัญญา:
- อำนาจเลือกสรรองค์กรอิสระ ให้ไปตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่ายยุติธรรม รวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อยื่นเรื่องถอดถอนฝ่ายบริหารต่อตุลาการ และถวายฎีการ้องเรียนเกี่ยวกับฝ่ายยุติธรรม ขอความคุ้มครอง (เช่น ขอให้เปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษาในบางคดี) ได้ นอกจากนั้นก็เป็นองค์กรอิสระกำกับสื่อมวลชนและจัดสรรช่องทางการสื่อสารของชาติ
- อำนาจกำกับวิชาชีพต่างๆ ผ่านทางระบบควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพ
- มาตรการลงโทษทางสังคม

ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม:
- อำนาจการทำภารกิจหาข่าวและป้องปราม
- อำนาจการสืบสวน สอบสวน รวบรวมหลักฐานส่งฟ้อง
- อำนาจตัดสินคดีความ และวินิจฉัยตีความเรื่องต่างๆ ตามกฎหมาย
- อำนาจบังคับคดี


เกี่ยวกับการรวมฝ่ายความมั่นคงไว้ภายใต้ฝ่ายยุติธรรม

ถ้าพิจารณาปัญหา ระหว่าง "มีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย" กับ "กองกำลังต่างชาติบุกรุกเข้ามายึดครองพื้นที่ชายแดนในเขตประเทศไทย" เราก็อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการ "ทำผิดต่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของไทย" เป็นการ "ละเมิดกฎหมายไทย" เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ในทางหลักการ งานความมั่นคงสามารถรวมเข้าไว้ใต้ฝ่ายงานยุติธรรมได้ ด้วยธรรมชาติงานที่เป็นการรักษาความถูกต้องทางกฎหมาย และรักษาอำนาจอธิปไตย

ถึงจะเป็นในสนามรบ ที่ดูว่าไม่ใช่สภาพแวดล้อมของความ "ยุติธรรม" ตามปกติ แต่ก็อาจมองได้ว่า เมื่อไหร่ที่มีการประกาศภาวะสงครามแล้ว และมีทหารได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ให้ไปป้องกันพื้นที่หรือเข้าตียึดพื้นที่ใดๆ นั่นคือเขาได้รับอำนาจมาตามกฎ และไปกระทำภารกิจต่างๆ ถึงจะมีการทิ้งระเบิด ยิงข้าศึกตาย กวาดต้อนพลเรือนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ทั้งหมดก็เป็นไปตามกฎ เป็นการบังคับกฎ บังคับใช้อำนาจของรัฐที่จะต่อสู้กับข้าศึกในภาวะสงครามนั่นเอง


เกี่ยวกับการแบ่งสรรอำนาจนิติบัญญัติ

ผมได้เสนอไว้ไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติแยกเป็นอำนาจอีกฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ให้เป็นอำนาจกลางที่ถูกแบ่งสรรให้ทุกฝ่าย และมีจุดร่วมกัน
เพราะเมื่อดูถึงลักษณะของการบัญญัติ เพิ่มเติม แก้ไข เปลี่ยนแปลง กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ แล้ว
จะเห็นว่ามีกฎหมายระดับบนที่เป็นราก ตั้งแต่ รธน. ลงมา จนถึงกฎหมายพื้นฐานทางอาญา แพ่ง การเมืองการปกครองต่างๆ ซึ่งโดยลักษณะของกฎหมายกลุ่มนี้ไม่ควรจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงกันบ่อยๆ และเมื่อแก้แต่ละครั้งก็ควรผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและสังคมอย่างทั่วถึง
ส่วนกฎหมายระดับต่ำลงมาจากนั้น ก็อาจจะมอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบในเขตอำนาจของแต่ละฝ่าย หรือ 2 ฝ่ายร่วมกันได้
ฝ่ายบริหาร: ออกกฎหมายเกี่ยวกับการแปรงบประมาณ (ซึ่งจำเป็นต้องออกตามวาระอยู่แล้ว ใช้เป็นกระบวนการรัฐสภาแบบเดิมๆ ไปก็ได้) และกฎระเบียบทางบริหารปกครองต่างๆ โดยทั่วไป ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของอีก 2 ฝ่าย ด้วยกลไกรัฐสภาตามปกติ
ฝ่ายภูมิปัญญา: ออกกฎระเบียบทางการศึกษา การสื่อสารมวลชน กฎระเบียบ-มาตรการควบคุมทางสังคม รวมทั้งกรอบข้อบังคับ-จรรยาบรรณวิชาชีพต่างๆ
ฝ่ายมั่นคง-ยุติธรรม: ออกกฎระเบียบของงานฝ่ายยุติธรรม และงานฝ่ายความมั่นคง แต่ขอบเขตอำนาจในการออก ยกเลิก และเปลี่ยนแปลงกฎหมายของฝ่ายนี้จะถูกตีกรอบไว้ด้วยกฎหมายระดับบนมากที่สุด


นิยามและบทบาทของพรรคการเมือง

- เราจะต้องทำให้ชัดเจนว่าจะนิยามและตีกรอบความเป็น "พรรคการเมือง" กันอย่างไร
- ขอเสนอนิยามว่า "พรรคการเมือง" คือ "กลุ่มคนที่รวมตัวกันขึ้นมา เพื่อแสดงออกและทำกิจกรรมทางการเมือง ด้วยอุดมการณ์อย่างเดียวกันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย"
- เมื่อใช้นิยามนี้ พรรคการเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อขึ้นไปเป็นรัฐบาลอย่างเดียวเสมอไป
- แต่เสนอให้มีการแบ่งประเภทเป็น "พรรคทั่วไป" และ "พรรคมหาชน" (คล้ายๆ กับบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์)
- พรรคทั่วไป อาจจะเป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่มีปัญหาเฉพาะ หรือเป็นพรรคเล็กๆ ของแต่ละชุมชน แต่ละท้องถิ่นก็ได้
- พรรคมหาชน จะเป็นพรรคที่มีสิทธิ์ส่งรายชื่อปาร์ตี้ลิสท์เข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะรัฐบาล ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์พื้นฐานเช่น เป็นพรรคทั่วไปมาในระยะเวลาหนึ่ง มีฐานสมาชิกมากเพียงพอและมีสมาชิกอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
- พรรคมหาชนจะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับจรรยาบรรณกำกับอย่างเข้มงวดกว่าพรรคทั่วไป  และถูกจำกัดแนวทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองไว้ส่วนหนึ่ง
- ด้วยการจัดประเภทแบบนี้ เราอาจจะส่งเสริมให้ยกระดับองค์กร NGO ที่เน้นงานเคลื่อนไหวด้านการเมือง และมีฐานมวลชนมากพอขึ้นมา ให้มีศักดิ์และสิทธิ์เป็นพรรคการเมืองประเภททั่วไปได้


ข้อปัญหาทางเทคนิคของการเลือกตั้งรูปแบบต่างๆ

- สภาผู้แทน ควรสะท้อนภาพที่แท้จริงของประชาชนที่เป็นผู้เลือก และการเลือกตั้ง ควรส่งเสริมให้ประชาชนแสดงความต้องการของตนเองออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา และถูกบีบคั้นหรือทำให้เบี่ยงเบนด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์ของการเลือกตั้ง" ให้น้อยที่สุด
- เราไม่ควรทำให้การเลือกตั้งเป็นเกม แต่ต้องทำให้เป็นช่องทางแสดงเสียงและอำนาจของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

- จำนวนผู้แทนที่มีได้ ถ้ามีผู้แทนจำนวนมากเกินไป ก็จะวุ่นวาย มากเรื่อง จัดการลำบาก และเป็นการสิ้นเปลืองภาษีประชาชน แต่ถ้ามีผู้แทนจำนวนน้อยเกินไป จะเกิดสภาพผูกขาดและอำนาจทางการเมืองกระจุกตัว การแบ่งกลุ่มประชาชนไม่ว่าจะตามพื้นที่หรือตามกลุ่มสังคมวิชาชีพ ก็จะทำได้ไม่ละเอียด และเสี่ยงต่อการที่คนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบสังคมจะถูกปิดปากได้ง่าย
- จำนวนผู้แทน เราอาจต้องการให้คงที่หรือเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ เพราะฉะนั้นเมื่อจำนวนประชากรของประเทศมากขึ้นหรือน้อยลง อัตราส่วนของจำนวนประชากรต่อจำนวนผู้แทนก็จะผันผวนขึ้นลงตาม แต่ถ้าเราจะกำหนดอัตราส่วนให้คงที่ ก็จะมีจำนวนผู้แทนในสภาเพิ่มหรือลดได้เรื่อยๆ
- ถ้าเราต้องการแบบจำลองที่ให้ส่วนหัวของอำนาจ 3 ฝ่าย มีสภาพเป็น 3 สภาใหญ่ ที่มีความเท่าเทียมกัน และสามารถให้มาเปิดประชุมลงมติร่วมกัน 2 หรือ 3 ฝ่ายได้ การมีจำนวนผู้แทนในสภาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากเกินไปจะเป็นปัญหา โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรมซึ่งโครงสร้างไม่ยืดหยุ่นเท่าอีก 2 ฝ่ายที่เหลือ
- แต่ในทางปฏิบัติ การใช้สภาใหญ่ 2-3 ฝ่ายมารวมกันจะมีความยุ่งยาก มีอีกทางเลือกคือ ประชุมให้ได้มติแยกแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ตั้งคณะตัวแทนมาอีกชั้นหนึ่งถือมติของแต่ละฝ่ายไปเปิดการเจรจาหามติร่วมระหว่างทุกฝ่ายให้ได้ในที่สุด

- สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามพื้นที่ ปกติจะแบ่งตามจำนวนประชากร แต่ถ้าแบ่งตามจังหวัดหรือภาค ก็จะกลายเป็นว่าจังหวัดใหญ่ๆ จำนวนคนมาก ก็มีเสียงเท่ากับจังหวัดเล็กๆ จำนวนคนน้อย อำนาจที่แบ่งหารตามจำนวนคนจริงๆ ก็ไม่เสมอภาคกัน แต่ถ้าในแต่ละพื้นที่ จังหวัด หรือภูมิภาค มีการจัดองค์กรที่เป็นอิสระในตัวเองมากขึ้น ก็อาจจะปรับให้มีตัวแทนแต่ละเขตจำนวนใกล้เคียงหรือเท่าๆ กันก็ได้ (แต่ควรจะไปใช้โครงสร้างการบริหารปกครองท้องถิ่น มากกว่าจะมาสร้างความเสมอภาคแบบจังหวัดต่อจังหวัดในสภาผู้แทนราษฏรซึ่งเป็นเวทีรวมของชาติ)
- ขนาดของเขตเลือกตั้ง กับจำนวนผู้แทนในแต่ละเขต จึงมีการปรับแต่งได้หลายทาง ตั้งแต่ 1 จังหวัด 1 ผู้แทน, 1 จังหวัด หลายผู้แทนตามสัดส่วนประชากร, 1 จังหวัด แบ่งหลายเขตตามจำนวนประชากร ให้เขตละ 1 คน, 1 จังหวัดแบ่งหลายเขตตามจำนวนประชากร ให้เขตละหลายคน ฯลฯ ในแต่ละแบบย่อมต้องมีพื้นจำกัดไว้อย่างน้อยที่ละ 1 คน และเพดานจำกัดไว้อย่างมากระดับหนึ่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ถูกจำกัดด้วยจำนวนผู้แทนที่มีได้ทั้งหมด แต่ควรแบ่งเขตให้ละเอียดที่สุดที่จะทำได้ และเสนอว่าควรจะมีตัวแทนเขตละ 1 คนเท่านั้น เพื่อลดความสับสน

- สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามกลุ่มสังคมหรือวิชาชีพ ก็จะต้องพิจารณาในหลักการคล้ายๆ กัน คือปรับให้สมดุลระหว่าง เน้นความเสมอภาคของกลุ่ม (ไม่สนใจจำนวนสมาชิก)  กับ เน้นความเสมอภาคของคน (จำนวนผู้แทนของแต่ละกลุ่มขึ้นกับจำนวนสมาชิก)
- ถ้าใช้ระบบที่จำกัดให้ออกเสียงได้ทีละ 1 กลุ่มต่อคน ในแบบที่เน้นความเสมอภาคของคน จะต้องมีการลงทะเบียนสังกัดเป็นสมาชิกกลุ่มก่อนเป็นอันดับแรก (อาจจะลงไว้หลายกลุ่มก็ได้) แล้วต่อมาก็ต้องแจ้งความจำนงใช้สิทธิออกเสียงได้ทีละ 1 กลุ่มเท่านั้น โดยเสียงของเขาต้องผูกอยู่กับกลุ่มนั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง (อาจปรับให้ระยะเวลาผูกมัดของแต่ละกลุ่มต่างกันได้) ถึงจะเปลี่ยนไปขอใช้สิทธิออกเสียงกับกลุ่มอื่นที่เขาเป็นสมาชิกได้

- การเลือกตั้งแบบกรอง 2 รอบหรือมากกว่า: ถ้าผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับ 1 ยังมีคะแนนไม่ถึง 50% (หรืออาจจะตัดที่ 40%) ของผู้มาลงคะแนน ถือว่าไม่ชนะขาด ซึ่งเกิดขึ้นได้ถ้ามีตัวเลือกมากเกินไปและเสียงต่อต้านแตกไปเทคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่นๆ แบบกระจาย ทั้งที่จริงๆ แล้วอาจมีคนที่ต่อต้านผู้สมัครคนนั้นเป็นจำนวนมากกว่าคนที่สนับสนุนก็ได้ ทำให้เกิดปัญหาต่อไปอีกมาก เพราะฉะนั้นควรใช้วิธีการจับผู้สมัครที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 มาจัดการเลือกตั้งตัดสินกันอีกรอบหนึ่ง

- จะเห็นว่ามีตัวแปรและปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายตัวมาก ยังต้องมาระดมความคิดกันให้ละเอียดที่สุด

ลักษณะการแบ่งกลุ่มสังคม-วิชาชีพ

- ให้วุฒิสภา กับ สภาประชาสังคมแห่งชาติ มีลักษณะการแบ่งกลุ่มที่ต่างกัน วุฒิสภาประกอบด้วยเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ 1 จังหวัด 1 คน ส่วนหนึ่ง ประกอบกับส่วนที่เหลือใช้เลือกตั้งตามกลุ่มสังคมวิชาชีพ โดยเน้นไปทางสายกฎหมาย การปกครอง และวิชาการด้านสังคม-เศรษฐกิจ เป็นหลัก ในขณะที่สภาประชาสังคมแห่งชาติจะต้องพยายามแบ่งกลุ่มสังคมให้ครอบคลุม ให้โอกาสทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกันให้มากที่สุด
- การแบ่งกลุ่มสำหรับวุฒิสภา มีการแบ่งกลุ่มแบบแยกขาดจากกันเป็นหน่วยๆ
- การแบ่งกลุ่มสำหรับสภาประชาสังคมแห่งชาติ มีการแบ่งกลุ่มแบบโครงสร้างต้นไม้ คือหมวดใหญ่ก่อน ลงไปถึงหมวดหมู่ย่อยๆ จนถึงกลุ่มสังคมที่แยกกันแต่ละหน่วย
- การเลือกตั้ง ทั้งวุฒิสภาและสภาประชาสังคมแห่งชาติ ให้เลือกตัวแทนตามกลุ่มสังคมที่เป็นหน่วยย่อยที่สุด
- สำหรับคนที่ไม่ได้สังกัดอาชีพหรือกลุ่มสังคมอะไรเป็นพิเศษเลย เราอาจจะต้องมีกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่งไว้รองรับ ทั้งในวุฒิสภา และใน สปช. อาจจะเรียกว่ากลุ่มอาวุโส หรือกลุ่มทั่วไป อะไรก็แล้วแต่ เพื่อไม่เป็นการกีดกันเขาออกไปจากระบบสภาประชาสังคมโดยสิ้นเชิง และรักษาสภาพความเสมอภาคของจำนวนเสียงไว้ให้มากที่สุด (จะกลายเป็น 1 คน 5 เสียง: สส.ตามเขต 1 + รบ.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 + สว.ตามเขต 1 + สว.ตามกลุ่มสังคม 1 + สปช.ตามกลุ่มสังคม 1)

(ยังมีต่อ)

*********
บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #9 เมื่อ: 17-09-2008, 22:27 »

ภาพร่างคร่าวๆ ที่มีอยู่ตอนนี้ครับ




บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #10 เมื่อ: 23-09-2008, 20:15 »

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น
ตอนที่ 5

โดย วิหค อัสนี
23 กันยายน 2551


ต้องขออภัยที่เนื้อหาบทความชุดนี้อาจจะสลับลำดับ-แบ่งหัวข้อไม่ค่อยดี กระโดดไปกระโดดมาหรือต้องวกกลับไปที่เดิมบ้าง เพราะผมคิดประเด็นไหนได้ก็เขียนออกมาไว้ก่อน และในตอนหลังก็มักจะเกิดความเห็นด้านใหม่ๆ ที่น่าสนใจของประเด็นก่อนๆ ขึ้นมา ที่ก่อนหน้านั้นมองไม่เห็น
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวผมก็ต้องเอาข้อเขียนทั้งหมดไปเรียบเรียงใหม่อีกที ถึงจะได้ความคิดรวบยอดที่ชัดเจนจริงๆ

สอดแทรกเรื่องวิธีปัญหาโดยต่อรอง-ประนีประนอมระหว่างตัวเลือก

ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองมีการแบ่งขั้วกันอย่างแตกหัก และนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผมนึกถึงสมัยนักศึกษาที่ผมทำกิจกรรมคณะขึ้นมา...

เวลาประชุมเพื่อตัดสินใจอะไรสักอย่าง รุ่นพี่จะสอนว่า ให้หลีกเลี่ยงวิธีโหวตเพื่อเอาเสียงข้างมากมาชี้ขาด แต่ให้พยายามเจรจาต่อรอง ปรับตัวเลือกเข้ากับความต้องการของส่วนรวม ซึ่งหมายถึงคนทั้งหมด ไม่ใช่แค่คนกลุ่มใหญ่ที่สุด

เพื่อสุดท้ายแล้ว จะได้ตัวเลือกที่ทุกคนสามารถยอมรับร่วมกันได้อย่างเป็นเอกฉันท์หรือใกล้เคียง ถึงแม้ว่าจะไม่มีฝ่ายไหนได้ตามที่ตนเองต้องการมากที่สุดแต่แรกเลยก็ตาม ไม่ใช่ว่า ให้ฝ่ายที่มีเสียงเป็นกลุ่มก้อนมากที่สุด เป็นผู้กำหนดตัวเลือกอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปฏิเสธความต้องการของเสียงฝ่ายอื่นๆ ไปโดยสิ้นเชิง

และเมื่อหันมามองทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะมีการตั้งเงื่อนไขกันจนเวทีการเมืองกลายมาเป็นเกมที่ ผู้ชนะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง และผู้แพ้ไม่ได้อะไรเลย จนถึงต้องสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง หรอกหรือ? ถึงทำให้เกิดความขัดแย้งและการเผชิญหน้าทางการเมืองที่รุนแรงขนาดที่ว่ามองหาทางออกที่ไม่ใช่สงครามกลางเมือง สงครามล้างเผ่าพันธุ์ ได้ยากเต็มที?
จน "การเมือง-การปกครอง" กลายเป็น "การชิงเมือง-การยึดครอง" ไปเสีย

เพราะฉะนั้น นี่เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องนึกถึงในการเมืองใหม่ คือการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ ด้วยการประสานประโยชน์ ปรับเข้าหากัน ต่อรอง และถ่วงดุล นั่นเอง


ปัญหาของระบบการเลือกตั้ง (2) - ระหว่างการเลือกแบบเขตย่อยๆ เขตละคน กับแบบรวมเขตใหญ่ หลายคน

เมื่อมาคิดดูอีกที การเลือกแบบรวมกันเป็นเขตใหญ่ๆ และให้มีผู้แทนหลายคน ตัดเอาตามลำดับของคะแนนเสียงที่ได้ (คล้ายปาร์ตี้ลิสท์แบ่งเขตที่ใช้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด) ก็มีข้อดีที่สำคัญ

เริ่มจากปัญหาที่ว่า สภาของตัวแทน สามารถจะสะท้อนภาพที่แท้จริงของประชาชนออกมาได้อย่างเพียงพอหรือไม่?

สมมติว่าให้มีแนวนโยบายหลักๆ อยู่ 2 ทาง ของพรรค ก. กับพรรค ข. และมีพรรคอื่นๆ หรือผู้สมัครอิสระ เป็นตัวประกอบ

และสมมติว่า ในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ ในเกือบทุกจังหวัด ในเกือบทุกเขต จะมีคนชอบนโยบายพรรค ข. กระจายกันอยู่สม่ำเสมอเป็นอัตราส่วนร้อยละ 30-40 ของจำนวนประชากร
ในขณะที่คนที่เหลือร้อยละ 60-70 ชอบนโยบายพรรค ก. และเข้าสู่สภาพนี้ค่อนข้างนิ่งแล้ว มีการเปลี่ยนใจเปลี่ยนข้างเกิดขึ้นน้อย

ถ้าซอยแบ่งเป็นเขตย่อย (ซึ่งก็ซอยให้ละเอียดได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะจำนวนผู้แทนจะมากเกินไป) ให้มีตัวแทนได้เขตละคนเดียว และตัดปัจจัยเรื่อง คนนอนหลับทับสิทธิ์ บัตรเสีย โกงเลือกตั้ง ฯลฯ ออกไป

เราก็คาดได้ว่า เกือบทุกเขต ผู้สมัครพรรค ก. จะได้คะแนนเสียงมากกว่าผู้สมัครพรรค ข. อยู่ประมาณร้อยละ 10 และทำให้ทั้งสภาเกือบจะมีแต่ผู้แทนของพรรค ก. พรรคเดียวเท่านั้น

แบบนี้แล้วภาพในสภาผู้แทนก็จะกลายเป็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกือบหมดประเทศล้วนแต่เห็นชอบกับแนวทางของพรรค ก. แทบไม่มีใครในประเทศนี้เห็นเป็นอื่นเลย ทั้งที่ความจริงยังมีคนเห็นชอบกับแนวทางของพรรค ข. อยู่อีกถึงร้อยละ 30-40 แต่ประชาชนส่วนนี้กลับเหมือนไม่มีสิทธิ์เสียง ไม่มีตัวตนอยู่ในระบบของสภาโดยสิ้นเชิง

ในขณะที่ ถ้ารวมหลายๆ เขตเป็นเขตใหญ่ๆ แล้วเอาที่นั่งมารวมกัน ตัดตามอันดับคะแนน และ/หรือตัดตามสัดส่วนคะแนนแบบเดียวกับปาร์ตี้ลิสท์ ยังมีโอกาสที่เสียงจะมีการกระจายได้หลากหลายกว่า

นอกจากนี้ ก็ต้องพิจารณาถึงผลข้างเคียงทางจิตวิทยา ทางกลไกอำนาจ ในการก่อให้เกิดความรู้สึกยึดโยงกับท้องถิ่น หรือแบ่งแยกจังหวัด แบ่งแยกภาค ของประชาชนอีกด้วย

การเลือกตั้งแบบเขตใหญ่หลายอันดับ เป็นการยากที่จะได้ผู้แทนที่ใกล้ชิดกับท้องถิ่น ชุมชนส่วนย่อย และรู้จักกันกับชาวบ้านดีเท่าการเลือกตั้งแบบซอยเขตย่อย

ดังนั้น เราก็มีทางเลือกหลายทาง กับการแบ่งย่อยของเสียงเลือกตั้งหลายระดับ
(1) รวมหลายๆ จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีที่นั่งตามสัดส่วนประชากร
(2) ใช้แต่ละจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีที่นั่งตามสัดส่วนประชากร
(3) แบ่งย่อยแต่ละจังหวัดเป็นเขตๆ ที่จำนวนประชากรไม่ห่างกันมากนัก เพื่อให้แต่ละเขตมี 1 ที่นั่ง
(4) ผสมผสานระหว่างหลายๆ ระดับชั้น แต่จำนวนผู้แทนโดยรวมจะเพิ่มมากขึ้นอีก

แต่ผมยังแน่ใจอยู่ว่า ไม่น่าจะให้ 1 คน กาเลือกผู้สมัครได้มากกว่า 1 ตัวเลือก จะทำให้สับสนมากกว่า

ยังมีอีกรูปแบบคือ การเลือกตั้งแบบคัดกรอง คือให้แต่ละเขตย่อยๆ มีการเลือกตั้งระดับเขตขึ้นมาก่อน เพื่อกรองเอาตัวเลือกผู้สมัครที่เป็นไปได้ให้เหลือส่วนหนึ่ง จับมารวมกันอีกทีในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคหรือเขตใหญ่ แล้วก็ให้ลงคะแนนเลือกแบบสัดส่วนอีกรอบ
ทั้งนี้เพื่อรักษาจำนวนตัวเลือกในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ไม่ให้ผู้ลงคะแนนเสียงต้องแยกแยะและตัดสินใจจากหลายตัวเลือกมากเกินไป จนสับสนกับข้อมูล


ตัวอย่างการแบ่งแยกสายวิชาชีพ-กลุ่มสังคม สำหรับ สว. และ สปช. ที่มีรายละเอียดมากขึ้น

หมายเหตุ: อย่าลืมว่าในการเมืองใหม่ระบบที่ผมเสนอนี้ วุฒิสภา และ สภาประชาสังคมแห่งชาติ แยกมาเป็นฝ่ายภูมิปัญญา ซึ่งไม่ใช่ว่าเอาเสียงมารวมกันแล้วจะไปมีอำนาจแทรกแซง กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐได้ทั่วไปเหมือนฝ่ายบริหาร
เพราะฉะนั้นถึงการจัดแบ่งสาย แบ่งหมวดเหล่านี้อาจจะดูเป็นอนุรักษ์นิยมไปบ้าง แต่ก็มุ่งให้เป็นไปเพื่อดุลยภาพของสังคมโดยรวม และไม่ได้มุ่งให้ไปคุกคามหรือทำลายหลักความเสมอภาคของเสียงประชาชน ที่ได้ถูกนำมาเป็นประเด็นต่อต้านการเมืองใหม่อยู่ตอนนี้

วุฒิสภา แบ่งย่อยเป็น 3 หมวด
(1) ตัวแทนตามเขตพื้นที่ จังหวัดละ 1 คน
(2) ตามสายวิชาชีพหลักๆ ทางกฎหมาย-การปกครอง-วิชาการ
(3) ตามภาคส่วนอื่นในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน สายวิชาชีพอื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไป

สปช. แบ่งย่อยเป็น 5 หมวด
(1) กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก, กลุ่มผู้ด้อยโอกาส-ผู้มีปัญหาเฉพาะ, กลุ่มชุมชน, กลุ่มชนกลุ่มน้อย-กลุ่มชาติพันธุ์
(2) กลุ่มศาสนา, กลุ่มศิลปะ-วัฒนธรรม, กลุ่มเศรษฐกิจท่องเที่ยวและบริการ
(3) กลุ่มกฎหมาย, กลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรม-พลังงาน
(4) กลุ่มสื่อมวลชนและข้อมูลข่าวสาร, กลุ่มการศึกษา-วิจัย, กลุ่มวิชาชีพควบคุม, กลุ่มเศรษฐกิจการเงิน, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มวิชาการอื่นๆ
(5) กลุ่มผู้อาวุโส-ผู้ทรงคุณวุฒิในสังคม, กลุ่มทั่วไป


วาระแห่งชาติ

- เพื่อให้เกิดโครงการระยะยาวใดๆ ที่มีผลต่อเนื่อง อาจจะยาวนานหลายสิบปีได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองว่าพรรคไหนจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล และไม่กลายมาเป็นเงื่อนไขให้พรรครัฐบาลหรือกลุ่มอำนาจใดๆ เรียกร้องการยึดกุมอำนาจทางการเมืองอย่างยาวนานเบ็ดเสร็จของพวกตน (อย่างที่มักจะอ้างและขู่กันว่า ถ้าไม่สนับสนุนให้พวกตนเป็นรัฐบาลต่อ ถ้าพรรคอื่นขึ้นมาแทน โครงการนั้นโครงการนี้จะต้องถูกยกเลิก) ขอเสนอให้มีระบบการบรรจุและติดตาม "วาระแห่งชาติ" อย่างเป็นทางการ
- วาระแห่งชาติ อาจจะคล้ายกับแผนพัฒนาฯ และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่ถือว่าเป็นของประชาชนโดยตรง และมีสภาพบังคับต่อรัฐบาลพรรคใดๆ ก็ตามที่จะขึ้นมามีอำนาจบริหาร รวมทั้งหน่วยงานฝ่ายอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต้องดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ
- วาระแห่งชาติแต่ละอย่าง จะต้องเป็นแนวทางที่ไม่ตีกรอบให้ประเทศชาติหรือผูกมัดรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ อย่างแน่นหนาเกินไป ต้องมีเงื่อนไขต่างๆ เพื่อความยืดหยุ่นในการปฏิบัติให้เหมาะกับสภาพปัจจุบัน
- วาระแห่งชาตินี้ อาจจะให้นำเสนอขึ้นมาโดยรัฐสภา หรือวุฒิสภา และเมื่อผ่านการกลั่นกรองตามหลักเกณฑ์เบื้องต้นแล้ว ให้มีการลงประชามติเป็นการทั่วไปทั้งประเทศ อาจจะต้องผ่านประชามติ 2-3 ครั้ง เป็นการกำหนดกรอบให้แคบลงมาจนมีความชัดเจนว่าจะผูกพันใคร ส่วนไหนบ้าง แค่ไหน และใช้เวลาดำเนินการยาวนานเท่าไหร่
- เมื่อบรรจุวาระแห่งชาติแล้ว ไม่ให้เสนอวาระใหม่ซ้อนๆ กัน ต้องรอให้วาระเดิมพ้นไป หรือลงประชามติถอนวาระปัจจุบันออกเสียก่อน (ซึ่งจะต้องมีเงื่อนไขไม่ให้ถอนออกกันง่ายๆ)

*********
บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
yuwadee
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #11 เมื่อ: 24-09-2008, 07:15 »

บ่นอะไรคะ...พี่..
บันทึกการเข้า
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #12 เมื่อ: 28-09-2008, 18:15 »

การเมืองใหม่ที่ข้าพเจ้ามองเห็น
ตอนที่ 6


โดย วิหค อัสนี
28 กันยายน 2551

สรุปย่อแนวคิดการเมืองใหม่ ที่รวบรวมและสังเคราะห์มาจนถึงตอนนี้

(1) หลักปรัชญาและอุดมการณ์การปกครอง

- เป็นระบอบประชาธิปไตย ที่คำนึงถึงความเป็นองค์รวมของสังคมและธรรมชาติ และสอดคล้องกับสามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์
- เป็นการปกครองเพื่อสถาปนาและรักษาความยุติธรรมในสังคม
- เป็นการปกครองเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขระหว่างบุคคล กลุ่ม และฝ่ายต่างๆ ในสังคมให้ได้มากที่สุด
- เป็นการปกครองเพื่อประโยชน์สุข (ต้องมีทั้งผลประโยชน์ และมีทั้งความสุข) ที่ยั่งยืน ของสังคมโดยรวม
- เป็นการปกครองที่เคารพต่อเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
- เป็นการปกครองที่อาศัยแนวทางการตัดสินใจที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ โดยต้องไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนข่มเหงคนส่วนน้อย
- เป็นการปกครองที่เปิดกว้าง อดทนต่อความแตกต่างหลากหลาย ให้ทุกคนทุกฝ่ายในสังคม มีสิทธิ์มีเสียงและมีที่ยืนอยู่ได้ภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน
- เป็นการปกครองที่ดึงเอาพลังอำนาจทุกส่วนของสังคมมาร่วมคิดร่วมทำเพื่อสร้างสรรค์สังคมสืบไป

(2) วิธีการปฏิรูป ด้วยการจัดเรียงสามหลักแห่งอำนาจใหม่ (Refactoring of the Three Principles)

- พิจารณาว่ากฎหมายจะต้องทำหน้าที่เป็นกรอบโครง (Framework) ที่กำหนดรูปร่างของระบบการเมืองและสังคมทั้งหมด จึงไม่ให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผูกขาดอำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายและแก้กฎหมายได้ทั้งหมดอีกแล้ว
- แบ่งแยกระดับของกฎหมาย เป็นกฎหมายระดับบน ตั้งแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญลงมาถึงกฎหมายประกอบ กฎหมายหลักมูลฐานในด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องตั้งไว้เป็นของกลาง และกฎหมายระดับล่าง ซึ่งจะจัดสรรแบ่งแยกให้เป็นเขตอำนาจของฝ่ายต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป
- ให้จัดเรียงอำนาจอธิปไตยใหม่เป็นสามฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร มีรัฐสภาเป็นแกนกลาง ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม มีสภาตุลาการแผ่นดินเป็นแกนกลาง สุดท้ายคือ ฝ่ายภูมิปัญญา มีวุฒิสภาเป็นแกนกลาง
- การแก้ไขกฎหมายระดับบน จะต้องใช้มติของสองฝ่ายหรือสามฝ่ายร่วมกัน สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งจะต้องบังคับให้ทำในรูปแบบ สสร. โดยให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและให้ลงประชามติรับรองเป็นขั้นตอนไปเสมอ
- สามฝ่ายนี้ จัดแบ่งตามภารกิจและลักษณะของการใช้อำนาจ
- โดยฝ่ายบริหาร มุ่งเน้นไปทางเศรษฐกิจและงานบริหารราชการทั่วๆ ไป เป็นอำนาจแบบอ่อนและยืดหยุ่น เน้นหลักรัฐศาสตร์
- ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม มุ่งเน้นไปทางบังคับใช้กฎหมายและรักษาความมั่นคง เป็นอำนาจแบบแข็งและเด็ดขาด เน้นหลักนิติศาสตร์
- สุดท้ายคือฝ่ายภูมิปัญญา มุ่งเน้นไปทางเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของประชาชน รักษาและพัฒนาองค์ความรู้ของสังคมโดยรวม และเป็นผู้ช่วยรักษาสมดุลระหว่างอำนาจอีกสองฝ่าย
- องค์กรอิสระต่างๆ จะมาจากการแต่งตั้งร่วมกันระหว่างสองฝ่ายหรือทั้งสามฝ่าย โดยเน้นให้ฝ่ายภูมิปัญญาเป็นเจ้าภาพ สำหรับองค์กรอิสระด้านการเมือง-สังคม (ที่สำคัญได้แก่องค์กรตรวจสอบนักการเมือง-ฝ่ายบริหาร องค์กรตรวจสอบฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม องค์กรกำกับนโยบายการสื่อสาร และจัดสรรช่องทางการสื่อสารสาธารณะ องค์กรกำกับนโยบายและหลักสูตรการศึกษา)
- ตำรวจ-อัยการ กองทัพ และหน่วยงานความมั่นคงทั้งหมด จะต้องไปขึ้นอยู่กับฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม โดยบทบาทและอำนาจในการปฏิบัติงานของหน่วยงานเหล่านี้ต้องถูกตีกรอบไว้โดยกฎหมายให้เคร่งครัด
- หน่วยงานที่กำกับการสื่อสารสาธารณะ การศึกษา และกิจการทางศาสนา-สังคม-วัฒนธรรมต่างๆ จะต้องไปขึ้นอยู่กับฝ่ายภูมิปัญญา
- เมื่อตัดอำนาจส่วนเกินเหล่านี้ ที่รัฐบาลมักจะใช้คุกคามประชาชนและครอบงำสังคมออกไป ย่อมทำให้ประชาชนไม่ว่าฝ่ายไหนๆ สามารถอยู่กับรัฐบาลที่ตัวเองไม่ชอบได้อย่างรู้สึกปลอดภัยพอสมควร และจึงจะเป็นหลักประกันให้กับความมั่นคงของรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยเองด้วย
- การออกกฎหมายและแก้ไขกฎหมายต่างๆ ประเภทการพิจารณางบประมาณแผ่นดิน เศรษฐกิจ การเงินการคลัง รวมทั้งระเบียบบริหารปกครองทั่วๆ ไป ให้อยู่ในขอบเขตอำนาจของฝ่ายบริหาร โดยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สภาบริหาร ไปจนถึงรัฐสภา ตามระดับขั้นของกฎหมายนั้นๆ
- การออกกฎระเบียบ และมาตรการทางสังคมต่างๆ เพื่อแก้ไขป้องกันสิ่งที่จะนำไปสู่ความเสื่อม และรักษาคุณค่าทางสังคม ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ให้อยู่ในขอบเขตอำนาจของฝ่ายภูมิปัญญา โดยจะเป็นมาตรการกีดกัน-ส่งเสริม ไม่สามารถออกกฎที่ห้ามหรือปิดกั้นอย่างเด็ดขาดได้เหมือนกฎทางแพ่ง-อาญา-การเมือง
- การออกกฎระเบียบทางฝ่ายงานความมั่นคง และฝ่ายงานยุติธรรม ก็จะอยู่ในขอบเขตอำนาจของฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม แต่จะไปเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญา-แพ่ง-การเมืองต่างๆ เองไม่ได้
- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นที่มีความซ้ำซ้อน มีทั้ง ผวจ. อบต. อบจ. สก. สข. สท. ฯลฯ ให้รวมเป็นระบบเดียว โดยสอดคล้องกับโครงสร้างใหญ่ระดับประเทศ
- เมื่อมีความขัดแย้ง การล้ำเส้นกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ให้มุ่งเน้นการใช้กลไกแก้ไขและคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองโดยสันติวิธี ตั้งแต่การเปิดเวทีเจรจา การขอความร่วมมือและความคิดเห็นจากประชาชน การทำประชามติ และการถวายฎีกา

(3) รูปแบบการจัดองค์กรของแต่ละฝ่าย

- ฝ่ายบริหาร ผู้นำคือนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้นมาจาก สภาบริหารแห่งชาติ ซึ่งประกอบกับ สภาผู้แทนราษฎร รวมเป็น รัฐสภา โดยประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมในรัฐสภา
- สภาบริหารแห่งชาติ เลือกตั้งจากปาร์ตี้ลิสท์ ให้พรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดขึ้นมาเป็นสภาบริหาร
- สภาผู้แทนราษฎร มี สส. ที่เลือกตั้งจากเขตพื้นที่ 1 จังหวัดเป็น 1 เขต และมีจำนวนที่นั่งตามจำนวนประชากร
- ผู้สมัคร สส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค ไม่มีฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล และถือเป็นตัวแทนของประชาชนจังหวัดนั้นๆ อาจจะเปลี่ยนย้ายพรรคหรือลาออกจากพรรคได้โดยไม่ทำให้พ้นสภาพจากความเป็น สส. แต่ให้ประชาชนยื่นถอดถอน สส. จังหวัดตนได้โดยตรง ถ้ามีการทำผิดสัญญาประชาคม หรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย
- การเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสท์ และการเลือกตั้ง สส. จังหวัดใดก็ตามที่มีตัวแทนได้เพียงคนเดียว ให้ใช้การคัดกรอง คือถ้าผู้สมัครหรือพรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด ได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด ให้นำเอาผู้ได้คะแนนอันดับ 1 และอันดับ 2 มาจัดการเลือกตั้งแข่งกันอีกรอบว่าฝ่ายใดจะได้คะแนนมากกว่า
- จากรัฐบาลลงไป เป็นกระทรวงและทบวงต่างๆ และการบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น

- ฝ่ายความมั่นคง-ยุติธรรม ผู้นำคือประธานสภาตุลาการแผ่นดิน โดยการเป็นสมาชิกใน สภาตุลาการแผ่นดิน ให้เป็นโดยตำแหน่งจากองค์กรย่อยๆ เช่น ประธานศาลฎีกาเป็นประธานสภาตุลาการฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นรองประธาน ตามด้วยรองประธานศาลฎีกา ประธานอัยการสูงสุด ผู้บังคับการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ
- จากสภาตุลาการฯ ลงไป แยกเป็นสองแขนง คือฝ่ายตุลาการแขนงหนึ่ง กับกองทัพอีกแขนงหนึ่ง
- ฝ่ายตุลาการมี ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น อัยการ และ ตำรวจ
- หน่วยงานต่างๆ ใช้การสอบคัดเลือกเข้าไปตามระบบปกติ ตำรวจให้มีตำรวจส่วนกลาง กับตำรวจที่มาจากการคัดเลือกในท้องถิ่น โดยมีการสอบคัดเลือกเป็นมาตรฐานเดียวกัน

- ฝ่ายภูมิปัญญา ผู้นำคือประธานวุฒิสภา โดย สว. เลือกตั้งจากแต่ละจังหวัดส่วนหนึ่ง เลือกตั้งจากสายวิชาชีพและกลุ่มสังคมอีกส่วนหนึ่ง โดยเน้นทางสายกฎหมาย-การปกครอง-วิชาการ เป็นหลัก และเลือกตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปอีกส่วนหนึ่ง
- จากวุฒิสภาลงไป เป็น สภาประชาสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะมีบทบาทเชื่อมโยงไปถึงภาคประชาชน และสังคมทุกภาคส่วน
- สภาประชาสังคมแห่งชาติ มีการเลือกตั้งกันขึ้นมาจากสายวิชาชีพ และกลุ่มสังคมทั้งหมด โดยมีโครงสร้างเป็นกลุ่มใหญ่ๆ และแตกแขนงลงไปเป็นกลุ่มย่อยๆ อีกที
- การเลือกตั้ง สปช. จะให้ประชาชนแต่ละคนเลือกลงคะแนนเสียงได้กลุ่มเดียวในวาระหนึ่งๆ และเป็นการเลือกกลุ่มย่อยที่สุดในขั้นต้น จากนั้นสมาชิกที่ถูกเลือกเข้าไปจะเข้าไปเลือกกันเองอีกทีให้ได้ตัวแทนในการเชื่อมประสานในหมวดใหญ่ๆ ขึ้นไปเป็นลำดับชั้น จนถึงประธานและรองประธาน สปช. โดยรวม
- สปช. จะต้องครอบคลุมภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้ได้มากที่สุด อาจมีจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นพันหรือเป็นหมื่นก็ได้ โดยสมาชิกไม่ต้องมาอยู่รับเงินเดือนจากภาษีประชาชนเป็นประจำเหมือนรัฐบาล สส. สว. แต่จะถูกเรียกประชุมทีละส่วนย่อยๆ เมื่อต้องพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหรือสังคมส่วนนั้นๆ
- จะต้องมีส่วนหนึ่งใน สปช. รองรับประชาชนที่ไม่ได้สังกัดกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มสังคมอื่นใดเลย เพื่อรักษาความเสมอภาคของจำนวนเสียงแต่ละคนไว้ให้มากที่สุด
- เกณฑ์การถือเป็นสมาชิกในสายวิชาชีพหรือกลุ่มสังคมใดๆ จะต้องเป็นเกณฑ์วัดที่ชัดเจน ตัดสินกันได้ง่ายๆ และเปิดกว้างให้มากที่สุด (ไม่ใช่ให้คนส่วนหนึ่งมาคัดสรร) เช่น ใครมีหลักฐานการประกอบอาชีพเกษตรมาไม่น้อยกว่ากี่เดือนหรือกี่ปีๆ ก็ให้ถือเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรได้ ใครอายุ 60 ปีขึ้นไป ก็ให้ถือเป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุได้  สำหรับวิชาชีพเฉพาะทางเช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก อาจารย์มหาวิทยาลัย จะมีองค์กรวิชาชีพควบคุมอยู่แล้ว ก็ให้เข้าไปเชื่อมต่อกับองค์กรนั้นๆ

(4) อื่นๆ

- ให้พรรคการเมืองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พรรคทั่วไป และ พรรคมหาชน
- ให้พรรคมหาชนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ส่งรายชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสท์เพื่อเข้าไปเป็นรัฐบาล และต้องอยู่ในกรอบข้อบังคับต่างๆ มากกว่าพรรคทั่วไป การเป็นพรรคมหาชนจะต้องเป็นพรรคทั่วไปมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง มีฐานสมาชิกมากพอและมีอยู่ในทุกภูมิภาค
- ส่วนพรรคทั่วไปอาจเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานการเมืองเฉพาะท้องถิ่นใดๆ ก็ได้ และจะส่งเสริมให้องค์กรเอกชนหรือกลุ่มชมรมต่างๆ ที่ทำงานเคลื่อนไหวด้านการเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชนกลุ่มน้อย เปลี่ยนสภาพตัวเองมาเป็นพรรคทั่วไป
- แต่ละฝ่ายมีการเชื่อมต่อกับภาคประชาชน โดยฝ่ายภูมิปัญญามีการเชื่อมต่ออย่างชัดเจนและกว้างขวางที่สุด
- มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ รวมทั้งปรับโครงสร้างงบประมาณแผ่นดิน ให้แต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาคมีความอิสระ และรับผิดชอบตัวเองในทางเศรษฐกิจ-สังคมมากขึ้น การสร้างเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล ให้เอางบประมาณของจังหวัดที่เกี่ยวข้อง-จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการนั้นๆ มารวมกันก่อน แล้วจึงเสริมด้วยงบส่วนกลาง
- การแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมือง ให้เน้นการประนีประนอมระหว่างตัวเลือก ให้ทุกฝ่ายสามารถบรรลุความพอใจร่วมกันได้ มากกว่าที่จะเอามติคนกลุ่มใหญ่ที่สุดมาบังคับโดยเด็ดขาดเหนือเสียงของสังคมส่วนรวม

*********
บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
หน้า: [1]
    กระโดดไป: