ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 10:37
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==ศาลปกครอง มีค่าต่อประชาธิปไตย....มากกว่ารัฐสภา !?? : โดย คำนูณ สิทธิสมาน== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==ศาลปกครอง มีค่าต่อประชาธิปไตย....มากกว่ารัฐสภา !?? : โดย คำนูณ สิทธิสมาน==  (อ่าน 1968 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 29-06-2008, 23:46 »

พบบทความของ สว.คำนูญ สิทธิสมาน หนึ่งในผู้ไปฟ้องคดีปราสาทพระวิหารต่อศาลปกครอง
เป็นบทความที่กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของศาลปกครองไว้ได้อย่างน่าสนใจนะครับ

ตอนนี้เห็นมีพวกลัทธิเลือกตั้งออกมาชูประเด็นประหลาด อย่างการ "เลือกตั้งศาล"
บทความนี้น่าจะเป็นคำตอบได้ดี ว่าศาลปกครองมีขึ้นมาปราบลัทธิเลือกตั้ง 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศาลปกครอง มีค่าต่อประชาธิปไตย....มากกว่ารัฐสภา !??
โดย คำนูณ สิทธิสมาน    29 มิถุนายน 2551 12:10 น.

วุฒิสภาก็อภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติไปแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
โดยมีการลงมติไปแล้ว ผลก็ออกมาเห็น ๆ แล้วนะครับว่าไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
       
        แตกต่างกับคำสั่งศาลปกครองกลางกรณีปราสาทพระวิหาร !
       
        และถ้าย้อนไปดูคำสั่ง หรือคำพิพากษา ของศาลปกครองในอดีต 3 – 4 ปีมานี้ ไม่ว่ากรณี กฟผ.,
กรณี ปตท., กรณี ASTV หรือล่าสุด...กรณีบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ก็จะพบว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างมีน้ำหนักมากทีเดียว โดยเฉพาะในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร
       
        ต้องยอมรับกันว่ามีประสิทธิภาพกว่ากลไกควบคุมโดยรัฐสภา !!
       
       บรรดาองค์กรใหม่ ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างอำนาจรัฐ รวมทั้งองค์กรอิสระ หรือ Independent
Regulatory Agency สุดแท้แต่ลักษณะที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 มีผลงานน่าผิดหวังบ้าง ยังไม่มีผลงานบ้าง
และส่วนใหญ่ยากที่จะพ้นจากการแทรกแซงทางการเมือง แต่ต้องยอมรับว่าศาลปกครองเป็นองค์กรทาง
กระบวนการยุติธรรมที่มีหลักการแจ่ม ชัด มีฐานทางวิชาการมั่นคง จนสามารถเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชน
ในยามเสมือนไร้ที่พึ่ง
       
       ผมเคยเขียนไว้หลายครั้งว่า ศาลปกครองน่าจะเป็นองค์กรที่เป็นรากฐานของการปฏิรูปการเมือง
-ปฏิรูประบบ กฎหมาย ต่อไปในอนาคตอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า ไม่ว่าการปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง
รัฐธรรมนูญ 2540 จะหลงเหลือความสำเร็จอยู่กี่มากน้อย
       
       ทั้งนี้เพราะองค์กรอื่น ๆ โดยเฉพาะที่มีอำนาจจริงมีบทบาทจริง อย่างเช่นคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการสร้างขึ้นโดยประยุกต์จากแนวทางของต่างประเทศ อย่าง ขาดรากฐาน
ขาดพัฒนาการ และขาดบุคลากร เมื่อเกิดขึ้นมาก็เติบโตมีอำนาจเลย
       
       ศาลปกครองแม้โดยชื่อโดยรูปแบบอย่างเป็นทางการจะเพิ่งถือกำเนิดมาจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เปิดทำการจริง พ.ศ. 2543 แต่จริง ๆ แล้วมีรากฐานปักหลักมายาวนาน
       
       อย่างน้อยหากตัดตอนนับเฉพาะในยุคปัจจุบันก็ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 จาก พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. 2522 ที่ให้มีคณะกรรมการ 2 ประเภทคือ กรรมการร่างกฎหมาย และ กรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเชิงศาลปกครอง
       
       อันมีที่มาจากแนวคิดของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ที่ต้องการเตรียมความพร้อมให้แก่ศาลปกครอง
ทั้งทางด้านบุคลากร, ฐานวิชาการ และหลักกฎหมายปกครองเบื้องต้น
       
       ขณะเดียวกันทางด้านมหาวิทยาลัย ผลสะเทือนจากงานเขียนเชิงตั้งคำถามของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
คนเดียวกันในเรื่อง “นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ” เมื่อ ปี 2517 บวกกับการสนับสนุนส่งเสริมของ ดร.ปรีดี
เกษมทรัพย์ ได้สร้างความตื่นตัวให้กับนักศึกษาวิชานิติศาสตร์ให้เลือกวิชากฎหมายมหาชน ในการศึกษาต่อ
ต่างประเทศในฐานะนักเรียนทุน ที่แยกย้ายกันไปทั้งฝรั่งเศส, เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา จนก่อให้เกิด
นักกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่ขึ้นมามีบทบาทโดดเด่นในแวดวงนิติศาสตร์ จำนวนหนึ่งในอีก 10 – 15 ปีต่อมา
       
       2 กระแสนี้สามารถผนวกกันเป็น “ชุมชนนักกฎหมายมหาชน” มีบทบาทสูงเด่นในการแสดงความคิดเห็น
ต่อสาธารณชนที่สามรรถถ่วงดุลนักกฎหมาย เอกชนที่ครอบงำสังคมไทยมานาน และมีส่วนสำคัญในการร่วม
สร้างสรรค์หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ตั้งแต่ครั้งร่วมทำวิจัย 10 หัวข้อ
ให้กับ คพป. (คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย) ชุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี เมื่อ ปี 2537 – 2538
       
       พวกเขาเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลปกครอง ในระบบ “ศาลคู่” คือแยกออกมาจาก
ศาลยุติธรรม แม้ในอดีตจะถูกขัดขวางต่อต้านจนทำให้กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองในระบบศาลคู่มี อันต้อง
แท้งไปหลายต่อหลายครั้งใน ปี 2526, 2529, 2531, 2532, 2538 และ 2539 ถ้าไม่เพราะเหตุผลยุบสภา
ก็เพราะ คณะรัฐมนตรีไม่รับหลักการ แต่ถึงที่สุดแล้วก็เพราะอิทธิพลทางความคิดของนักกฎหมายเอกชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมายเอกชนในศาลยุติธรรม ที่ส่งผ่านไปยังนักการเมือง
       
       ดังนั้นเมื่อศาลปกครองถือกำเนิดได้จริงโดยสภาวการณ์ “โดยสารมากับขบวนปฏิรูปการเมือง”
พวกเขาเหล่านี้จึงรู้ด้วยจิตสำนึกว่าจะต้องพิทักษ์รักษาศาลปกครอง จึงเสมือนตกลงกันแบ่งกำลัง
เข้ามาสมัครเป็นบุคลากรในศาลปกครอง
       
       เราจึงได้เห็น นักวิชาการกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่ ระดับอายุ 40 – 50 ปี เข้ามารับตำแหน่งสำคัญ
       
       และถ้าหากจะย้อนอดีตยาวออกไปก็จะพบว่า พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ก็เป็นการ
สืบทอดแนวความคิดของท่านปรีดี พนมยงค์ ที่ตราพ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 ขึ้นเพื่อให้
ทำหน้าที่เป็นศาลปกครอง เสมือนหนึ่งกองเซย เดตาต์ (Conseil d’Etat) หรือสภาแห่งรัฐ (Council of State)
ของฝรั่งเศส แต่ถูกคัดค้านด้วยเหตุผลประชาชนไม่พร้อม-ไม่เข้าใจหลักสิทธิเสรีภาพ, ขาดบุคลากร ทำให้
คณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกิดขึ้นทำหน้าที่เพียงขาเดียว คือ ร่างกฎหมาย
       
       ความพยายามที่จะเพิ่ม ขาที่ 2 คือ พิจารณาคดีปกครอง ต้องล้มเหลวหลายต่อหลายครั้งใน พ.ศ. 2478,
2489, 2499, 2500 และแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
ที่บัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองไว้ แต่ก็ไร้กฎหมายเฉพาะ ทำให้ไม่มีผลในทางปฏิบัติ
       
       สาเหตุของอุปสรรคขวากหนามนอกจากอิทธิพลทางความคิดของนักกฎหมายเอกชนในศาลยุติธรรม แล้วก็คือ...
       
       ความเกรงกลัวของข้าราชการประจำ นักการเมือง หรือนัยหนึ่งฝ่ายบริหาร
       
       ที่ไม่ต้องการเข้ามาอยู่ใน “กรอบ” ที่จะต้องถูกตรวจสอบ, ควบคุม โดยประชาชน ผ่านศาลปกครอง

       
       เป็นที่น่าสังเกตว่าในยุคสมัยฝ่ายบริหาร ตกอยู่ในมือนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ชอบท่องคาถาสวยหรู
เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะมีอาถรรพณ์ทำให้ กฎหมายเกี่ยวกับศาลปกครองมีอันต้องตกไป
       
       จุดเริ่มต้นของยุคใหม่ที่เกิด “กรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์” ขึ้นใน พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522
ก็เป็นยุคเผด็จการทหาร ภายใต้รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยแท้
       
       วันนี้ นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังคงท่องคาถา “มาจากการเลือกตั้ง” เหมือนเดิม
       
       แต่พวกเขาก็ถูกต้อนให้เข้าไปอยู่ในกรอบแห่งการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยศาลปกครองแล้ว
       
       แม้จะไม่ชอบใจ แต่ก็โวยวายอะไรได้ยาก
       
       ประชาธิปไตยในเนื้อหา หรือ “การเมืองใหม่” เกิดขึ้นแล้วในระดับหนึ่ง
       
       ประชาธิปไตยในเนื้อหา หรือ “การเมืองใหม่” ในความหมายนี้ ไม่ได้ถือกำเนิดมาเพียงแค่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น
       
       และไม่ได้ใช้เวลาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน !!
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
lcru
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62



« ตอบ #1 เมื่อ: 30-06-2008, 01:00 »

คลำนูน ศิษย์แป๊ะล้ม

คนที่เป็น ส.ว.ระบบยัดเยียดใช่ปะ ??
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 30-06-2008, 03:11 »

คลำนูน ศิษย์แป๊ะล้ม

คนที่เป็น ส.ว.ระบบยัดเยียดใช่ปะ ??


ที่ถามมา.. กลัวฝีมือศิษย์ค่ายนี้หรือครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
GIFT ME 5
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41


« ตอบ #3 เมื่อ: 30-06-2008, 03:21 »

คลำนูน ศิษย์แป๊ะล้ม

คนที่เป็น ส.ว.ระบบยัดเยียดใช่ปะ ??

แล้วถ้าจะบอกว่า พวก สส ตัวแทนประชาชนทั้งหลาย ที่เป็นรัฐบาล มันก็ระบบยัดเยียดทั้งนั้น ยัดเยียดเงิน  อิทธิพล ได้มากัน แล้วก็ต่างตอบแทนกันอยู่ในพวกเดียว เหมือนระบบมาเฟีย ไม่เคยนึกถึงอนาคตประเทศ เพราะคิดว่าประชาชนไม่มีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ เพราะคิดว่าซื้อได้ เลือกกีครั้งก็ได้

 
บันทึกการเข้า
Pig.Army
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 374


Anti พาล-มิต


« ตอบ #4 เมื่อ: 30-06-2008, 04:03 »

นี่ๆๆๆๆๆ  คุณ JE   ที่เขาว่ากันว่า คำสั่งศาลครั้งนี้ มัน ก้าวก่าย อำนาจ นะ จริงหรือเปล่า ...อธิบายที
บันทึกการเข้า

  สงสัยจะดัง เลยมีคนเอาชื่อไปแอบอ้าง  ตัวจริงเสียงจริงมีคนเดียวน่ะครับ ถ้าพิมพ์แล้ว ไม่จุดเยอะๆ......ไม่ใช่ผมน่ะครับ

 (ขออภัยในบางประโยค อาจจะรุนแรงและแทงใจดำไปหน่อย)
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #5 เมื่อ: 30-06-2008, 04:34 »

คลำนูน ศิษย์แป๊ะล้ม

คนที่เป็น ส.ว.ระบบยัดเยียดใช่ปะ ??


คงสู้ "จับตูดพอง พรมขาด" + "เชาวเลีย ลัดถะสากกะหรี่" สส.ระบบตามน้ำ ไม่ได้หรอกครับ
บันทึกการเข้า

see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #6 เมื่อ: 30-06-2008, 09:38 »

*  สภาเสียงข้างมาก  > ในแบบพวกมากลากไป  < ก็เป็นแบบนี้แหละ

    ต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า  ....  สส. หรือ  รมต. ที่อยู่ในสภาทุกวันนี้ก็คือคนหน้าเดิม ๆ

    หรือไม่ก็เป็นคน  นามสกุล  เดิม ๆ  แทบทั้งสิ้น ......

    เพราะฉะนั้น....เราจึงแทบจะไม่เห็นความแตกต่างในสภาเลยไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคก็ตาม

    แล้วเสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาลมาจากไหนหล่ะ ???  ใครเป็นพวกของใคร ... ใครเป็นคนกว้านซื้อไอ้กลุ่มคนพวกนี้ไว้ ???

    คือ .....  นายทุน  คนที่คุณก็รู้ว่าเป็นใคร  ใช่หรือไม่  !!!

    ตราบใดที่คนที่อาสามาเป็นผู้แทนยังขายตัวเพื่อเงินได้ .... ตราบใดที่ยังมีคนยืดอกว่าเป็น นอมินี  อย่างเต็มภาคภูมิ

    หรือ  ตราบใดที่เรายังเห็นการประท้วงในการอภิปรายด้วยเรื่อง  คุณยกมือผิดข้าง  ( ยกข้างซ้ายไม่ได้  ต้องยกข้างขวา )

    ถ้าเรายังมี  สส.  ปัญญาอ่อนแบบนี้อยู่ในสภา .... ก็อย่าหวังว่าจะได้เห็นการเมืองไทยพัฒนาขึ้นเลยค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-06-2008, 09:42 โดย see - u » บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
h_e_a_t
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


น้ำข้าว อร่อยกว่า ไวน์ เยอะเลยย


« ตอบ #7 เมื่อ: 30-06-2008, 09:55 »

ในความเป็นจริง ศาลปกครองมิได้มีค่ามากกว่า รัฐสภา ครับ

แต่ ทั้งศาลปกครอง รัฐสภา และองค์กรอื่นๆ ต่างเป็นองคาพยพ ของประชาธิปไตย บ้านเรา


ที่ถูกต้อง คือ ศาลปกครองนั้น มีจิตสำนึกอันดี ในประชาธิปไตย มากกว่า สมาชิกรัฐสภาซึ่งน่าจะหมายถึง สส.ฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด

ประชาธิปไตย จะถูกมองว่าดี หรือไม่ มีค่ามากน้อยเพียงใดที่จะปกป้องและรักษา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ สถาบัน หรือองค์กร ใดๆ ในรัฐธรรมนูญ ในระบบอบประชาธิปไตย

แต่ประชาธิปไตย จะ ถูกมองว่า ดี และมีค่ามาก ก็ต่อเมื่อ บุคคลในระบอบนั้นๆ องค์กรนั้นๆ มีจิตสำนึกอีนดี ที่จะธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาค ภราดรภาพ และความยุติธรรมต่อมวลชน

.......................การใช้อำนาจที่ตนเองมีตามกฏหมายนั้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ถึงจิตสำนึกอันดีของประชาธิปไตย

หากอำนาจที่มีถูกใช้ไปในทางไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ถูกมองว่า ไม่เป็นธรรมต่อมวลชน และไม่เป็นประชาธิปไตย หรือกล่าวง่ายๆก็คือ อธิปไตยพื้นฐานของประชาชน ถูกรังแกและบิดเบือนไป

แต่หากอำนาจนั้นถูกใช้ไปเพื่อพิทักษ์อธิปไตยพื้นฐานของประชาชน ก็จะเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงสำนึกอันดีของการธำรงไว้ใน ภราดรภาพ เสรีภาพ และความยุติธรรมต่อมวลชน อันทำให้ ภาพลักษณ์ของประชาธิปไตย ถูกมองไปในแง่ดี ถูกมองว่านี่แหละ คือ สังคมที่ให้อธปไตยแก่ประชาชนอย่างแท้จริง


คำว่าประชาธิปไตย แท้จริงแล้วมิได้จำกัดว่า จะต้องปกครองโดยใคร  รูปแบบอย่างไร แต่ มันหมายถึง อธิปไตยในเสรีภาพของประชาชน ที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆ รัฐนั้นๆต่างหากว่าเป็นอย่างไร

ต่อให้คุณจะถูกปกครองจากรัฐบาลทหาร หรือ มีผู้นำเป็นกษัตริย์
แต่หาก วิธีการปกครองของรัฐนั้นๆ ได้ให้ เสรีภาพในอธิปไตยของประชาชน ที่สร้างสรรค์ ด้วยจิตสำนึกดีงาม ที่พร้อมจะหยิบยื่นความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน.................ผมเห็นว่า นั่นแหละ ประชาธิปไตย


ไม่ใช่ แบบคนบางคนที่ชอบแหกปากบอกว่า เสียงมากกว่า คือ ประชาธิปไตย  แบบนั้นมันหยาบและห้วนจริงๆ ในเชิงรัฐศาสตร์ ครับ
บันทึกการเข้า

โลกนี้ ไม่มีใครสูงกว่าใคร  แต่ที่เรามองเห็นคนอื่นสูงกว่า ก็เพราะเราไปคุกเข่าให้เขาเอง
lcru
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62



« ตอบ #8 เมื่อ: 30-06-2008, 11:25 »

อ้างถึง
ที่ถามมา.. กลัวฝีมือศิษย์ค่ายนี้หรือครับ 

ก็น่ากลัวอยู่นะ ค่ายศิษย์แป๊ะลิ้ม  เพราะตั้งแต่เกิดมา มันชนะเขามาทุกแมตท์ มันยังไม่เคยแพ้ใครเลย

ชนะแล้ว ๆ ๆ ๆ แทบทุกวัน 5 5 5
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 30-06-2008, 11:39 »

ศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัยพิจารณาคดีเกี่ยวกับรัฐ

ไม่ว่าจะเป็นรัฐกับรัฐ รัฐกับเอกชน รัฐวิสาหกิจ ก็รวมในนี้ทั้งหมด

ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงสนธิสัญญาที่รัฐไปทำกับรัฐอื่น

ดังนั้นหากเป็นผลเสียกับประเทศ ก็มีคำสั่งเพิกถอนได้แน่นอน
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #10 เมื่อ: 30-06-2008, 14:15 »

นี่ๆๆๆๆๆ  คุณ JE   ที่เขาว่ากันว่า คำสั่งศาลครั้งนี้ มัน ก้าวก่าย อำนาจ นะ จริงหรือเปล่า ...อธิบายที
ก้าวก่ายตรงไหนในเมื่อศาลมีอำนาจในการถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญัติและบริหารอยู่แล้ว ถ้าไม่เข้าใจก็ไปศึกษาเรื่อง อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ซะ ที่ต้องมีเพราะผู้แทนประชาชนหลายครั้งที่ทำตามความต้องการของตัวเองไม่ใช่ของประชาชน 
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #11 เมื่อ: 30-06-2008, 14:18 »

โถถถถถถถถถ....คำนูณมันจะไปรู้เรื่องรู้ราวอะไรเกี่ยวกับปชต.ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเพราะตัวมันได้ดิบได้ดีแด๊กเงินเดือนมาจากภาษีของปชช.ก็เพราะระบบการแต่งตั้งเท่านั้น มันกล้าไหมที่จะลงเลือกตั้งสว./สส!?!
บันทึกการเข้า
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #12 เมื่อ: 30-06-2008, 14:20 »

คงสู้ "จับตูดพอง พรมขาด" + "เชาวเลีย ลัดถะสากกะหรี่" สส.ระบบตามน้ำ ไม่ได้หรอกครับ


โอยตายเลย มี ผู้บริหารประเทศ่ชื่อนี้ด้วยเหรอ มิน่าล่ะ มันถึงได้เป็นแบบนี้

มีอีกมั้ยครับพี่ท่าน อยากทราบ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: