ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 17:33
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  “เปิดปมด้อยรมว.คลัง ตั้งบอร์ดขี้เหร่เลือกกรรมการธปท.” 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
“เปิดปมด้อยรมว.คลัง ตั้งบอร์ดขี้เหร่เลือกกรรมการธปท.”  (อ่าน 1743 ครั้ง)
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« เมื่อ: 27-06-2008, 20:17 »

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2551 คอลัมน์ วิเคราะห์ โดย ทีมข่าวการเงิน (โพสต์ทูเดย์)
หลังจากที่นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังได้อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับคณะกรรมการ 2 ชุด ที่เป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญในการกำกับดูแลตลาดทุน คือ คณะกรรมการสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
   เรื่องนี้แต่เดิมนั้นมีคนให้ความสำคัญน้อย เพราะไม่รู้ว่าคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนั้นมีความสำคัญอย่างไร แต่ขณะนี้เริ่มเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาแล้ว เมื่อมีผู้ท้วงติงมากขึ้นถึงความเหมาะสมและคุณสมบัติของคณะกรรมการสรรหาชุดนี้
   ประเด็นนี้เกิดมาจากการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้เหมาะสมมาเป็นคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ว่างลงโดยคณะกรรมการสรรหาชุดนี้มีนายนิพัทธ พุกกะณะสุต เป็นประธาน นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา นายสมใจนึก เองตระกูล นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายวิโรจน์ นวลแข และนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นกรรมการ   
ส่วนคณะกรรมการสรรหาบอร์ด ธปท.นั้นมีนายสมใจนึก เองตระกูล นายนิพัทธ พุกกะณะสุต นายวิจิตร สุพินิจ นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร และนายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมเป็นกรรมการ
   รายชื่อกรรมการสรรหาทั้งหมดนั้นล้วนถูกสังคมกังขาในเรื่องความเหมาะสม เนื่องจากเกือบทุกคนถูกกล่าวหาและสอบสวนในเรื่องของธรรมาภิบาลสร้างความเสียหายแก่รัฐ โดยเกือบทั้งหมดเกี่ยวพันกับการเมือง
   แต่เพียงคำกล่าวหานี้ก็ไม่ได้ทำให้รมว.คลังเปลี่ยนใจ แม้จะมีการวิเคราะห์โยงใยไปว่า การที่ รมว.คลัง ตั้งคณะกรรมการขี้เหร่ขึ้นมานี้ก็เพราะมีเป้าหมายที่จะจัดการควบคุมองค์กรที่กำกับดูแลตลาดเงินและตลาดทุน เพื่อที่จะช่วยเหลืออดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีคดีความค้างคากับทั้ง 2 องค์กร ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ดินรัชดา ที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกกล่าวหาว่าฮั้วซื้อที่ดินราคาต่ำเกินจริง และอดีตนายกฯ ไม่แจ้งธุรกรรมของคู่สมรสให้ทราบ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
   นอกจากนี้ มีคดีธนาคากรุงไทยที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวหาว่า ฝ่ายการเมือง คือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายวันชัย หงษ์เหิน และนายมานพ ทิวารี (บิดา น.ต.ศิธา ทิวารี) และผู้บริหารธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกันให้เงินกู้แก่บริษัทในเครือกฤษดามหานคร และกลายเป็นหนี้เสียของธนาคารกรุงไทย
   โดยนายพานทองแท้ นางกาญจนาภา นายวันชัย และนายมานพ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 ฐานรับของโจร แม้ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด แต่ได้รับเงินที่ได้จากการกระทำความผิดฐานยักยอก ซึ่งคดีนี้จะต้องมีการต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไป
   

อย่างไรก็ดี แม้ รมว.คลังจะสวมบทพระเอกละครเรื่องช่างมันฉันไม่แคร์ ใครจะวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังยืนยันแข็งขันในความชอบธรรมในการตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยน เพราะมีการพลิกประเด็นกฎหมายขึ้นมาเพื่อชี้ว่า รมว.คลังกำลังทำผิดกฎหมาย

   ประเด็นที่ถูกตีความว่า รมว.คลังกำลังจะทำผิดกฎหมายนั้น ถูกชี้ออกมาจากกระทรวงการคลังเอง เพราะกลัวว่าหากทำผิดคณะกรรมการทั้งหมดจะเป็นโมฆะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-06-2008, 20:38 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #1 เมื่อ: 27-06-2008, 20:22 »

(ต่อครับ)

ทั้งนี้ ความเป็นห่วงมาจากการไปพลิกดู พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ในมาตรา 28/1 ระบุให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน โดยให้แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.
   และยังระบุว่า กรรมการคัดเลือกจะต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้   

แต่เมื่อเข้าไปเจาะดูรายชื่อคณะกรรมการคัดเลือกทั้ง 7 คน ที่ รมว.คลังแต่งตั้งแล้ว ปรากฎว่ามีผู้ที่เป็นที่ปรึกษาของ รมว.คลังอย่างไม่เป็นทางการ คือ โดยพฤตินัยเป็นที่ปรึกษาแต่ไม่มีตำแหน่งที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการโดยนิตินัย
   นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เป็นกรรมการในธนาคารพาณิชย์มาเป็นกรรมการ เช่น นายวิจิตร ที่วันนี้นั่งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ ธนาคารทหารไทย
   นายสถิตย์ ที่นั่งเป็นประธานกรรมการธนาคารทหารไทย
   นายชัยวัฒน์ ที่นั่งเป็นประธานกรรมการธนาคารกรุงไทยอยู่
   

ทั้ง 3 คนนี้ โดยนัยของกฎหมายแล้ว น่าจะถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจาก ธปท.เป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์โดยตรง การที่ให้ผู้ที่ถูกกำกับดูแลมาเลือกผู้กำกับดูแลจึงเป็นเรื่องที่ประหลาด
   เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ รมว.คลัง คงมองข้ามไปไม่ได้ เพราะจะเป็นชนวนให้ถูกครหา โดยเฉพาะเวลานี้รัฐบาลยอมให้ฝ่ายค้าอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอยู่ ซึ่ง นพ.สุรพงษ์ ในฐานะ รมว.คลัง ก็อยู่ในรายชื่อที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย
   เชื่อว่านายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเงา จะเกาะติดเรื่องนี้และยกประเด็นขึ้นมาสอบถาม รมว.คลังอย่างแน่นอน นอกจากนี้จะมีการโยงใยให้เห็นภาพว่า ทำไมจึงต้องพยายามตั้งคนเข้าไปควบคุมดูแลตลาดเงินและตลาดทุน
   รมว.คลังมีวัตถุประสงค์อะไร?
   ดังนั้น เรื่องนี้คงจะจบลงในเร็วๆ นี้ โดยเงื่อนไขทางการเมืองและเหตุผลที่ปรากฎในกฎหมาย จะไม่สนับสนุนให้ รมว.คลังดันทุรังตั้งบุคคลที่มีข้อกังขาเรื่องธรรมาภิบาลมาเลือกกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการ ธปท. ต่อไปได้
   หากถอยเร็วความเสียหายที่จะได้รับก็จะน้อยลง แต่หากปล่อยให้บานปลายใหญ่โต เรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นที่บั่นทอนความเชื่อมั่นที่สังคมมีต่อ นพ.สุรพงษ์
   เรื่องการตั้งกรรมการสรรหาบอร์ด ธปท.ไม่เหมาะสมนี้ เป็นเรื่องเล็กน้อยหากเทียบเรื่องใหญ่ในอนาคตที่กระทรวงการคลังจะต้องทำ
   และไม่คุ้มค่าที่ นพ.สุรพงษ์ ผู้มีอนาคตไกลและอาจจะเป็นได้ถึงนายกัฐมนตรี จะยอมให้เสียภาพลักษณ์และเสียคะแนนนิยมจากสาธารณชน เพียงเพื่อจะเอาใจที่ปรึกษาไม่กี่คน
   ปัจจัยเดียวที่จะทำให้ นพ.สุรพงษ์ดันทุรังทำเรื่องนี้ต่อไปได้นั้นน่าจะมาจากมือที่มองไม่เห็น ตัวจริงเสียงจริง ผู้มีอิทธิพลเหนือจิตใจ รมว.คลังเท่านั้น
   แต่หากดูจากปมการเมืองแล้ว รมว.คลัง คงเดินหน้านำปมด้อยนี้มาทำให้เป็นปมเด่นต่อไป หากไม่รีบตั้งบอร์ดทั้ง 2 องค์กรแล้ว หากการเมืองเปลี่ยนแปลงโอกาสจะกุมอำนาจในมือก็ทำได้ยากแล้ว
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 27-06-2008, 20:32 »

วันก่อน ผมเขียนข้อความสั้น ๆ ...

เรื่องข่าวซุบซิบ เรื่องการจ้องปลด ผู้ว่าแบ็งค์ชาติ...

ต้องขอบคุณสมาชิกท่านหนึ่ง ที่บังเอิญผ่านมาอ่าน เลยอนุเคราะห์ข่าวชิ้นนี้

ถ้ายังไม่ลืมกัน....เมื่อครั้ง วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 40....เกิดขึ้น เพราะ ทางฝ่ายการเมือง

เข้าไปวุ่นวาย ยุ่มย่าม ใน แบ็งค์ชาติ......หลังจากนั้น รัฐบาล ปชป. ได้ออก พรบ.เพื่อให้

แบ็งค์ชาติ เป็นอิสรระ จากการเมือง....แม้แต่ คุณธารินทร์ เองที่ เป็นรมว.คลังในสมัยนั้น

ก็ไม่สามารถ เข้าไปสั่งการ หม่อมเต่าได้.....คุณทักษิณ เอง ก็ไม่สามารถแตะตั้องหม่อมเต่าได้...

ต้องรอจน หมดอายุ ไปเอง.....แล้วเราก็ได้หม่อมอุ๋ย มา...ซึ่งผลงานก็นับได้ว่า ไม่เลวทีเดียว...

เพื่อนสมาชิกในบอร์ด คงจำกันได้ เกี่ยวกับ เรื่องซุบซิบ ที่ มีความพยายาม จะนำเงินที่ขายหุ้นออกนอกประเทศ

แต่ ถูกสกัดกั้น โดย หม่อมอุ๋ย คนนี้แหละ......นี่คือข้อดีของการที่ ให้แบ็งค์ชาติ เป็นอิสสระปลอดจากการเมือง....

วันนี้ การเมืองเข้าไปยุ่มย่ามในแบ็งค์ชาติอีกแล้วครับ....ผมหวั่นใจจริง ๆ .....

คราวที่แล้ว กว่าที่จะกระเสือก กระสน หนีตายจากโรคต้มยำกุ้งได้.....ก็แทบกระอักเลือด...

นี่จะเอาอีกแล้วหรือ.....โดยเฉพาะในยามนี้ เวียดนาม กำลังถูกพวก อีแร้งเข้าโจมตี

มีความเสี่ยง กับ โรค แหนมเนือง ไครสิต ไม่น้อย..


ดูรายชื่อหลายคน แล้วลองไปเปรียบเทียบ กับ ผู้บริหารแบ็งค์ชาติ ก่อนยุคหม่อมเต่ากันดูครับ.....
หลายชื่อ กลับเข้ามาอีกแล้ว.....สงสัย ต้องเตรียมตัวกระอักเลือดอีกครั้ง....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-06-2008, 20:36 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #3 เมื่อ: 28-06-2008, 11:30 »

*   ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้สักเท่าไหร่ ..... แต่คิดว่ามีนัยยะสำคัญอยู่

     เพราะกลไกลขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจย่อมมีกลุ่มบุคคลที่มี  " บทบาท "  อยู่กลุ่มหนึ่ง

     ถ้าจากรายชื่อที่มีการนำเสนอมา .... มีส่วนหนึ่งที่มีกลุ่มการเมืองเข้ามาข้องเกี่ยว

     หรือ ... เป็นกลุ่มคนที่เคยแสดงอภินิหารช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 40  มาแล้ว

     อัตราเสี่ยงย่อมมีสูง  ...... ที่วงจรเก่า ๆ จะกลับมามีบทบาทอีกครั้ง

     การแต่งตั้งกรรมการสรรหาบอรด์  ธปท.  สิทธิ์ขาดอยู่  นพ.สุรพงษ์  เพียงผู้เดียว  ???

     แล้วถ้ากรรมการชุดนี้ขี้เหร่นัก ..... เกิดความผิดพลาดขึ้นมา หรือ มีการเอื้อกัน  ใครจะรับผิดชอบ  ???

     ...................  หมอเลี๊ยบ  รับมือไหวหรือ  ???
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
หน้า: [1]
    กระโดดไป: