ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 08:46
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "แบ๊งก์ชาติ" เพิ่งจะค้นพบว่า คนจนกำลังพะงาบๆจากเงินเฟ้อ (เลี้ยงเสียข้าวสุก) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"แบ๊งก์ชาติ" เพิ่งจะค้นพบว่า คนจนกำลังพะงาบๆจากเงินเฟ้อ (เลี้ยงเสียข้าวสุก)  (อ่าน 1389 ครั้ง)
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 24-06-2008, 11:23 »


http://www.komchadluek.net/2008/06/24/x_eco_d001_208455.php?news_id=208455

ครัวเรือนรายได้ต่ำเสี่ยงหนี้พุ่ง ธปท.ห่วงกลุ่มเกษตร-แรงงานสู้ค่าครองชีพไม่ไหว

ธปท.ระบุครัวเรือนรายได้น้อยเสี่ยงก่อปัญหาหนี้เพิ่ม หลังค่าครองชีพพุ่งสูงขณะที่รายได้ยังอยู่ในระดับต่ำ เผยเงินออมลดลง แนวโน้มการกู้ยืมเพิ่มขึ้น และอาจชำระหนี้ไม่ได้ มองกลุ่มเกษตรกรและแรงงานรายได้น้อยน่าเป็นห่วง

น.ส.อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ และนายกฤษฎิ์ เดชารักษ์ เศรษฐกรส่วนเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในบทความเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน ว่า แม้ภาพรวมปัญหาหนี้สินของครัวเรือนไทยจะอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะครัวเรือนในภาคเกษตรและแรงงานยังมีความเสี่ยงต่อปัญหาหนี้ครัวเรือน จากการที่สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ และภาระหนี้สินต่อเดือนอยู่ในระดับสูง โดยครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมีภาระหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดเป็น 35% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงหากเทียบกับภาระหนี้ที่อยู่ในระดับบริหารจัดการได้ที่ 30-40% ของรายได้

 "ภาวะดังกล่าวทำให้ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหนี้สิน อีกทั้งการสำรวจล่าสุดยังพบว่า กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมีหนี้สินเพิ่มและมีสินทรัพย์ทางการเงินลดลงในช่วงปี 2549 แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่ต่ำลงและมีความเสี่ยงในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น" ผู้เขียนบทความระบุ

 นอกจากนี้ หากพิจารณาจากระดับการออมของครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จะพบว่าครัวเรือนที่รายได้น้อยมีเงินออมติดลบต่อเนื่องจากการที่มีรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย และยังมีแนวโน้มที่จะมีเงินออมติดลบต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งในภาวะที่ค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ ทำให้การลดลงของเงินออมรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่การกู้ยืมเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีความเปราะบางต่อปัญหาการชำระหนี้มากขึ้นด้วย

 ทั้งนี้ ครัวเรือนภาคเกษตรที่มีรายได้น้อยถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงซ้ำซ้อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดและรายได้ยังผันผวนตามผลผลิตและราคาสินค้าด้วย ซึ่งการปรับขึ้นของราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่ผ่านมา ทำให้รายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้น แม้ต้นทุนค่าครองชีพจะปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวความเสี่ยงของกลุ่มครัวเรือนเกษตรกรรายได้น้อยยังมีอยู่ โดยเฉพาะการที่รายได้สุทธิผันผวนตามราคาสินค้าเกษตร

 ส่วนกลุ่มแรงงานรายได้น้อยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กู้ยืมเงินจากนายทุนนอกระบบสูงถึง 31.6% ทำให้ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูง และการก่อหนี้ยังเป็นไปเพื่อการบริโภค ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนถึง 54.24% ดังนั้น เมื่อค่าครองชีพปรับเพิ่มขึ้นขณะที่รายได้คงที่ ความเสี่ยงในการชำระหนี้ของกลุ่มแรงงานรายได้น้อยจึงสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่การปรับค่าแรงขั้นต่ำช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพได้ในระดับหนึ่ง แต่ในระยะยาวปัญหาด้านค่าครองชีพยังคงเป็นความเสี่ยงอยู่ต่อไป
...............................

เรื่องแบบนี้แบ๊งก์ชาติถึงขนาดต้องเสียเวลาไปทำวิจัยด้วยหรือ?? ในเมื่อคนทำงานแบ๊งก์ชาติแต่ละคนขับรถมาทำงานจอดกันเต็มลาน ก็รู้สึกได้อยู่แล้วว่ามันค่าน้ำมันแต่ละเดือนมันซดหนักขนาดไหน มันเรื่องเซ้นส์ๆ  แล้วเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 203 บาท ข้าวจานละ 35-40 บาท ค่านั่งมอไซค์ออกไปปากซอยไปกลับ 30 บาท รถเมล์ 2 ต่อไปกลับ 60 บาท วันนึงยังไม่นับค่าเช่าบ้านก็ 210 บาทแล้ว ............. นอกจากนี้ก็ไม่ต้องไปอื่นไกล แบ๊งก์ชาติเองนั่นแหละที่ประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ก็รู้ว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงมันติดลบมา 5 ปีแล้ว นี่คือสาเหตุส่วนหนึ่งที่ไปกดดันให้เงินเฟ้อ คนต้องออกมากู้ กิน ใช้ กันแหลกลาน  จนกระทั่งมีราคาน้ำมันพุ่งมากระทบ  แล้วทำไมต้องไป "ทำวิจัยขี่ช้างจับตักแตน" เพื่ออะไร
บันทึกการเข้า

บักหัวเถิก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 438



« ตอบ #1 เมื่อ: 24-06-2008, 11:29 »

เป็นกันทุกประเทศ อย่าว่ารัฐบาลท่านซ่าหมักเลย เขาไม่ได้มาบริหารเศษฐกิจ  ซ่าหมักมีหน้าที่แก้รัฐนูณจบ[/font]
บันทึกการเข้า

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 24-06-2008, 11:35 »

เป็นกันทุกประเทศ อย่าว่ารัฐบาลท่านซ่าหมักเลย เขาไม่ได้มาบริหารเศษฐกิจ  ซ่าหมักมีหน้าที่แก้รัฐนูณจบ[/font]

ปัญหาร้ายแรงแบบนี้ รัฐบาลเสือกรีบแก้รัฐธรรมนูญ เสร็จก็รีบไปรับรองมรดกโลกให้เขมร เพื่ออะไร????????????????????
บันทึกการเข้า

Iona
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 271


« ตอบ #3 เมื่อ: 24-06-2008, 12:01 »

ข่าวคงไม่กล้าออกก่อนหน้านี้ ขนาดคุณธาริษามาบอกให้ประชาชนรับมือเงินเฟ้อ2หลัก รัฐบาลยังออกมาด่าเลยว่าห้ามพูด แถมจะไปปลดเค้าด้วย (แล้วข้าราชการตัวเล็กหรือหนังสือพิมพ์เล็กจะกล้าหรือ?)
สงสัยมันจะรอให้เราไม่รู้อะไรเลย แล้วรู้อีกทีตายไปเลยใช่ไหมเนี้ย (มันจะได้กลับมาแบบปี40อีกที่ คนส่วนใหญ่กำลังแย่จะได้ซื้อหรือปิดปากด้วยเงินง่ายๆ)

เท่านี้ดู ยังไม่เห็นนโยบายเร่งด่วนหรือนโยบายระยะยาวที่เป็นความหวังได้เลย เศร้ากับประเทศเราจริงๆ นักเศรฐศาสตร์เก่งๆก็มั่วแต่ห่วงตำแหน่งชื่อเสียงกลัวคนจะว่าตัวเองพลาด เฮ่อ
บันทึกการเข้า

เงินงบประมาณของประเทศที่นำไปใช้จ่ายต่างๆ มาจาก การจัดเก็บภาษีที่เราประชาชนคนไทยทุกคนต้องจ่ายกันอยู่แล้วทั้งจากภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม(vet 7) (ขอย้ำว่าทุกคนเพราะเมื่อเราได้ซื้อสินค้าใดๆ สินค้านั้นยอมมีต้นทุนมาจากการเสียภาษีแล้ว) หรือจากการจัดเก็บจากทรัพย์สินส่วนรวมของคนไทยทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินที่บรรพบุรุษของเราปกป้องรักษา ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดิน แผ่นน้ำ ใต้แผ่นดิน ใต้แผ่นน้ำ ท้องฟ้า อวกาศ

เงินงบประมาณของประเทศ ไม่ได้มาจากเงินของคนใดคนหนึ่งหรือพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่มีใครสมควรอย่างยิ่งที่จะแอบอ้างว่าเงินนี้เป็นของตนนำมาแจกจ่าย การแอบอ้างนั้น เป็นการกระทำที่ไร้จริยธรรม และไม่ยุติธรรมต่อความรู้ของทุกๆคนในประเทศที่ต้องเสียภาษี

อย่าโทษหรือด่าว่า คนที่เค้าไม่มีโอกาศเข้าถึงข่าวสารข้อมูล ปัญหาจะแก้ได้คือ ทำอย่างไรให้เค้าเหล่านั้น ได้เข้าถึงข่าวสารข้อมูล

หลอกคนไทยตลอดไป คิดว่าหลอกได้หรือ? รัฐบาลของทักษิณ

เป็นเรื่องแปลก...สิ่งที่คนโกงกลัวที่สุดคือ ....ไม่ได้มีชีวิตเพื่อใช้เงินที่โกงมา? ประวัติศาสตร์โลกมีให้เห็น
หน้า: [1]
    กระโดดไป: