ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 15:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2] 3 4
==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==  (อ่าน 16975 ครั้ง)
prinz_bismarck
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156


« ตอบ #50 เมื่อ: 24-06-2008, 16:35 »


มิได้ครับ ผมมันคนตรง...ผิดเป็นผิด  ไม่ใช่ผิดแล้วแก้ตัวว่าถูก  เพราะหากไทยยังคลดึงดันเล่นเกมส์กับเขมรไม่เลิก เกรงว่าคนเขมรจะลุกฮือขึ้นทำร้ายคนไทยในเขวร และเผาสถานฑูตไทยได้อีก ถึงเวลาที่มีสงครามกัน...พวกรากหญ้าทั้งนั้นที่ถูกส่งไปตาย

คนที่คัดค้านเรื่องนี้...ไม่มีใครตายสักคนหรอกหากเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ


ผมว่าคนที่คัดค้านต่างหากจะเป็นแนวหน้าไปตายเป็นพวกแรก คนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ย่อมเป็นคนแรกที่อาสาไปสู้อยู่แล้ว นี้เป็นเรื่องปกติ
แตพวกที่สนับสนุนให้ขายชาติ ขายแผ่นดิน พวกนี้มันไม่ยอมไปตายหรอก มันกลัวอดใช้เงิน
บันทึกการเข้า
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #51 เมื่อ: 24-06-2008, 16:36 »


สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!


คุณ The Last Emperor ครับ... ที่ผมมาร์คแดงไว้ น่าจะเป็นคำตอบที่ตอบโดยตัวคุณผู้ถามเองอยู่แล้ว

ก็เพราะเรานิ่งเฉยตอนรับแผนที่มา (ไม่แน่ใจว่ามีเซ็นต์รับแผนที่แบบรับมอบงานด้วยหรือเปล่า? เพราะลายลักษณ์อักษรในสัญญากับการเซ็นต์รับน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าท่าที เฉย-ไม่เฉย) ทำให้ศาลโลกใช้วิธีพิจารณาโดยอิงหลักการ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และทำให้เสียสิทธิการอ้างความถูกต้องของแผนที่ไป

ดังนั้น ถ้าศาลโลกยังคงยึดหลักการบ้าบอแบบ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" แบบนี้... การที่ไทยเราไม่นิ่งเฉยและยื่นประท้วงเพื่อรักษาสิทธิการทวงคืนปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ... จริงไหมครับ.. เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องปรากฎอยู่ในมาตราไหนทั้งสิ้น

และดังนั้น.. ถ้าในอนาคตมีระบบกฎหมายโลกใหม่ๆ ขึ้นมา และมีความครอบคลุมต่อกรณีปราสาทพระวิหาร... เราจึงยังมีสิทธิฟื้นคดีนี้ขึ้นมาอีก... แต่ถ้าเรานิ่งเฉยไม่ยื่นประท้วงการตัดสินตั้งแต่คราวนั้น ก็อาจเขากรณีเดิมคือ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และไม่อาจรื้อฟื้นคดีปราสาทพระวิหารขึ้นอีก ไม่ว่าจะด้วยกลไกใดใด

แต่นี่รัฐบาลกลับทำยิ่งกว่า "นิ่งเฉย" เสียอีก... นั่นคือการ "ยอมรับอย่างเป็นทางการ" จากผู้นำรัฐบาลและรมต.ต่างประเทศฯ ... สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยต่อคดีปราสาทพระวิหารในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

ที่คุณ The Last Emperor อ้างอิงเห็นเหตุผลมานี้ เป็นสิ่งที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว และคงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าคุณจีที่คุณกล่าวถึงก็ไม่ได้หลอกตัวเองแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #52 เมื่อ: 24-06-2008, 16:38 »

แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
สมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?

ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ 

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  

คุณใช้ความคิดของคุณบอกว่าอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าผมคิดบ้างได้ไหมครับว่าอนาคตมันก็คงไม่มีธรรมนูญข้อไหนออกช่องมาให้แก้ไขสิ่งที่ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขตแดน คงไม่มีข้อไหนอนุญาติให้ประท้วงแบ่งเขตใหม่
เพราะถ้าเป็นจริง โลกคงวุ่นวานมากกว่านี้ เพราะจะมีประเทศที่อ้างความชอบธรรมไปทั่ว
(ไม่นับพวกที่ไม่สนเรื่องประเด็นความสัมพันธ์กับชาติอื่นนะครับ)

แล้วด้วยตรรกะนี้ คุณจีคิดว่าเราควรตัดสินใจแบบไหนละครับ


http://www.icj-cij.org/documents/index.php?p1=4&p2=2&p3=0#CHAPTER_III

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.


ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.

อ่านที่คุณจีเอามาให้ (ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะครับ) ผมสงสัยว่ามาตรา 60 เนี่ยก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่า final แต่ถ้าสงสัยให้ยื่นตีความได้
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #53 เมื่อ: 24-06-2008, 16:43 »

ตกลงที่ "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes" มันมีจริงไหมครับ? 


เติ้ลแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆว่ากระบวนการดำเนินคดีความของทนายความของไทยเค้าตอบเรื่องแผนที่ดังกล่าวเช่นไร สรุปได้ว่า action ของทนายไทยไม่ปฎิเสธแผนที่ดังกล่าว เพราะถ้าปฏิเสธก็ต้องมีเอกสารมายืนยันว่าช่วงนั้นทนายไทยปฏิเสธ


มีแต่คุณจีรศักดิ์และบางคนในปี 2551 เท่านั้นที่ยังคอเอียงปฏิเสธแผนที่ดังกล่าว  ฮ่าๆๆๆ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #54 เมื่อ: 24-06-2008, 16:46 »

ฟังอยู่ เหมือนคุณอภิสิทธิ์  เข้ามาอ่านข้อมูลคุณจีเลย เดี๊ยะๆ
มี อเมริกา อิสราเอลงอแงคำตัดสินด้วย
มีทนายของเขมรด้วย

ไอ้ประโยค ข้อ 61 อายุความ 10ปี ผมรอฟังอยู่จะแก้ยังไง
ด่าคุณนพดลไปแล้วว่า ที่ยกมาทำตัวเหมือนเป็นทนายเขมร
แต่ไม่มีคำแก้ต่าง ด่าเขาฟรีๆ เลย
พูดอย่างที่ว่า ถ้าคุณนพดลไม่พูดกฎข้อนี้มันจะหายไป หรือเขมรไม่รู้นี่กฎนี้น่ะ
เหมือนคุณจีทุกประการเลย  


ผมฟังแล้วก็สงสัยอยู่เหมือนกัน เว็บเสรีไทยก็กำลังดังเสียด้วย  

เดือนนี้ก็จะถึง 1 ล้านเพจวิวอีกแล้ว+อาจมี 1000 กระทู้ใหม่
ผมลองเช็ค ranking พบว่าเราติด 1 ใน 1000 เว็บไทยแล้ว  

...

เรื่องอายุความ 10 ปีผมตอบแล้วพร้อมนำธรรมนูญศาลโลก
มาตรา 60-61 มาให้ดูประกอบด้วย

คิดว่าคุณ mebeam คงได้อ่านเีรียบร้อยแล้วนะครับ  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #55 เมื่อ: 24-06-2008, 16:51 »

คุณใช้ความคิดของคุณบอกว่าอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าผมคิดบ้างได้ไหมครับว่าอนาคตมันก็คงไม่มีธรรมนูญข้อไหนออกช่องมาให้แก้ไขสิ่งที่ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขตแดน คงไม่มีข้อไหนอนุญาติให้ประท้วงแบ่งเขตใหม่
เพราะถ้าเป็นจริง โลกคงวุ่นวานมากกว่านี้ เพราะจะมีประเทศที่อ้างความชอบธรรมไปทั่ว
(ไม่นับพวกที่ไม่สนเรื่องประเด็นความสัมพันธ์กับชาติอื่นนะครับ)

แล้วด้วยตรรกะนี้ คุณจีคิดว่าเราควรตัดสินใจแบบไหนละครับ

อ่านที่คุณจีเอามาให้ (ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะครับ) ผมสงสัยว่ามาตรา 60 เนี่ยก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่า final แต่ถ้าสงสัยให้ยื่นตีความได้

ต่อให้เป็นแบบที่คุณทำนายจริง การประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ก็ไม่เห็นเสียหายตรงไหน
เราคงไม่ต้องมาคุยประเด็นนี้กันอีกนะครับ ว่าอาจทวงคืนไ่ม่ได้เลยไม่สงวนสิทธิ

สำหรับมาตรา 60 ต้องดูที่ประโยคต่อไปครับ สรุปว่าเราขอตีความเมื่อไหร่ก็ได้
(คงไม่ต้องใ้ห้ผมแปลธรรมนูญนะครับ)
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 16:54 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #56 เมื่อ: 24-06-2008, 16:52 »


เติ้ลแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆว่ากระบวนการดำเนินคดีความของทนายความของไทยเค้าตอบเรื่องแผนที่ดังกล่าวเช่นไร สรุปได้ว่า action ของทนายไทยไม่ปฎิเสธแผนที่ดังกล่าว เพราะถ้าปฏิเสธก็ต้องมีเอกสารมายืนยันว่าช่วงนั้นทนายไทยปฏิเสธ

มีแต่คุณจีรศักดิ์และบางคนในปี 2551 เท่านั้นที่ยังคอเอียงปฏิเสธแผนที่ดังกล่าว  ฮ่าๆๆๆ


สุดท้ายก็เข้าตำราเดิม (แสดงว่าเป็นคุณอะไรจ๊ะตัวจริง) 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #57 เมื่อ: 24-06-2008, 16:55 »

คุณ The Last Emperor ครับ... ที่ผมมาร์คแดงไว้ น่าจะเป็นคำตอบที่ตอบโดยตัวคุณผู้ถามเองอยู่แล้ว

ก็เพราะเรานิ่งเฉยตอนรับแผนที่มา (ไม่แน่ใจว่ามีเซ็นต์รับแผนที่แบบรับมอบงานด้วยหรือเปล่า? เพราะลายลักษณ์อักษรในสัญญากับการเซ็นต์รับน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าท่าที เฉย-ไม่เฉย) ทำให้ศาลโลกใช้วิธีพิจารณาโดยอิงหลักการ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และทำให้เสียสิทธิการอ้างความถูกต้องของแผนที่ไป

ดังนั้น ถ้าศาลโลกยังคงยึดหลักการบ้าบอแบบ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" แบบนี้... การที่ไทยเราไม่นิ่งเฉยและยื่นประท้วงเพื่อรักษาสิทธิการทวงคืนปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ... จริงไหมครับ.. เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องปรากฎอยู่ในมาตราไหนทั้งสิ้น

และดังนั้น.. ถ้าในอนาคตมีระบบกฎหมายโลกใหม่ๆ ขึ้นมา และมีความครอบคลุมต่อกรณีปราสาทพระวิหาร... เราจึงยังมีสิทธิฟื้นคดีนี้ขึ้นมาอีก... แต่ถ้าเรานิ่งเฉยไม่ยื่นประท้วงการตัดสินตั้งแต่คราวนั้น ก็อาจเขากรณีเดิมคือ "นิ่งเฉยคือยอมรับ" และไม่อาจรื้อฟื้นคดีปราสาทพระวิหารขึ้นอีก ไม่ว่าจะด้วยกลไกใดใด

แต่นี่รัฐบาลกลับทำยิ่งกว่า "นิ่งเฉย" เสียอีก... นั่นคือการ "ยอมรับอย่างเป็นทางการ" จากผู้นำรัฐบาลและรมต.ต่างประเทศฯ ... สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยต่อคดีปราสาทพระวิหารในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

ที่คุณ The Last Emperor อ้างอิงเห็นเหตุผลมานี้ เป็นสิ่งที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว และคงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าคุณจีที่คุณกล่าวถึงก็ไม่ได้หลอกตัวเองแต่อย่างใดครับ


ตอบได้ง่ายเลยค่ะว่า ศาลโลกตัดสินไปกว่า 40 ปีแล้วและไทยก็นิ่งเฉยไม่คัดค้าน...ถามว่าตอนนี้ศาลโลกเค้าเปิดโอกาสให้มีการยื่นอุธรณ์ในเรื่องนี้ไหม? ถ้าตอบตรงนี้ได้ก็จะเข้าใจในเรื่องราวทั้งหมด แต่ถ้ายังดันต่อไปว่าไทยต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบไม่รู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติของศาลโลก...ก็คุยกันวนไปวนมาอย่างนี้
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #58 เมื่อ: 24-06-2008, 16:57 »

ไว้อาลัยให้สมัคร สุนทรเวช

ตายไปแล้ว ตอบคำถามไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว

 
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #59 เมื่อ: 24-06-2008, 16:59 »

ขออนุญาตนำข้อมูลของท่านจีรศักดิ์มายืนยันอีกครั้งครับว่า คำสั่งศาลโลกในปี 2505 ถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว และไทยเองก็ไม่ได้ทำเรื่องร้องเรียนภายในปี 2515...จบแล้วครับ


"ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.



ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment."
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #60 เมื่อ: 24-06-2008, 17:04 »


ตอบได้ง่ายเลยค่ะว่า ศาลโลกตัดสินไปกว่า 40 ปีแล้วและไทยก็นิ่งเฉยไม่คัดค้าน...ถามว่าตอนนี้ศาลโลกเค้าเปิดโอกาสให้มีการยื่นอุธรณ์ในเรื่องนี้ไหม? ถ้าตอบตรงนี้ได้ก็จะเข้าใจในเรื่องราวทั้งหมด แต่ถ้ายังดันต่อไปว่าไทยต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบไม่รู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติของศาลโลก...ก็คุยกันวนไปวนมาอย่างนี้

ขออนุญาตนำข้อมูลของท่านจีรศักดิ์มายืนยันอีกครั้งครับว่า คำสั่งศาลโลกในปี 2505 ถือว่าสิ้นสุดไปแล้ว และไทยเองก็ไม่ได้ทำเรื่องร้องเรียนภายในปี 2515...จบแล้วครับ


"ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.



ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้
ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #61 เมื่อ: 24-06-2008, 17:04 »

ขอสรุปประเด็นนิดนึงนะครับไม่ทราบผิดถูกอย่างไรลองเสนอความเห็นดู

ตอนนี้ประเด็นเรื่องเขมรยื่่นเรื่องประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไม่ได้รุกล้ำดินดินของไทยเพิ่มเติมจากที่ศาลโลกตัดสิน
คิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจตรงกัน

แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันคือ ประเด็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น  ใช่ไหมครับ

ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น เพราะ

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ
2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ
2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

ปล. 1 ผมขอให้ตัดประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนออกเถอะครับ เพราะนอกจากข่าวลือแล้ว ยังไม่เห็นอะไรที่พอจะเป็นหลักฐาน
         ได้ว่า อดีตนายกได้สัมปทานแถวเกาะกงเลยครับ
ปล. 2 กรุณาอย่าคิดว่าผม(รวมถึงคนอื่นๆ ที่คิดต่างกับเรา) เป็นคนไม่รักชาติเลยครับ เพราะผมก็รักชาติเหมือนพวกคุณนั่นแหละ
        เพียงแต่มีมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #62 เมื่อ: 24-06-2008, 17:11 »

ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้
ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  


5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." ช่วยอธิบายให้จ๊ะฟังหน่อย pleaseeeee
บันทึกการเข้า
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #63 เมื่อ: 24-06-2008, 17:13 »

ผมอธิบายจนเมื่อยมือแล้ว ทำไมคุณอะไรจ๊ะยังไม่ถึงไหนเลย  

เอาแค่ตาม มาตรา 60 ที่ยกมาให้ดูก็เห็นแล้วว่าเราจะขอตีความ
คำพิพากษาเมื่อไหร่ก็ได้
ศาลโลกเขาเปิดให้ยื่นตีความได้เสมอ
โดยไม่กำหนดเวลา ซึ่งการตีความคำพิพากษาใหม่ก็อาจให้ผล
คล้ายกับการเปลี่ยนคำพิพากษา

ยังไม่นับเรื่องที่อาจมีองค์กรใหม่ หรือกฎหมายใหม่เกิดขึ้นมา
ที่ไทยเราจะได้สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้

ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยได้ประกาศสงวนสิทธิเอาไว้แล้ว  

ถามคุณจีครับ คุณคิดว่าข้อ 60 มีไว้เพื่อให้อุธรณ์คำตัดสินได้หรือครับ จะมีนักกฏหมาย(รวมถึงศาล)
ที่ไหนจะเขียนมาตรานี้ขึ้นมา เพราะถ้าฝ่าย B ชนะ แล้วฝ่าย A ยื่นอุธรณ์ แล้วศาลกลับคำตัดสิน ฝ่าย B ก็สามารถใช้ข้อนี้
ในการยื่นอุธรณ์คำตัดสินอันนี้ได้อีก แล้วข้อยุติจะอยู่ตรงไหนครับ มีนักกฎหมายที่ไหนจะตีความอย่างนี้ครับ
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #64 เมื่อ: 24-06-2008, 17:14 »

วันนี้ไม่ต้องหลับต้องนอนกันแล้ว...เอาให้รู้เรื่องกันสักที พับผ่าซิเอ๊า!!
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #65 เมื่อ: 24-06-2008, 17:17 »

ขอสรุปประเด็นนิดนึงนะครับไม่ทราบผิดถูกอย่างไรลองเสนอความเห็นดู

ตอนนี้ประเด็นเรื่องเขมรยื่่นเรื่องประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไม่ได้รุกล้ำดินดินของไทยเพิ่มเติมจากที่ศาลโลกตัดสิน
คิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจตรงกัน

แต่ประเด็นที่ถกเถียงกันคือ ประเด็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น  ใช่ไหมครับ

ผมขอเสนอความคิดเห็นว่า ณ. วันนี้ เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น เพราะ

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ
2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ
2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ

ปล. 1 ผมขอให้ตัดประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนออกเถอะครับ เพราะนอกจากข่าวลือแล้ว ยังไม่เห็นอะไรที่พอจะเป็นหลักฐาน
         ได้ว่า อดีตนายกได้สัมปทานแถวเกาะกงเลยครับ
ปล. 2 กรุณาอย่าคิดว่าผม(รวมถึงคนอื่นๆ ที่คิดต่างกับเรา) เป็นคนไม่รักชาติเลยครับ เพราะผมก็รักชาติเหมือนพวกคุณนั่นแหละ
        เพียงแต่มีมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ

...

ตอบคำถาม คุณไม่เอาพันธมาร อีกสักหน่อย...

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ


- การยื่นตีความไม่ใช่แค่เรื่องแก้สงสัยครับ แต่ยังเป็นโอกาสในการนำแง่มุมต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้อง หรือสร้างประโยชน์
  ให้กับผู้ยื่นตีความซึ่งในกรณีนี้คือสิทธิของประเทศไทย เหนือปราสาทพระวิหาร

2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ


- อย่าพูดเรื่องยากง่ายเลยครับ ถ้ามันเกิดขึ้นเราก็นำมาใช้ .. แค่นั้น

2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ


- สิทธิที่สงวนไว้ไม่ได้ระบุระยะเวลานะครับ และในเมื่อไม่ได้ยืนยันมา 50 ปี จะยืนยันซ้ำสักทีก็ดีแล้ว 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 17:38 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #66 เมื่อ: 24-06-2008, 17:17 »

ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ
บันทึกการเข้า
Rule of Law
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185


« ตอบ #67 เมื่อ: 24-06-2008, 17:18 »

จริงๆแล้ว มูลเหตุว่าพระวิหารควรเป็นของใคร ศาลโลกมีธรรมนูญอย่างไร  ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของไทยเลยซักนิด

พยายามลากกันอยู่ได้  แค่ต้องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ให้เขมร -- เข้าข้างการกระทำนพดล -- ลดความชอบธรรมของพันธมิตร

เท่านั้นเอง 



เมื่อกี้เห็นคุณ mebeam พูดว่า  ถ้าสน้บสนุนเขมรแล้วได้ประโยชน์ก็ควรจะทำ
ตกลง ชาติได้ประโยชน์อะไรบ้าง ไม่เห็นมี  (หรือว่ายอมรับว่ามี "ผลประโยชน์" แต่ไม่รู้ใครได้)

คิดว่าที่สนับสนุนเขมร เป็น solution ที่ดีที่สุดแล้วเหรอ

ทำไมไม่บอก unesco ว่า ให้รอไทยทำเรื่องขึ้นมาด้วย เพื่อจดทะเบียนร่วมกัน?  ทำไมต้องรีบ
ถ้าเขมรไม่ยอมเปลี่ยนแผนที่  ไทยก็ค้านไปสิ   มันจะจดทะเบียนได้มั้ย

การจดทะเบียนร่วมกัน win win ที่สุดแล้ว  แต่เหลี่ยม + เหล่ ไม่ทำ

บันทึกการเข้า

Your C.V is nothing. Your future plan...is everything.
Rule of Law
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185


« ตอบ #68 เมื่อ: 24-06-2008, 17:20 »

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ


อุแม่เจ้า  คุณ G ช่างเมตตาต่อผู้ที่(แกล้ง)ซื่อซะจน.........

บันทึกการเข้า

Your C.V is nothing. Your future plan...is everything.
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #69 เมื่อ: 24-06-2008, 17:21 »

ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ



หุ หุ  เห็นมวยรองกำลังเน่า...จ๊ะต้องบดขยี้สถานเดียว คริ คริ


ว่าไงคร้าคุณจีขาฯตอบหน่อยจิ๊ว่า "5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." เนี่ยหมายฟามว่าไง???
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #70 เมื่อ: 24-06-2008, 17:31 »

จ๊ะตอบบัตร clock out ก่อนน๊า...บั๊บ บาย ฮ้า
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #71 เมื่อ: 24-06-2008, 17:33 »

ถามคุณจีครับ คุณคิดว่าข้อ 60 มีไว้เพื่อให้อุธรณ์คำตัดสินได้หรือครับ จะมีนักกฏหมาย(รวมถึงศาล)
ที่ไหนจะเขียนมาตรานี้ขึ้นมา เพราะถ้าฝ่าย B ชนะ แล้วฝ่าย A ยื่นอุธรณ์ แล้วศาลกลับคำตัดสิน ฝ่าย B ก็สามารถใช้ข้อนี้
ในการยื่นอุธรณ์คำตัดสินอันนี้ได้อีก แล้วข้อยุติจะอยู่ตรงไหนครับ มีนักกฎหมายที่ไหนจะตีความอย่างนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ที่ผมยกมาตรา 60 ขึ้นมา เป็นเพียงตัวอย่าง
ของช่องทางการใช้สิทธิ ตามที่รัฐบาลไทยในอดีตได้ประกาศสงวนสิทธิไว้

...

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความ
ซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"

ในอนาคตจึงเป็นไปได้ว่าหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราสามารถตีความ
คำพิพากษาเป็นประโยชน์กว่าเดิม เราก็สามารถยื่นขอตีความอย่างเป็นทางการ
ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย


ในทำนองเดียวกันหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายกัมพูชา
ทางกัมพูชาก็อาจยื่นตีความได้เหมือนกัน

ข้อยุติจึงอยู่ที่ว่าศาลตีความแบบไหนในขณะนั้นๆ และถ้ามีการยื่นตีความอีก
ก็จะเกิดข้อยุติใหม่ขึ้นมาได้อีก..

ผมคิดว่าปัญหาก็คือคุณไม่เอาพันธมาร นำหลักคิดทางกฎหมายต่อบุคคลธรรมดา
ไปใช้เป็นหลักคิดทางกฎหมายระหว่างประเทศ

บุคคลธรรมดากับประเทศต่างกัน ตย.เช่น เราฟ้องล้มละลายประเทศไม่ได้  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 17:36 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #72 เมื่อ: 24-06-2008, 17:35 »

ถึงคุณจี...

หนอนจะพาออกทะเล
กรุณาอย่าให้อาหารหนอนครับ

รับทราบครับ.. ที่ผ่านมาคิดว่ายังพอไหวนะครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #73 เมื่อ: 24-06-2008, 17:43 »


หุ หุ  เห็นมวยรองกำลังเน่า...จ๊ะต้องบดขยี้สถานเดียว คริ คริ


ว่าไงคร้าคุณจีขาฯตอบหน่อยจิ๊ว่า "5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment." เนี่ยหมายฟามว่าไง???


เรื่องนี้ผมตอบ คุณไม่เอาพันธมาร ไปตั้งแต่หน้าก่อนแล้่วไงครับ
อยู่ด้วยกันกับ ธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60-61 ที่คุณก็อปมา
ตกลง ก็อปฯ อย่างเดียว ไม่ได้อ่านอะไรเลยหรือครับ? 

...

งั้นก็แปะเข้าไปอีกแล้วกัน... ข้อความเดิมระบายสีเพิ่มให้ชัดอีกหน่อย...

ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 17:44 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #74 เมื่อ: 24-06-2008, 17:52 »

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ที่ผมยกมาตรา 60 ขึ้นมา เป็นเพียงตัวอย่าง
ของช่องทางการใช้สิทธิ ตามที่รัฐบาลไทยในอดีตได้ประกาศสงวนสิทธิไว้

...

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"

ในอนาคตจึงเป็นไปได้ว่าหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราสามารถตีความ
คำพิพากษาเป็นประโยชน์กว่าเดิม เราก็สามารถยื่นขอตีความอย่างเป็นทางการ
ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย


ในทำนองเดียวกันหากมีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายกัมพูชา
ทางกัมพูชาก็อาจยื่นตีความได้เหมือนกัน

ข้อยุติจึงอยู่ที่ว่าศาลตีความแบบไหนในขณะนั้นๆ และถ้ามีการยื่นตีความอีก
ก็จะเกิดข้อยุติใหม่ขึ้นมาได้อีก..

ผมคิดว่าปัญหาก็คือคุณไม่เอาพันธมาร นำหลักคิดทางกฎหมายต่อบุคคลธรรมดา
ไปใช้เป็นหลักคิดทางกฎหมายระหว่างประเทศ

บุคคลธรรมดากับประเทศต่างกัน ตย.เช่น เราฟ้องล้มละลายประเทศไม่ได้  

ผมไม่ได้เอาหลักคิดทางกฏหมายอะไรหรอกครับ เนื่องจากไม่ได้เรียนมาทางนี้ 
แต่ผมคิดธรรมดา คิดแบบคุณจีนั่นแหละครับ

ชัดเจนว่าธรรมนูญมาตรา 60 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้อุทธรณ์คำตัดสิน แต่เราสามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ผ่านช่องทางการยื่นตีความซึ่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ประเ่ทศไทยได้เลือกวิธีตีความที่รักษาประโยชน์ของเราที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นั่นคือตัวอย่างของการใช้ช่องทางการ "ตีความ"

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #75 เมื่อ: 24-06-2008, 17:58 »

ประเด็นหลักที่ทีมทนายความไทยใช้ต่อสู้คือ ปฏิเสธแผนที่ของฝรั่งเศส

พลังประชาชนอ้างข้อ 61 ( อายุความ 10 ปี )

ปชป. ใช้ ข้อ 60 ไม่มีอายุความเรื่องข้อสงวน...เรื่องอายุความ


ต้องไปดู ข้อเสนอของอเมริกาสมัยหลังสงครามโลกนะครับ

เขมรขอใช้อธิปไตยร่วมกัน แต่ไทยไม่ยอม

สุดท้าย เขมรก็กลับไปยื่นศาลโลก...ประวัติศาสตร์เป็นเช่นนั้น


ข้อมูลเสริม

๒๔๘๓

 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พบว่าพรมแดนเขตนี้ใช้ลำห้วยเป็นเส้นเขตแดนแทนที่เป็นสันปันน้ำ จึงได้มีความพยายามขอแก้ไขการปักปันเขตแดนในส่วนนี้กับฝรั่งเศส
 


http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/06/24/entry-1/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 18:11 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Iona
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 271


« ตอบ #76 เมื่อ: 24-06-2008, 18:07 »

เห่อๆ เอกสารที่เขมรไปเอาต่อยูเนสโก  ยื่นยันซ้ำอีก ว่า'สมชาย-นพดล'แอบไปเจรจากับเขมร ก่อนเป็นมติครม.17มิ.ย. >>> รอดูมันแถ


บันทึกการเข้า

เงินงบประมาณของประเทศที่นำไปใช้จ่ายต่างๆ มาจาก การจัดเก็บภาษีที่เราประชาชนคนไทยทุกคนต้องจ่ายกันอยู่แล้วทั้งจากภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม(vet 7) (ขอย้ำว่าทุกคนเพราะเมื่อเราได้ซื้อสินค้าใดๆ สินค้านั้นยอมมีต้นทุนมาจากการเสียภาษีแล้ว) หรือจากการจัดเก็บจากทรัพย์สินส่วนรวมของคนไทยทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินที่บรรพบุรุษของเราปกป้องรักษา ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดิน แผ่นน้ำ ใต้แผ่นดิน ใต้แผ่นน้ำ ท้องฟ้า อวกาศ

เงินงบประมาณของประเทศ ไม่ได้มาจากเงินของคนใดคนหนึ่งหรือพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่มีใครสมควรอย่างยิ่งที่จะแอบอ้างว่าเงินนี้เป็นของตนนำมาแจกจ่าย การแอบอ้างนั้น เป็นการกระทำที่ไร้จริยธรรม และไม่ยุติธรรมต่อความรู้ของทุกๆคนในประเทศที่ต้องเสียภาษี

อย่าโทษหรือด่าว่า คนที่เค้าไม่มีโอกาศเข้าถึงข่าวสารข้อมูล ปัญหาจะแก้ได้คือ ทำอย่างไรให้เค้าเหล่านั้น ได้เข้าถึงข่าวสารข้อมูล

หลอกคนไทยตลอดไป คิดว่าหลอกได้หรือ? รัฐบาลของทักษิณ

เป็นเรื่องแปลก...สิ่งที่คนโกงกลัวที่สุดคือ ....ไม่ได้มีชีวิตเพื่อใช้เงินที่โกงมา? ประวัติศาสตร์โลกมีให้เห็น
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #77 เมื่อ: 24-06-2008, 18:50 »

เรื่องนี้ผมตอบ คุณไม่เอาพันธมาร ไปตั้งแต่หน้าก่อนแล้่วไงครับ
อยู่ด้วยกันกับ ธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60-61 ที่คุณก็อปมา
ตกลง ก็อปฯ อย่างเดียว ไม่ได้อ่านอะไรเลยหรือครับ? 

...

งั้นก็แปะเข้าไปอีกแล้วกัน... ข้อความเดิมระบายสีเพิ่มให้ชัดอีกหน่อย...

ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า



ฮั่นแน่คุณจีฯ  ตอนแรกตัวคุณเองนั่นแหล่ะที่ยกมาตรา 60 และ 61 มากล่าวอ้าง...พอจ๊ะซักไซ้ไล่เรียงมาว่ามาตรา 61 วรรค 5 ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการขอยื่นคัดค้านใดๆก็ตามแต่ พึงกระทำได้ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันที่ศาลโลกพิพากษา ซึ่งคุณก็ตอบมั่วๆว่าคำพิพกาษาไม่ได้มีไว้ให้เคารพ (แล้วไทยไปศาลโลกทำไมตั้งแต่ทีแรกเอ่ยถ้าไม่ต้องเคารพในคำวินิจฉัย!?!)


คุณจะมาสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมีโดยใช้หลักเกณฑ์ที่กำนหดไว้ในมาตราไหนและวรรคไหนคร้า?



ป.ล. จ๊ะขอเบิกโอทีน๊ะ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #78 เมื่อ: 24-06-2008, 18:50 »

คุณพีรพันธุ์ สับแหลกกระบวนการพิจารณาคดี จนเห็นภาพชัดเจน
ตอกย้ำประเด็นที่ว่า ...

ฝรั่งเศสโกง -> เขมรโกงซ้ำ -> ศาลโลกช่วยโกง
หลังจากนี้คงต้องเอาข้อมูลการอภิปรายมาสรุปเพิ่มเสียแล้ว  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
dragon baby
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 379



« ตอบ #79 เมื่อ: 24-06-2008, 18:55 »



ถ้าเปรียบปราสาทพระวิหารเป็น รถยนต์
ศาลโลกตัดสินว่า ตัวรถ เป็นของเขมร ส่วนล้อรถ เป็นของไทย
ผมถามหน่อย ถ้าเราพูดว่ารถ ก็ย่อมหมายถึงรถทั้งคัน ซึ่งรวมทั้งตัวรถ และล้อรถใช่ไหม
ดังนั้น ตัวรถ ที่ไม่มีล้อ ก็ยังไม่ใช่รถยนต์
เช่นเดียวกัน ล้อรถ 4 ล้อ ที่ไม่มีตัวรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
ดังนั้น จะเรียกว่ารถยนต์ได้ ก็ต้องรวมกันทั้งตัวรถ และ ล้อรถ เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพูดถึงปราสาทพระวิหาร ก็จะไม่ได้หมายถึงตัวปราสาทหลักเพียงอย่างเดียว
แต่ยังหมายรวมถึง บันไดทางขึ้น สธูป และเทวะสถานรายรอบตัวปราสาทหลักด้วย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้

ก็เหมือนกับคุณจะไปจดทะเบียนรถยนต์ แล้วบอกว่าจะขอจดทะเบียนเฉพาะตัวรถ ไม่รวมล้อรถ เพราะล้อรถไม่ใช่ของผม ก็ไม่สามารถทำได้
นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหามาตลอด เพราะ
เขมรต้องการความชอบธรรมเชิง นิตินัย (ทางพฤตินัยเค้าได้ไปนานแล้ว)
แต่ครั้นจะมาบอกขอให้ไทยทำสนธิสัญญา บอกว่ายอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร ก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไทยไม่มีทางยอม
เพราะตั้งแต่อดีต เรายื่นคัดค้านมาตลอดว่า
แม้เราจะยอมรับในคำตัดสินของศาลโลก แต่เราไม่ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร เราไม่เคยยอมรับเชิง นิตินัย แม้แต่วันเดียว

ดังนั้น เขมรผู้ชาญฉลาด ก็หาทางอื่นที่จะได้ความชอบธรรมเชิง นิตินัย เหนือปราสาทพระวิหาร โดยขอยื่นจดทะเบียนมรดกโลก ในนามของเขมร
ซึ่งแน่นอน ไทยก็คัดค้าน ว่าในเมื่อบันไดทางขึ้น และสธูป เทวสถานบางส่วนมันเป็นของไทย เขมรจะไปขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นของตนคนเดียวได้ไง
ซึ่ง ทางมรดกโลก ก็ให้กลับมาตกลงกันก่อน ว่าจะเอายังไง

มาคราวนี้ เขมร ก็ฉลาดอีก บอกว่าจะขึ้นทะเบียนในส่วนของตนคือเอาแค่ตัวปราสาทเท่านั้น ไม่กินดินแดนของไทยเลย
แต่เค้าก็ยังจดทะเบียนไม่ได้อยู่ดี เพราะอะไร ก็เหมือนกับ เขมรจะเอาตัวรถ ไม่รวมล้อไปขึ้นทะเบียน มันก็ขึ้นไม่ได้ใช่ไหม
เลยต้องมาขอความยินยอมจากไทย เจ้าของล้อรถ ว่าเขมรจะขึ้นทะเบียนรถคันนี้ แต่ไม่รวมล้อรถน่ะ ไทยอนุญาตไช่ไหม

ฝ่ายไทย ก็แกล้งโง่หรือไม่ไม่ทราบ ก็ลงนามยินยอมไป แล้วมาบอกว่า เขมรจะขึ้นเฉพาะตัวรถ ล้อรถยังเป็นของเราอยู่ เราไม่เสียประโยชน์ ซึ่งเป็นการพูดโง่ๆ
เพราะถ้าไทยยอมอย่างนี้ เขมรก็จะสามารถจดทะเบียนได้ เพราะได้คำยินยอมจากเจ้าของล้อรถแล้ว
คราวนี้ ปราสาทพระวิหาร ก็จะกลายเป็นของเขมร ถูกต้องตามนิตินัยทันที และจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ยอมรับ ทางนิตินัย ว่าเข้าพระวิหารเป็นของเขมร
แม้จะมีหมายเหตุเล็กๆ ท้ายคำขึ้นทะเบียนว่า ที่ขึ้นทะเบียนน่ะ ไม่รวมล้อรถน่ะ ก็ตาม แต่ รถคันนี้ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของเขมรถูกต้องตามนิตินัยแล้ว

ซึ่งเมื่อวานรัฐมนตรีโง่ๆของไทย ก็ออกมาพูดว่า จะเอาบันไดทางขึ้น และสธูปเทวะสถานรอบๆ ไปขึ้นเป็นมรดกโลกบ้าง
ซึ่งก็เป็นการเจตนาโกหก เพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่คุณจะเอาเฉพาะล้อรถ 4 ล้อ ไปจดทะเบียน ใครจะไปจดให้คุณ
ล้อมันจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่ออยู่คู่กับตัวรถ แต่นี่คุณเซ็นยินยอมให้เขมรเอาตัวรถไปจดทะเบียนแล้ว ล้อรถที่คุณมีคุณก็เอาไปทำอะไรไม่ได้

ทางออกที่นักวิชาการบอก รวมทั้งคุณสนธิ ลิ้มทองกุล พูดมาโดยตลอดคือ ทำไม
ทำไม ไม่ยื่นจดทะเบียนร่วมกัน ในเมื่อรถไม่มีล้อ มันก็ยังไม่ใช่รถ มันจดทะเบียนไม่ได้
ซึ่งถ้าไทยไม่ยอม เขมรก็จดไม่ได้แน่นอน เพราะเจ้าของล้อรถไม่ยอม
ดังนั้น เราควรยืนยัน ยื่นจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมเท่านั้น
ไม่ใช่ไปเซ็นยินยอมให้เค้าจดทะเบียน ในนามเค้าคนเดียว

ซึ่งก็ออกมาพูดโง่ๆอีกว่า ไทยได้ยื่นขอจดทะเบียนร่วมไปแล้ว (ซึ่งยื่นไปนานแล้วหล่ะ) แต่เขมรมันไม่ยอม มันจะขึ้นในชื่อมันเพียงคนเดียว
เรื่องเลยคาราคาซังกันมายาวนาน เพราะเขมรมันจะเอาผลประโยชน์คนเดียว อยากเป็นเจ้าของปราสาทคนเดียว
ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีล้อรถ แต่ดันอยากไปจดทะเบียนรถทั้งคัน เป็นคนตนคนเดียว

ในเมื่อเขนมรมันยังไม่ยอมจดทะเบียนร่วมเลย แล้วทำไมคราวนี้ไทยต้องไปยอมมัน
เข้าใจหรือยังหล่ะ
ว่าไทย แทนที่จะยืนกรานขอจดร่วม แต่วันนี้ นพดล ใจดี สละสิทธิที่ควรมีของไทย ที่จะเป็นเจ้าของร่วม ไปเซ็นยินยอมให้เขมรเป็นเจ้าของผู้เดียว
ทั้งที่ถ้าไทยไม่ยอม เค้าก็ไม่สามารถจดได้ และมันก็เป็นความชอบธรรมของเรา ไม่ได้โกงเค้า
เพราะเราเป็นเจ้าของล้อรถ และรถไม่มีล้อ มันก็ไม่ใช่รถ
เพราะฉนั้น เราคือเจ้าของรถร่วม
ไม่ใช่ รถเป็นของเขมร แต่ล้อเป็นของเรา
คุณแยกความต่างออกไหม

สิ่งที่เขมรพยายามทำคือ พยายามบอกว่า รถน่ะเป็นของเค้าคนเดียว ไทยน่ะเป็นเจ้าของล้อรถเท่านั้น
ทั้งๆที่จริงไม่ใช่ เราคือเจ้าของร่วม เพราะรถไม่มีล้อ ก็ไม่ใช่รถ ไปจดทะเบียนไม่ได้

ผมเลยไม่เข้าใจทำไมถึงไปสละสิทธิในการเป็นเจ้าของร่วม
โดยกลับมายอมรับว่าไทยไม่ใช่เจ้าของร่วม แต่ไทยเป็นเพียงเจ้าของล้อรถ
คุณเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่ไทยเสียไปหรือยัง

คราวนี้มาดูสิ่งที่จะตามมา ที่ว่าการทำแบบนี้ สุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน
ก็เพราะเมื่อเขมรจดทะเบียน โดยไทยยินยอมแล้ว
เขมรก็จะได้สิทธิทางนิตินัย ได้ขึ้นชื่อว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรโดยชอบธรรม

ดังนั้นพื้นที่ทับซ้อนรอบบริเวณปราสาทที่ยังตกลงกันไม่ได้
เพราะมันก่ำกึ่งเหลือเกินว่าเป็นพื้นที่ของใคร
ถ้ามีข้อพิพาท ต้องขึ้นศาลโลกอีกที คุณคิดว่าเค้าจะตัดสินให้ใครล่ะ
ระหว่างเจ้าของตัวรถ ที่จดทะเบียนเป็นเจ้าของรถถูกต้อง โดยความยินยอมเห็นชอบของเจ้าของล้อแล้ว ซึ่งก็คือเขมร
หรือ จะให้ไทย เจ้าของล้อรถเท่านั้น ที่ไม่มีอะไรทางนิตินัยระบุว่าเป็นเจ้าของเลย แถมเคยไปเซนยินยอมให้อีกฝ่ายขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวด้วย

เข้าใจหรือยัง คนไทย
โดยคุณ...คนไทย
บันทึกการเข้า
อธิฏฐาน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,912


รักษาประเทศชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน


« ตอบ #80 เมื่อ: 24-06-2008, 18:59 »


รัฐบาลเขมรฉลาดกว่ารัฐบาลไทยค่ะ
บันทึกการเข้า

หยุด...สัมปทานอุทยานแห่งชาติ
http://www.oknation.net/blog/sandstone
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #81 เมื่อ: 24-06-2008, 19:02 »


ฮั่นแน่คุณจีฯ  ตอนแรกตัวคุณเองนั่นแหล่ะที่ยกมาตรา 60 และ 61 มากล่าวอ้าง...พอจ๊ะซักไซ้ไล่เรียงมาว่ามาตรา 61 วรรค 5 ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการขอยื่นคัดค้านใดๆก็ตามแต่ พึงกระทำได้ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันที่ศาลโลกพิพากษา ซึ่งคุณก็ตอบมั่วๆว่าคำพิพกาษาไม่ได้มีไว้ให้เคารพ (แล้วไทยไปศาลโลกทำไมตั้งแต่ทีแรกเอ่ยถ้าไม่ต้องเคารพในคำวินิจฉัย!?!)

คุณจะมาสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมีโดยใช้หลักเกณฑ์ที่กำนหดไว้ในมาตราไหนและวรรคไหนคร้า?

ป.ล. จ๊ะขอเบิกโอทีน๊ะ


โอ้โห.. นี่คุณอะไรจ๊ะอ่านที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือ?  

ถ้าอย่างนั้นผมจะลองอธิบายซ้ำอีกรอบ อ่านดีๆ นะครับ..

...

การสงวนสิทธิ์ที่รัฐบาลไทยประกาศไว้ไม่ได้อ้างอิงมาตรา 61
จึงไม่เกี่ยวอะไรกับข้อกำหนด 10 ปีในการรื้อฟื้นคดีตามข้อ 5
ของมาตรา 61


การไปยกมาตรา 61 มาอ้างอิงควรเป็นหน้าที่ ทนายเขมร
ที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หากไทยยื่นรื้อฟื้นคดีต่อศาลโลก

ประหลาดมากที่ รมต.ต่างประเทศไทย ยกมาอ้างเสียเอง

...

ส่วนเรื่อง "เคารพ" ตอนนั้นผมกำลังพูดถึงมาตรา 61 อยู่
คุณอะไรจ๊ะลองกลับไปอ่านดีๆ ผมไม่ได้พูดถึงคำพิพากษา

สุดท้าย การสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมี เราสามารถกระทำได้
มันเป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงเจตนารมย์แห่งรัฐ
คุณถามว่ากำหนดไว้ในมาตราไหนวรรคไหน นั่นคุณเพี้ยนแล้ว  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 19:12 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
prinz_bismarck
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156


« ตอบ #82 เมื่อ: 24-06-2008, 19:07 »

ที่อะไรจ๊ะเถียงมาทั้งหมด ไม่ใช่อะไร เพราะต้องการเถียงเพื่อรักษาความชอบธรรมของรัฐบาลลูกกรอกนอมินีพ่อแม้ว
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #83 เมื่อ: 24-06-2008, 19:09 »


ถ้าเปรียบปราสาทพระวิหารเป็น รถยนต์
ศาลโลกตัดสินว่า ตัวรถ เป็นของเขมร ส่วนล้อรถ เป็นของไทย
ผมถามหน่อย ถ้าเราพูดว่ารถ ก็ย่อมหมายถึงรถทั้งคัน ซึ่งรวมทั้งตัวรถ และล้อรถใช่ไหม
ดังนั้น ตัวรถ ที่ไม่มีล้อ ก็ยังไม่ใช่รถยนต์
เช่นเดียวกัน ล้อรถ 4 ล้อ ที่ไม่มีตัวรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
ดังนั้น จะเรียกว่ารถยนต์ได้ ก็ต้องรวมกันทั้งตัวรถ และ ล้อรถ เท่านั้น

ดังนั้นถ้าพูดถึงปราสาทพระวิหาร ก็จะไม่ได้หมายถึงตัวปราสาทหลักเพียงอย่างเดียว
แต่ยังหมายรวมถึง บันไดทางขึ้น สธูป และเทวะสถานรายรอบตัวปราสาทหลักด้วย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้

...

บรรยายเปรียบเทียบได้เห็นภาพเลย..  

และที่ควรระลึกไว้ก็คือถ้าไทยไ่ม่โดนโกง รถทั้งคันก็คือของเรา
และที่ผ่านมาเราก็สงวนสิทธิเอาไว้ว่าถ้ามีช่องทางก็จะทวงคืน
และงานนี้รัฐบาลไทยไปเพิกถอนสิทธิประเทศตัวเองเสียแล้ว  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #84 เมื่อ: 24-06-2008, 19:30 »

สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 

อิ อิ... ตอนนี้พวก The Last Empereor น่าจะหมดช่วงเวลาทำโอทีแระ... น้ำหยุดขุ่นชั่วคราว ... ผมมาดันประเด็นช่วยเผยแพร่ความรู้ของคุณจีรศักดิ์ซ้ำอีกครั้งครับ

ปล. ผมเปลี่ยนลายเซ็นต์ช่วยโฆษณากรณีปราสาทพระวิหารนี้ให้เป็นกรณีพิเศษ... ต้องขอขอบคุณท่านจีรศักดิ์อย่างยิ่ง ที่สรุปออกมาเป็นเอกสารที่กระชับได้ใจความครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #85 เมื่อ: 24-06-2008, 20:34 »

จริงๆแล้ว มูลเหตุว่าพระวิหารควรเป็นของใคร ศาลโลกมีธรรมนูญอย่างไร  ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของไทยเลยซักนิด


เมื่อกี้เห็นคุณ mebeam พูดว่า  ถ้าสน้บสนุนเขมรแล้วได้ประโยชน์ก็ควรจะทำ
ตกลง ชาติได้ประโยชน์อะไรบ้าง ไม่เห็นมี  (หรือว่ายอมรับว่ามี "ผลประโยชน์" แต่ไม่รู้ใครได้)

คิดว่าที่สนับสนุนเขมร เป็น solution ที่ดีที่สุดแล้วเหรอ






ถ้าเขมรขึ้นมรดกได้ ไทยได้ประโยชน์ตรงไหน

 - คุณเห็นประตูตรงทางขึ้นเขาพระวิหารไหม ยังกะประตูสุสาน สกปรกไม่มีการปรับปรุง ให้ดูสมฐานะ แหล่งท่องเที่ยวระดับชาติ
    ใครจะขึ้นต้องลอด รูประตูขึ้นไป  ร้านค้าแกะกะ ไม่เป็นระเบียบ  ภาพบริเวณปราสาทเริ่มเก่าทรุดโทรม
    ต้นไม้ในบริเวณ ไม่ได้ดูแล เพราะอะไร นิสัยคนเขมรส่วนหนึ่ง  เขมรไม่มีงบทำนุบำรุงส่วนหนึ่ง  ไม่มีหน่วยงานควบคุมดูแลหนึ่ง

   ถ้ามันขึ้นมรดกโลก มันจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า มาตรฐานมันจะดีขึ้นไหม มันจะน่าเที่ยว พอที่จะเพิ่มยอดทัวร์ให้จังหวัดศรีสะเกษ หรือเปล่า
   ถ้า ต่างชาติคนตะวันตกอยากมาเที่ยวเขาพระวิหารเพราะ เห็นจากในรูปมันสวยงาม  เค้าจะบินมาลงที่ไหน สุวรรณภูมิหรือ พนมเปญ
   แล้วทุกวันนี้ ที่เขมรอยากเปิดประตูก็เปิด อยากปิดก็ปิด  ถ้าจดทะเบียนได้แล้ว เขมรจะทำได้อย่างเดิมไหม

      ปัจจุบัน เขาพระวิหาร เป็นของเขมรก็จริง แต่ทางขึ้นมันอยู่ฝั่งไทย เวลาเที่ยวมันก็ต้องมาทางไทย ไทยได้สถานที่ท่องเที่ยว
     ระดับมรดกโลก โดยไม่เสียค่าดูแลบำรุงรักษาซักบาท  ศรีสะเกษก็จะได้เป็นเมืองท่องเที่ยวเขาพระวิหาร เหมือนอยุธยา สุโขทัย

           ต่อไป สโลแกนเที่ยวเขาพระวิหารต้องมาไทยแลนด์ 

         หรือมาเมืองไทยสามารถเที่ยวได้ทั้ง หลวงพระบางเมืองลาว   เขาพระวิหารกัมพูชา  เหนือสุดไทยไปพม่า  ทุกสิ่งสามารถเกิดในทริปเดียวกัน


  ฝันไปหรือปล่าวเนี่ย   


บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #86 เมื่อ: 24-06-2008, 21:11 »

คุณ Mebeam ครับ

สิ้นปีนี้ เขมรจะทำกระเช้าขึ้นเขาพระวิหาร โดยการลงทุนจากอินเดียครับ

และอีกไม่นานสนามบินที่ฝั่งเขมรกำลังจะเปิด พร้อมคาสิโน

นักท่องเที่ยวที่ไหนจะมาขึ้นฝั่งไทยครับ นอกจากคนไทยกันเอง
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #87 เมื่อ: 24-06-2008, 22:13 »

คุณ Mebeam ครับ

สิ้นปีนี้ เขมรจะทำกระเช้าขึ้นเขาพระวิหาร โดยการลงทุนจากอินเดียครับ

และอีกไม่นานสนามบินที่ฝั่งเขมรกำลังจะเปิด พร้อมคาสิโน

นักท่องเที่ยวที่ไหนจะมาขึ้นฝั่งไทยครับ นอกจากคนไทยกันเอง

ผมได้ข่าวมาเช่นนั้นเหมือนกัน
แต่ สนามบิน เขาพระวิหาร จะมีนักท่องเที่ยวบินมาวันละกี่คนครับ  มาเช้าเย็นกลับ วันนึงมันจะได้ 2 รอบไหม
คาสิโน ก็ไม่ได้เป็นแหล่งดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ( มันน่าจะเอาไว้ดูดคนไทยมากกว่า สังเกตได้จาก โรงเกลือปอยเปต  )

ขอให้ มันมีโปรแกรม อยู่ในรายชื่อแหล่งท่องเที่ยว ของประเทศไทยเป็นใช้ได้แล้ว
เอามันมาเสริมแหล่งท่องเทียวทางโบราณคดีของภาคอีสาน  จุดเด่นมันคือได้ข้ามไปเหยียบประเทศกัมพูชาด้วยโดยไม่ต้องขอวีซ่า ( จะช้ำใจมั๊ยเนี่ย )
โปรโมตเอาให้เหมือนของไทยเลย

กรุ๊ปทัวร์พวกฝรั่งต่างชาติ มักจะไปเที่ยวแต่ทะเล เที่ยวป่าเขาดอยเชียงใหม่
มักไม่ค่อย วิ่งสายอีสาน แต่ถ้าจุดหมายปลายทางมันเป็นมรดกโลก ปราสาทเขาพระวิหารประเทศกัมพูชา ล่ะ มันน่าดึงดูดขึ้นไหม
พวกนี้เวลามา  มันจะมาเป็นรถบัสนำเที่ยว  รถตู้ รถส่วนตัว  จำนวนมาก

สุดท้าย  ถ้าโชคร้ายไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจริง
แล้วนักท่องเที่ยวชาวไทยมันเป็นยังไงครับ
มันไม่มีตังค์ใช้จ่ายในจังหวัดศรีสะเกษหรือยังไง
เคยได้ยินไหมครับ เที่ยวเมืองไทยไปได้ทุกภาค

นี่ผมเอาอัตราการเข้าเยี่ยมชม ปราสาทเขาพระวิหาร ปัจจุบัน ลองพิจารณาดูครับ (ดูสภาพแล้วไม่น่าเก็บแพงขนาดนั้นเลย)

การเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารที่อยู่ในเขตแดนไทย
โดยคนไทยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท และค่าผ่านแดนออกนอกประเทศคนละ 5 บาท
 เมื่อจะเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร กัมพูชาเก็บค่าธรรมเนียมชาวไทยคนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 200 บาท
http://thai.tourismthailand.org/attraction/sisaket-33-2226-1.html

ลองดูครับเราได้ประโยชน์ตรงไหนครับ
บันทึกการเข้า
อิรวันชาห์ IrWanSyah
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 870



« ตอบ #88 เมื่อ: 24-06-2008, 22:21 »


 
บันทึกการเข้า

ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #89 เมื่อ: 24-06-2008, 22:32 »


ฝ่ายไทย ก็แกล้งโง่หรือไม่ไม่ทราบ ก็ลงนามยินยอมไป แล้วมาบอกว่า เขมรจะขึ้นเฉพาะตัวรถ ล้อรถยังเป็นของเราอยู่ เราไม่เสียประโยชน์ ซึ่งเป็นการพูดโง่ๆ
เพราะถ้าไทยยอมอย่างนี้ เขมรก็จะสามารถจดทะเบียนได้ เพราะได้คำยินยอมจากเจ้าของล้อรถแล้ว
คราวนี้ ปราสาทพระวิหาร ก็จะกลายเป็นของเขมร ถูกต้องตามนิตินัยทันที และจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ยอมรับ ทางนิตินัย ว่าเข้าพระวิหารเป็นของเขมร
แม้จะมีหมายเหตุเล็กๆ ท้ายคำขึ้นทะเบียนว่า ที่ขึ้นทะเบียนน่ะ ไม่รวมล้อรถน่ะ ก็ตาม แต่ รถคันนี้ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของเขมรถูกต้องตามนิตินัยแล้ว



เอามาจากไหนครับ ช่วยยกมาทีว่าข้อไหนที่อนุญาติให้ทำอย่างนั้นได้ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #90 เมื่อ: 25-06-2008, 03:36 »


 

เอาข่าวจากสื่อเขมรตั้งแต่ปีก่อนมาให้ดู เขมรมีแผนตัดถนนลาดยางหลายสายมายังปราสาทพระวิหาร
ที่เสธแดงบอกว่าเป็นทางลูกรังจากจังหวัดพระวิหาร อีกไม่นานจะไ่ม่ใช่แล้ว 

http://www.research-gspa.org/indochina/newt/
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฮุน เซน กร้าวหากไทยปิดด่านอีกครั้งก็คงต้องปิดตลอดไป
30 กรกฎาคม 2550

แผน การเพื่อยุติการยืมจมูกไทยหายใจในพื้นที่ ปราสาทเขาพระวิหารถูกเสนอขึ้นโดยคำแนะนำของ สมเด็จนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมทำการศึกษาเป็นการเร่งด่วนเพื่อก่อสร้างถนน 2 สายที่มีความสำคัญ คือ ทางหลวงหมายเลข 10 จากจังหวัด พระตะบอง - ไพลิน และถนนจากตัวเมืองกำปงทมไปยัง ปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปได้สร้างความยินดีให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ปราสาท เขาพระวิหารเป็นอย่างมาก และก็ได้สร้างความยินดีให้กับประชาชนทั่วประเทศที่ได้ยินว่า ถนนที่จะไปยังปราสาทเขาพระวิหารจะมีสภาพที่ดีขึ้นในอนาคต และจะทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางไปเที่ยวชมปราสาทเขาพระวิหารได้โดย สะดวก และการคมนาคมขนส่งต่าง ๆ จะช่วยแก้ปัญหาให้กับคนในพื้นที่แห่งนี้ให้หมดไป ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมักจะประสบปัญหาความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ต้องซื้อมาจากฝั่งประเทศไทย ขณะที่การปิดด่านที่กระทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวมักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ โดยสมเด็จฮุน เซน ได้กล่าวเกี่ยวกับการที่ฝ่ายไทยปิดด่านเขาพระวิหารว่า หากปิดอีกครั้งหนึ่งคงต้องปิดตลอดไป เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 คณะแทนระดับสูงของรัฐบาลกัมพูชาได้ขึ้นเฮลิค็อปเตอร์ไปลงจอดที่ยอดเขาพนมดง รักเพื่อตรวจสอบและเยี่ยมชมปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีนายตี ยาว คณะกรรมการ OBSES นายวา กึมฮง ประธานคณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่การทูตที่ประจำอยู่ในประเทศกัมพูชาจำนวนหนึ่ง ได้แก่ ทูตสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และผู้แทนสถานทูตอีกจำนวนหนึ่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีรวมประมาณ 30 คน และยังมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด่าน กองกำลังติดอาวุธในพื้นที่นำโดยนายลง สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เข้าร่วม และอำนวยการรักษาความปลอดภัยให้แก่คณะด้วย สำหรับปราสาทเขาพระวิหารนั้น องค์การยูเนสโกจะประกาศเป็นมรดกโลกในปีหน้า ก่อนหน้านี้ทางฝ่ายไทยได้มีการเรียกร้องเช่นเดียวกันเกี่ยวกับการขอขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยขอให้นำเอาบางส่วนที่อยู่ในฝั่งไทยเข้าร่วมด้วย และการแก้ไขปัญหาบางอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อน

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

---

พื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารจะได้รับการพัฒนา
8 สิงหาคม 2550

นา ยงวน ญิล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ได้แจ้งข่าวดีให้กับชาวอำเภอเจือมกะซานและประชาชนในจังหวัดพระวิหารให้ได้ ทราบเกี่ยวกับโครงการของรัฐบาลในการสร้างทางหลวง หมายเลข 6A ขึ้น โดยจะทำการลาดยางจากจังหวัดกำปงทมไปยังจังหวัดพระวิหาร ในการเดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนในอำเภอเจือมกะซานในครั้งนี้มีนาย สุก ซ็อมเอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตจังหวัดพระวิหารร่วมเดินทางด้วย นายงวน ญิล ได้กล่าวว่า ในเร็ว ๆ นี้ สมเด็จนายกรัฐมนตรีฮุน เซน จะเดินทางมาประกอบพิธีที่เชิงเขาพระวิหาร เพื่อประกาศเปิด การดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 6A โดยจะทำการลาดยางตั้งแต่บริเวณเชิงเขา ปราสาทเขาพระวิหารไปถึงอำเภอตะแบงเมียนเจ็ย จังหวัดพระวิหาร โดยจะเอาเงินงบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบาสักมาใช้สร้าง ถนนเส้นนี้แทน ส่วนโครงการถัดไปจะเป็นการอำนวยความสะดวกทางการคมนาคมโดยจะทำการปรับเกรด สภาพพื้นถนนและเทหินลูกรังจากอำเภอตะแบงเมียนเจ็ยไปยังเขตติดต่อจังหวัดกำปง ทม ส่วนถนนความยาว 36 กิโลเมตรจากจังหวัดพระวิหารไปยังตำบลทนอลแบก อำเภอกำปงซวาย จังหวัดกำปงทม จะเป็นถนนลาดยางโดยจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การ Trip Organization นอกจากนี้ นายงวน ญิล ได้กล่าวในประเด็นที่กัมพูชาขอเสนอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า ในการประชุมครั้งที่ 31 ขององค์การยูเนสโกที่ประเทศนิวซีแลนด์ องค์การยูเนสโกยังไม่ประกาศรับปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตามข้อเสนอของ กัมพูชา เนื่องจากไทยได้คัดค้าน โดยทางที่ประชุมองค์การยูเนสโกได้ให้กัมพูชาจัดทำเอกสารต่าง ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อยื่นเสนอขอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอีกครั้ง ในการประชุมองค์การยูเนสโกครั้งที่ 32 ที่ประเทศแคนาดาในปี 2551 ที่ผ่านมา สมเด็จฮุน เซน ผู้นำกัมพูชาเคยได้ให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่กัมพูชาจะเสนอให้องค์การยูเนสโกรับรองปราสาทเขาพระวิหารให้ เป็นมรดกโลก เช่น จะต้องดำเนินการกู้วัตถุระเบิดบริเวณพื้นที่เขาพระวิหารทั้งหมด และจะต้องดูแลรักษาป่าไม้ให้สวยสดงดงามเพื่อให้เป็น สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว ระงับบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการจะมาลงทุนในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ขยายเงินงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการพัฒนา ที่สำคัญ คือ การสนับสนุนด้านความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เช่น ด้านการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ นายงวน ญิล ได้เล่าถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศกัมพูชาตั้งแต่ สมัยละแวกจนถึงปัจจุบัน และในฐานะที่เป็นแกนนำของรัฐสภา ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดของชาติ นายงวน ญิล ได้เรียนต่อประชาชนถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ๆ ของรัฐสภา อันได้แก่ การตรากฎหมาย การติดตาม และตรวจสอบในการดำเนินการใช้กฎหมายของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และในฐานะผู้แทนซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนจะต้องรับรู้ถึง สารทุกข์สุขดิบของประชาชน และหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ให้กับประชาชน

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

---

จะตัดถนนขึ้นปราสาทเขาพระวิหารในเดือนพ.ย.นี้
22 สิงหาคม 2550

นาย ไพ ซีพาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับรัศมีกัมพูชาเมื่อวานนี้ว่า (21 ส.ค.) ถนนที่จะตัดผ่านไปยังปราสาทเขาพระวิหารนั้น ทางรัฐบาลจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนปลายปีนี้ นายไพ ซีพาน กล่าวอีกว่า การก่อสร้างถนนเส้นนี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวในเดิน ทางมาท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา ส่วนนายซุน จันทอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ถนนเส้นตะแบงเมียนเจ็ย (ตัวเมืองจังหวัดพระวิหาร) ไปถึงตัวปราสาทเขาพระวิหารมีระยะทาง 118 กิโลเมตร โดยเตรียมเปิด สำนักงานก่อสร้างโดยจะโยกเอาเงินงบประมาณเงินกู้ยืมจากประเทศจีนที่จะใช้ใน การก่อสร้างสะพานตาเขมา มาดำเนินการก่อสร้างถนนเส้นนี้แทน นอกจากนี้นายซุน จันทอล ได้กล่าวถึงคำพูดของสมเด็จนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ที่กล่าวว่า เราจะต้องมีถนนเป็นของตัวเอง เพราะ นักท่องเที่ยวต้องเดินขึ้นลงทางฝั่งประเทศไทย ทางเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ลำบากมาก และก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะยืมจมูกผู้อื่นหายใจ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จนายกรัฐมนตรีได้กำหนดว่าเราจะต้องสร้างทางเป็นของเราเอง แม้ว่าไทยจะปิด หรือจะเปิดด่านอย่างไรเป็นเรื่องของฝ่ายไทย โดยเราจะต้องสร้างถนนขึ้นเขาพระวิหารเป็นของเราเองให้จงได้

ที่มา :: รัศมีกัมพูชา (เรียะเซม็ยกัมปุเจีย)
แปล-เรียบเรียงโดย.. :: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-06-2008, 03:47 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #91 เมื่อ: 25-06-2008, 09:08 »

โอ้โห.. นี่คุณอะไรจ๊ะอ่านที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือ?  

ถ้าอย่างนั้นผมจะลองอธิบายซ้ำอีกรอบ อ่านดีๆ นะครับ..

...

การสงวนสิทธิ์ที่รัฐบาลไทยประกาศไว้ไม่ได้อ้างอิงมาตรา 61
จึงไม่เกี่ยวอะไรกับข้อกำหนด 10 ปีในการรื้อฟื้นคดีตามข้อ 5
ของมาตรา 61


การไปยกมาตรา 61 มาอ้างอิงควรเป็นหน้าที่ ทนายเขมร
ที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หากไทยยื่นรื้อฟื้นคดีต่อศาลโลก

ประหลาดมากที่ รมต.ต่างประเทศไทย ยกมาอ้างเสียเอง

...

ส่วนเรื่อง "เคารพ" ตอนนั้นผมกำลังพูดถึงมาตรา 61 อยู่
คุณอะไรจ๊ะลองกลับไปอ่านดีๆ ผมไม่ได้พูดถึงคำพิพากษา

สุดท้าย การสงวนสิทธิ์ทั้งหลายที่พึงมี เราสามารถกระทำได้
มันเป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงเจตนารมย์แห่งรัฐ
คุณถามว่ากำหนดไว้ในมาตราไหนวรรคไหน นั่นคุณเพี้ยนแล้ว  

OK คร้า...ชัดเจน คุณกำลังบอกว่าทั้ง 2 ฝ่าย(ไทย-เขมร)ขึ้นศาลโลกไปในฐานะคู่ความ แต่พอศาลตัดสินอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา...คุณกลับกล่าวอ้างการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่ออกมาด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

ใช้หลักเหตุและผลเดียวกัน....กรณี 111 คนของทรท.ที่ถูกคณะตุลาการพิพากษาให้ยุติการเล่นการเมือง 5 ปีดังกล่าว กลุ่มคนทั้ง 111 คนก็สามารถขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการได้ใช่ไหม?  ขอคำอธิบายด้วยครับถ้าบอกว่าใช้หลักปฏิบัติเดียวกันไม่ได้
บันทึกการเข้า
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #92 เมื่อ: 25-06-2008, 09:45 »

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

เพราะมีการกระทำที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร ที่รัฐบาลไทยในอดีต
ได้เคยประกาศสงวนสิทธิเอาไว้ เพราะเป็นการสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของประเทศ

...

ตอบคำถาม คุณไม่เอาพันธมาร อีกสักหน่อย...

1. จากข้อ 60 ผมแปลความว่า "การตัดสิินนั้นเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุทรณ์ ในกรณีที่มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการตีความ
    หรือขอบเขตของการตัดสิน, ศาลต้องวิเคราะห์ให้ตามที่ร้องขอ" ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ แต่ถ้าแปลอย่างนี้
    ผมขอตีึความแบบง่ายๆว่า "ตัดสินแล้วเป็นที่สิ้นสุด แต่ถ้าสงสัยให้ซักถามได้" ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาติ
    ให้กลับคำตัดสินนี่ครับ


- การยื่นตีความไม่ใช่แค่เรื่องแก้สงสัยครับ แต่ยังเป็นโอกาสในการนำแง่มุมต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้อง หรือสร้างประโยชน์
  ให้กับผู้ยื่นตีความซึ่งในกรณีนี้คือสิทธิของประเทศไทย เหนือปราสาทพระวิหาร

2. อนาคตผมคิดว่าเป็นการยากที่จะมีการเปลี่ยนธรรมนูญให้เกิดการเือื้อประโยชน์ในการขอเปลี่ยนแปลงเขตแดนใหม่
    เหตุผลก็เหมือนกับที่ผมกล่าวในกระทู้ก่อนหน้านี่แหละครับ


- อย่าพูดเรื่องยากง่ายเลยครับ ถ้ามันเกิดขึ้นเราก็นำมาใช้ .. แค่นั้น

2. ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่มีคำตัดสินมา ประเทศไทยแสดงท่าที,บทบาทมาตลอดว่ายอมรับในคำตัดสิิน
   ไม่นับประกาศเจตนารมณ์ที่มีขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ 50 ปีที่แล้วนะครับ ดังจะเห็นได้จาก แผนที่, การปฏิบัติต่อดินแดน
   ในส่วนของเขาพระวิหาร แล้วทำไมในปีนี้ เราจะถือเอาสิทธิที่ไม่เคยได้อ้างถึงมา 50 ปีมาใช้ในการทวงคืนละครับ


- สิทธิที่สงวนไว้ไม่ได้ระบุระยะเวลานะครับ และในเมื่อไม่ได้ยืนยันมา 50 ปี จะยืนยันซ้ำสักทีก็ดีแล้ว 

เมื่อวานลืมอ่านความเห็นนี้ ขอติงคุณจีนิดนึงนะครับ คือคุณจีใช้ข้อความฟังดูดี แต่ถ้าเขียนอย่างนี้แล้วเราจะถกกันได้อย่างไรครับ

ผิดครับ .. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ "เราควรยอมรับคำตัดสินนั้น หรือ ไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น"

แต่อยู่ที่ เราไม่ควรยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องนี้

ไม่ว่าคุณจีจะเขียนอย่างไร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ไม่ยอมรับการดำเนินการของรัฐบาลสมัครนั้นเพราะไม่ยอมรับคำตัดสิน
แต่คุณจีไม่ควรลืมว่า ก็มีคนไทยแท้ๆ อีกมากมายที่เขาก็รักประเทศไทยเหมือนกัน แต่มีมุมมองที่เห็นว่าเราควรยอมรับคำตัดสิน
ดังนั้น เราควรมา "ถก" เพื่อหาหนทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศมากที่สุดในทุกๆด้าน

ปล. ข้อ2 ล่าง (เขีียนตัวเลขซ้ำ ) ที่คุณจีตอบนั่นแหละครับคือประเด็น เราสงวนสิทธิ์มา 50 ปี แต่มายืนยันอีกที
แล้วมันจะมีน้ำหนักหรือครับ นี่ยังไม่นับรวมถึงประเด็นที่ข้อ 60 ไม่ได้อนุญาติให้เปลี่ยนคำตัดสินด้วย
บันทึกการเข้า
Rule of Law
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185


« ตอบ #93 เมื่อ: 25-06-2008, 12:39 »


โถๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พยายามมมมม ซะเหลือเกินนะ ที่จะโปรโมทให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก "ของเขมร" ให้ได้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้

แล้วนี่ ถ้าไทยขอในเวที unesco ขอยื่นเรื่องเป็นมรดกโลกร่วมกัน 
(มีปราสาท + ก็ต้องมีบันได+ลานกว้าง  )

อย่างงี้  ไทยไม่โชติช่วงชัชวาลย์ซะยิ่งกว่าอีกเหรอออ

แต่อั้ยเหล่มันไม่อยากรอเนอะ  กองเชียร์ก็ท่องคาถา ยอมรับศาลโลก เวทีสากลๆๆๆๆๆ ท่องเข้าไว้

บันทึกการเข้า

Your C.V is nothing. Your future plan...is everything.
Onerukna
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 49


« ตอบ #94 เมื่อ: 25-06-2008, 12:47 »


ถ้าจดทะเบียนร่วมกัน เราจะได้ผลประโยชน์มากกว่าที่ยอมให้เขมรเขาไปจดฝ่ายเดียวมั้ยครับ ( ถามแบบไม่ค่อยรู้อะ )

บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #95 เมื่อ: 25-06-2008, 13:53 »


แน่นอนถ้าเราจดร่วมเราจะได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 แต่กัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ใคร มามีกรรมสิทธิ์ร่วมในทะเบียนมรดกโลกในตัวปราสาท
ถ้าศาลโลกตัดสินปราสาทเขาพระวิหารให้เรา เราจะจด เขมรมาขอร่วม เราจะยอมใหม 
บันทึกการเข้า
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #96 เมื่อ: 25-06-2008, 14:04 »

โถๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พยายามมมมม ซะเหลือเกินนะ ที่จะโปรโมทให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก "ของเขมร" ให้ได้ ดีอย่างนั้นอย่างนี้

แล้วนี่ ถ้าไทยขอในเวที unesco ขอยื่นเรื่องเป็นมรดกโลกร่วมกัน 
(มีปราสาท + ก็ต้องมีบันได+ลานกว้าง  )

อย่างงี้  ไทยไม่โชติช่วงชัชวาลย์ซะยิ่งกว่าอีกเหรอออ

แต่อั้ยเหล่มันไม่อยากรอเนอะ  กองเชียร์ก็ท่องคาถา ยอมรับศาลโลก เวทีสากลๆๆๆๆๆ ท่องเข้าไว้



เรียนคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ถ้าอยากจะคุยกันด้วยเหตุผล ขอความกรุณาช่วยยกเอาเหตุผลมาคุยด้วยนะครับ
ผมอยากจะคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างด้วยเหตุผลนะครับ

ปล. ยืนยันอีกครั้ง ผมก็เป็นคนไทยที่รักประเทศไทย เพียงแค่อาจมีความคิดเห็นแตกต่างกับคุณ ฉะนั้นควรคุยกันด้วยเหตุผลครับ

ปล.2 ขอตอบคุณ เหลี่ยม+เหล่ เร่ขายชาติ [ `o` ] ด้วยคำตอบของคุณ mebeam นะครับ
แน่นอนถ้าเราจดร่วมเราจะได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 แต่กัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ใคร มามีกรรมสิทธิ์ร่วมในทะเบียนมรดกโลกในตัวปราสาท
ถ้าศาลโลกตัดสินปราสาทเขาพระวิหารให้เรา เราจะจด เขมรมาขอร่วม เราจะยอมใหม 
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #97 เมื่อ: 25-06-2008, 14:37 »

ผมได้ข่าวมาเช่นนั้นเหมือนกัน
แต่ สนามบิน เขาพระวิหาร จะมีนักท่องเที่ยวบินมาวันละกี่คนครับ  มาเช้าเย็นกลับ วันนึงมันจะได้ 2 รอบไหม
คาสิโน ก็ไม่ได้เป็นแหล่งดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ( มันน่าจะเอาไว้ดูดคนไทยมากกว่า สังเกตได้จาก โรงเกลือปอยเปต  )

ขอให้ มันมีโปรแกรม อยู่ในรายชื่อแหล่งท่องเที่ยว ของประเทศไทยเป็นใช้ได้แล้ว
เอามันมาเสริมแหล่งท่องเทียวทางโบราณคดีของภาคอีสาน  จุดเด่นมันคือได้ข้ามไปเหยียบประเทศกัมพูชาด้วยโดยไม่ต้องขอวีซ่า ( จะช้ำใจมั๊ยเนี่ย )
โปรโมตเอาให้เหมือนของไทยเลย

กรุ๊ปทัวร์พวกฝรั่งต่างชาติ มักจะไปเที่ยวแต่ทะเล เที่ยวป่าเขาดอยเชียงใหม่
มักไม่ค่อย วิ่งสายอีสาน แต่ถ้าจุดหมายปลายทางมันเป็นมรดกโลก ปราสาทเขาพระวิหารประเทศกัมพูชา ล่ะ มันน่าดึงดูดขึ้นไหม
พวกนี้เวลามา  มันจะมาเป็นรถบัสนำเที่ยว  รถตู้ รถส่วนตัว  จำนวนมาก

สุดท้าย  ถ้าโชคร้ายไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจริง
แล้วนักท่องเที่ยวชาวไทยมันเป็นยังไงครับ
มันไม่มีตังค์ใช้จ่ายในจังหวัดศรีสะเกษหรือยังไง
เคยได้ยินไหมครับ เที่ยวเมืองไทยไปได้ทุกภาค

นี่ผมเอาอัตราการเข้าเยี่ยมชม ปราสาทเขาพระวิหาร ปัจจุบัน ลองพิจารณาดูครับ (ดูสภาพแล้วไม่น่าเก็บแพงขนาดนั้นเลย)

การเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารที่อยู่ในเขตแดนไทย
โดยคนไทยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท และค่าผ่านแดนออกนอกประเทศคนละ 5 บาท
 เมื่อจะเข้าชมปราสาทเขาพระวิหาร กัมพูชาเก็บค่าธรรมเนียมชาวไทยคนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 200 บาท
http://thai.tourismthailand.org/attraction/sisaket-33-2226-1.html

ลองดูครับเราได้ประโยชน์ตรงไหนครับ

เท่าที่อ่านมา ก็เห็นว่ามีประโยชน์นะครับ (ซึ่งมันเป็นแบบนั้นแน่ถ้าได้จดทะเบียน)

ในเมื่อมันมีบางส่วนที่อยู่ในไทย ทำไมเราไม่จดพร้อมกันไปเลยล่ะครับ?

และถ้ากัมพูชาจดคนเดียวกับจดร่วมกับไทย มันต่างกันยังไง?
ถ้าไม่ต่าง แล้วทำไมไม่ร่วมกัน เพระาถ้าร่วมกัน การบำรุงรักษาก็จะดีขึ้น เป็นเรื่องของสองประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นไปอีกไ่ม่ใช่หรือ?

ปล แล้วมีคนไหนออกมาบอกว่า "ห้ามจดทะเบียน" ล่ะคับ?

ปลล สมมติว่าเขาพระวิหารจดทะเบียนโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว แล้ววันดีคืนดีเขาปิดทางขึ้นจากฝั่งไทย(ข้ออ้างสารพัด) แล้วเราจะทำยังไง?
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #98 เมื่อ: 25-06-2008, 15:05 »

ปลล สมมติว่าเขาพระวิหารจดทะเบียนโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว แล้ววันดีคืนดีเขาปิดทางขึ้นจากฝั่งไทย(ข้ออ้างสารพัด) แล้วเราจะทำยังไง?

นี่ก็เป็น เหตุผลที่เราควรให้เขมรขึ้นมรดกโลกเสีย
เพราะ วันนี้ ตอนนี้ เขมรก็ปิดทางขึ้นอยู่ครับ  เราต้องไปเจรจากับเขมรคนเดียวเลย แล้วแต่อารมณ์มันจริงๆ
แต่ถ้ามันจดเสีย มันยังมี UNESCO เข้ามาเกี่ยวด้วย  ยังไงมันต้องเกรงใจ UNESCO ด้วย เพราะอุดหนุน เงินให้เขาพระวิหาร
คราวนี้มันจะปิดเปิดตามใจได้ไม่สะดวกแล้ว  เราไม่ชอบอะไรเราก็ร้องเรียน UNESCO ให้เขากระทุ้งให้
ทั้งหมดนี่ มันความเห็นผมเองทั้งหมดนะ มันอาจไม่ตรงตามนี้ก็ได้
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #99 เมื่อ: 25-06-2008, 15:36 »

OK คร้า...ชัดเจน คุณกำลังบอกว่าทั้ง 2 ฝ่าย(ไทย-เขมร)ขึ้นศาลโลกไปในฐานะคู่ความ แต่พอศาลตัดสินอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา...คุณกลับกล่าวอ้างการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยที่ออกมาด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

ใช้หลักเหตุและผลเดียวกัน....กรณี 111 คนของทรท.ที่ถูกคณะตุลาการพิพากษาให้ยุติการเล่นการเมือง 5 ปีดังกล่าว กลุ่มคนทั้ง 111 คนก็สามารถขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการได้ใช่ไหม?  ขอคำอธิบายด้วยครับถ้าบอกว่าใช้หลักปฏิบัติเดียวกันไม่ได้


สงสัยว่ายังชัดเจนไม่พอ.. ผมก็จะอธิบายเพิ่มไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน 

...

ประเทศไทยไม่ได้สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย แต่ตรงข้าม-
เราปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลโลกในคดีนี้
ซึ่งมีอยู่ 3 ข้อ โดยสรุปคือ

ข้อแรก ให้ไทยยอมรับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร
ข้อสอง ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดออกจากปราสาทพระวิหาร
ข้อสาม ไทยต้องคืนวัตถุตามรายการที่ระบุในคำวินิจฉัยแก่กัมพูชา


การประกาศสงวนสิทธิของไทย ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
แต่เป็นการสงวนสิทธิที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหรตามสิทธิที่มี หรือ
จะพึงมีในอนาคต
และขณะเดียวกันเราประท้วงคำวินิจฉัยซึ่งหมายถึง
เราไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย แต่เรายอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลโลก
เพราะมีสัญญาผูกพันกับสหประชาชาติ

...

คดีปราสาทพระวิหารจึงไม่สามารถเทียบกับตัวอย่างของคุณอะไรจ๊ะ
ที่สมมุติให้ 111 กรรมการขอสงวนสิทธิ์ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

ในทางกลับกัน 111 กรรมการ ได้ดำเนินการเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย
ในคดีปราสาทพระวิหาร คือ 111 กรรมการได้ประท้วงคำวินิจฉัยของ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัย

และคงได้สงวนสิทธิที่จะรื้อฟื้นคดีเอาไว้ หลักฐานคือการเคลื่อนไหว
ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะไปลบล้างคำวินิจฉัย
ของตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตได้


เพียงแต่การแก้กฎหมายเพื่อฟอกผิดตัวเอง มันดูน่าเกลียดเกินไป!!!
ผมตอบถึงขนาดนี้แล้ว ยังมีอะไรไม่เข้าใจอีกไหมครับ คุณอะไรจ๊ะ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-06-2008, 15:40 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: 1 [2] 3 4
    กระโดดไป: