ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 23:57
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3 4
==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อการเผยแพร่)==  (อ่าน 16448 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 24-06-2008, 02:29 »

จากกรณีรัฐบาลสมัคร กับปราสาทพระวิหาร ทำให้มีข้อมูลหลั่งไหลออกมามากมาย
แต่อาจไม่สะดวกในการจัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ ผมก็เลยลองสรุปข้อมูลที่พอหาได้
จัดทำเป็นบทความขนาดไม่ยาวนัก ที่พอจะพิมพ์ได้ใน 2 หน้ากระดาษ A4 (1 แผ่น)

คุณพระพายได้กรุณาช่วยทำเป็นไฟล์ PDF และ MsWord ที่สะดวกในการเผยแพร่
ซึ่งผู้สนใจสามารถ Download ได้จากลิงค์นี้ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาดเพียง 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf
ถ้าเห็นว่าพอมีประโยชน์จะนำไปพิมพ์แจก หรือส่งต่อกันทางอีเมล์ก็เชิญได้นะครับ 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร==

เรื่องปราสาทพระวิหาร สรุปง่ายๆ ก็คือ "ไทยถูกฝรั่งเศสโกง" โดยการทำแผนที่ผิดสนธิสัญญา
ระหว่างไทยฝรั่งเศส พ.ศ. 2447 ที่ระบุเอาไว้ตั้งแต่มาตรา 1 ว่ากำหนดเส้นเขตแดนที่ "สันปันน้ำ"
และการทำแผนที่นั้นไม่อยู่ในข้อกำหนดใดๆ ของสนธิสัญญา  ศาลโลกวินิจฉัยว่าแผนที่ดังกล่าว
ไม่มีผลผูกพันมาแต่ต้น ..แผนที่ดังกล่าวจึงไม่เคยได้รับการรับรองจากประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน..

พื้นที่ปราสาทพระวิหารอยู่ในความครอบครองของไทยมาเกือบ 600 ปี นับแต่สมัยเจ้าสามพระยา
ที่เขมรถูกไทยตีนครธมแตก เมื่อปี พ.ศ. 1974 และเสียหายหนักจนย้ายเมืองหลวงไปพนมเปญ
ทิ้งปราสาทพระวิหารให้รกร้างอยู่ร่วม 500 ปี กระทั่งกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระเจ้าน้องยาเธอ
ในรัชกาลที่ 5 ขณะเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ มณฑลอีสาน ทรงค้นพบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2442
ขณะนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย เช่นเดียวกับบางส่วนของลาวและเขมร มีหลักฐาน
ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบและพระนาม ไว้ที่ชะง่อนผาเป้ยตาดี ข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"

หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมา
ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ผิดๆ ที่ไม่มีการระบุในสนธิสัญญาให้ต้องจัดทำ มามอบให้ไทย 50 ชุด
ในแผนที่ไม่ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และทำให้ปราสาทพระวิหารไปอยู่ในเขตของกัมพูชา
ไทยไม่ได้รับรองหรือคัดค้านความถูกต้องของแผนที่แต่อย่างใด และต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งทหาร
เข้าประจำการที่ปราสาทพระวิหารโดยไม่มีสนธิสัญญาใดๆ รองรับ

ต่อมาฝรั่งเศสอ่อนแอลงหลังรบแพ้เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรบแพ้ไทยใน สงคราม-
พิพาทอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2484 ทำให้ต้องคืนดินแดนให้ไทย ครอบคลุมถึงปราสาทพระวิหาร
ซึ่งไทยได้สร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสรณ์แด่ผู้พลีชีพในสงครามที่มีชัยเหนือฝรั่งเศส
แต่หลังสงครามโลก ไทยต้องคืนดินแดนที่ยึดคืนได้ให้ฝรั่งเศส แลกกับการไม่เป็นผู้แพ้สงคราม
และได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ

พ.ศ. 2502 ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส มีการฟ้องร้องไทยต่อศาลโลก โดยอ้างอิง
แผนที่ ที่ฝรั่งเศสทำไว้โกงๆ แล้วส่งมาให้ไทยใช้ กัมพูชาอ้างต่อศาลว่าฝรั่งเศสโกงแล้วไทยไม่ค้าน
แสดงว่ายอมยกปราสาทพระวิหารให้ฝรั่งเศส  ดังนั้นกัมพูชาก็ควรได้รับสิทธิโกงปราสาทสืบต่อด้วย

คำตัดสินของศาลโลกเห็นได้ชัดว่าลำเอียงเข้าข้างเขมรมากๆ เพราะไม่มีหลักฐานเป็นทางการใดๆ
ว่าผู้มีอำนาจฝ่ายไทยให้การรับรองแผนที่ขี้โกงนั้น แม้แต่ศาลโลกเองก็ยังยอมรับว่าฝรั่งเศสโกง
แต่อ้างหลักว่าไทย "นิ่งเฉย" แล้วศาลเหมาเอาว่าไทยให้การรับรอง

นอกจากนี้ศาลโลกยังให้ความสำคัญกับการกระทำต่างๆ ของบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้แทนประเทศไทย
โดยตีความการกระทำต่างๆ ว่าสามารถรับรองความถูกต้องของแผนที่ขี้โกง และรับรองอธิปไตย
ของฝรั่งเศสเหนือปราสาทพระวิหาร เช่น การเยือนปราสาทพระวิหารของกรมพระยาดำรงฯ

ในขณะที่สนธิสัญญาเท่านั้นที่ทำโดยผู้มีอำนาจจริง และได้ระบุการแบ่งเขตแดนด้วยสันปันน้ำ
ไว้ตั้งแต่มาตราแรกอย่างชัดเจนแต่ศาลกลับอ้างว่าสนธิสัญญาถูกลบล้างโดยการนิ่งเฉยของไทย
ต่อแผนที่ขี้โกง ที่ทำขึ้นโดยไม่มีอะไรรองรับ


ฝรั่งเศสเองมีโอกาสหลายครั้งที่จะเสนอให้ไทยรับรองแผนที่นี้แต่ไม่เคยเสนอ หากจะถือเกณฑ์
เดียวกันก็จะได้ว่าฝรั่งเศสเองก็นิ่งเฉยที่จะให้ไทยรับรองแผนที่เช่นกัน มีหลักฐานคือสนธิสัญญา
ที่ทำใหม่ใน ปี พ.ศ. 2468 และ พ.ศ. 2480 ต่างมีข้อความยืนยันเส้นเขตแดนตาม สนธิสัญญา
ปี พ.ศ. 2447 ที่ถือตามสันปันน้ำ และไม่มีการอ้างอิงแผนที่ขี้โกงแต่อย่างใด

สรุปว่าหลังถูกฝรั่งเศสโกงและเขมรโกงตามน้ำ รัฐบาลไทยยังรู้สึกว่าถูกศาลโลกโกงซ้ำอีกด้วย

หลังคำตัดสินศาลโลก รัฐบาลไทยจึงมีหนังสือคัดค้านคำตัดสินและประกาศสงวนสิทธิโดยชัดแจ้ง
ที่จะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนหากมีสิทธิประการใดเกิดขึ้นในอนาคต
(เช่น มีการจัดตั้ง
องค์กรระหว่างประเทศใหม่ๆ เช่น ศาลคดีพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศ หรือมีกฎหมายใหม่ๆ
เช่น กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ฯลฯ) โดยมีเนื้อความบางส่วนดังนี้

"รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ
ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการ
กฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา"


การที่รัฐบาลสมัคร รับรองสิทธิของกัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลกจึงเท่ากับลบล้างคำประกาศ
สงวนสิทธิที่รัฐบาลไทยได้เคยทำไว้ กลายเป็นการประกาศสละสิทธิเหนือปราสาทพระวิหาร
อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย


ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ อาจเท่ากับประกาศยอมรับความถูกต้องของแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำโกงไทยไว้
และมีพื้นที่ครอบคลุมแนวชายแดนอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร
บริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น


รัฐมนตรีนพดล และรัฐบาลสมัคร ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องเร่งรีบสนองประโยชน์เขมร
เพราะไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเขมรหรือรัฐบาลเขมร ที่กำลังจะมีเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้
เรื่องปราสาทพระวิหารจะสร้างคะแนนให้พรรครัฐบาลของสมเด็จฮุนเซ็นที่เป็นเพื่อน พตท.ทักษิณ
ในขณะที่ไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากกรณีปราสาทพระวิหารเลย ทั้งที่รัฐบาลได้เปรียบในการต่อรอง

สรุปว่ารัฐบาลสมัครและรัฐมนตรีนพดลกระทำผิดพลาดร้ายแรงกรณีปราสาทพระวิหาร 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-06-2008, 14:17 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #1 เมื่อ: 24-06-2008, 02:46 »

น่าจะใส่ข้อความที่จอมพลประภาส ได้พูดไว้ตอนที่เราต้องเอาธงลงมาด้วย และ บางส่วนของหนังสือคัดค้าน

จะทำให้ข้อมูลแน่นยิ่งขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตามหรือไม่รู้มาก่อน อันนี้สำหรับผู้ที่ติดตามหรือผู้ที่รู้แล้ว)

ขออภัยที่วิจารณ์ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 24-06-2008, 03:04 »

น่าจะใส่ข้อความที่จอมพลประภาส ได้พูดไว้ตอนที่เราต้องเอาธงลงมาด้วย และ บางส่วนของหนังสือคัดค้าน

จะทำให้ข้อมูลแน่นยิ่งขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตามหรือไม่รู้มาก่อน อันนี้สำหรับผู้ที่ติดตามหรือผู้ที่รู้แล้ว)

ขออภัยที่วิจารณ์ ขอบคุณครับ

ยินดีครับคุณ moon .. ขอบคุณที่ช่วยกันปรับปรุง 

ผมลองใส่เข้าไปนิดหน่อยเพราะต้องการจำกัดหน้ากระดาษ
ทำเป็น ตัวเอียง คิดว่าคงพอเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพได้

จุดประสงค์หลักของบทความคือต้องการชี้ให้เห็นว่าไทย
ถูกฝรั่งเศสและเขมรโกงอย่างไร ศาลตัดสินบิดเบี้ยวอย่างไร

ไทยจึงมีความชอบธรรมที่จะประท้วงคำตัดสิน และประกาศ
สงวนสิทธิในการทวงประสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

ถ้าพิมพ์บีบๆ หน่อยใช้ font ขนาด 15pt น่าจะพิมพ์ใส่ใน A4
2 หน้า (1 แผ่น) เพื่อทำเป็นใบปลิวเผยแพร่ได้นะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #3 เมื่อ: 24-06-2008, 03:22 »

เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก
บันทึกการเข้า
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #4 เมื่อ: 24-06-2008, 04:05 »

กรณีนี้ใช้ความรู้สึกล้วนๆไม่ต้องอิงหลักฐานประวัติศาสตร์ใดๆ

สรุปได้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแค่ผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนแบบเหลี่ยมๆเหมือนเช่นเคย

คนมันโลภ...และไม่เคยพอ
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #5 เมื่อ: 24-06-2008, 04:12 »

เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก

จะลองหาทางใส่เข้าไปดูนะครับ คงได้แค่อ้างอิงสั้นๆ ในประโยคเดียว 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 24-06-2008, 04:15 »

กรณีนี้ใช้ความรู้สึกล้วนๆไม่ต้องอิงหลักฐานประวัติศาสตร์ใดๆ

สรุปได้อย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นแค่ผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนแบบเหลี่ยมๆเหมือนเช่นเคย

คนมันโลภ...และไม่เคยพอ


รอข้อมูลเปิดโปงจากฝ่ายค้านในการอภิปรายพรุ่งนี้อยู่ครับ
ถ้าหากเข้าท่า ก็จะนำมารวมไว้ในส่วนท้ายของบทความ
แล้วส่งเผยแพร่เป็นการทั่วไปครับ
ถ้าฝ่ายค้านเปิดขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับไม่ได้อ้างเองลอยๆ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #7 เมื่อ: 24-06-2008, 04:27 »

รอข้อมูลเปิดโปงจากฝ่ายค้านในการอภิปรายพรุ่งนี้อยู่ครับ
ถ้าหากเข้าท่า ก็จะนำมารวมไว้ในส่วนท้ายของบทความ
แล้วส่งเผยแพร่เป็นการทั่วไปครับ
ถ้าฝ่ายค้านเปิดขึ้นมาแล้ว ก็เท่ากับไม่ได้อ้างเองลอยๆ 


จะรอชมการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน ตามระบอบของประชาธิปไตยแบบเหลี่ยมๆ

ในเวลา 13.00 น. ในวันพรุ่งนี้

หวังว่าคงจะใจกว้างให้มีการถ่ายทอดอย่างชัดเจนเต็มรูปแบบ

คงไม่ใช่รัฐบาลกำกวม ไม่กล้ายอมรับความจริง
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #8 เมื่อ: 24-06-2008, 08:11 »

อ้างถึง
หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447

อ้างถึง
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งที่ทรงแต่งเรื่อง “ไกลบ้าน”) จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส แลกเปลี่ยนยกดินแดนเสียมเรียบ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยการแลก “จันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)” กลับคืนมา (ครบรอบ 101 ปีในปี 2551 นี้)

เมื่อถึงตอนนี้นั่นแหละที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศเรา มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและลาวอย่างที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน และตัวปราสาทเขาพระวิหาร ก็ถูกขีดเส้นแดนให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร

กล่าวโดยย่อในสมัยของรัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเสนาบดีมหาดไทยนั้น ฝ่าย “รัฐบาลราชาธิปไตยสยาม” ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา “เอกราชและอธิปไตย” ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้

สองอันนี้คือสัญญาฉบับเดียวกันหรือเปล่าครับ
(อันล่างเอามาจากของ อ.ชาญวิทย์)

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #9 เมื่อ: 24-06-2008, 08:27 »

ถ้านายใจ และนายชาญวิทย์ ได้ไปเกิดใหม่ที่ประเทศไต้หวัน มันคงจะบอกว่า ..

"ประเทศไต้หวันเป็นของจีน" จีนก็ยังคงยืนยันว่า ไต้หวันไม่ใช่ประเทศแต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

ถ้าไอ้หมัก และนายนภดลได้มีโอกาสพบกับผู้นำของจีน มันคงจะบอกกับผู้นำจีนว่า ..

"มันผ่านมา 50 ปีแล้ว มันจบไปแล้ว .. ประเทศไต้หวันไม่ใช่ของจีน"

...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 08:32 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #10 เมื่อ: 24-06-2008, 11:11 »

สองอันนี้คือสัญญาฉบับเดียวกันหรือเปล่าครับ
(อันล่างเอามาจากของ อ.ชาญวิทย์)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลังฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ไทยและฝรั่งเศสมีการทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งที่ทรงแต่งเรื่อง “ไกลบ้าน”) จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศส แลกเปลี่ยนยกดินแดนเสียมเรียบ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยการแลก “จันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)” กลับคืนมา (ครบรอบ 101 ปีในปี 2551 นี้)

เมื่อถึงตอนนี้นั่น แหละที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศเรา มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและลาวอย่างที่เรารับรู้กันในปัจจุบัน และตัวปราสาทเขาพระวิหาร ก็ถูกขีดเส้นแดนให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร

กล่าวโดยย่อในสมัยของ รัชกาลที่ 5 ที่มีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นเสนาบดีมหาดไทยนั้น ฝ่าย “รัฐบาลราชาธิปไตยสยาม” ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา “เอกราชและอธิปไตย” ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เป็นคนละฉบับกันครับ.. สัญญา ปี พ.ศ. 2447 เป็นสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 4
ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณปราสาทพระวิหาร ส่วน ปี พ.ศ. 2450 เป็นฉบับที่ 5


เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสเอาเรือรบบุกเข้ามาถึงในกรุงเทพฯ
และไทยต้องทำ สัญญาฉบับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2436 ซึ่งทำให้เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ฝรั่งเศสโกงต่อโดยยึดเมืองจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองสำคัญของไทยเอาไว้ไม่ยอมคืน

ทำให้ไทยต้องยอมทำสัญญาฉบับที่ 4 เพื่อแลกดินแดนบางส่วนกับเมืองจันทบุรี
ดินแดนส่วนหนึ่งในนั้นมีพื้นที่ติดปราสาทพระวิหาร โดยมาตรา 1 ของสนธิสัญญา
ระบุว่าให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน เท่ากับว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย


ส่วนสัญญาปี พ.ศ. 2450 เป็นสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 5 แต่มีความต่อเนื่อง
กับสัญญาฉบับที่ 4 คือหลังจากฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทยแล้วยังโกงต่อด้วยการ
ยึดจังหวัดตราด ทำให้ไทยต้องยอมแลกดินแดนติดกับคราวสัญญาฉบับที่ 4 ให้
ฝรั่งเศส คือ เสียมราฐและพระตะบอง

โดยที่สัญญาฉบับนี้ก็อ้างอิงเส้นเขตแดนตามสัญญาฉบับที่ 4 คือใช้ "สันปันน้ำ"

ผมเอาแผนที่มาให้ดูด้วยจะได้เห็นภาพชัดเจน เลขที่กำกับคือลำดับสัญญานะครับ



มีเรื่องหนึ่งที่ผมเพิ่งสังเกตคือการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. อาจมีความคลาดเคลื่อน
เพราะเหตุการณ์อยู่ก่อนปี พ.ศ. 2484 ที่มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันสงกรานต์
มาเป็นวันที่ 1 มกราคม กำลังตรวจสอบความถูกต้องอยู่นะครับ
เรื่องนี้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการแปลงศักราชได้ 1 ปี 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 11:17 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
เช็คบิล
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 580



« ตอบ #11 เมื่อ: 24-06-2008, 11:14 »

ผมก็คิดแบบ จขกท นั่นแหละว่า เราต้องดูจุดเริ่มต้นก่อน แต่ถ้ามองถึงเรื่องกระแสชาตินิยม ผมก็ไม่อยากจะคิดเรื่องเอาตรงนี้มากนัก แต่ต้องทำให้มันเป็นหนามตำใจพวกกัมพูชา คือ ต้องยื่นร่วม

เพราะเราไม่เห็นชอบกับกัมพูชา ในการยื่นฝ่ายเดียว ดังนั้น ท่าทีของรัฐบาลต่างๆ ก็ไม่พยายามที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชา และต้องยื่นร่วมมาตลอด

การปล้นครั้งนั้น ถ้าบอกกว่า กัมพูชา มีสิทธิ์โดยชอบ โดยอาศัยกฏหมายศาลโลกRaยำ ที่มันล่าอาณานิคมในครั้งนั้น ผมก็คิดว่า มันหน้าด้านสุดๆ

ถ้ามองในการพัฒนาประเทศในแถบนี้ ถ้ามันอยากได้ ก็ให้เฉพาะตัวปราสาท แล้วมันจะได้ไหมล่ะนั่น และพื้นที่เป็นของเรา ถ้าเราปิดทางขึ้น มันก็ขึ้นไม่ได้ เว้นแต่มันมีทางขึ้นฝั่งมัน และนั่นหมายถึง การวางแผนปล้นมาแล้วอย่างเป็นขบวนการ

ดังนั้น การยื่นคัดค้านที่จะมีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และคิดว่า รอให้คนในประเทศของเรา ทำความเข้าใจ มันจะดีกว่ามากที่สุด ทั้งนี้ อนาคตข้างหน้าถ้าเราเห็นชอบกับเขาก็จะไม่มีปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไอ้นพดลนี้มันพูดไม่หมด และรีบทำ ที่เป็นที่น่าสงสัย และคือบ่อเกิดปัญหาของเรื่องนี้ทั้งหมด

มันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันผ่านมา 46 ปี ถ้าอีกสักร้อยปี มันจะตายหรือไม่? เรื่องแบบนี้นี่แหละคือระเบิดเวลาจริงๆ

เราเองก็ไม่อยากจะเป็นปัญหากับไอ้พวกเขมร มันไม่สนุกหรอก เรื่องแบบนี้ เพราะมันย่อมใช้ทุกวิถีทางทุกอย่างคอยแกล้งประเทศของเรา

ความอ่อนแอนี้เป็นเพราะระบบทุนนิยมที่แทรกแซงในทุกระดับของระบบข้าราชการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 11:40 โดย เช็คบิล » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #12 เมื่อ: 24-06-2008, 11:44 »

ผมก็คิดแบบ จขกท นั่นแหละว่า เราต้องดูจุดเริ่มต้นก่อน แต่ถ้ามองถึงเรื่องกระแสชาตินิยม ผมก็ไม่อยากจะคิดเรื่องเอาตรงนี้มากนัก แต่ต้องทำให้มันเป็นหนามตำใจพวกกัมพูชา คือ ต้องยื่นร่วม

เพราะเราไม่เห็นชอบกับกัมพูชา ในการยื่นฝ่ายเดียว ดังนั้น ท่าทีของรัฐบาลต่างๆ ก็ไม่พยายามที่จะเห็นด้วยกับกัมพูชา และต้องยื่นร่วมมาตลอด

การปล้นครั้งนั้น ถ้าบอกกว่า กัมพูชา มีสิทธิ์โดยชอบ โดยอาศัยกฏหมายศาลโลกยำยำ ที่มันล่าอาณานิคมในครั้งนั้น ผมก็คิดว่า มันหน้าด้านสุดๆ

ถ้ามองในการพัฒนาประเทศในแถบนี้ ถ้ามันอยากได้ ก็ให้เฉพาะตัวปราสาท แล้วมันจะได้ไหมล่ะนั่น และพื้นที่เป็นของเรา ถ้าเราปิดทางขึ้น มันก็ขึ้นไม่ได้ เว้นแต่มันมีทางขึ้นฝั่งมัน และนั่นหมายถึง การวางแผนปล้นมาแล้วอย่างเป็นขบวนการ

ดังนั้น การยื่นคัดค้านที่จะมีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และคิดว่า รอให้คนในประเทศของเรา ทำความเข้าใจ มันจะดีกว่ามากที่สุด ทั้งนี้ อนาคตข้างหน้าถ้าเราเห็นชอบกับเขาก็จะไม่มีปัญหา สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไอ้นพดลนี้มันพูดไม่หมด และคือบ่อเกิดปัญหาของเรื่องนี้ทั้งหมด

มันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องรีบทำเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันผ่านมา 46 ปี ถ้าอีกสักร้อยปี มันจะตายหรือไม่? เรื่องแบบนี้นี่แหละคือระเบิดเวลาจริงๆ

เราเองก็ไม่อยากจะเป็นปัญหากับไอ้พวกเขมร มันไม่สนุกหรอก เรื่องแบบนี้ เพราะมันย่อมใช้ทุกวิถีทางทุกอย่างคอยแกล้งประเทศของเรา

ความอ่อนแอนี้เป็นเพราะระบบทุนนิยมที่แทรกแซงในทุกระดับของระบบข้าราชการ

เขมรพยายามปลุกกระแสชาตินิยม โดยอ้างอิงความสัมพันธ์ทางชนชาติว่าเขมรคือขอม
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเขมรได้ลิขสิทธิ์ผูกขาดความเป็นลูกหลานขอมตั้งแต่เมื่อไหร่

เรื่องหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ ประชาชนชาวอีสานใต้จำนวนมากก็มีเชื้อสายเขมรเหมือนกัน
และอยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องมาหลายร้อยปีแล้ว ในขณะที่เมื่อเกือบ 600 ปีก่อน กษัตริย์เขมร
ได้อพยพย้ายเมืองหลวงไปหลายแห่ง จนสุดท้ายไปอยู่ที่พนมเปญ

ถามว่าหากจะอ้างชาติพันธุ์กันจริงๆ บรรดาประชาชนชาวอีสานใต้ของไทยที่อยู่ในพื้นที่
บริเวณปราสาทพระวิหารเช่นชาวศรีสะเกษ จะไม่มีสิทธิในปราสาทพระวิหารหรือ?


เทียบกับประชาชนชาวเขมรประมาณสิบล้านคนเศษ ที่ปัจจุบันก็ผสมกับชาวเวียดนาม
และชาวจีนไปแล้วไม่รู้เท่าไหร่ และไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าชาวเขมรปัจจุบันเคยอาศัย
ในพื้นที่ปราสาทพระวิหารตอนที่สร้างปราสาท ไม่แน่ว่าชาวศรีสะเกษอาจเป็นลูกหลาน
ของผู้สร้างปราสาทพระวิหารตัวจริงก็ได้ ขณะที่ชาวเขมรปัจจุบันอยู่แต่ที่พนมเปญ

...

เพราะไม่ว่าจะวาดภาพระบายสีแสดงขอบเขตอาณาจักรโบราณอย่างไร จะเป็นอาณาจักร
หริภุญชัยของมอญ อาณาจักรอยุธยาของไทย อาณาจักรพุกามของพม่า อาณาจักรขอม
ของชาวเขมร ความจริงแล้วชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเป็นเผ่าพันธุ์เดิมของพื้นที่นั้นๆ

ไม่ใช่ว่าไทยไปครอบครองอีสานเหนือแล้วจากลาวจะกลายเป็นไทย หรือไปครอบครอง
อีสานใต้แล้วจากเขมรจะกลายเป็นไทย หรือไปครอบครองภาคใต้แล้วแขกจะเป็นไทย
ชาวบ้านแต่ละพื้นที่ก็ยังคงเป็น ลาว เขมร แขก อยู่เหมือนเดิม 

ที่จะมีไม่เหมือนเดิมจริงๆ ก็คือตัวผู้นำที่อพยพย้ายไปตามเขตอิทธิพลตัวเองเท่านั้น
ซึ่งกรณีกษัตริย์เขมรก็เก็บข้าวของหนี ทิ้งดินแดนไปอยู่เป็นเพื่อนเวียดนามนานแล้ว
ทิ้งให้ปราสาทพระวิหารรกร้างอยู่ถึง 500 ปี กระทั่งเจ้านายฝ่ายไทยเป็นผู้ไปค้นพบ
ในภายหลังเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา

ดังนั้นไม่แปลกอะไรถ้าชาวศรีสะเกษจะเิดินขบวนเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน
เพราะถือเป็นโบราณสถานของบรรพบุรุษ ที่ค้นพบบนแผ่นดินแม่ของพวกเขาแท้ๆ


ในขณะที่ประเทศไทยก็ทรงสิทธิในฐานะเจ้าของดินแดนก่อนที่จะถูกโกงสนธิสัญญา
และกัมพูชามีสิทธิแค่สืบทอดการโกงจากฝรั่งเศส โดยอ้างว่าไทยไม่คัดค้านการโกง

และอาศัยคำตัดสินเพี้ยนๆ ของศาลโลกมาบังหน้าเท่านั้น 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 11:49 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #13 เมื่อ: 24-06-2008, 12:10 »

ผมเพิ่งค้นพบข้อมูลว่าตระกูล "ปัทมะ" ของคุณนพดล รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบัน
น่าจะมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เพราะพบคนตระกูลนี้มากที่สุด แม้ว่าส่วนใหญ่
จะอยู่ใน อ.ราศรีไศล แต่ก็มีจำนวนมากอยู่ใน อ.กันทรลักษ์ ด้วย



ไม่แน่ว่าบรรพบุรุษของคุณนพดล อาจเป็นคนลากหิน หรือแกะสลักปราสาทพระวิหาร
คุณนพดลน่าจะคิดปกป้องสมบัติของบรรพบุรุษ และแผ่นดินเกิด


ถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีของไทย ก็ไม่น่าทำตัวเหมือนโฆษกรัฐบาลเขมรแบบนี้ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #14 เมื่อ: 24-06-2008, 12:17 »

ไม่ต้องห่วงเรื่องขนาดตัวหนังสือหรอกครับ ถ้าจะเป็น 3 หรือ 4 หน้าก็ช่างมัน

แต่ให้ได้ข้อมูลครบถ้วน และสามารถหักล้างสิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลจะอภิปรายในวันนี้

ได้เป็นพอ ตั้งธงสื่อให้ผู้ที่ยังไม่เคยรับรู้ ผุ้ที่ยังคลุมเครือ ผู้ที่คัดค้าน ได้ทราบ

ส่วนผุ้ที่รับทราบแล้วปล่อยไป ให้เขาอ่านแล้วรุ้สึกว่าทุกอย่างมันได้ถูกปลดล็อค

หมดทุกอย่าง มิฉะนั้น จะเป็นใบปลิวโจมตีทั่วๆ ไป ไม่มีน้ำหนัก

   ขออภัยที่ขอมากไป แต่ผมรู้น้อยจริงๆ ไม่สามารถหาข้อมูลได้อย่างคูณ

ได้แต่รอแล้วก็ขอ  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เช็คบิล
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 580



« ตอบ #15 เมื่อ: 24-06-2008, 12:23 »

มาคิดในอีกมุม

ครั้งนี้อาจเป็นแผนที่วางหมากกันมาแล้ว หลายปี

เพราะฮุนเซนกำลังจะเลือกตั้งแล้วใช้นโยบายนี้หาเสียง ประกอบกับปลุกเรื่องคลั่งชาติเป็นประเด็นในกัมพูชา ที่สำคัญที่สุดคือ อาจมีการวางแผนจากฝ่ายไทยโดยบางคน หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะไม่มี

การสมคบคือการหลอกให้ข้าราชการที่ดูแลเรื่องสนธิสัญญา ให้ตกบ่วงปมปัญหาโดยอ้างเรื่องข้อกฏหมายของศาลโลกRayam ที่มันมามัดคอประเทศไทย

แล้วก็เป็นการเตะหมูเข้าปาก*** ไปฟรีๆ เผลอๆ พื้นที่โดยรอบก็อาจจะโดนอ้าง เพราะเกมมันวางหมากเอาไว้มาก่อน

และเป็นข้อสังเกตของ รมต.นายนพดล ที่รีบร้อนจนเกินไป และอ้างเรื่องจะต้องทำให้เกิดความชอบธรรมบ้าบออะไรนั่น ไม่ใช่เลย นายไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตัดสินเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ยืดมา 46 ปี แต่กะ***นกะหือ จะต้องทำให้ได้ เพื่ออะไร?

ความชอบธรรม มันไม่มีหรอก สำหรับเรื่องเขาพระวิหาร ที่ศาลโลกRaยำ ที่มันตัดสิน ถ้านายนพดลเห็นว่า ถูกต้องตามหลักกฏหมาย ทั้งปวง แน่ล่ะ ก็แสดงว่าการจะโกงใคร ถ้าทำถูกกฏหมายได้ มันก็รอดตัว

สันดานแบบนี้แหละ ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นปมปัญหา เพราะความเห็นแก่ตัว ไม่เคารพหลักกฏหมาย และไร้ศีลธรรม

เอาล่ะเรื่องศาลโลกระyam จะไม่เขียนต่อ

สังเกตไหมหลายรัฐบาลที่พยายามยื้อมาตลอด มันก็เงียบไป แต่พอมาปีนี้ มันกลับมาดังขึ้นมาและนายนพดลพูดว่า เสียงดังไปไม่ได้ เพราะข้างบ้านกำลังจะเลือกตั้ง เพราะอะไร?

แบบนี้หมายความว่าอย่างไร?

ถ้าในมุมมองประชาชนคนหนึ่ง ย่อมตีความได้ว่า สมคบคิดกัน และมีความเป็นไปได้สูง และเดินหมากให้ประเทศตกอยู่ในวังวน และอีกฝั่งก็เสวยสุข

เหมือนกับหมากสองชั้น เพราะทราบดีว่า อีกไม่นานรัฐบาลจะอยู่หรือไม่ พวกเขาทราบดีอยู่แล้ว ก็เลยต้องรีบ

สุดท้ายพวกคนที่ตกในปมปัญหา ก็คือข้าราชการที่ดูแล และทหารไทย ที่อาจเป็นจำเลยในสายตาประชาชน และคนที่เสวยสุข ก็คือ....
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 24-06-2008, 12:44 »

ประเด็นสำคัญคือ มรดกโลก ควรใช้เป็นสิ่งเชื่อมโยงของมนุษย์ทั้งโลก เพื่อศึกษา / ชื่นชมร่วมกัน

แต่รัฐบาลนี้กลับลืมแม้ความตกลงของครม.ร่วม ไทย/เขมร ( สมัยหน้าเหลี่ยม ปี 2547 ) ที่ให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน

เมื่อเขมรยื่นเรื่องเพื่อขอขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวในปี 2549  ไทยได้คัดค้านมาตลอด แม้ในปี 2550 องค์กรมรดกโลกก้ได้ยุติเรื่องไว้ก่อน

เพื่อจะพิจารณาในเดือน กรกฏา 2551

ที่สำคัญ การไปรับรองแผนที่ของเขมรก่อนที่จะเจรจาส่วนประกอบอื่นๆของเขาพระวิหารที่เป็นของไทยซึ่งจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะเขมรถือว่าอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน ตรงนี้คือข้อด้อยไทยเสียเปรียบ

เพราะไม่แน่ว่า แม้นายนพดล ปัทมะเสนอแผนที่เข้าไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

เขมรจะยอมรับหรือไม่ ไทยจึงไม่ควรไปยอมรับแผนที่ของเขมร

เว้นแต่ขึ้นทะเบียนพร้อมกันและตกลงพื้นที่ทับซ้อนให้ได้เสียก่อน


คุณจีฯ ลองเอา "ล้อมกรอบคมชัดลึก" ที่เล่าเรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดลโลกไว้ในตอนท้ายบทความก็จะดีมากๆครับ
บันทึกการเข้า

เช็คบิล
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 580



« ตอบ #17 เมื่อ: 24-06-2008, 12:45 »

ปักหมุดเลยดีไหมครับ
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #18 เมื่อ: 24-06-2008, 12:57 »

เอามาเสริมครับ ทำไมศาลโลก จึงยกปราสาทเขาพระวิหาร ให้กัมพูชา

เราเคยคัดเอาคำพิพากษา มาให้อ่านแล้วดังนี้......คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า...
ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้...
ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำผิด ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ใช้เส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้ห็น จึงไม่ได้คัดค้าน
ศาลบอกว่า...จะเห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
ที่ส่งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม
คศ ๑๙๐๘ ...ว่าได้มีผู้นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยัง
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศสยาม...รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก
อย่างละ ๕๐ ชุด อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต
อย่างละ ๒ ชุดและจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต
ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา.....
..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและ
ทราบดีถึงลีกษณะของแผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น
จะเห็นได้ชัดจากการที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
ได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น
และได้ทรงขอแผนที่ต่ออ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่ง
ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม".........
.

...จะเห็นได้ชีดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี
กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีมีเขตติดต่อกับอาณาบริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....บุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความณุ้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน....
......ในเรื่องนี้เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยม
พระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗---ธนิตา)ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยามและทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ
เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทำอะไร
นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่ายที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า โดยการกระทำของข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพ
ศาลได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯครั้งนีฟังไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร
โดยการที่ไม่มีปิฏิกิริยาในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์ สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมาและภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร ตามที่ลากไว้บนแผนที่.........
แนวการตัดสินเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีที่เพิ่งตัดสิน เมี่อเดือน พค ที่ผ่านมาคือ ระหว่าง มาเลเซีย กับ สิงค์โปร์ เรื่อง เกาะขนาด ๑ ไร่เศษ มีชื่อแปลว่า หินสีขาว ตามสีของขี้นก เป็นที่ตั้งประภาคาร ตรงทางเข้า ด้านตะวันออก ของช่องแคบสิงค์โปร์
โดยสิงค์โปร์ประท้วงการที่มาเลเซีย เขียนแผนที่เอาเกาะนี้ ไปอยู่ในเขตของมาเลเซีย
มาเลเซียก็อ้างแผนที่เก่าๆ สัญญาเก่าๆ ว่าเกาะนี้เป็นของมาเลเซีย
แต่ศาลตัดสินให้เป็นของสิงค์โปร์ โดยบอกว่าสิงค์โปรเป็นคนติดตั้งบำรุงรักษาและบริหารใช้ประภาคาร
แต่มาเลเซีย ไม่เคยคัดค้านในเรื่องนี้ จึงแพ้ไป

จากคุณ : ธนิตา  - [ 24 มิ.ย. 51 07:16:05 ]
ห้องสมุด pantip
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #19 เมื่อ: 24-06-2008, 13:16 »

เยี่ยมเลยครับ ตรงนี้แหละที่โดน และยังมีอีก รู้สึกคุณ jerasak จะเคยเอากรณีที่สหรัฐอเมริกาละเมิดคำตัดสินของศาลโลกหลายครั้งใช่มั้ย

ถ้าใช่ มันจะหักล้างคำพูดที่ว่าเราต้องยอมรับการตัดสินของศาลโลกไปโดยปริยาย ทำเป็นหมายเหตุเล็กๆ ก็ได้ จะได้แน่นยิ่งขึ้นไปอีก

ผมก้อเคยสงสัยว่าทำไม อเมริกาไม่กลัวศาลโลก

คือ ศาลโลกถ้าจะลงโทษ อเมริกาต้องผ่านเวทีสหประชาชาติ แล้วอเมริกาดันมีสิทธิ์วีโต้ได้  เสียงเดียวทุกอย่างเป็นตกไป
กฎอย่างมีก็มีด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 13:18 โดย mebeam » บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #20 เมื่อ: 24-06-2008, 13:22 »

==สรุปประเด็นกรณีรัฐบาลสมัครกับปราสาทพระวิหาร (เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ของสังคมไทย)==





"ปลุกกระแส อารมณ์คลั่งชาติอย่างไร้เหตุผล กรณี 'เขาพระวิหาร' ประวัติศาสตร์จักจารึกนามท่านว่า...

โดย คุณ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ที่มา เวบไซต์ ประชาไท
23 มิถุนายน 2551

การไล่รัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรอบใหม่ กว่าหนึ่งเดือนที่ผ่านมา นับได้ว่า มาถึงจุดที่เลอะเทอะ และสะท้อนการอับจนปัญญาของกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะการเอาเรื่องเขาพระวิหารมาเล่น อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับเขตแดนหรือ ‘ชาติ’ โดยตรง

เรื่องเขาพระวิหาร เด็กรุ่นใหม่ๆ ต่างรับรู้เป็นอย่างดีว่า “ปราสาทเป็นของกัมพูชา ทางขึ้นเป็นของไทย” และรู้กระทั่งว่า ไทยเสียเขาพระวิหาร อันเนื่องมาจากการพิพาท และการยอมยุติข้อพิพาทด้วยเวทีศาลโลก ด้วยหลักฐาน การอ้างอิง และการชั่งตวงวัดน้ำหนักต่างๆ ซึ่งหมายความว่า โลกทั้งใบนี้ รับรู้ข้อยุติตามนั้น

เอาเป็นว่า เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้นเป็น ‘ข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติ’ ที่ยากจะเถียง ส่วนพื้นที่ทับซ้อน ก็คือพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งหมายความว่า จะต้องเจรจาตกลงกันต่อไประหว่างไทยกับกัมพูชา

จริงเรื่องเขตแดนนั้น ต้องถือว่า กองทัพไทยเป็นเจ้าของประเด็นนี้โดยตรง การขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ออกมานั่งแถลงเองว่า เป็นแต่เพื่ยงเฉพาะตัวปราสาท (ตัวปราสาทซึ่งเราเองก็รับแล้วว่าเป็นของเขา คนไทยส่วนใหญ่ก็รับรู้เรื่องนี้)ไม่เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อน แล้วกลุ่มพันธมิตรฯ กำลังเล่นอะไรกันอยู่

ต่อให้ใช้ประเด็นนี้ไล่รัฐบาลได้สำเร็จ เราก็หนี ‘ข้อเท็จจริง’ ไปไม่ได้ ประเด็นนี้ จึงเป็นประเด็นเพื่อปลุกกระแส และอารมณ์คลั่งชาติอย่างไร้เหตุผลที่สุด สะเทือนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างที่สุด เพราะจินตนาการไปทางไหน ก็ไม่มีทางได้เขาพระวิหารมาเป็นของไทยได้

เมื่อข้อเท็จจริงว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา พื้นที่ทับซ้อนก็ยังเป็นพื้นที่ทับซ้อน อะไรที่มันเคยเป็น ก็เป็นอยู่อย่างนั้น แล้วจะมีประเด็นเรื่อง ใครจะไปแลกประโยชน์ด้วยการอ้างจากเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะกัมพูชาก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เพราะเขาขอปราสาทของเขาเอง เป็นมรดกโลกไม่ใช่ปราสาทของเรา

อันที่จริง จินตนาการไปทางไหน กัมพูชาก็ต้องเป็นเพื่อนบ้านของเรา จินตนาการตรงไหน เขาพระวิหารก็ต้องอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครยกไปไหนได้ การไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ก็ทำให้ใช้ประโยชน์จากเขาพระวิหารได้ทั้งสองฝ่าย (โดยที่เราไม่ต้องดูแลรักษา)

พูดง่ายๆ ไม่ใช่ของเรา แต่เราใช้ประโยชน์ได้ ตรงกันข้าม ยิ่งหยิบเรื่องนี้มาเล่น ต่อให้ไล่รัฐบาลได้ เราเองก็อาจจะไม่มีโอกาสได้ไป แม้กระทั่งเหยียบบันไดขั้นแรกของตัวปราสาทเขาพระวิหารด้วยซ้ำ แล้วจะเป็นของเราได้อย่างไร พูดอีกอย่างก็คือ ต่อให้คิดว่าเป็นของเรา เราก็อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้

การหยิบประเด็นอันไร้เหตุผลนี้มา จึงสะท้อนว่า กลุ่มพันธมิตรฯ เอง อับจนปัญญาอย่างที่สุด ที่จะหาจุดอ่อนของรัฐบาลมาเป็นจุดขาย (ทั้งๆ ที่มีจุดอ่อนมากมาย ที่แม้จะ ‘ขาย’ ไม่ได้แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชน) จึงเลือกที่จะเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน และการลงเอยของอารมณ์ความรู้สึก มันก็อาจจะจบลง เหมือนที่นักการเมืองในกัมพูชาเคยเอาประเด็นดาราไทยไปบิด เพื่อปลุกกระแสคลั่งชาติ จนกระทั่งบุกเผาสถานทูตไทยในกัมพูชามาแล้ว

น่าสงสัยว่า ธงของกลุ่มพันธมิตรฯ คืออะไร หลังจากที่ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกกัน และมีสัญญาณห้ามอย่างชัดเจนจากทุกฝ่ายมาแล้ว มาบัดนี้ มาเปิดประเด็นว่าด้วยเรื่อง ‘ชาติ’ อย่างไร้เหตุผล และจงใจปั่นที่อารมณ์ความรู้สึก ใช่หรือไม่ ที่ยังคงเป้าหมายไว้ที่การจลาจล และใช้ประชาชนที่นิยมตนเป็นเหยื่อ

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ใช่หรือไม่ ที่ความขลาดเขลาของคนไม่กี่คน เกิดขึ้นจากการไม่ชอบหน้านักการเมือง ไม่เชื่อมั่นนักการเมือง และไม่เชื่อมั่นในรัฐธรรมนูญ กฎกติกา กลไก และการตรวจสอบใดๆ อีกแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวเองมีส่วนสร้างมากับมือ

ใช่หรือไม่ว่า ความขลาดเขลาของคนไม่กี่คน เกิดขึ้นจากความกลัวว่า ‘เขา’ จะเอาคืน จนหลงลืมว่า ตนเคยเป็นคนมีเหตุมีผลอย่างไร กระทั่งทำให้ต้องเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด โดยเอาชีวิตประชาชนมาเดิมพัน

มนุษย์ต้องมีจินตนาการ และผมยังฝัน ฝันว่า คนบางคนในกลุ่มพันธมิตรฯ จะเรียกร้องความกล้าครั้งสุดท้ายในชีวิตเพื่อให้คนได้จดจำความกล้าของเขา ด้วยการเดินลงจากหลังเสือ

ไม่เช่นนั้น หากเหตุการณ์ในวันข้างหน้าบานปลาย กลายเป็นการจลาจล เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากฝ่ายไหน ไม่ว่าใครจะกระทำ ไม่ว่าใครจะผิด นอกจากรัฐบาลที่ผิด และต้องรับผิดชอบแล้ว คนที่ ‘ปั่น’ เหล่านี้ ก็หนีความรับผิดชอบ และการถูกตราหน้าว่า ‘มือเปื้อนเลือด’ ไปไม่พ้นจนชั่วลูกชั่วหลาน" 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #21 เมื่อ: 24-06-2008, 13:25 »

เอามาเสริมครับ ทำไมศาลโลก จึงยกปราสาทเขาพระวิหาร ให้กัมพูชา

เราเคยคัดเอาคำพิพากษา มาให้อ่านแล้วดังนี้......คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า...
ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้...
ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำผิด ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ใช้เส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้ห็น จึงไม่ได้คัดค้าน
ศาลบอกว่า...จะเห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
ที่ส่งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม
คศ ๑๙๐๘ ...ว่าได้มีผู้นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยัง
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศสยาม...รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก
อย่างละ ๕๐ ชุด อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต
อย่างละ ๒ ชุดและจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต
ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา.....
..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและ
ทราบดีถึงลีกษณะของแผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น
จะเห็นได้ชัดจากการที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
ได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น
และได้ทรงขอแผนที่ต่ออ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่ง
ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม".........
.

...จะเห็นได้ชีดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี
กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีมีเขตติดต่อกับอาณาบริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....บุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความณุ้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน....

อย่าลืมว่าแผนที่ดังกล่าวจัดทำขึ้น โดยไม่มีสนธิสัญญาใดๆ รองรับ นะครับ..

แม้แต่ศาลโลกยังยอมรับว่าขณะจัดทำขึ้น แผนที่ดังกล่าวไม่ผูกพันรัฐภาคี

...

และการอ้างว่ามีผู้พบเห็นแผนที่ ไม่ว่าจะเป็น เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย หรือสมาชิกสยามในคณะกรรมการผสม ฯลฯ

บุคคลต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้มีสิทธิใดๆ ที่จะให้ความเห็นชอบแผนที่ดังกล่าว
เพราะไม่เคยได้รับมอบอำนาจจากรัฐสยาม และความจริงแล้วรัฐสยามเอง
ก็ไม่มีหน้าที่ ต้องพิจารณารับรองแผนที่ ที่จัดทำโดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ

และฝรั่งเศสเองไม่เคยเสนอให้ไทยรับรองความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว
ทั้งที่มีโอกาสหลายครั้ง จากการทำสนธิสัญญาฉบับต่อมา อาจกล่าวได้ว่า
ฝรั่งเศสเองก็เพิกเฉยต่อการเรียกร้องไทยให้รับรองแผนที่เหมือนกัน


...

ส่วนการอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของไทยที่พบเห็นแผนที่ เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ
ในอาณาเขตไทยและโบราณสถาน ก็ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการที่บุคคลเหล่านั้น
มีสิทธิรับรองความถูกต้องของแผนที่แทนรัฐสยาม และบุคคลดังกล่าวก็ไม่มี
หน้าที่ใดๆ ต้องตรวจสอบรับรองความถูกต้องของแผนที่ด้วย

การยกแผนที่ขี้โกงขึ้นเป็นหลักฐาน ก็เท่ากับยอมรับตั้งแต่ต้นว่าฝรั่งเศสโกง
สืบเนื่องมาถึงว่ากัมพูชารับช่วงโกงต่อ (สุดท้ายศาลโลกช่วยรับรองการโกง)


อ้างได้อย่างเดียวว่าโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง ทั้งที่ไทยไม่มีภาระหน้าที่ใดๆ
ต้องตรวจสอบรับรองแผนที่ ที่จัดทำโดยไม่มีสนธิัสัญญารองรับ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 13:32 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #22 เมื่อ: 24-06-2008, 13:34 »

เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร


บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



           ...คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

              ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

           แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

           เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

           และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้

  ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก

           ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

           ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

             ประการแรก การยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

             ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

             ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

           ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

           อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

           ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

             ฉบับแรกทำเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

             ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

             ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

           มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง

           ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อ สู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาล โลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป

           อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ

           แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์

           ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาล โลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น

           ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจ ศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง

           และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก

           ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น

ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

           คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

           ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

           ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

             ประการแรก แผนที่นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

             ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

             ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

             ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

           โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

           ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายในเท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

           เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

           ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

           นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

           ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

            จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

           หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาลโลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

           อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

           ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

           เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

  บทส่งท้าย

           สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

           หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา"
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #23 เมื่อ: 24-06-2008, 13:37 »

ผมก้อเคยสงสัยว่าทำไม อเมริกาไม่กลัวศาลโลก

คือ ศาลโลกถ้าจะลงโทษ อเมริกาต้องผ่านเวทีสหประชาชาติ แล้วอเมริกาดันมีสิทธิ์วีโต้ได้  เสียงเดียวทุกอย่างเป็นตกไป
กฎอย่างมีก็มีด้วย

กรณีดังกล่าวคือที่ศาลโลกตัดสินให้อิสราเอลรื้อกำแพงกั้นปาเลสไตน์
และจ่ายค่าเสียหายให้ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับผลกระทบจากำแพง
เรื่องเพิ่งเกิดเมื่อปี ค.ศ. 2004 ที่ผ่านมานี้เอง

ผลของคำตัดสินคืออิสราเอลปฏิเสธไม่ปฏิบัติตาม และสหรัฐอเมริกา
ให้เงินช่วยเหลือในการสร้างกำแพงต่อ ตามด้วยธนาคารโลกให้เงินกู้
ในการสร้างกำแพง โดยไปตั้งหนี้เอากับชาวปาเลสไตน์
คุณ mebeam ซาบซึ้งในความยุติธรรมของศาลโลกแล้วใช่ไหมครับ  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #24 เมื่อ: 24-06-2008, 13:45 »

"เปิดรายงานลับ ย้อนรอยเขาพระวิหาร

 รายงานฉบับนี้เป็นรายงานล่าสุดลงวันที่ 25 มกราคม 2551สรุปถึงความก้าวหน้าในการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ของประเทศไทย - กัมพูชา ที่นำเสนอต่อนายอดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญยาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาเป็นทั้งหมดของเรื่องนี้ รวมถึงความพยายามของไทยที่ขอเจรจากับกัมพูชาหลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ

เรื่องเดิม

            เมื่อ 25 มีนาคม 2547 เวลา 15.11 น. นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ประชุมร่วมกับนาย ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยประชุมกันที่กรุงเทพฯ เรื่อง การร่วมพัฒนาปราสาทพระวิหาร พร้อมแถลงข่าวร่วม ภายหลังการประชุมโดย นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่าที่ประชุมมีข้อสรุป ดังนี้

            1.จะดำเนินโครงการให้เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพไทย-กัมพูชา โดยร่วมมือและอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน

            2.อนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ให้เป็นมรดกโลกของมนุษย์ชาติ โดยจะร่วมกับ UNESCO พัฒนา หลังจากจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

            3.จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทันที โดยฝ่ายกัมพูชาจะตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ เหมือนกับไทย และจำมีการประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการไทย-กัมพูชา ต่อไป เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น การตั้งร้านค้าที่มีระเบียบ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเก็บกู้ทุ่นระเบิด

            4.จะดำเนินโครงการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหารให้เข้ากับโครงการในกรอบอื่นๆ เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS)

            5.ไทยและกัมพูชายินดีให้ประเทศที่ 3 องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชนมาพัฒนาร่วมกัน

            6.การพัฒนาปราสาทพระวิหารจะไม่กระทบกับการปักปันเขตแดน

            7.กำหนดแผนปฏิบัติการให้เป็นขั้นตอน โดยจะมีการสำรวจรายละเอียดเพื่อหายอดงบประมาณในการดำเนินการโครงการทั้งหมดว่าจะใช้จำนวนเท่าไร อย่างไรก็ตาม หาก UNESCO รับจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะไม่เป็นเรื่องยากที่จะมีการบูรณะและพัฒนา

        ความร่วมมือตามมติที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา เรื่องการพัฒนาร่วมปราสาทพระวิหาร

       คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร (ฝ่ายไทย) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน  ตามที่ได้รับมอบหมายโดยมติคณะรัฐมนตรีร่วมฯ ได้เริ่มดำเนินงานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546 โดยในส่วนของกัมพูชา ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่าและเขาพระวิหาร โดยมี นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธาน

       ฝ่ายไทย ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุดได้แก่ คณะอนุกรรมการวางแผนการพัฒนาร่วเขาพระวิหาร โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์) เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทเขาพระวิหาร โดยมีนายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศในฐานะนักประวัติศาสตร์เป็นประธาน

       คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร ไทยและกัมพูชา ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นประธานการประชุมร่วมกันเมื่อ 25 มีนาคม 2547 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ทั้งนี้ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหารจะเริ่มดำเนินการภายหลังจากที่ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

        การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีไทย

            เมื่อ 15 ตุลาคม 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสำคัญผลการเยือนได้ดังนี้

            นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับกัมพูชาในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของไทย

            โดยนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ทราบว่า ความผูกพันที่รัฐบาลไทยได้มีกับกัมพูชาที่ผ่านมา ทั้งในกรอบความร่วมมือแบบทวิภาคี และความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS ประเทศไทยจะคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงประเด็นความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชาอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี ฝ่ายกัมพูชา ได้แสดงความวิตกกังวลต่อการให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างเส้นทางคมนาคมของไทย ได้แก่ การสร้างถนนหมายเลข 48 (เกาะกง-สแรอัมเปิล) ถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ) ถนนหมายเลข 68 (โอเสม็ด-สำโรง-กรอลัน)

            นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับไปพิจารณาและดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามฝ่ายไทยจะให้การช่วยเหลือในการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนหมายเลข 48 กับ 67 ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างถนนหมายเลข 68 ต่อไป

           นอกจากนี้ ได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน โดยฝ่ายกัมพูชาได้หยิบยกขึ้นมาระหว่างการหารือ ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า การตัดสินใจของรัฐบาลจะอยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งต่อประชาชนชาวไทยและกัมพูชาอย่างแน่นอน

            ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาได้เสนอให้มีการพบปะระหว่าง ไทย ลาว และกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมมรกตต่อไป สำหรับการเปิดช่องทางที่บริเวณช่องตาเฒ่า เขาพระวิหาร นั้น ไทย พร้อมที่จะร่วมพัฒนาเขาพระวิหารกับกัมพูชา และยินดีที่กัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว

        ผลการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา

            เรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา นาย ฮอร์ นำ ฮง รองนายกรัฐมนตรี.และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้หารือข้อราชการกับรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ในประเด็นเรื่องความพยายามของทางการกัมพูชาในการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในการประชุมสมัยที่ 31 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ นครไครสท์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ในปลายมิถุนายน 2550

            การหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในระหว่างการเยือนครั้งนี้เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทีและความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็น เนื่องจากมีประเด็นด้านกฎหมาย เขตแดนและอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งการเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทยของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาครั้งนี้กระชั้นกับช่วงเวลาประชุมคณะกรรมการมรดกโลกมาก

             แม้ว่าก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยได้พยายามขอพบฝ่ายกัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธ ยังผลให้การหารือระหว่างไทย-กัมพูชา ในครั้งนี้ไม่อาจกระทำได้ในรายละเอียดซึ่งมีความละเอียดอ่อนได้อย่างครบถ้วน

            รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยจึงได้มอบหมายให้ ดร.มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีต่า งประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชาที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่นครไครสท์เชิร์ส เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย" 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #25 เมื่อ: 24-06-2008, 13:50 »

......ในเรื่องนี้เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยม
พระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗---ธนิตา)ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยามและทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ
เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทำอะไร
นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่ายที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า โดยการกระทำของข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพ
ศาลได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯครั้งนีฟังไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร
โดยการที่ไม่มีปิฏิกิริยาในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์ สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมาและภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร ตามที่ลากไว้บนแผนที่.........
แนวการตัดสินเรื่องนี้ ก็คล้ายๆกับ คดีที่เพิ่งตัดสิน เมี่อเดือน พค ที่ผ่านมาคือ ระหว่าง มาเลเซีย กับ สิงค์โปร์ เรื่อง เกาะขนาด ๑ ไร่เศษ มีชื่อแปลว่า หินสีขาว ตามสีของขี้นก เป็นที่ตั้งประภาคาร ตรงทางเข้า ด้านตะวันออก ของช่องแคบสิงค์โปร์
โดยสิงค์โปร์ประท้วงการที่มาเลเซีย เขียนแผนที่เอาเกาะนี้ ไปอยู่ในเขตของมาเลเซีย
มาเลเซียก็อ้างแผนที่เก่าๆ สัญญาเก่าๆ ว่าเกาะนี้เป็นของมาเลเซีย
แต่ศาลตัดสินให้เป็นของสิงค์โปร์ โดยบอกว่าสิงค์โปรเป็นคนติดตั้งบำรุงรักษาและบริหารใช้ประภาคาร
แต่มาเลเซีย ไม่เคยคัดค้านในเรื่องนี้ จึงแพ้ไป

จากคุณ : ธนิตา  - [ 24 มิ.ย. 51 07:16:05 ]
ห้องสมุด pantip

เพิ่มเติมในประเด็นที่เหลือ...

กรมพระยาดำรงฯ ขณะเสด็จทอดพระเนตรปราสาทพระวิหาร ไม่ได้มีสถานะเป็นตัวแทนรัฐสยาม
แม้แต่ศาลยังเห็นว่าเป็นการไปในลักษณะ "กึ่งทางการ" เท่านั้น แล้วจะถือเหตุเหล่านี้มาสรุป
ว่ารัฐสยามให้การยอมรับอธิปไตยของฝรั่งเศสได้อย่างไร

เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องแผนที่ คือเป็นหลักฐานว่าฝรั่งเศสเข้าไปยึดครองปราสาทพระวิหาร
โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ (เท่ากับโกงอีกแล้ว) และศาลก็ใช้เหตุผลเดียวกับแผนที่อีก
คือโกงแล้วไทยไม่ทักท้วง ก็เลยถือว่าไทยตกลงมอบปราสาทพระวิหารให้ฝรั่งเศส


...

ประเด็นที่กล่าวว่า "ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ" ไม่สมควรนำขึ้นมาใช้
เพราะไทย-ฝรั่งเศสได้ตกลงกันแล้วว่าจะใช้ "สันปันน้ำ" เป็นเส้นเขตแดน ซึ่งขณะตกลง
ยังไม่มีการลงพื้นที่ปักปันเขตแดน ไม่ว่าไทยหรือฝรั่งเศสก็ไม่รู้ทั้งนั้นว่าพื้นที่ของตัวเอง
จะอยู่ตรงไหนบ้าง แต่สิทธิตามเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำได้เกิดขึ้นแล้ว

หรือประเด็นที่กล่าวว่า "ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส" ก็ไม่สมควรนำมาใช้ด้วย
เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าฝรั่งเศสไม่เคยเสนอข้อเรียกร้องต่อไทย ที่ไทยจะตอบรับหรือปฏิเสธ
ในเมื่อไม่เคยเสนอข้อเรียกร้อง แล้วไทยจะยอมรับข้อเรียกร้องได้อย่างไร
ข้อสรุปก็คือเหมือนเดิม ฝรั่งเศสโกงไทย แล้วเขมรโกงต่อ ส่วนศาลโลกก็ช่วยโกง  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 14:15 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #26 เมื่อ: 24-06-2008, 13:58 »

คนประเภทไหนกันหนอที่ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม...คนประเภทไหนหนอที่เห็นฟ้องขึ้นศาลเพื่อหาข้อยุติ แต่พอแพ้คดีกลับไม่ยอมรับในคำตัดสิน...และคนประเภทไหนหนอที่เถียงข้างๆคูๆว่าคนนั้นคนนี้โกง


คำตอบ:  ก็คนเถื่อนไงคร้า  ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #27 เมื่อ: 24-06-2008, 14:08 »

คนประเภทไหนกันหนอที่ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม...คนประเภทไหนหนอที่เห็นฟ้องขึ้นศาลเพื่อหาข้อยุติ แต่พอแพ้คดีกลับไม่ยอมรับในคำตัดสิน...และคนประเภทไหนหนอที่เถียงข้างๆคูๆว่าคนนั้นคนนี้โกง

คำตอบ:  ก็คนเถื่อนไงคร้า  ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

คุณอะไรจ๊ะ คิดว่าเราไม่มีสิทธิวิจารณ์คำพิพากษาศาลโลกหรือครับ?

คุณคิดว่าไทยไม่สามารถประท้วงคำตัดสินดังกล่าวของศาลโลก
และคิดว่าไทยไม่สามารถประกาศสงวนสิทธิของเราหรืออย่างไร?
สุดท้ายจากข้อมูลที่นำเสนอ คุณอะไรจ๊ะคิดว่าฝรั่งเศสไม่โกงหรือ? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #28 เมื่อ: 24-06-2008, 14:15 »

ฟังคุณจีระศักดิ์แล้วงง

ผมถามคุณจากใจจริงๆ โดยตัดอคติทิ้งนะครับ

คุณคิดจริงๆ หรือว่าเราควรไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก

เรามีอำนาจเหมือนอเมริกาไหม เราจะมี power อะไรไปสู้กับเขาถ้าเขามีมติคว่ำบาตรเรา

อย่าลืมนะครับ ธรรมนูญศาลโลกให้อุธรณ์ได้ 10 ปี แต่เราไม่ทำ

ขอถามอีกครั้ง คุณคิดว่าเราควรเอาประเทศไทยทั้งประเทศไปเสี่ยงกับเรื่องนี้หรือครับ
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #29 เมื่อ: 24-06-2008, 14:20 »

คุณ mebeam ซาบซึ้งในความยุติธรรมของศาลโลกแล้วใช่ไหมครับ  

ผมไม่ได้มีปัญหาอะไร ความยุติธรรม ของศาลโลก หรือศาลไทย ยังเชื่อมั่นเสมอ

ผมแค่แปลกใจในกฎที่ใช้กันมากกว่า บางครั้งเห็นอยู่ว่ามันไม่ยุติธรรม เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
     มันคงจะวุ่นวาย ถ้ามีคนเห็นว่า เราไม่ควรยอมรับในกฎนั้นเพราะเห็นไม่ดีและไม่เป็นธรรม
ดื้อแพ่ง จะเขียนกฎใหม่บ้างที่คิดว่าดีและยุติธรรม ซึ่งกฎนี้ก้ไม่ได้ดีและยุติธรรมในสายตาอีกฝ่ายเลย
เห็นความวุ่นวายหรือยัง  มีแต่คนจะเขียนกฎ ไม่มีใครคิดจะยอมทำกฎเลย


....แน่นอน  ถ้าศาลไทยตัดสินให้คุณทักษิณผิด หรือพ้นผิด ผมก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #30 เมื่อ: 24-06-2008, 14:27 »

ฟังคุณจีระศักดิ์แล้วงง

ผมถามคุณจากใจจริงๆ โดยตัดอคติทิ้งนะครับ

คุณคิดจริงๆ หรือว่าเราควรไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก

เรามีอำนาจเหมือนอเมริกาไหม เราจะมี power อะไรไปสู้กับเขาถ้าเขามีมติคว่ำบาตรเรา

อย่าลืมนะครับ ธรรมนูญศาลโลกให้อุธรณ์ได้ 10 ปี แต่เราไม่ทำ

ขอถามอีกครั้ง คุณคิดว่าเราควรเอาประเทศไทยทั้งประเทศไปเสี่ยงกับเรื่องนี้หรือครับ

เรามีสิทธิที่จะประท้วงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกครับ

...

เรื่องกำหนดรื้อฟื้นคดี 10 ปีอยู่ในธรรมนูญศาลโลกมาตรา 61
ซึ่งไม่เกี่ยวกับที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ เพราะเราประกาศ
สงวนสิทธิโดยไ่ม่ได้อ้างอิงมาตราดังกล่าว

แต่อ้างอิงไว้สรุปได้ว่า จะขอใช้สิทธิทั้งหลายที่พึงมีในอนาคต

ซึ่ง รมต.ต่างประเทศ และรัฐบาลสมัคร เพิ่งจะมีการกระทำ
ที่อาจกระทบต่อสิทธิดังกล่าวของประเทศชาติ


การที่คุณนพดล ไปค้นหาธรรมนูญมาตรา 61 มาอ้างอิงนั้น...

...ไม่ต่างอะไรกับทำตัวเป็นทนายให้เขมร!!!

...

ขอตอบคำถามอีกครั้งของคุณว่า รัฐบาลสมัครเพิ่งเอาประเทศ
ไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
ทั้งที่เราไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เลย
ที่จะต้องสนองประโยชน์รัฐบาลเขมร

..ยังไม่นับข้อสงสัยเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้่อนที่อาจมีอีก..
ผมตอบแบบนี้ชัดเจน หายงง หรือยังครับ?  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 14:37 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #31 เมื่อ: 24-06-2008, 14:32 »

ผมไม่ได้มีปัญหาอะไร ความยุติธรรม ของศาลโลก หรือศาลไทย ยังเชื่อมั่นเสมอ

ผมแค่แปลกใจในกฎที่ใช้กันมากกว่า บางครั้งเห็นอยู่ว่ามันไม่ยุติธรรม เราก็ยังจำเป็นต้องใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
     มันคงจะวุ่นวาย ถ้ามีคนเห็นว่า เราไม่ควรยอมรับในกฎนั้นเพราะเห็นไม่ดีและไม่เป็นธรรม
ดื้อแพ่ง จะเขียนกฎใหม่บ้างที่คิดว่าดีและยุติธรรม ซึ่งกฎนี้ก้ไม่ได้ดีและยุติธรรมในสายตาอีกฝ่ายเลย
เห็นความวุ่นวายหรือยัง  มีแต่คนจะเขียนกฎ ไม่มีใครคิดจะยอมทำกฎเลย

....แน่นอน  ถ้าศาลไทยตัดสินให้คุณทักษิณผิด หรือพ้นผิด ผมก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล

แล้วคุณ mebeam คิดว่าประเทศไทยมีสิทธิประท้วงคำตัดสินของศาลโลกไหมครับ?

คิดว่าประเทศไทยควรประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของเราไว้หรือเปล่า?

และคิดว่ารัฐบาลสมควรมีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิดังกล่าวหรือไม่?
ผมคิดว่ารัฐบาลสมัคร และ รมต.นพดล ทำตัวเหมือนเป็น รัฐบาลและรัฐมนตรีให้เขมร 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #32 เมื่อ: 24-06-2008, 14:45 »

คุณอะไรจ๊ะ คิดว่าเราไม่มีสิทธิวิจารณ์คำพิพากษาศาลโลกหรือครับ?

คุณคิดว่าไทยไม่สามารถประท้วงคำตัดสินดังกล่าวของศาลโลก
และคิดว่าไทยไม่สามารถประกาศสงวนสิทธิของเราหรืออย่างไร?
สุดท้ายจากข้อมูลที่นำเสนอ คุณอะไรจ๊ะคิดว่าฝรั่งเศสไม่โกงหรือ? 


คุณจีรศักดิ์ช่วยตอบหน่อยครับว่าหากไทยเราไม่เชื่อถือในกระบวนการของศาลโลกตั้งแต่แรก แล้วทำไมไทยเราถึงยังไปดึงดันต่อสู้กับเขมรในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารโดยให้ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน?  มันเหมือนกับว่าเรากำลังทำตัวเป็นอันธพาลไม่ยอมรับในคำตัดสิน...แบบนี้ดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของไทย/ดินแดนที่เคยเป็นของไทย-ลาว-พม่า-เวียดนามในอดีตจะไม่เป็นปัญหาหรือ!?!
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #33 เมื่อ: 24-06-2008, 15:19 »


คุณจีรศักดิ์ช่วยตอบหน่อยครับว่าหากไทยเราไม่เชื่อถือในกระบวนการของศาลโลกตั้งแต่แรก แล้วทำไมไทยเราถึงยังไปดึงดันต่อสู้กับเขมรในเรื่องปราสาทเขาพระวิหารโดยให้ศาลโลกเป็นผู้ตัดสิน?  มันเหมือนกับว่าเรากำลังทำตัวเป็นอันธพาลไม่ยอมรับในคำตัดสิน...แบบนี้ดินแดนต่างๆที่เคยเป็นของไทย/ดินแดนที่เคยเป็นของไทย-ลาว-พม่า-เวียดนามในอดีตจะไม่เป็นปัญหาหรือ!?!

ผมไม่แน่ใจว่า จริงๆ แล้วในตอนนั้นไทยมีทางเลือกแค่ไหนที่จะไม่ขึ้นศาลโลก
เท่าที่ทราบคือไทยเพิ่งจะผ่านเรื่องเกือบเป็นผู้แพ้สงคราม และเพิ่งได้เข้าเป็น
สมาชิกสหประชาชาติไม่นาน

เรื่องเป็นอันธพาลคงไม่จริง เพราะเราก็ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลตามสมควร

เพียงแต่เราประท้วงคำตัดสิน และประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตเอาไว้
และหากทำได้ก็จะขอใช้สิทธิที่พึงมีนั้นเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน

ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นของไทย-ลาว-เวียดนาม หากจะมีปัญหาเกิดขึ้น
ก็มีที่มาจากการทำแผนที่ขี้โกงของฝรั่งเศสทั้งนั้น

หากเรายอมรับแผนที่ดังกล่าว ก็เท่ากับยอมยกดินแดนให้พวกขี้โกง 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 15:21 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
prinz_bismarck
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156


« ตอบ #34 เมื่อ: 24-06-2008, 15:21 »

ผมสังเกตุเห็นว่านายอะไรจ๊ะทำตัวคล้ายๆนพดล ก็คือพยายามทำตัวเป็นทนายเขมร พยายามแก้ต่างให้เขมร
บันทึกการเข้า
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #35 เมื่อ: 24-06-2008, 15:27 »

แล้วคุณ mebeam คิดว่าประเทศไทยมีสิทธิประท้วงคำตัดสินของศาลโลกไหมครับ?
มีครับ  โดยการ อุทรณ์ หาหลักฐานไปชี้แจง ในเวลา ที่ยังไม่หมดอายุความ
เรื่องนี้มันก็ เทียบเคียง กับเวลา คุณจีแพ้ความในศาลไทยนี่แหละครับ เวลาแพ้เพราะว่าศาลเขาไม่เห็นด้วยกับเรา เราเลยแพ้ แล้วเราทำไงครับ ก้อทำไปตามกฎสิครับ

คิดว่าประเทศไทยควรประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของเราไว้หรือเปล่า?
มันมีประโยชน์ เขียนไว้ในกฎหมายศาลโลกหรือเปล่า ถ้ามันไม่มีประโยชน์ทางกฎหมาย มันก็แค่คำสุนทรพจน์แสดงแนวคิด เท่านั้นแหละ
มันก็เหมือน ระบบกฎหมายของไทย คุณจีแพ้คดี
คุณจี ไม่ยอมหาหลักฐานไปสู้คดีใหม่ ภายในอายุความ ได้แต่เขียน คำประท้วง ประกาศสงวนสิทธิ์ พีงมีในอณาคต ผ่านไป 45 ปี ศาลไทยยอมรับมั๊ยครับ
มีผลในทางปฏิบัติอะไรใน ระบบกฏหมายไทยมั๊ยครับ  ในกฎหมายในไทยก็ไม่มี  กฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่มี  


และคิดว่ารัฐบาลสมควรมีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการลบล้างการสงวนสิทธิดังกล่าวหรือไม่?
ทำแล้วมันมีประโยชน์ต่อประเทศ ก็ทำไปเลยครับ  จะลบล้างการสงวนสิทธิซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อประเทศแล้ว

ผมคิดว่ารัฐบาลสมัคร และ รมต.นพดล ทำตัวเหมือนเป็น รัฐบาลและรัฐมนตรีให้เขมร 


คนสองฝ่าย พิพาทกันก็เนื่องมาจาก ความเห็นไม่ตรงกัน หลักฐานไม่ตรงกัน เชื่อไม่ตรงกัน
ต้องใช้ศาล เพื่ออะไร เอามาตัดสิน หรือเอามาเข้าข้างตัวเอง  
บันทึกการเข้า
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #36 เมื่อ: 24-06-2008, 15:44 »

สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #37 เมื่อ: 24-06-2008, 15:49 »

ผมไม่แน่ใจว่า จริงๆ แล้วในตอนนั้นไทยมีทางเลือกแค่ไหนที่จะไม่ขึ้นศาลโลก
เท่าที่ทราบคือไทยเพิ่งจะผ่านเรื่องเกือบเป็นผู้แพ้สงคราม และเพิ่งได้เข้าเป็น
สมาชิกสหประชาชาติไม่นาน

เรื่องเป็นอันธพาลคงไม่จริง เพราะเราก็ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลตามสมควร

เพียงแต่เราประท้วงคำตัดสิน และประกาศสงวนสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตเอาไว้
และหากทำได้ก็จะขอใช้สิทธิที่พึงมีนั้นเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืน

ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นของไทย-ลาว-เวียดนาม หากจะมีปัญหาเกิดขึ้น
ก็มีที่มาจากการทำแผนที่ขี้โกงของฝรั่งเศสทั้งนั้น

หากเรายอมรับแผนที่ดังกล่าว ก็เท่ากับยอมยกดินแดนให้พวกขี้โกง 


คุณจีรศักดิ์ทราบหรือไม่ว่าศาลโลกไม่มีชั้นอุทรณ์ และฎีกา...ผลพิพากษาของศาลโลกครั้งนั้นถือเป็นที่สิ้นสุด จะบอกว่าฝรั่งเศลขี้โกงก็ไม่ถูกต้อง เพราะศาลเค้าถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes....เมื่อ yes ก็จบ

ประเด็นก็คือ กรุณาอย่าสร้างความอับอายให้กับคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้เลย เพราะประเทศไทยต้องคบค้ากับนานาประเทศ ถ้าวันนี้ไทยประกาศไม่รับคำพิพกาษาของศาลโลกในปี 2505 ถามว่าต่างชาติเค้าจะบ้าเข้ามาลงทุนในไทยไหม ณ วันนี้!?!
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #38 เมื่อ: 24-06-2008, 15:53 »

สวัสดีครับคุณจีรศักดิ์... ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างสูงจากทั้ง 2 ฝ่าย... คิดว่าสิ่งที่คุณจีรศักดิ์รวบรวมสรุปมานั้นน่าจะได้แปลงให้อยู่ในรูปของ doc และ pdf ให้สะดวกต่อการนำมา print, เผยแพร่, และถกเถียงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น... จึงได้ทำการแปลงดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ

http://www.savefile.com/files/1626944

เป็น zip ไฟล์ขนาด 86 kb (เล็กมาก) มีทั้งไฟล์ doc และ pdf โดยเนื้อหาคัดลอกมาจากคุณจีรศักดิ์ทั้งหมด ปรับแต่งให้อยู่ใน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยเพื่อสะดวกต่อการ print ขาวดำ จึงได้ปรับลักษณะการเน้นจากสีแดงและน้ำเงินต้นฉบับให้เป็นขาวดำในรูปลักษณ์อื่น แต่ยังคงสไตล์การเน้นแบบคุณจีรศักดิ์ไว้ครับ

ไฟล์ pdf มีไว้สำหรับให้คอมพิวเตอร์ทุกประเภทไม่ว่าวินโดว์ แมค ลีนุกซ์ สามารถพิมพ์ได้.. ส่วนไฟล์ doc มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามตามต้องการครับ

 

ขอบคุณมากครับ คุณพระพาย 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #39 เมื่อ: 24-06-2008, 15:54 »

ขอมั่งค่ะ  
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #40 เมื่อ: 24-06-2008, 15:55 »

ผมสังเกตุเห็นว่านายอะไรจ๊ะทำตัวคล้ายๆนพดล ก็คือพยายามทำตัวเป็นทนายเขมร พยายามแก้ต่างให้เขมร


มิได้ครับ ผมมันคนตรง...ผิดเป็นผิด  ไม่ใช่ผิดแล้วแก้ตัวว่าถูก  เพราะหากไทยยังคลดึงดันเล่นเกมส์กับเขมรไม่เลิก เกรงว่าคนเขมรจะลุกฮือขึ้นทำร้ายคนไทยในเขวร และเผาสถานฑูตไทยได้อีก ถึงเวลาที่มีสงครามกัน...พวกรากหญ้าทั้งนั้นที่ถูกส่งไปตาย

คนที่คัดค้านเรื่องนี้...ไม่มีใครตายสักคนหรอกหากเกิดสงครามขึ้นมาจริงๆ
บันทึกการเข้า
ไม่เอาพันธมาร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #41 เมื่อ: 24-06-2008, 15:56 »

ว่าจะตอบคุณจีแล้ว คุณ mebeam ตอบเหมือนกันพอดี


เรามีสิทธิที่จะประท้วงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกครับ

...

เรื่องกำหนดรื้อฟื้นคดี 10 ปีอยู่ในธรรมนูญศาลโลกมาตรา 61
ซึ่งไม่เกี่ยวกับที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ เพราะเราประกาศ
สงวนสิทธิโดยไ่ม่ได้อ้างอิงมาตราดังกล่าว

แต่อ้างอิงไว้สรุปได้ว่า จะขอใช้สิทธิทั้งหลายที่พึงมีในอนาคต

ซึ่ง รมต.ต่างประเทศ และรัฐบาลสมัคร เพิ่งจะมีการกระทำ
ที่อาจกระทบต่อสิทธิดังกล่าวของประเทศชาติ


การที่คุณนพดล ไปค้นหาธรรมนูญมาตรา 61 มาอ้างอิงนั้น...

...ไม่ต่างอะไรกับทำตัวเป็นทนายให้เขมร!!!

...

ขอตอบคำถามอีกครั้งของคุณว่า รัฐบาลสมัครเพิ่งเอาประเทศ
ไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
ทั้งที่เราไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เลย
ที่จะต้องสนองประโยชน์รัฐบาลเขมร

..ยังไม่นับข้อสงสัยเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้่อนที่อาจมีอีก..
ผมตอบแบบนี้ชัดเจน หายงง หรือยังครับ?  

ที่เราประกาศสงวนสิทธิเอาไว้เนี่ย มันมีกำหนดตรงไหนในธรรมนูญศาลโลกว่าสามารถใช้ยกเว้นมาตรา 61 ได้ครับ

ถ้าไม่มีกำหนด แสดงว่าเราก็ต้องเคารพมาตรา 61 ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #42 เมื่อ: 24-06-2008, 16:05 »


คุณจีรศักดิ์ทราบหรือไม่ว่าศาลโลกไม่มีชั้นอุทรณ์ และฎีกา...ผลพิพากษาของศาลโลกครั้งนั้นถือเป็นที่สิ้นสุด จะบอกว่าฝรั่งเศลขี้โกงก็ไม่ถูกต้อง เพราะศาลเค้าถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes....เมื่อ yes ก็จบ

ประเด็นก็คือ กรุณาอย่าสร้างความอับอายให้กับคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศนี้เลย เพราะประเทศไทยต้องคบค้ากับนานาประเทศ ถ้าวันนี้ไทยประกาศไม่รับคำพิพกาษาของศาลโลกในปี 2505 ถามว่าต่างชาติเค้าจะบ้าเข้ามาลงทุนในไทยไหม ณ วันนี้!?!


แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
สมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?

ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ 

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 16:07 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #43 เมื่อ: 24-06-2008, 16:11 »

แล้วคุณอะไรจ๊ะ คิดว่ามันจะมีแค่ "ศาลโลก" ไปตลอดกาลหรือครับ?

องค์กรอย่างสันนิบาตโลกยังล้มไปแล้ว กลายมาเป็นสหประชาชาติในปัจจุบัน
ในสมัยก่อนศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มี ศาลคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มี

หรือมาดูข้อกฎหมาย สมัยก่อนไปเซ็นอะไรไว้จะเสียเปรียบอย่างไรก็ต้องทำตาม
แต่ปัจจุบันมี กฎหมายสัญญาไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

คุณอะไรจ๊ะ แน่ใจได้อย่างไรว่าต่อไปจะไม่มีการจัดตั้งศาลกรณีพิพาทพรมแดน?
หรือจะไม่มี กฎหมายสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม?

ทั้งหมดคือสิทธิที่จะพึงมีในอนาคตของประเทศไทย ที่เราประกาศสงวนสิทธิไว้ 

...

ที่คุณอะไรจ๊ะบอก "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes"
มีหลักฐานจากไหน เท่าที่ผมอ่านสำนวนทั้งหมดไม่เคยเห็น คำถาม-คำตอบ แบบนั้น

ความจริงมีว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่เคยทักท้วงเหมือนกัน
ซึ่งฝ่ายเขมรถือโอกาสตรงจุดนี้ ว่าไม่ทักท้วงถือว่ายอมรับโดยปริยาย

ความจริงมีว่าฝรั่งเศสทำแผนที่โดยไม่มีสนธิสัญญารองรับ และข้อมูลในแผนที่
ไม่ได้ทำถูกต้องตรงตามสาระสำคัญในสนธิสัญญา และในที่สุดฝรั่งเศสและเขมร
ก็นำแผนที่ดังกล่าวมาใช้อ้างอิงสิทธิของตัวเอง.. อ้างว่าไทยไม่ทักท้วง!!!
ถ้าเป็นคุณสนธิก็ต้องถามว่า "พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย.. แบบนี้ .. โกงไม่โกง?"  


สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #44 เมื่อ: 24-06-2008, 16:14 »

ที่อภิสิทธิ์อภิปราย


ฟังแล้ว


นพเหล่


ไม่มีเหลือแล้ว


ไม่มีชิ้นดี

หลักฐานทั้งหลายที่นำมา  ล้วนแต่เป็นเอกสารมัดตัวเหล่

เป็นสายสิญจน์ที่มัดเหล่ และ พวกอย่างไม่หลุด

บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #45 เมื่อ: 24-06-2008, 16:17 »

ที่อภิสิทธิ์อภิปราย


ฟังแล้ว


นพเหล่


ไม่มีเหลือแล้ว


ไม่มีชิ้นดี

หลักฐานทั้งหลายที่นำมา  ล้วนแต่เป็นเอกสารมัดตัวเหล่

เป็นสายสิญจน์ที่มัดเหล่ และ พวกอย่างไม่หลุด




เด็กชาย ม. เจ็ดเนี่ยน๊ะ!?!  กร๊ากกกกกกกกก
บันทึกการเข้า
totoro on a tree
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 112



« ตอบ #46 เมื่อ: 24-06-2008, 16:21 »

จริงๆ อยากจะให้มีการทำเป็นการ์ตูนง่ายๆ

ให้เด็กๆเข้าใจค่ะ หรือทำยังไงก็ได้ให้เข้าใจง่ายที่สุด

แบบว่าย่อยให้ง่ายๆ เพราะว่ารู้จักคนที่เป็น web master แล้วเค้าทำบอร์ดพวก

เกาหลี ญี่ปุ่นอยู่ จะได้ให้เค้าเอาไปเผยแพร่ให้พวกเด็กๆได้อ่าน

แต่ว่าได้เท่านี้ก็ดีแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #47 เมื่อ: 24-06-2008, 16:24 »

ว่าจะตอบคุณจีแล้ว คุณ mebeam ตอบเหมือนกันพอดี

ที่เราประกาศสงวนสิทธิเอาไว้เนี่ย มันมีกำหนดตรงไหนในธรรมนูญศาลโลกว่าสามารถใช้ยกเว้นมาตรา 61 ได้ครับ

ถ้าไม่มีกำหนด แสดงว่าเราก็ต้องเคารพมาตรา 61 ใช่ไหมครับ

คุณไม่เอาพันธมารฯ ต้องทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ประกาศสงวนสิทธิเพื่อยกเว้นมาตรา 61 นะครับ
และมาตรา 61 ก็มีเนื้อความระบุเพียงข้อกำหนดในการขอทบทวนคำพิพากษา ไม่ได้มีไว้ให้เคารพ

แต่เราประกาศสงวนสิทธิทั้งหลายที่พึงมี ซึ่งกว้างขวางครอบคลุมมากกว่ามาตรา 61 หลายเท่า

ยกตัวอย่างเช่น ครอบคลุมถึง มาตรา 60 ที่ระบุเอาไว้เกี่ยวกับการขอให้ศาลตีความคำวินิจฉัย
ซึ่งการตีความคำพิพากษาตามมาตรานี้ไม่มีกำหนดเวลา เราจะขอตีความเมื่อไหร่ก็ได้ครับ  

...

ผมเอาธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60-61 มาให้ดูด้วยเลยก็แล้วกัน เผื่อว่าผู้สนใจจะนำไปใช้อ้างอิง
ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาที่จะขอทบทวนคำตัดสินอยู่ในข้อ 5 ของมาตรา 61 ครับ

http://www.icj-cij.org/documents/index.php?p1=4&p2=2&p3=0#CHAPTER_III

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ARTICLE 60

The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope
of the judgment, the Court shall construe it upon the request of any party.


ARTICLE 61

1. An application for revision of a judgment may be made only when it is based upon the discovery
of some fact of such a nature as to be a decisive factor, which fact was, when the judgment was given,
unknown to the Court and also to the party claiming revision, always provided that such ignorance
was not due to negligence.

2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording
the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision,
and declaring the application admissible on this Ground.

3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits
proceedings in revision.

4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact

5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-06-2008, 16:27 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #48 เมื่อ: 24-06-2008, 16:29 »

ฟังอยู่ เหมือนคุณอภิสิทธิ์  เข้ามาอ่านข้อมูลคุณจีเลย เดี๊ยะๆ
มี อเมริกา อิสราเอลงอแงคำตัดสินด้วย
มีทนายของเขมรด้วย

ไอ้ประโยค ข้อ 61 อายุความ 10ปี ผมรอฟังอยู่จะแก้ยังไง
ด่าคุณนพดลไปแล้วว่า ที่ยกมาทำตัวเหมือนเป็นทนายเขมร
แต่ไม่มีคำแก้ต่าง ด่าเขาฟรีๆ เลย
พูดอย่างที่ว่า ถ้าคุณนพดลไม่พูดกฎข้อนี้มันจะหายไป หรือเขมรไม่รู้นี่กฎนี้น่ะ
เหมือนคุณจีทุกประการเลย  
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #49 เมื่อ: 24-06-2008, 16:30 »


สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

คุณจีรศักดิ์กำลังใช้หลักการคาดเดาว่า ในอนาคตอาจเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้โดยพยายามหลอกตัวเองและไม่สนใจในคำพิพากษาของศาลโลกที่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นไปแล้ว จะมาอ้างว่าคนนั้นคนนี้โกง...กระบวนการยุติธรรมระดับนานาประเทศเค้าฟังหรือเปล่าครับ? จะบอกว่าไทยไม่เคยรับรองแผนที่...มันฟังไม่ขึ้นหรอกเพราะคำตัดสินของศาลโลกเหนือมติใดๆของครม.ไทย ยกเว้นว่าไทยจะลาออกจากยูเอ็นเท่านั้น!!


ตกลงที่ "ศาลถามว่าไทยรับรองแผนที่ดังกล่าวไหม?  ทนายไทยบอก yes" มันมีจริงไหมครับ? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1] 2 3 4
    กระโดดไป: