ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
11-05-2025, 12:22
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดจม.เสนีย์ มติครม.2505 ชี้ชัด ปราสาทพระวิหารของ'เขมร' อยู่บนแผ่นดิน 'ไทย' 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดจม.เสนีย์ มติครม.2505 ชี้ชัด ปราสาทพระวิหารของ'เขมร' อยู่บนแผ่นดิน 'ไทย'  (อ่าน 2427 ครั้ง)
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« เมื่อ: 23-06-2008, 21:59 »

http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=144209

เปิดจม.เสนีย์ มติครม.2505 ชี้ชัด ปราสาทพระวิหารของ'เขมร' อยู่บนแผ่นดิน 'ไทย'
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=144209
 
เปิดมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 พร้อมจดหมายโต้ตอบ และการแสดงข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายหลังศาลโลกตัดสิน ให้ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' ตกเป็นของกัมพูชา นัยยะชี้ชัด ไทยยอมรับคำตัดสิน แต่ยืนยันหนักแน่น ตัวปราสาทอยู่ในดินแดนไทยมาแต่ดั้งเดิม   เช่นนั้น มติครม.



 ทั้งหมด เป็นเอกสารทางราชการ จากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ  'เขาพระวิหาร' รวมทั้งจดหมายของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช มีถึงจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยืนยันว่า คำพิพากษาของศาลโลก ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเป็นธรรม




1.ลับที่สุด ด่วนที่สุด
ที่ ๕๔๙/๒๕๐๕



๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕


เรื่อง คำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อ้างถึง โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 39/2505 และโทรเลขของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ที่ 40/2505




สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนารูปถ่ายบันทึกแสดงความเห็นในชั้นต้นของศาสตราจารย์อังรี โรแลง ตามโทรเลขของกระทรวงฯ ที่อ้างถึงข้างต้น ขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ส่งสำเนาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหารให้ทนายของเราทุกคน และให้รายงานความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลง ถ้าหากมีเกี่ยวกับคำพิพากษาฯ ให้กระทรวงฯ ทราบความแจ้งอยู่แล้ว นั้น



ขอเรียนว่า สำหรับเรื่องการส่งคำพิพากษาของศาลฯ ไปให้ทนายนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการแล้ว โดยชั้นต้นได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาสตราจารย์โรแลง, เซอร์แฟรงค์ ซอสคิส และนายเจมส์ เนวิน ไฮด์ คนละ 1 เล่มเมื่อวันที่ 18 เดือนนี้ ทั้งนี้เพราะคำพิพากษาที่ศาลฯ พิมพ์สำหรับใช้ชั้นแรกมีจำนวนจำกัด สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รีบติดต่อกับสำนักจ่าศาลฯ ขอคำพิพากษาเพิ่มเติมเพิ่งได้วันนี้อีก 3 ชุด และจะได้รีบจัดการส่งให้นาย เจ.จี. เลอเคนส์, นายเดวิด ดาวส์น และนายมาร์เซล สลูสนี โดยด่วนที่สุดในวันนี้



สำหรับเรื่องต่อมาคือ เรื่องความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลง เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลฯ นั้น ทันทีที่ได้รับโทรเลขกระทรวงฯ ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์นัดหมายและได้เดินทางไปพบศาสตราจารย์โรแลง ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 20 เดือนนี้ ศาสตราจารย์โรแลงได้ให้ความเห็นชั้นต้นโดยย่อ ดังปรากฏในสำเนาบันทึกที่ได้แนบมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบ ณ ที่นี้ เรื่องนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานให้กระทรวงฯ ทราบแล้ว โดยทางโทรเลขที่อ้างถึงข้างต้น จึงขอเรียนมาเพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
 ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในระหว่างการสนทนา ข้าพเจ้าได้สอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลง ในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย คือ



1.ความถูกต้องยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฯ
 ข้าพเจ้าได้ถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่า โดยที่ในปัจจุบันมีผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอย่างน้อย 2 คน ที่เป็นคนสัญชาติของประเทศคอมมิวนิสต์โดยแท้จริง คือ นาย ปี.วินิอาสกี้ (โปแลนด์) ซึ่งเป็นประธานของศาลฯ และนาย วี. เอม.คอเรทสกี้ (สหภาพโซเวียต) ฉะนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลเหล่านี้จะเอนเอียงเข้าข้างกัมพูชา ทั้งนี้เพราะกัมพูชาอ้างว่าเป็นกลาง แต่เป็นที่ทราบกันว่ามีความฝักใฝ่กับคอมมิวนิสต์มาก ส่วนประเทศไทยนั้นดำเนินนโยบายสนับสนุนประเทศฝ่ายตะวันตกอย่างชัดแจ้ง



ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่า จากประสบการณ์ที่เคยว่าความในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาช้านาน มีความรู้สึกอยู่ประการหนึ่งว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่คอมมิวนิสต์แผ่อิทธิพลเข้าไปได้ยากแห่งหนึ่ง เพราะเหตุผลประการแรกคือ ผู้พิพากษาจากประเทศคอมมิวนิสต์มีจำนวนน้อย และประการต่อมา ลักษณะงานของศาลฯ หนักไปในทางวิชาการอยู่มาก



อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า สำหรับคดีเขาพระวิหารนี้ ผู้พิพากษาบางคน เช่น นายบาเดวังห์ (สัญชาติฝรั่งเศส) และนายคอเรทสกี้ (สหภาพโซเวียต) อาจมีความเอนเอียงเข้าข้างกัมพูชาก็เป็นได้ แต่ส่วนนายวินิอาสกี้ (โปแลนด์) นั้น เท่าที่รู้จักกันมา ศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า จะเป็นคอมมิวนิสต์ในนามมากกว่า เพราะมีท่าทีเป็นคนโปแลนด์สมัยก่อนคอมมิวนิสต์อยู่มาก เป็นนักกฎหมายและอายุมากแล้ว เข้าใจว่าจะไม่สนใจกับลัทธิคอมมิวนิสต์ในการปฏิบัติหน้าที่มากนัก



ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งต่อไปว่า คำพิพากษาคดีเขาพระวิหารได้เขียนขึ้นด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ อาจกล่าวได้ว่ามากกว่าคำพิพากษาคดีอื่นๆ ส่วนมากถ้อยคำที่เขียนไม่แสดงให้เห็นร่องรอยของความลำเอียงหรือความไม่ยุติธรรม นอกจากนั้น ศาสตราจารย์โรแลงมีความเห็นว่าผู้พิพากษาบางคน อาทิ เช่น เซอร์เจอรัลล์ ฟิตสมอริซ (สัญชาติอังกฤษ) เป็นต้น มีท่าทีอยากจะช่วยประเทศไทยอยู่มาก แต่คงไม่อาจทำได้ ดังจะเห็นได้จากความเห็นเอกเทศแนบท้ายคำพิพากษาในคดีนี้



2.การดำเนินการขั้นต่อไปในด้านคดีความ
 ข้าพเจ้าได้สอบถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่า ประเทศไทยจะควรดำเนินในอย่างใดต่อไปในด้านคดีความ กล่าวคือจะสมควรฟ้องร้องขอให้ศาลฯ พิจารณาเกี่ยวกับแนวเขตในส่วนอื่นๆ ในบริเวณเทือกเขาดงรักซึ่งยังไม่ชัดแจ้งในขณะนี้หรือไม่? หรือจะควรดำเนินการอย่างอื่นใด?



ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่า สำหรับเรื่องเขาพระวิหารนั้นเป็นอันหมดปัญหา เพราะศาลฯ ได้วินิจฉัยแล้ว แต่ก็เป็นการดีอย่างหนึ่งที่ผู้พิพากษาหลายคนเห็นว่า เอกสารแนบท้ายหมายเลข 1 ของกัมพูชาไม่สมบูรณ์ในขณะที่ทำซึ่งนับว่าผู้พิพากษาเหล่านี้เชื่อหลักฐานและข้อพิสูจน์ของฝ่ายไทย นอกจากนั้นในคำพิพากษาของศาลฯ ศาลฯ ก็มิได้วินิจฉัยให้ประโยชน์แก่ฝ่ายกัมพูชาตามข้อเสนอสุดท้ายของฝ่ายนั้นในข้อ 1 และ 2 สำหรับปัญหาเรื่องการจะฟ้องร้องขอให้ศาลฯ วินิจฉัยแนวเส้นเขตแดนโดยทั่วไปนั้น คิดว่าถ้ารอดูให้เรื่องคลี่คลายอีกสักเล็กน้อย จึงค่อยพิจารณาจะเหมาะสมกว่า



ศาสตราจารย์โรแลงได้แจ้งด้วยว่า ขณะนี้กำลังศึกษคำพิพากษาอย่างละเอียด และจะได้ทำบันทึกความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรส่งมายังข้าพเจ้าโดยด่วนต่อไป




จึงขอเรียนรายงานมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบและพิจารณา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ลงพระนาม  วงษ์มหิป
(หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร)


 




2.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๑๕๗๖/ ๒๕๐๕      กระทรวงการต่างประเทศ
๒๗ มิถุนายน  ๒๕๐๕



เรื่อง การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 21136/2505 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2505



อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงข้างต้น กราบเรียนเรื่องบันทึกความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง พร้อมด้วยคำแปลภาษาไทย และสำเนาหนังสือรายงานของเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ความละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น



บัดนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอประทานเสนอแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร เพื่อประกอบการพิจารณาของ ฯพณฯ ดังต่อไปนี้



1.ในคดีปราสาทพระวิหาร กัมพูชาและประเทศไทยได้รับพันธะที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล แต่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับวีธีปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลนั้น กฎบัตรสหประชาชาติก็ดี ธรรมนูญศาลและข้อบังคับของศาลก็ดี มิได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้น การปฏิบัติจึงเป็นเรื่องของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย



ในคดีที่พิพาทเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนี้ ศาลได้มีคำพิพากษา และชี้ขาดในส่วนที่จะต้องปฏิบัติไว้ว่าก.อำนาจอธิปไตยเหนือซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา



ข.ให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจ คนเฝ้า หรือยามรักษาการที่ได้ส่งไปประจำ ณ ปราสาทพระวิหาร ออกจากปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นดินแดนของกัมพูชา



2.สำหรับ ข้อ ก. คำพิพากษามิได้กำหนดหน้าที่ให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติ แต่มีหน้าที่จะต้องงดเว้นการปฏิบัติ กล่าวคือ ไทยจะไม่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณซากปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลได้พิพากษาให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งถ้าหากมีการกระทำเช่นนั้น กัมพูชาก็อาจจะอ้างได้ว่าเป็นละเมิดต่ออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากปราสาทพระวิหาร



3.สำหรับ ข้อ ข. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจ คนเฝ้าหรือยามรักษาการ จากซากปราสาทพระวิหาร ซึ่งในคำพิพากษาของศาลก็มิได้มีการห้ามมิให้ประเทศไทยมีกำลังทหาร หรือตำรวจ อยู่นอกบริเวณซากพระวิหาร ซึ่งเป็นอาณาเขตของไทยแต่เรื่องที่ยากแก่การปฏิบัติก็คือ คำพิพากษามิได้ชี้ขาดอย่างชัดแจ้งว่า ซากพระวิหารมีอาณาเขตกว้างขวางเพียงใด ดังนั้น อาจจะมีปัญหาเรื่องการปักหลักเขตแดนใหม่ ซึ่งตามคำพิพากษาของศาลก็มิได้ถือตามแผนที่ภาคผนวก แต่อาจถือตามสันปันน้ำ เว้นแต่บริเวณซากปราสาทเท่านั้น



4.สำหรับ ข้อ ค. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องคืนวัตถุจำนวน 1 ชิ้น ที่นักเรียนจากกรมศิลปากร ได้นำเอามาจากปราสาทพระวิหาร วัตถุชิ้นนี้เป็นศิลามีคำจารึกที่อ่านไม่ออกแผ่นศิลาชิ้นนี้กัมพูชาอ้างว่าได้โยกย้ายมาจากปราสาทพระวิหาร โดยอ้างหนังสือของกรมศิลปากรเป็นพยานหลักฐานในคดี



5.การปฏิบัติตาม ข้อ ข. นี้ ไทยอาจปฏิบัติได้เองในบางส่วน แต่การปักหลักเขตแดนเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาเกี่ยวกับบริเวณพระวิหารนั้น น่าจะได้กระทำเมื่อกัมพูชาขอมา และด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย



เรื่องนี้ ปรากฏในบันทึกความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง ฉบับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2505 ซึ่งให้ความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลไทยเห็นชอบและเห็นเป็นโอกาสอันควรศาสตราจารย์ โรแลง ก็จะรับเป็นผู้ไปทาบทามนาย ปินโต และนาย เรอแตร์ ทนายความของกัมพูชา อย่างไม่เป็นทางการให้



6.ส่วนการปฏิบัติตาม ข้อ ค. นั้น จะต้องคืนให้แก่ผู้มีอำนาจรับมอบแทนรัฐบาลกัมพูชา และควรจะรอไว้ให้กัมพูชาขอมาเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ที่มีอำนาจรับมอบ



ฉะนั้น จึงขอกราบเรียนมาเพื่อพิจารณา ณ ที่นี้
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง



(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ




กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย





3.ที่ กต. ๗๖๗๘/๒๕๐๕     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี



๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๕
เรื่อง ความเห็นของทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

อ้างถึง หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 30613/2505 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2505 และที่ สร. (0601) 20687/2505 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2505




ตามที่ได้รายงานความเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลง เซอร์ แฟรงก์ ซอสคิส และนาย เจ. จี. เลอเลนส์ ทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร ไปเพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบ ความแจ้งอยู่แล้วนั้น
ได้นำเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบแล้วด้วยความขอบคุณ
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง


(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

กองนิติธรรม





4.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๒๗๐๙๘/๒๕๐๕    กระทรวงการต่างประเทศ
๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
เรื่อง นำส่งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง


1. หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร.(020***) 21771/2505 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2505 และ
2. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ กต.7964/2505 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2505
สิ่งที่ส่งมาด้วย บันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2505 รวม 30 ชุด



อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึง นำเสนอบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2505 ไปเพื่อ ฯพณฯ พิจารณา และหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่อ้างถึงแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2505 อนุมัติให้พิมพ์บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวแล้วได้ นั้น



ขอกราบเรียนว่า ก่อนที่จะเปิดเผยบันทึกฉบับนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ให้นักกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม บันทึกดังกล่าวแล้วอีกครั้งหนึ่ง ดังบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2505 ที่ขอประทานเสนอมาพร้อมกับหนังสือนี้ รวม 30 ชุด



ขอแสดงความนับถือ



(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ




5.ส่วนตัว      สำนักงานทนายความ
เสนีย์ ปราโมช

๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๕

เรียน ท่านนายกรัฐมนตรี ที่นับถือ



ตามที่รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นเพื่อตรวจพิจารณาและทำคำติชมคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเขาพระวิหารนั้น กรรมการได้ตรวจพิจารณาทำคำวิจารณ์เสร็จแล้ว ผมจึงได้ส่งวิจารณ์ไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามทางการ ปัญหาที่กรรมการได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณามีว่า ถ้ารัฐบาลเห็นชอบด้วยกับวิจารณ์คำพิพากษาของกรรมการแล้ว จะเป็นการสมควรหือไม่ที่รัฐบาลจะเผยแพร่วิจารณ์ออกไปในเวลานี้ กรรมการได้เสนอเหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับข้อนี้มาในบันทึกประกอบวิจารณ์



ถ้ารัฐบาลเห็นว่า เป็นการสมควรที่จะเผยแพร่วิจารณ์พิพากษาในเวลานี้ ผมมีความยินดีจะช่วยเผยแพร่ในทางแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษาและผู้สนใจในเรื่องนี้ทั่วไป เพราะตั้งแต่ได้ข่าวว่าศาลตัดสินให้ไทยแพ้คดี นักศึกษามหาวิทยาลัยรวมทั้งประชาชนผู้สนใจได้มารบเร้าให้ผมไปชี้แจงแสดงความจริงในเรื่องนี้เสนอมา



เมื่อได้อ่านวิจารณ์คำพิพากษาแล้ว จะปรากฏในตอนท้ายว่า มีหลักวิชาการแผนที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งกรรมการได้เรียนคำวิจารณ์ไปตามแนวความคิดเห็นของ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดา ผู้เชี่ยวชาญที่ท่านนายกฯ ได้กรุณาอนุมัติให้มาช่วยงานนี้ แต่เท่าที่ได้พยายามเขียนออกมาเป็นคำพูด จะฟังได้สนิทเพียงไรยังเป็นปัญหาอยู่ วิจารณ์ส่วนนี้จะเร้าใจได้ดีเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญนำแผนที่มาแสดงให้ดู เช่นที่กล่าวถึงการปูเส้นกระด้างเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งจะทำให้เขตแดนเคลื่อนที่จากความจริงปั่นป่วนกันไปขนาดนั้น เมื่อ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดา นำแผนที่มาแสดงให้ดู กรรมการจึงเห็นความจริง



******วิชาได้อย่างชัดแจ้ง กรรมการจึงได้ปรารภกันว่า ถ้ารัฐบาลเห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการเผยแพร่วิจารณ์คำพิพากษาแล้ว หากจะอนุมัติให้มีการแสดงทางโทรทัศน์โดยให้ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดา นำแผนที่ไปแสดงให้เห็นเป็นจริงเป็นจังตามหลักวิชาการด้วย อาจได้ผลดี และเมื่อปรารภกันดังนี้แล้ว กรรมการจึงได้มอบหมายให้ผมพิจารณาหาทางเรียนมาให้ท่านนายกฯ ทราบ



ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วิจารณ์คำพิพากษานี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้รัฐบาลแสดงความชอบธรรมของไทย และจะแสดงให้คนทั้งหลายได้ทราบว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินคดีนี้ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ตลอดจนความเป็นธรรม สมดังที่รัฐบาลได้วิจารณ์ไว้แต่เบื้องต้น



     ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
     
       (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช)



6.ที่ ๑๗๖๓๔/๒๕๐๕    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


๑๓ กันยายน ๒๕๐๕


เรื่อง บันทึกวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร
เรียน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประธานคณะกรรมการพิจารณาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีเขาพระวิหาร
อ้างถึง หนังสือที่ 368/2505 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505 และหนังสือลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505




ตามที่ได้ส่งบันทึกของคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับคำวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร และขอเผยแพร่คำวิจารณ์ไปเพื่อพิจารณา นั้น
 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาด่วน
 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2505 ลงมติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไว้ประกอบการพิจารณา เมื่อมีเรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อไป
 จึงเรียนมาเพื่อทราบ



ขอแสดงความนับถืออย่างสูง



(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี




บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #1 เมื่อ: 24-06-2008, 14:32 »

ครม.ใจแขมร์ ดึงกลับ “นพเหล่” ลงนามเขาพระวิหาร 

 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000074134
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2551 13:30 น.
 
 
นพดล ปัทมะ
 
 
 
  หุ่นเชิดหมดความชอบธรรม! สู้กระแสกดดันไม่ไหวสั่งทบทวนมติ ครม.ใจแขมร์ให้เจ้ากระทรวงบัวแก้วลงนามร่วมขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร อ้างหวั่นเขมรลักไก่ฮุบแผนที่ทับซ้อน ยื้อชีวิตชงเข้าที่ประชุมใหม่สัปดาห์หน้า
       
       วันนี้ (24 มิ.ย.) ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.มีมติให้ทบทวน ครม.ครั้งที่แล้ว กรณีเขาพระวิหารใน 2 ประเด็น ว่าด้วยการแถลงการณ์ร่วมและแผนที่แนบท้าย ตามที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศได้ลงนามไว้ โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อแผนที่เป็นแผนผังแทน โดยให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่ากรณีข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนอยากระบุให้ชัดเจน เมื่อขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว
       
       เพราะคณะรัฐมนตรีห่วงว่า เมื่อประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกไปแล้ว พื้นที่ทับซ้อนจะถูกครอบคลุมไปด้วย โดยได้มอบหมายให้ นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการ ครม. นายสหัส บัณทิตกุล นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ยกร่างประเด็นหเล่านี้ให้ชัดเจนและรัดกุม เพื่อไม่ไห้เกิดปัญหาในอนาคต
       
       ด้าน นายสุวิทย์ เปิดเผยว่า หลังจัดทำร่างให้ชัดเจนจะนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า ก่อนที่ออกหนังสือเวียนไปยังหน่วยราชการต่าง โดยการยกร่างมติ ครม.ใหม่ครั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบเรื่องดินแดนและอำนาจอธิปไตย
 
 ***************************************
 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: