ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 06:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  เหรี้ยหมัก รับใช้เหรี้ยแม้ว....ยืนข้อเสนอแลกเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ทับซ้อน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เหรี้ยหมัก รับใช้เหรี้ยแม้ว....ยืนข้อเสนอแลกเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ทับซ้อน  (อ่าน 1294 ครั้ง)
f5
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 23-06-2008, 20:41 »

รมต.พาณิชย์กัมพูชา แฉผ่านสื่อ ระบุ รัฐบาลไทยเสนอยื่นหมูยื่นแมว แลกเขาพระวิหาร กับพื้นที่ทับซ้อนสัมปทานแหล่งก๊าซในอ่าวไทย โดยข่าวดังกล่าวถือเป็นการตอกย้ำคำกล่าวของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ตั้งข้อสงสัยว่า รัฐบาลนายสมัครกำลังจะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนเพื่อแลกกับผลประโยชน์ ของอดีตนักการเมืองใหญ่ ด้าน “นพดล” เสียงสั่นปฏิเสธไม่รู้เรื่อง และยืนยันว่า ประเทศไทยจะไม่เสียดินแดนแน่

ล่าสุด เช้าวันนี้ (13 พ.ค.) หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ได้ตีพิมพ์ข่าว “รมต.เขมรถลกไทย ยกขุมพลังงานพ่วงเจรจาเขาพระวิหาร สื่อกัมพูชาปักกิ่ง “น้ำมัน-ก๊าซ” มหาศาล” โดยมีเนื้อหาอ้างอิงถึงข่าวจากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily) ระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ว่า ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย
       
       “พวกเขาต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน” นายจาม กล่าว
       
       นอกจากนี้ ในตอนหนึ่ง นายจาม ยังกล่าวด้วยว่า “เราได้หารือถึงพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว (ในน่านน้ำบริเวณอ่าวไทยที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่) เรากำลังลดช่องว่างในกระบวนการเจรจาลง ทว่าดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น” พร้อมกล่าวด้วยว่า นายสกอัน รัฐมนตรีประจำคณะรัฐมนตรีของกัมพูชา กำลังเตรียมเดินทางมาประเทศไทยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อหารือเรื่องพื้นที่ผลประโยชน์ทับซ้อนในอ่าวไทย แต่ยังไม่มีการระบุวันเวลาที่แน่นอน
       
        “นพดล” ปฏิเสธเสียงสั่น ไม่เคยเสนอยื่นหมูยื่นแมว
       
       ด้าน นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันนี้ได้กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ระบุว่า ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ ทางทะเลในอ่าวไทยขึ้นมาเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ว่า ไม่ทราบเรื่อง และไม่รู้ว่ารัฐมนตรีกัมพูชาให้สัมภาษณ์ว่าอย่างไร แต่ยืนยันว่า ประเทศไทยไม่เคยมีการยื่นหมูยื่นแมวเพื่อแลกเปลี่ยนในกรณีใดๆ กับเขาพระวิหาร
       
       “แนวทางของเรา คือ จะเจรจาให้มีการบริหารจัดการร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน ส่วนเรื่องน้ำมันก็จะเป็นการเจรจาต่อไป ไม่เกี่ยวข้องกัน” นายนพดล กล่าว “จะมีการพูดคุยในฐานะมิตรประเทศ เราจะพยายามให้ทุกอย่างจบลงด้วยผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายในเดือนกรกฎาคม นี้ มั่นใจว่า เราจะไม่เสียดินแดนจากเรื่องนี้”
บันทึกการเข้า
f5
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 23-06-2008, 20:47 »

อุตสาหกรรมไทย - พลังงาน

24 มิถุนายน 2547

ผ่าขุมทรัพย์ก๊าซธรรมชาติ! ปตท.การันตีแหล่งในประเทศใช้ได้อีก 50 ปี


    นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด เปิดเผยว่า จากการสำรวจปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ล่าสุด พบว่า มีปริมาณสำรองจากแหล่งต่างๆในอ่าวไทย ที่สามารถขุดเจาะและนำขึ้นมาใช้ได้ทันที 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และยังไม่รวมกับแหล่งอื่นๆ ที่มีการสำรวจเบื้องต้นแล้วพบว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะพบแหล่งสำรองอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และแหล่งที่มีโอกาสพบปานกลางที่เป็นหลุมก๊าซธรรมชาติ ในลักษณะกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายทั่วอ่าวไทยอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
    "

    ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พร้อมนำขึ้นมาใช้ทันที 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เมื่อคำนวณจากความต้องการบริโภคในประเทศ ขณะนี้จะอยู่ที่ 2,700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และปี 2552 จะเพิ่มเป็น 4,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยหากมีความต้องการบริโภคในปริมาณดังกล่าว ก็ยอมรับว่ามีแนวโน้มที่ปริมาณสำรอง จะหมดลง ในอีก 25 ปีข้างหน้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าก๊าซธรรมชาติจะหมดลงในทันที เพราะยังมีแหล่งสำรองอีก 2 ลักษณะข้างต้นที่ ปตท.และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) จะเร่งทำการสำรวจและขุดเจาะขึ้นมาใช้งาน ได้อีก เพราะ ปตท.สผ.ได้เร่งสำรวจแหล่งใหม่ๆทุกปี ที่สำคัญเทคโนโลยีการขุดเจาะ ในปัจจุบันมีศักยภาพสูงมาก สามารถขุดเจาะนำขึ้นมาใช้ได้ทันทีตลอดเวลา ไม่ว่าแหล่งก๊าซธรรมชาติจะเป็นแหล่งน้ำลึก กระแสน้ำเชี่ยวกราก ต่างจากอดีตที่เทคโนโลยีการขุดเจาะ มีประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก ทำให้ ในบางแหล่งต้องใช้เวลานานในการขุดเจาะ"

    นายจิตรพงษ์กล่าวว่า จากการสำรวจแหล่งสำรองตลอดเวลาในอ่าวไทย ทำให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะมีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในอีก 50 ปีข้างหน้าไทยก็ยังมีก๊าซธรรมชาติที่ขุดเจาะได้ในประเทศ ที่นำขึ้นมาใช้งานได้เหมือนในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าอาจต้องมีการนำเข้าในบางส่วน แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลว่า จะกำหนดแผนบริหารการใช้พลังงานในประเทศอย่างไร เช่นหากมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน พลังงานชีวมวล ลม แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น เพื่อเกลี่ยสัดส่วนการใช้พลังงานในกลุ่มของก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ก็จะทำให้ก๊าซธรรมชาติในไทยขยายระยะเวลาใช้งานได้เพิ่มขึ้นนานกว่า 50 ปี

    "ปตท.และปตท.สผ.กำลังเจรจาร่วมลงทุนขุดเจาะผลิตก๊าซธรรมชาติกับกาตาร์ อิหร่าน อียิปต์ อินโดนีเซีย รัสเซีย เพื่อหาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ มาสำรองไว้ในระยะยาว รวมทั้งกำลังเจรจาร่วมทุนเพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ บนพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-เวียดนาม, ไทย-กัมพูชา, ไทย-มาเลเซีย ซึ่งในส่วนของเวียดนาม พบว่ามีปริมาณสำรองสูงมาก แต่ยังระบุตัวเลขไม่ได้ แต่มั่นใจว่าจะเจรจาร่วมทุนสำรวจและผลิตได้ในเร็วๆนี้ ส่วนแหล่งในกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างรัฐบาลของ 2 ประเทศ เพราะยังมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกันอยู่ ซึ่งแหล่งก๊าซธรรมชาติของพื้นที่คาบเกี่ยวเวียดนามและกัมพูชา จะมีโอกาสพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่สูงมาก หรือใกล้เคียงกับแหล่งในไทย เพราะเป็นพื้นที่รอยเลื่อนในทะเลรอยเดียวกับแหล่งที่พบในอ่าวไทย และในส่วนของมาเลเซีย คือแหล่งเจดีเอ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการ และเป็นแหล่งที่ไทยสามารถนำมาใช้ได้สูงถึง 576,000 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในระยะเวลา 20 ปี หรือเฉลี่ยนำมาใช้วันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต และยังไม่รวมกับก๊าซธรรมชาติ จากพม่าที่ไทยรับซื้อเข้ามาจากแหล่งยาดานาและเยตุกุนอีกหลายล้านลูกบาศก์ฟุต"

    นายอภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันไทยสามารถจัดหาแหล่งพลังงานในทุกประเภท อาทิ ถ่านหิน น้ำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานลม ชีวมวล แสงแดด คิดเป็นปริมาณเฉลี่ย 80,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่มีความต้องการใช้น้ำมันวันละเกือบ 700,000 บาร์เรล และเมื่อรวมกับพลังงานประเภทอื่นๆ (ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ) ก็เท่ากับว่ามีความต้องการเฉลี่ยประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในอีก 25 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้เชื้อเพลิงทุกประเภท จะเพิ่มเป็น 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นในอีก 25 ปีข้างหน้า ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันทั้ง 100% ส่วนก๊าซธรรมชาติอาจต้องนำเข้า 49% อีก 51% เป็นก๊าซธรรมชาติที่จัดหาได้ในประเทศ สาเหตุที่ต้องนำเข้าเพราะว่าความต้องการใช้ในอีก 25 ปี เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงทำให้ปริมาณที่จัดหาได้ในประเทศอาจไม่เพียงพอ กับความต้องการที่ก้าวกระโดด.

    ที่มา : ไทยรัฐ 24 มิถุนายน 2547

    มิถุนายน 2547

    สุวิทย์ สุทธิจิระพันธ์(suwits@mfa.go.th)

http://www.mfa.go.th/web/1470.php?id=9266
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: