ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 18:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  โฉ่!“สมัคร”แถด้านตั้ง“ปลอดประสพ”เป็นที่ปรึกษานายกฯ แม้มีมลทินถูกไล่ออกจากราชกา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
โฉ่!“สมัคร”แถด้านตั้ง“ปลอดประสพ”เป็นที่ปรึกษานายกฯ แม้มีมลทินถูกไล่ออกจากราชกา  (อ่าน 1838 ครั้ง)
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« เมื่อ: 23-06-2008, 13:56 »

โฉ่! “สมัคร” ด้านตั้ง “ปลอดประสพ” เป็นที่ปรึกษานายกฯ แม้มีมลทินถูกไล่ออกจากราชการ
 
แหล่งข่าว 21 มิถุนายน 2551 22:11 น.
 
 

นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งพานายยงยุทธ ติยะไพรัช เที่ยวชมไนท์ซาฟารี เมื่อ ก.ค. 2548

   
  คอลัมนิสต์อาวุโสค่ายมติชน แฉ “สมัคร” ทำงามหน้า ตั้ง “ปลอดประสพ” เป็นที่ปรึกษานายกฯ    โดยไม่สนว่าจะเคยทำผิดร้ายแรงถึงขั้นโดนไล่ออกจากราชการ แม้เจ้าตัวจะอ้าง พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ.2550 ว่าทำให้ไม่ขาดคุณสมบัติก็ตาม


 
เอกสาร 1 
   
       หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน 2551 หน้าที่ 2 ในคอลัมน์ “สถานีคิดเลขที่ 12” โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ผลการล้างมลทินกับปลอดประสพ” กรณี นายปลอดประสพ สุรัสวดี ถูก อ.ก.พ.กระทรวง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีมติให้ลงโทษไล่ออกจากราชการซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้ลงนามในคำสั่ง ที่ 318/2550 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2550 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 จากกรณีประพฤติมิชอบด้วยการอนุญาตให้บริษัท ศรีราชาไทเกอร์ซู จำกัด ส่งออกเสือโคร่งเบงกอล 100 ตัว โดยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีมูลความผิดร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานกระทำอันเชื่อได้ว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 (ดูเอกสาร 1-3 ประกอบ)
       
       หลังถูกไล่ออกจากราชการนายปลอดประสพได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน (อันดับที่ Cool กลุ่มที่ 6 และได้รับการแต่งตั้งจากนายสมัคร สุนทรเวช ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (6) ระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร



เอกสาร 2

       นอกจากนี้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 ซึ่งครอบคลุมถึงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในมาตรา 9 และ มาตรา 10 ยังกำหนดคุณสมบัติและการออกจากตำแหน่งของข้าราชาการการเมืองไว้อย่างชัดเจนดังนี้ มาตรา 9 (9) ผู้จะได้รับแต่งตั้งต้องไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือ ไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น ส่วน มาตรา 10 (5) ระบุว่า ข้าราชการการเมืองต้องออกจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9
       
       ทั้งนี้ นายปลอดประสพ ลงสมัคร ส.ส.และรับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่า ตนได้รับอานิสงส์ จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป (ดาวน์โหลด : พ.ร.บ.ล้างมลทินฯไฟล์ PDF)



เอกสาร 3   
   
       ทว่าประสงค์ วิสุทธิ์ ได้ตั้งข้อสงสัยต่อข้ออ้างของนายปลอดประสพว่า พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยด้วย 2 เงื่อนไขคือ

หนึ่ง - ในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และ
สอง - ได้รับโทษหรือได้รับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนในวันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ (5 ธ.ค. 2550)

โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ
โดยในกรณีของนายปลอดประสพนั้นเพิ่งมาถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ โดย มติ อ.ก.พ.กระทรวง เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2550 และ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ลงนามเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2550 จึงน่าสงสัยว่าจะเข้าข่ายล้างมลทินหรือไม่
       
       เสนอส่งตีความกรณี “ปลอด” เข้าข่ายล้างมลทินหรือไม่
       
       ซึ่งประสงค์ วิสุทธิ์ระบุว่า เรื่องดังกล่าวมีความเห็นเป็นสองแนวทาง คือ
       
       1.เมื่อกระบวนการและคำสั่งลงโทษเกิดขึ้นหลังวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นวันหลังจากที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ หมายความว่า ยังไม่ได้รับโทษหรือลงโทษตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ
       
       2.เมื่อคำสั่งไล่ออกให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 เท่ากับได้รับการลงโทษก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 จึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ (แต่กรมบัญชีกลางต้องทวงเงินบำเหน็จหรือบำนาญคืนด้วย?)
       
       ทั้งนี้ในบทความ “(กรรม) ปลอดประสพกับ พ.ร.บ.ล้างมลทิน” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2551 ประสงค์ วิสุทธิ์ ได้เสนอแนวทางคลี่คลายข้อสงสัยดังกล่าวโดยระบุว่า นายสมัคร ควรจะให้องค์กรที่มีอำนาจชี้ขาดทางกฎหมายวินิจฉัยกรณีของนายปลอดประสพว่า มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินหรือไม่ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน และมิให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน หรือ ส.ว. ยื่นถอดถอนนายสมัครจากกรณีดังกล่าว
       
       ทนายรีบแจงพร้อมขู่ดำเนินคดี
       
       ต่อมาในบทความ “ผลการล้างมลทินกับปลอดประสพ” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์ที่ 22 มิ.ย. 2551 ประสงค์ วิสุทธิ์ ระบุว่า หลังจากที่เขาเขียนบทความ “(กรรม) ปลอดประสพกับ พ.ร.บ.ล้างมลทิน” ทาง นายวัชรินทร์ อธิพรชัย ทนายความของนายปลอดประสพ ได้ส่งหนังสือถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน โดยอ้างว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวนั้นคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง โดยขอให้ลงคำชี้แจงภายใน 5 วัน มิฉะนั้นจะถือว่ามีเจตนาเสนอข่าวที่ไม่สุจริตและจงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อนายปลอดประสพซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
       
       โดยทนายของนายปลอดประสพได้ชี้แจงโดยยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง ของ นายเดช และ นาย ก ที่ไม่ถูกดำเนินการทางวินัยอีกหลังได้รับการล้างมลทิน และระบุว่า กรณีของนายปลอดประสพนั้น มีคำสั่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 28 มีนาคม 2548 ดังนั้นกรณีของนายปลอดประสพจึงเข้าข่ายได้รับการล้างมลทินด้วย ซึ่งในการได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ได้มีการวินิจฉัยจนเป็นที่ยุติไปแล้ว
       
       แย้งล้าง“โทษ” แต่“การกระทำ”ไม่ได้ล้างไปด้วย
       
       ประสงค์ วิสุทธิ์ ได้นำเรื่องราวดังกล่าวมาเขียนต่อในบทความวันอาทิตย์ที่ 22 มิ.ย. 2551 โดยชี้ให้เห็นว่า ในเอกสารหลักการของ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ 2550 หน้า 5 ข้อ 7. ระบุหลักการของ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ว่า ให้ถือเพียงว่า “ผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเท่านั้น” อันมีความหมายว่า “ล้างเฉพาะโทษ แต่การกระทำหรือกรรมที่ได้เคยกระทำมาไม่ได้รับการล้างมลทินตามไปด้วย”
       
       โดยคอลัมนิสต์อาวุโสของหนังสือพิมพ์มติชน ชี้ให้เห็นว่าจากหลักการดังกล่าวทำให้ พ.ร.บ.ล้างมลทินจึงล้างเฉพาะโทษของนายปลอดประสพ แต่การกระทำและความประพฤติมิได้ถูกล้างไปด้วย โดย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 9 (5) และ 10 (5) กำหนดคุณสมบัติและการพ้นตำแหน่งของข้าราชการการเมืองไว้ว่า “ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี” และระบุทิ้งท้ายไว้ว่า “วิญญูชนพึงวินิจฉัยได้เองว่า นายปลอดประสพขาดคุณสมบัติการเป็นที่ปรึกษานายกฯ หรือไม่”
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐบาลนายสมัคร และพรรคพลังประชาชนได้แต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ และขาดความสง่างามขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะตัวนายสมัครเองที่เคยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญาจากคดีหมิ่นประมาทนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. นายสุธา ชันแสง อดีตรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีปัญหาเรื่องวุฒิการศึกษา นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข และนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมว.พาณิชย์ ที่มีปัญหาในการชี้แจงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอดีตนปก.และมีปัญหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกใบแดงเนื่องจากคดีซื้อเสียงเลือกตั้ง รวมถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ที่ต้องคดีที่ดินใน จ.บุรีรัมย์


   
อ้างถึง
       
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
       ที่ ๓๑๘/๒๕๕๐
       เรื่อง ลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ
       ----------------------

       ด้วย นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร ๑๑) ตำแหน่งเลขที่ ๓ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยกรณีได้พิจารณาอนุญาตให้จัดส่งเสือโคร่ง จำนวน ๑๐๐ ตัว ไปยังสวนสัตว์สาธารณะ Sanya Maitree Concept Co.,Ltd. ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีพฤติการณ์ที่กล่าวหาคือ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ (นายสุรศักดิ์ ชัชวาลวงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ ๖ สำนักนักงานป่าไม้จังหวัดชลบุรี กรมป่าไม้) และที่ ๒ (นายยืนยง สรรพวรสถิตย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดชลบุรี กรมป่าไม้) ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ (บริษัทศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด ในฐานะนิติบุคคล) ซึ่งแจ้งการครอบครองสัตว์ป่า (เสือโคร่งเบงกอล) จำนวน ๑๒๕ ตัวที่ได้มาโดยมิชอบ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่กลับพิจารณาอนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ ครอบครองสัตว์ป่า (เสือโคร่งเบงกอล) จำนวน ๑๒๕ ตัวโดยมิชอบตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ เป็นผู้ตรวจสอบก่อนการออกใบอนุญาต และผู้ถูกกล่าวหาที่ ๒ เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาต ต่อมาได้มีการคัดโอนสัตว์ป่า (เสือโคร่งเบงกอล) จำนวน ๑๒๕ ตัวดังกล่าว ไปเข้าบัญชีสวนสัตว์สาธารณะของบริษัทสวนสัตว์ศรีราชา และศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์ จำกัด และได้มีการยื่นขออนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า (เสือโคร่งเบงกอล) เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ (นายมานพ เลาห์ประเสริฐ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ ๗ หัวหน้าฝ่ายอนุญาตสัตว์ป่า กองการอนุญาต กรมป่าไม้ และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชน้ำที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (CITES) กรมป่าไม้) เป็นผู้ตรวจสอบรายละเอียดจนผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ ได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๔ โดยมีเสือในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาต จำนวน ๒๑๘ ตัว (เพิ่มขึ้นในระหว่างการพิจารณาใบอนุญาต จำนวน ๙๓ ตัว) ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวลงนามโดยผู้ถูกกล่าวหาที่ ๔ (นายนิมิต ศรีภัคดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการอนุญาต กรมป่าไม้) ซึ่งการออกใบอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตารา ๑๘ และมาตรา ๔๘ ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ ๗ (นายไมตรี เต็มศิริพงศ์ในฐานะส่วนตัวผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน บริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด) และ ๘ (นายปรีชา ภัทรนุธาพร ในฐานะส่วนตัวผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน บริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด) ได้ขออนุญาตส่งเสือ จำนวน ๑๐๐ ตัวซึ่งอ้างว่าเกิดจากการเพาะพันธุ์ในกิจการสวนสัตว์สาธารณะไปยังสวนสัตว์สาธารณะ Sanya Maitree Concept Co.,Ltd. ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ ๓ ได้มีหนังสือสำนักงานอนุสัญญา (CITES) พิจารณาให้ความเห็นว่าเสือดังกล่าวเกิดจากการเพาะพันธุ์ เห็นควรอนุญาต และผู้ถูกกล่าวหาที่ ๕ (นายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้) ได้ลงนามอนุญาตและเป็นตัวแทนของผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ จัดส่งเสือไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ โดยอ้างว่าการจัดส่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย ค้นคว้าทดลองทางวิชาการ ทั้งที่จากการตรวจสอบหมายเลขในไมโครชิพ ปรากฏว่ามีเสือที่ไม่ได้เกิดจากการเพาะพันธุ์ตามใบอนุญาตของผู้ถูกกล่าวหาที่ ๖ จำนวน ๕๓ ตัว และจัดส่งเสือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าอันเป็นการมิชอบตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
       
       ดังนั้น การที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี กับพวกได้ร่วมกันพิจารณาตรวจสอบและอนุญาต ให้บริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด ส่งออกเสือโคร่งเบงกอลจำนวน ๑๐๐ ตัว โดยได้พิจารณาถึงคำร้องและหลักฐานการขออนุญาตของบริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด ที่มีข้อความและสาระสำคัญหลายประการที่ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และระเบียบ แสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่แสดงว่า บุคคลทั้งสองทราบดีว่าเป็นการขออนุญาตที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแต่กลับพิจารณาอนุญาตให้ส่งออกเสือโคร่งดังกล่าว โดยกรมป่าไม้เป็นผู้กระทำแทน อันเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีเจตนาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ซู จำกัด สามารถส่งออกเสือโคร่งเบงกอลดังกล่าวไปยัง Sanya Maitree Concept Co.,Ltd. ได้ อีกทั้งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการทั้งด้านการควบคุม คุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งเป็นสัตว์หายาก และด้านเศรษฐกิจของประเทศ และอาจถูกกีดกันทางการค้าจากกลุ่มประเทศสมาชิกของอนุสัญญาฯ (CITES) ได้
       
       คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติว่า การกระทำของนายปลอดประสพ สุรัสวดี จึงมีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม มาตรา ๘๕ วรรคสอง และมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และ อ.พ.ก. ทำหน้าที่ อ.พ.ก. กระทรวงของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีมติลงโทษ ไล่นายปลอดประสพ สุรัสวดี ออกจากราชการ
       
       ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงลงโทษไล่ นายปลอดประสพ สุรัสวดี ออกจากราชการ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
       
       
สั่ง ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
       
       พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
       นายกรัฐมนตรี
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-06-2008, 14:02 โดย oho » บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 23-06-2008, 14:00 »

ตั้งไปแล้วตั้งกะวันโน่นนน
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
หน้า: [1]
    กระโดดไป: