ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 20:56
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  == ตอบประเด็นขายหุ้น โรงไฟฟ้าราชบุรี ขายชาติหรือไม่ == 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
== ตอบประเด็นขายหุ้น โรงไฟฟ้าราชบุรี ขายชาติหรือไม่ ==  (อ่าน 1517 ครั้ง)
jerasak+
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 01-06-2006, 01:59 »

ตามที่มีความพยายามนำกรณี ขายหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี ไปเปรียบเทียบกับกรณีขายหุ้น ปตท. และ ขายหุ้น กฟผ.
โดยอ้างประเด็นสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ในโรงไฟฟ้าราชบุรีเพียง 45% ว่าไม่ถึงครึ่งไม่เหมาะสมนั้น

เรื่องขายหุ้น กฟผ. ประเด็นที่คัดค้านกันไม่ใช่เรื่องรัฐยังถือหุ้นใหญ่หรือเปล่า แต่อยู่ที่ "จำเป็น" ต้องเข้าตลาดหุ้นหรือเปล่า
และควรแล้วหรือที่เอาผลประโยชน์จากเขื่อนของรัฐ และสายส่งไฟฟ้าที่เวนคืนที่ดินประชาชนนับหมื่นกิโลเมตรไปขายรวมด้วย

ส่วนเรื่อง กฟผ. ถือหุ้น ratch 45% ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอำนาจบริหารเด็ดขาด
---------------------------------------------------------------------------------
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548

  1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย            652,500,000 หุ้น  (45.00%)
  2. กลุ่มบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)              217,400,000 หุ้น  (14.99%)
  3. สำนักงานประกันสังคม                              42,025,600 หุ้น  ( 2.90%)
  4. ธนาคารออมสิน                                       38,000,000 หุ้น  ( 2.62%)
  5. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวร์รันส์      20,798,600 หุ้น  ( 1.43%)
  6. เชส นอมินีส์ ลิมิเต็ด                                  19,299,690 หุ้น  ( 1.33%)
  7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ.           18,286,800 หุ้น  ( 1.26%)
  8. Investor Bank and Trust Company           15,051,799 หุ้น  ( 1.04%)
  9. เอชเอสบีซี กรุ๊ป                                       13,189,200 หุ้น  ( 0.91%)
10. สเตท สตรีท แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ คัมปานี       11,258,000 หุ้น  ( 0.78%)

รวมจำนวนหุ้นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก   1,047,809,689 หุ้น  (72.26%)

ข้อมูลจาก : เว็บไซด์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
http://www.ratch.co.th/th/main_prf.htm?mnl=th/menu_th_pf_frame.htm&ctl=th/prf_shrehdr_th_content.htm
---------------------------------------------------------------------------------

จะเห็นว่าด้วยโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ ratch แม้ กฟผ. ถือหุ้น 45% แต่ถือว่ามีอำนาจบริหารจัดการเด็ดขาด
สังเกตว่าต่อให้รวมหุ้นจากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ถึง 10 เข้าด้วยกันก็จะมีหุ้นเพียง 27.46%

หรือหากผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 คือ บ้านปู ต้องการลงทุนครอบงำกิจการ ratch โดยสามารถซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย
ทั้งหมด 27.74% ก็ยังมีหุ้นรวมได้เพียง 42.73% และต่อให้รวมหุ้นในมือ AIA เข้ามาอีกก็ยังเป็น 44.16% น้อยกว่า กฟผ.
จึงอาจกล่าวได้ว่า กฟผ. ยังมีอำนาจบริหารแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

การนำโรงไฟฟ้าราชบุรีเข้าตลาดหุ้นครั้งนั้น เกิดขึ้นเนื่องจาก กฟผ. ต้องการนำเงินที่ได้ไปขยายระบบสายส่งไฟฟ้า
ในระหว่างเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยขณะนั้นไม่สะดวกอย่างยิ่งในการค้ำประกันเงินกู้
โดยที่ระบบสายส่งไฟฟ้าเป็นภาระหน้าที่ของ กฟผ. ต้องลงทุนเอง 100% โดยตรง  ในขณะที่ระบบผลิตไฟฟ้าเป็นกิจการ
ที่สามารถให้เอกชนลงทุนได้ 100% อยู่แล้ว  กฟผ. จึงไม่จำเป็นต้องรักษาสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมด เพียงรักษาอำนาจ
การบริหารกิจการไว้ก็พอ

และท้ายที่สุดแล้วเงินที่ กฟผ. ได้รับจากการแปรรูป ratch ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากการขายหุ้นเพิ่มทุน
ข้อมูลที่เผยแพร่กันบางครั้งบอกแต่เพียงว่า กฟผ. ได้รับเงินจากการเพิ่มทุนรวม 16,000 ล้านบาท
โดยที่บางครั้งไม่ได้บอกว่าในนั้นรวมเงินเพิ่มทุนจาก กฟผ. เองไว้ด้วยกว่า 7,000 ล้านบาท

เงินส่วนใหญ่มาจาก บมจ. ราชบุรีโฮลดิ้ง กู้เงินธนาคารไทย 8 แห่งรวม 44,000 ล้าน และได้จากหุ้นเพิ่มทุนให้เอกชน
จริงๆ เพียงไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท การแปรรูป ratch จึงทำให้ กฟผ. ได้รับเงินไปขยายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ต้องลงทุน
100% เป็นเงินมากกว่า 50,000 ล้านบาท และยังคงรักษาอำนาจการบริหารใน ratch ได้ด้วย..
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 01-06-2006, 02:14 »

เน้นข้อมูลสักหน่อย..

---------------------------------------------------------------------------------
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548

  1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย            652,500,000 หุ้น  (45.00%)
  2. กลุ่มบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)              217,400,000 หุ้น  (14.99%)
  3. สำนักงานประกันสังคม                              42,025,600 หุ้น  ( 2.90%)
  4. ธนาคารออมสิน                                       38,000,000 หุ้น  ( 2.62%)
  5. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวร์รันส์      20,798,600 หุ้น  ( 1.43%)
  6. เชส นอมินีส์ ลิมิเต็ด                                  19,299,690 หุ้น  ( 1.33%)
  7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ.           18,286,800 หุ้น  ( 1.26%)
  8. Investor Bank and Trust Company           15,051,799 หุ้น  ( 1.04%)
  9. เอชเอสบีซี กรุ๊ป                                       13,189,200 หุ้น  ( 0.91%)
10. สเตท สตรีท แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ คัมปานี       11,258,000 หุ้น  ( 0.78%)

รวมจำนวนหุ้นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก   1,047,809,689 หุ้น  (72.26%)

ข้อมูลจาก : เว็บไซด์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
http://www.ratch.co.th/th/main_prf.htm?mnl=th/menu_th_pf_frame.htm&ctl=th/prf_shrehdr_th_content.htm
---------------------------------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 01-06-2006, 02:19 »

สรุปประเด็นขายหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การนำโรงไฟฟ้าราชบุรีเข้าตลาดหุ้นครั้งนั้น เกิดขึ้นเนื่องจาก กฟผ. ต้องการนำเงินที่ได้ไปขยายระบบสายส่งไฟฟ้า
ในระหว่างเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยขณะนั้นไม่สะดวกอย่างยิ่งในการค้ำประกันเงินกู้
โดยที่ระบบสายส่งไฟฟ้าเป็นภาระหน้าที่ของ กฟผ. ต้องลงทุนเอง 100% โดยตรง  ในขณะที่ระบบผลิตไฟฟ้าเป็นกิจการ
ที่สามารถให้เอกชนลงทุนได้ 100% อยู่แล้ว  กฟผ. จึงไม่จำเป็นต้องรักษาสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมด เพียงรักษาอำนาจ
การบริหารกิจการไว้ก็พอ

การแปรรูป ratch จึงทำให้ กฟผ. ได้รับเงินไปขยายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ต้องลงทุน 100% เป็นเงินมากกว่า 50,000 ล้านบาท
และยังคงรักษาอำนาจการบริหารใน ratch ได้ด้วย..

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-06-2006, 02:21 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Ziggy Stardust
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 321


สมาชิกขบวนการหมายเลข 354


« ตอบ #3 เมื่อ: 01-06-2006, 04:03 »

ขอบคุณคุณ jerasak สำหรับข้อมูลครับ

พอดีผมไม่มีความรู้เรื่องหุ้นอยากถามว่า

กฟผ ถือหุ้น 45 %
คุณ jerasak บอกว่า "ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 สามารถซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมด 27.74% = หุ้นรวม 42.73% รวมหุ้น AIA เข้ามาอีกเป็น 44.16%"

รวม 45 + 42.73 = 89.16 แล้วอีก 10.84 % อยู่ที่ไหนครับ งง  Neutral


บันทึกการเข้า

A tiger can smile
A snake will say it loves you
Lies make us evil
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 01-06-2006, 05:07 »

ขอบคุณคุณ jerasak สำหรับข้อมูลครับ

พอดีผมไม่มีความรู้เรื่องหุ้นอยากถามว่า

กฟผ ถือหุ้น 45 %
คุณ jerasak บอกว่า "ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 สามารถซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมด 27.74% = หุ้นรวม 42.73% รวมหุ้น AIA เข้ามาอีกเป็น 44.16%"

รวม 45 + 42.73 = 89.16 แล้วอีก 10.84 % อยู่ที่ไหนครับ งง  Neutral


ต้องขออภัยที่โพสไม่ชัดเจนนะครับ

ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ว่าคือผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก 72.26% ตามข้อมูลที่แสดงครับ
ซึ่งผู้ถือหุ้นรายย่อยดังกล่าวจะถือหุ้นที่เหลือทั้งสิ้น 100-72.26 = 27.74%

ทีนี้ผมยกตัวอย่างกรณี ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 คือ บ้านปู ซึ่งมีหุ้น 14.99% ต้องการมีสัดส่วนหุ้นมากกว่า กฟผ.
เพื่อครอบครองอำนาจบริหารจัดการใน ratch จึงทำการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมด 27.74%
หากสามารถซื้อได้ทั้งหมดจริง ก็จะมีหุ้น 14.99+27.74 =  42.73% ซึ่งก็ยังคงน้อยกว่า กฟผ. และในทางปฏิบัติ
เป็นไปได้ยากที่จะสามารถซื้อหุ้นจากรายย่อยทั้งหมด

ตามตัวอย่างสมมุติ บ้านปู สามารถซื้อหุ้นจากรายย่อยได้ทั้งหมดจริงๆ ยังคงต้องซื้อหุ้นเพิ่มอีก คราวนี้ผมมองว่า
สำนักงานประกันสังคม และ ธนาคารออมสิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 3 และ 4 เป็นหน่วยงานของรัฐคงไม่เล่นด้วย
จึงต้องมองข้ามไปยัง  AIA ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 มีหุ้น 1.43% หากนำมารวมกันเป็น 42.73+1.43=44.16%
ยังคงน้อยกว่า กฟผ. อยู่ดี

คราวนี้สังเกตเพิ่มเติมอีกหน่อยว่า หุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ถึง 10 รวมกันมีเพียง 27.46% โดยที่ผู้ถือหุ้นใหญ่
อันดับ 3 และ 4 คือ สำนักงานประกันสังคม และธนาคารออมสิน (และอาจรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ.)
ถือเป็นเสียงฝ่ายรัฐ เมื่อรวมหุ้น กฟผ. กับ สำนักงานประกันสังคม และธนาคารออมสินจะได้ 45+2.90+2.62 = 50.52%
นั่นคือหุ้นของฝ่ายรัฐทั้งหมด ซึ่งเป็นฐานอำนาจบริหารจัดการ ratch ของ กฟผ. มีสัดส่วนเกินครึ่งอยู่แล้ว

เป็นการแสดงว่า กฟผ. สามารถรักษาอำนาจบริหารจัดการใน ratch ไว้ได้อย่างมั่นคง แม้จะถือหุ้น 45% ครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
พังเภา
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 57


« ตอบ #5 เมื่อ: 01-06-2006, 11:46 »

ขอขอบคุณ คุณ jerasak ที่ให้ข้อมูล ยอมรับว่าไม่รู้เรื่องหุ้นเหมือนกัน






บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: