ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
06-07-2025, 21:51
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ขบวนการที่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์มีอยู่จริง (อ้างอิงจากคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ขบวนการที่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์มีอยู่จริง (อ้างอิงจากคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์)  (อ่าน 3732 ครั้ง)
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« เมื่อ: 04-06-2008, 08:57 »

ขบวนการที่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์มีอยู่จริง (อ้างอิงจากคำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์) (อภิปรายนอกสภา) 
 
 
 http://www.naewna.com/home.asp

บทความเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เรื่อง "จุดยืนที่มั่นคงต่อราชบัลลังก์ของพรรคประชาธิปัตย์" มีผู้สนใจจำนวนมากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปยังผู้เขียน

 ข้อความที่เป็นตัวเอนทั้งหมด คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ เกี่ยวกับเหตุการณ์อันทะนงองอาจที่เกิดขึ้นเมื่อ 62 ปีที่แล้ว คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยองค์คณะ คือ พระดุลยกรณ์พิทารณ์ พระพิบูลย์ไอศวรรย์ พระดุลยนิติศาสตร์โกศล และ หลวงสุทธิภาสนฤพันธ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้พิพากษาปูชนียบุคคลในวงการศาลที่ได้ล่วงลับไปแล้ว คำพิพากษาส่วนต่างๆเหล่านี้ปรากฏในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างละเอียดพิสดารมากกว่า 200 หน้า และเนื่องจากเป็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่มีปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่อาจค้นหาได้ง่าย แต่สุดท้ายศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 คือ ให้ประหารชีวิต นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ 1 เสียด้วย

 คำวินิจฉัยในคำพิพากษาพิพากษา จากคำเบิกความของพยานที่เป็นผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ความคิดที่มุ่งร้ายต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพสูงสุดของประชาชน ตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นการ บังอาจจาบจ้วง มีมาตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับต้องหลบออกไปประทับอยู่ ณ ต่างประเทศ ต่อมาถึงกับต้องสละราชสมบัติ บุคคลที่ได้พยายามปกป้องสถาบันด้วยชีวิตเยี่ยง "ไอ้หัวเถิก" ก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว คือนายฉันท์ หุ้มแพร ข้าราชการในพระราชสำนัก ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปก่อนคดีลอบปลงพระชนม์

นายควง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อจาก จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้ยุติ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2488 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2488 หลังจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2489 และพ้นจากตำแหน่งไปก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2489 อันเป็นวันเกิดเหตุการณ์สูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประชาชนชาวไทยเนื่องจากการสวรรคตของล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ 8

นายควง อภัยวงศ์ และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก่อนมีการก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489

ก่อนตั้งพรรคประชาธิปัตย์ มีกลุ่มการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาลตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา 2 พรรคแล้ว คือพรรคสหชีพ และพรรคแนวรัฐธรรมนูญ  

 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า "...สำหรับพรรคสหชีพ และแนวร่วมรัฐธรรมนูญ นั้น ถึงจะมีชื่อต่างกัน แต่ตามพฤติกรรมที่แสดงออกพึงถือว่าเป็นพวกเดียวกัน หากจะมีการอ้างอิงถึงอยู่บ้างว่าใครเป็นหัวหน้า แต่ที่แท้ก็อยู่ในความสนับสนุนของนายปรีดี พนมยงค์ หรือพรรคทั้งสองนี้สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง"

 ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยต่อไปว่า "สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายควง อภัยวงศ์กล่าวว่าชั้นแรกที่ตั้งกันขึ้นนั้นมิได้เห็นด้วย แต่ต่อมาสมาชิกไปวิงวอนรบเร้าโดยอ้างว่า พรรคสหชีพได้ตั้งขึ้นแล้ว จึงได้ยอมรับเป็นหัวหน้า และมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้า"


 นั่นคือนายควง อภัยวงศ์เล็งเห็นแล้วว่า สถาบันอาจมีภัยจากพรรคการเมืองบางพรรค จึงจำเป็นต้องตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเพื่อปกป้องราชบัลลังก์ และได้ประกาศอุดมการณ์สำคัญของพรรคเป็นข้อแรกตั้งแต่ก่อตั้งว่า "จะเทิดทูนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"


 ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยต่อไปว่า "เหตุที่ได้พัวพันเข้ามาในคดีสวรรคต ตกอยู่ในระยะที่นายควง อภัยวงศ์ กราบถวายบังคมลาออกจากรัฐบาลแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ถูกสมาชิกส่วนมากเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี ..... เมื่อสงครามเลิกนั้น นายปรีดี พนมยงค์ได้เรียกให้หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คนหนึ่งในขบวนการเสรีไทยที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศอังกฤษให้เข้ามากรุงเทพฯ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ รับสั่งกับนายควง อภัยวงศ์ ว่า อยากให้เข้าร่วมรัฐบาลกับนายปรีดี พนมยงค์ ด้วย .... ขอให้นายควง อภัยวงศ์ นึกถึงราชบัลลังก์บ้าง นึกถึงในหลวงบ้าง   นายควง อภัยวงศ์ ว่า การที่จะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่เข้า จะเกี่ยวข้องแก่ราชบัลลังก์อย่างไร หม่อมเจ้า ศุภสวัสดิ์ไม่ยอมอธิบาย นายควงจึงไม่ยอมรับที่จะเข้าร่วมรัฐบาล"


 ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากคำพยานหลักฐานต่อไปว่า "อีกประการหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ได้กล่าวมาแล้วว่า นายควง อภัยวงศ์ มีความคิดทางการเมืองไม่ตรงกับนายปรีดี พนมยงค์    ถึงจะไม่ได้จากปากคำของนายควง อภัยวงศ์ เองว่าในข้อไหนบ้าง แต่นายควง อภัยวงศ์ก็ได้เคยระบายต่อ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ตามที่ทรงเบิกความว่า นายควง อภัยวงศ์ ยึดถือระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และทางเศรษฐกิจประชาชนต้องมีเสรีภาพ ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ มีความเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่งไม่ระบุว่าไม่ตรงกันอย่างไร


แต่มีข้อสะดุดใจว่า ในระหว่างที่มีการสอบสวนของตำรวจต่อหน้าคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์นั้น พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ถามนายปรีดี พนมยงค์ ว่า ทำไมไปคบกับคนที่นิยม ลัทธิมหาชนรัฐ คนเหล่านั้นอาจคิดฆ่าในหลวงก็ได้ ทั้งนี้โดยคนที่นิยมลัทธิมหาชนรัฐอยู่ทั้งในพวกแนวรัฐธรรมนูญและสหชีพ นายปรีดี พนมยงค์ ตอบว่า ต้องคบไว้ เพราะถ้าไม่คบไว้ก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น ตามที่พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลเบิกความมานี้ เห็นได้ว่า นายปรีดี พนมยงค์ มิได้ปฏิเสธข้อความที่ว่า ในบรรดาสมาชิกของแนวรัฐธรรมนูญและสหชีพ มิได้มีคนใดมีความคิดเป็นปรปักษ์ต่อการมีพระมหากษัตริย์"


 ในระยะเวลาอันยาวนานถึง 62 ปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ยังยืนหยัดตลอดมาด้วยอุดมการณ์ที่มั่นคงคือ ระบอบประชาธิปไตยต้องมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เศรษฐกิจไทยประชาชนต้องมีเสรีภาพ

คนอย่างมหาดเล็ก ฉันท์ หุ้มแพร ที่เคยคิดถวายชีวิตปกป้องล้นเกล้าล้นกระหม่อม ยังมีอยู่ปัจจุบันเช่นบุคคลที่ถูกนายกรัฐมนตรีเรียกว่า "ไอ้หัวเถิก"

พรรคการเมืองที่สืบทอดแนวคิดลัทธิมหาชนรัฐ จากพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ ก็ยังสืบทอดเชื้อร้ายมาตลอด 62 ปี ในชื่อพรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ

พฤติกรรมเยี่ยงคำพูดของอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งที่ได้แสดงออกทั้งในประเทศและนอกประเทศ มีมูลฐานที่เป็นขบวนการ

สิ่งที่บุคคลในสังคมบางกลุ่มบางเหล่ากำลังตีฆ้องร้องป่าวให้ช่วยกันกำจัดผู้บังอาจจาบจ้วง และช่วยกันปกป้องสถาบัน มีเค้ามูลที่ประชาชนมิควรเพิกเฉยเป็นอันขาด

มิฉะนั้นต่อไป "เสื้อแดง" จะลามระบาดแข่ง "เสื้อเหลือง"


พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล 
 
วันที่ 4/6/2008
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-06-2008, 09:34 โดย oho » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: