ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-04-2024, 14:43
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==นโยบายลดราคาดีเซล ถูก ดร.โกร่งออกมาสับว่า ตั้งกองทุนเถื่อน+บิดเบือนตลาด== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==นโยบายลดราคาดีเซล ถูก ดร.โกร่งออกมาสับว่า ตั้งกองทุนเถื่อน+บิดเบือนตลาด==  (อ่าน 1625 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 30-05-2008, 13:49 »

นโยบายลดราคาดีเซล ถูก ดร.โกร่งออกมาสับแล้วครับว่า รัฐบาลจะตั้งกองทุนเถื่อน+บิดเบือนตลาด

ดร.วีรพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า หากเป็นกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับแล้วปล่อยให้มีการจัดตั้งขึ้นมา
จะถือเป็นจุดด่างพร้อยอย่างยิ่งของรัฐบาลชุดนี้
และยังให้ความเห็นว่าเป็นการ "บิดเบือนกลไกตลาด"
และ ถือเป็นมาตรการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ ทางกฎหมาย หรือจริยธรรม จรรยาบรรณ

ผมยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่เริ่มสงสัยว่าทำไปทำมาจะไปคล้ายคราวที่ตรึงราคาดีเซลสมัย ทักษิณ1
จนกองทุนน้ำมันมียอดติดลบเฉียดแสนล้าน จนประชาชนต้องแบกภาระมาหลายปีอีกหรือเปล่า
ถือเป็นประเด็นใหม่ให้ต้องจับตาดูกันอีกเรื่องหนึ่งนะครับ 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
'โกร่ง'อัดเละหักคอลดค่าการกลั่นดีเซล ไม่ยุติธรรมนักลงทุน
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 10:48:00
http://www.bangkokbiznews.com/2008/05/30/news_262293.php

" ดร.โกร่ง"ออกโรงสับเละนโยบายรมว.พลังงาน บีบโรงกลั่นลดค่าการกลั่นดีเซล เข้ากองทุน อุ้ม "ราคาน้ำมัน"
ไม่ยุติธรรมสำหรับนักลงทุนรายย่อย

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและกรรมการบริหาร
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ ค้านแนวคิดของ พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
รมว.พลังงาน ที่ขอให้โรงกลั่นน้ำมันลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท เพื่อนำเงินส่วนที่ได้นี้ไปจัดตั้งเป็นกองทุนใหม่
ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากราคาดีเซล

ทั้งนี้ เห็นว่าแนวคิดนี้จะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุนจากการเข้ามาใช้อำนาจรัฐ
ในการแทรกแซง การดำเนินงานของโรงกลั่นน้ำมันในเครือ บริษํท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งกองทุนใหม่ที่จะตั้งขึ้นนี้ไม่มีกฎหมายใดเข้ามารองรับ เปรียบเสมือนเป็นกองทุนนอกกฎหมาย และ
ต่อไปจะทำให้ไม่มีใครกล้าเข้ามาลงทุน ซึ่งหากผู้ถือหุ้นจะฟ้องร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลดังกล่าวนี้ รัฐบาลจะต้อง
เข้ามารับผิดชอบ

"แนวคิดนี้ไม่ถูกต้องอย่างยิ่งเพราะผล เสียต่อเศรษฐกิจของชาติมหาศาลถ้าเทียบกับของที่จะได้ ในสายตาของผู้คนในประเทศ
และต่างประเทศเห็นว่านโยบายนี้ไม่ชอบด้วยเหตุผล อย่างยิ่ง ไม่ให้ความยุติธรรมกับผู้ลงทุน การใช้อำนาจรัฐเรียกไปพูดคุย
เป็นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง จะไปตั้งกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับ การบริหารกองทุนไม่ชัดเจนไม่โปร่งใส
จะเอาไปทำอะไรก็ไม่ทราบ 2-3 พันล้าน"

ดร.วีรพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบจากภาวะน้ำมันแพงด้วยการตั้งงบประมาณแผ่นดิน จะมีความเหมาะสมกว่า
การตั้งกองทุน เพราะจะมีกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้จากสภาฯ อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังควรจะเข้ามาดูแลในเรื่อง
การจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพราะหากเป็นกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับแล้วปล่อยให้มีการจัดตั้งขึ้นมา จะถือเป็นจุดด่างพร้อยอย่างยิ่ง
ของรัฐบาลชุดนี้

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลจะบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนจากภาวะน้ำมันแพงนั้น ต้องไม่ใช่การเข้าไปบิดเบือนกลไกตลาด
เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ดีทางด้านเศรษฐกิจในการแก้ปัญหานอกเสียจากจะเป็นเหตุผล ทางการเมือง

"ผมไม่เห็นด้วยกับการบิดเบือนกลไกตลาด แต่ถ้าเป็นนโยบายของรัฐบาล มีเหตุผลทางการเมือง ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ไม่ใช่เหตุผล
ทางเศรษฐกิจวิธีหักคออย่างนี้ ยอมรับไม่ได้ เมื่อวานถ้าบอร์ดมีมติอย่างไร ผมให้บันทึกว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถือเป็นมาตรการ
ที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ ทางกฎหมาย หรือจริยธรรม จรรยาบรรณ"
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #1 เมื่อ: 30-05-2008, 13:58 »

ไม่ใช่กองทุนเถื่อน หรือบิดเบือนตลาดหรอกครับ

เขาเรียกว่าควบคุมราคาให้กลับสู่ความเป็นจริง
คืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนต่างหาก

ถ้าคิดตามราคาน้ำมันในปัจจุบัน
ควรจะลดราคาน้ำมันทุกชนิดลง 4 บาทซะด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 30-05-2008, 14:34 »

ไม่ใช่กองทุนเถื่อน หรือบิดเบือนตลาดหรอกครับ

เขาเรียกว่าควบคุมราคาให้กลับสู่ความเป็นจริง
คืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนต่างหาก

ถ้าคิดตามราคาน้ำมันในปัจจุบัน
ควรจะลดราคาน้ำมันทุกชนิดลง 4 บาทซะด้วยซ้ำ


จุดที่น่าจับตามองต่อไปคือกองทุนที่จะตั้งขึ้นครับ
ว่าจะทำกันรูปแบบไหน เกิดภาระกับใครต่อไปอีก

ส่วนเรื่องราคาน้ำมัน ถ้ารัฐบาลไม่หวังพึ่งรายได้
จากภาษีต่างๆ ในนั้น ผมว่าลดได้เป็นสิบบาทเลย
เพียงแต่ในความเป็นจริงจะอย่างไรก็เงินเราทั้งนั้น

...

สำหรับ "ค่าการกลั่น" ตราบใดที่ยังไม่มีการเปิดเผย
ต้นทุนแท้จริงของโรงกลั่น ก็จะต้องโดนโจมตีต่อไป
ไม่เปิดเผยต้นทุนจริงเรื่องไม่มีวันจบครับ

และในการวางยุทธศาสตร์พลังงานที่ยั่งยืนจะวาง
อนาคตพลังงานไว้กับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้แล้ว


ถ้าขยับไปใช้ E85 หรือ E95 คือใช้แอลกอฮอล์
ที่ผลิตในประเทศ 85-95% ก็เท่ากับรัฐบาลต้อง
ลอยแพโรงกลั่นน้ำมันทุกแห่งทั่วประเทศ

แต่ประชาชนจะมีโอกาสได้ใช้พลังงานราคาถูกลง
มีเงินไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ และเก็บออมมากขึ้น

เป็นเรื่องใหญ่กว่าตัดกำไรโรงกลั่นแค่ลิตรละไม่กี่บาท
ถามว่ารัฐบาลจะกล้าทำจริงๆ ไหม?.. 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 30-05-2008, 14:44 »

เมื่อน้ำมันแพงขึ้น  ราคาขายปลีกที่ปั๊มแพงขึ้น  ภาษีที่รัฐบาลเก็บจากหัวจ่ายก็ทวีสูงขึ้น

ส่วนที่ลดได้แน่นอนทันที คือภาษีที่หัวจ่ายนั่นแหละค่ะ  ขอให้อัตราภาษีคงที่ จะคิดน้ำมันชนิดไหนลิตรละเท่าไหร่ ก็คิดให้คงที่ ต้นทุนขึ้นหรือลด ภาษีเท่าเดิม แค่นี้ลดราคาน้ำมันได้แล้วค่ะ

เอาง่ายๆ เมื่อครั้งน้ำมันลิตรละ 20 บาท ได้ภาษีไปเท่าไหร่ ก็ตรึงภาษีไว้ที่เท่านั้น ไม่คิดเพิ่มตามราคาน้ำมัน แฮปปี้กันแล้วค่ะ

นี่เล่นเก็บเพิ่มตามราคา แต่ไปบีบโรงกลั่น ตลกดี 

และด้วยสภาพราคาน้ำมันแบบนี้ แก้ด้วยวิธีลูบหน้าปะจมูกแบบนี้ ไม่นานก็พังค่ะ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 30-05-2008, 14:59 »

เมื่อน้ำมันแพงขึ้น  ราคาขายปลีกที่ปั๊มแพงขึ้น  ภาษีที่รัฐบาลเก็บจากหัวจ่ายก็ทวีสูงขึ้น

ส่วนที่ลดได้แน่นอนทันที คือภาษีที่หัวจ่ายนั่นแหละค่ะ  ขอให้อัตราภาษีคงที่ จะคิดน้ำมันชนิดไหนลิตรละเท่าไหร่ ก็คิดให้คงที่ ต้นทุนขึ้นหรือลด ภาษีเท่าเดิม แค่นี้ลดราคาน้ำมันได้แล้วค่ะ

เอาง่ายๆ เมื่อครั้งน้ำมันลิตรละ 20 บาท ได้ภาษีไปเท่าไหร่ ก็ตรึงภาษีไว้ที่เท่านั้น ไม่คิดเพิ่มตามราคาน้ำมัน แฮปปี้กันแล้วค่ะ

นี่เล่นเก็บเพิ่มตามราคา แต่ไปบีบโรงกลั่น ตลกดี 

และด้วยสภาพราคาน้ำมันแบบนี้ แก้ด้วยวิธีลูบหน้าปะจมูกแบบนี้ ไม่นานก็พังค่ะ 

เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจครับ..

แต่ในเมื่อรัฐบาลลดรายจ่ายตัวเองไม่ได้ ก็ต้องหวังรายได้
จากภาษีที่ซุกในราคาน้ำมัน ขืนไปตรึงภาษีอาจผิดแผน
ทุกวันนี้รายได้ก็ไม่พอสนองนโยบายลงทุนรัฐบาลอยู่แล้ว 

...

ตรึงราคาน้ำมัน 3 บาท เป็นการชั่วคราวแค่ 6 เดือน
ระหว่างนั้นราคาน้ำมันอาจวิ่งไปอีก 2-3 บาท!!! 

หลังครบ 6 เดือน ราคาขายอาจดีดกลับรวดเดียว
5-6 บาท (หรือมากกว่า?) ตอนนั้นก็วิกฤตของจริง

บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #5 เมื่อ: 30-05-2008, 15:06 »

อ้างถึง
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและกรรมการบริหาร
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC)
ให้สัมภาษณ์ . . .

ลุงโกร่งให้สัมภาษณ์ในฐานะผู้ที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นครับ ในเนื้อข่าวแกก็บอกชัดว่าผู้ถือหุ้นฟ้องได้ และไม่เป็นธรรมกับนักลงทุน (จริง ๆ ผู้ถือหุ้นกับนักลงทุนในบริบทนี้มันก็คนกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ)

ผมว่านี่แหละคือเหตุจูงใจหลักที่แกออกความเห็น เรื่องกฎหมายอะไรนั่นเป็นแค่ข้ออ้างให้ฟังดูสวยหรู

เรื่องหนึ่งที่ผมงงคือ ทำไมพาดหัวข่าวใช้คำว่า "นักลงทุนรายย่อย" เหมือนจะพยายามช่วยเต็มที่ บอกว่าลุงโกร่งใจดี ช่วยปกป้องปลาซิวปลาสร้อย ในขณะที่เนื้อข่าวไม่ได้มีคำว่า "รายย่อย" เลย

หมายเหตุ: ไออาร์พีซีเป็นบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นอยู่ 31.5% ส่วนหุ้น ปตท. อยู่ในมือใครบ้างคงพอรู้ ๆ กันอยู่
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 30-05-2008, 15:09 »

เรื่องนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐบาลทักษิณ1 เคยทำผิดพลาดจนติดลบเฉียดแสนล้านบาทมาแล้ว

ทำให้ในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง ประเทศไทยก็ไม่สามารถลดราคาตามตลาดโลกได้
กลายเป็นเสียโอกาสการแข่งขันตามกลไกตลาดไปเสียเฉยๆ

ที่สำคัญเงินที่ติดลบเกือบแสนล้านบาทนั้น รัฐบาลได้ทิ้งโอกาสในการนำไปลงทุนพลังงานทดแทน
ตั้งแต่เมื่อ 4-5 ปีก่อน และในที่สุดพาให้ประเทศไทยติดกับดักพลังงานกันอยู่ในตอนนี้!!!

ดังนั้นเมื่อมีแนวคิดตรึงราคาน้ำมันชั่วคราว+ตั้งกองทุนกันขึ้นอีก จึงน่าติดตามว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
หรือจะเป็นแค่การซื้อเวลา แล้วตั้งระเบิดเวลาไปเกิดวิกฤตในอีก 6 เดือนข้างหน้า?  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 15:43 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #7 เมื่อ: 30-05-2008, 15:13 »

ลุงโกร่งให้สัมภาษณ์ในฐานะผู้ที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นครับ ในเนื้อข่าวแกก็บอกชัดว่าผู้ถือหุ้นฟ้องได้ และไม่เป็นธรรมกับนักลงทุน (จริง ๆ ผู้ถือหุ้นกับนักลงทุนในบริบทนี้มันก็คนกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ)

ผมว่านี่แหละคือเหตุจูงใจหลักที่แกออกความเห็น เรื่องกฎหมายอะไรนั่นเป็นแค่ข้ออ้างให้ฟังดูสวยหรู

เรื่องหนึ่งที่ผมงงคือ ทำไมพาดหัวข่าวใช้คำว่า "นักลงทุนรายย่อย" เหมือนจะพยายามช่วยเต็มที่ บอกว่าลุงโกร่งใจดี ช่วยปกป้องปลาซิวปลาสร้อย ในขณะที่เนื้อข่าวไม่ได้มีคำว่า "รายย่อย" เลย

หมายเหตุ: ไออาร์พีซีเป็นบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นอยู่ 31.5% ส่วนหุ้น ปตท. อยู่ในมือใครบ้างคงพอรู้ ๆ กันอยู่

วัตถุประสงค์ในการวิจารณ์ครั้งนี้เป็นไปได้แน่นอนว่าทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ ไออาร์พีซี ครับ

แต่ผมมองตรงเหตุผล ที่ ดร.วีรพงษ์ นำเสนอเกี่ยวกับการตั้งกองทุนไม่มีกฎหมายรองรับ และการใช้
นโยบายที่มีเหตุผลทางการเมือง มากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ (สรุปก็คือทำหาคะแนนนิยม)
และตัวอย่างปัญหาจากนโยบายทำนองนี้ ก็เคยเกิดให้เห็นมาแล้วในสมัยรัฐบาลทักษิณ1 ครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #8 เมื่อ: 30-05-2008, 15:35 »

เมื่อตอนกลางวันผมอ่านข่าวที่หมักเมถุนให้สัมภาษณ์

ดูเหมือนที่ลด 3 บาทนี่จะไม่ได้เอาไปลดราคาหน้าปั๊มนะครับ แต่จะไปช่วยพวกรถโดยสาร ขนส่ง อะไรทำนองนั้น

เรา ๆ ท่าน ๆ ที่ใช้ดีเซลคงต้องเติมน้ำมันแพงเหมือนเดิม (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ)

และดูเหมือนวิธีการคราวนี้อาจจะไม่เหมือนสมัยหน้าเหลี่ยม

เพราะสมัยนั้น โรงกลั่นก็ยังได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนเดิม รายได้ที่บริษัทน้ำมันขาดหายไปจากการลดราคา รัฐบาลก็เอาเงินกองทุนน้ำมันจ่ายให้ แล้วก็มาเก็บคืนจากประชาชนทีหลัง (เข้าใจว่าพร้อมดอกเบี้ยด้วย)

ดังนั้นถ้าใช้แนวทางของหน้าเหลี่ยม โรงกลั่น (อย่าง ปตท.) ได้ประโยชน์เต็ม ๆ เพราะประชาชนจะไม่ลดการใช้น้ำมันลงมาก (ถ้าปล่อยราคาให้ขึ้นตอนนั้น โรงกลั่นก็อาจจะขายน้ำมันได้น้อยลง) แถมรายได้ต่อลิตรก็ไม่หายไปไหน เพราะรัฐบาลจ่ายให้ครบ (แล้วเก็บจากประชาชนทีหลัง) กลายเป็นวิธีรักษายอดขายและเพิ่มรายได้ให้โรงกลั่นเป็นอย่างดี

แต่แนวทางนี้โรงกลั่น (ที่ถูกคือผู้ถือหุ้นโรงกลั่น) เสียประโยชน์เห็น ๆ เพราะต้องลดราคาให้

ตรงนี้ใช่ไหม ที่ ดร. โกร่ง ออกมาแสดงความไม่พอใจแทนคนกลุ่มหนึ่ง

ส่วนเรื่องกองทุนอะไรนั่น ผมเข้าใจว่าไม่ใช่กองทุนน้ำมันแบบที่หน้าเหลี่ยมทำ เพราะกองทุนน้ำมันอันนั้นก็ยังอยู่ (ดร. โกร่งอาจจะอยากให้ควักเงินกองทุนนี้มาให้โรงกลั่น แทนที่จะให้โรงกลั่นลดให้เฉย ๆ ใช่รึเปล่า)

ยังไงผมก็เชื่อครับว่า โรงกลั่นเวลานี้ค้ากำไรเกินควร และน้ำมันขายได้ถูกกว่านี้ อย่าว่าแต่ส่วนหนึ่งที่เอาไปช่วยภาคขนส่งเลย ลดหน้าปั๊มลงสามบาทผมก็ว่าทำได้

ปัญหาก็คือ ปตท. มีฐานะที่ลักลั่นกันอยู่ เหมือนที่อภิสิทธิ์พูดไว้เมื่อวาน คือจะเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือจะเป็นของผู้ถือหุ้นกันแน่ แล้วความลักลั่นนี้ก็มักจะถูกใช้เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์อยู่ร่ำไป

อย่างในกรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน พอจะให้ ปตท. (ในฐานะรัฐวิสาหกิจ) ช่วยลดราคาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ปตท. ในฐานะที่เป็นของผู้ถือหุ้นก็งอแง บอกว่าทำงี้ได้ไง ไม่เป็นธรรมต่อนักลงทุน ในขณะที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา นักลงทุนพวกนี้ได้ประโยชน์จากฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดของ ปตท. มาโดยตลอด

บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #9 เมื่อ: 30-05-2008, 16:00 »

เรื่องกองทุนคงต้องรอดูข้อมูลรายละเอียดกันอีกครั้งว่าจะทำกันอย่างไรนะครับ

ผมเชื่อว่าโรงกลั่นของไทยน่าจะลดราคาได้มากกว่าราคาที่อ้างอิงสิงคโปร์จริงๆ
เพราะมีการให้เหตุผลว่าที่ต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ก็เพื่อป้องกันน้ำมันถูกส่งออก
นั่นแสดงชัดเจนว่าจริงๆ แล้วราคาขายสามารถต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่สิงคโปร์ได้
(แต่ก็ไม่รู้ว่าสามารถต่ำไปได้ถึง 3 บาท/ลิตร หรือเปล่า)

ปัญหาคาใจอย่างหนึ่งก็คือ ไม่เคยมีการแสดงต้นทุนแท้จริงของโรงกลั่นน้ำมัน
ให้สาธารณะรับรู้ให้สิ้นสงสัย เพราะถ้าต้นทุนโรงกลั่นแพงจริง คงไม่มีใครบังคับ
ให้โรงกลั่นต้องขายน้ำมันขาดทุน

การที่รัฐบาลบังคับลดราคาเอาดื้อๆ ก็ไม่มีข้อมูลต้นทุนโรงกลั่นเป็นฐานรองรับ
บรรดาผู้ลงทุนในหุ้น ปตท.ที่รัฐบาลไทยตัดสินใจแปรรูปเข้าตลาดหุ้นไปแล้ว
ก็ต้องพลอยถูกบังคับยึดผลตอบแทนการลงทุนไปเสียเฉยๆ

สรุปว่านโยบายหาเสียงคราวนี้คนที่จ่ายค่าหาเสียงส่วนหนึ่งก็คือประชาชน
ที่ลงทุนถือหุ้นใน ปตท. (ซึ่งเขาอาจไม่ได้เป็นนักการเมืองนะครับ)

และจนป่านนี้บังคับลดราคาไปแล้วก็ยังไม่รู้เลยว่าต้นทุนโรงกลั่นจริงๆ คือเ่ท่าไหร่
แน่ใจได้อย่างไรว่าลดราคา 3 บาทแล้วโรงกลั่นไม่ได้ขายขาดทุน? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #10 เมื่อ: 30-05-2008, 16:07 »

เมื่อกี๊ตอบไปโดยไม่ทันดูที่คุณ Jerasak ตอบเข้ามาใหม่

ถ้าพูดถึงเรื่องทำเพื่อหาเสียง ผมว่าถ้าทำแค่นี้ยังหาเสียงไม่ได้มากหรอกครับ

ถ้าอยากหาเสียงจริง ๆ ก็ต้องเล่นให้ถึงลูกถึงคนไปเลย

ใช้กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ปตท. (52%) กำหนดนโยบายไปเลยว่า ในอีกเดือนสองเดือน (บอกล่วงหน้าเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่นักลุงทุน) ปตท. จะเลิกใช้แนวทางฟันกำไรเละเทะจากโรงกลั่น และจะทำกำไรในระดับพอสมควรเท่านั้น คือในระดับที่นักลงทุนก็อยู่ได้ ส่วนชาวบ้านก็ไม่ตาย ไม่ใช่กองทุนต่างชาติมันใช้น้ำมันสูบเลือดเพื่อนมนุษย์กันอยู่ รัฐวิสาหกิจไทยก็ยังมาผสมโรงดูดเลือดคนไทยด้วยกันอีก

หุ้น ปตท. จะตกก็ให้มันตกไป นักลงทุนจะขายหุ้น ปตท. โดยไม่มีคนช้อนซื้อก็ให้มันรู้ไป นักลงทุนคนไหนจะด่า ก็ให้มันรู้ไปเลยว่าใครบ้างที่ชอบหากินบนความลำบากของคนอื่น

ถ้าหมักเมถุนอยากหาเสียง ต้องทำประมาณนี้ครับ

ของแถมคือการประกาศเลิกเป็นขี้ข้าหน้าเหลี่ยม และพลพรรคของมันที่ถือหุ้น ปตท. อยู่

แต่ผมว่ามันไม่กล้าหรอก
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #11 เมื่อ: 30-05-2008, 16:20 »

โรงกลั่นไม่ขาดทุนหรอกครับ
ค่าการกลั่นคิดเป็น%จากราคาน้ำมัน
ตอนลิตรละ 50USD ได้กำไรไปลิตรละ 3บาท
ตอนนี้ 130USDแล้ว จะได้เท่าไหร่คูณเอาเอง
ลดราคาลิตรละ 4-5บาทเรื่องจิ๊บๆ

ในเมื่อเป็นรัฐบาลเป็นหุ้นใหญ่อยากถามว่า
รัฐบาลมีความจริงใจมากแค่ไหนในการแก้ปัญหา
และในฐานะองค์กรธุรกิจอยากถามว่ามีธรรมภิบาลแค่ไหน
ที่หากินได้กำไรมหาศาลบนความทุกข์ร้อนของประชาชน

ไม่ได้หวังให้ลดเหลือ 28บาทนะครับ
แค่ให้แสดงความจริงใจกันบ้าง
 
บันทึกการเข้า
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #12 เมื่อ: 30-05-2008, 16:28 »

ไปเจอพรีเซนเตชั่นอันนี้

ww3.econ.tu.ac.th/doc/seminar/150/seminar_jan9_sarinee.ppt

เห็นว่าตอนต้นอธิบายความลักลั่นของ ปตท. ไว้ได้เข้าใจง่ายดี

ใครสนใจลองอ่านดูนะครับ
บันทึกการเข้า
ABCAB
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 311


Wipe out Thaksin


« ตอบ #13 เมื่อ: 30-05-2008, 16:43 »

พอมีกำไรขึ้นมา ปตท. ก็อ้างว่ามีที่มาจาก ปตทสผ.

ซึ่งส่วนใหญ่ "ร่วมดำเนินการ" และ "เริ่มต้นดำเนินการ"

และไม่มีความชัดเจนว่าจะก่อให้เกิดรายได้มหาศาลขนาดนั้น

เจตนา คงเพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า "โกยกำไรน้ำมันจากชาวบ้าน"



อ้างถึง


โครงการทั้งหมดของ ปตทสผ.


ในประเทศไทย
โครงการบงกช (ผู้ดำเนินการ)
โครงการนางนวล (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ S1 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ PTTEP 1 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการอาทิตย์ (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ L22/43 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ L53/43 & L54/43 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ G9/48 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ G12/48 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการ E5 (ร่วมทุน)
โครงการ Unocal III (ร่วมทุน)
โครงการไพลิน (ร่วมทุน)
โครงการ G4/43 (ร่วมทุน)
โครงการภูฮ่อม (ร่วมทุน)
โครงการ B8/32 & 9A (ร่วมทุน)

ประเทศพม่า
โครงการพม่า M3 & M4 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการพม่า M7 & M9 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการพม่า M11 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการยาดานา (ร่วมดำเนินการ)
โครงการเยตากุน (ร่วมดำเนินการ)

ประเทศเวียดนาม
โครงการเวียดนาม 9-2 (ร่วมดำเนินการ)
โครงการเวียดนาม 16-1 (ร่วมดำเนินการ)
โครงการเวียดนาม B&48/95 (ร่วมทุน)
โครงการเวียดนาม 52/97 (ร่วมทุน)

ประเทศอินโดนีเซีย
โครงการ อินโดนีเซีย Merangin I (ร่วมทุน)

ประเทศกัมพูชา
โครงการกัมพูชา B (ผู้ดำเนินการ)
พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างประเทศ
โครงการพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา (ผู้ดำเนินการ)
โครงการพื้นที่ร่วมพัฒนาไทย-มาเลเซีย (ร่วมดำเนินการ)

ประเทศโอมาน
โครงการโอมาน 44 (ผู้ดำเนินการ)
โครงการโอมาน 58 (ผู้ดำเนินการ)

ประเทศอิหร่าน
โครงการอิหร่าน ซาเว่ห์ (ผู้ดำเนินการ)

ประเทศแอลจีเรีย
โครงการอัลจีเรีย 433a & 416b (ร่วมทุน)

ที่มา: Wikipedia




//แก้ไข: พิมพ์เพิ่ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 16:47 โดย tong » บันทึกการเข้า

.....................................................

* * W A N T E D - DEAD OR ALIVE * *

73,000 million Baht PRICED !! A "walk-like-a-man" gator
Accused in swallowing his own mother land in cheap !!
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #14 เมื่อ: 30-05-2008, 17:15 »

เมื่อกี๊ตอบไปโดยไม่ทันดูที่คุณ Jerasak ตอบเข้ามาใหม่

ถ้าพูดถึงเรื่องทำเพื่อหาเสียง ผมว่าถ้าทำแค่นี้ยังหาเสียงไม่ได้มากหรอกครับ

ถ้าอยากหาเสียงจริง ๆ ก็ต้องเล่นให้ถึงลูกถึงคนไปเลย

ใช้กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ปตท. (52%) กำหนดนโยบายไปเลยว่า ในอีกเดือนสองเดือน (บอกล่วงหน้าเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่นักลุงทุน) ปตท. จะเลิกใช้แนวทางฟันกำไรเละเทะจากโรงกลั่น และจะทำกำไรในระดับพอสมควรเท่านั้น คือในระดับที่นักลงทุนก็อยู่ได้ ส่วนชาวบ้านก็ไม่ตาย ไม่ใช่กองทุนต่างชาติมันใช้น้ำมันสูบเลือดเพื่อนมนุษย์กันอยู่ รัฐวิสาหกิจไทยก็ยังมาผสมโรงดูดเลือดคนไทยด้วยกันอีก

หุ้น ปตท. จะตกก็ให้มันตกไป นักลงทุนจะขายหุ้น ปตท. โดยไม่มีคนช้อนซื้อก็ให้มันรู้ไป นักลงทุนคนไหนจะด่า ก็ให้มันรู้ไปเลยว่าใครบ้างที่ชอบหากินบนความลำบากของคนอื่น

ถ้าหมักเมถุนอยากหาเสียง ต้องทำประมาณนี้ครับ

ของแถมคือการประกาศเลิกเป็นขี้ข้าหน้าเหลี่ยม และพลพรรคของมันที่ถือหุ้น ปตท. อยู่

แต่ผมว่ามันไม่กล้าหรอก

ถ้าแบบนั้นก็ชัดเจนเลยครับ น่าจะเป็นนโยบายที่ได้ใจประชาชนแน่นอน  

กำไรของ ปตท. ส่วนใหญ่ แน่นอนว่ามาจากการ "ขายก๊าซ" ซึ่งเท่าที่ผมจำได้
ก๊าซของ ปตท. ประมาณ 80% ขายให้กับ กฟผ. เพื่อเอามาผลิตไฟฟ้าขายเรา
ดังนั้นถ้า ปตท.จะประกาศไม่เอากำไรเกินควร ก็สามารถลดราคาค่าก๊าซที่ขาย
ให้กับ กฟผ. ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงแบบมโหฬาร

หรือจะนำเงินกำไรจากก๊าซไปใช้อุดหนุนเรื่องต่างๆ เช่น ทำโครงการส่งเสริมการผลิต
และการใช้พลังงานทดแทน ให้เป็นโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ ก็ยังทำได้มากมาย
ดีกว่าใช้วิธีง่ายๆ ลดราคา 3 บาทโดยไม่มีที่มาของการคำนวณชัดเจนแบบที่เพิ่งทำ
และเป็นการผลักปัญหาไประเบิดในอีก 6 เดือนข้างหน้า

และจากนโยบายผิดพลาดที่ไปแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้น ตอนนี้จะลดผลกำไร ปตท.
ก็มีเหล่านักลงทุนตาดำๆ (หรือสีอะไรก็ตาม) ต้องรับความเสียหายในการลงทุนทั้งนั้น

โดยที่จะซื้อกลับมาเป็นของรัฐ 100% เหมือนเดิมก็ซื้อไม่ไหว ทั้งที่ตอนขายหุ้น
ปตท.ก็ได้เงินแค่เพียงนิดเดียว ยังดีที่เราไม่พลาดซ้ำปล่อยให้แปรรูป กฟผ.สำเร็จ
แค่ ปตท. แห่งเดียวก็สร้างกลืนไม่เข้าคายไม่ออกแล้วครับ  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #15 เมื่อ: 30-05-2008, 17:19 »

โรงกลั่นไม่ขาดทุนหรอกครับ
ค่าการกลั่นคิดเป็น%จากราคาน้ำมัน
ตอนลิตรละ 50USD ได้กำไรไปลิตรละ 3บาท
ตอนนี้ 130USDแล้ว จะได้เท่าไหร่คูณเอาเอง
ลดราคาลิตรละ 4-5บาทเรื่องจิ๊บๆ

ในเมื่อเป็นรัฐบาลเป็นหุ้นใหญ่อยากถามว่า
รัฐบาลมีความจริงใจมากแค่ไหนในการแก้ปัญหา
และในฐานะองค์กรธุรกิจอยากถามว่ามีธรรมภิบาลแค่ไหน
ที่หากินได้กำไรมหาศาลบนความทุกข์ร้อนของประชาชน

ไม่ได้หวังให้ลดเหลือ 28บาทนะครับ
แค่ให้แสดงความจริงใจกันบ้าง
 

ถ้ารัฐบาลจะแสดงความจริงใจ ก็ควรเริ่มต้นด้วยการชี้แจงต้นทุนจริง
ออกมาให้สาธารณะรับทราบ ถึงตอนนั้นจะได้รู้กันว่ามีกำไรแค่ไหน

ตราบใดที่ยังไม่ยอมเปิดเผยต้นทุนออกมา ก็เท่ากับซุกซ่อนข้อมูล
ต่อให้ลดราคาก็ไม่รู้ว่าจริงๆ ยังกำไร หรือขาดทุนสังเวยการหาเสียง

และเรื่องเปิดเผยต้นทุนนี้ผมยังคิดว่าน่าจะทำกับสินค้าอย่างอื่นด้วย
เช่น น้ำมันพืช น้ำตาล หรือแม้แต่ข้าวสาร ที่ขึ้นราคามากมายครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #16 เมื่อ: 30-05-2008, 17:28 »

เขาไม่กล้าเปิดเผยหรอกครับ
ถ้าเปิดออกมา โดนประชาชนสวดยับแน่ๆ
หุ้นราคาตก จะเอากำไรก็ไม่ได้
ผู้ถือหุ้น(ก็ไอ้ที่มีหุ้นอยู่เยอะๆนั่น)คงไม่ยอมหรอก
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #17 เมื่อ: 30-05-2008, 17:39 »

สำหรับเรื่องที่ค่าการกลั่นที่คิดเป็น % จากราคาน้ำมัน
ในมุมมองของผมมันก็มีเหตุผลที่ยอมรับได้นะครับ

สมมุติจากเดิมต้นทุนลิตรละ 10 บาท มีเงิน 100 ล้าน
สามารถลงทุนผลิตน้ำมันขายได้ 10 ล้านลิตร สมมุิติว่า
กำไรลิตรละ 3 บาทตามที่คุณ login not found บอก
ก็จะได้กำไร 30 ล้านบาท (กำไร 30% เยอะมโหฬาร)

ต่อมาต้นทุนขยับไปลิตรละ 20 บาทเงิน 100 ล้านเท่าเดิม
จะลงทุนผลิตน้ำมันมาขายได้เพียง 5 ล้านลิตร ถ้าหากกำไร
ลิตรละ 3 บาทเท่าเดิม ก็จะได้กำไรเหลือแค่ 15 ล้านบาท
(เหลือกำไรแค่ 15%)

ถ้าต่อมาต้นทุนขยับไปที่ลิตรละ 25 บาท เงินลงทุนเท่าเดิม
จะผลิตน้ำมันขายได้เพียง 4 ล้านลิตร หากกำไรลิตรละ 3 บาท
ก็จะเหลือกำไรแค่เพียง 12 ล้านบาท (กำไรลดเหลือ 12%)

และเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันมาขายได้พอกับความต้องการ
10 ล้านลิตรของตลาด ก็ต้องหาเงินลงทุนอีกกว่า 100 ล้าน
ก็จะมีต้นทุนจากการหาเงินทุนเพิ่มเติมอีก เช่น ค่าดอกเบี้ย

การคิดค่าการกลั่นเป็น % จากราคาน้ำมันจึงเป็นการรักษา
สัดส่วนผลตอบแทนการลงทุน ไม่ให้เกิดสภาพตามตัวอย่าง
ที่ยกมาให้ดูครับ

ดังนั้นในเบื้องต้นที่เราสมควรได้รู้ ก็คือต้นทุนแท้จริงของ
โรงกลั่นเป็นเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งในการบริหารต้องมีอยู่แล้ว
เพียงแต่จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะหรือไม่เท่านั้นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-05-2008, 17:46 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Rule of Law
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 185


« ตอบ #18 เมื่อ: 30-05-2008, 18:02 »

อรืมมมม

เท่าที่เคยอ่าน consolidated income statement ของ ปตท ที่ผ่านมา
หน่วยที่สร้างกำไรให้ ปตท มากที่สุดคือ กลุ่มก๊าซค่ะ  ตามคุณ G

แต่หน่วยที่ "ฟัน" กำไรมากที่สุด คือ กำไรต่อยอดขายสูงสุดคือ ปตท สผ
คือ เดี๊ยนไม่มีความรู้อ่ะค่ะ ว่าไอ้หน่วยนี้มันทำยังไง ถึงสามารถ report กำไรต่อยอดขายได้สูง

ส่วนหน่วยการกลั่นนั้น มี profit margin น้อยมากกกกกกกกก

เดี๊ยนเลยงงๆ กับคำกล่าวที่ว่าบริษัทน้ำมันสามารถลดราคาการกลั่นได้อีกมาก
หรือว่า หน่วยการกลั่นจะมีวิธี manipulate ทำให้ดูมีกำไรน้อย? อันนี้ไม่ทราบจริงๆ


อย่างไรก็ดี  ก่อนหน้านี้ เมื่อเห็นสัดส่วนกำไรของหน่วยก๊าซปตท แล้วมาสัมพันธ์กับ กฟผ
ทำให้ "หนาว" จริงๆ กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบจับแพชนแกะ มัดมือชกค่ะ






บันทึกการเข้า

Your C.V is nothing. Your future plan...is everything.
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #19 เมื่อ: 30-05-2008, 18:48 »

อรืมมมม

เท่าที่เคยอ่าน consolidated income statement ของ ปตท ที่ผ่านมา
หน่วยที่สร้างกำไรให้ ปตท มากที่สุดคือ กลุ่มก๊าซค่ะ  ตามคุณ G

แต่หน่วยที่ "ฟัน" กำไรมากที่สุด คือ กำไรต่อยอดขายสูงสุดคือ ปตท สผ
คือ เดี๊ยนไม่มีความรู้อ่ะค่ะ ว่าไอ้หน่วยนี้มันทำยังไง ถึงสามารถ report กำไรต่อยอดขายได้สูง

ส่วนหน่วยการกลั่นนั้น มี profit margin น้อยมากกกกกกกกก

เดี๊ยนเลยงงๆ กับคำกล่าวที่ว่าบริษัทน้ำมันสามารถลดราคาการกลั่นได้อีกมาก
หรือว่า หน่วยการกลั่นจะมีวิธี manipulate ทำให้ดูมีกำไรน้อย? อันนี้ไม่ทราบจริงๆ

อย่างไรก็ดี  ก่อนหน้านี้ เมื่อเห็นสัดส่วนกำไรของหน่วยก๊าซปตท แล้วมาสัมพันธ์กับ กฟผ
ทำให้ "หนาว" จริงๆ กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบจับแพชนแกะ มัดมือชกค่ะ

เรื่อง ปตท.สผ. ผมไม่มีข้อมูลในมือเลยว่า "ลูกค้า" ของ ปตท.สผ. คือใคร
แต่เดาเอาว่าน่าจะมี ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่มาใช้บริการอยู่ด้วยไม่น้อย

และถ้า ปตท.สผ. มีกำไรมากๆ ก็อาจกลายเป็นว่าฟันกำไรเอาจาก ปตท.
ผลที่เกิดขึ้นก็คืองบการเงิน ปตท. จะดูมีค่าใช้จ่ายสูง และมีกำไรน้อยลง
ทำให้ดูว่าเป็นบริษัทที่ไม่แสวงหากำไร ในขณะที่กำไรไปโผล่ที่บริษัทลูก
คือ ปตท.สผ. ซึ่งในที่สุดก็จะสะสมกำไร และปันผลกลับมาให้ ปตท. อีกที

โดย ปตท. อาจอ้างได้ว่าตัว ปตท. เองไม่ได้มีกำไร แต่กำไรที่เห็นมาจาก
บริษัทลูก คือ ปตท.สผ.

ในส่วนของหน่วนการกลั่นคือโรงกลั่นน้ำมัน เท่าที่เคยผ่านตาสรุปงบการเงิน
มี profit margin ตามบัญชีน้อยมาก แต่มี volumn การขายใหญ่มโหฬาร
ทำให้ตัวเลขกำไรมีจำนวนสูงเป็นพันเป็นหมื่นล้าน แต่ผมไม่เคยเห็นข้อมูล
ต้นทุนการผลิตต่อลิตร ว่าจริงๆ ต่างจากราคาอ้างอิงที่สิงคโปร์เท่าไหร่

ถ้าเปิดเผยข้อมูลต้นทุนออกมา ก็คงจะได้เห็นกันว่านโยบายลดราคา 3 บาท
เป็นเรื่องสมเหตุสมผลจริง หรือเป็นแค่นโยบายหาคะแนนเสียงของรัฐบาล
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1]
    กระโดดไป: