นโยบายลดราคาดีเซล ถูก ดร.โกร่งออกมาสับแล้วครับว่า รัฐบาลจะตั้งกองทุนเถื่อน+บิดเบือนตลาด
ดร.วีรพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า
หากเป็นกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับแล้วปล่อยให้มีการจัดตั้งขึ้นมา
จะถือเป็นจุดด่างพร้อยอย่างยิ่งของรัฐบาลชุดนี้ และยังให้ความเห็นว่าเป็นการ
"บิดเบือนกลไกตลาด" และ
ถือเป็นมาตรการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ ทางกฎหมาย หรือจริยธรรม จรรยาบรรณผมยังไม่ได้ดูรายละเอียด แต่เริ่มสงสัยว่าทำไปทำมาจะไปคล้ายคราวที่ตรึงราคาดีเซลสมัย ทักษิณ1
จนกองทุนน้ำมันมียอดติดลบเฉียดแสนล้าน จนประชาชนต้องแบกภาระมาหลายปีอีกหรือเปล่า
ถือเป็นประเด็นใหม่ให้ต้องจับตาดูกันอีกเรื่องหนึ่งนะครับ 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
'โกร่ง'อัดเละหักคอลดค่าการกลั่นดีเซล ไม่ยุติธรรมนักลงทุน30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 10:48:00
http://www.bangkokbiznews.com/2008/05/30/news_262293.php" ดร.โกร่ง"ออกโรงสับเละนโยบายรมว.พลังงาน บีบโรงกลั่นลดค่าการกลั่นดีเซล เข้ากองทุน อุ้ม "ราคาน้ำมัน"
ไม่ยุติธรรมสำหรับนักลงทุนรายย่อย
กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและกรรมการบริหาร
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ ค้านแนวคิดของ พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
รมว.พลังงาน ที่ขอให้โรงกลั่นน้ำมันลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท เพื่อนำเงินส่วนที่ได้นี้ไปจัดตั้งเป็นกองทุนใหม่
ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากราคาดีเซล
ทั้งนี้ เห็นว่าแนวคิดนี้จะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุนจากการเข้ามาใช้อำนาจรัฐ
ในการแทรกแซง การดำเนินงานของโรงกลั่นน้ำมันในเครือ บริษํท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งกองทุนใหม่ที่จะตั้งขึ้นนี้ไม่มีกฎหมายใดเข้ามารองรับ เปรียบเสมือนเป็นกองทุนนอกกฎหมาย และ
ต่อไปจะทำให้ไม่มีใครกล้าเข้ามาลงทุน ซึ่งหากผู้ถือหุ้นจะฟ้องร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลดังกล่าวนี้ รัฐบาลจะต้อง
เข้ามารับผิดชอบ
"แนวคิดนี้ไม่ถูกต้องอย่างยิ่งเพราะผล เสียต่อเศรษฐกิจของชาติมหาศาลถ้าเทียบกับของที่จะได้ ในสายตาของผู้คนในประเทศ
และต่างประเทศเห็นว่านโยบายนี้ไม่ชอบด้วยเหตุผล อย่างยิ่ง ไม่ให้ความยุติธรรมกับผู้ลงทุน การใช้อำนาจรัฐเรียกไปพูดคุย
เป็นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง จะไปตั้งกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับ การบริหารกองทุนไม่ชัดเจนไม่โปร่งใส
จะเอาไปทำอะไรก็ไม่ทราบ 2-3 พันล้าน"
ดร.วีรพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบจากภาวะน้ำมันแพงด้วยการตั้งงบประมาณแผ่นดิน จะมีความเหมาะสมกว่า
การตั้งกองทุน เพราะจะมีกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้จากสภาฯ อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังควรจะเข้ามาดูแลในเรื่อง
การจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพราะหากเป็นกองทุนที่ไม่มีกฎหมายรองรับแล้วปล่อยให้มีการจัดตั้งขึ้นมา จะถือเป็นจุดด่างพร้อยอย่างยิ่ง
ของรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลจะบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนจากภาวะน้ำมันแพงนั้น ต้องไม่ใช่การเข้าไปบิดเบือนกลไกตลาด
เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ดีทางด้านเศรษฐกิจในการแก้ปัญหานอกเสียจากจะเป็นเหตุผล ทางการเมือง
"ผมไม่เห็นด้วยกับการบิดเบือนกลไกตลาด แต่ถ้าเป็นนโยบายของรัฐบาล มีเหตุผลทางการเมือง ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ไม่ใช่เหตุผล
ทางเศรษฐกิจวิธีหักคออย่างนี้ ยอมรับไม่ได้ เมื่อวานถ้าบอร์ดมีมติอย่างไร ผมให้บันทึกว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถือเป็นมาตรการ
ที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ ทางกฎหมาย หรือจริยธรรม จรรยาบรรณ"