ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 23:37
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  กระทืบชาวบ้าน แต่ทำคุณงามความดีให้ประเทศ รอลงอาญา !?!? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
กระทืบชาวบ้าน แต่ทำคุณงามความดีให้ประเทศ รอลงอาญา !?!?  (อ่าน 2664 ครั้ง)
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 24-05-2008, 13:04 »

เจอคุก2ปี"โอ๋สืบ6"
   
ปรับอีก1หมื่นคดี"ม็อบต้าน"รอลงอาญา2ปี

พิพากษาจำคุก 2 ปี ปรับ 1 หมื่นบาท “โอ๋ สืบ 6” อดีต ผกก.สส.บก.น.6 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ภาพข่าวทีวีมัดตัว ปล่อยลิ่วล้อรุมจับม็อบไล่อดีตนายกฯ ทักษิณ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศาลชี้ขณะเกิดเหตุมีทั้งม็อบหนุน - ม็อบต้าน จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ไม่มีความเสมอภาค ใช้อำนาจตามอำเภอใจ จับแต่ม็อบต้านฝ่ายเดียว สร้างความฉาวให้ สตช.แต่เคยทำความดีมาก่อน ศาลปรานีรอลงอาญา 2 ปี เพื่อให้โอกาสกลับตัวหลังต้องหมดอนาคต สตช.สั่งไล่ออกทำผิดวินัยร้ายแรง เจ้าตัว ปัดให้สัมภาษณ์ ด้านทนาย เผย เตรียมหาช่องกลับรับราชการ พร้อมรอหารือยื่นอุทธรณ์

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เวลา 10.00 น. วันที่ 23 พ.ค. ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หมายเลขดำ ที่ อ.2314/50 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายวิชัย เอื้อปิยาพันธุ์ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา หรือ พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ อดีต ผกก.อก.สนว.ตร. และอดีต ผกก.สส. บก.น.6 หรือที่สื่อมวลชนตั้งฉายาว่า “โอ๋ สืบ 6” เป็นจำเลยในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ให้ต้องโทษหรือรับโทษน้อยลง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 200, 83 และ 90

คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2550 ระบุความผิดจำเลยว่าเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2549 เวลากลางวัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หรือจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอาญา มีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงแต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยสั่งการให้นายจรัญ จงอ่อน นายชัยสิทธิ์ ลอม๊ะห์ นายสุเมธ บุญยรัตพันธุ์ เข้าไปรุมทำร้ายและจับกุมตัวนายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล และ นายวิชัย เอื้อปิยาพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชน ที่ตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี และยังละเว้นไม่ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีผู้ที่รุมทำร้ายประชาชนที่ตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า แขวงและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความ ผิดวินัยกับจำเลย ฐานจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ฐานกระทำการหรือละเว้นกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79(2) (5) (9) และมีมติให้ส่งเรื่องให้ ผบ.ตร.ดำเนินการตามวินัยตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 92 พร้อมส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 97 จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความ รับฟังได้เป็นที่ยุติว่า วันเกิดเหตุ จำเลยดำรงตำแหน่ง ผกก.สส.บก.น.6 นายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล และนายวิชัย เอื้อปิยาพันธุ์ ผู้เสียหาย ร้องตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า “ทักษิณออกไป” และถูกควบคุมตัวข้อหาส่งเสียงอื้ออึงในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควรสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่น ทางนำสืบของโจทก์มีผู้เสียหายทั้งสองเป็นพยาน เบิกความว่า หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดงานที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ได้เดินออกทางประตูหลังของห้าง แล้วนั่งรถกลับออกไป ซึ่งด้านหน้ามีกลุ่มผู้สนับสนุน และกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชุมนุมอยู่ ร้องตะโกนต่างกันว่า “ทักษิณสู้ สู้” กับ “ทักษิณออกไป” ระหว่างนั้น นายจรัญ เดินเข้ามาหานายฤทธิรงค์แล้วล็อกแขนไว้ นายชัยสิทธิ์ เข้ามาทำร้าย ซึ่งขณะที่นายจรัญกับพวกกำลังลากตัวนายฤทธิรงค์ไปที่รถตู้ นายวิชัย เห็นเหตุการณ์จึงร้องตะโกนว่ามีคนถูกทำร้าย นายจรัญ กับพวกจึงปล่อยตัวนายฤทธิรงค์ แล้วหันไปจับนายวิชัยแทน จากนั้นนายสุเมธใช้มือกระแทกที่ใบหน้านายวิชัย โดย พ.ต.อ.มานิต วงศ์สมบูรณ์ รอง ผบก.น.5 ได้เข้าห้ามปราม และพานายวิชัยไปจากที่เกิดเหตุ

ขณะนั้นจำเลยบอกให้นำตัวนายวิชัยไปทำประวัติ ส่วนนายจรัญกับพวกเดินเข้าไป พูดคุยกับจำเลย แล้วนายจรัญกับพวกจึงไปล็อกตัวนายฤทธิรงค์ ต่อมานายฤทธิรงค์และนายวิชัยถูกควบคุมตัวไปที่ สน.ปทุมวัน แจ้งข้อหาส่ง เสียงอื้ออึงในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควรฯ ซึ่งนายฤทธิรงค์ และนายวิชัย ปฏิเสธ นอกจากนี้โจทก์มีพยานเป็นช่างภาพสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี เบิกความว่าขณะไปทำข่าวได้บันทึกภาพเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ได้ เมื่อถอดความด้วยคอมพิว เตอร์ ได้ความระหว่างจำเลยกับกลุ่มนายจรัญพูดคุยโต้ตอบว่า “...ทำไมคนใส่เสื้อเหลืองถึงล็อกไม่ได้วะ...” “...คนใส่เสื้อเหลืองมันแก่แล้ว” “...ไปเอาตัวมันมาทำประวัติ” ทั้งโจทก์ยังมีอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช. 2 คน ที่ไต่สวนข้อกล่าวหาจำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เบิกความว่า ได้ตรวจเทปบันทึกภาพและเสียงพูดคุยระหว่างจำเลยกับกลุ่มนายจรัญแล้วปรากฏข้อความเดียวกัน เชื่อว่าหากพยานซึ่งเป็นช่างภาพไม่ได้บันทึกภาพมาจริงก็ไม่มีเหตุที่พยานจะต้องเบิกความให้การปรักปรำจำเลย น่าเชื่อว่าพยานเบิกความตามจริง ส่วนที่จำเลยอ้างว่าไม่รู้จักกับกลุ่มนายจรัญมาก่อน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามภาพและเสียงที่เป็นหลักฐานว่า ทั้งคู่รู้จักกัน

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามที่กล่าวมาแล้ว มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ เห็นว่าความผิดที่จำเลยอ้างว่าจับกุมตัวผู้เสียหายเพราะส่งเสียงอื้ออึงในที่สาธารณะฯ นั้นถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ที่ขณะนั้นจำเลย และผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ขณะทำร้ายผู้เสียหาย และระหว่างนั้นมีทั้งกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านร้องตะโกน แต่จำเลยกลับไม่ได้จับกุมผู้สนับสนุนที่ส่งเสียงร้องตะโกนด้วย และในการจับกุมผู้เสียหายแทนที่จำเลยจะสั่ง การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าจับกุม แต่ปรากฏว่ากลุ่มนายจรัญกลับเข้าล็อกตัวทั้งสองแทน จึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสมเหตุสมผล ไม่มีความเสมอภาคในความยุติธรรม แต่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำเภอใจและเลือกปฏิบัติ อันเป็นการสร้างความเสื่อมเสียต่อ สตช. ส่วน ที่จำเลยอ้างว่า ขณะเกิดเหตุเข้าใจว่ากลุ่มนายจรัญเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ได้ความจากจำเลยว่าขณะนั้นไม่ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของกลุ่มนายจรัญ ข้ออ้างจำเลยทั้งหมดฟังไม่ขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157

ส่วนมาตรา 200 ที่โจทก์ฟ้องว่า เป็นเจ้าพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ให้ต้องโทษหรือรับโทษน้อยลงนั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษกระทำการดังกล่าว ปรากฏเพียงข้อเท็จจริงว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น ส่วนที่นายวิชัย ขอให้จำเลย ชดใช้ค่าเสียหาย 50,000 บาท เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้พูดคุยกับกลุ่มนายจรัญ แต่ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการ รู้เห็นให้กลุ่มนายจรัญทำร้ายร่างกายนาย วิชัย และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ทำร้ายโดยตรง ซึ่งการทำร้ายร่างกายอาจเป็นกระทำของกลุ่มนายจรัญที่เกินจากเจตนาของจำเลยให้จับกุมนายวิชัย ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว แต่หากต้องการเรียกร้องค่าเสียหายก็ชอบที่จะเรียกร้องจากกลุ่มนายจรัญเอง

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานละเว้นปฏิบัติฯ มาตรา 157 ให้จำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน และเคยปฏิบัติหน้าที่สร้างคุณงามความดีเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด และได้ความว่าจำเลยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงให้ไล่ออกจากราชการหมดอนาคตทางราชการแล้วถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว เห็นควรปรานีให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้ลงรออาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ภายหลังฟังคำพิพากษา พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เดินออกจากห้องพิจารณาคดี ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยมีอดีตผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ติดตามมาให้กำลังใจเพียงเล็กน้อย เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามถึงความรู้สึกและการขอกลับเข้ามารับราชการอีกครั้งหรือไม่ พ.ต.อ. ฤทธิรงค์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม กล่าวเพียงว่า อยากทราบอะไรขอให้ไปถามกับทนายความส่วนตัว ด้านนายปราชญา ชื่นศรีสุข ทนายความ กล่าวว่า จากผลพิพากษาที่ออกมานั้น ตนและ ลูกความรู้สึกพอใจในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีการยื่นอุทธรณ์ต้องหารือกันอีกครั้งว่า ถ้ายื่นอุทธรณ์จะขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือไม่

เมื่อถามว่า คำพิพากษาที่ศาลให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปีนั้นจะทำให้ พ.ต.อ.ฤทธิ รงค์ ขอกลับเข้ามารับราชการตามเดิมได้หรือไม่ นายปราชญา กล่าวว่ายังไม่ได้พูดคุยกับ พ.ต.อ. ฤทธิรงค์ แต่ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าศาลไม่ได้สั่งให้จำคุกจริง และให้รอการลงโทษ ดังนั้นน่าจะกลับเข้ามารับราชการได้ แต่ทั้งนี้คงต้องไปพิจารณาประกอบกับโทษที่ สตช. กล่าวหาพ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ว่าผิดวินัยร้ายแรงจนสั่งให้ออกจากราชการด้วยว่าจะมีเหตุทำให้กลับเข้ารับราชการได้หรือไม่.

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=164867&NewsType=1&Template=1

ประเทศ***อะไรวะเนี่ย กูอยากจะโทรบอกแป๊ะลิ้มว่า เจ้าพ่อน้ำเมามันพูดถูกว่ะ ไอ้แป๊ะโง่ มึงสู้ไปทำ***อะไร
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #1 เมื่อ: 24-05-2008, 13:14 »

กฎหมายไทยเรามันช่างอ่อนปวกเปียกเสียจริงๆ คนชั่วมันถึงได้ใจ
 
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 24-05-2008, 13:32 »

ไปเจอกระทู้นึงข้างล่างของไอ้แก๊สฯ ข้างล่าง มันพูดถูกอยู่อย่าง  จะบ้าทำความดีไปเพื่ออะไร Question Question


กฎหมายไทยเรามันช่างอ่อนปวกเปียกเสียจริงๆ คนชั่วมันถึงได้ใจ
 
มันไม่เกี่ยวกับกฎหมายอ่อนปวกเปียก นี่คือสองมาตรฐาน  อำนาจอยู่ในมือของ oligarch ไม่กี่กลุ่ม ไม่เคยอยู่ในมือประชาชน แล้วเสือกกระแดะเรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ทั้งๆที่มันคือ คณาธิปไตย oligarchy
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2008, 13:40 โดย F*ck You Democracy! » บันทึกการเข้า

see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #3 เมื่อ: 24-05-2008, 13:49 »

*  คุณไทยทรูธ  หรือ  ฟัค  u  ประชาธิปไตย  ....  ตั้งชื่อ  ( ตัวเอง ) ได้ประชดประชันจริง ๆ   

    อะ อะ  ....  ไม่เอาที่   แถ  เขียนมาอ้างอิงสิ   หมอนั่นเค๊าชอบประชดเรื่องเจ้าค่ะ

    แต่ก็เห็นด้วยนะเรื่อง  ทำความดี  มาก่อนแล้วต้องรอลงอาญา  ( เห็นด้วยกะคุณ )

    คือ  ....  แบบนี้ถ้าใครเคยมีตำแหน่งหน้าที่ก็อ้างอิงได้หมดสิ

    โห   รู้งี้ไปสมัครเป็นตำรวจหญิง ....  แล้วคอยตบกะโหลกชาวบ้าน  ดีกว่า

    ถ้ามีความผิดอะไร  ก็     >   เคยทำความดีมาก่อน ..........

    กม. บ้านเราอ่อนปวกเปียกแบบลุงถึกว่านะแหละ  ....  ศรีธนชัย  เลยเต็มประเทศไปหมด

    ประชาชนหน้าตาดีแบบเรา ๆ เลยได้แต่ อึ้ง  เพราะไม่ใช่คนร่าง  กม.  เอง

    ว่าแต่ ... คุณ  ฟัค u  ไม่คิดจะวิจารณ์เรื่อง  พยายามแก้  รธน. มั่งเหรอค่ะ  ( รออ่านอยู่ )


บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
อนัตตา (ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้ฝ่าย)
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 620



« ตอบ #4 เมื่อ: 24-05-2008, 13:52 »

หึหึหึ นี่แหละ ประเทศไทย ทำเป็นตื่นเต้ล ยังกะเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่

ตั้งหน้า ตั้งตาเก็บเงิน ไว้ใช้ตอนแก่เหอะ อย่าหวังว่าประเทศนี้จะดูแลผลประโยชน์คุณ

เปิดบัญชีต่างประเทศไว้บ้าง ซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศไว้ก็ดี

หึหึหึ
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #5 เมื่อ: 24-05-2008, 13:59 »

....และได้ความว่าจำเลยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงให้ไล่ออกจากราชการหมดอนาคตทางราชการแล้วถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว เห็นควรปรานีให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้ลง รออาญาไว้มีกำหนด 2 ปี......


รอลงอาญาอย่างนี้....
จะมีโอกาสเข้ารับราชการใหม่ด้วยข้ออ้างว่ายังไม่ได้'จำคุก'จริงๆ...

ทั้งที่ต้นสังกัดได้พิจารณาแล้วว่า'กระทำผิดร้ายแรง'  Question
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 24-05-2008, 14:06 »


    ว่าแต่ ... คุณ  ฟัค u  ไม่คิดจะวิจารณ์เรื่อง  พยายามแก้  รธน. มั่งเหรอค่ะ  ( รออ่านอยู่ )


ผมไม่เสียเวลาลงไปถกเถียงในเรื่องไร้สาระ และเป็นแค่ปาหี่ตบตาออกทางสื่อครับ


หึหึหึ นี่แหละ ประเทศไทย ทำเป็นตื่นเต้ล ยังกะเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่

ตั้งหน้า ตั้งตาเก็บเงิน ไว้ใช้ตอนแก่เหอะ อย่าหวังว่าประเทศนี้จะดูแลผลประโยชน์คุณ

เปิดบัญชีต่างประเทศไว้บ้าง ซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศไว้ก็ดี

หึหึหึ

ผมสนับสนุนเช่นกัน ถึงเวลาเกิดกลียุคแล้วไม่มีใครเขาช่วยคุณ
บันทึกการเข้า

decison_making
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


แม่ไม่ว่าเหรอแม้ว ทำตัวอย่างงี้


« ตอบ #7 เมื่อ: 24-05-2008, 14:09 »

    ว้าเหว่ค่ะ เมื่อกฏหมายอยู่ในมือใคร ก็ทำไปเถอะ

แม้แต่ศาลอาญา ก็พึ่งพาอะไรไม่ได้แล้ว

บันทึกการเข้า
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 24-05-2008, 14:16 »

ไม่รู้ซิครับ..

แต่สำหรับตัวผม

ผมก็คิดว่า การที่ศาลท่านตัดสินแบบนี้มันก็ถูกต้อง   ถูกต้องตามธรรมนองครองธรรมแล้ว..ตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว
 

ตามทำนองครองธรรมที่ว่า..

ในการบังคับใช้กฏหมาย มันต้องมีระดับ ของการใช้..



และบางครั้งกฏหมายก็ใช้เพื่อให้คนเเค่สำนึก มิใช่ต้องเอาถึงกะตาย..

เพราะถ้าไม่เช่นนั้นเขาจะมีกฏหมายไว้อะไร ใครทำผิดก็เอาปืนจ่อหัวยิงกันตายกันไปเลยซิครับใช่รึไม




เพราะไม่ว่าจะคดีไหน.ๆ

ถ้าคุณทำผิดครั้งเเรก  คุณเคยทำคุณงามความดี ศาลท่านไหนๆ คดีไหนๆ ศาลท่านก็ให้รอลงอาญาทั้งนั้นมิใช่หรือ..


และยิ่งในกรณีนี้ ศาลท่านยังบอกอีกด้วยว่า  เพราะจำเลย ได้ถูกไล่ออกมาแล้ว..



ฉะนั้นการพิจรณาแบบนี้ผมว่ามันก็ไม่เห็นจะน่าแปลกตรงไหน


และถ้าให้ใครจะบอกว่า แล้วที่มันยิ้มมันสำนึกตรงไหน..


ก็ถ้ามีการพิจรณาคดีใหม่  ..


ก็เอาส่วนนี้ไปสู้กันในทางกฏหมายซิครับ ว่ามันไม่สำนึก.. ในศาลอุทธรณ์ต่อไป...และศาลท่านจะได้ลงโทษให้มันเเรงกว่านี้..



และส่วนที่ใครมันจะขอกลับเข้ารับข้าราชการ  ผมว่ามันไม่เกี่ยวกะทางศาลครับ..

ตรงนี้เป็นเรื่องของทางสตช.ซึ่งผมว่าอย่าเอามาปนกัน




และการทำความดี..

เราก็คงจะไม่ต้องคิดว่าจะทำเพื่อใคร. เเต่เราคิดเเค่ว่าเราทำเพื่อตัวเราเอง..

ผมว่าเเค่นี้มันก็น่าภูมิใจสำหรับตัวเองแล้ว..มิใช่หรือ..


และทุกวันนี้่  ผมก็คิดแบบนี้  ผมจึงทำความดี ที่ว่าผมนั้นทำเพื่อตนเองมิได้กระทำเพื่อใคร.. 


 
และถ้าการทำความดีมันไม่ใช่สิ่งที่ดี แล้วไอ้การประชดไปวันๆแล้วยุให้คนอื่นๆเขาทำความเลว..

มันน่าภูมิใจตายชัก..นักรึไง..

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2008, 14:23 โดย An.mkII » บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 24-05-2008, 14:23 »

ไม่รู้ซิครับ..

แต่สำหรับตัวผม

ผมก็คิดว่า การที่ศาลท่านตัดสินแบบนี้มันก็ถูกต้อง   ถูกต้องตามธรรมนองครองธรรมแล้ว..ตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว
 

ตามทำนองครองธรรมที่ว่า..

ในการบังคับใช้กฏหมาย มันต้องมีระดับ ของการใช้..



และบางครั้งกฏหมายก็ใช้เพื่อให้คนเเค่สำนึก มิใช่ต้องเอาถึงกะตาย..

เพราะถ้าไม่เช่นนั้นเขาจะมีกฏหมายไว้อะไร ใครทำผิดก็เอาปืนจ่อหัวยิงกันตายกันไปเลยซิครับใช่รึไม




เพราะไม่ว่าจะคดีไหน.ๆ

ถ้าคุณทำผิดครั้งเเรก  คุณเคยทำคุณงามความดี ศาลท่านไหนๆ คดีไหนๆ ศาลท่านก็ให้รอลงอาญาทั้งนั้นมิใช่หรือ..


และยิ่งในกรณีนี้ ศาลท่านยังบอกอีกด้วยว่า  เพราะจำเลย ได้ถูกไล่ออกมาแล้ว..



ฉะนั้นการพิจรณาแบบนี้ผมว่ามันก็ไม่เห็นจะน่าแปลกตรงไหน


และถ้าให้ใครจะบอกว่า แล้วที่มันยิ้มมันสำนึกตรงไหน..


ก็ถ้ามีการพิจรณาคดีใหม่  ..


ก็เอาส่วนนี้ไปสู้กันในทางกฏหมายซิครับ ว่ามันไม่สำนึก.. ในศาลอุทธรณ์ต่อไป...และศาลท่านจะได้ลงโทษให้มันเเรงกว่านี้..



และส่วนที่ใครมันจะขอกลับเข้ารับข้าราชการ  ผมว่ามันไม่เกี่ยวกะทางศาลครับ..

ตรงนี้เป็นเรื่องของทางสตช.ซึ่งผมว่าอย่าเอามาปนกัน




และการทำความดี..

เราก็คงจะไม่ต้องคิดว่าจะทำเพื่อใคร. เเต่เราคิดเเค่ว่าเราทำเพื่อตัวเราเอง..

ผมว่าเเค่นี้มันก็น่าภูมิใจสำหรับตัวเองแล้ว..มิใช่หรือ..


และทุกวันนี้่  ผมกด็คิดแบบนี้ผมจึงทำความดี ที่ว่าผมนั้นทำเพื่อตนเองมิได้กระทำเพื่อใคร.. 


 
และถ้าการทำความดีมันไม่ใช่สิ่งที่ดี แล้วไอ้การประชดไปวันๆแล้วยุให้คนอื่นๆเขาทำความเลว..

มันน่าภูมิใจตายชัก..นักรึไง..

 

หมั่นไส้ว่ะ ตอนมึงตาย ก็ไปตายร่วมหลุมกับนาย "สู้แล้วหยุด" แล้วกัน
บันทึกการเข้า

An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 24-05-2008, 14:34 »

แค่เเวะมาบอกว่า รับทราบ ครับ

รับทราบ  แต่ไม่ขอโต้เถียง..
 
เพราะขี้เกียจเถียง กะพวกดีแต่ใช้อารมร์ประชดไปวันๆ  หาเหตุผลอะไรไม่ได้..


เพราะนี้คือ นิสัยประจำตัวของผมที่ใช้เวลาจะเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกะใคร..

ที่ว่าเห็นไม่ตรงกันผมไม่เคยว่า


แต่ขอให้มีเหตุผล มิใช่ ใช้่อารมณ์ืด่าไปวันๆ  ทุุกครั้งไป  ผมไม่ชอบและไม่ขอยุ่งด้วย  เพราะมันก็เสียเวลาผมเหมืนกัน


จึงขอชี้เเจง...
บันทึกการเข้า
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #11 เมื่อ: 24-05-2008, 14:35 »

ได้ความว่าจำเลยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรง
ให้ไล่ออกจากราชการหมดอนาคตทางราชการแล้ว
ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว
เห็นควรปรานีให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี
โทษจำคุกจึงให้ลงรออาญาไว้มีกำหนด 2 ปี

**********************************************************


นายปราชญา กล่าวว่ายังไม่ได้พูดคุยกับ พ.ต.อ. ฤทธิรงค์
แต่ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าศาลไม่ได้สั่งให้จำคุกจริง
และให้รอการลงโทษ
ดังนั้นน่าจะกลับเข้ามารับราชการได้

**********************************************************

คุณAn.mkII
อธิบายประโยคข้างบนให้เข้าใจหน่อย


 
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 24-05-2008, 14:46 »

ได้ความว่าจำเลยถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรง
ให้ไล่ออกจากราชการหมดอนาคตทางราชการแล้ว
ถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว
เห็นควรปรานีให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี
โทษจำคุกจึงให้ลงรออาญาไว้มีกำหนด 2 ปี

**********************************************************


นายปราชญา กล่าวว่ายังไม่ได้พูดคุยกับ พ.ต.อ. ฤทธิรงค์
แต่ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าศาลไม่ได้สั่งให้จำคุกจริง
และให้รอการลงโทษ
ดังนั้นน่าจะกลับเข้ามารับราชการได้

**********************************************************

คุณAn.mkII
อธิบายประโยคข้างบนให้เข้าใจหน่อย


 


ไม่ทราบว่าอธิบายอย่างไรล่ะครับ..

เพราะตัวเนื้อความเขาก็อธิิบายตรงตัว...



ตรงที่ว่า  เมื่อศาลท่านรู้ว่าจำเลยโดนลงโทษจากทางสตช.แล้ว   ศาลท่านก็คิดว่าสมควรแก่เหตุแล้ว..

ก็คือเมื่อทำผิดก็โดนไล่ออก.. 


ฉะนั้นเมื่อโดนลงโทษแล้ว ก็เลยไม่ลงโทษอีกเพื่อให้กลับตัว...

ตามเหตุผลที่ว่าคนเราควรมีโอกาศกลับตัวมีโอกาศเเก้ไขในสิ่งผิด..

แต่ถ้ายังทำผิดอีกก็ต้องรับโทษที่เเรงกว่าเก่า   เพราะถือว่าให้โอกาศกลับตัวแล้ว
 

ซึ่งนี้ก็คือวิธีพิจารณาในศาล ในกระบวนการยุติธรรมมิใช่หรือครับ


//


ส่วนกรณี  เป็นเรื่องของทนายหัวหมอ  ที่ไม่รู้สำนึกครับ..

และต้องการเเถเพื่อเอาใจลูกความ  เพื่อให้ลูกความได้กลับเข้าทำงานอีก...


ซึ่งตรงนี้ ถ้าใครเป็นทนายโจทก์  น่าจะเอาประเด็นนี้ไปสู้ในศาลอุทธรณ์ต่อไป  ว่ามันไม่สำนึกกันเลย และไม่คิดจะกลับตัวตามเจตณารมณ์ของศาลท่าน..

ซึ่งอาจจะทำให้ศาลท่านลงโทษมันรุนเเรงกว่านี้...
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 24-05-2008, 14:52 »

ประเทศนี้ดี แต่งเครื่องแบบ กับ ห่มจีวร  .... ก่ออาชญากรรมเสร็จแค่โดนไล่ออก ไม่ก็สึกออกไป ง่ายดี

ประชาชนธรรมดาไม่มีเกราะกำบังใดๆ
บันทึกการเข้า

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 24-05-2008, 14:58 »

ลองอ่านนี่ดูแล้วกัน
ทำไมผู้คนในบ้านในเมืองต้องมาเสียเวลากับการแก้รัฐธรรมนูญ?
ทำไมจึงต้องมาเถียงกันว่ามันมาเป็นนายกได้ไง?
ทำไมจึงต้องเถียงกันอีกว่า ทำไมมันหน้าด้านอย่างนี้?

ทำไมจึงวิกฤติยิ่งกว่าก่อนการปฏิวัติ ก.ย. 49 เสียอีก?
ทำไมประชาชนต้องออกไปเดินขบวนกันอีกรอบ?

สุดท้ายบ้านเมืองวุ่นวาย ใครรับกรรม?
ฯลฯ

ทำไม?


http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=50&nid=14100

"สุรยุทธ์"เมินตอบปฏิวัติ-ปัดศัตรู"ทักษิณ"

ข่าววันที่ 18 พฤษภาคม 2551 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

วันนี้ (18 พ.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มบุคคลนำสถาบันเบื้องสูงไปกล่าวอ้างในการสร้างความชอบธรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ว่าตนคงไม่ตอบในแง่ของการเมือง แต่เรื่องใดที่กระทบกับสถาบัน เป็นเรื่องที่องคมนตรีทุกคนต้องติดตามตลอดอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการอ้างอิงถึงสถาบัน เพราะไม่ใช่เรื่องทำให้เกิดความสามัคคี หรือช่วยให้เกิดการแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้   เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับวิจารญาณของแต่ละคน แต่อยากให้ทุกฝ่าย ไม่นำสถาบันไปอ้างอิง

 ส่วนกระแสเรื่องการปฏิวัตินั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นอีก การเมืองควรแก้ปัญหาโดยใช้สันติวิธี ไม่ควรทำให้เกิดความแตกแยก หรือใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังให้โอวาทกักนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งในขณะที่ที่ให้โอวาทเด็กนักเรียน ได้เปิดโอกาสให้ถามในช่วงท้าย มีนักเรียนคนหนึ่งตั้งคำถามกับพล.อ.สุรยุทธ์ ว่า เคยมีเพื่อนเป็นนักการเมืองหรือไม่ และยังมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองบ้างหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่ามีเพื่อนเป็นนักการเมืองหลายคน และไม่เคยคิดเป็นศัตรูกับใคร การเมือง เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เมื่อเรามีปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมือง คือใช้สันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง เมื่อใช้สันติวิธีแล้ว จะสามารถทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ขณะเดียวกันพล.อ.สุรยุทธ์ ได้พูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาว่า ตนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยเป็นศัตรูกันมาก่อน โดยเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องโรงเรียน เตรียมทหารมาก่อน ตนเป็นรุ่น 1 พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นรุ่น 10 พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกตนว่าพี่ทุกคำ และไม่เคยเป็นศัตรูกันมาก่อน แต่อาจมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง ขอย้ำว่าการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ควรใช้ความรุนแรง แต่ควรใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสงบในวันข้างหน้า
บันทึกการเข้า

เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #15 เมื่อ: 24-05-2008, 15:05 »

ส่วนกรณี  เป็นเรื่องของทนายหัวหมอ  ที่ไม่รู้สำนึกครับ..

และต้องการเเถเพื่อเอาใจลูกความ  เพื่อให้ลูกความได้กลับเข้าทำงานอีก...


ซึ่งตรงนี้ ถ้าใครเป็นทนายโจทก์  น่าจะเอาประเด็นนี้ไปสู้ในศาลอุทธรณ์ต่อไป 

ว่ามันไม่สำนึกกันเลย และไม่คิดจะกลับตัวตามเจตณารมณ์ของศาลท่าน..

ซึ่งอาจจะทำให้ศาลท่านลงโทษมันรุนเเรงกว่านี้...
******************************************************

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
คดีนี้ใครเป็นโจทย์ครับ
ถ้าอัยการที่เป็นทนายของแผ่นดินเป็นโจทย์
ก็น่าจะอุทธรณ์ต่อไป

แต่เกรงว่าโจทย์เป็นพวก  อั..ย..กิ..น
หรือพวก   อั..ย..เ..กิ..น


คุณAn.mkII
ถ้าว่ากลับเข้ารับราชการใหม่ได้
ถามว่าจะเป็นความผิดพลาด
ของศาลได้ไหม
ช่วยตอบอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
jrr.
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #16 เมื่อ: 24-05-2008, 15:06 »

นายปราชญา กล่าวว่ายังไม่ได้พูดคุยกับ พ.ต.อ. ฤทธิรงค์
แต่ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าศาลไม่ได้สั่งให้จำคุกจริง
และให้รอการลงโทษ
ดังนั้นน่าจะกลับเข้ามารับราชการได้

.................................................

อนาคต....สำหรับการต้องโทษแล้วรอลงอาญา
คงต้องให้เดินเข้าคุกซักสองสามวัน...แล้วค่อยให้ออกมารออาญาข้างนอก

เพราะไอ้คนที่ชอบแถชอบตะแบง...มักจะเอาไปอ้างเอาไปตู่ว่า...
.......ยังไม่ได้ติดคุกจริง....ก็ยังไม่ผิด

........มันด้านๆกันแบบนี้แหละ คนไทยประเทศไทย !!!
บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #17 เมื่อ: 24-05-2008, 15:14 »

*  นั่งซึมเศร้า กะ สุรยุทธ์  ...........  มันมีประโยชน์อะไรขึ้นมา

    สิ่งที่คุณรู้สึก  ....  คิดว่า  คนอื่น   เขาไม่รับรู้และรู้สึกเหมือนคุณเหรอ

    คุณ  เลือกที่จะถอยเพราะถอนใจ  .........  งั้นก็เชิญ  ยกตน  ว่าเป็นคนฉลาดมองทุกเรื่องได้ทะลุ

    แต่  ดิฉัน  ไม่ถอนใจง่าย ๆ แบบคุณหรอก  ถึงจะรู้ว่ามีอะไรห่วย ๆ ให้เห็นมากมาย

    ก็เพราะมันห่วยไง  .... ถึงไม่ยอม  แม้จะรู้ว่า  อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย


    ปล.  คนที่รู้ความจริง  แต่ไม่กล้าสู้ความจริง

           คนที่รู้ความจริง  แต่กลัวความจริง  คือ คนขี้ขลาด  ค่ะ ........
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2008, 15:16 โดย see - u » บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 24-05-2008, 15:20 »

*  นั่งซึมเศร้า กะ สุรยุทธ์  ...........  มันมีประโยชน์อะไรขึ้นมา

    สิ่งที่คุณรู้สึก  ....  คิดว่า  คนอื่น   เขาไม่รับรู้และรู้สึกเหมือนคุณเหรอ

    คุณ  เลือกที่จะถอยเพราะถอนใจ  .........  งั้นก็เชิญ  ยกตน  ว่าเป็นคนฉลาดมองทุกเรื่องได้ทะลุ

    แต่  ดิฉัน  ไม่ถอนใจง่าย ๆ แบบคุณหรอก  ถึงจะรู้ว่ามีอะไรห่วย ๆ ให้เห็นมากมาย

    ก็เพราะมันห่วยไง  .... ถึงไม่ยอม  แม้จะรู้ว่า  อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย


    ปล.  คนที่รู้ความจริง  แต่ไม่กล้าสู้ความจริง

           คนที่รู้ความจริง  แต่กลัวความจริง  คือ คนขี้ขลาด  ค่ะ ........


คุณต้องแยกให้ออกระหว่าง "ความกล้า" และ "ดันทุรัง" ครับ

เพราะถ้าคุณดันทุรังเมื่อไร คุณน่ะจะตกเป็น "เบี้ย" ตายแทนคนอื่น
บันทึกการเข้า

see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #19 เมื่อ: 24-05-2008, 15:23 »

คุณต้องแยกให้ออกระหว่าง "ความกล้า" และ "ดันทุรัง" ครับ

เพราะถ้าคุณดันทุรังเมื่อไร คุณน่ะจะตกเป็น "เบี้ย" ตายแทนคนอื่น


*  ไม่เป็นไร  ......  จะเรียกแบบไหนก็ได้

    จะเป็น  เบี้ยล่าง  ก็ได้  .........  ไม่ว่ากัน

    แต่ถ้าเรายอมถอดใจง่าย ๆ  แบบนี้ไปเป็น  ขี้ข้า  คนอื่นดีกว่า  หลอกตัวเอง  ........  คุณว่ามั๊ยหล่ะ  ???
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 24-05-2008, 15:26 »

*  ไม่เป็นไร  ......  จะเรียกแบบไหนก็ได้

    จะเป็น  เบี้ยล่าง  ก็ได้  .........  ไม่ว่ากัน

    แต่ถ้าเรายอมถอดใจง่าย ๆ  แบบนี้ไปเป็น  ขี้ข้า  คนอื่นดีกว่า  หลอกตัวเอง  ........  คุณว่ามั๊ยหล่ะ  ???


ก็ในเมื่อคุณสู้ไป ทั้งๆที่คุณรู้ "ความจริง" บางอย่างในใจซึ่งคุณพูดไม่ได้ งั้นก็คือการหลอกตัวเองเหมือนกัน ..... คุณว่าไหมล่ะ ???

ถ้าผมรู้ตัวแล้ว ผมไม่ยอมเป็นขี้ข้าใครครับ เลือกเอา
บันทึกการเข้า

An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 24-05-2008, 15:31 »

ส่วนกรณี  เป็นเรื่องของทนายหัวหมอ  ที่ไม่รู้สำนึกครับ..

และต้องการเเถเพื่อเอาใจลูกความ  เพื่อให้ลูกความได้กลับเข้าทำงานอีก...


ซึ่งตรงนี้ ถ้าใครเป็นทนายโจทก์  น่าจะเอาประเด็นนี้ไปสู้ในศาลอุทธรณ์ต่อไป 

ว่ามันไม่สำนึกกันเลย และไม่คิดจะกลับตัวตามเจตณารมณ์ของศาลท่าน..

ซึ่งอาจจะทำให้ศาลท่านลงโทษมันรุนเเรงกว่านี้...
******************************************************

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
คดีนี้ใครเป็นโจทย์ครับ
ถ้าอัยการที่เป็นทนายของแผ่นดินเป็นโจทย์
ก็น่าจะอุทธรณ์ต่อไป

แต่เกรงว่าโจทย์เป็นพวก  อั..ย..กิ..น
หรือพวก   อั..ย..เ..กิ..น


คุณAn.mkII
ถ้าว่ากลับเข้ารับราชการใหม่ได้
ถามว่าจะเป็นความผิดพลาด
ของศาลได้ไหม
ช่วยตอบอีกครั้งครับ


โดยส่วนตัวผมก็ว่าไม่ครับ..

แต่หน้าจะเป็นความด้าน ของไอ้คนที่อณุมัติซะมากกว่า..


เพราะถ้าคนมันมีหัวคิด   


การที่ศาลท่านไม่ได้ให้รับโทษ  ไม่ได้แปลว่า มันไม่ผิด.. แต่ศาลว่ามันผิดจริง  แต่มันได้รับโทษไปแล้ว... ศาลท่านจึงแค่รอลงอาญา

 
ฉะนั้นเมื่อผิดจริง....


ใครที่อณุมัติให้มันกลับเข้าไปทำงานอีก    ก็ต้องโดนฟ้องครับ..ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นี่คือความเห็นผมครับ


บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #22 เมื่อ: 24-05-2008, 15:34 »

ก็ในเมื่อคุณสู้ไป ทั้งๆที่คุณรู้ "ความจริง" บางอย่างในใจซึ่งคุณพูดไม่ได้ งั้นก็คือการหลอกตัวเองเหมือนกัน ..... คุณว่าไหมล่ะ ???

ถ้าผมรู้ตัวแล้ว ผมไม่ยอมเป็นขี้ข้าใครครับ เลือกเอา


*  เลือกแล้ว  ..........  เลือกมานานแล้วด้วย

    ดิฉัน  รังเกียจระบบ  แม้ว   เพราะฉะนั้นไม่ว่าเหตุผลอะไรที่รู้มาก็ตาม

    ดิฉัน .........  เลือก ที่จะไม่เปลี่ยนใจ หรือ เขว  ไปกะมัน ( จะเป็น คนโง่ ในความคิดคุณก็ได้ )

    ส่วนคุณ  ....  คุณอาจจะรู้เรื่องเดียวกะที่  ดิฉัน รู้  ... คุณจะเลือกแบบไหนไม่มีใครไปบังคับคุณหรอกค่ะ  !!
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #23 เมื่อ: 24-05-2008, 15:47 »

ศาล ไม่เกี่ยวกับเรื่องการขอกลับเข้ารับราชการ .. ขอให้ลองดูกรณีของนายวีรพล ดวงสูงเนิน
อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ถูกตัดสินโดย ปปช. ว่า "มีความผิด" .. ต้องออกจากราชการ
แต่ อกพ. และด้วยมติ ครม. ให้คนผิดกลับเข้ารับราชการได้   
___________________________________________________________

http://www.rakbankerd.com/hotnews.html?nid=383

 ศาลรธน.ชี้คดี
[ วันที่   2003-02-07 ]

           
ย้ำต้องรับโทษวินัยร้ายแรง ฝ่ายค้านรุกรบ.รับผิดชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 8 ต่อ 5 ว่า มติ ป.ป.ช.ที่ชี้มูล"วีรพล"ผิดวินัยร้ายแรงถือเป็นที่สิ้นสุด อุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจคำสั่งลงโทษ อ.ก.พ.อุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงฐานความผิดไม่ได้ "วิษณุ"ประกาศขอรับผิดชอบแค่แก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูกต้องเท่านั้น อ้างเป็นแค่ข้อขัดแย้งทาง กม. ฝ่ายค้านจี้"ทักษิณ"รับผิดชอบ อดีตอธิบดีปลง ยกคำศรีปราชญ์เตือน ป.ป.ช.

ศาลรธน.หักมติอุทธรณ์คดี"วีรพล"

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มี พล.ท.จุล อติเรก เป็นประธาน ได้ลงมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 5 ว่า การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ชี้มูลว่า นายวีรพล ดวงสูงเนิน อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ มีความผิดวินัยร้ายแรงในการทุจริตการประกวดราคาจัดเช่าคอมพิวเตอร์ถือเป็น ที่สิ้นสุด ผู้ถูกชี้มูลความผิดจะอุทธรณ์ได้ก็แต่เฉพาะดุลพินิจในระดับคำสั่งลงโทษ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานความผิดได้ ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุความรับผิดชอบสูงสุดของรัฐบาลที่ทำได้ก็คือแก้ไขสิ่งที่ได้ดำเนินการ ให้ถูกต้องตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

การประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 12.35 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย อ่านคำแถลงส่วนตัวของตุลาการแต่ละคน และลงมติในคำร้องที่ ป.ป.ช.ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กร ป.ป.ช.ว่า การวินิจฉัยของ ป.ป.ช.ถือเป็นที่สิ้นสุดหรือไม่ตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยว่า นายวีรพล ดวงสูงเนิน อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ มีความผิดวินัยร้ายแรงในการทุจริตการประกวดราคาจัดเช่าคอมพิวเตอร์กรมประชา สัมพันธ์ แต่คณะอนุกรรมการ ก.พ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือ อ.ก.พ.อุทธรณ์ มีมติกลับคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. โดยระบุว่า นายวีรพลมีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณารับนายวีรพลกลับเข้ารับราชการ โดยคณะตุลาการใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 ชั่วโมง

ระบุคำวินิจฉัยป.ป.ช.ถือเป็นข้อยุติ

จากนั้น พล.ท.จุลแถลงว่า ที่ประชุมได้พิจารณาในส่วนของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ป้องกันและการปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวแล้ว เห็นว่า พ.ร.บ.ป.ป.ช.มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการ ที่จะปราบปรามและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงได้ให้อำนาจในลักษณะองค์กรกึ่งวินิจฉัยให้กับ ป.ป.ช. โดยคณะตุลาการพิจารณาแล้วเห็นว่า ด้วยมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 5 เสียง เห็นว่าผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ถือเป็นข้อยุติ แต่มิใช่การยุติในลักษณะการเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะตามกฎหมายได้ระบุให้ ป.ป.ช.มีอำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยหรืออาญาเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการลงโทษใดๆ โดยโทษทางวินัยถือเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา และโทษอาญาเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม

ดังนั้นการลงโทษของผู้บังคับบัญชาจะต้องยึดถือตามมูลความผิดที่ ป.ป.ช.ชี้ การอุทธรณ์เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่จะต้องเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจระดับคำสั่งลงโทษเท่านั้น ไม่ใช่การอุทธรณ์มูลความผิดที่ ป.ป.ช.ชี้ ดังนั้นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 301 วรรค 1(3) เพื่อดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.นั้น เมื่อได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วถือเป็นอันยุติ องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยตามที่ ป.ป.ช.วินิจฉัยแล้วไม่ได้

เผยโฉม5ตุลาการเสียงข้างน้อย

สำหรับการลงมติในคดีนี้นั้น ตุลาการเสียงข้างน้อยจำนวน 5 เสียงประกอบด้วย นายกระมล ทองธรรมชาติ นายผัน จันทรปาน นายจุมพล ณ สงขลา นายศักดิ์ เตชาชาญ และนายปรีชา เฉลิมวณิชย์
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นควรมีมติยกคำร้อง เนื่องจากคำร้องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กร ต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 266 บัญญัติ ประกอบกับประเด็นตามคำร้องที่ขอให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมมาตรา 301 วรรค 1(3) นั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วยังไม่ถือเป็นข้อยุติ เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 301 วรรค 1(3) ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจดังกล่าวเป็นเด็ดขาด

พล.ท.จุลกล่าวว่า สำหรับประเด็นว่าจะมีผลอย่างไรต่อนายวีรพลนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เพราะไม่ถือว่าอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะส่งมติของศาลรัฐธรรมนูญให้แก่ ป.ป.ช. อ.ก.พ.รับเรื่องอุทธรณ์ ในฐานะคู่กรณีรับทราบ และส่งถึง ครม.ในฐานะผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการต่อไป

"ปรีชา"รี่แจกคำวินิจฉัยให้นักข่าว

ขณะที่นายปรีชา ตุลาการเสียงข้างน้อย ได้แจกจ่ายคำวินิจฉัยส่วนตนให้กับสื่อมวลชนหลังจากการประชุมสิ้นสุดลง โดยเนื้อหาระบุว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามมาตรา 301 วรรค 1(3) ของรัฐธรรมนูญ มิได้ถือว่าเป็นการตัดสินชี้ขาดตามความเข้าใจของ ป.ป.ช. เพราะอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่กระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จะต้องเป็นเรื่องของศาลที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายเท่านั้น องค์กรฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะขยายอำนาจของตนให้มาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา ที่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของบุคคลแทนศาลไม่ได้ หลักการนี้รับรองโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 233 ที่บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการกำหนดห้ามเอาไว้ไม่ให้มีการตั้งศาลเตี้ยมาชำระความกันเอาเอง

การพัฒนาไปในทางเพิ่มอำนาจขององค์ตามรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องปกติ เพราะองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นใหม่ไม่อยู่ในอำนาจอธิปไตย 3 อำนาจ จึงใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ เดิมขอบเขตอำนาจมีการจำกัดอำนาจของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ให้ปฏิบัติหน้าที่ในอำนาจที่จำกัด มิให้มีการใช้อำนาจอย่างฟุ่มเฟือย เพราะมิเช่นนั้นทุกองค์สามารถอ้างได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญล้มเหลวหรือมีอุปสรรค เป็นผลมาจากอำนาจขององค์กรของตนมีอำนาจน้อยเกินไป จึงไม่แปลกอะไรที่คณะกรรมการ ป.ป.จะตีความว่าอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 301 วรรค 1(3) นั้นองค์กรอื่นไม่มีอำนาจมาวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงได้

ตบหัว-ลูบหลังป.ป.ช.ไม่เข้าใจกม.

คำวินิจฉัยของนายปรีชายังระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีสาเหตุว่า ป.ป.ช.ไม่เข้าใจการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน ในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐควรจะต้องสร้างความชัดเจนให้ถูก ต้องแน่นอน ความสับสนดังกล่าวไม่ควรเกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะองค์กรตรวจสอบดัง เช่น ป.ป.ช.เสียเอง อย่างไรก็ตาม คำกล่าวหาทั้งหมดนี้ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงเกินไป ไม่ควรกล่าวหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ถึงขนาดนั้น เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ตรงต่อสภาพความเป็นจริงของการจัดระบบโครงสร้างและ องค์ประกอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งสมควรจะมีบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้กฎหมายของรัฐ หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานที่สำคัญ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครองระดับสูง ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญเกี่ยวกับงบประมาณ เศรษฐกิจ การคลัง ไม่ใช่นักวิชาการทางกฎหมายที่มีความรู้อยู่ในตำรา รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อน ละเอียดลึกซึ้งเกินว่าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันจะเข้าใจได้อย่างละเอียด เพราะแม้แต่ผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน หรือนักกฎหมายที่ร่วมร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่มีผู้ใดมีความรู้หรือสะกิดใจใน ปัญหาเหล่านี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวตนจึงขอยกคำร้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

"ทักษิณ"โบ้ย"วิษณุ"รับผิดชอบ

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า เรื่องนี้คงต้องไปถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายให้ดูแลอยู่ดีกว่ามาถามตน ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องกติกาของ ก.พ. ขณะเดียวกัน หากรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น ในเมื่อเบื้องต้นกฎหมายมีสองแนวทาง ซึ่งแล้วแต่ใครจะตีความ ส่วนในเรื่องการคืนเงินเดือนหรือไม่นั้น ก็ไปถามกับนายวิษณุเช่นกัน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องทางเทคนิค


"เนติบริกร"สั่งเช็กคำอุทธรณ์วีรพล

ขณะที่นายวิษณุ ที่เป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลได้รับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องนี้ก็จะส่งเรื่องให้ ก.พ.ตรวจสอบต่อไปว่า เมื่อครั้งนายวีรพลยื่นคำอุทธรณ์มานั้น นายวีรพลยื่นคำอุทธรณ์มาเฉพาะฐานความผิด หรืออุทธรณ์ระดับโทษมาด้วยหรือไม่ ถ้านายวีรพลยื่นอุทธรณ์เฉพาะฐานความผิดทุกอย่างก็จบแล้ว ต้องลงโทษนายวีรพล คือไล่ออกตามมติอนุกรรมการ ก.พ.ของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายวีรพลจะไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ แต่ถ้านายวีรพลยื่นอุทธรณ์ในระดับโทษมาด้วยว่าถึงจะผิดแต่โทษก็หนักไป ดังนั้น ก.พ.ต้องชี้ขาดในเรื่องโทษเสียก่อนว่า นายวีรพลควรได้รับโทษระดับใดในความผิดร้ายแรงคือไล่ออกและปลดออก เมื่อได้คำวินิจฉัยชี้ขาดของ ก.พ. รัฐบาลจะนำเรื่องกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป ให้ดำเนินการเป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ. ให้ยกเลิกการโปรดเกล้าฯนายวีรพลเป็นผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

เตรียมกราบทูลฯให้ยกเลิกโปรดเกล้า

นายวิษณุกล่าวว่า กรณีของนายวีรพลจำได้ว่า เกษียณอายุราชการไปเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยยังไม่มีพระบรมราชโองการให้เป็นผู้ตรวจประจำสำนักนายกฯ แต่ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการลงมาและให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งก็ไม่มีผลอะไร ดังนั้นเมื่อได้รับคำวินิจฉัยจาก ก.พ.ชัดเจน รัฐบาลก็ทำเรื่องกราบบังคมทูลว่า นายวีรพลได้รับโทษวินัยอย่างร้ายแรง ให้ไล่ออกหรือปลดออก และจะต้องทำหนังสือกราบบังคมทูลให้ยกเลิกการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นผู้ ตรวจประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็หมายความว่า นายวีรพลไม่เคยเป็นผู้ตรวจประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาก่อน ซึ่งการยกเลิกนั้นไม่ได้เป็นเพราะรัฐบาลเปลี่ยนใจแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะเกิดความชัดเจนในเรื่องข้อกฎหมาย เพราะในวันที่นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯไม่มีเงื่อนไขในหนังสือไปด้วยว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลไม่ดำเนินการประการใดอาจจะเกิดความผิดต่อไปอีก ซึ่งข้าราชการคนอื่นที่ได้ยื่นคำอุทธรณ์เหมือนนายวีรพลก็ต้องใช้มาตรฐานนี้ เช่นเดียวกันทุกคน และจะให้ ก.พ.นำกลับพิจารณาทั้งหมด
[/color]

ผิดยอมแก้คือรับผิดชอบสูงสุดแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้รัฐบาลทำได้เพียงแก้ไข สิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น หรือต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างอื่นด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า รัฐบาลทำได้เพียงแก้ไขสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อผิดก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง นี่คือความรับผิดชอบสูงสุดที่ทำได้ ไม่ควรพูดว่า เป็นความบกพร่องของ ก.พ.หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นข้อขัดแย้งทางกฎหมายที่มีอยู่หลายส่วนด้วยกัน ครม.ก็ไม่มีสิทธิยับยั้งคำวินิจฉัยของ ก.พ.เพราะตามกฎหมาย ก.พ.ถือว่าเป็นเรื่องถึงที่สุด ดังนั้นต้องรับนายวีรพลเข้ามารับราชการ มิเช่นนั้นเขาก็จะฟ้องศาลปกครอง ซึ่งจะเกิดปัญหาถ้าไปฟ้องรัฐบาลก็ต้องรับผิดเต็มอัตรา

"ตอนนั้นรัฐบาลมีแนวทางในการตั้งนายวีรพลให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้อำนาจการ บริหารให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้มีปัญหาขึ้นมา และช่วงที่นายวีรพลดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการสำนักนายกฯก็ไม่ได้สั่งราชการใดๆ เลยก็ถือว่าไม่ได้เกิดความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น" นายวิษณุกล่าว และว่า ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุม ก.พ.หากศาลรัฐธรรมนูญส่งเอกสารมาให้ภายใน 1-2 วันนี้ก็จะนำเรื่องเข้าพิจารณาด้วย

นายวิษณุยังกล่าวถึงกรณีนายนิพัทธ พุกกะณะสุต อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง ที่ ก.พ.มีมติให้กลับมารับราชการนั้น เป็นคนละกรณีกับนายวีรพล เพราะกรณีนายนิพัทธนั้น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือ ป.ป.ป.เดิมเป็นผู้วินิจฉัย ตามกฎหมาย ป.ป.ป.เดิมไม่ใช่กฎหมาย ป.ป.ช. ขอยืนยันว่านายนิพัทธไม่ได้รับผลร้ายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 301(ว่าด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช.) แต่อย่างใด

"วีรพล"ปลง-ไม่แคร์ต้องคืนเงินเดือน

นายวีรพล ดวงสูงเนิน กล่าวว่า ไม่มีสิทธิพูดอะไรกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา เพราะเป็นเรื่องระหว่าง ป.ป.ช. กับ ก.พ. แต่พร้อมยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนการคืนเงินเดือนและเงินบำนาญนั้น หาก ก.พ.ให้คืนเงินก็พร้อมที่จะคืนให้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินบำนาญแต่อย่างใด ซึ่งไม่รู้สึกแคร์ที่จะต้องคืนเงินทั้งหมด แต่ทำให้นึกถึงศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการที่ทำงานมานาน ไม่เคยทำผิดอะไร แต่มาถูกคนเพียงกลุ่มหนึ่งระบุว่ามีความผิดร้ายแรง โดยไม่มีอะไรที่จะคานอำนาจตรวจสอบได้ ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าจะเสียใจก็คงเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของความเป็นคน เพราะเมื่อไม่ได้ทำอะไรผิด แต่กลับถูกกล่าวหาว่าทำผิด โดยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ก็อยากทราบว่าศักดิ์ศรีของความเป็นคนอยู่ที่ไหน จึงอยากบอก ป.ป.ช.เป็นคำกลอนของศรีปราชญ์ว่า "เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนั้นคืนสนอง" ส่วนการร้องขอความเป็นธรรมนั้น ขณะนี้ยังนึกอะไรไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามีช่องทางร้องขอความเป็นธรรมก็จะทำและตนขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่เคยทำ อะไรผิด

ก.พ.อ้อมแอ้มอ้างปรึกษากฤษฎีกาแล้ว

นายบุญปลูก ชายเกตุ เลขาธิการ ก.พ.กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นศาลสูงสุด แต่ความเห็นที่ออกมามี 2 ด้าน คือเสียงข้างมากมี 8 เสียง ส่วนเสียงข้างน้อยมี 5 เสียง ถ้าถามความเห็นตนก็เห็นด้วยกับเสียงข้างน้อย เพราะมาตรา 301 ของรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช.เป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ก.พ.ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

นายสีมา สีมานันท์ รองเลขาธิการ ก.พ. ที่ทำหน้าที่ในคณะอนุกรรมการ ก.พ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หรือ อ.ก.พ.อุทธรณ์ กล่าวว่า ก่อนที่ อ.ก.พ.อุทธรณ์จะรับวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวได้มีการสอบถามไปยังสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา 2 ข้อ คือ 1.สามารถรับเรื่องอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวได้หรือไม่ และ 2.สามารถพิจารณาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับการลงโทษเป็นอื่นนอกเหนือจากที่ ป.ป.ช.วินิจฉัยได้หรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบว่าสามารถทำได้ ทาง อ.ก.พ.อุทธรณ์จึงได้นำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา

ปธ.ระบุในส่วนปปช.เรื่องจบแล้ว

นายโอภาส อรุณินท์ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรงนี้ก็ทำให้ปัญหาทางข้อกฎหมายที่ ป.ป.ช.ข้องใจคลี่คลายไป ซึ่งรัฐธรรมนูญได้เขียนไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญองค์กรต่างๆ ต้องนำไปปฏิบัติตามและถือเป็นมาตรฐาน ส่วนเรื่องการคืนเงินเดือนและบำเหน็จต่างๆ ของนายวีรพลนั้น นายโอภาสกล่าวว่า เป็นเรื่องผู้บังคับบัญชาของนายวีรพลที่จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัย

เมื่อถามว่า นายวีรพลระบุว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก ป.ป.ช. เพราะเป็นองค์กรเดียวที่ทำหน้าที่ชี้ขาดโดยไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่น นายโอภาสกล่าวว่า นายวีรพลสามารถพูดอย่างนั้นได้ แต่ในการทำงาน ป.ป.ช.ยืนยันว่าได้ทำอย่างดีที่สุด ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนในส่วนของ ป.ป.ช.ได้จบไปแล้ว เพราะสิ่งที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคือการขออุทธรณ์ของข้าราชการหลัง จากที่ ป.ป.ช.วินิจฉัยแล้ว สามารถทำได้กับกรณีทั่วๆ ไปตามตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนหรือสามารถอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ เพราะในกฎหมายของ ป.ป.ช.ระบุว่าให้อุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น ซึ่งก็ตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังนั้นผู้ที่พิจารณาการอุทธรณ์จะต้องปรับแนวคิดตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ซึ่งกรณีนี้จะมีผลกว้างไม่เฉพาะในกรณีของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ.เท่านั้น เพราะจะเป็นบรรทัดฐานให้ข้าราชการอื่นๆ เช่นคณะกรรมการข้าราชการครู

โล่งอกต่อไปจะได้ทำงานง่ายขึ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ ครม.เคยอ้างว่าเมื่อคณะกรรมการ ก.พ.มีมติในเรื่องดังกล่าว ครม.มีหน้าที่รับทราบเท่านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมติได้ เป็นเพราะฝ่ายการเมืองต้องการช่วยเหลือนายวีรพลหรือไม่ ประธาน ป.ป.ช.กล่าวว่า "ต้องถามฝั่งโน้น ไปถามฝ่ายที่มีความเห็น เพราะ ป.ป.ช.มีหน้าที่ตัดสินแล้วส่งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเท่านั้น ส่วนใครจะไปอุทธรณ์หรือทำอะไรไม่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช."

นายเกริกเกียรติ พิพัฒเสรีธรรม กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ต้องเคารพดุลพินิจ แต่จะชอบหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนจะต้องตรวจสอบการทำงานของ แต่ละองค์กรว่ามีเหตุมีผลอย่างไรในการวินิจฉัย เมื่อถามว่า ทาง ก.พ.ยืนยันในช่วงก่อนหน้านี้ว่าได้ดำเนินการกรณีนายวีรพลถูกต้องแล้ว และผ่านการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว นายเกริกเกียรติกล่าวว่า คงจะต้องไปดูกฎหมายของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร พ.ร.บ.ป.ป.ช.เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะออกมาอย่างไร เมื่อศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเช่นนี้ ในส่วนของ ก.พ.ก็ต้องจบไป

"เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนี้ ป.ป.ช.ซึ่งเป็นองค์กรปฏิบัติการก็ทำงานได้ง่ายขึ้น ดีกว่ากลับไปเหมือนสมัยก่อนที่เป็นเสือกระดาษอย่าง ป.ป.ป. เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของดุลพินิจ พูดกันยาก คนที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องและอยู่ตรงกลางก็จะบอกได้ แต่ถ้ามีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก็ต้องมองกันคนละมุมอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีตุลาการ 5 คน เห็นว่าคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช.ไม่เป็นที่ยุติ แต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะศาลรัฐธรรมนูญต้องถือเสียงข้างมาก ขนาด 8 ต่อ 7(คดีการปกปิดบัญชีทรัพย์สินของนายกฯ) ยังถือเป็นเสียงข้างมากเลย" นายเกริกเกียรติกล่าว

"ชวน"ได้ทีเย้ยบอกแล้วเลือกปฏิบัติ

ทางด้านนายชวน หลีกภัย ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปถามรัฐบาล ถึงหลักการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของทางราชการ อย่างที่เคยบอกว่า ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ใช่คนของรัฐบาล ก็จะจริงจัง แต่ถ้าเป็นของพรรคพวกหรือคนที่ตัวเองเรียกมาช่วยงานนอกจากจะไม่จริงจังแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือกันด้วย จึงทำให้การตรวจสอบลำบาก หากองค์กรอิสระอื่นๆ ถูกทำอย่างอย่างนี้ด้วยคงจะลำบาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าเรื่องนี้ผิดขั้นตอนตรงไหน ระหว่างอำนาจของ อ.ก.พ.กับ ป.ป.ช. นายชวนกล่าวว่า ตรงนี้ต้องไปตามรัฐบาลว่าการใช้อำนาจเป็นอย่างไร แต่ทิศทางที่เห็นมาตลอดแม้กระทั่งเมื่อมีการลงมติตัดสินว่าผิดด้วยคะแนน เสียงเป็นเอกฉันท์ แต่ก็กลับตาลปัตรไปลงมติว่าไม่ผิดเพราะมีการช่วยกัน จะเห็นว่าเวลาคนในรัฐบาลเรียกมาใช้งานก็จะได้รับการปกป้อง แต่ถ้าเป็นคนอื่นก็จะเอาจริงเอาจังในการพิจารณา ยิ่งเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายค้านด้วยแล้วก็ยิ่งเอาจริงใหญ่

เมื่อถามว่า แสดงว่าฝ่ายบริหารไม่เข้าใจอำนาจหน้าที่ใช่หรือไม่ นายชวนกล่าวว่า จะถูกหรือผิดอยู่ที่ข้อเท็จจริงอย่างเดียว ไม่น่าจะกลายเป็นจากดำเป็นขาวได้

ลูกพรรคปชป.จี้"แม้ว"รับผิดชอบ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มติของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของ ป.ป.ช.ที่เป็นองค์กรอิสระว่าไม่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหาร และถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องไปดำเนินการเรื่องให้ถูกต้อง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่จะต้องกลับไปทบทวนท่าทีของตัวเอง เพราะที่ผ่านมาหลายครั้งที่รัฐบาลไม่เคารพเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะองค์กรอิสระ ที่รัฐบาลยังมีปัญหากับองค์กรอิสระอยู่ตลอดเวลา

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯและรัฐบาลต้องรับผิดชอบว่าจะตอบสังคมอย่างไร สำหรับฝ่ายค้านจะตรวจสอบรายละเอียดในข้อกฎหมายต่อไป ว่ามติของ อ.ก.พ.และ ครม.ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจะถึงขั้นถอดถอนรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง คงจะหารือในรายละเอียดอีกครั้ง ว่าการกระทำที่จงใจของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขณะที่นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและนายกฯแสดงความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน โดยอ้างว่าที่ผ่านมาฝ่ายค้านได้เตือนรัฐบาลมาตลอดแล้วว่า ป.ป.ช.เป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรมาล้มล้างด้วยมติ ก.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานในฝ่ายบริหารและอยู่กับฝ่ายการเมือง แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมรับฟัง

นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เคยแสดงความคิดเห็นไว้แล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่เป็นการแกล้งโง่ และใช้มติของ อ.ก.พ.มาอ้างเพื่อที่จะให้ ป.ป.ช.กลายเป็นเสือกระดาษ ขอถามรัฐบาลว่าคำวินิจฉัยของศาลจะต้องผูกพันทุกองค์กรนายวิษณุ จะรับผิดชอบกรณีนี้อย่างไร

"คนระดับที่เรียนจบได้เกียรตินิติยมได้เนติบัณฑิตและได้ที่ 1 ของเนติบัณฑิตไทยไม่น่าจะไม่เข้าใจกฎหมายที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งตรงนี้ถือว่าแกล้งเป็นไม่เข้าใจ" นายถาวรกล่าว

 
     แหล่งที่มา : นสพ.มติชน    

...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2008, 15:53 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #24 เมื่อ: 24-05-2008, 15:57 »

คุณ สมชายสายชม  คุณAn.mkII
เข้าใจครับ ขอบคุณมากครับ

เวรกรรมประเทศไทย
กรรมของคนไทยทั้งชาติ
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #25 เมื่อ: 24-05-2008, 15:59 »

http://www.fpps.or.th/news-printversion.php?detail=n1049014977.news

ครม. ให้ “วีรพล” กลับเข้ารับราชการ

    คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ขอให้นายวีรพล ดวงสูงเนิน อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และนายชูศักดิ์ รองสวัสดิ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตัดสินว่ามีความผิดวินัยร้ายแรง กรณีการทุจริตเช่าซื้อคอมพิวเตอร์ 12 ล้านบาท กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก อ.ก.พ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า นายวีรพล และนายชูศักดิ์ มีความผิดไม่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออก
    ผลจากมติของ ครม. ทำให้ ป.ป.ช. ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ขอให้วินิจฉัยอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากเห็นว่ามติ ครม. อาจเป็นปัญหาทางกฎหมายในอนาคตเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. และขอให้วินิจฉัยมาตรา 96 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ที่ระบุว่า ผู้ถูกร้องสามารถอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้นใช่หรือไม่
    อนึ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดกำลังดำเนินคดีอาญาต่อนายวีรพล และนายชูศักดิ์ ในข้อหาปลอมเอกสาร และใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
    กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี 2544 เมื่อ ป.ป.ช. ชี้ว่าทั้งสองมีความผิดร้ายแรงทุจริตต่อหน้าที่ โดยให้ออกจากราชการและให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา แต่ทั้งสองได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ อ.ก.พ. ซึ่งเป็นต้นสังกัด หลัง อ.ก.พ.พิจารณาแล้วเห็นว่าแม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำผิดจริง แต่โทษไม่น่าถึงขั้นไล่ออกจากราชการ จึงเสนอให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษและให้กลับเข้ารับราชการ

...
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #26 เมื่อ: 24-05-2008, 16:07 »

ควรบอกให้ "นายจักรภพ เพ็ญแข" มาอ่านเรื่องของนายวีรพล ดวงสูงเนิน ว่า ..
การกระทำของ ครม. เป็น"ระบอบอุปถัมภ์" หรือเปล่า 

และการส่งเรื่องขอให้นายวีรพล กลับเข้ารับราชการ เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไท
เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือเปล่า   

...
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #27 เมื่อ: 24-05-2008, 16:27 »

http://board.dserver.org/t/tman/00000338.html

ศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยที่ ๒/๒๕๔๖
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖

เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ


คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ผู้ร้อง โดยประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เสนอคำร้องลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
๑. ข้อเท็จจริงและเอกสารประกอบคำร้อง สรุปได้ว่า
๑.๑ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ ที่บัญญัติไว้โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) ว่า นายชูศักดิ์ รองสวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ กรณีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเช่า คอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ และนายวีรพล ดวงสูงเนิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในส่วนของศูนย์สารสนเทศการประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกัน แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในบันทึกของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ตามบันทึก ศูนย์สารสนเทศการประชาสัมพันธ์ ด่วนที่สุดที่ นร ๑๙๐๖/ศสช. ๓๘๘ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ซึ่งผ่านการตรวจรับรองจากหัวหน้าฝ่ายพัสดุ และผู้อำนวยการกองคลังแล้ว โดยเปลี่ยนแปลงข้อความในหน้า ๒ และ ๓ จากเดิมที่เสนอให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ยกเลิกการประกวดราคา เป็นขออนุมัติให้เช่าคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบจากบริษัท กรุงเทพ โอ.เอ. คอมส์ จำกัด และใช้ลายมือชื่อของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาในหน้า ๔ มาประกอบในบันทึก ที่แก้ไขดังกล่าว โดยกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาบางรายซึ่งรวมถึงหัวหน้าฝ่ายพัสดุ ไม่ยินยอม อันเป็นการช่วยเหลือบริษัทกรุงเทพ โอ.เอ.คอมส์ จำกัด ที่เสนอราคาผิดเงื่อนไข การประกวดราคาตามข้อกำหนดของกรมประชาสัมพันธ์ โดยมิได้ส่งเรื่องให้หัวหน้าฝ่ายพัสดุตรวจพิจารณาอีก เป็นเหตุให้นายวิจิตร วุฒิอำพล อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและ ผ่านการตรวจรับรองจากหัวหน้า ฝ่ายพัสดุ และผู้อำนวยการกองคลังแล้ว จึงได้อนุมัติให้เช่าคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบจากบริษัทกรุงเทพ โอ.เอ.คอมส์ จำกัด นายชูศักดิ์ รองสวัสดิ์ และนายวีรพล ดวงสูงเนิน จึงมีความ ผิดวินัย ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๘๒ วรรคสาม และมาตรา ๙๘ วรรคสอง และมีความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดย ทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงส่งรายงานการไต่สวนไปยังปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ และส่งเอกสารและความเห็นในส่วนคดีอาญาไปยังอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙๒ และ มาตรา ๙๗
๑.๒ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาได้พิจารณาโทษตามฐาน ความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ โดยมีคำสั่งลงโทษไล่ นายวีรพล ดวงสูงเนิน ออกจากราชการ อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๓ ต่อมา ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๓ ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว ไปยังคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ทั้งนี้ โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ และในการ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษ ก.พ. ได้แก้ฐานความผิดจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้วินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) ว่า นายวีรพล ดวงสูงเนิน มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มาตรา ๘๒ วรรคสาม และมาตรา ๙๘ วรรคสอง เป็นฐานความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ นายวีรพล ดวงสูงเนิน กลับเข้ารับราชการ ตามมติ ก.พ.
๑.๓ ในการพิจารณาอุทธรณ์แทนที่ ก.พ. จะพิจารณาเพียงดุลพินิจในการสั่ง ลงโทษของผู้บังคับบัญชา คือ แทนที่จะพิจารณาว่า สมควรจะยกอุทธรณ์โดยยืนคำสั่งลงโทษไล่ออก หรือเห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นในระดับโทษให้เปลี่ยนโทษจากไล่ออกเป็นปลดออก เพราะ ก.พ. จะต้องคงฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติไว้ ตามความในพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๒ แต่ ก.พ. กลับไปพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้พิจารณาในเรื่องการใช้ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามที่ กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ขัดแย้งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ ซึ่งให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลง โทษของ ผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิใช่ ก.พ. จะมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์โดยใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง ทุกกรณีตามที่ ก.พ. อ้าง เพราะอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์โดยใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง ต้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามปกติที่อาศัยอำนาจของ ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มิใช่การสั่งลงโทษตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การใช้อำนาจของ ก.พ. ในการพิจารณาอุทธรณ์กรณีนี้เป็นอำนาจที่มาจากพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ จึงจะต้องพิจารณาอยู่ในกรอบของบทบัญญัติและเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ เท่านั้น การพิจารณานอกกรอบ มาตรา ๙๖ จึงเป็นการกระทำที่ขัดแย้งหรือโต้แย้งอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเพราะไม่ถือปฏิบัติตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ดังกล่าว
๑.๔ เจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) ใช้คำว่า ไต่สวนและวินิจฉัย คำว่า "วินิจฉัย" หมายถึง ตัดสิน ชี้ขาด ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ฯลฯ แสดงว่ารัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและตัดสินชี้ขาดว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นทุจริตต่อหน้าที่ ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ จึงได้บัญญัติรองรับไว้ในมาตรา ๙๒ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งไปนั้น ย่อมหมายความว่า ถ้าฐานความผิดเป็นเรื่องวินัยอย่างร้ายแรงก็จะพิจารณาลงโทษขั้นร้ายแรง คือ ไล่ออก หรือปลดออก ถ้าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงก็พิจารณาลงโทษไม่ร้ายแรง คือ ลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ ถ้าผู้ถูกลงโทษเห็นว่า ระดับโทษไม่เหมาะสม กฎหมายได้บัญญัติรองรับ ไว้ในมาตรา ๙๖ ให้ผู้ถูกลงโทษใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาได้ เช่น โทษวินัยร้ายแรงจากไล่ออกเป็นปลดออก หรือโทษวินัยไม่ร้ายแรงจากลดขั้นเงินเดือนเป็นตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งผิดกับการอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ที่ใช้ คำว่า อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษนั้น หมายความว่า อุทธรณ์ได้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย ได้ทั้งหมด แต่พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ ใช้คำว่า อุทธณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ ก็คืออุทธรณ์เฉพาะระดับโทษ ในแต่ละขั้นของวินัยว่า ร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญในเรื่องการไต่สวนและวินิจฉัย ดังปรากฏเจตนารมณ์ของ ผู้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ตามสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. .... เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๒ หน้า ๐๔๔๕ ถึงหน้า ๐๔๔๘
๑.๕ บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ เป็นเพียงให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา ๙๓ ที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชา กล่าวคือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ในระดับโทษที่ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษภายในกรอบ ของฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเท่านั้น นอกจากนั้น การใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังกล่าวจะต้องใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนมีคำสั่งลงโทษ เจตนารมณ์จึงต่างกับการใช้สิทธิอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน ฯ มาตรา ๑๒๔ ที่มิได้รวมถึงผู้ถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ ด้วย ดังนั้น หากผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๓ ใช้สิทธิอุทธรณ์มาตรา ๙๖ เช่น ไม่ได้อุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับ บัญชาหรือใช้สิทธิอุทธรณ์เกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้บังคับ บัญชามีคำสั่งลงโทษ ผู้รับอุทธรณ์ คือ ก.พ. จะรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ที่ไม่อยู่ใน หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ
๑.๖ การที่ ก.พ. รับพิจารณาอุทธรณ์ตัวคำสั่งลงโทษทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชา และการที่คณะรัฐมนตรีอันเป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญได้มี มติอนุมัติให้นายวีรพล ดวงสูงเนิน ผู้ถูกลงโทษกลับเข้ารับราชการ โดยถือตามความเห็นในเรื่องนี้ของ ก.พ. ย่อมเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่ออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้การใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะองค์กรควบคุมตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิใช่ผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองมีอุปสรรคขัดข้อง เนื่องจากมติของ ก.พ. และความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงและส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาใช้ ดุลพินิจสั่งลงโทษ สามารถอุทธรณ์ในเรื่องพฤติกรรมที่กระทำความผิดและฐานความผิดตามข้อกล่าวหา ต่อผู้บังคับบัญชา หรือองค์กรวินิจฉัยอุทธรณ์ในระบบบริหารงานบุคคลของตนเองได้ ทั้งที่องค์กรผู้บังคับบัญชาและองค์กรวินิจฉัยนั้นไม่มีอำนาจและไม่ใช่ผู้ วินิจฉัยพฤติกรรมกระทำความผิดและฐานความผิดดังกล่าวมาตั้งแต่การอุทธรณ์ใน เรื่องที่ผู้รับอุทธรณ์มิได้เป็นผู้กระทำ และให้ผู้รับอุทธรณ์ทบทวนการกระทำนั้นได้ ซึ่งคือการกระทำของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการวินิจฉัยการกระทำและกำหนดฐานความผิด จึงมีผลเท่ากับให้ผู้รับอุทธรณ์ในระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือเจ้า หน้าที่ของรัฐทุกประเภทสามารถมีอำนาจ เหนือคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้มีผลเป็นการลบล้างคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นองค์กรหลักในการควบคุมตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้าง องค์กรควบคุมตรวจสอบในด้านต่าง ๆ นั้นตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง
๑.๗ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า กรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวมิใช่การบังคับใช้กฎหมายสองฉบับที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละองค์กรต่างก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ตนตามที่มีผู้หยิบยกขึ้นอ้าง เพราะระบบกฎหมายในรัฐหนึ่ง ๆ ย่อมมีเพียงระบบเดียวและมี รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กฎหมายอื่น ๆ ทั้งหมดจะต้องยอมรับนับถือและปฏิบัติตาม หากมีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายใด ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติหรือหลักการของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของ กฎหมายนั้นก็ย่อมใช้บังคับมิได้ตามหลักว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ เมื่อการวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ. และมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ขัดต่อหลักเกณฑ์ว่าด้วยการพิจารณาโทษทาง วินัยตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ อันเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่อง นี้ การวินิจฉัย อุทธรณ์ของ ก.พ. และมติของคณะรัฐมนตรี ที่อนุมัติการกลับเข้ารับราชการของผู้อุทธรณ์ ส่งผลให้ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ไม่เป็นผลหรือไม่สามารถใช้บังคับ สำหรับ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้ จึงเห็นได้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองเป็นกรณีที่ขัดแย้งต่ออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และขัดต่อหลักการของ รัฐธรรมนูญในเรื่องเช่นนี้ จึงย่อมเป็นเรื่องไม่สามารถกระทำได้
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๙ (๓) เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและ วินิจฉัยแล้ว เป็นอันยุติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) การที่ ก.พ. มากลับฐานความผิดเป็น วินัยไม่ร้ายแรง และคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญได้มีมติให้นายวีรพล ดวงสูงเนิน กลับเข้ารับราชการนั้น จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ หรือไม่
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย"
พิจารณาแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ไว้ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๑๙ (๓) เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยร้ายแรงฐานทุจริต ต่อหน้าที่ราชการ และฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก.พ. ซึ่งพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหา แก้ฐานความผิดจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเป็นฐานความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ผู้ถูกกล่าวหากลับเข้ารับราชการตาม มติของ ก.พ. ส่งผลให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ไม่สามารถใช้บังคับได้ การดำเนินการของ ก.พ. และคณะรัฐมนตรีจึง ขัดแย้งต่ออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นอันยุติหรือไม่นั้น เป็นการ ขอให้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจกระทำการในเรื่องใด เรื่องหนึ่งหรือไม่เพียงใด ถือได้ว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน ๙ คน คือ นายจิระ บุญพจนสุนทร พลโท จุล อติเรก นายมงคล สระฏัน นายสุจิต บุญบงการ นายสุจินดา ยงสุนทร นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นายอนันต์ เกตุวงศ์ นายอมร รักษาสัตย์ และนายอุระ หวังอ้อมกลาง เห็นว่า กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นแล้ว เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ได้ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน ๕ คน คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ เห็นว่า กรณีตามคำร้อง ไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ที่เกิดจากความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของบทบัญญัติมาตรา ๙๖ ซึ่งขาดความชัดเจนในขอบเขตของสิทธิอุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษทาง วินัย และขอบเขตอำนาจขององค์กร ที่รับอุทธรณ์ ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐสภาและรัฐบาลจะต้องแก้ไขกฎหมายมาตรานี้ให้มีความชัดเจน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่อาจเสนอคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ ได้
ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้โอกาสผู้เกี่ยวข้อง คือ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ. และคณะรัฐมนตรี มีความเห็นหรือชี้แจงเป็นหนังสือได้
๒. ข้อเท็จจริงและเอกสารประกอบจากผู้เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) และคณะรัฐมนตรี สรุปได้ว่า
๒.๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยสำนักงาน ก.พ. มีหนังสือ ที่ นร ๑๐๐๙.๑/ล ๑๑๒๓ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ความว่า กรณีนายวีรพล ดวงสูงเนิน เป็นกรณีที่ถูกปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมติ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี สั่งลงโทษไล่ออกจากราชการตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๓ ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มาตรา ๑๐๔ และนายวีรพล ดวงสูงเนิน ได้อุทธรณ์คำสั่งไปยัง ก.พ. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ จึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า ก.พ. จะพิจารณาอุทธรณ์เป็นประการใด ๆ ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎ ก.พ. ที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ สำนักงาน ก.พ. จึงได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.พ. ย่อมมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของนายวีรพล ดวงสูงเนิน ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ไว้ในกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ก.พ. จึงได้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของนายวีรพล ดวงสูงเนิน ต่อไป และมีความเห็นว่า พฤติการณ์ของนายวีรพล ดวงสูงเนิน เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรง ควรได้รับโทษภาคทัณฑ์ แต่โดยที่เป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ เนื่องจากไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน จึงเห็นควรงดโทษให้โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ และ มีมติให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้สำนักนายกรัฐมนตรียกเลิก คำสั่งไล่นายวีรพล ดวงสูงเนิน ออกจากราชการ แล้วสั่งให้นายวีรพล ดวงสูงเนิน กลับเข้ารับราชการ และให้ทำทัณฑ์บน นายวีรพล ดวงสูงเนิน เป็นหนังสือ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) สั่งและปฏิบัติ ราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติ ก.พ.
๒.๒ คณะรัฐมนตรี โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือ ที่ นร ๐๕๐๒/๑๕๐๘๘ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ชี้แจงกรณีตามคำร้อง ความว่า คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีความเห็นในประเด็นตามคำร้อง ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัย (ตัดสินชี้ขาด) ว่า นายวีรพล ฯ มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงนั้น ถือได้ว่าเป็นอันยุติตามที่บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) แล้วหรือไม่ นั้น เห็นว่า
(๑) มาตรา ๓๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจ หน้าที่ "ไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต" ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการบัญญัติรับรองอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุที่ กำหนดไว้ แต่สำหรับ การดำเนินการต่อไปอันเกี่ยวกับการไต่สวนและวินิจฉัยนั้นว่า จะมีขั้นตอนและมีผลเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ (๓) บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. และหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องจะมีขอบเขตหน้าที่ต้องปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร จึงต้องพิจารณาไปตามที่มีการบัญญัติ ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตามเหตุที่กำหนดในมาตรา ๓๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวน และถ้ามีมติว่า มีมูลความผิดทางวินัย มาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ดังกล่าวบัญญัติให้ประธานกรรมการส่งรายงานและความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาลงโทษ ทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทางวินัยอีก และให้ถือว่า รายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของ คณะกรรมการสอบสวนวินัย และมาตรา ๙๓ บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พิจารณาลงโทษทางวินัย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องและให้ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง และตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถือเป็นที่สุด โดยให้ผูกพันทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง หากแต่ได้บัญญัติใน มาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๓ ดังกล่าวว่า ให้รายงานและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีผล เป็นรายงานการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลแทนการสอบ สวนของ หน่วยงาน ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ นั้น รายงานการสอบสวนทางวินัย เป็นกระบวนการเบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อกล่าวหาและผู้บังคับบัญชาจะ นำมาพิจารณาสั่งลงโทษ ต่อไป ดังนั้น เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามรายงาน และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งถือเป็นรายงานการสอบสวนทางวินัยแล้ว กรณีย่อมเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ ที่ได้บัญญัติขอบเขตการดำเนินการในเรื่องนี้ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ บัญญัติถึงผลของคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไว้เพียงการ ดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวเท่านั้น
ประเด็นที่สอง การที่ ก.พ. พิจารณากลับฐานความผิดทางวินัยที่จะลงแก่ นายวีรพล ฯ จากความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นความผิดทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นายวีรพล ฯ กลับเข้ารับราชการ เป็นการถูกต้องหรือไม่ นั้น เห็นว่า
(๑) การอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นกระบวนการต่อจากการสั่งลงโทษของผู้ บังคับบัญชา เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกลงโทษได้มีโอกาสพิสูจน์การกระทำของตนที่ถูก ลงโทษต่อองค์กรอื่นที่มิใช่ผู้บังคับบัญชา ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ บัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษจะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ ของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นก็ได้ การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ บัญญัติไว้เพียงเท่านั้น จึงย่อมหมายความว่า กระบวนการอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ นั้น กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่จะ พิจารณาเฉพาะรายงานการสอบสวนทางวินัยเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์หลักฐานอื่น รวมทั้งอาจมีการสอบสวนเพิ่มเติมได้อีกด้วย การพิจารณาอุทธรณ์ขององค์กรกลางในการบริหาร งานบุคคลหรือ ก.พ. จึงอาจพิจารณาแตกต่างจากคำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาได้เสมอ ประกอบกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มิได้จำกัดอำนาจหรือดุลพินิจขององค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ในการพิจารณาอุทธรณ์แต่ประการใด องค์กรผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จึงยังคงมีอำนาจพิจารณา อุทธรณ์ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับได้ตามอำนาจหน้าที่ของตนในทุกกรณี ดังนั้น ก.พ. ย่อมมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ไว้ในกฎ ก.พ. ซึ่งรวมถึงการรับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้อีกด้วย ตามข้อ ๑๗ ประกอบกับข้อ ๑๒ วรรคหนึ่ง ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ซึ่งกำหนดให้ ก.พ. มีอำนาจขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำชี้แจงถ้อยคำหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ดังนั้น การที่ ก.พ. ได้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของนายวีรพล ฯ ต่อไป และมีความเห็นว่า พฤติการณ์ของนายวีรพล ฯ เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ควรได้รับโทษภาคทัณฑ์ แต่โดยที่เป็นการกระทำผิด วินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษเนื่องจากไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน จึงเห็นควรงดโทษให้ โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือและมีมติให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ ให้สำนักนายกรัฐมนตรี ยกเลิกคำสั่งไล่นายวีรพล ฯ ออกจากราชการ แล้วสั่งให้นายวีรพล ฯ กลับเข้ารับราชการ และให้ ทำทัณฑ์บนนายวีรพล ฯ เป็นหนังสือ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) สั่งและปฏิบัติ ราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติ ก.พ. การดำเนินการของ สำนักนายกรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการที่ถูกต้อง ตามนัยกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนแล้ว
(๒) โดยเหตุที่การพิจารณาของ ก.พ. เป็นการดำเนินการในชั้นการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ จึงมิได้เป็นการดำเนินการที่ขัดแย้งกับ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ดังกล่าว
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้อง คำชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบ แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้แล้ว มีประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณา วินิจฉัย คือ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) เพื่อดำเนินการ ต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้ว เป็นอันยุติ หรือไม่
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้... (๓) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต"
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๙ บัญญัติว่า "คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้... (๓) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม"
พิจารณาแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ เป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจ หน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อ ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต ขณะที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๑๙ (๓) เป็นบทบัญญัติที่มีความเช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนและ วินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ บัญญัติไว้ โดยการวินิจฉัยว่า ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๘๒ วรรคสาม และมาตรา ๙๘ วรรคสอง และกระทำความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งเป็นความผิดอาญา จึงส่งรายงานการไต่สวนไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ กับส่งเอกสารและ ความเห็นในส่วนคดีอาญาไปยังอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๗
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว เป็นการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีมีมูลความผิดทางวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำ ความผิดแล้วมีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดได้กระทำความผิดวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและ เอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูก กล่าวหา ผู้นั้นเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ถือว่ารายงาน เอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะ กรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมายหรือระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ของผู้ถูกกล่าวหานั้น ๆ แล้วแต่กรณี" เมื่อผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาได้รับรายงานตามที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๒ บัญญัติแล้ว มาตรา ๙๓ บัญญัติว่า "เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง และวรรคสามแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนพิจารณาลงโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และให้ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง" ซึ่งปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาได้มี คำสั่งลงโทษไล่ผู้ถูกกล่าวหาออกจากราชการตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ
สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษในกรณีเช่นนี้มีสิทธิอย่างไรนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ บัญญัติว่า "ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา ๙๓ จะใช้สิทธิ อุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการ บริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้น ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มี อำนาจแต่งตั้งถอดถอนมีคำสั่งลงโทษ" ผู้ถูกกล่าวหาจึงใช้สิทธิอุทธรณ์การ ลงโทษไปยังคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของ ผู้ถูกกล่าวหา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ตามที่พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๙๖ บัญญัติ
โดยเหตุที่การไต่สวนและวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ว่า ผู้ถูกกล่าวหา มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นการไต่สวนและวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติรับรองไว้ เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ ได้บัญญัติกรณีดังกล่าวตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้แล้ว โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๑๙ (๓) บัญญัติอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่นเดียวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีตามคำร้องนั้น มีการกำหนดขั้นตอนและ รายละเอียดของการไต่สวนและผลของการไต่สวนที่เทียบได้กับการสอบสวนตามพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ แล้วเช่นกัน แต่กรณีเช่นนี้เป็นคนละกรณีกับการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ โดยมาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐาน ความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และให้ถือว่า รายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของ คณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา นั้น จึงถือได้ว่า การสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องนี้เสร็จสิ้นแล้ว
เมื่อพิจารณาหลักการและเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ แล้ว เห็นได้ว่า มีสาระสำคัญ ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งเน้นการปฏิรูปการเมือง ด้วยการกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้โดยมี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวไว้ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ เป็น กฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย
เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ฉบับนี้ เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องที่มีลักษณะพิเศษต่างจากพระราชบัญญัติระเบียบข้า ราชการพลเรือน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป การที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นหลัก และดำเนินการ ตามกระบวนการที่บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ โดยการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ บัญญัติไว้ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและการมีมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จึงต้องฟังเป็นที่ยุติ
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษไล่ออกนั้น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ ฯ มิได้ตัดสิทธิผู้นั้นในการอุทธรณ์ โดยมาตรา ๙๖ บัญญัติให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษ ตามมาตรา ๙๓ ใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้น ๆ ก็ได้ ขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มาตรา ๑๒๔ บัญญัติว่า "ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้" และมาตรา ๑๒๖ บัญญัติ ว่า "การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ปลดออกหรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่ วันรับทราบคำสั่ง ..."
พิจารณาแล้วเห็นว่า การอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ และการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ใช้คำว่า "อุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ" พระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ใช้คำว่า "อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ" การใช้สิทธิอุทธรณ์ของ ผู้ถูกกล่าวหา อันเนื่องมาจากการลงโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามฐานความผิดที่คณะ กรรมการ ป.ป.ช. มีมติ มิใช่ฐานความผิดจากการสอบสวนวินัยโดยผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาเอง และ มิใช่กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน ฯ การอุทธรณ์ จึงต้องอยู่ในขอบเขตที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ บัญญัติไว้ โดยมีสิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจ ในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น กล่าวคือ อุทธรณ์ได้เฉพาะระดับโทษตามฐานความผิด ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา (ก.พ.) และองค์กร ที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหาตามขั้นตอนต่อจากกระบวนการที่คณะ กรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการสมบูรณ์เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีอำนาจพิจารณาเฉพาะเรื่องดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับ บัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนตามฐานความผิดเดิมที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเท่านั้น การที่องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ใช้อำนาจหน้าที่ล่วงล้ำ หรือกระทบกระเทือนอำนาจหน้าที่ที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นการเฉพาะ โดยการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ แล้วเปลี่ยนฐานความผิดเพื่อกำหนดโทษใหม่ จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลรัฐธรรมนูญโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน ๘ คน คือ นายจิระ บุญพจนสุนทร พลโท จุล อติเรก นายมงคล สระฏัน นายสุจิต บุญบงการ นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นายอนันต์ เกตุวงศ์ นายอมร รักษาสัตย์ และนายอุระ หวังอ้อมกลาง วินิจฉัยว่า อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วเป็นอันยุติ ดังนั้น องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จึงพิจารณา เปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยแล้วไม่ได้
ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน ๕ คน คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ วินิจฉัยให้ยกคำร้องเนื่องจาก กรณีตามคำร้องไม่ใช่กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ บัญญัติ ประกอบกับประเด็น ตามคำร้องที่ขอให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นอันยุติ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจ "วินิจฉัยชี้ขาด" กรณีตามคำร้อง จึงทำให้อำนาจดังกล่าวไม่เด็ดขาด ดังนั้น ผู้ถูกลงโทษจึงมีสิทธิอุทธรณ์และองค์กร ที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยได้ตามอำนาจ หน้าที่ตามที่ กฎหมายบัญญัติไว้
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนและวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๓) เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่จึงเป็นอันยุติ ดังนั้น องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลง ฐานความผิดทางวินัยตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัยยุติแล้ว ให้เป็นประการอื่นได้อีก

...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: