ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 15:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  24 ประเด็นแตกต่าง รัฐธรรมนูญ 2550 VS ฉบับแก้ไข 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
24 ประเด็นแตกต่าง รัฐธรรมนูญ 2550 VS ฉบับแก้ไข  (อ่าน 2779 ครั้ง)
ไทเมือง
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 24-05-2008, 07:16 »

วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม 2551
เปรียบเทียบ 24 ประเด็นแตกต่าง รัฐธรรมนูญ 2550 VS ฉบับแก้ไข
 Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 11 , 05:51:33 น.  

เปรียบเทียบสาระสำคัญรธน. 2550 กับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. 2550 ที่ ส.ส.และส.ว. 164 คน เข้าชื่อยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม ต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา พบมีการนำบทบัญญัติในหมวด3-12 และบทเฉพาะกาลบางมาตราของรธน. 2540 มาใช้บังคับแทน

หมายเหตุ - เปรียบเทียบสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2550 กับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.รวม 164 คน เข้าชื่อยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 (1) ต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทั้งนี้ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมฯเป็นการนำบทบัญญัติในหมวด 3-12 และบทเฉพาะกาลบางมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาใช้บังคับ แทนหมวด 3-15 และบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2550

รัฐธรรมนูญ 2550
1.มาตรา 5 ไม่ได้บัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
1.เพิ่มวรรคสองของมาตรา 5 ว่า ให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ประชาชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน

รัฐธรรมนูญ 2550 ( สื่อเสรี )
2.มาตรา 46 วรรคสาม ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นทั้งทางตรงและทางอ้อม หากมีการแทรกแซงให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
2.ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว


รัฐธรรมนูญ 2550 (ห้ามนายทุนสื่อเป็นนักการเมือง)
3.มาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชนมิได้ รวมถึงห้ามบริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
3.ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว


รัฐธรรมนูญ 2550 (โกงเลือกตั้งโดนหนัก)
4.มาตรา 68 วรรคสี่ กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคด้วยเหตุล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น 5 ปี

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
4.ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว


รัฐธรรมนูญ 2550
5.ระบบเลือกตั้ง ส.ส.ให้มี ส.ส. 480 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต (เขตใหญ่เรียงเบอร์) 400 คน และ ส.ส.ระบบสัดส่วน 80 คน แบ่งเขตประเทศเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
5.ระบบเลือกตั้ง ส.ส.ให้มี 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบแบ่งเขต (เขตเดียวเบอร์เดียว) 400 คน และ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เขตประเทศ 100 คน หากพรรคใดได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 5 ให้ถือว่า ไม่ได้รับเลือกตั้งใน ส.ส.ระบบนี้

รัฐธรรมนูญ 2550 ( คนดีไม่จำเป็นต้องเรียนสูง)
6.คุณสมบัติต้องมีและต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัคร ส.ส.ไม่ต้องจบปริญญาตรี, เป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน เว้นแต่ยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 30 วัน, เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกิน 2 ปี

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
6.คุณสมบัติต้องมีและต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัคร ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี, ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน, ไม่ห้ามเรื่องเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกิน 2 ปี

รัฐธรรมนูญ 2550 ( ห้ามซื้ออำนาจ )
7.ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
7.ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว ( ไม่ห้ามควบรวมหลังเลือกตั้ง )

รัฐธรรมนูญ 2550 ( แบ่งปันอำนาจคัดสรร/เลือกตั้งคนละครึ่ง)
8.วุฒิสภา จำนวน 150 คน แบ่งเป็นมาจากการสรรหา 74 คน และมาจากเลือกตั้ง 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี แต่ ส.ว.สรรหา จับสลากออกครึ่งหนึ่งทุก 3 ปี

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
8.วุฒิสภา จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี

รัฐธรรมนูญ 2550 ( ห้ามสภาผัวเมีย )
9.คุณสมบัติต้องมีและต้องห้ามของผู้สมัครหรือผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็นวุฒิสภา ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส บุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ส.ส., ไม่เป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคหรือเป็นหรือเคยเป็น ส.ส.แล้วพ้นจากตำแหน่งนั้นมาแล้วไม่เกิน 5 ปี  

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
9.ไม่มีบทบัญญัติต้องห้ามในเรื่องดังกล่าว ส่วนเรื่องเป็นหรือเคยเป็น ส.ส. กำหนดห้ามผู้ที่พ้นสภาพมาแล้วไม่เกิน 1 ปี  ( ไม่ห้ามสภาผัวเมีย )


รัฐธรรมนูญ 2550
10.เมื่อพ้นสภาพ ส.ว.มาแล้วไม่เกิน 2 ปี จะไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดไม่ได้

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
10.เมื่อพ้นสภาพ ส.ว.มาแล้วไม่เกิน 1 ปี จะไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดไม่ได้

รัฐธรรมนูญ 2550 ( อภิปรายนายกง่ายขึ้น )
11.การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ใช้เสียง 1 ใน 5 ส่วนรัฐมนตรีใช้เสียง 1 ใน 6
หากเสียงไม่ถึง ให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ ส.ส.พรรคที่ไม่มีรัฐมนตรีเมื่อรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินมาเกิน 2 ปี (มาตรา 160 )

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
11.การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ใช้เสียง 1 ใน 5 ส่วนรัฐมนตรีใช้เสียง 1 ใน 6


รัฐธรรมนูญ 2550 ( ส.ว. ยื่นญัตติง่ายขึ้น )
12.ส.ว. 1 ใน 3 เข้าชื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติรัฐบาลได้

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
12.ส.ว. 3 ใน 5 เข้าชื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติรัฐบาลได้

รัฐธรรมนูญ 2550 ( จำกัด 2 วาระนายกรัฐมนตรี )
13.นายกฯดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปี ไม่ได้ และ ส.ส.เป็นรัฐมนตรีได้

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
13.ไม่จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ส.ส.เป็นรัฐมนตรีไม่ได้

รัฐธรรมนูญ 2550 ( เพิ่มสิทธิ์ประชาชน )
14.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ ทั้งนี้ กมธ.วิสามัญเพื่อพิจารณากฎหมายนั้นต้องมีประชาชนที่เข้าชื่อ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการ ส่วนรัฐธรรมนูญให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน เข้าชื่อขอเสนอแก้ไขได้

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
14.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ แต่ไม่สามารถเข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

รัฐธรรมนูญ 2550 ( ประชาชนยื่นถอดถอนง่ายขึ้น )
15.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20,000 คน เข้าชื่อเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
15.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน เข้าชื่อเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง


รัฐธรรมนูญ 2550 ( เพิ่มสิทธิ์ประชาชน )
16.การทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง และต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
16.ไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว

รัฐธรรมนูญ 2550 ( เชื่อศาลมากกว่า ส.ว. )
17.การได้มาซึ่งองค์กรอิสระต่างๆ มีคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายศาลเสียส่วนใหญ่ รวมถึงประธานองค์กรอิสระ สรรหามาเท่าจำนวนที่มีแล้วให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ คณะกรรมการสรรหามีสิทธิยืนยันการสรรหานั้นได้

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
17.การได้มาซึ่งองค์กรอิสระต่างๆ ประกอบด้วยประธานศาล คณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ และผู้แทนพรรคการเมือง สรรหามา 2 เท่าของจำนวนที่มีได้แล้วให้วุฒิสภาเลือกให้เหลือเท่าจำนวนที่มี

รัฐธรรมนูญ 2550 (ใช้รัฐธรรมนูญฟ้องได้ )
18.บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรอง มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
18.ไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว


รัฐธรรมนูญ 2550 ( โทษโกงเลือกตั้งหนักขึ้น )
19.หากผู้รับสมัครรับเลือกตั้งทุจริตการเลือกตั้งและปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคจากเหตุดังกล่าว ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคนั้น 5 ปี

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
19.ไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว

รัฐธรรมนูญ 2550 (ให้อิสระกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น)
20.อัยการให้เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
20.ไม่ได้ให้องค์กรอัยการแยกออกมาเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550 ( นักการเมืองต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน)
21.บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
21.ให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี ต่อสาธารณะโดยไม่รวมถึง ส.ส.และ ส.ว.


รัฐธรรมนูญ 2550 (โปร่งใสทั้งตระกูล )
22.นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในบริษัท

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
22.ห้ามเฉพาะนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ไปถือหุ้นบริษัท

รัฐธรรมนูญ 2550 ( อย่าถามว่าจริยธรรมคืออะไร )
23.มีหมวดที่ว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
23.ไม่มีหมวดที่ว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ


รัฐธรรมนูญ 2550 ( การตรวจสอบดำเนินต่อไป )
24.บทเฉพาะกาล ให้ ป.ป.ช. กกต. ผู้ว่าการ สตง. อยู่ต่อไปจนครบวาระ
ส่วนมาตรา 309 รับรองการใดๆ ที่เกิดขึ้นและชอบตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 และหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ


ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ( การตรวจสอบสิ้นสุดลงทั้งหมด )
24.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมฯมาตรา 14 บัญญัติว่า บรรดาประกาศ คำสั่ง กฎ หรือการใดที่กระทำโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือสืบเนื่องจากประกาศ คำสั่ง กฎ หรือการดังกล่าว หรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ จุดนี้มีปัญหาว่า หลังจากร่างแก้ไขฯมีผลบังคับใช้ จะทำให้ กกต. ป.ป.ช. ผู้ว่าการ สตง. ซึ่งตั้งขึ้นตามประกาศ คปค. สิ้นสภาพทันที ขณะที่อาจทำให้การตรวจสอบที่ คตส.ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด ยกเลิกไปเลยหรือไม่

(ปรับปรุงจากข้อมูลมติชน)
เปรียบเทียบ รัฐธรรมนูญ 2550/2540

http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/committee0-upload/0-20070716145440_good%20point.pdf

www.ssr50.org

ข้อโต้แย้งของ สสร.50
ส.ส.ร.50ทำเอกสารแจก แจงความเสียหายถ้าแก้รธน.
วันที่ 20 พฤษภาคม 2551

ที่รัฐสภา ชมรมส.ส.ร.50 นำโดย นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 50 ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อประโยชน์ประชาชนและส่งเสริมการเมืองสุจริต และได้เสนอเอกสารวิชาการความยาว 10 หน้า ระบุถึงความเสียหายในการรีบเร่งแก้รัฐธรรมนูญ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540 เพราะที่ผ่านมา ฝ่ายที่เตรียมการแก้ไขเสนอสาระที่เบี่ยงเบนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้ประชาชนเข้าใจสาระคลาดเคลื่อน เอกสารดังกล่าวจึงจัดทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเผยแพร่สู่ประชาชนรวมทั้งช่องทางเวบไซด์ www.ssr50.org ด้วย หากส.ส.ฝ่ายรัฐบาลยื่นญัตติมาในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ชมรมจะวิเคราะห์ร่างของฝ่ายผู้เสนอว่า ซ่อนเร้นหรือแอบแฝงเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ และจะสรุปผลในการประชุมชมรมส.ส.ร.50 วันที่ 27 พ.ค.นี้ และนำเสนอต่อไป หากส.ส.ยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยมีผลประโยชน์แอบแฝง ก็จะหารือสมาชิกชมรม เพื่อดำเนินการถอดถอนต่ออัยการสูงสุดตามมาตรา 68 โดยมีเหตุตามมาตรา 122

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารวิชาการที่ระบุถึงความเสียหายในการรีบเร่งแก้รัฐธรรมนูญ ได้ให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศใช้เพียงไม่กี่เดือน และใช้ยังไม่ครบทุกมาตรา แต่กลับเร่งรีบเปลี่ยนแปลง พิจารณาแล้วมีเหตุจูงใจ เพื่อตัดตอนคดียุบพรรคการเมืองตามมาตรา 237 วรรคสอง และล้มล้างการดำเนินการตรวจสอบทุจริต พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยคตส.ตามมาตรา 309 ทั้งนี้ การจะนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาใช้แทน จะเป็นการกลบเกลื่อนเสียงวิจารณ์จากสังคม และมีผลลบล้างมาตรา 237 วรรคสอง และมาตรา 309 ไปในตัว นอกจากนี้ หากยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วกลับไปใช้ฉบับ 2540 จะเกิดความเสียหายมาก เพราะฉบับ 2540 ถูกพรรคการเมืองใช้อำนาจบิดเบือนทำลายจนตายไปแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเอกสารระบุว่า ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการนำรัฐธรรมนูญ 40 มาใช้ได้แก่

1.การเปิดโอกาสให้มีการผูกขาดอำนาจรัฐ ไม่โปร่งใส ไร้จริยธรรม เพราะจะตรวจสอบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียากขึ้น เนื่องจากต้องใช้เสียงส.ส.เข้าชื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจมากกว่าที่ฉบับ 2550 บัญญัติ

2.การยกเลิกมาตรา 237 วรรคสอง จะยิ่งทำให้การซื้อเสียงรุนแรงขึ้น เพราะไม่มีบทลงโทษเด็ดขาด และยังตัดตอนล้มคดียุบพรรค

3.เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองควบรวมพรรคหลังเลือกตั้งได้

4.ไม่มีหมวดที่ว่าด้วยจริยธรรมคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้ไม่สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

5.เปิดโอกาสให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคู่สมรสและบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถเป็นหุ้นส่วนหรือถือครองหุ้นบริษัทธุรกิจต่อไปได้ อาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตัว

6.เปิดโอกาสให้นักการเมืองและพรรคการเมืองครอบงำส.ว. เพราะมีการส่งลูกเมียไปลง ขณะที่ฉบับ 2550 เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและที่มาของส.ว.ให้เข้มข้นขึ้น

7.เปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระผานกระบวนการสรรหา เพราะระบบการสรรหาของฉบับ 2540 ไม่สามารถป้องกันการบล็อกโหวตได้

8.เปิดโอกาสให้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม จากการที่ไม่มีมาตรา 309 รองรับการตรวจสอบคดีทุจริตของคตส.

9.ลดทอนสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เพราะฉบับ 2550 ได้ลดจำนวนการเข้าชื่อถอดถอนหรือเสนอกฎหมายลงจากฉบับ 2540

10.กีดกันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ฉบับ 2540 ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการออกกฎหมายลูกรองรับสิทธิประโยชน์ของประชาชน ตัดสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน ไม่คุ้มครองผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน ตัดตอนสภาเกษตรกร เปิดโอกาสให้มีการทำสัญญาระหว่างประเทศที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมและเยียวยาจากผลกระทบ เปิดโอกาสให้กลุ่มทุนการเมืองฮุบสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และครอบงำแทรกแซงสื่อ ลดทอนสิทธิโอกาสของผู้ด้อยโอกาสในสังคม ตัดช่องทางในการคุ้มครองช่วยเหลือประชาชนเพราะชุมชนสูญเสียสิทธิฟ้องศาลในกรณีที่ชุมชนโดนละเมิดสิทธิ

ทั้งนี้ ชมรมส.ส.ร.50 มีข้อเสนอว่า หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อส่วนรวม โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม คดีความที่อยู่ในศาล ขัดต่อหลักนิติรัฐ และไม่ใช่การแก้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้ใด หรือของนักการเมือง พรรคการเมือง นายทุนพรรค และควรแก้เมื่อพบว่า บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติส่วนรวม และต้องไปถามประชาชนหลังจากมีการบังคับใช้ไปแล้วระยะหนึ่งว่า อะไรควรแก้หรือไม่ควรแก้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แต่ขณะนี้ควรชะลอการแก้ไขไว้ก่อนเพื่อภาคส่วนต่างๆในสังคมได้มีโอกาสทำหน้าที่แก้ไขปัญหาอันกระทบกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรงอย่างเต็มที่ โดยไม่ติดขัด หรือชะงักงันด้วยวิกฤตความขัดแย้งทางการ
 
http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/05/24/entry-1
บันทึกการเข้า
ตถาต
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24-05-2008, 18:46 »

รัฐธรรมนูญ 2550 ( ห้ามสภาผัวเมีย )
9.คุณสมบัติต้องมีและต้องห้ามของผู้สมัครหรือผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็นวุฒิสภา ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส บุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือ ส.ส., ไม่เป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคหรือเป็นหรือเคยเป็น ส.ส.แล้วพ้นจากตำแหน่งนั้นมาแล้วไม่เกิน 5 ปี 

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550
9.ไม่มีบทบัญญัติต้องห้ามในเรื่องดังกล่าว ส่วนเรื่องเป็นหรือเคยเป็น ส.ส. กำหนดห้ามผู้ที่พ้นสภาพมาแล้วไม่เกิน 1 ปี  ( ไม่ห้ามสภาผัวเมีย )

-------------------------
เฉพาะมาตราเรื่องนี้   สภา  ก็เน่าแล้ว  ทั้งสภา คงมีแต่พวก เดียวกันเอง

สภาล่าง สภาสูงพวกเดียวกัน ยิ่งกว่า  เผด็จการฮิตเลอร์ อีก  พวกสันดานแม้ว
บันทึกการเข้า
ตถาตา
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 24-05-2008, 20:15 »

ส.ว.สรรหา ถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน.

“ส.ว.สรรหา” ย้อนถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน. จวก ปัญหาปากท้องชาวบ้านรออยู่กลับไม่สนใจ “ชท.” ตัดหาง “พปช.” ไม่ร่วมสังฆกรรม

นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ว.เลือกตั้งจำนวนหนึ่งร่วมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของส.ว.เป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ เพียงแต่เห็นว่าขณะนี้ปัญหาบ้านเมืองรอให้ส.ว.แก้อยู่มากมายทั้งปัญหาปากท้อง และรายได้ของประชาชน ถ้าไม่มีอะไรทำก็ไม่ว่า แต่ขณะนี้มีหน้าที่เยอะแยะกลับไม่ไปทำ โดยเฉพาะส.ว.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปิดประชุมมากกว่าจะพิจารณาปัญหาของประชาชนที่รอคิวยาวเหยียด

“ผมรู้สึกผิดหวังกับบทบาทของทั้งสองสภา ที่มุ่งหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่ไม่ใช่วาระเร่งด่วนของชาติ ไม่จำเป็นต้องแก้ตอนนี้ ประชาชนรอให้แก้ปัญหามากมายกลับไม่สนใจ ในฐานะที่ผมได้สื่อสารกับคนไทยในสหรัฐฯมายาวนานขอบอกเลยว่าคนไทยในสหรัฐฯมองว่ารัฐบาลชุดนี้เหลวไหล ทำแต่สิ่งไร้สาระไม่สนใจปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจัง และผมจะนำพฤติกรรมของส.ส.และส.ว.ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปรายงานให้คนไทยที่นั่นได้ทราบเชื่อว่า”นายประสงค์ กล่าว

สำหรับประเด็นการยกเลิก ส.ว.สรรหานั้น นายประสงค์ กล่าวว่า เท่าที่พิจารณาการทำหน้าที่ส.ว.เลือกตั้งชุดนี้แล้ว เห็นว่าหากจะแก้รัฐธรรมนูญในส่วนส.ว.ควรจะให้มาจากสรรหาทั้งหมด เพื่อให้ส.ว.ทำหน้าที่เป็นกลางอย่างแท้จริง ที่อ้างว่าต้องการความชอบธรรมจากเสียงประชาชนนั้น ส.ส.สามารถทำหน้าที่เป็นผู้แทนได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเลือกส.ว.ขึ้นมาซ้ำซ้อนอีก

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ หนึ่งในส.ว.ที่ลงชื่อร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าว ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแต่มีแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่แสดงออกมาด้วยการลงชื่อ อีกทั้งการลงชื่อยื่นญัตติครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อการถูกถอดถอน ตามมาตรา 122 เพราะทุกอย่างเป็นไปตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ซึ่งมีขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วนอยู่แล้ว

ด้ านนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีส.ส.พรรคชาติไทยไม่ปรากฎรายชื่อการร่วมลงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ทราบตนไม่เห็นว่าพรรคพลังประชาชนมีการประสานมาให้ลงรายชื่อแก้ไข อีกทั้งเห็นว่าได้รายชื่อแก้ไขจาก ส.ว.ครบจำนวนแล้ว ก็คงไม่ต้องใช้เสียงของพรรคชาติไทยในการเข้าร่วมแก้รัฐธรรมนูญอีก

 ส.ว.สรรหา ถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน.

“ส.ว.สรรหา” ย้อนถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน. จวก ปัญหาปากท้องชาวบ้านรออยู่กลับไม่สนใจ “ชท.” ตัดหาง “พปช.” ไม่ร่วมสังฆกรรม

นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ว.เลือกตั้งจำนวนหนึ่งร่วมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของส.ว.เป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ เพียงแต่เห็นว่าขณะนี้ปัญหาบ้านเมืองรอให้ส.ว.แก้อยู่มากมายทั้งปัญหาปากท้อง และรายได้ของประชาชน ถ้าไม่มีอะไรทำก็ไม่ว่า แต่ขณะนี้มีหน้าที่เยอะแยะกลับไม่ไปทำ โดยเฉพาะส.ว.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปิดประชุมมากกว่าจะพิจารณาปัญหาของประชาชนที่รอคิวยาวเหยียด

“ผมรู้สึกผิดหวังกับบทบาทของทั้งสองสภา ที่มุ่งหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่ไม่ใช่วาระเร่งด่วนของชาติ ไม่จำเป็นต้องแก้ตอนนี้ ประชาชนรอให้แก้ปัญหามากมายกลับไม่สนใจ ในฐานะที่ผมได้สื่อสารกับคนไทยในสหรัฐฯมายาวนานขอบอกเลยว่าคนไทยในสหรัฐฯมองว่ารัฐบาลชุดนี้เหลวไหล ทำแต่สิ่งไร้สาระไม่สนใจปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจัง และผมจะนำพฤติกรรมของส.ส.และส.ว.ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปรายงานให้คนไทยที่นั่นได้ทราบเชื่อว่า”นายประสงค์ กล่าว

สำหรับประเด็นการยกเลิก ส.ว.สรรหานั้น นายประสงค์ กล่าวว่า เท่าที่พิจารณาการทำหน้าที่ส.ว.เลือกตั้งชุดนี้แล้ว เห็นว่าหากจะแก้รัฐธรรมนูญในส่วนส.ว.ควรจะให้มาจากสรรหาทั้งหมด เพื่อให้ส.ว.ทำหน้าที่เป็นกลางอย่างแท้จริง ที่อ้างว่าต้องการความชอบธรรมจากเสียงประชาชนนั้น ส.ส.สามารถทำหน้าที่เป็นผู้แทนได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเลือกส.ว.ขึ้นมาซ้ำซ้อนอีก

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ หนึ่งในส.ว.ที่ลงชื่อร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าว ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแต่มีแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่แสดงออกมาด้วยการลงชื่อ อีกทั้งการลงชื่อยื่นญัตติครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อการถูกถอดถอน ตามมาตรา 122 เพราะทุกอย่างเป็นไปตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ซึ่งมีขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วนอยู่แล้ว

ด้ านนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีส.ส.พรรคชาติไทยไม่ปรากฎรายชื่อการร่วมลงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ทราบตนไม่เห็นว่าพรรคพลังประชาชนมีการประสานมาให้ลงรายชื่อแก้ไข อีกทั้งเห็นว่าได้รายชื่อแก้ไขจาก ส.ว.ครบจำนวนแล้ว ก็คงไม่ต้องใช้เสียงของพรรคชาติไทยในการเข้าร่วมแก้รัฐธรรมนูญอีก

 ส.ว.สรรหา ถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน.

“ส.ว.สรรหา” ย้อนถาม สายเลือกตั้ง ไม่มีงานทำหรือ ถึงแก้ รธน. จวก ปัญหาปากท้องชาวบ้านรออยู่กลับไม่สนใจ “ชท.” ตัดหาง “พปช.” ไม่ร่วมสังฆกรรม

นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ว.เลือกตั้งจำนวนหนึ่งร่วมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของส.ว.เป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ เพียงแต่เห็นว่าขณะนี้ปัญหาบ้านเมืองรอให้ส.ว.แก้อยู่มากมายทั้งปัญหาปากท้อง และรายได้ของประชาชน ถ้าไม่มีอะไรทำก็ไม่ว่า แต่ขณะนี้มีหน้าที่เยอะแยะกลับไม่ไปทำ โดยเฉพาะส.ว.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปิดประชุมมากกว่าจะพิจารณาปัญหาของประชาชนที่รอคิวยาวเหยียด

“ผมรู้สึกผิดหวังกับบทบาทของทั้งสองสภา ที่มุ่งหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่ไม่ใช่วาระเร่งด่วนของชาติ ไม่จำเป็นต้องแก้ตอนนี้ ประชาชนรอให้แก้ปัญหามากมายกลับไม่สนใจ ในฐานะที่ผมได้สื่อสารกับคนไทยในสหรัฐฯมายาวนานขอบอกเลยว่าคนไทยในสหรัฐฯมองว่ารัฐบาลชุดนี้เหลวไหล ทำแต่สิ่งไร้สาระไม่สนใจปัญหาบ้านเมืองอย่างจริงจัง และผมจะนำพฤติกรรมของส.ส.และส.ว.ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปรายงานให้คนไทยที่นั่นได้ทราบเชื่อว่า”นายประสงค์ กล่าว

สำหรับประเด็นการยกเลิก ส.ว.สรรหานั้น นายประสงค์ กล่าวว่า เท่าที่พิจารณาการทำหน้าที่ส.ว.เลือกตั้งชุดนี้แล้ว เห็นว่าหากจะแก้รัฐธรรมนูญในส่วนส.ว.ควรจะให้มาจากสรรหาทั้งหมด เพื่อให้ส.ว.ทำหน้าที่เป็นกลางอย่างแท้จริง ที่อ้างว่าต้องการความชอบธรรมจากเสียงประชาชนนั้น ส.ส.สามารถทำหน้าที่เป็นผู้แทนได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเลือกส.ว.ขึ้นมาซ้ำซ้อนอีก

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ หนึ่งในส.ว.ที่ลงชื่อร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าว ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแต่มีแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่แสดงออกมาด้วยการลงชื่อ อีกทั้งการลงชื่อยื่นญัตติครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อการถูกถอดถอน ตามมาตรา 122 เพราะทุกอย่างเป็นไปตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ซึ่งมีขั้นตอนที่ถูกต้องครบถ้วนอยู่แล้ว

ด้ านนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีส.ส.พรรคชาติไทยไม่ปรากฎรายชื่อการร่วมลงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ทราบตนไม่เห็นว่าพรรคพลังประชาชนมีการประสานมาให้ลงรายชื่อแก้ไข อีกทั้งเห็นว่าได้รายชื่อแก้ไขจาก ส.ว.ครบจำนวนแล้ว ก็คงไม่ต้องใช้เสียงของพรรคชาติไทยในการเข้าร่วมแก้รัฐธรรมนูญอีก

 http://www.nationweekend.com/

นี่ขนาดมี สว เลือกตั้ง และแต่งตั้ง เข้าไปทำหน้าที่   ยังไปเป็นแม้วขายชาติ  ร่วมลงชื่อแก้ไข รธน

ถ้าขืนยอมให้มีสภา ผัวเมีย  ออก กม  เอื้อประโยชน์ พวกเดียวกัน  คนไทยคงต้องขุดรูอยู่ ไปเป็น คนรู แหงม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: