ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-09-2024, 00:16
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สมัคร กับ 6 ตุลาคม 2519 รวบรวมโดย ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สมัคร กับ 6 ตุลาคม 2519 รวบรวมโดย ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ  (อ่าน 3793 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 15-05-2008, 21:59 »

การเมือง: สมัคร กับ 6 ตุลา 2519



"ผมไม่ได้ยุ่งเกี่ยวใดๆ ทั้งปวงกับเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม ผมชอบสาบาน ดังนั้น หากผมเกี่ยวข้องขอให้ผมอย่ามีความเจริญในชีวิตนี้ นับแต่วันนี้ต่อไป นี่ครับ ชอบครับ ชอบสาบาน วันนี้มาสาบานในนี้อีก ที่สาบานวันนั้นมีพระด้วย เพราะมีเหตุผลที่ต้องสาบาน เพราะถูกกล่าวหาว่า ไปเดินเอาเกลือไปโรยข้างบน ชั้นสาม ซึ่งเป็นความเท็จ ผมเอาพระมาสาบานว่าผมไม่ได้โรยเกลือ เรื่องไม่เข้าท่าครับ แต่วันนี้ แหมดีจริงๆ ผมเดินออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่อย่างที่ท่านที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์บอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ล้มแล้วเลยถีบหัวออกมา ไม่ครับ ออกมาตั้งแต่พรรคยังดีๆ อยู่ ออกมาเพราะปฏิเสธไม่ต้องการเป็นรัฐมนตรี นี่เป็นความจริง และผมเป็นรัฐมนตรีนั้น เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม มีการเปลี่ยนแปลงคือ 6 ตุลา 6 ตุลานะครับ ผมเป็นรัฐมนตรีมหาดไท ผมไม่มีสถานะจะไปทำร้าย ทำอะไรใครยังไงได้เลย 14 ตุลาก็ไม่เคยเกี่ยข้อง 6 ตุลาก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง ถ้าผมเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยประการใดๆ ให้มีอันเป็นไปนับตั้งแต่วันนี้ครับ แต่ถ้าผมไม่เคยเกี่ยวเลย ขอให้นายสมัคร สุนทรเวช มีความเจริญรุ่งเรืองในทางการเมือง และในชีวิตทั้งหมด"


นายสมัคร สุนทรเวช การประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาล วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551




****************************************************


"อาจารย์ใจ อึ้งภากรณ์" ได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่มีความเกี่ยวพันกับ "นายสมัคร สุนทรเวช" ไว้บนเว็บไซต์ประชาไท เพื่อใช้ยืนยันข้อเท็จจริงบางประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ผมนำมาเสนอที่บล๊อกนี้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีใครเป็นพิเศษนะครับ แต่เห็นว่า เราควรจะเปิดโอกาสให้ความจริงได้บอกเล่าตัวมันเอง เพื่อที่จะได้นำไปสู่การสรุปบทเรียน และกำหนดก้าวย่างที่มั่นคงต่อไปของสังคมไทย หรือเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์แห่งความรุนแรงและการบิดเบือนกลับมาซ้ำรอยเดิม รวมถึงผมมีความเชื่อมั่นว่า การเลือกที่จะนำเสนอความจริงในกรณีนี้เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ ในทางตรงข้ามผมกลับเห็นว่า การที่เราไม่พูดความจริงกันต่างหากที่จะทำให้เราย่ำอยู่กับที่ และนำพาเอาสิ่งที่เลวร้ายให้ย้อนกลับมาใหม่ได้อยู่เสมอ

การเสียสละชีวิตของวีรชนคนหนุ่มสาวในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ จะไม่เป็นเรื่องที่สูญเปล่า หากเราเลือกที่จะเรียนรู้เหตุการณ์ในครั้งนั้นอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา ถ้าหากสามารถฝากอะไรไปถึง นายสมัคร สุนทรเวช ได้ ผมก็อยากจะฝากบอกกับท่านว่า "จะอย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอนะครับ และหวังว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์คงจะได้รับฟังท่านสาบานกลางสภาเมื่อวานนี้ด้วย"

ประวัติ สมัคร สุนทรเวช ฉบับบาดแผล : บทบาทในการช่วยให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 19

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ สื่ออื่นๆ และหนังสือวิชาการ
รวบรวมโดย ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ


ตลอดปี 2519 สมัคร สุนทรเวช มีส่วนในการปลุกระดมม็อบฝ่ายขวาให้เกลียดชังนักศึกษาและนักประชาธิปไตย มีส่วนในการสนับสนุนวิทยุยานเกราะซึ่งปลุกระดมให้คนฆ่านักศึกษา และมีส่วนในการสนับสนุนให้ถนอมและประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์ความรุนแรง

29 มิ.ย. “ยานเกราะเป็นศูนย์บัญชาการให้นักเรียนอาชีวะเผาธรรมศาสตร์ ยานเกราะและ สมัคร เป็นพวกเดียวกัน” ประชาชาติ (ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ในบทความ 6 ตุลา มองว่าเป็นพวกเดียวกันด้วย)

5 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจฝ่ายต่อต้านศูนย์นิสิตนักศึกษาขณะที่นิสิตนักศึกษาชุมนุมต่อต้านสหรัฐ” ดาวสยาม



"ศพที่นำมานอนเรียงกันที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"


1-7 ก.ค. “สมัครอ้างว่าโครงการบัณฑิตอาสาสมัครของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บัณฑิตปลุกระดมชาวบ้าน” สยามจดหมายเหตุ

6 ก.ค. “สมัครคัดค้านการให้งบโครงการบัณฑิตอาสาของดร.ป๋วย ‘เพราะใช้ปลุกระดมชาวบ้าน’ ” ประชาธิปไตย

8-14 ก.ค. “วิทยุยานเกราะบอกให้ทหารกับกระทิงแดงเตรียมขจัดนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ

“นายกเสนีย์ และปลัดกระทรวงกลาโหมเตือนตำหนิวิทยุยานเกราะ แต่สมัครยังเลือกออกอากาศทางสถานีนี้ และ สนิทกับพันโทอุทร”

10 ก.ค. “นายกเสนีย์ตำหนิวิทยุยานเกราะว่ายุให้แตกแยก” ประชาชาติ

11 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจกับประชาชนที่ชุมนุมสนับสนุนวิทยุยานเกราะ และชมวิทยุยานเกราะ/ พท. อุทาน .... สถานี มีประโยชน์เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนระบายความรู้สึกทางคลื่นวิทยุ ” ดาวสยาม

13-15 ก.ค. “สุธรรม แสงประทุม กล่าวหา สมัคร กับวิทยุยานเกราะว่า ก่อสถานการณ์ยั่วยุให้ปราบประชาชน”
“โคทม อารียา ประธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ยานเกราะ ยุให้ฆ่าฝ่ายตรงข้าม” อธิปัตย์

12-18 กค 19 “สมัครกล่าวว่าการที่นักศึกษาชุมนุมประท้วงการกลับมาของประภาสเท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย” สยามจดหมายเหตุ

23 ก.ค. “สมัครว่ามีคนไม่ปรารถนาดีที่มีอาวุธนับพันกระบอกเข้ามาในกรุงเทพฯ จากต่างแดนและค่ายอพยพ” ประชาชาติ

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปหาถนอมที่สิงคโปร์” “สมัครบอกว่าถนอมไม่ผิดข้อกล่าวหาฆ่าคนตาย เมื่อ 14 ตุลา” ดาวสยาม และ David Morell & Chai-anan Samudavanija 1981 “Political Conflict in Thailand”.Oelgeschlager, Gunn & Hain Publishers, Cambridge Massachusetts

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปปลอบใจถนอมที่สิงคโปร์ว่าโอกาสที่จะกลับไทยในอนาคตยังมี” ประชาชาติ “ส.ส. คนหนึ่งเสนอว่าการนำประภาสกลับเป็นแผนของพวก ขวาตกขอบ เพื่อปราบปรามฝ่ายซ้าย”



"ภาพการทำทารุณกรรมศพ"


15 ส.ค. ตีพิมพ์รูปสมัครกับลูกเสือชาวบ้านวังสราญรมย์ ดาวสยาม

18 ส.ค. “สมัครพูดออกโทรทัศน์เกินมติคณะรัฐมนตรี พูดทำนองห้ามนักศึกษาประท้วงการกลับมาของประภาส นายก เสนีย์ไม่เห็นด้วย นายกบอกว่ามีการวางแผนนำประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์” “สมัคร และ ส.ส. พรรคชาติไทย ไปหาประภาส” ประชาชาติ

20 ส.ค. “สมัครไปหาประภาส แล้วพูดออกโทรทัศน์มีท่าที ‘ปราม’ คนต่อต้านประภาส” ประชาชาติ

22 ส.ค. “ยานเกราะขัดคำสั่งรัฐบาลและโจมตีนักศึกษาที่ประท้วงประภาส และกระทิงแดงโยนระเบิดเข้าธรรมศาสตร์ ตาย 2 บาดเจ็บ 36” ประชาชาติ ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ยานเกราะออกข่าวเหมือนเป็นกองบัญชาการพวกที่บุกเผาธรรมศาสตร์ตอนประภาสกลับมา”

24 ส.ค. “รัฐบาลแถลงว่ามีคนชักนำประภาสเข้ามาเพื่อก่อเรื่อง” ประชาชาติ

26 ส.ค.-1 ก.ย. “สมัครว่ายานเกราะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง” สยามจดหมายเหตุ

27 ส.ค. “สมัครว่ายานเกราะทำงานเพื่อช่วยชาติ” ประชาธิปไตย

27 ส.ค. “สมัครยานเกราะไม่ควรถูกปิด ยานเกราะเป็นวิทยุดีต้านคอมมิวนิสต์” ประชาชาติ

27 ส.ค. “สมัครไปพูดกับม็อบหน้าสถานียานเกราะ:- หนุน พท. อุทรและยานเกราะ ถ้าห้ามยานเกราะบ้านเมืองจะฉิบ หาย” ชาวไทย

28 ส.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์ กล่าวหา ยานเกราะ ว่าเอาข้อมูลเท็จมาโจมตีตน” ประชาชาติ

29 ส.ค. “สมัครพูดว่ายานเกราะให้ประโยชน์แก่ปวงประชาในยามวิกฤต” ประชาธิปไตย



"ภาพการรุมทำร้ายนิสิตนักศึกษา"


2 ก.ย. “สมัครพูดว่ามือที่สามทำงานในรูปแบบนิสิตนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ 2-8 ก.ย.

6 ก.ย. “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ” ประชาธิปไตย

6 ก.ย. “สมัครพูดว่ารัฐบาลใช้นักศึกษาอาชีวะต่อต้านนักศึกษามหาวิทยาลัย” (ขณะนั้นเขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการที่ กระทรวงมหาดไทย) “สมัครว่าลูกเสือชาวบ้านและวิทยุยานเกราะ ชมรมวิทยุเสรี สร้างความสามัคคีในการต่อต้านคอมมิวนิสต์” ชาวไทย

6 ก.ย. สมัครพูดว่า “รัฐบาลใช้อาชีวะต่อต้านนักศึกษา” “ยานเกราะรู้เท่าทันพวกปลุกระดมให้มวลชนวุ่นวาย แต่คนหวังร้ายต้องการปิดสถานี” “ลูกเสือชาวบ้านช่วยให้ชาติอยู่รอด สมัครเป็นสมาชิกและวิทยากรให้ลูกเสือชาวบ้าน” ประชาชาติ

7 ก.ย. “สมัครพูดว่า 14 ตุลา 16 ไม่ให้ประโยชน์อะไรกับบ้านเมือง” สยามรัฐ

11 ก.ย. “สมัครมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีวะ กลุ่มขวาจัดชุมนุมที่ไหนสมัครไปที่นั้น” ประชาชาติ

13 ก.ย. “สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด” ประชาธิปไตย

15 ก.ย. “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด” ประชาธิปไตย

19 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ ยานเกราะแนะรัฐบาลให้ฆ่า นักศึกษา 30,000 คนเพื่อชาติ”

23 ก.ย. “สมัครบอกว่าเป็นรัฐมนตรีคนเดียวในพรรคประชาธิปัตย์ที่มีความเห็นว่าถนอมควรอยู่ในเมืองไทยต่อไป” Bangkok Post



"ภาพการเผาศพที่บริเวณท้องสนามหลวง"


23 ก.ย. “อาชีวะไล่ตีนักศึกษาที่ติดโปสเตอร์ต้านถนอม” สยามรัฐ

24 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “สมัครว่าถนอมมีประโยชน์ต่อ บ้านเมือง”

4 ต.ค. “อาชีวะ กระทิงแดง ประชาชน ต่อต้านนักศึกษาและสนับสนุนสมัคร” ดาวสยาม

4 ต.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์เตือนตำรวจอย่าหลงลมปากสมัคร” สยามรัฐ

4 ต.ค. “ตำรวจสนับสนุนสมัคร” ประชาธิปไตย

5 ต.ค. “คนที่ชุมนุมสนับสนุนสมัครกล่าวหาว่า สุรินทร์, ชวน, ดำรง และ วีระ เป็นคอมมิวนิสต์” สยามรัฐ

6 ต.ค. "ยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีโจมตีนักศึกษาและระดมให้มวลชนไปจัดการกับนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ ก่อนหน้านี้นายกเสนีย์ห้ามวิทยุสร้างความแตกแยก” ประชาธิปไตย

6 ต.ค. “ยานเกราะเรียกประชุมลูกเสือชาวบ้านด่วน กลุ่มรักชาติเรียกร้องให้จัดการกับนักศึกษาและ ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ดาวสยาม

6 ต.ค. “กลุ่มผู้รักชาติบุกทำเนียบร้องให้สมัครเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง” ไทยรัฐ

6 ต.ค. “วิทยุยานเกราะและสถานีในเครือข่ายออกอากาศเรียกร้องให้มีการ ‘ฆ่ามันฆ่ามัน!’ (นักศึกษา)” Bangkok Post

6 ต.ค. ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมที่ลานพระรูปทรงม้าเรียกร้องให้แต่งตั้ง สมัคร และ สมบุญ เป็นรัฐมนตรี” สยามจดหมายเหตุ

6 ต.ค. วิทยุยานเกราะสด “บ่าย 6 ตุลา 19 สล้าง บุญนาค -ตำรวจคนหนึ่งที่นำกำลังบุกธรรมศาสตร์ – อวดว่า “ได้ฆ่าคนสำเร็จและมองการทุบตีคนจนพูดไม่ออกว่าเป็นเรื่องตลก” (มีเทป และดู Nation 5/10/2539 ดร. ธงชัย วินิจจะกูล)


หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19

9 ต.ค. “สมัครคงจะได้ร่วมรัฐบาลหลังรัฐประหาร” “คณะปฏิรูปสั่งยึดเผาหนังสือ ซ้าย” สยามรัฐ

9 ต.ค. “วันที่ 6 ต.ค.ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้ปลด/จับรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์ และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดาวสยาม



"จารุพงษ์ ทองสินธุ์"


11 ตุลาคม 2519 เทป สมัคร สุนทรเวช พูดออกโทรทัศน์ช่อง 7

สมัครมองว่าหลัง 14 ตุลา 2516 เมืองไทยมีประชาธิปไตย “มากเกินไป”
สมัครได้รับเชิญไป “ปฏิรูปสื่อมวลชน” หลังการทำรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลา เขาเล่าว่าเขามีบทบาทในการตัดสินว่า น.ส.พ.“ฉบับไหนควรจะออก และฉบับไหนไม่ควรจะออก”
สมัครเสนอว่านักศึกษายิงออกมาจากธรรมศาสตร์ และเน้นว่า“ปฏิเสธไม่ได้” ดังนั้นการที่ตำรวจยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์มีความชอบธรรม วิธีการของฝ่ายยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลา เป็นวิธีการ “นุ่มนวล” ไม่รังแกใคร ไม่จับใครโดยไม่มีข้อหา แต่ในความ “นุ่มนวล” ดังกล่าวพร้อมจะใช้ความรุนแรงกับ “ผู้มิดีมิร้าย”
สมัครพูดต่อว่า 6 ตุลา “พิสูจน์” ว่านักศึกษาบางคนใช้ธรรมศาสตร์เพื่อสร้างความไม่พอใจกับคนไทยทุกคน และพวกนี้เป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์ โดยผู้บริหารสนับสนุนนักศึกษาเหล่านั้น

12 ต.ค. “สมัครพูดว่าทหารจำเป็นต้องยึดอำนาจ และอดีตรัฐมนตรีเช่นชวน และสุรินทร์เป็นผู้ก่อเหตุนองเลือดที่ ธรรมศาสตร์ ฝ่ายรัฐบาลมิได้กระทำต่อนักศึกษาเกินเหตุ” Bangkok Post

3 มี.ค. 2520 และ 6 ต.ค. 2520 สมัครในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยออกคำสั่งแบนหนังสือกว่า 200 เล่ม ในรายชื่อนั้นมีหนังสือของ ธีรยุทธ บุญมี, วิทยากร เชียงกูล, เสกสรร ประเสริฐกุล, ณรงค์ เพชรประเสริฐ, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ปรีดี พนมยงค์, สุภา ศิริมานนท์, ทวี หมื่นนิกร, จูเลียส ไนยาเร ฯลฯ

เทป ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์พูดที่ Australia ปี 2520 “สมัครตามผมไปแก้ภาพพจน์ 6 ตุลา ในต่างประเทศ เสมอ” “ผู้ที่ทำจลาจลในวันที่ 6 ตุลา 19 ต่อรัฐบาลที่มีความชอบธรรมตามกฎหมายคือพวกกระทิงแดงลูกเสือชาวบ้านที่เรียกร้องให้นำนักการเมืองสองคนมาเป็นรัฐมนตรี”

3 มิ.ย. 2520 “รัฐมนตรีมหาดไทยสมัครไปสหรัฐ/ยุโรปเพื่อแก้ภาพพจน์เมืองไทยหลัง 6 ตุลา” Nation Review

4 มิ.ย. 2520 ที่ฝรั่งเศส (ในหนังสือ วีระ มุสิกพงศ์ 2521 “โหงว นั้ง ปัง” สันติ์วานา ผู้พิมพ์) สมัครพูดว่า “นักศึกษามีอาวุธและยิงออกมาจากธรรมศาสตร์ คนที่ถูกเผาและคนที่เผาไม่ใช่คนไทยแต่เป็นคนเวียดนามเพราะ เข้าไปพบหมาย่างในธรรมศาสตร์หลังเหตการณ์”

ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช ได้เดินทางไปต่างประเทศ “เพื่อแก้ภาพเหตุนองเลือด 6 ตุลา” และได้พูดว่า: (เกี่ยวกับคนที่ถูกแขวนคอและเผาหน้าธรรมศาสตร์) “เข้าใจว่าเป็นคนเวียดนามเองที่ถูกฆ่าตาย” ตอนนี้เราทราบว่าคนหนึ่งที่ถูกแขวนคอตายและเผาคือ วิชิตชัย อมรกุล นิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมัคร สารภาพใน สยามรัฐรายสัปดาห์ 25 มิ.ย.-1ก.ค. 2543 ว่าโยนแฟ้มเอกสาร 6 ตุลาใส่ Peggy Duff ที่อังกฤษ เมื่อมีการถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา

Nation Review 19 ก.ค. 2520 “สมัครกลับจากยุโรป ไม่พอใจที่นักศึกษาไทยในอังกฤษประท้วงตน และบอกว่าจะสอบสวนนักศึกษาทุนรัฐบาลที่เข้าร่วม”

ประวัติ สมัคร สุนทรเวช ฉบับบาดแผล : บทบาทในการช่วยให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 19 อ้างจาก ประชาไท
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 http://www.2519.net/

 

Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2551 19:28:33 น.  

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=easywandering&month=02-2008&date=19&group=1&gblog=65
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-05-2008, 22:06 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: