ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 07:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดหลักสูตรวิชา โต้แย้ง ตอบโต้ หรือตอบคำถาม 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดหลักสูตรวิชา โต้แย้ง ตอบโต้ หรือตอบคำถาม  (อ่าน 3581 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 14-05-2008, 14:17 »

1. แนวคิดเรื่องการตอบคำถาม

ดิลลอน  กล่าวว่า การสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนโดยเฉพาะการสัมภาษณ์ข่าวที่มีนักการเมืองเป็นผู้ให้สัมภาษณ์มีการใช้คำถามและคำตอบที่มีลักษณะพิเศษคือผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์จะถามคำตอบจนกว่าจะได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจ และมักถามคำถามที่มีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของนักการเมือง ในขณะที่นักการเมืองมักหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม โดยเลือกตอบคำถามอื่นๆ ที่ตนเองสามารถตอบแทนได้แทน

ดิลลอนพบลักษณะการตอบคำถามที่น่าสนใจ 3 ลักษณะคือ

1. คำพูดที่ไม่ใช่คำตอบ (non responses) หมายถึงถ้อยคำในผลัดตอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำถาม เช่น การบ่น พูดแสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา ทั้งนี้ การนิ่งเฉยไม่พูดก็จัดได้ว่าเป็นการไม่ตอบคำถามเช่นเดียวกัน

2. คำตอบไม่ตรงประเด็น (non-answer responses) ในการสัมภาษณ์หรือการสนทนา มักพบว่าการตอบส่วนใหญ่ไม่ได้ให้คำตอบที่สนองต่อประเด็นคำถาม เป็นเพียงแค่การตอบคำถามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถามเท่านั้น ลักษณะคำตอบที่ไม่ตรงประเด็นคำถาม เช่น

2.1 การกล่าวขอโทษโดยอ้างว่าไม่มีความรู้ที่จะตอบได้ เช่น พูดว่า “ฉันไม่รู้” เป็นการบอกว่าผู้พูดไม่สามารถที่จะตอบหรือไม่มีความรู้เพียงพอที่จะให้คำตอบที่ตรงประเด็นกับคำถามหรือความต้องการอขงผู้ถามได้ คำตอบประเภทนี้อาจเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะตอบคำถาม เช่น การตอบคำถามในเรื่องส่วนตัวของผู้ถูกถาม

2.2 การพูดแบบหลีกเลี่ยงหรือการปฏิเสธไม่ยอมรับ ถือเป็นการตอบเพราะคำพูดที่พูดออกมามีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถามแต่ไม่ใช่คำตอบที่ตรงประเด็น โดยผู้ตอบอาจจะหลีกเลี่ยงโดยใช้คำพูดว่า “เป็นคำถามโง่ๆ” หรือการปฏิเสธที่จะตอบคำถามโดยพูดว่า “จะไปรู้ได้ยังไง”

3. คำตอบตรงประเด็น (answer responses) หมายถึงคำตอบที่เติมเต็มและให้ข้อมูลได้ตรงจุดกับความต้องการของผู้ถาม โดยลักษณะคำตอบที่ตรงประเด็น มีดังต่อไปนี้

3.1 คำตอบที่สรุปใจความสำคัญ (conclusive answer) คำตอบประเภทนี้คือคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ไม่สามารถที่จะตอบเป็นอย่างอื่นได้และขึ้นอยู่กับว่าผู้ถามเข้าใจคำตอบที่ได้รับหรือไม่

3.2 คำตอบสำคัญ (significant answer) คำตอบประเภทนี้มีคำตอบที่ถูกต้องได้หลายคำตอบ แต่ขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอและความรู้ของผู้ถามที่สามารถนำคำตอบไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับสถานการณ์ที่กำลังถามอยู่ในขณะนั้น เช่น

คำถาม: ร้านอาหาร Lutter and Wegner อยู่ที่ไหน?
คำตอบสำหรับคำถามนี้โดยทั่วไปก็จะตอบว่าอยู่ที่ประเทศเยอรมัน หากแต่ว่าคำถามนี้ถูกถามในสถานการณ์ที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

สถานการณ์ที่ 1 เมื่อผู้ถามอยู่ที่เมืองมิวนิค (Munich) คำตอบสำคัญควรเป็นอยู่ที่เมืองเบอร์ลิน
สถานการณ์ที่ 2 เมื่อผู้ถามอยู่ที่เมืองเบอร์ลิน คำตอบสำคัญก็ควรจะเป็นการบอกว่า อยู่ที่ถนน Scheuterstrass 55

จากตัวอย่างคำตอบของทั้ง 2 สถานการณ์ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด แต่คำตอบที่เป็นคำตอบสำคัญก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในการถามนั้น หากเราเอาคำตอบในสถานการณ์ที่ 2 ไปตอบคำถามในสถานการณ์ที่ 1 ผู้ถามก็ต้องสงสัยและไม่เข้าใจว่าถนนที่พูดถึงอยู่ที่ใด ก็ต้องมีการตั้งคำถามขึ้นมาอีก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการไม่ได้ให้คำตอบสำคัญแก่ผู้ถาม

3.3 คำตอบที่น่าสนใจ (Interesting answer) คำตอบที่น่าสนใจไม่ใช่เป็นคำตอบที่บอกในสิ่งที่ผู้ถามไม่รู้เท่านั้น แต่เป็นคำตอบที่แสดงให้ผู้ถามรู้ว่าสิ่งที่ผู้ถามรู้หรือเข้าใจอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ผิด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการแก้สมมติฐานเบื้องต้นหรือมูลบท (presupposition) ของผู้ถาม

3.4 คำตอบที่มีอิทธิพล (Influential answer) คือคำตอบที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อหรือศรัทธาเดิมของผู้ถามให้เป็นไปตามสิ่งที่ตนเองพูดออกมา

3.5 คำตอบที่ผิดพลาด (Fallible answer) บางครั้งคำตอบที่ตอบตรงประเด็นคำถามก็อาจจะเป็นคำตอบที่ผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน หากเรานึกถึงคำตอบของนักเรียนเล็กๆ ที่กระทำความผิด มักตอบคำถามด้วยการโกหกหรือให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หรือกรณีที่คนไข้ให้ข้อมูลแก่แพทย์ผู้รักษาไม่ครบเป็นเพราะขาดความรู้ หรือคิดว่าไม่จำเป็นต้องบอกอาการทั้งหมดให้แพทย์ทราบ

--------------------------------------------------------------------
  Dillon อ้างใน นิจจาภา วงษ์กระจ่าง นิจจาภา วงษ์กระจ่าง, 2545 กลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามของนักการเมืองไทย , ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
--------------------------------------------------------------------



2. กลวิธีการตอบคำถาม

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นชนิดของการตอบคำถามที่ดิลลอนกล่าวเอาไว้ นอกจากนี้ดิลลอนยังได้แยกแยะกลวิธีการตอบคำถามต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่ใช้โดยแบ่งได้เป็น 7 กลวิธี

1. การหลีกเลี่ยง (Evading) เป็นกลวิธีที่พบเห็นได้บ่อยมากในกรณีที่ผู้ตอบไม่ต้องการตอบคำถาม เช่น ผู้หญิงส่วนใหญ่มันจะเลี่ยงการตอบคำถามที่เกี่ยวกับอายุ นอกจากจะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่อยากตอบคำถามแล้ว ยังเป็นกลวิธีที่ใช้ในกรณีผู้ตอบไม่ต้องการพูด หรือแสดงความคิดอะไรที่จะเป็นการยอมรับหรือยืนยันบางสิ่งบางอย่างอย่างชัดเจน คำศัพท์ที่ใช้ในการพูดเพื่อหลีกเลี่ยงมักเป็นคำว่า คิดว่า คาดว่า จินตนาการว่า หรือในบางกรณีก็อาจมีการอ้างว่าขาดข้อมูลหรือมีข้อมูลไม่เพียงพอจึงไม่สามารถที่จะตอบคำถามได้

2. การโกหก (lying) เป็นกลวิธีที่ใช้ในการตอบคำถามของผู้ตอบที่ไม่เต็มใจจะตอบ ซึ่งการตอบโกหกนี้จะสัมฤทธิ์ผลก็ต่อเมื่อผู้ถามยอมรับคำตอบที่เป็นการโกหกนั้น กลวิธีการโกหกเกิดขึ้นได้บ่อยในการสนทนา โดยคนทั่วไปคนที่มีอำนาจมากก็จะใช้สิทธิในการถามและคนที่มีอำนาจน้อยกว่าก็มักใช้สิทธิในการโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ตอบคำถาม ดังนั้นคนที่ไม่ได้มีนิสัยเป็นคนโกหกก็สามารถที่จะโกหกได้หากว่าเขาไม่ต้องการตอบคำถาม บางครั้งการตอบแบบโกหกก็ขึ้นอยู่กับการตั้งคำถามของผู้ถามเช่นเดียวกัน หากว่าผู้ถามมีการใช้คำพูดที่เป็นอคติไม่ดีต่อผู้ตอบมากเกินไป ผู้ตอบก็มักใช้กลวิธีการโกหกในการตอบคำถาม

3. การตอบแบบถามมาตอบไป (Stonewalling) เป็นการตอบที่ตรงประเด็นคำถาม แต่คำตอบอาจไม่ได้สนองความต้องการของผู้ถามอย่างแท้จริง คือเป็นการถามหนึ่งอย่างตอบหนึ่งอย่าง เช่น ในการตอบคำถามของพยานในการพิพากษา พยานมักตอบคำถามที่ทนายถามเท่านั้น ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมากไปกว่าสิ่งที่ทนายต้องการจะรู้ แม้ตนเองจะมีข้อมูลอื่นที่เป็นประโยชน์ ปัญหาจึงตกอยู่ที่ผู้ถาม หากผู้ถามตั้งสมมติฐานในการถามคำถามผิด คำตอบที่ได้ก็จะผิดไปด้วยเช่นกัน

4. การตอบแบบให้ความร่วมมือ (Co-operating) เป็นการตอบที่นอกจากจะตรงประเด็นคำถามแล้วยังเป็นการให้คำตอบที่ถูกต้อง และให้ข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังแก้ไขข้อสมมติฐานของผู้ถามที่ผิดพลาดด้วย เช่น

คำถาม: นักเรียนคนไหนทีได้เกรดเอฟในวิชาภาษาศาสตร์ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1989
คำตอบ1: ไม่มี
คำตอบ2: รายวิชาภาษาศาสตร์ไม่ได้เปิดสอนในฤดูใบไม้ร่วง ปี 1989

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคำตอบแรกเป็นคำตอบที่ตรงประเด็นคำถามและถูกต้อง แต่ไม่ใช่เป็นคำตอบแบบให้ความร่วมมือ แต่คำตอบที่สองเป็นคำตอบที่ถูกต้องและให้ความร่วมมือ โดยบอกว่าไม่มีชั้นเรียนภาษาศาสตร์เปิดในฤดูใบไม้ผลิปี 1989

5. การตอบแบบไม่ให้ความร่วมมือและปกปิดข้อมูล (withholding and concealing) เป็นคำตอบที่ผู้ตอบไม่ได้เปิดเผยในสิ่งที่ตนเองรู้และยังปกปิดเอาไว้ ซึ่งการตอบแบบนี้จะพบได้บ่อยในการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ผู้ต้องสงสัยที่มีความผิดมักตอบคำถามแบบปกปิดความจริงเอาไว้ เพื่อไม่ให้ตำรวจตรวจสอบมาเอาผิดตนเองได้ หรือแม้แต่พยานที่เห็นเหตุการณ์ก็มักปกปิดข้อมูลหรือไม่ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลแก่ตำรวจ เพราะต้องการป้องกันตัวเองจากเหตุร้ายหรือปกปิดความผิดให้แก่ผู้กระทำผิด

6. การตอบที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเสียหาย (distorting) เป็นกลวิธีที่ให้คำตอบหรือข้อมูลที่ผิดพลาดแก่ผู้ถาม ซึ่งอาจจะเป็นการให้ข้อมูลมากหรือน้อยเกินไป ให้ข้อมูลผิดไปจากที่ตนเองรู้แต่ไม่ใช่การโกหก สาเหตุที่ผู้ตอบตอบคำถามในลักษณะนี้เนื่องจากผู้ตอบมีความรู้สึกมีอคติต่อสิ่งที่ผู้ถามถาม ซึ่งความรู้สึกอคติลำเอียงในความคิดเหล่านี้จะส่งผลต่อการให้คำตอบของผู้ตอบ ในกรณีนี้ ผู้ถามต้องพิจารณาคำตอบแบบนี้อย่างดีว่าเป็นคำตอบที่ให้ข้อมูลถูกต้องหรือไม่ เช่น การสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป เพื่อสำรวจความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ คำตอบที่ได้มานั้นอาจจะเกิดการผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ หากผู้ให้สัมภาษณ์มีอคติต่อเรื่องนั้น

7. คำตอบแบบคล้อยตาม (acquiescing) คำตอบลักษณะนี้เป็นการคล้อยตามผู้ถาม ไม่มีการแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง แต่คำตอบชนิดนี้ไม่ได้เป็นประเภทเดียวกับคำตอบแบบให้ความร่วมมือ เพราะในการให้คำตอบแบบให้ความร่วมมือ ผู้ตอบไม่ได้แสดงความเห็นด้วยต่อคำถามตลอดแต่มีการเสนอแก้ไขหากคำถามนั้นไม่ถูกต้อง การตอบคำถามแบบคล้อยตามมักแสดงด้วยการพูดว่า “ใช่” ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงที่ผู้ให้สัมภาษณ์คล้อยตามคำถามผู้ถามเนื่องจากประการแรกเพื่อเป็นการแก้ปัยหาเฉพาะหน้าที่ต้องการแสดงว่าตนเองเป็นผู้ร่วมสนทนาที่ดี ในการตอบคำถามตามที่ถูกถาม แต่หากว่าคำถามนั้นเป็นคำถามที่ผู้ตอบไม่มีความรู้หรือไม่เข้าใจ การพูดว่า “ไม่รู้” หรือแสดงความเห็นด้วยกับคำถามก็เป็นการหลบเลี่ยงการเยหน้าที่จะต้องตอบว่า “ไม่รู้ หรือ ไม่ทราบ” ประการที่สอง หากผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำถาม ผู้ให้สัมภาษณ์จะต้องถูกผู้สัมภาษณ์ถามคำถามที่แสดงความไม่เห็นด้วย และต้องบอกเหตุผลอย่างละเอียดถึงสาเหตุที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งหากผู้ให้สัมภาษณ์ให้เหตุผลได้ไม่ดีก็เป็นการเสี่ยงต่อการเสียหน้าเป็นอย่างมาก


3. การใช้ภาษาของนักการเมือง

โอเบง  อธิบายการใช้ภาษาของนักการเมืองในประเทศแอฟริกาใต้ ในบทความเรื่อง “Language and politicsซ indirectness in political discourse” โดยพบว่า ลักษณะภาษาที่นักการเมืองส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่ การพูดเสียดสี การพูดอ้อมค้อม การพูดอุปลักษณ์ การพูดหลบเลี่ยง และการพูดให้เป็นเรื่องตลก

1. การพูดเสียดสี คือการกล่าวเปรียบเปรยว่ากระทบกระทั่งหรือว่าเหน็บแนมอย่างไม่เจาะจง แต่เป็นเพียงการพาดพิงถึงผู้ร่วมสนทนาหรือบุคคลอื่น โดยส่วนใหญ่การพูดลักษณะนี้จะเกิดในรูปของการใช้อุปลักษณ์หรือสุภาษิตคำพังเพย ในการใช้อุปลักษณ์ผู้พูดอาจจะใช้มโนทัศน์หรือแนวความคิดจากประสบการณ์ที่พบเจอมาเปรียบเปรย และนักการเมืองมักใช้วิธีการพูดเสียดสีเพื่อต่อว่านักการเมืองฝ่ายตรงข้าม หรือผู้มีแนวคิดแตกต่างจากตนเอง

2. การพูดอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบแทนการพูดตรงๆ การใช้อุปลักษณ์เป็นกลวิธีการพูดโดยอ้อมเพื่อที่จะตำหนินักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

3. การพูดอ้อมค้อมวกวน เป็นกลวิธีหนึ่งของผู้ร่วมสนทนาที่จะลดการคุกคามหน้าของตนเองและผู้ร่วมสนทนา และเป็นการเลี่ยงการตอบคำถาม เป็นการสื่อความที่ไม่ตรงประเด็น ผู้ฟังต้องตีความว่าผู้ส่งสารต้องการสื่อสารอะไร อย่างไรก็ตาม การพูดอ้อมค้อนในบางวัฒนธรรม เช่น สังคมแอฟริกา ถือว่าเป็นศิลปการพูดที่ดี เป็นการพูดที่ถูกต้องตามมารยาทสังคม

4. การพูดให้เป็นเรื่องตลก เป็นกลวิธีในการลดการคุกคามหน้าอย่างหนึ่งโดยจัดเป็นกลวิธีความสุภาพเชิงบวก (Positive politeness strategy) การพูดเช่นนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เป็นการแสดงความรู้สึกว่าผู้พูดและผู้ฟังเป็นเสมือนคนในครอบครัวหรือเพื่อน

5. การพูดเลี่ยงประเด็น
โอแบง พบลักษณะการพูดเลี่ยงประเด็นในภาษานักการเมืองดังนี้

1)  การที่นักการเมืองซึ่งเป็นผู้ตอบคำถามไม่สนใจคำถามและเปิดประเด็นคำถามใหม่
2)  การเข้าใจคำถามแต่ไม่ยอมตอบคำถามและอาจมีการทวนคำถามซ้ำ
3)  การถามกลับ เป็นการถามคำถามกลับไปยังผู้ถามเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม

4)  การต่อว่าผู้ตั้งคำถามว่าไม่สมควรจะถามคำถามนี้ขึ้นมาเนื่องจากเป็นคำถามที่ไม่เหมาะสม
5)  การกล่าวขอโทษที่จะไม่ตอบคำถาม โดยบอกเหตุผลว่าทำไมไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้
6)  การปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยผู้ตอบคำถามจะกล่าวถึงหัวข้อเรื่องที่สนทนา
7)  การกล่าวคำตอบซ้ำจากคำถามก่อนหน้านี้เพื่อที่จะให้ออกนอกประเด็นไป


รายงานผลการศึกษา เรื่อง (วิ)วาทกรรมนายกฯสมัครกับสื่อ
http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=6935.0

ลอง ๆ ปรับใช้ในการตอบกระทู้ได้นะครับ...ตำรามาจาก เอกสารการศึกษา "วิวาทสมัครกับนักข่าว"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-05-2008, 14:45 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #1 เมื่อ: 14-05-2008, 14:23 »



การสื่อสารจะได้ผลดี นักข่าวต้องทำการบ้าน

จะอาศัยแต่เทคนิคคงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม

นายกฯไม่ใช่จำเลยที่ะต้องตอบทุกคำถาม ท่านมีสิทธิ์จะไม่ตอบได้
บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #2 เมื่อ: 14-05-2008, 14:24 »



สิ่งที่นักข่าวไม่ควรทำก็คือ

กล่าวหา ถามเสี้ยม และเอาคำพูดความคิดตัวเองยัดเยียดให้ตอบตามที่ต้องการ หรือไม่ตอบตามที่ต้องการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-05-2008, 14:32 โดย 999 » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14-05-2008, 14:29 »

การตั้งคำถามกับนักการเมือง มักจะใช้แบบให้ตอบ เพียง ใช่ หรือ ไม่ใช่

เพื่อไม่ต้องให้ตีความ


นักการเมืองก็มักใช้คำตอบว่า "คำถามยัดปากแบบนี้ผมไม่ตอบ" นั่นคือวิธีเลี่ยงการตอบคำถามอีกแบบหนึ่ง

ถ้านักการเมืองเขี้ยวลากดิน ต้อนไม่อยู่หรอกครับ
บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #4 เมื่อ: 14-05-2008, 14:34 »



ประวัติ พฤติกรรม และผลงาน จะเป็นเครื่องชี้ ที่นักการเมืองปฏิเสธได้ยาก

อธิบายสาธารณชนได้ยาก และจะพ่ายแพ้ภัยตนเองได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15-05-2008, 01:45 »

ถึงรู้ทันนักการเมือง

แต่ถ้าเจอนักการเมืองแบบหน้าด้านมาก ๆ

นักข่าวหรือประชาชนก็ได้แต่ส่ายหน้า

อย่างมากก็ได้แต่ ก่นด่า ประนาม ไปตามเรื่องตามราว

พอด่าไป กลับโดนสวน แบบไม่ได้คิดว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร อยู่ในฐานะอะไร

ไม่รู้หน้าที่ ไม่รู้สถานะตนเองก็ลำบากเหมือนกัน

รมต.บางคน ปากพร่ำแต่ประชาธิปไตย แต่ตัวเองมาโดยการแต่งตั้ง โดยไม่ผ่านการเลือกตั้งเยอะแยะ

เห็นแล้วสะอิดสะเอียนกับคนพวกนี้มากๆ ครับ


พอชนะเลือกตั้งกลับกลายเป็น"ฮุบประเทศ" คนอื่นหมดสิทธิ์ ไม่มีอำนาจไปดื้อ ๆ

มันเป็นประชาธิปไตยแบบไหนกัน
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: