ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-05-2025, 09:53
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทำไมรอง อสส. กล่าวหา คตส. 'เฮงซวย-ทุเรศ-คุณภาพต่ำ' จนถูกฟ้อง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
ทำไมรอง อสส. กล่าวหา คตส. 'เฮงซวย-ทุเรศ-คุณภาพต่ำ' จนถูกฟ้อง  (อ่าน 8447 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 16-05-2008, 09:28 »

ศาลฎีกา ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญตามคำขอของผู้ถูกร้อง

ก็ดีแล้วครับ จะได้ชัดเจน

คำตอบของประธาน คตส. ก็ชัดแล้ว...ไม่มีปัญหาครับ

ได้แค่ไหนก็ต้องแค่นั้น หากศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่าประเด็นต่ออายุไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ต้องตามนั้น

เพราะ สนช. หรือ คตส. พลาดเอง ที่มาขอต่ออายุหลังมีรัฐธรรมนูญแล้ว

จะโทษใครดีละครับ


คนที่คิดทำเรื่องนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เซียนกฎหมายทั้งนั้น

เรื่องฟ้องๆ ไป ก็อย่าเพิ่งแน่ใจว่า ศาลจะตัดสินยังไง พวกเราอาจผิดหวังก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #51 เมื่อ: 16-05-2008, 20:48 »

เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นครับลุง....

ผมเห็นอย่างไร ผม ก็ว่า ไปอย่างนั้น....


อ้างถึง
ฝ่ายจำเลย อ้างว่า น่าจะเป็นองค์กรใหม่..ซึ่ง อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญ ปี 50  ......ซึ่งมันเป็นความจริงที่ว่า มีการต่ออายุหลังประกาศใช้

รัฐธรรมนูญ ปี 50.....แต่บังเอิญ ทนายจำเลย ไปอ้างว่า "เป็นองค์กรใหม่ ".......

ผมเห็นว่า มันไม่น่าจะเป็นองค์กร ใหม่แต่อย่างใด...เพราะ คตส.ที่ได้รับการต่ออายุ มิได้รับพิจารณาคดีใหม่ไว้

เป็นการพิจารณาข้อกล่าวหาต่อเนื่องจาก การแต่งตั้งครั้งแรก....แล้ว ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนคณะกรรมการแต่อย่างใด

ยังใช้ กฏระเบียบ และ อำนาจเดิม ตรวจสอบข้อกล่าวหาต่อเนื่องจากเดิม ทุกประการ...อีกทั้งยังได้รับ

อนุมัติ จาก สนช. ซึ่งเปรียบเสมือน สภาผู้แทนราษฎร ทียังคงมีความชอบในการออก พรบ.ในสมัยนั้น


เนื่องจากยังคงรักษาการ เพื่อรอรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง.....


ผลออกมายังไงผมก็รับได้หมดครับ....เพราะผม เชื่อในความยุติธรรมของศาล.....


บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #52 เมื่อ: 17-05-2008, 02:23 »

เหตุที่มันยุ่ง
ไทยรัฐ[17 พ.ค. 51 - 17:15]
 
ดูเหมือนกระบวนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคดี “หวยบนดิน” ที่ คตส.สอบสวนและทำสำนวนเสร็จสรรพเพื่อส่งฟ้องผู้ร่วมกระทำผิดจำนวน 47 คน เรียกร้องโดนกันทั้ง ครม. และมีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวกับกองสลากฯทั้งหมด

พูดง่ายๆเริ่มจากหัวก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกฯในสมัยนั้น รัฐมนตรีอีกหลายคนและมาโผล่ในรัฐบาลชุดนี้ 3 คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นางอุไรวรรณ เทียนทอง และนายอนุรักษ์ จุรีมาศ

หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯรับฟ้อง 3 รัฐมนตรีก็ต้องถูก “พักงาน” ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้แต่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญฯ ตีความใน 2 ประเด็นก่อน

คือที่มาของ คตส. และการต่ออายุ คตส.ว่าถูกต้องหรือไม่?

ว่าที่จริงแล้วคดีหวยบนดินนั้นมีการสอบสวนกันจนเป็นเรื่องเอิกเกริก เพราะมีบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีจำนวนมาก โดยเฉพาะ ครม.ชุดนั้นทั้งคณะ และเจ้าหน้าที่อีกระนาว การพิจารณาเรื่องนี้มีประเด็นถกเถียงกันพอสมควร

โดยเฉพาะที่ว่า ครม.ทั้งคณะและเจ้าหน้าที่บางส่วนไม่ควรต้องรับผิดด้วย แต่เมื่อการพิจารณากันในรายละเอียด ปรากฏว่า คตส.มีมติเห็นพ้องให้ส่งฟ้องทั้ง 47 คน

แต่เมื่อยื่นเรื่องไปที่อัยการซึ่งจะต้องพิจารณาสำนวนฟ้อง ปรากฏว่า อัยการส่งเรื่องกลับให้สอบสวนเพิ่มเติมก็เลยเกิดปัญหา เพราะ คตส.ยืนยันว่าสำนวนสอบสมบูรณ์พร้อม ไม่มีข้อบกพร่องแล้วและอัยการก็ไม่ได้ชี้ช่องว่ามันไม่สมบูรณ์ตรงไหน

ก็เลยยืนยันกลับไปอีก ปรากฏว่า อัยการก็ยังไม่ส่งฟ้องระบุว่ายังไม่มีการสอบเพิ่มเติม เรียกว่า 2 หน่วยงานเปิดศึกกันเลยทีเดียว และสำนวนฟ้องคดีอื่นๆก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การเลือกตั้งเสร็จมีรัฐบาลใหม่

คตส.พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อัยการเปลี่ยนไป”

เมื่ออัยการไม่ยอมส่งฟ้อง คตส. จึงดำเนินการฟ้องร้องเองตามอำนาจที่มีอยู่ มีการตั้งทีมทนายเอง ซึ่งอัยการแย้งทำนองว่าไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ คตส.ยืนยันว่ามีอำนาจ

เมื่อ คตส.ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯเอง ปรากฏว่า ศาลฯยังไม่รับฟ้อง แต่ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความใน 2 ประเด็นก่อนฃ

1. ที่มาของ คตส.นั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2. การต่ออายุ คตส.ออกไปนั้นถูกต้องหรือไม่

ซึ่งการพิจารณาใน 2 ประเด็นนี้มีความหมายต่อ คตส. และคดีที่มีการดำเนินการอยู่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคดีหวยบนดิน ซีทีเอ็กซ์ กล้ายาง ที่ดินรัชดา หรือคดีทั้งหมดที่ คตส.ดำเนินการมา ไม่ใช่แค่คดีหวยบนดินเท่านั้น

หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ออกมาว่าทั้ง 2 ประเด็นที่ให้ตีความนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็จบกันเลยครับ...ทุกคดีที่ คตส.พิจารณาเพราะเท่ากับว่า คตส.เป็นองค์กรเถื่อน ไม่มีกฎหมายรองรับและไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปดำเนินคดีได้

ดีไม่ดี คตส.เองจะถูกเล่นงานกลับได้

และทุกคดีที่มีการพิจารณาถือ “หลุดหมด” และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.309 แต่อย่างใด เพราะหากผลออกมาอย่างนี้ทุกคดีก็จบกันไปแล้ว ทรัพย์สิน 73,000 ล้านต้องคืนเจ้าของ

ก็คงจะอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความออกมาอย่างไร ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 9 ท่าน ที่เพิ่งจะได้รับการแต่งตั้งใหม่สดๆซิงๆ

ซึ่งหลังจากดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆแล้ว คงจะเข้าปฏิบัติหน้าที่และประเดิมเรื่องแรกที่จะทำให้ชี้ถึงอนาคตของประเทศนี้ได้

เพราะนี่คือเหตุจริงๆที่ทำให้เมืองไทยยุ่งอยู่ทุกวันนี้.

"สายล่อฟ้า"

*****************
 
 
บทความนี้สรุปได้ค่อนข้างดี

เมื่อคืนดูรายการ "ตอบโจทย์" ทางไทยพีบีเอสไม่ทัน แต่มาได้ชมตอนจบ

อาจารย์ท่านหนึ่ง วิเคราะห์ว่า คตส. มีปัญหาทางด้านบริหาร

คดี 13 คดี กวาดมาทำหมด กำลังไม่พอ เลยสรุปส่งฟ้องได้ยาก

หากรวมพลังไล่เรียงทำซัก 4-5 คดี เอาที่เจ๋ง ๆ แล้วรีบส่งฟ้องยังมีโอกาสดีกว่านี้

เพราะก่อนมีรัฐธรรมนูญใหม่ อัยการสูงสุดยอมรับ คตส. ค่อนข้างมาก
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 17-05-2008, 07:12 »

ผบ.สส.ยอมรับตั้ง คตส.ล้มเหลวเช็คบิลไม่สำเร็จเสียเวลาทุ่มเทถ้าเรื่องหลุดไปต้องทำใจ
มติชน วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 เวลา 20:14:52 น.

ผบ.สส.ยอมรับการตั้ง คตส.เพื่อเช็คบิลนักการเมืองล้มเหลว เสียเวลา-เสียแรงทุ่มเทหากเรื่องหลุดจริงๆคงทำอะไรไม่ได้นอกจากทำใจ ยันทุกคนต่างทำเพื่อชาติและพยายามที่สุดแล้ว 'อุดม' ยืนกรานทำหน้าที่ต่อแจงไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเจาะจงเล่นงานใครเหน็บ อสส.'ไม่ได้นำพา'

กรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ในคดีการทุจริตโครงการสลากพิเศษ 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยบนดิน ส่งข้อโต้แย้งของจำเลยในคดีนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 และการต่ออายุการทำงานของ คตส.ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลฎีกายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความถึงที่มาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า  ตนได้ข่าวมาอย่างนั้น แต่ไม่ได้รู้สึกอะไรลึกซึ้ง ถึงเราจะเป็นห่วง แต่ถ้าเป็นไปตามกฎหมายก็ช่วยอะไรไม่ได้ ช่วงนี้ถือเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน หากเปลี่ยนผ่านไม่ดี ไม่รู้จักใช้เครื่องมือให้ดีหรือไม่รู้ทันกันอาจจะส่งผลเสียได้ หากเราไม่ใช้หลักตามกฎหมายคงต้องใช้หลายๆอย่างเพื่อชี้แจง คนจะบอกว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมันก็ยุ่ง ตอนนี้เกิดความสับสนในสังคมไทย จะเอาตามกฎหมาย100 เปอร์เซ็นต์ หรือจะเอาตามความรู้สึก หากเอาตามความรู้สึกก็ต่างคนต่างรู้สึก คนละแบบ หากเอาตามกฎหมายบางคนก็บอกว่ากฎหมายยังไม่ดี  นี่คือความสับสนในการเปลี่ยนผ่าน

เมื่อถามว่า แสดงว่าการที่คมช.จัดตั้งคตส. ขึ้นมาถือว่า ประสบความล้มเหลวในการเอาผิดนักการเมืองในคดีต่างๆใช่หรือไม่  พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ในแง่หนึ่งพูดเช่นนั้นได้ แต่ไม่ควรพูดเช่นนั้น เพราะพูดไป เขาไม่สบายใจ แต่เราถือว่าต่างคนต่างพยายามทำให้ประเทศชาติดี ถึงแม้บางอย่างอาจไม่สมบูรณ์ก็ถนอมน้ำใจกันไว้ อย่าไปโทษใคร ควรมองว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไรดีกว่า และจะแก้ไขอย่างไรให้ได้ผลอย่างที่ต้องการ

เมื่อถามว่า การทำงานของคตส.ที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะเอาผิดนักการเมืองหลายๆคนได้ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง ทั้งทางกฎหมาย และเรื่องอื่น ๆ ที่มีปัญหา เป็นเรื่องที่มันลึกเกินกว่าอาชีพทหารที่จะอธิบายได้ เมื่อถามว่า การที่ คมช. ตั้ง คตส.ขึ้นมาก็ถือว่าไม่มีประโยชน์ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ปัญหาซับซ้อน กติกาต่าง ๆ บ้านเมืองเข้าสู่ยุคใหม่ กฎหมายจะต้องเป็นหลักความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย

เมื่อถามว่า กรรมการ คตส.จะรู้สึกเสียใจหรือไม่หากมีการยุบคตส. พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า คิดว่าคงไม่เสียใจอย่างเดียว แต่เสียแรงไปมาก เสียเวลาทุ่มเท แต่ถ้าเรื่องหลุดไปจริงๆ ถึงอยากช่วยก็ช่วยไม่ได้ ซึ่งท่านเองก็คงจะทำใจ และคิดว่าทุกคนคงพยายามสุดความสามารถแล้ว เพราะเรื่องสมัยนี้บางทีมันซับซ้อน

เมื่อถามว่า คตส.เหมือนกับถูกคมช.ลอยแพหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไร บางคนก็บอกว่าถูกลอยแพ บางคนว่าถูกตัดหางปล่อยวัด  เมื่อถามว่า หากยุบคตส.ปัญหาต่างๆจะเกิดขึ้นหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องจะต้องชี้แจงประชาชนให้เข้าใจว่า ไม่มีเจตนาร้าย ทั้งนี้อาจมีคนพอใจและไม่พอใจ แต่คนไม่พอใจต้องชี้แจงให้คนเข้าใจ แต่ในที่สุดคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ไม่อย่างนั้นเราจะแพ้เกมการปรับตัวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ กลายเป็นพวกไม่รู้เกม ไม่รู้เรื่อง ทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วต้องมาตีกันเองเหมือน ไก่ตรุษจีนที่อยู่ในเข่ง  เหตุการณ์รอบตัวก็แย่อยู่แล้วไม่ควรจะมาตีกันเอง
 
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการ คตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดี หวยบนดิน กล่าวถึงกรณีที่นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด (รอง อสส.) เสนอให้ คตส.หยุดทำหน้าที่เพื่อรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสถานะของ คตส.ว่า ต้องถามว่านายวัยวุฒิมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีคนพูดเยอะ ยุ่งไปหมด ต้องถามว่าพูดในฐานะเนติบริกรให้คนหนึ่งคนใดหรือไม่ หรือพูดให้เกิดความกระจ่างแก่สังคม ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการพูดในฐานะนักวิชาการ คตส.ก็ไม่ฟัง หรือพูดเอาใจใคร ก็ไม่ฟังเช่นกัน ส่วนตัวเห็นว่า ความเห็นเรื่องนี้ไม่มีคุณค่าพอที่จะฟัง ส่วนการทำงานของ คตส. ยืนยันว่าจะทำงานตามวาระต่อไป

'สมมุติว่าพนักงานสอบสวนกล่าวหาคนใดคนหนึ่งทำทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องรอให้ศาลพิจารณาพิพากษาก่อน ไม่ได้จับเข้าคุกทันที การที่ออกมาพูดให้หยุดถือว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ พูดปกป้องใครหรือเปล่า ออกมาพูดแบบนี้ทำให้สังคมเกิดความรำคาญ ที่คนไม่เกี่ยวข้องมาแทรกแซง เขาไม่ได้มีหน้าที่ตรงนี้ คนลักษณะนี้ พูดแล้วเกิดประโยชน์อะไรหรือเปล่า' นายอุดมกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้จะถือเป็นการตอกย้ำรอยร้าวระหว่าง คตส.กับอัยการหรือไม่ นายอุดมกล่าวว่า 'เรื่องนี้ต้องดูว่าตัวคนพูดมีคุณค่าอะไรหรือไม่ เพราะอัยการที่มีมาตรฐานก็มีเยอะ แต่บางคนก็ไม่ได้นำพา ไม่อยากสนใจ ไม่อยากเกี่ยวข้อง'

นายอุดมยังกล่าวถึงการที่นายวัยวุฒิระบุว่า คตส.ไม่สามารถแยกฟ้องคดีซีทีเอ็กซ์ ในส่วนของนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุดได้ว่า เป็นเรื่องที่นายวัยวุฒิจะแสดงความเห็นไป แต่กฎหมายเขียนไว้ว่าหากผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยื่นฟ้องคดีเองได้ คตส.มีอำนาจ ป.ป.ช.จึงสามารถฟ้องเองได้ ส่วนที่บอกว่านายชัยเกษมเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ในขณะเป็นกรรมการบริหาร บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) มีตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุด แต่ขณะนี้เป็นอัยการสูงสุดก็ไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างว่ามีความทำความผิด ในช่วงที่เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตอนหลังมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องเอาผิดในฐานะเป็นผู้ว่าฯได้

นายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการ คตส. กล่าวว่า การเสนอให้ คตส.หยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะนั้น ต้องดูที่หลักการของกฎหมายเป็นหลัก เพราะกฎหมายไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ประกาศ คปค. แต่ตราบเท่าที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ต้องถือว่ากฎหมายบังคับใช้ได้ ดังนั้น เมื่อยังไม่มีการวินิจฉัยออกมา หาก คตส.หยุดทำหน้าที่ก็เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

'ไม่รู้ว่าคนที่ออกมาพูดเรื่องนี้เป็นใคร แต่ไม่แน่ใจว่าเขาทราบหลักกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างถ้ามีการส่งเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ให้ศาลวินิจฉัย และในระหว่างที่รอการวินิจฉัย กกต.หยุดทำหน้าที่แบบนี้บ้านเมืองไม่เจ๊งหรือ คตส.ยืนยันว่าจะหน้าที่ต่อไป จุดยืนเหมือนเดิม คือจะไม่มีการหยุดทำหน้าที่ ทุกคดีที่เราต้องฟ้องเอง ไม่ว่าจะเป็นกล้ายาง หรือเอ็กซิมแบงก์ เราก็จะยื่นเรื่องฟ้องร้องเอง' นายบรรเจิดกล่าว

นายบรรเจิดกล่าวว่า ส่วนการยื่นเรื่องฟ้องคดีซีทีเอ็กซ์ หากฝ่ายอัยการจะคิดว่าไม่สามารถแยกเรื่องฟ้องได้ ก็ไม่เป็นไร เอาไว้รอให้เรื่องถูกส่งถึงอัยการก่อน และอัยการจะตัดสินใจอย่างไรก็เป็นเรื่องของอัยการ แต่ คตส.ยืนยันว่าจะส่งเรื่องไปตามมติเดิม คือ แยกฟ้องนายชัยเกษม เพราะหากจะให้คนที่ถูกฟ้องสั่งฟ้องตัวเอง ตามหลักกฎหมายคงไม่สามารถทำได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว หวั่นไหวบ้างหรือไม่ นายบรรเจิดกล่าวว่า 'สำหรับ คตส. เมื่อมันมีลมหายใจมาถึงช่วงสุดท้ายแล้ว ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมาเราก็ไม่เคยหวั่นไหวอะไร แล้วนับประสาอะไรจะต้องมาหวั่นไหวในช่วงสุดท้ายของอายุงานที่เหลือเพียงเดือนกว่านี้'

ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 50 กล่าวว่า ที่จำเลยคดีหวยบนดินโต้แย้งอำนาจของ คตส.ถือเป็นการใช้สิทธิของจำเลย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดรัฐธรรมนูญให้ศาลส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมาย และใครเป็นจำเลยก็ต้องต่อสู้ทุกประเด็นอยู่แล้ว ทั้งนี้ ที่จำเลยอ้างมาตรา 29 เรื่องกฎหมายต้องใช้บังคับทั่วไป ไม่มุ่งหมายใช้เฉพาะบุคคลใดหรือกรณีใดกรณีหนึ่ง และการต่ออายุ คตส. ขณะที่มีองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ 2550 อยู่แล้ว ถือว่ามีเหตุผลที่จะยกขึ้นมาได้ เพราะเมื่อประกาศ คปค.มีศักดิ์เท่า พ.ร.บ. และการขยายเวลาการทำงานของ คตส.ทำโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าเรื่องดังกล่าวไปขัดรัฐธรรมนูญก็โต้แย้งได้ 

นายเสรีกล่าวว่า ส่วนรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 คงไม่ได้ใช้โดยตรง เพียงแต่รับรองการกระทำที่ชอบตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ต่อมาถึงฉบับ 2550 แต่การใดไม่ชอบก็มีสิทธิใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญโต้แย้งได้ เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญคงรับพิจารณาและมีคำวินิจฉัยออกมา โดยศาลรัฐธรรมนูญจะดูข้ออ้าง ข้อโต้แย้ง และรัฐธรรมนูญอย่างละเอียด ผลการวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็ต้องยอมรับและไม่ต้องกังวล เพราะเราต้องเชื่อองค์กรตัดสิน อย่างไรก็ดี ที่มีการเปรียบเทียบ คตส.ชุดปัจจุบัน กับ คตส.สมัย รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) เรื่องนี้มีความต่างกันชัดเจน เพราะ คตส.ชุดปัจจุบันมีมาตรา 309 และมีมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการขยายเวลาการทำงานมารองรับ แต่ คตส.ในอดีตไม่มี   

ด้านนายสุจิต บุญบงการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ที่จำเลยอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ที่บัญญัติว่า กฎหมายต้องมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจงนั้น ตนมองว่า คตส.ตั้งขึ้นมาโดยมีเจตนารมณ์ไม่ได้มุ่งหมายเฉพาะจะเล่นงานใคร เพียงแต่คนไปเข้าใจกันว่า จะเล่นงานระบอบเก่า ทั้งนี้ ในมาตรา 29 ที่ใช้คำว่า 'เป็นการเจาะจง' หมายถึงการเฉพาะเจาะจงที่ชัดเจน แต่ คตส.ไม่ได้เจาะจงถึงขนาดนั้น แต่ฝ่ายจำเลยก็สามารถใช้สิทธิสู้คดีได้ก็เป็นเรื่องปกติ

นายสุจิตกล่าวว่า ส่วนประเด็นที่ สนช.มี พ.ร.บ.ขยายเวลาการทำงานของ คตส. แต่จำเลยอ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศใช้แล้วและมีองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว คตส.จึงมีสถานะมิชอบ เรื่องนี้มองว่า สนช.ไม่ได้ต่ออายุให้ คตส. แต่ให้สิ่งที่ คตส.ตรวจสอบอยู่ ซึ่งใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ต่อมาถึงฉบับ 2550 ให้ตรวจสอบให้เสร็จ และไม่ให้เอาของใหม่มาทำ ตรรกะคือเมื่อ คตส.ทำแล้ว และรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ก็ให้ คตส.ทำต่อไปได้ สนช.ก็ออกกฎหมายให้ทำต่อให้เสร็จแต่มีระยะเวลาที่พอสมควรคือเดือนมิถุนายน 2551 และไม่ได้ตรวจสอบเรื่องใหม่ ฉะนั้นก็น่าจะมีความชอบธรรม 'นอกจากนี้ คตส.มีอำนาจสอบสวนและดำเนินการฟ้องร้อง แต่ไม่ได้ตัดสินว่าใครผิดหรือถูก ถ้ามีอำนาจตัดสินว่าใครผิดหรือถูก อันนี้น่าคิดว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ แต่การต่อสู้คดีสามารถทำได้ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย อย่างไรก็ดี มีประเด็นน่าคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับพิจารณาหรือไม่ ถ้าคำร้องของศาลฎีกาฯใช้คำในลักษณะไม่แน่ใจ และมีลักษณะการปรึกษากฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจไม่รับ แต่ถ้าศาลฎีกาฯใช้คำในลักษณะไม่รับฟ้องแล้วส่งไปศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะรับไว้พิจารณาได้' นายสุจิตกล่าว
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #54 เมื่อ: 17-05-2008, 12:51 »

อ้างถึง

พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ ส่งสัญญาณ "ให้อภัยเพื่อชาติ"
 
12 มกราคม พ.ศ. 2551 23:12:00

 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

16 เดือนหลังการรัฐประหาร พรรคพลังประชาชนซึ่งมีรากฐานมาจากพรรคไทยรักไทยเดิมที่ถูกโค่นอำนาจไป กำลังจะกลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง จากชัยชนะอันท่วมท้นในสนามเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550

16 เดือนนับจากวันที่ 19 กันยายน 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกยึดอำนาจ ส่ง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เดินทางกลับประเทศไทย ท่ามกลางกระแสข่าวการติดต่อ "ขอเคลียร์" กับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง

15 เดือนภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สังคมไทยยิ่งแบ่งเป็น "2 นครา" มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เลือกตั้งผ่านมาแล้ว 20 วัน กกต.ยังประกาศผลเลือกตั้งได้ไม่สะเด็ดน้ำ กลุ่มพลังมวลชนเริ่มออกมาเคลื่อนไหวกดดัน การเมืองไทยยังคงตกอยู่ในภาวะอึมครึมไม่สิ้นสุด คำถามก็คือการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สูญเปล่าใช่หรือไม่ 15 เดือนของรัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมาเลยหรือ และการเมืองไทยกำลังเดินไปสู่จุดแตกหักระหว่าง "2 นครา" อีกครั้งหนึ่งหรือเปล่า?

เหล่านี้คือคำถามที่เชื่อว่าตรงกับใจของคนไทยจำนวนไม่น้อย...

พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์พิเศษ "กรุงเทพธุรกิจ" และตอบทุกคำถามเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา ทั้งในฐานะรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล รัฐมนตรีที่กำกับดูแลกองทัพ และยังสนิทสนมชนิด "มองตาก็รู้ใจ" กับนายกรัฐมนตรี!

O หนึ่งปีเศษๆ ของรัฐบาลถือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะหลายฝ่ายวิจารณ์กันมากว่ารัฐบาลเกียร์ว่าง ไม่มีผลงาน

ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งและทำหน้าที่ร่วม 15 เดือน วาระสำคัญของชาติที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนและรัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้นก็คือ 1.ปัญหาชายแดนภาคใต้ 2.ปัญหาความแตกสามัคคี และ 3.ปัญหาภัยพิบัติ คืออุทกภัย

ในส่วนของกระทรวงกลาโหมก็ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภัยพิบัติ ซึ่งเราก็ทำอย่างเต็มที่ ส่วนงานปกติก็ต้องเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมที่มีการดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว ก็มาเสร็จในช่วงรัฐบาลนี้ รวมถึงเรื่องการปรับกองทัพให้ทันสมัย เพราะที่ผ่านมา 10 ปีไม่ได้มีการพัฒนาเลย เราจึงปรับปรุงให้มีขีดความสามารถ ให้มีความพร้อมรบมากขึ้น

หมวกอีกใบหนึ่งในฐานะที่ผมเป็นรัฐมนตรีกลาโหม และต้องเข้าไปรับผิดชอบก็คือ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งกองทัพได้เข้าไปมีส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปราบปรามทั่วไป และการสกัดกั้นตามแนวชายแดน

O ปัญหาความแตกแยกในกองทัพ สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เราก็พยายามสร้างความปรองดองและความเป็นปึกแผ่นให้กองทัพ เพราะที่ผ่านมาการเมืองเข้ามาแทรกแซงกองทัพมาก โดยมี 2 เรื่องใหญ่ๆ ที่การเมืองแทรกแซง คือโยกย้าย กับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์

ตั้งแต่ผมเข้ามาก็ได้วางนโยบายไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง และได้รับการยอมรับจากทุกเหล่าทัพ ผลก็คือการโยกย้ายตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการโยกย้ายที่ทางกองทัพบอกว่าเรียบร้อยที่สุดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน (หัวเราะ) หมายถึงว่าคำสั่งที่เขาทำขึ้นมา ไม่มีส่งลงไปแก้ คือเรียบร้อยทุกขั้นตอน จากกองทัพบก มาถึงกองบัญชาการทหารสูงสุด มาถึงปลัดกระทรวงกลาโหมเรียบร้อย

จากนั้นผมก็มานั่งคุยกันทั้งหมด ผมก็รับประกันขึ้นไป ท่านนายกฯก็ผ่านขึ้นไป ไม่มีกลับลงมา จะเห็นได้ว่าไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง กองทัพมีความมั่นใจ ทำให้ผู้บังคับบัญชาปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างไร้ปัญหา

O กรณีของ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่เงียบหายไปในระยะหลัง หรือบทบาทของ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ถือว่าเป็นความแตกแยกในกองทัพหรือไม่ มองได้ว่าเป็นความไม่พอใจจากการแต่งตั้งโยกย้ายหรือเปล่า

เป็นเสียงส่วนน้อย ผมไม่อยากพูดถึง เพราะเป็นส่วนน้อย เมื่อเกิดเรื่องขึ้นมา (หมายถึงกรณี พล.ร.อ.บรรณวิทย์) ผมก็ต้องทำตามหน้าที่ ก็ถือว่าจบ ไม่มีอะไร ทางด้าน พล.อ.สพรั่ง เป็นคนที่มีวินัย พอมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯลงมาก็จบ ทำตัวเป็นรองปลัดที่ดี เป็นรุ่นน้องที่ดี ท่านเป็นคนมีคุณธรรม

O แล้วท่านบรรณวิทย์...

ไม่อยากพูดถึง เมื่อมันเป็นเช่นนั้น เราก็ตัดสินใจทำอะไรลงไป เขาก็เดินไปตามทางของเขาแล้ว ก็เป็นอันจบกัน

O ทำไมสังคมมองว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ค่อยมีผลงาน แถมยังใส่เกียร์ว่าง

รัฐบาลมีจุดยืนเรื่องความสมานฉันท์ หมายความว่าไม่เข้าข้างใคร พยายามที่จะทำอะไรให้เห็นว่าเป็นกลาง จึงเน้นในเรื่องการทำงานปกติเป็นหลัก ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็ทำงานปกติ เมื่อมีอะไรเฉพาะหน้าขึ้นมา เช่นวาระแห่งชาติคืออะไร ยาเสพติด สมานฉันท์ อุทกภัย ทุกคนก็ทำ

ทีนี้สังคมไปมองว่าควรจะทำอะไรได้มากกว่านี้ในเรื่องของอำนาจเก่า อำนาจใหม่อะไรต่างๆ มันเป็นลักษณะนั้น ก็เลยเกิดความไม่พอใจ ยิ่งผลปรากฏว่าการเลือกตั้งออกมาเป็นอย่างนี้ ก็ยิ่งดูเหมือนกับว่าที่ผ่านมาไม่ได้ทำอะไร ทั้งๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางรากฐานเรื่องธรรมาภิบาลเอาไว้มาก ถ้าชุดต่อไปมาสานต่อก็จะเป็นเรื่องที่ดี

รัฐบาลของเราตรงข้ามกับรัฐบาลอื่นๆ ที่เข้ามา คนก็เลยไม่เข้าใจ คนอยากจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เร็วและทันใจ แต่มันต้องขึ้นกับกฎหมายหรือระเบียบที่ต้องทำตามขั้นตอน ที่สำคัญอย่าลืมว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อาสาสมัคร (หัวเราะ) เป็นรัฐบาลที่ขอร้องให้เข้ามาช่วยกัน เราก็ไม่ได้ยึดอะไร

O หนึ่งปีที่ปฏิวัติมาเสียเปล่าหรือไม่

มองคนละอย่างกัน เรามองเรื่องการวางรากฐาน รัฐบาลชุดนี้ได้วางรากฐานเพื่อที่จะทำงานต่อไป และใครเข้ามาหลังจากนี้จะเห็นว่ารัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลต้องทำอย่างนี้ ทุกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

แต่สังคมมองว่าทำไมเรากำจัดอำนาจเก่าออกไปแล้ว ไปๆ มาๆ ปล่อยให้กลับเข้ามาอีก ไอ้นี่ก็เลยกลายเป็นเหมือนกับว่า 1 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำอะไร จริงๆ แล้วเราทำเหมือนกัน แต่ทำได้นิดเดียว ในอดีตไม่เคยมีที่ว่าถูกไล่ไปแล้ว...ว่างั้นเถอะ ถูกไล่ไปแล้วจะกลับมาได้ แล้วก็มาทำอะไรๆ ได้...มันไม่มี เพราะมันไม่เหมือนกัน สรุปว่าเรื่องเงินยังเป็นปัจจัยสำคัญ ก็เลยทำให้ประเทศยังไปไหนไม่ได้

O ท่านกำลังจะบอกว่า รัฐบาล และ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก็พยายามทำในสิ่งที่ควรทำแล้ว แต่ปัญหาคืออีกฝ่ายหนึ่งมีเงินเยอะ อย่างนั้นหรือเปล่า

 อย่าไปพูดว่ารัฐบาลกับ คมช. เพราะ คมช.ไม่มีอำนาจ เขามอบให้รัฐบาลแล้ว รัฐบาลเองก็พยายามวางแนวทางให้มีการเลือกตั้ง และนำไปสู่การเลือกตั้ง พยายามจะให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน นั่นคือจุดสุดท้าย หลังจากที่ได้ประชาสัมพันธ์กันทุกส่วนมาพอสมควรแล้วว่ามีอะไร ที่เขาทำมานี้เพราะอะไร เหตุคืออะไร ตอนนี้กำลังเดินเข้าสู่กระบวนการอะไร แต่มันออกมายังไม่ครบวงจร พอยังไม่ครบ ก็เลยมีบางคนบอกว่ายังไม่เห็นผิดอะไรเลยนี่ (หมายถึงคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ) ก็เป็นลักษณะอย่างนั้น


O กองทัพหวั่นวิตกหรือไม่ ถ้ากลุ่มอำนาจเก่ากลับมามีอำนาจจริง

ตอนนี้กองทัพได้กำหนดบทบาทของตัวเองอย่างชัดเจนแล้ว ผมบอกตั้งแต่ก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่าต้องถอนตัวแล้ว อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยว อย่าเข้าไปสนับสนุนหรือแทรกแซงการเมือง ต้องวางตัวเป็นทหารอาชีพ และกลับมาอยู่ในบทบาทของเรา พยายามสร้างความปรองดองสามัคคีเป็นปึกแผ่นของเราไว้ ซึ่งจะทำให้กองทัพเป็นที่เกรงขาม

O กองทัพจะทำอย่างไรถึงจะประคับประคองให้สถานการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ในส่วนของทหาร เรื่องสถาบันเรายอมไม่ได้อยู่แล้ว พร้อมสละได้ทุกอย่างเพื่อสถาบัน ทั้งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในเมื่อทหารถอยออกมาแล้ว การเมืองก็ยังเป็นอย่างนี้ เลือกตั้งมา 19 วัน เหลืออีก 11 วันจะเปิดสภา ก็ยังไม่รู้ว่าจะเปิดได้เมื่อไหร่ คดีใบเหลืองใบแดง คดียุบพรรค มันทำให้เกิดความไม่แน่นอน ในขณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญของชาติก็รอการแก้ไขอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจจะแก้ได้ ความสมานฉันท์ต้องมาก่อน

แต่ความสมานฉันท์จะมาได้ต้องละความเป็นตัวตนลงไป ละความเห็นแก่ตัว ละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ประเทศชาติ และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎกติกา ถ้าหากว่ายังเป็นลักษณะที่อะไรก็ไม่เคารพกฎกติกา ก็จะวุ่นวายไม่รู้จบ ทหารไม่อยากออกมาดึงสถานการณ์ให้กลับไปสู่ 19 กันยาฯ เราเห็นแล้วว่าไม่ได้อะไรขึ้นมา หมายถึงในด้านเศรษฐกิจหรือความมั่นใจและสายตาของต่างประเทศ

O แล้วมีโอกาสที่จะเกิดแบบ 19 กันยาฯอีกหรือไม่

ผมบอกไมได้หรอกว่ามันจะเกิดอีกมั้ย แต่มีความตั้งใจไม่อยากให้เกิด อย่างภัยพิบัติ เราก็ไม่อยากให้มันเกิด แต่มันก็เกิดขึ้นมา รัฐประหารก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าทุกคนร่วมมือร่วมใจไม่ไปสู่จุดนั้น มันก็จะไม่ไป ทางทหารก็ดี ทางรัฐบาลชุดนี้ก็ดี ก็บอกว่าให้แก้ปัญหาการเมืองด้วยการเมือง ฉะนั้นถ้าหากว่ามันจะล้มลุกคลุกคลาน...เลือกตั้งเข้ามา ฟอร์มรัฐบาล ไปไม่รอด ก็เลือกตั้งใหม่...มันจะดีกว่าใช้วิธีอื่น ฉะนั้นเปิดสภาแล้วต้องฟอร์มรัฐบาลให้ได้ แล้วว่ากันไป ถ้าหากมันจะล้ม ก็ต้องล้มไป แล้วก็มาเลือกตั้งกันใหม่

O กรณีคุณหญิงพจมาน กับคุณทักษิณจะกลับมา เป็นความสมานฉันท์รูปแบบหนึ่งด้วยหรือไม่

(ถอนใจและนิ่งไปพักหนึ่ง) ทั้งสองท่านมีสิทธิจะเดินทางเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคดีอยู่ในศาล ก็ต้องมาขึ้นศาล ถือเป็นสิ่งที่ถูก ต้องมาเคลียร์ ต้องเคารพกฎกติกา กฎหมายของบ้านเมือง ทำผิดก็ต้องรับผิด ไม่ผิดก็ต้องปล่อยตัวเป็นอิสระ ต้องว่ากันไปตามนั้น ส่วนจังหวะเวลา ทางอดีตนายกฯก็เห็นแล้วว่าน่าจะเป็นช่วงหลังการฟอร์มรัฐบาล น่าจะกลับมาได้

แต่ถึงแม้ว่าจะตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างที่ทางคุณหญิงพจมานกลับมา ก็จะได้รับความปลอดภัย เพราะว่าเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว ยิ่งเป็นระดับนี้คงไม่ให้เหมือนแบบปากีสถาน (หัวเราะ) คงไม่ใช่แบบปากีสถาน เพราะเราเป็นเมืองพุทธ เรามีในเรื่องการให้อภัยกันอยู่แล้ว พอถึงสุดท้ายเราก็มีเรื่องการให้อภัย

O การที่คุณหญิงพจมานกลับมาเป็นแรงกดดันรัฐบาลส่วนหนึ่งด้วยหรือไม่

ก็ไม่นะครับ เพียงแต่ว่าต้องมีคนไปดูแลความปลอดภัยมากขึ้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องดี กลับมาว่ากันเมืองไทย ทุกอย่างอยากให้มันจบกันในเมืองไทย ถ้าไปเคลื่อนไหวอยู่เมืองนอกก็เสียภาพพจน์ประเทศ

O ท่าทีของท่านนายกฯ ดูเหมือนท่านสนับสนุนการพบกันระหว่างคุณทักษิณกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง...

สุดท้ายถ้าหากว่านึกถึงประเทศชาติ อะไรที่จะให้เกิดการปรองดองกันได้ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เข้าใจผิดก็ปรับความเข้าใจกัน ผมว่าคนไทยนี่พอถึงเวลาแล้วก็ให้อภัย ที่จะโกรธกันยั่งยืนคงไม่ใช่ ท่านนายกฯก็เป็นคนที่เห็นความสมานฉันท์ เห็นความเรียบร้อยเป็นเรื่องหลัก และพร้อมจะส่งหน้าที่ให้รัฐบาลใหม่ ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่


O ท่านพูดถึงคำว่าอภัย ท่านหมายถึงที่ผ่านมาฝ่ายอำนาจเก่าทำผิด แล้วท่านพร้อมจะอภัย หรือหมายความรวมถึงว่าฝ่ายอำนาจเก่าควรจะอภัยในสิ่งที่พวกเขาโดนด้วยเหมือนกัน

การให้อภัยมันไม่จำเป็นต้องไปรอว่าคนอื่นเขาจะให้เราหรือไม่ ชาวพุทธจะมีเรื่องการให้อภัยอยู่ และถือเป็นการให้ทานสูงสุด ถ้าเราให้ไป มันก็จะดีแก่ตัวเราเอง เราให้อภัยคนอื่นไป ไม่ใช่คนอื่นสบายใจนะ เราเองเป็นคนสบายใจ

O ไม่กลัวการกลับมาเอาคืน...

ผมว่าประชาชนจะเป็นฝ่ายที่เห็นว่าเรื่องคนที่ใช้ธรรมะ กับคนที่ไม่ใช้ธรรมะ สุดท้ายผมว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม

O ขอถามตรงๆ ว่า ที่พูดเรื่องอภัย เป็นเพราะดูทีท่าแล้วกำลังจะเป็นฝ่ายแพ้หรือเปล่า

โอ...(หัวเราะ) ไม่ใช่ลักษณะอย่างนั้น เรื่องนี้มีมาแต่ต้นแล้ว เราบอกให้กลับมา พอมาขึ้นโรงขึ้นศาลอะไรต่างๆ ถ้าหากว่าจะมีผิดมีอะไร เขาก็ต้องมีอภัยโทษได้ ไม่ใช่ว่าจะเอากันถึงขัง คงไม่ใช่ลักษณะนั้น

O ตอนนี้มีการวิจารณ์ว่ายังไปไม่ถึงขั้นสุดท้าย กำลังมีการสกัดกั้นบางพรรคไม่ให้ตั้งรัฐบาล

เรื่องนี้เป็นไปตามธรรมชาติของพรรคการเมือง เขาก็ทำกันมา หาเสียงมาวิธีไหน ก็ต้องรับผลของการกระทำนั้น แล้วจะไปบอกสกัดกั้น (หัวเราะ) มันไม่จริง ถ้ามีศีลมีธรรมจะไม่ใช่อย่างนี้ อย่างนี้แสดงว่าทำอย่างแล้วไม่ยอมรับความจริง นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมว่าทหารกับการเมืองไม่ค่อยเหมือนกัน

O ดูเหมือนฝ่ายนักการเมืองเอง 1 ปีที่ผานมาจะไม่ได้เปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำเลย

ก็นี่แหละ เรายังไม่มีน้ำใหม่ หรือน้ำใหม่ยังน้อย ซึ่งต้องใช้เวลา พื้นฐานของเราไม่ใช่แค่นักการเมือง...ประชาชนก็เหมือนกัน ต้องใช้เวลาอีกนานที่จะติดอาวุธทางปัญญา ต้องให้การศีกษา ต้องทำให้เกิดความเจริญแบบต่างประเทศ ไปที่ไหนมีความเจริญใกล้เคียงกัน ประชาชนมีการศึกษาใกล้เคียงกัน ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างอะไรต่างๆ เมื่อถึงตรงนั้นก็จะแก้ไขปัญหาได้

O ประชาชนกำลังหวั่นเกรงเรื่องการปลุกม็อบจากฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ หรือคิดว่าตัวเองถูกสกัด กองทัพประเมินว่าจะนำไปสู่การปะทะกันรุนแรงหรือไม่

ทางรัฐบาล ทางท่านนายกฯก็บอกว่าขอให้เคารพกฎกติกา ทั้งนักการเมืองและประชาชน เมื่อ กกต.ตัดสินอย่างไร ก็ควรเคารพตามนั้น มันถึงจะนำไปสู่ความเรียบร้อย ส่วนรัฐบาลหรือแม้แต่ฝ่ายความมั่นคงก็จะใช้ความอดทนอย่างเต็มที่ อย่างคราวที่แล้วที่มีการเดินไปบ้านป๋า (การชุมนุมที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์) แต่เราก็พยายามไม่ใช้ความรุนแรง

O จากการข่าว ประเมินแนวโน้มอย่างไร เพราะประชาชนทั่วไปรวมทั้งนักลงทุนไม่ค่อยมั่นใจ

เราพยายามให้ปรับความเข้าใจ และเรามีกฎหมาย ถ้าหากว่าใครอยู่เบื้องหลังจะมีโทษเยอะ ตรงนี้จะทำให้คนอยู่เบื้องหลังไม่ค่อยกล้าเต็มที่ อาจจะมีเป็นกรณีเป็นรายๆ บ้าง แต่คงไม่ถึงกับเกิดความวุ่นวายในวงกว้าง เพราะใบเหลืองใบแดงก็ไม่กระทบกับการตั้งรัฐบาล ตั้งได้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่ามันมีเหตุให้ตั้งไม่ได้...อันนี้อาจจะมีปฏิกิริยารุนแรง ซึ่งเราก็ภาวนาอย่าให้มี

เรื่องการเมืองบ้านเรายังไม่ได้ปูพื้นฐานให้แน่น เมื่อเปิดให้เลือกตั้งก็จะเป็นลักษณะนี้ เวลาก็น้อยไปสำหรับการทำความเข้าใจ แต่เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ทุกคนก็ยอมรับ

O ถ้าในอนาคตมีความจำเป็น จะเชิญท่านมาเป็นรัฐมนตรีอีกจะมาหรือไม่

บอกกับท่าน (นายกฯ) แล้วว่าพอแล้ว เราไม่ได้บอร์นทูบี (born to be) เราหล่อหลอมมาให้เป็นทหาร ไม่ใช่หล่อหลอมมาให้เป็นนักการเมือง ฉะนั้นจะไปทนกับสิ่งที่ไม่จริงคงไม่ได้ เราเคยชินอยู่กับเรื่องของความจริง พูดง่ายๆ ทนให้เขาด่าไม่ได้ (หัวเราะ)

O จบภารกิจนี้จะไปทำอเะไรต่อ

ก่อนมานี่ผมไม่ได้ทำอะไร ผมใช้ชีวิตสงบ อยู่อย่างสงบ แล้วก็เข้าวัดเข้าวา ปฏิบัติธรรมตามโอกาส ฉะนั้นพอจบจากนี้ไปก็คงจะเดินตามเส้นทางเดินเก่า ผมชอบความสงบมากกว่า


บทสัมภาษณ์ ของหนึ่งในขิงแก่.....ทีว่ากันว่า ซี้ย่ำปึ๊ก กับ พลเอกสุรยุทธิ์........

อ้างถึง
ผบ.สส.ยอมรับตั้ง คตส.ล้มเหลวเช็คบิลไม่สำเร็จเสียเวลาทุ่มเทถ้าเรื่องหลุดไปต้องทำใจ


ผบ. สส. ทุ่มเท หรือ คตส. ครับ ที่ทุ่มเท   




 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #55 เมื่อ: 17-05-2008, 13:41 »

รมต.กลาโหม ยุค ขิงแก่

ไม่ใช่ กลุ่ม คมช. ครับคนละพวกกัน

เป็นคนที่อดีตนายกไปเชิญมาช่วยงานไม่เกี่ยวกับ คมช.


หน้าที่รัฐบาล 3 อย่างก็คงเห็นอยู่แล้ว การให้ความคุ้มครองหากทักษิณมาขึ้นศาล มันเป็นหน้าที่ของทุกรัฐบาลที่จะต้องดูแลอยู่แล้ว

คตส. เป็นองค์กรอิสระ จะว่าไปก็คือ ปปช. บวก สตง. นั่นเอง

รัฐบาลคงเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ มันงานคนละส่วนกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-05-2008, 13:49 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #56 เมื่อ: 17-05-2008, 15:35 »

ไม่ใช่ 3 อย่างครับลุง....4 อย่างครับ.....

ถูกแล้วครับ...คนละพวกกับ คมช. ถึงได้พูดและ นโยบาย ต่างกับ คมช.ไงครับ


บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #57 เมื่อ: 17-05-2008, 15:56 »

ครับ มองคนละมุม

หน้าที่ 3 ประการ ผมดึงมาจากการสัมภาษณ์ของอดีต รมต. กลาโหมนั่นแหละครับ

หลายคนมองว่า รัฐบาลขิงแก่ เป็นรัฐบาลของฝ่ายต่อต้านทักษิณ

แต่ดูจากพฤติกรรมแล้ว รัฐบาลขิงแก่ เป็นรัฐบาลของประชาชนทั้งสองฝ่าย

เป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่รัฐบาลของ คมช.

การดูแลไม่ให้เกิดความรุนแรงขยายแนวจากความแตกแยกทางความคิดที่เป็นอยู่

ผมมองว่า ทำได้ดีแล้วครับ

ส่วนคนอื่นจะมองยังไงก็เป็นสิทธิ์เฉพาะตัว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-05-2008, 17:45 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #58 เมื่อ: 17-05-2008, 16:31 »


 


ผมตั้งข้อสังเกตว่าคตส. ขาดประสิทธิภาพ

และกำลังดิ้นหนี ความบกพร่องของตัวเองมากกว่า
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #59 เมื่อ: 17-05-2008, 17:51 »

ผมเคยบอกไปหลายครั้งว่า การทุจริตของระบอบทักษิณ มันเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย

มีเครือข่ายยุ่บยั่บ ทั้งตัวตาม ตัวแทน นอมินี

มีกฎหมายรองรับ การจะเอากฎหมายไปจับ มันไม่ใช่เรื่องง่าย


การตรวจสอบของ คตส. หรือ ปปช. เป็นระบบใต่สวน ไม่ใช่ระบบป.วิอาญา

บางทีมันก็มีวิธีทำงานไม่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า

see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #60 เมื่อ: 17-05-2008, 19:30 »




ผมตั้งข้อสังเกตว่าคตส. ขาดประสิทธิภาพ

และกำลังดิ้นหนี ความบกพร่องของตัวเองมากกว่า


*  คตส.  กำลังดิ้นหนีความบกพร่องของตัวเองในเรื่องไหนเหรอค่ะ

    ช่วยยกตัวอย่างมาให้ดูหน่อยสิ .....  อาทิ  เช่น  ???
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #61 เมื่อ: 18-05-2008, 09:32 »

*  คตส.  กำลังดิ้นหนีความบกพร่องของตัวเองในเรื่องไหนเหรอค่ะ

    ช่วยยกตัวอย่างมาให้ดูหน่อยสิ .....  อาทิ  เช่น  ???


 รับรองไม่ได้คำตอบ    
บันทึกการเข้า
มารร้ายพ่ายแพ้รัก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 292



« ตอบ #62 เมื่อ: 18-05-2008, 10:01 »

สำนักงานอัยการสูงสุด ส่วนใหญ่พวกอัยการจะชอบทักษินกันทั้งนั้นครับ มีแค่ส่วนน้อยที่ไม่ชอบทักษิน
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #63 เมื่อ: 18-05-2008, 11:40 »

สำนักงานอัยการสูงสุด ส่วนใหญ่พวกอัยการจะชอบทักษินกันทั้งนั้นครับ มีแค่ส่วนน้อยที่ไม่ชอบทักษิน

ตรงนี้ มันเป็นประเด็นครับ....แต่ มันเป็นข้อปลีกย่อย......

ประเด็นหลัก ทีสำคัญ คือ อัยการยังไม่หลุดพ้นจากการเมืองจริง ๆ ....ยังคงไปนั่งเป็นบอร์ดต่าง ๆ ตามรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งไม่ทางหลีกเลี่ยง ที่จะมีสัมพันธ์ กับนักการเมือง.....เมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหา ต่อนักการเมือง หรือ อดีตนักการเมือง

อัยการ จะกล้าเดินหน้า เต็มที่ได้อย่างไร......ต่างกับ บรรดา ผู้พิพากษา หรือ อดีตผู้พิพากษา ส่วนใหญ่ ที่ ไม่เคย

อาศัยบารมีนักการเมือง ไม่มีผลประโยชน์ ร่วมกับนักการเมือง...จึงมีอิสสระได้เต็มที่ ในการดำเนินการทางยุติธรรม...

แน่นอน ว่า อาจมีการแตกแถวบ้าง แต่ น้อยมากครับ........
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: 18-05-2008, 13:58 »

ตอบคุณเอ้....

คำตอบก็คงเดิมๆ นั่นคือคนที่ทำงาน คตส. ล้วนเป็นนักกฎหมาย

สถานะของ คตส. ควรให้เป็น "องค์กรถาวร" หรือไม่

หากเป็นว่า การมีสำนักงานใดสำนักงานหนึ่ง ประสานการตรวจสอบขององค์กรอิสระต่างๆ เข้าด้วยกัน

ประเด็นนี้น่าคิดมากกว่า หากเกรงว่าจะมีข้อโต้แย้งดังเช่นปัจจุบัน เพราะเมื่อนำคดีขึ้นสู่ศาล ต้องนึกถึงข้อต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหาด้วยว่า

ทนายความหรือฝ่ายกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหา จะนำประเด็นไหนมายกเป็นข้อต่อสู้

ทำไม สนช. ไม่ออกเป็น พรบ. รับรององค์กร

หรือ สภาร่างฯ รัฐธรรมนูญ ไม่ใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ

ทั้งๆ ที่มาตรา 301-302 ก็มีบัญญัติ เกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายตรวจสอบหลายฉบับ ทั้ง ปปช. และ สตง.

เพราะทุกส่วนก็รู้อยู่ว่า ประเด็นทางกฎหมาย ย่อมมีหลากหลายทัศนะ ให้โต้แย้งกัน

แต่เมื่อมีศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่วินิจฉัย เรื่องจะเป็นยังไงก็ต้องยอมรับครับ


ประเด็นสำคัญ ต้องไปไล่เรียงว่า คำสั่ง คปค. เป็นกฎหมายที่ออกเฉพาะเรื่อง เฉพาะบุคคลหรือไม่ หรือบัญญัติให้ใช้เป็นการทั่วไป

ถ้าหากไปเข้าประเด็นแบบนั้น ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาก็ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
บันทึกการเข้า

999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #65 เมื่อ: 18-05-2008, 18:20 »



คตส.ใกล้หมดสภาพเต็มที ยังไม่เห็นผลงาน อะไร?

ตั้งมาเกือบสองปี ฟ้องได้กี่คดี? รอดูคำตัดสินของศาลก็ได้ อย่าใจร้อน...
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #66 เมื่อ: 18-05-2008, 19:40 »

บทบรรณาธิการ
สอบสวนทุจริตคอรัปชั่น คตส.-จะเดินไปสู่หนไหน


16 พฤษภาคม 2551    กองบรรณาธิการ

ดูเหมือนปัญหาการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะยังไม่จบไม่สิ้น


เพราะขณะที่การทำงานเวลานี้ก็นับถอยหลังเหลืออีกเพียงแค่ประมาณ 45 วัน คือวันที่ 30 มิถุนายน 2551 คตส.ก็จะต้องพ้นการปฏิบัติหน้าที่ วันนี้นอกเหนือจากการเร่งสอบสวนปิดสำนวนคดีทุจริตต่างๆ ที่ค้างอยู่



ก็ต้องเตรียมที่จะต่อสู้ประเด็นข้อหกในเรื่องสถานะของตัวเองตามประกาศ  คปค.ฉบับที่ 30  และการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ต่ออายุ คตส.จากเดิมที่จะหมดเมื่อ 30 ธันวาคม 2550 มาเป็น 30 มิถุนายน 2551 หลังจากศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายทั้งสองข้อดังกล่าวอันเป็นผลพวงมาจากคดีหวยบนดิน



อย่างไรก็ตาม ล่าสุดปัญหาการทำงานของ คตส.ก็ต้องเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อผลการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานฝ่าย  คตส.กับสำนักงานอัยการสูงสุดในคดีธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ ปล่อยเงินกู้ให้กับพม่า 4 พันล้านและมีการนำเงินจำนวนหนึ่งคือประมาณ  900 ล้านบาทไปซื้ออุปกรณ์ดาวเทียมของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ป ที่ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นใหญ่อยู่

ปรากฏว่าการประชุมร่วมดังกล่าวอันเกิดขึ้นหลังจากนายชัยเกษม  นิติศิริ อัยการสูงสุดได้ทำความเห็นให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมในคดีนี้  เพราะเห็นว่าสำนวนการสอบสวนไม่สมบูรณ์ ซึ่งที่ประชุมร่วมทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะมีความเห็นในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแตกต่างกัน ทำให้ท้ายสุด คตส.ที่ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องมีการสอบพยานบุคคลเพิ่มเติมทั้ง 3 ปาก ตามที่อัยการสูงสุดเสนอ ทำให้ คตส.จึงมีมติจะสั่งฟ้องคดีดังกล่าวเอง อันเป็นการเตรียมยื่นฟ้องเองเป็นคดีที่  3 ต่อจากคดีหวยบนดิน และคดีทุจริตกล้ายางพารา 90 ล้านต้น

สิ่งที่เกิดขึ้นแม้จะไม่เหนือความคาดหมาย หลังมีสัญญาณที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าระหว่างอัยการกับ คตส. แต่สิ่งที่จะต้องฉุกคิดก็คือ แล้วหลังจากนี้กระบวนการสอบสวนการทุจริตของ คตส.จะดำเนินไปอย่างไร  จริงอยู่ว่าแม้ คตส.จะเกิดขึ้นจากการทำรัฐประหาร 19 กันยายน  2549 แต่หากมองในเชิงหลักใหญ่ในเรื่องของการเอาความจริงมาแสดงให้ประชาชนเห็นประจักษ์ว่ากระบวนการทุจริตคอรัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านม

า มีเกิดขึ้นจริงหรือไม่

และกระบวนการทุจริตทำกันอย่างไร และใครบ้างที่จะต้องรับผิดชอบ เพื่อที่จะได้เป็นแบบอย่างต่อไปในภายหลังว่าหากใครคิดร้ายต่อบ้านเมืองจะต้องได้รับการลงโทษและต้องชดใช้กั

บสิ่งที่ทำให้แผ่นดินเกิดต้องได้รับความเสียหาย เพราะความเห็นแก่ได้และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง อีกทั้งจะได้เป็นกรณีศึกษาว่าการทุจริตที่เกิดขึ้นในแต่ละเรื่อง ทั้งโครงการขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก เขาคิดวางแผนทำร้ายชาติบ้านเมืองกันอย่างไร

เพื่อจะได้เป็นการศึกษาหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในช่องว่างต่างๆ  ที่เกิดขึ้น เช่น กระบวนการออกกฎหมาย  กระบวนการออกมติคณะรัฐมนตรี การออกระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง หรือการประกวดราคา การล็อกสเปกเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลบางกลุ่ม กระบวนการโอนเงินโยกย้ายเงินเพื่อแจกจ่ายผลประโยชน์ รูปแบบการเจรจาต่อรองซื้อขายกันทั้งแบบถูกต้องและไม่ถูกต้องเพื่อหาทางหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบ รวมถึงเครือข่ายของผู้สมรู้ร่วมคิดวางแผนคอรัปชั่นจะได้รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังของแต่ละกลุ่มว่ามีใครบ้าง และทำกันอย่างไร

อันจะเป็นผลดีหากว่ากระบวนการตรวจสอบของ คตส.จะได้เข้าไปเจาะลึกหรือตีแผ่กระบวนการทั้งหมดออกมาได้ เพื่อจะได้เป็นบทเรียนและกรณีศึกษาแก่คนรุ่นหลังและฝ่ายตรวจสอบ

ขององค์กรอื่นๆ จะได้นำไปใช้ได้ในการสอบสวนการคอรัปชั่น เพราะต้องยอมรับว่ารูปแบบการทุจริตคอรัปชั่นนับวันจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนเกิดคำว่า "กินเนียน-ไร้ร่องรอย-ทุจริตเชิงนโยบาย" เกิดขึ้น และใช้กระบวนการทางกฎหมายหรือการออกระเบียบ คำสั่ง มติ ครม.เพื่อทำให้ถูกต้องเป็นหน้าฉาก จากนั้นก็แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งที่ได้ดำเนินการไป ดังนั้นหากสังคมไม่มีการศึกษา ไม่มีการวางแผนรู้ให้ทันพวกกินบ้านกินเมือง เพราะไม่เคยมีใครคิดจะทำการตรวจสอบอย่างจริงจัง เช่นนี้พวกทุจริตก็คงได้ใจ เพราะไม่มีใครรู้ทันคนขายชาติ

นี่ต่างหากที่คือหลักใหญ่ในการมองการทำงานของ คตส.ไม่ใช่มองว่า คตส.เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากการทำรัฐประหาร และตั้งขึ้นมาเพื่อมาห้ำหั่นกับระบอบทักษิณหรือคนของพรรคพลังประชาชน เพราะหากการทำงานของ คตส.มีเจตนาไม่สุจริตใจ หรือใช้อำนาจเพื่อผลทางการเมือง สังคมก็คงจะรู้เท่าทันและตัดสินเองได้ และหากท้ายสุดคนไหนบริสุทธิ์ไม่เกี่ยวข้องก็ขอให้มั่นใจได้ว่าศาลยุติธรรมต้องให้ความเป็นธรรมแน่นอน

แต่เมื่อ คตส.ทำงานแล้วเกิดอุปสรรคขึ้นหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่เริ่มต้นที่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากหน่วยราชการหรือตัวข้าราชการ เช่น การมาร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือการส่งพยานเอกสาร พยานบุคคลมาให้ คตส.เพื่อสอบสวน จนมาถึงตอนนี้ที่ คตส.กำลังหมดวาระการทำงานก็ยังมีปัญหาอยู่มากมาย จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดเช่นกันว่าแล้วกระบวนการตรวจสอบการเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่นของไทยจะเดินไปสู่หนไหน.








ใครช่วยบอกทีครับ.....ตรงไหนไม่จริงมั่ง(ตรงสีแดง ๆ )


อ้างถึง
O ท่านกำลังจะบอกว่า รัฐบาล และ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก็พยายามทำในสิ่งที่ควรทำแล้ว แต่ปัญหาคืออีกฝ่ายหนึ่งมีเงินเยอะ อย่างนั้นหรือเปล่า

 อย่าไปพูดว่ารัฐบาลกับ คมช. เพราะ คมช.ไม่มีอำนาจ เขามอบให้รัฐบาลแล้ว รัฐบาลเองก็พยายามวางแนวทางให้มีการเลือกตั้ง และนำไปสู่การเลือกตั้ง พยายามจะให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน นั่นคือจุดสุดท้าย หลังจากที่ได้ประชาสัมพันธ์กันทุกส่วนมาพอสมควรแล้วว่ามีอะไร ที่เขาทำมานี้เพราะอะไร เหตุคืออะไร ตอนนี้กำลังเดินเข้าสู่กระบวนการอะไร แต่มันออกมายังไม่ครบวงจร พอยังไม่ครบ ก็เลยมีบางคนบอกว่ายังไม่เห็นผิดอะไรเลยนี่ (หมายถึงคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ) ก็เป็นลักษณะอย่างนั้น


อันนี้ เป็นความจริงครับ คมช. ไม่มีอำนาจอะไรอีกต่อไป....คตส. เลยโดน ลอยแพ....

อ้างถึง
O ท่าทีของท่านนายกฯ ดูเหมือนท่านสนับสนุนการพบกันระหว่างคุณทักษิณกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง...

สุดท้ายถ้าหากว่านึกถึงประเทศชาติ อะไรที่จะให้เกิดการปรองดองกันได้ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เข้าใจผิดก็ปรับความเข้าใจกัน ผมว่าคนไทยนี่พอถึงเวลาแล้วก็ให้อภัย ที่จะโกรธกันยั่งยืนคงไม่ใช่ ท่านนายกฯก็เป็นคนที่เห็นความสมานฉันท์ เห็นความเรียบร้อยเป็นเรื่องหลัก และพร้อมจะส่งหน้าที่ให้รัฐบาลใหม่ ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่


ใครเข้าใจอะไรผิดครับ... คมช. บอกปฏิวัติ เพราะ รัฐบาลก่อนหน้านั้น มีการโกงชาติบ้านเมือง....ผม คงเข้าใจไม่ผิดหรอก....
อยากจะให้ปรับความเข้าใจกัน หรือ ว่า อยากจะ เกี้ยเซี้ย เพื่อให้เรื่องมันจบ ๆ ไป แล้ว ก็ไปนับหนึ่งกันใหม่...ปล่อยให้เริ่มต้นโกง
กันใหม่ ของเก่ายกเลิก...แล้ว อีก 10 ปี ก็ปฏิวัติใหม่ หรือไง....ไม่รู้


บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #67 เมื่อ: 18-05-2008, 19:57 »

*  ในส่วนที่เป็นตัวหนังสือสีแดง ...  ที่ พี่  55555   เอามาอ้างอิง   เอ้  ค่อนข้างเห็นด้วย

    ลุงแคน....  ค่ะ  มีกี่คดีแล้วหล่ะคะที่ไปค้างอยู่ที่ อัยการ  ในทุกวันนี้

    รวมถึง  ......  มีกี่คดี ที่  คตส.  ต้องส่งฟ้องเองเพื่อตัดปัญหา

    ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา  คตส.  ทำงานค่อนข้างหนัก  ได้รับความร่วมมือน้อย  แถมโดนลอยแพ

    ถามว่า .... ในยุครัฐบาลขิงแก่ ที่ผ่านมา  คตส. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลยุคนั้นมากน้อยแค่ไหนกันค่ะ

    ยิ่งมายุคนี้  .....  ยิ่งรู้สึกมากขึ้นว่าดูอัยการจะสายตาเอียงไปสักหน่อยไหม

    ส่วนกรณีศาลจะตัดสินออกมาอย่างไร  .....  แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่าเราต้องเคารพในคำตัดสินนั้น

    เพียงแต่  เอ้  คิดว่า  .....  ถ้าจะมาตำหนิแต่  คตส. โดยไม่มองที่มาที่ไปอะไรเลยมันก็ไม่ถูกต้องนัก

    ปล.  ในทุกวันนี้ก็ยังคงให้กำลังใจในการทำงานของ  คตส.  อยู่ค่ะ 
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 19-05-2008, 04:38 »

ประเด็นปมปัญหาของอัยการสูงสุด กับ คตส. นั่นอาจถือว่าเป็นข้อขัดแย้งในระบบตรวจสอบ

หรือกระบวนการนำคนผิดขึ้นสู่การพิจารณาของศาล

คตส. ใช้กฎหมายของ ปปช. ดังนั้นหากเห็นว่า กฎระเบียบที่จะตรวจสอบ มีปัญหา ก็สมควรที่จะแก้ไขเชิงโครงสร้าง

นั่นคือ แก้กฎหมาย ปปช. เพิ่มเติมให้รัดกุม ให้ ปปช. ฟ้องร้องกล่าวโทษได้เอง เป็นต้น

หรือ ปปช. ไม่ต้องรอให้มีคนกล่าวโทษตามกฎหมาย หรือเป็นเจ้าทุกข์

โดยปรับเปลี่ยนให้ ปปช. เป็น "ผู้เสียหาย" ไปเลย ( อาจให้สิทธิ์ ตั้งทนายได้ด้วยซ้ำ" )

ปัญหาการทุจริต มันก้าวไปใกล ใช้เล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมายเล่นกัน

น่าเสียดายที่ สนช. ให้ความพำคัญในเรื่องนี้น้อยเกินไป

ก็เห็นอยู่ว่า คตส. มีปัญหาอะไรบ้าง ทำไมไม่คิด ปรับปรุงกฎหมาย ปปช. ให้เท่าทันการขัดขวางการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง

นำตัวผู้ถูกกล่าวหาขึ้นสู่การพิจารณาคดีต่อศาล


กระทู้เกี่ยวเนื่อง
http://forum.serithai.net/index.php?topic=26243.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-05-2008, 05:27 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #69 เมื่อ: 23-05-2008, 11:53 »

ไปเจอความคืบหน้ามา เอามาฝาก


 ศาลยกฟ้องคดี"สัก"กล่าวหารองอสส."หมิ่นฯ"

     ศาลอาญาไม่รับฟ้องคดีโฆษก คตส. กล่าวหารอง อสส. หมิ่นประมาท ด่าทนายเอกชนไม่รู้เรื่องบริหารราชการแผ่นดิน ชี้ทำหน้าที่ชอบแล้ว

     วันนี้ ( 22 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 912 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งไม่รับฟ้องในคดีที่ นายสัก กอแสงเรือง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) และโฆษก คตส. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด เป็นจำเลย ในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน , หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.136 , 328

     โดยเห็นว่า การให้สัมภาษณ์ของจำเลย เป็นการกล่าวตอบโต้โจทก์ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนวิจารณ์การทำงานของคณะทำงานอัยการ ที่รับผิดชอบพิจารณาสำนวนคดีของ คตส. โดยการตอบโต้ของจำเลยไม่มีลักษณะของการใส่ความ โดยจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากอัยการสูงสุด(อสส.) ให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานอัยการจึงมีหน้าที่โดยชอบที่จะให้สัมภาษณ์ชี้แจงต่อสาธารณะ      

แม้คำให้สัมภาษณ์จะมีคำว่า “เฮงซวย” และ “ทุเรศ” แต่คำดังกล่าวเห็นว่าไม่เป็นการใส่ความ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

     ส่วนความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานนั้น เป็นคดีในอำนาจของศาลแขวง ไม่มีเหตุให้ศาลอาญารับไว้พิจารณา และความผิดเรื่องการใช้วาจาไม่เหมาะสม ตามพ.ร.บ.บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 นั้น เป็นความผิดทางวินัยของข้าราชการอัยการ ไม่ใช่ความผิดทางอาญา จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ




ถ้าคดีหมื่นคดีนี้ต้องผ่านความเห็นอัยการก่อน 
อัยการก็คงต้องตีกลับ  เหมือนเดิม
ฟ้องอะไร ก็โดนยกฟ้องหมด  เหนื่อยแทน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: