ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
07-07-2025, 17:17
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อย่าเดินไปสู่ 6 ตุลาฯ : เกษียร เตชะพีระ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
อย่าเดินไปสู่ 6 ตุลาฯ : เกษียร เตชะพีระ  (อ่าน 6746 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 15-05-2008, 05:49 »

จริงๆ ปัจจุบัน มันมีอยู่ 2 พวกเองครับ

คือพวกยอมรับประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

กับพวกประชาธิปไตยเฉย ๆ ( อาจเป็นรูปแบบ ประธานาธิบดี ไปโน่นเลย )

แต่พวกประชาธิปไตยเฉยๆ ก็ไม่เห็นยอมรับความแตกต่าง

ในเมื่อคนส่วนใหญ่ แสดงพลังเสื้อเหลืองให้เห็นหลายครั้งหลายครา

ยังไม่สำนึกอีกแฮะว่า พวกตัวเองน่ะ มันแค่หยิบมือ แต่ดันทำเสียงดัง

มาอ้างสิทธิ์ ในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้

ถ้าไม่ยอมรับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ คนส่วนน้อยที่ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายก็ต้องรับผิดชอบ

หากจะไปปลุกระดมแบบไม่เอาสถาบัน ก็ต้องไปแก้กฎหมายให้เสร็จก่อน ค่อยมาสู้กัน
บันทึกการเข้า

oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #51 เมื่อ: 15-05-2008, 07:31 »

ข้อโต้แย้งบางประการ ถึง อ.เกษียร และ อ.สมศักดิ์ ; กรณีปรากฏการณ์จุดชนวน 6 ตุลา โดย ดาวสยาม-ยานเกราะ ยุคใหม่
 
โดย ธงไท เทอดอุดม 10 พฤษภาคม 2551 23:38 น.
 
ด้วยบทความที่ปรากฏในสื่อหลายฉบับโดย อ.สมศักดิ์ เจียมธีรกุล ในประเด็น : ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ‘ละคอนแขวนคอ’ ยุคใหม่ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ประชาไท และ ฟ้าเดียวกัน   รวมทั้งการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในมติชนรายวันด้วยนั้น สอดคล้องกับบทความของ อ.เกษียร เตะพีระ เรื่อง “อย่าเดินไปสู่ ๖ ตุลาคม” ในมติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา
     
       ในฐานะ ผู้อ่านสื่อ หรือจะในฐานะพลเมืองผู้กระตือรือร้น(Active Citizens) ที่ถูกเนื้อหาบางประเด็นในบทความดังกล่าว กระตุ้นต่อมสำนึกที่เป็นธุระในเรื่องบ้านเมือง ต้องขอใช้สิทธิในการ “เห็นต่าง” กับความพยายามในการจุดกระแสว่า คนอื่นกำลังจุดกระแส ของท่านสองอาจารย์ ดังนี้
       
       ในความเป็นจริงประการหนึ่ง คือ ผมเอง เป็นผู้ร่วมอยู่ในขบวนการ และเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เฉกเช่นเดียวกับอาจารย์ทั้งสอง โดยมีบทบาทหน้าที่ทั้งในความรับผิดชอบทางการเมือง การจัดตั้งในส่วนศิลปวัฒนธรรม รวมทั้ง มีส่วนในการรักษาความปลอดภัยอีกด้วย
       
       เช้าตรู่วันที่ ๖ ตุลาคม เมื่อ ๓๒ ปีก่อน ผมประจำอยู่ในสมรภูมิส่วนหน้าที่ปะทะแลกเลือด แลกชีวิตกับทั้งกระทิงแดง นวพล รวมทั้ง ตชด. อยู่ด้านหน้าตึกนิติ ถอยร่นมายันอยู่หน้าตึก อมธ.เพื่อปะทะประทัง ให้พี่น้องประชาชนหนีออกจากวงล้อมปราบนองเลือดให้มากที่สุด โดยตัวเองได้รับบาดเจ็บ ถูกทำร้าย และถูกจับโยนใส่คุกนครปฐมอยู่สามเดือนกว่า...
       
       ที่ต้องเล่าเรื่องเก่านี้เพื่อบอกว่า ไม่ว่า ดร.เกษียร ดร.สมศักดิ์ จะอยู่ในตำบลแห่งหนไหนในนาทีที่เขารุมฆ่าประชาชนนั้น ผมอยู่แถวหน้าของแนวปะทะตลอด นั่นหมายถึงผมย่อมมี “อารมณ์” เคียดแค้น ชิงชัง ชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะ “ศักดินาใหญ่” ที่เราล้วนเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังคำสั่งฆ่าประชาชน เช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ เกลียด พ.อ.อุทาร และวิทยุยานเกราะ นสพ.ดาวสยามและบางกอกโพสต์ ทมยันตี กิติวุฒโฑ รวมทั้ง นายสมัคร คนนี้ด้วยเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ทั้งสอง และขบวนนักศึกษาประชาชนที่ถูกปราบปรามทำร้ายนั้นเช่นกัน...
       
       ความเคียดแค้นในวัยเยาว์นำผมและเพื่อนจำนวนมากเข้าสู่สงครามประชาชน แลกเลือดด้วยเลือด ห้ำหั่นประหัตประหารกันเองอย่างหนักหน่วง ผมได้เข้าร่วมกองทัพปลดแอกและได้ “ฆ่า” ทหาร ตำรวจ และโดยเฉพาะ “ตชด.” กับมือตนเองจำนวนมาก ในระหว่างสงคราม ด้วยความ “สะใจ” ที่ได้สางแค้นแทนเพื่อนที่ตายไปในธรรมศาสตร์เมื่อ ๖ ตุลาคม ๑๙ เป็นการระบายความเคียดแค้นโดยสงครามแลกเลือดแลกชีวิตกันกว่า ๕ ปี ในเขตป่าเขา...
       
       เสียดายที่ อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย วินิจกุล ไม่มีโอกาสตรงนี้..ที่จะได้ระบายอารมณ์ “เคียดแค้น” ตามสัญชาติญาณดิบของความเป็นมนุษย์ของเราได้มาก....ความอาฆาต ที่คั่งแค้นอัดแน่นจึงไม่ต้องเก็บอัดไว้ในส่วนลึกถึง ๓๒ ปี ที่ท่านยังเก็บรับเหตุการณ์ ๖ ตุลา ไว้ในอารมณ์ที่เหมือนเพิ่งผ่านมาเมื่อวานนี้ ในขณะที่ผมระลึกถึงด้วยการคำนึงถึงในอนุสติที่เตือนใจและตรองความคิดทุกครั้งที่คิดถึง มิได้อัดแน่นด้วยอารมณ์คั่งแค้นที่เก็บอัดไม่มีทางระบายออก จนเปี่ยมล้นในงานวิชาการของ อ.สมศักดิ์ และ อ.ธงชัย ที่ยังจ้อง “เล่น” โจทย์เก่าอย่างต่อเนื่องด้วยงานวิชาการที่ห่อหุ้มด้วยอารมณ์ความรู้สึกส่วนลึกตลอดระยะ ๓๒ ปีที่ผ่านมา....
       
       ต้องขอโทษที่บังอาจวิเคราะห์ทางจิต จี้จุดต่อมใต้สำนึกของท่านอาจารย์ที่เปี่ยมวรยุทธ์ในวงวิชาการยิ่งนัก หากชี้ผิดไปก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
       
       ประการที่สอง ในเนื้อหาการจุดกระแสของท่านทั้งสอง ว่ามีผู้จุดกระแสคล้ายคลึงก่อนเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา นั้น ผมมีความเห็นว่า หากเทียบเคียงรูปแบบหรือใช้ตรรกะศาสตร์มาเทียบเคียงปรากฏการณ์หนึ่ง กับ หนึ่ง นั้นดูเหมือนใช่ ดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนดาวสยาม กับ ผู้จัดการ จะเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนขบวนนวพล-กระทิงแดง จะเหมือน ขบวนพันธมิตร เช่นนั้นฤา? แล้วตัวละครอย่าง เนวิน ประชา กับม็อบถ่***โชว์กระจู๋หน้า ธรรมศาสตร์ วันนั้น เทียบเคียงกับกลุ่มใด บุคคลใดในอดีตได้เล่า ? เขาคือ ขบวนนิสิต นศ.ประชาชน ผู้ต่อต้านการกลับเข้ามาของถนอม เช่นนั้นฤา ? ดูว่า ตรรกะของ อ.สมศักดิ์ จะพิลึกพิลั่นอยู่กระมัง
       
       ประการที่สาม หากพิจารณาการจุดกระแสของ อ.สมศักดิ์ ว่าการเคลื่อนไหวต่อต้านขบวนการหมิ่นฯ ของเครือผู้จัดการและขบวนพันธมิตรนั้น เป็นเรื่องเดียวกันกับขบวนปลุกปั่นยุยงให้สังคมเกลียดชังนักศึกษาเมื่อวันที่ ๕ ตุลา ๑๙ ได้ โดยเฉพาะกรณีการใช้รูปที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพให้ดูเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่สื่อในเครือผู้จัดการ ออกมาอัดขบวนการหมิ่นฯ กรณีโชติศักดิ์ กรณีเว็บประชาไท-ฟ้าเดียวกัน กรณีใบปลิว และอื่นๆ นั้น คงเป็นการใช้ตรรกะ ของ อ.สมศักดิ์ ที่ขาดน้ำหนักในการพิจารณาเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ทั้งสองยุคนั้นว่ามีส่วนที่เหมือนและต่างกันเช่นใด
       
อ้างถึง
       กล่าวคือ[/size] การจุดกระแสด้วยกรณีหมิ่นฯ ของดาวสยาม-ยานเกราะ โดยใช้รูปเหมือนที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพ เมื่อ ๖ ตุลา ๑๙ นั้น เป็นเรื่องจอมปลอมที่หลอกลวงสังคม     ผมรู้จักอภินันท์ ดี และอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องเลือกเขาไปแขวนคอในละคอนการเมืองเทียบเคียงกับการฆ่าแขวนคอกรรมกรที่นครปฐมนั้นเพราะเขาเป็นคนตัวเล็กใช้ผ้าขาวม้ามัดเป็นเทคนิคได้ มิใช่เพราะเขาหน้าเหมือนเจ้านายพระองค์ใด หรือเป็นความจงใจจะทำการหมิ่นฯ ข้อนี้สามสิบปีที่ผ่านมาสังคมก็เรียนรู้และประจักษ์ชัด อ.เกษียร และ อ.สมศักดิ์ ก็ย่อมต้องเข้าใจอย่างแท้จริงในเจตนาว่าตั้งใจหมิ่นฯ หรือไม่หมิ่นฯ เทียบเคียงกับกรณีโชติศักดิ์ ที่ทั้ง อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย รู้จักดีทั้งฐานะลูกศิษย์ที่ซึมซับวิธีคิดและอารมณ์เคียดแค้นพยาบาท “เจ้า” ในจิตใต้สำนึกของท่านทั้งหลายที่สืบสานยังผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในตัวท่าน และ กรณีโชติศักดิ์นั้น เจ้าตัวตั้งใจอย่างยิ่งที่จะไม่ยืนเคารพเมื่อเปิดเพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งการทำแคมเปญ ไม่ยืน ไม่หมิ่น คิดต่าง มิใช่อาชญากร ทั้งในการทำเสื้อรณรงค์สวมใส่ในกลุ่มพวกหรือการรับลูกของเว็บไซต์ประชาไทและฟ้าเดียวกัน ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ เป็นผู้มีบารมีใกล้ชิดกันอยู่แล้วมิใช่หรือ?
       
       การที่ อ.สมศักดิ์ จุดกระแส โจมตีผู้อื่นว่าจุดกระแส ๖ ตุลา จึงเป็นความไม่ถูกต้อง เพราะเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนกันนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และผมยังตั้งข้อสังเกต อ.สมศักดิ์ ว่าคนในระดับท่านนั้นเชี่ยวชาญการเมืองและแม่นยำเหตุการณ์ทั้งยังเก่งในการใช้ตรรกะเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านหรือสังคมคล้อยตามตรรกะของท่านได้บ่อยๆ นั้น จะไม่รู้จริงๆ หรือว่า
การใช้กรณีหมิ่นฯ เป็นเหตุโจมตีทางการเมืองของทั้งสองกรณีนั้นไม่เหมือนกัน เมื่อสามสิบสองปีก่อนนั้นของปลอม แต่ พ.ศ.นี้ “ของจริง”   แต่ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ดูเปรียบเทียบเลอะเลือนเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความจงใจในการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปกป้อง “โชติศักดิ์” และขบวนของเขา รวมทั้งกลุ่มความคิดฟ้าเดียวกัน ที่ท่านใกล้ชิด และมีอิทธิพลทางความคิดต่อเด็กๆ เหล่านี้ยิ่งนัก?      ....ว่ากันว่า คนกลุ่มนี้ศรัทธาท่านทั้งสามยิ่งนัก เท็จจริงประการใด วานบอก...

     
       นี่เรายังไม่ได้โต้แย้งในเรื่องที่ ท่าน อ.สมศักดิ์ กล่าวแก้ต่างแทนกลุ่มคิด “ปฏิญญาฟินแลนด์” ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ คงต้องแนะนำให้ อ.สมศักดิ์ ไปค้นที่มาที่ไปในเรื่องนี้ให้ชัดก่อน ย้อนไปดูบทสัมภาษณ์ของ อมร และหาโอกาสไปคุยกับคนวงในอย่างพี่มิ้ง พี่เกรียง พี่อ้วน..ก่อนก็ได้ การเขียนบทความตัดสินบางเรื่องว่าไร้สาระโดยอัตวิสัยนั้นหาใช่คุณสมบัติที่ดีของนักวิชาการนะครับ หรือให้รีบกลับไปอ่านบทความเรื่อง Republics ของปราชญ์สยามตัวจริง อ.ชัยอนันต์ ก็ได้ อ.สมศักดิ์จึงจะได้เรียนรู้เรื่องราวการเมืองในเบื้องลึกได้ลึกซึ้งกว่าที่ผายลมผ่านบทความของตนเช่นนั้น
       
      ส่วนประเด็นที่ อ.เกษียร เรียกร้องไม่ให้ใช้กรณีหมิ่นฯ และสถาบันกษัตริย์   เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเตือนว่าอย่าเดินไปสู่ ๖ ตุลาฯ นั้น น่าจะเป็นข้อกังวลร่วมกัน เพียงแต่ผมเห็นว่า อ.เกษียร น่าจะหันปลายปากกาไปเตือน “โชติศักดิ์” และพวก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ อ.เกษียณเอง ว่าไม่ควรทำอะไรที่ “อ่อนหัด ไร้เดียงสา และฉวยโอกาสเอียงซ้าย” แบบสุดๆ เช่นนี้อีก เพราะสิ่งที่ลูกศิษย์ท่านทำการ “ห่ามๆ”เช่นนี้ รังจะเป็นผลร้ายต่อขบวนประชาธิปไตย เป็นเงื่อนไขให้ทหารทำรัฐประหาร และเผด็จการ หรือการปราบปรามประชาชนก็จะตามมา เด็กเมื่อวานซืนอย่างโชติศักดิ์และพวกมองไม่เห็นหรอกว่า คำว่า “หายนะ” นั้นสะกดอย่างไร ต้องเป็นธุระของคนในรุ่นเราที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายนั้นต้องชะลอความแรงของคนรุ่นหนุ่มเช่นนี้ มิใช่ให้ท้ายส่งเดชอย่างที่ อ.สมศักดิ์ ทำอยู่
       
       สุดท้าย ฝากถึง อ.ธงชัย ที่อยู่แดนไกล ด้วยว่า น่าจะพบธรรมของพระพุทธองค์ได้แล้ว ทั้ง อ.สมศักดิ์ด้วย เลิกอาฆาตพยาบาทได้แล้ว เพื่อสติปัญญาเหนือคนอย่างพวกท่านทั้งสามจะได้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้ด้วยไม่เจือปนโมหะจริตอยู่อย่างที่เป็นอยู่นี้ เลือดต้องล้างด้วยเลือดตามเนื้อเพลงที่จิตร ภูมิศักดิ์ แต่งไว้นั้น ในชีวิตจริงผมผ่านมาแล้วด้วยชีวิตแลกชีวิตด้วยมือตนเอง ผมผ่านมาหมดแล้ว ผมพอแล้ว ... กรรมใดใครก่อก็ต้องพบกรรมตามสนอง..นี่สิของจริง....

 ***************************************************
http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=8015&st=0
เว็บฟ้าเดียวกัน
 
บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #52 เมื่อ: 15-05-2008, 07:43 »

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=2506&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=2506&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai




เกษียร เตชะพีระ : “ความอิจฉาเป็นบ่อเกิดแห่งความเสมอภาค”   
 


เขาให้คำจำกัดความชนชั้นกลางแบบไม่ค่อยน่าไว้วางใจเท่าไหร่ พร้อมพูดถึงความรักชาติด้วยอาการอิหลักอิเหลื่ออย่างยิ่ง แต่ในภาวะไม่เอาทักษิณ และภาพของการชุมชุมวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้ ‘ประชาไท’ อดนึกถึงเขาไม่ได้

 

คำอธิบายของเขาคล้องจองกันไปกับท่าทีของฝ่ายองค์กรภาคประชาชนในประเด็นที่ว่า ทักษิณไม่ใช่ปัญหาประการเดียวของแผ่นดิน แต่มีอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าทักษิณ คำอธิบายจากนั้นคือความแตกต่าง เขาไม่ได้พูดถึงระบอบทักษิณ แต่พูดถึงโลกาภิวัตน์ของเสรีนิยมใหม่ที่การแปรรูปประเทศเป็นภาวะสากลของโลก อย่างนั้นแล้ว กระบวนการขับไล่นายกฯ จะตอบปัญหานี้อย่างไร

 

‘ประชาไท’ สัมภาษณ์ รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ ในช่วง 11.00 น. ของวันที่ 8 ก.พ. 2549 ไม่กี่ชั่วโมง ก่อนหน้าสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของการชุมนุมวันที่ 4 ก.พ. จะประกาศเปิดทางให้องค์กรภาคประชาชนรับช่วงนำการเคลื่อนไหวขับไล่นายกฯ จึงยังมีบางส่วนของคำสัมภาษณ์ที่แสดงความห่วงใยในสถานการณ์วัน 11 ก.พ. ที่จะถึงในบริบทแบบเดิม (สนธิ vs ทักษิณ)

 

อนึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นคนขี้อิจฉาหรือไม่ แต่กับเงิน 73,000 ล้านที่ครอบครัวนายกฯได้จากการขายหุ้นโดยไม่ต้องเสียภาษีสักบาท คุณควรอิจฉาเอาไว้นะ เพราะเกษียร เตชะพีระเขาบอกว่า ความอิจฉาจะนำมาซึ่งความเสมอภาค

 

อาจารย์เคยอธิบายเรื่องชนชั้นกลาง ที่จะเลือกเอาผู้นำที่ทำให้ตัวเองมั่นคงปลอดภัยทางเศรษฐกิจไว้ก่อน ขบวนการม็อบขับไล่นายกฯ จะไปเข้าอีหรอบเดิมไหม จะเป็นเหมือนกบเลือกนายหรือไม่

ขอพูดเป็น 3 ชั้นนะ เพราะเรื่องนี้เรื่องใหญ่

 

ชั้นที่หนึ่ง เรื่องกบเลือกนาย ผมคิดว่าคำพูดคำนี้มันหยุดการคิด และที่สำคัญมันสะท้อนความจริงบางอย่าง ในความหมายแบบนี้ว่า สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ถ้า 1. มันนำไปสู่การสูญเสียชีวิตจากความขัดแย้งครั้งนี้ 2.ได้แค่เปลี่ยนตัวประธานในการ privatize (แปรรูป) รัฐชาติไทย จากคุณทักษิณเป็นคนอื่น โดยที่โปรเจ็คท์ privatize รัฐชาติไทยยังเป็นแบบเดิม อันนี้น่าเศร้าที่สุด

 

ผมยังเข้าใจว่า ตอนนี้ความเข้าใจของมหาชนทั่วไปมันหยุดอยู่แค่นี้ ปัญหาที่เป็นรากเหง้ามันใหญ่เสียจนกระทั่ง แค่เปลี่ยนตัวทักษิณเป็นคนอื่นนั้นมันไม่แก้อะไร

 

ปัญหามันใหญ่เสียจนกระทั่ง....ด้วยความเคารพ มีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 100 คน มีความถูกกฎหมาย สุจริต ไม่มีความฉ้อฉลอะไรทั้งสิ้น ปัญหาก็ยังเกิดอยู่ดี (หัวเราะ) เพราะปัญหามันใหญ่มากเลย แต่ตอนนี้มันถูกรวบความเป็นว่า เปลี่ยนตัวประธานกระบวนการทั้งหมดก็แล้วกัน แล้วเอาแบบสะอาด ไม่มีคอร์รัปชั่น ถูกกฎหมายทุกอย่าง สุจริตเต็มร้อย แล้วทุกอย่างจะดี ไม่ใช่เลยครับ

 

สำหรับผมแล้ว สิ่งที่น่ากลัวในการเคลื่อนไหวขับไล่นายกฯ มี 2 ข้อคือ 1. มีคนตายจากความขัดแย้งครั้งนี้ 2. ‘ได้แค่นี้’ ซึ่งผมก็กลัวคือ มันจะได้แค่นี้จริงๆ

 

ชั้นที่ 2 ผมคิดว่าชนชั้นกลางกำลังแสดงความรักชาติ ซึ่งถ้าพูดจากจุดยืนของคนชั้นล่าง มันเป็นชาติที่ไม่น่ารักเท่าไร เพราะมันเป็นชาติที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแบบไม่เสมอภาค

 

ชาติที่คนชั้นกลางรัก เป็นชาติที่ไฟฟ้าถูก แต่ไฟฟ้ามันถูกก็เพราะมันไปปล้นเอาแม่น้ำเขามา ปล้นเอาสิ่งแวดล้อมเขามา หรือพูดง่ายๆ มันเป็นชาติที่เขาอยู่บนความได้เปรียบพอสมควร ได้เปรียบธรรมชาติ ได้เปรียบชาวบ้านข้างล่าง นี่คือชาติที่คนชั้นกลางรักมากเลย

 

ผมคิดว่าปัญหาที่คนชั้นกลางลุกขึ้นมาต่อต้านทักษิณ เพราะทักษิณคุกคามความเป็นอยู่ของชาติในความหมายนี้ ซึ่งพูดถึงจุดยืนแล้ว ผมไม่ชอบชาติในความหมายนี้เลย มันเป็นชาติที่มีปัญหามาก แล้วก็ที่ผ่านมาก็ทะเลาะกันแย่งชาติแบบนี้แหละ

 

แต่แม้กระทั่งชาติแบบนี้ เราก็ยังรู้สึกว่าถูกคุกคาม เพราะอะไร เพราะทักษิณดำเนินกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ แบบที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทุนของเขา ต่อพวกพ้องของเขา ซึ่งมันไปคุกคามความมั่นคงในชาติที่น่ารักของคนชั้นกลาง ไฟฟ้าแพงเหรอ น้ำมันแพงเหรอ อย่างนี้แปลว่าอะไร ตลาดหุ้น... บางคนได้เปรียบ กูเสียเปรียบเหรอ

 

สินเชื่อราคาถูก ตลาดหุ้น บริโภคนิยม นี่คือ 3 สถาบันหลักของคนชั้นกลาง ซึ่งตอนนี้มันกำลังถูกคุกคาม ตลาดหุ้นก็ฉ้อฉล มันไม่แฟร์นี่หว่า สินเชื่อตอนนี้ดอกเบี้ยก็เริ่มสูงแล้ว บริโภคนิยมชักจะทำงานไม่ได้แล้ว ภายใต้สภาพที่ข้าวของเริ่มแพง ดังนั้น คนชั้นกลางจึงต้องแสดงความรักชาติ

 

ชั้นสุดท้าย เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ซึ่งผมรู้สึกว่ายังไม่มีใครเสนออะไรเลย แล้วคนที่ทำให้ผมนึกถึงอันนี้คือ อาจารย์เสกสรรค์ (ประเสริฐกุล) คือพูดให้ถึงที่สุด มันเป็นกระบวนการที่โลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่กำลังเข้ามาเปลี่ยนรัฐชาติไทย โดยตรรกะของมัน เป้าหมายสูงสุดก็คือ privatize (แปรรูป) รัฐไทย ซึ่งคุณทักษิณ บังเอิญ มาเป็นประธานดูแลบริหารกระบวนการนี้อยู่ โดยทำอย่าง Aggressive (ก้าวร้าว) มาก และรับเหมาคนเดียว ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนอื่น ไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนชั้นกลางเท่าที่ควร อันนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากรู้สึกว่าท่านสูญเสียความชอบธรรม

 

แต่ถามว่าเขาตั้งคำถามกับกระบวนการนี้ทั้งกระบวนไหม ผมคิดว่าไม่ ซึ่งมันน่าเศร้า เพราะมันหมายความว่าต่อให้เอาเขาออกไป คนใหม่เข้ามาก็จะนั่งเป็นประธานกระบวนการนี้ต่อ เพียงแต่จะก้าวร้าวขนาดนี้ไหม จะไม่ฟังคนอื่นขนาดนี้ไหม ทำเอฟทีเอ เมกะโปรเจ็คท์ เอาน้ำให้บริษัทนั้น บริษัทนี้ นี่มันเป็นฟังก์ชั่นของรัฐชาติ แล้วคุณก็ privatize ให้บริษัททั้งหลายทำ คือตรรกะมันง่ายมาก พอทำให้ของส่วนรวมกลายเป็นของส่วนตัว จะขายให้ใครก็ช่างเขา แต่ถ้าเขาขายให้ต่างชาติก็จบ คุณเปิดประตูแปรรูปแล้วจะห้ามต่างชาติเข้ามามันยากมาก ทักษิณเพียงแต่เป็นผู้ดำเนินตามตรรกะนี้ไปให้ถึงที่สุด

 

หากปัญหาของประเทศคือโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ถ้ามองจากมุมของทักษิณก็ย่อมไม่มีใครสมควรขึ้นมาเป็นประธานในการแปรรูปประเทศได้ดีกว่าตัวทักษิณเอง เพราะเขาคือกลุ่มทุนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ย่อมต้องปกป้องตัวเองได้ดีกว่าจะให้คนอื่นมาปกป้อง

ใช่ ถ้ามองจากมุมคุณทักษิณ เขาควรจะดูแลกระบวนการทั้งหมด แต่กระบวนการแปรรูปประเทศนั้นส่งผลกระทบต่อคนเยอะมาก และมีกลุ่มคนที่ไม่ได้ผลประโยชน์จากการแปรรูปประเทศครั้งนี้เลย กลุ่มทุนอื่นๆ ที่อยากจะร่วมกระบวนการนี้ไม่ได้ประโยชน์ คนที่เสียต้องประโยชน์โดยตรงจากการแปรรูปประเทศโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยก็มีมาก

 

ม็อบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ จะทำให้คนที่เข้าร่วมซึ่งหลากหลายมาก ได้เรียนรู้เพิ่มเติมได้ไหมว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

ไม่ได้ ไม่พอ ฟันธงเลย แต่ว่าก็ทำไปจนสุดความสามารถที่จะทำให้เห็นประเด็นที่กว้างและมากไปกว่าตัวบุคคล นี่คือเรื่องใหญ่ ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า แต่ในทางกลับกัน คุณทักษิณก็เป็นตัวบล็อกในการเปลี่ยนระบบอยู่ การจะบอกว่าปัญหาอยู่ที่ระบบ ไม่ใช่บุคคล อย่าไปล้มทักษิณเลยมันก็ไม่ใช่ เพราะการที่คุณทักษิณอยู่ตรงนั้นมันก็ไปบล็อกการเปลี่ยนแปลง แกนั่งเป็นประธานกระบวนการ privatize แล้วแกดันดำเนินกระบวนการแบบที่ antagonize (เป็นศัตรู) คนจำนวนมากที่อยากจะอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย แกกลับดำเนินการไปในลักษณะที่แกได้คนเดียว และมันไปสั่นคลอนความมั่นคงของกลุ่มทุนกลุ่มอื่น ในความหมายนี้มันจึงมีเหตุผลที่คนจะไม่รับ และต้องปลดบล็อกตรงนี้ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงหลักรัฐศาสตร์ทั่วไปนะว่าที่แกทำมันก็ไม่ชอบธรรม

 

อย่างนั้นแล้วคำถามที่ชาวไทยรักไทย หรือหลายๆ คนถามว่า ไม่เอาทักษิณ แล้วจะเอาใคร ก็ไม่ใช่คำถามที่จำเป็น เพราะไม่ว่าใครขึ้นมาก็คงคล้ายๆ กันใช่ไหม

ประเทศที่สามารถรับผลกระทบของโลกาภิวัตน์แล้ว ชะตากรรมดีหน่อยก็คือ ประเทศที่ใช้อำนาจรัฐบริหารจัดการโลกาภิวัตน์อย่างเป็นตัวของตัวเอง ใช้อำนาจรัฐบริหารจัดการโลกาภิวัตน์แบบคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนกลุ่มใหญ่ และผลกระทบของคนกลุ่มน้อย

 

มีตัวอย่างไหม

อันนั้นเป็นหลักการทั่วไป ถ้าดูแลตรงนั้นก็จะเป็นโลกาภิวัตน์ที่เอื้ออาทร เป็นคุณต่อคนตัวเล็กตัวน้อยหน่อย มีเกราะคุ้มกัน และมีอำนาจต่อรอง ไม่สูญเสียทรัพยากร ถ้ายึดตรงนี้เป็นเกณฑ์ คุณทักษิณก็ตก เพราะในกระบวนการตรงนั้นเขาไม่ได้ดูแลคนเล็กคนน้อย ที่แย่กว่านั้นคือ เขาได้ประโยชน์มากกว่าคนอื่น แบบน่าเกลียดด้วย (หัวเราะ)

 

ในความหมายนี้เราก็ต้องเปลี่ยนตัวประธานผู้บริหารจัดการ เพราะอยู่ภายใต้แก แกก็ไม่ค่อยฟังใคร ด้วยความเป็นอำนาจนิยมของแก มันยิ่งทำให้กระบวนการนี้เลวยำยำขึ้นไปอีก ด้วยความคับแคบ ไม่ให้คนอื่นเข้าร่วมกระบวนการ

 

จริง ๆ แล้วก็ไม่มีใครที่จะเป็นหลักประกันว่าขึ้นมาเป็นประธานในการแปรรูปประเทศแล้วจะเฉลี่ยให้เท่าเทียมกัน

ก็ต้องสร้างอำนาจต่อรองของประชาชนขึ้นมา ปัญหาของคุณทักษิณคือ ความคับแคบในการทำงาน ไม่เปิดกว้าง

 

หมายความว่าถ้าทักษิณเปลี่ยนท่าที ฟังมากขึ้น เฉลี่ยผลประโยชน์มากขึ้น ก็โอเคใช่ไหม

ผมคิดว่าแกพูดอย่างนี้แล้วก็ทำตรงข้ามเสมอ ที่แกเสียตอนนี้ ไม่ใช่แกเสียท่า หรือเสียทีนะ แต่แกเสีย Trust แกเสียความไว้วางใจจากผู้คนไปแล้ว ตอนนี้ลำบากแล้ว

 

หรือเป็นเพราะคุณทักษิณทำไม่เนียน

แกพยายามเนียนแล้ว ปากแกไม่ดีเท่านั้นเอง ผมว่าแกก็คิดไม่ถึงว่า แกขายหุ้นแล้วคนจะด่ากันทั้งเมือง ดูแกช็อก

 

สรุปว่า แม้อาจารย์จะมองว่าปัญหาที่เราเผชิญอยู่ไม่ได้อยู่ที่ตัวคุณทักษิณเท่านั้น แต่ในเบื้องต้นคุณทักษิณควรลงจากตำแหน่งประธานในการแปรรูปประเทศก่อน

ครับ แต่จริงๆ ผมสงสารลูกแกนะ แกเป็นคนรักลูกมาก แล้วแกก็ไม่อยากให้การเมืองไปทำร้ายครอบครัวแก แต่ผมรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่แกทำ มันนำไปสู่ผลตรงข้ามกับที่แกต้องการ กลายเป็นว่าลูกแกต้องมาเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ด้วย น่าสงสาร

 

อาจารย์รังสรรค์ (ธนะพรพันธุ์) เคยบอกว่า สิ่งที่ตรงข้ามกับเสรีนิยม ก็คือชาตินิยม แล้วการที่จะสู้กับเสรีนิยม ก็ต้องยกชาตินิยมขึ้นมา ซึ่งมันก็ sensitive ไม่น้อยว่ามันจะออกมายังไง

น่าคิดมากเลยว่า ประเด็นที่ถูกชูในการเคลื่อนไหวก็เป็นเรื่องการขายชาติ กู้ชาติ พรรคประชาธิปัตย์ก็มีคำ ทุจริต ผิดกฎหมาย ขายชาติ ตั้งเสียคล้องจองสวยหรู แต่ที่มันพรางอยู่ข้างในก็คือ มันยังตกลงกันไม่เรียบร้อยเลยนะเรื่องชาติ มันยังเอารัดเอาเปรียบกันเองอย่างมาก

 

ในเมื่อมันยากหรืออาจจะสายเกินไปที่จะต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ เราก็แปรรูปไปเลยพวกรัฐวิสาหกิจ น้ำ ไฟ อะไรต่างๆ ให้เกิดการแข่งขันแท้จริงเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคตามทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ เพราะทุนก็ไม่มีสัญชาติอยู่แล้ว

ประการแรก ไม่เคยมีที่ไหนในโลกที่เปิดเสรีแล้วไม่ได้แข่ง แต่ก็ไม่เคยมีที่ไหนที่เปิดแล้วไม่โดน dominate (ครอบงำ) ไม่เกิดการฉ้อฉล เพราะพื้นที่การเมืองมันไม่เคยเป็นพื้นที่ในฝันของนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกสักที่หนึ่งเลย นี่เมืองไทยนะครับ มันไม่มี เปิดเต็มที่แล้วจะเกิดการแข่งขันเสรีแล้วได้ประโยชน์สูงสุดมันไม่เกิดหรอก

 

ประการที่ 2 มันไม่มีหลักประกันเลยว่า ถ้ากระบวนการ privatization เข้ามาแล้วมันจะดูแลคนที่ไม่มีอำนาจซื้อ เมื่อทุกคนกลายเป็นผู้บริโภค บัตรประชาชนโยนทิ้งน้ำได้เลย เอาเครดิตการ์ดมาโชว์ดีกว่า ประเทศอื่นเวลาโดนแบบนี้ก็ฉิบหายหมดเลยนะ

 

ก็เมื่อใครขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็ต้านเสรีนิยมใหม่ไม่ได้ อย่างนั้นแล้วประเทศเรากำลังจะก้าวไปสู่อะไร

แต่ก่อนนี้ในนามของชาติ เรามีความเชื่อว่ามันจะปกป้องคนข้างหลังรั้วนั้นได้อย่างค่อนข้างเสมอภาคกัน ประสบการณ์มันก็เป็นอย่างนั้น แต่มันก็มีคนขายชาติอยู่ มีคนรังแกชาติอยู่ มาถึงตรงนี้มันมีการถอนรื้อรั้วนี้ทิ้ง ทีนี้คนที่เคยได้ประโยชน์จากรั้วนั้นบ้าง คือ คนตัวเล็กตัวน้อย เขามีความรู้สึกว่า ถ้าไม่มีรั้วแล้วจะมีอะไรให้เขา มันก็มีเหตุผลนะครับที่เขาจะรู้สึกว่าเขาจะรักชาติ มีเหตุผลที่จะรู้สึกว่าในพื้นที่ตลาดเสรี คนอย่างเขาแข่งไม่ได้ และเขาจะไม่ได้อะไรเลย แม้ว่าพื้นที่ตลาดเสรีนั้นจะมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือแม้ว่าพื้นที่ตลาดเสรีนั้นจะมีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ เพราะเขาไม่มีต้นทุนจะไปแข่ง

 

ตามตรรกะของตลาดเสรีก็จะบอกว่าคุณก็เป็นผู้แพ้สิ เอาอย่างนี้แล้วกัน เดี๋ยวเราจะดูแลให้ 30 บาทรักษาทุกโรค อะไรก็ว่าไป และนั่นคือสิ่งที่ทำเพื่อรองรับประชากรส่วนเกิน คนที่ไม่มีคุณค่าในตลาด

 

โครงการ 30 บาท ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินไปสู่รัฐสวัสดิการ ที่เก็บภาษีสูงๆ แล้วเอามาเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกันหรอกหรือ

เราเพิ่งจะไม่เก็บภาษีเศรษฐีที่รวยที่สุด ไม่ใช่เหรอ แหม ทำเป็นลืม ถ้าคนๆ หนึ่งขายหุ้นไปเกือบแสนล้านแล้วไม่ต้องจ่ายภาษีเลย...คร่อก

 

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่กรณีขายหุ้นชินคอร์ปยังไม่ถูกต่อต้านแรงขนาดนี้ มีการทำโพลล์ออกมาถามว่านายกฯ จำเป็นต้องเสียภาษีไหม ตั้ง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ตอบว่าไม่จำเป็น

ก็คุณนึกดู สิ่งที่รัฐทำกับคุณมาทั้งชีวิต นึกดู ปัญหาภาคใต้ รีดไถ ฯลฯ แล้วคุณก็ต้องเสียให้มัน คุณอยากเสียภาษีไหม นี่เป็นรัฐที่บริการคุณดีหรือ นี่เป็นรัฐที่เป็นธรรมกับคุณหรือ ทั้งที่ไม่อยากเสีย เพราะมันบริการคุณแย่มาก

 

แต่ว่าความรู้สึกของชนชั้นกลางต่อกรณีคุณทักษิณก็คือ “เราไม่อยากเสียภาษียังมีเหตุผล แต่คุณทักษิณไม่มีเหตุผล มึงรวยกว่ากู” อย่าลืมว่า ความเสมอภาคมันเริ่มต้นด้วยความอิจฉานะ ความเสมอภาคมันเริ่มต้นจากการอิจฉารวมหมู่ การใช้ความอิจฉารวมหมู่ไปในทางสร้างสรรค์จะเป็นเส้นทางไปสู่ความเสมอภาค

 

ฉะนั้นกระบวนขับไล่ทักษิณนั้นก็คือการใช้พลังอิจฉารวมหมู่ไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดระบอบที่เป็นธรรม ที่คุณทักษิณพูดก็ถูกนะ อิจฉานี่ โห ทำไมจะไม่อิจฉาล่ะ ถ้าผมเป็นคุณรักเกียรติ สุขธนะ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ถูกพิพากษาจำคุกเนื่องจากกรณีทุจริตจัดซื้อยา-ประชาไท) ผมก็อิจฉา แหม กูโกงนิดเดียว จับกูติดคุก

 

อาจารย์บอกว่าม็อบขับไล่นายกฯ เป็นม็อบที่ชนชั้นกลางแสดงความรักชาติแบบชนชั้นกลาง แต่ก็มีคนระดับล่างที่ได้รับผลกระทบมาร่วมไม่น้อย

คนเหล่านั้น ผมคิดว่าเขาได้รับผลกระทบโดยตรงจากโปรเจ็คท์ในยุคโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น มันมีแนวร่วมหลายขบวน แต่ก็อย่างว่า ชาติของคนชั้นกลางมันก็ยืนอยู่บนหลังของคนชั้นล่างที่จับมืออยู่กับเขานี่แหละ มันฝันเห็นชาติกันคนละชาติ แต่ความต่างของชาติที่ถูกคุกคามแบบของชนชั้นกลาง กับชาติที่ถูกคุกคามของคนชั้นล่าง มันถูกเกลื่อนกลบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยการถวายคืนพระราชอำนาจ พอพระองค์ปรากฏ ความต่างที่สำคัญที่สุดหายไป ความเหมือนกันที่สุดก็กลายเป็นความต่างได้ โลกอุดมการณ์ทางการเมืองมันมีของพวกนี้อยู่

 

แต่ประเด็นการเคลื่อนไหวก็ดูจะเคลื่อนไปทางอื่นแล้ว เช่น การเรียกร้องปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2

ผมก็หวังว่า แต่กระนั้น ที่อ่านดูในจดหมายที่ถวายฎีกา เนื้อหา น้ำเสียงก็ไม่เป็นอย่างที่คุณพูดเลยนะ และการถวายพระราชอำนาจคืน ทันทีที่พูดคำนี้ขึ้นมา ถึงที่สุดมันต้องนำไปสู่การเปลี่ยนระบอบการเมือง ซึ่งในระบอบอย่างที่เรามีอยู่ปัจจุบันนี้ คุณทักษิณก็ล็อคมันไว้หมด

 

ฉะนั้น ข้อเรียกร้องในนามการถวายพระราชอำนาจคืน กับสภาพความเป็นจริงที่คุณทักษิณล็อคการเมืองไทยทั้งหมด ถ้ามันพุ่งเข้าใส่กัน มันก็มีทางออกอยู่อันเดียว คือต้องเปลี่ยนแปลงการเมืองนอกระบบ เช่น รัฐประหาร ม็อบ อะไรก็แล้วแต่ เพราะเงื่อนไขเดียวที่ในหลวงจะลงมา ดูจากทุกครั้งที่ผ่านมาคือ ระบอบการเมืองมันพัง ทำงานไม่ได้

 

การลงชื่อของนักวิชาการเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก อาจจะถูกตั้งคำถามว่าเป็นการยอมให้นายกฯ มาจากระบบอื่น เป็นการยอมรับอำนาจอื่นนอกเหนือกลไกตามระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่า

ผมก็ไม่รู้รายละเอียดของนักวิชาการแต่ละสถาบัน แต่เท่าที่รู้ นักวิชาการในสถาบันต่างๆ เขาเรียกร้องก็ให้นายกฯ ลาออก ไม่ได้บอกว่านายกฯ คนใหม่ต้องมาด้วยวิธีการพิเศษ

 

กล่าวเฉพาะในคณะของผม นี่คือประเด็นที่เราถกกันเยอะมากด้วยความวิตก เราระมัดระวังที่จะไม่ให้มีถ้อยคำใดๆ ในแถลงการณ์ของเราที่ส่อไปในทางยอมรับอำนาจพิเศษ คือขอให้อยู่ในกรอบ ในระบอบนี้ซึ่งเป็นระบอบที่มีปัญหา ต้องแก้ แต่เฉพาะหน้านี้มันต้องปลดล็อคตรงนายกฯ ก่อน ส่วนเราจะแก้อะไร แก้อย่างไร เราคุยกันได้อีกเยอะ เพราะโจทย์มันใหญ่ ไม่ใช่แค่ทักษิณ

 

พูดสั้นๆ โจทย์ก็คือ กลุ่มทุนผูกขาดในประเทศ + ทุนโลกาภิวัตน์ ซึ่งตอนนี้เรารู้จักกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์ผ่านชื่อเทมาเสก เรากำลังจะหาการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญเพื่อมาถ่วงดุลคนกลุ่มนี้ โอ้โห มันยาก ผมไม่แน่ใจว่าทำได้ด้วยซ้ำ

 

แม้แต่กระแสที่นักวิชาการออกมา ชนชั้นกลางก็วิพากษ์วิจารณ์นักวิชาการว่าเก่งแต่ในตำรา ไม่รู้เรื่องโลกภายนอก

คืออยู่กันมาเป็น 10 ปีก็คงเริ่มรู้ว่าไอ้นี่ก็เก่งอยู่แต่ในสถาบัน เกลียดมันจริงๆ เลย แต่ก็ยอมรับว่ามันก็เป็นอย่างนี้แหละ คือผมคิดว่ามันก็ดีนะ ถ้าคนเราจะยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ แม้ว่าจะเห็นแตกต่างกัน

 

วันที่ 11 ก.พ.นี้ ถ้าคนธรรมดาคนหนึ่งจะเดินเข้าไปในม็อบ เขาต้องทำความเข้าใจอย่างไรบ้าง

คุณก็มีสิทธินะ ถึงแม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับแนวทางบางอย่างของคุณสนธิ แต่ว่าที่เขาทำก็ยังไม่เห็นมีอะไรผิดรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ที่ผมรู้สึกว่าน่าวิตกคือ ทั้งสองฝ่ายกำลังกระทำการผิดพลาดทางยุทธวิธี

 

ด้านของคุณสนธิ ก็อย่างที่บอก การรวมศูนย์อยู่ที่ตัวแก โดดเดี่ยวตัวเอง กลายเป็นม็อบสนธิล้วนๆ ทั้งๆ ที่กระแสความไม่พอใจทักษิณมันแผ่กว้างไปได้มาก ทั้งที่มันมีเงื่อนไขจะทำแนวร่วมได้มาก แต่แกมาโฟกัสที่ตัวแกมากเกินไป ทำให้ขบวนการที่จะเติบใหญ่หดแคบลง กลายเป็นการถวายคืนพระราชอำนาจ (ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างที่กล่าวไว้) ทำไมจึงโดดเดี่ยวตัวเองนัก ทำไมไม่ทำให้การเคลื่อนไหวไม่ใช่ของแก แต่เป็นของกลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลทักษิณ แล้วแกเป็นพลังหนึ่ง 

 

ในแง่กลับกัน รัฐบาลห้ามใช้ลานพระรูป เป็นการตัดสินใจที่โง่มาก ไปยุให้คนโกรธอีก ผมคิดว่าถ้าคุณทักษิณแกเลิกพูดสักปีหนึ่งได้จะดีมาก เพราะทุกครั้งที่แกพูด คนจะโกรธ

 

ในเงื่อนไขที่มีการเผชิญหน้าที่ยืดเยื้อ มีการแยกขั้ว ความผิดพลาดเชิงยุทธวิธีของทั้งสองฝ่าย มันอาจจะไต่ระดับแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรุนแรงในที่สุด ทำยังไงทั้งสองฝ่ายจะปรับยุทธวิธี

 

คุณทักษิณเองดูเหมือนก็พยายามดิ้นรนหาทางออกกับเรื่องนี้อยู่ เช่น การเปิดทำเนียบรับฟังนักวิชาการ หรือแม้กระทั่งรับฟังคุณสนธิเอง

มันเลยจุดนั้นไปแล้ว ถ้าเป็นคุณล่ะ คุณลองคิดดูสิ ผมบอกคุณว่า ฮัลโหล คุณจะมาคุยกับผมก็ได้นะ แต่ว่าช่วยพูดภาษาคนหน่อย แล้วก็ไมต้องพกความโง่มานะ ถ้าเป็นคุณคุณจะมาไหม แล้วใครจะไป แกพูดเสมอว่าเปิดรับฟัง แต่ก็ดูถูกเขาตลอดเวลา

 

อาจารย์อาจจะเซนซิทีฟเกินไป คนขับแท็กซี่ หรือแม่ค้าขายของก็อาจจะบอกว่า อิจฉาเกินไป เขาให้อภัยได้ และมีคนจำนวนมากที่ให้อภัยท่าทีดูถูกคนอื่นของนายกฯ ได้

ก็ดีแล้วที่เป็นอย่างนั้น จะได้ลบอคติที่ว่าคนชั้นล่างต้องถูกเสมอ สมัยผมอยู่กับ พคท. จะมีความเชื่ออย่างนี้ว่า กรรมกร ชาวนาถูกต้องเสมอ คือไม่ใช่ มึงถูกก็มีนะ คนขับแท็กซี่ กรรมกรชาวนาก็ผิดได้

 

โอเค คำถามนี้น่าสนใจ มันเป็นการให้อภัยจากจุดยืนของคนที่ไร้อำนาจหรือเปล่า

 

อยู่กับคุณทักษิณนานๆ ไปก็เคยชินได้นะ

ผมก็เริ่มชินแล้ว เหมือนโดนบ้องหูทุกวัน แต่คราวนี้มันเกินไปหน่อย คุณทักษิณก็คงจะงงว่า เอ๊ะ ไอ้นี่ บ้องหูมันทุกวันไม่โวยวาย คราวนี้หนักไปหน่อยเดียวเอง ทำไมมันโวยวาย

 

อันตรายอย่างหนึ่งของประชาธิปไตยคือ การที่เราแสดงการคัดค้านได้ แล้วก็สบายใจว่าได้คัดค้านไปแล้ว แล้วก็จบ ม็อบขับไล่นายกฯ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ทีผ่านมาจะเป็นกลลวงของประชาธิปไตย เป็นเพียงแค่การเอ็กเซอร์ไซส์ทางการเมืองเท่านั้นหรือไม่

ผมขอกลับคำถามคุณ พูดอีกภาษาหนึ่งคือว่า อะไรคือยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี การเคลื่อนไหวนอกสภาจะเชื่อมโยงกับในสภาอย่างไร อันนี้ยังต่างคนต่างคิด แต่กระบวนการภายในรัฐสภาก็ดูเหมือนจะโดนบล็อกไว้หมด ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับอาจารย์ทางเชียงใหม่ที่เขาเสนอว่าล่า 50,000 ชื่อ คือไม่ได้คิดว่ากระบวนการล่า 50,000 ชื่อเป็นเป้าหมายในตัวมันเอง แต่ว่าในการที่คุณจะล่า 50,000 ชื่อได้ คุณต้องให้การศึกษาคน ตีโจทย์นี้ให้มันกว้าง อธิบายปัญหาให้มันลึกซึ้ง

 

นักวิชาการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า เป็นห่วงคุณทักษิณมากว่าจะไปเร็วเกินไป ไปโดยวิธีการที่ไม่สมควร  แกห่วงว่าเดี๋ยวระบบทักษิณกลายเป็นวีรชน เดี๋ยวมันก็มีทักษิณ 2 ตามมา เหมือนกับที่สฤษดิ์ กลายเป็นวีรชนให้คนฝันถึง อันนี้ไม่อยากให้เกิด ประการที่ 2 แกคิดถึงประโยชน์ที่คุณทักษิณอยู่ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ ยิ่งนานก็จะยิ่งทำให้คุณทักษิณเปื่อย เปื่อย เปื่อยไปเรื่อยๆ และเนื่องจากระบบมันโดนบล็อกเอาออกไม่ได้ใช่ไหม แกก็จะเน่านะ

 

ผมคิดว่าสิ่งที่น่ากลัวก็คือ ถึงที่สุดแล้วคุณใช้วิธีการนอกระบบ ไม่รู้นะ มันอยู่ที่การนิยามชัยชนะอย่างไรด้วยใช่ไหม ถ้านิยามชัยชนะว่า ทักษิณต้องออกไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเมืองไทย อย่างนี้ก็น่ากลัว

 

แต่ถ้านิยามชัยชนะว่า ไม่มีใครตายแม้แต่คนเดียวในความขัดแย้งทางการเมืองนี้ สังคมไทยค้นพบการเปลี่ยนผ่านจากระบอบทักษิณ ไปสู่อย่างอื่นโดยไม่มีใครตาย ระหว่างที่สังคมไทยผ่านวิกฤต ได้เรียนรู้ เข้าใจตัวเอง และเข้าใจเงื่อนไขที่ล้อมสังคมดีขึ้น กระจ่างขึ้น อันนี้เป็นชัยชนะที่ยั่งยืน

 

การเปลี่ยนผ่านนี้มันใหญ่ ประเทศเราทั้งประเทศ จะจัดการเปลี่ยนผ่านนี้อย่างไร เอาแค่เรื่องคุณทักษิณ เอาแค่ไม่ให้มีใครตาย เพราะไม่คุ้มหรอก มันไม่เคยคุ้มเลย

 

สำหรับวันที่ 11 นี้ ผมเกรงว่าจะเกิดความรู้สึกประมาทของทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาลอาจจะประเมินจากวันที่ 4 ว่า อ๋อสุดยอดของคุณแค่ 50,000 เอง แล้วอาจมีใครทำอะไรเอาใจเจ้านายอีก

 

เขาไม่น่าประเมินอะไรอย่างนั้นได้เลยนะ

แต่ก็แปลกนะ ถ้าเราไปดูประวัติศาสตร์ ความโง่ของผู้นำมันมหัศจรรย์มากเลย ไม่น่าเชื่อว่าเขาจะคิดอย่างนั้นได้ ประเมินอย่างนั้นได้ แต่เขาคิด

 

อาจารย์มีข้อเสนอรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การชุมนุมไหม ถ้าหากเราอยากจะเรียกร้องให้คุณทักษิณลาออก

โอ อันนี้ประชาชนเองก็มีความสร้างสรรค์กว่าผมเยอะนะ ผมเองก็ไม่รู้หรอก แต่ว่าการชุมนุมโดยตัวมันเองก็ทำไม่ได้ทุกวัน ก็คงต้องหารูปแบบที่เหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ และการชุมนุมที่เป็นจุดสุดยอดนั้นบ่อยไปก็ไม่ดี แล้วก็น่าจะมีรายการอื่นๆ ไม่ใช่แค่สนธิ-สโรชา ให้มีความหลากหลาย

 

ตอนนี้มีแต่คนบอกว่า ทักษิณเป็นปัญหาของแผ่นดิน ผมว่าเก่งจริงทำให้แผ่นดินเป็นปัญหาของคุณทักษิณสิ

 

แต่ถ้าทำอย่างนั้นกระบวนการต้องใช้เวลานาน

จะรีบร้อนไปไหน มีคนบอกเขาอยู่เป็นปัญหา เขาอยู่มีความเป็นอันตราย แต่กระบวนการที่จะเอาเขาออกก็อันตรายเหมือนกัน หากไม่ระมัดระวัง

 ************************************
เอามาลงให้รู้ประวัติที่มาที่ไป ของคนชื่อ เกษียร เตชะพีระ
Credit ก็แค่พวกเหลี่ยม..สิงอยู่เว็บประชาไท และสิงอยู่ที่เว็บ ม.เทียงคืน อีกที่นึง
ถ้าติดตามผลงานของมันเรื่อย ๆ ...
อ่านไป-อ่านมา ก็แค่ คน ๆ หนึ่งที่รังเกียจประชาธิปไตยที่มีสถาบันฯ
ก็แค่นั้น...
เข้าไปดูผลงานของมัน แค่1 ผลงานตัวอย่าง ได้ที่เว็บลิงค์นี้...

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=2506&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #53 เมื่อ: 15-05-2008, 07:56 »

คุณ oho ครับ

ทั้งสองโพสต์ข้างบนนี่มีอยู่แล้วในกระทู้
ใจเย็นๆ ไม่ต้องโพสต์ซ้ำครับ มันยาว..


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
ฮูลิแกน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 234



« ตอบ #54 เมื่อ: 17-05-2008, 22:49 »

แปลว่า ป๋าหมาก กะป้าเพ็ญ ในตอนนี้ เทียบได้กับ ชวน เสนีย์ อานันท์ฯลฯ ในตอนนั้น ใช่ป่ะ กร๊ากๆๆ
แล้วสนติ๊ลิ้ม ตอนนี้ เทียบได้กะป๋าหมากวันนั้น ใช่อีกป่ะ?

เพิ่มเติมอีก...ไอ้หัวโตในวันนั้น คงมีบทบาทคล้ายๆ จอย พระประแดง ในวันนี้ กระมัง ฮิฮิ
(อ้าว ก็หัวโตบอกเองนี่นาว่าพันธมิตรคล้ายกับฝ่ายขวาจัดในวันนั้น ดังนั้นฝ่ายตรงข้ามก็ต้องคล้ายขบวนการนักศึกษาสิ)
บันทึกการเข้า

ชาตินิยมแบบคับแคบผมไม่ชอบ แต่พวกเพ้อเจ้อบ้าทฤษฎี ผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน
บทความของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จาก ค.คน ฉบับเมษายน 2550
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #55 เมื่อ: 18-05-2008, 09:27 »

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: