ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-09-2024, 00:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ไชยันต์ ไชยพร : ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ VS ระบอบสาธารณรัฐ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ไชยันต์ ไชยพร : ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ VS ระบอบสาธารณรัฐ  (อ่าน 2536 ครั้ง)
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 05-05-2008, 12:31 »

ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ VS ระบอบสาธารณรัฐ
ทัศนะวิจารณ์ ไชยันต์ ไชยพร
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 07:00:00

หากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงเป็นประมุขของรัฐอีกต่อไปในประเทศที่เคยมี ก็หมายความว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครั้งใหญ่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิรูปหรือปฏิวัติรัฐประหาร

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในโลกปัจจุบัน ระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีสองรูปแบบ นั่นคือ หนึ่ง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ABSOLUTE MONARCHY) โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชสิทธิและพระราชอำนาจในการเมืองการปกครองโดยสมบูรณ์ ทรงรวมศูนย์อำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการไว้ที่พระองค์ นั่นหมายความว่า พระองค์เป็นทั้งประมุขของรัฐและเป็นประมุขของรัฐบาลด้วย

สอง ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (CONSTITUTIONAL MONARCHY) เป็นระบอบที่พระราชสิทธิและพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ถูกกำหนดขอบเขตไว้โดยรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าเป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ก็มาจากการร่างของประชาชนผ่านตัวแทนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนรัฐบาลก็มาจากบุคคลที่ผ่านการเลือกตั้งเช่นกัน โดยนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐบาล ส่วนตุลาการนั้น ตามหลักการแล้ว มีทั้งสองแบบคือ แบบที่เป็นข้าราชการประจำและแบบที่ผ่านการคัดสรรโดยกลุ่มบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากแล้ว ได้แก่ บรูไน โอมาน ซาอุดีอาระเบีย และนครวาติกัน ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เคยเป็นต่างก็พากันเคลื่อนตัวไปสู่ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เช่น มอร็อกโก ภูฏาน ส่วนเนปาล อย่างที่ทราบตามข่าวว่า เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสาธารณรัฐเลย ในขณะที่ประเทศลิกเตนสไตน์ หลังการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับมีการให้เพิ่มพระราชอำนาจกษัตริย์ของเขาให้มากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก

หากพระมหากษัตริย์ไม่ได้เป็นประมุขของรัฐอีกต่อไปในสังคมการเมืองไทย ก็หมายความว่า เราได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ แล้วระบอบสาธารณรัฐที่ว่านี้มันเป็นอย่างไร

อธิบายอย่างง่ายๆ สาธารณรัฐในความเข้าใจปัจจุบัน คือ รัฐหรือประเทศที่ประมุขของรัฐไม่ใช่กษัตริย์ ที่สืบทอดการเป็นประมุขของรัฐทางสายโลหิต สาธารณรัฐ คือ รัฐที่ปวงชนล้วนๆ หรืออย่างน้อยส่วนหนึ่งของปวงชนล้วนๆ มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครอง เมื่อประมุขของรัฐไม่ได้มาจากกษัตริย์ ประมุขของรัฐที่เป็นสาธารณรัฐจึงมาจากคนธรรมดา ได้มาจากการคัดสรรผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งอาจเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เช่น สภาหรือคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทำหน้าที่เลือกประมุขของรัฐ

ในระบอบสาธารณรัฐ เรียกผู้ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐว่า ประธานาธิบดี ประเทศต่างๆ ที่เป็นสาธารณรัฐได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี ที่ทำหน้าที่ประมุขของรัฐตั้งแต่ 4-6 ปีแล้วแต่ประเทศนั้นๆ บางแห่งกำหนดด้วยว่า จะเป็นได้ไม่เกินกี่สมัย

ความหมายของระบอบสาธารณรัฐ มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1649 สาธารณรัฐมักจะถูกเข้าใจว่าหมายถึง รัฐที่ไม่มีกษัตริย์ หรือรัฐที่อำนาจมาจากประชาชน และมีความหมายไปในทำนองเดียวกันกับคำว่า ประชาธิปไตย และตั้งแต่ปี ค.ศ.1787 นัยของคำว่า สาธารณรัฐ คือ รัฐที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน และตัวแทนหรือบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ซึ่งตรงกันข้ามกับรัฐที่ปกครองโดยกษัตริย์

ตามข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ ระบอบสาธารณรัฐมีความหมายที่แตกต่างไปจากที่ใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเจ็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโรมัน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดระบอบสาธารณรัฐ โดยในสมัยนั้น สาธารณรัฐหมายถึง ระบอบการปกครองที่ผสมผสานเอารูปแบบการปกครองสามรูปแบบเข้าด้วยกัน นั่นคือ ระบอบกษัตริย์ ระบอบอภิชน และระบอบประชาธิปไตย โดยมุ่งให้เกิดการประสานการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างอำนาจของกษัตริย์ ชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง

เมื่อย้อนกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสาธารณรัฐของประเทศต่างๆ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราจะพบว่า สาธารณรัฐส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลสามประการ ประการแรกสุด คือ กษัตริย์บางพระองค์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ถูกมองว่าเป็นที่น่ารังเกียจ อย่างเช่น ในกรณีของฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ จีน รัสเซีย ออสเตรีย และเยอรมนี ประการที่สอง อดีตอาณานิคมต้องการประมุขของรัฐที่เป็นคนของตนเอง เช่น ในกรณีของสาธารณรัฐในเครือจักรภพ อันได้แก่ ไอร์แลนด์ ปากีสถานและแอฟริกาใต้ ประการที่สาม คือ อาณานิคมต้องการประกาศอิสรภาพจากเมืองแม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ อินโดนีเซีย พม่า และซาอีร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นคองโก)

ล่าสุด ในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ได้เกิดวิวาทะเกี่ยวกับประเด็นความต้องการเปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์หรือระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (CONSTITUTIONAL MONARCHY) ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ โดยเสนอว่า ไม่ต้องการมีกษัตริย์หรือตัวแทนกษัตริย์จากอังกฤษเป็นประมุขของรัฐ ต้องการยกเลิกพระราชอำนาจและการอ้างอิงต่อสถาบันกษัตริย์ในการใช้อำนาจอธิปไตยในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเมืองเป็นของประชาชนชาวออสเตรเลียนโดยสมบูรณ์

ส่วนฝ่ายที่นิยมสถาบันกษัตริย์ในออสเตรเลียมีเหตุผลคัดค้านว่า ระบอบที่เป็นอยู่ของออสเตรเลียมีวิวัฒนาการมานานหลายศตวรรษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะของการเป็นสาธารณรัฐอยู่แล้ว แต่เป็น “สาธารณรัฐกษัตริย์” (MONARCHIC REPUBLIC) และได้สถาปนากลไก “ตรวจสอบถ่วงดุลต่างๆ” ภายในระบบการเมือง (BUILT-IN CHECKS AND BALANCES) ขึ้นมาแล้ว ซึ่งหากว่าระบบระบอบดังกล่าวยังสามารถทำงานและดำเนินไปได้ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลง

สมมติว่า ประเด็นวิกฤติการเมืองไทยอันสืบเนื่องมาจาก พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชนยุติไป แต่ประเด็นที่วิกฤติกว่า คือ ประเด็นที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวไว้ในตอนท้ายสุดของบทสัมภาษณ์การวิเคราะห์การเมืองไทย พ.ศ.2551 ที่ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2550 แต่ทางมติชนไม่ได้ลงไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะเนื้อที่จำกัด หรือด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบได้ !

http://www.bangkokbiznews.com/2008/05/05/news_254180.php
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #1 เมื่อ: 05-05-2008, 13:31 »

อนุญาตให้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์แล้วเหรอ เดี๋ยวก็สวยหรอก
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05-05-2008, 13:35 »

อนุญาตให้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์แล้วเหรอ เดี๋ยวก็สวยหรอก

มันอยู่ในสื่อกระแสหลัก คุณแถ ผมไม่ตัดแปะสุ่มสี่สุ่มห้าหรอก
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #3 เมื่อ: 05-05-2008, 15:50 »

อนุญาตให้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์แล้วเหรอ เดี๋ยวก็สวยหรอก

ไอ้อาตี๋ตัวเล็กรูปหล่อ
ตัวเอ็งเองยังไล่ไปโพสต์ถามโพสต์คุยเรื่องกล้องในหลวง

เอ็งสอดเรื่องส่วนบุคคลเค้านี่

ผมถาม ไอ้คนทำแบบนี้มันเลวมะ
ถ้าผมจะถามคืน อย่าหาว่าผมหยาบคายนะ

เมื่อคืน ไอ้อาตี๋ตัวเล็กรูปหล่อติดแก๊ส ไปร่วมเมถุนกับแมสเซนจอร์หนุ่มวัย ปวส ที่ออฟฟิศหลังเลิกงานหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 05-05-2008, 21:46 »

กรี๊ดดดดดดดดดดดดด

อาจารญืหนุ่มผมยาวสุดหล่อของเรา 55555555

ชอบให้แกยืนข้างๆ อ.พิชญ์
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
หน้า: [1]
    กระโดดไป: