ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 20:42
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  วันนี้ดูข่าว เห็นพวกฝรั่งหัวทองมันออกมาต่อต้านแนวคิด ORAC 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
วันนี้ดูข่าว เห็นพวกฝรั่งหัวทองมันออกมาต่อต้านแนวคิด ORAC  (อ่าน 2399 ครั้ง)
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« เมื่อ: 04-05-2008, 23:25 »

คือ ไม่รู้นะ แนวคิดเรื่อง ORAC เนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ทีพวกกลุ่มขายน้ำมันมันยังตั้ง OPEC ได้ แล้วพวกเราคนขายข้าวจะตั้ง ORAC มั่ง ทำไมจะไม่ได้

หนอย มีการมาบอกว่า การตั้ง ORAC เนี่ย จะทำให้เดือดร้อนกันไปทั้งโลก 

แล้วทีไอ้ OPEC มันขึ้นราคาน้ำมันเอาๆ ทำไมไม่ออกมาพูดอะไรมั่ง นั่งปากอมกล้วยอะไรอยู่ฟร๊ะ 



ไม่รู้นะ ถึงผมไม่ชอบไอ้นายกหัวด... เนี่ยเท่าไหร่ และ ไม่ชอบไอ้ทนายตาเหล่มากนัก รวมทั้งไอ้มั่วฝันด้วย แต่แนวคิดเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยครับ

แล้วเพื่อนๆ พี่ๆ คิดอย่างไรกันบ้างครับ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
odyssey
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


« ตอบ #1 เมื่อ: 04-05-2008, 23:38 »

บอกไม่ถูก เรื่องนี้คงต้อง คิดหลายตลบหลายมุม

ไม่ใช่แค่ ชูประเด็นขึ้นมาละก็ บอกว่าเห็นด้วยได้เลย

แต่ที่พวกหัวแดงมันบอกก็เห็นแก่ตัวละนะ

แต่พวกปลูกข้าวไม่ได้แถมจนนี่ ตายแหงๆ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04-05-2008, 23:40 »

จะว่าไปองค์กรแบบนี้มันก็คือการรวมหัวกันฮั้วราคาดีๆนี่เอง
ผมก็ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจพอที่จะวิจารณ์ว่าการรวมตัวกันแบบนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องในเชิงจริยธรรมในฐานะผู้ผลิตหรือไม่
แต่จะว่าไปข้าวกับน้ำมันก็มีความแตกต่างกันในหลายแง่มุม ก็ต้องดูว่าแนวคิด ORAC นี้มีจุดประสงค์อะไร
ผมว่ามันก็ประหลาดดีที่มีแนวความคิดแบบนี้ในช่วงที่ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น
เหมือนกับประมาณว่าจุดประสงค์คือน้ำขึ้นให้รีบตักหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #3 เมื่อ: 04-05-2008, 23:44 »



ประเทศใดจน เพราะคนในประเทศเอาเปรียบกินแรงกันเอง

บางเผ่าพันธุ์ก็หัวดื้อหัวรั้น ในทางที่ไม่สร้างสรรค์

อย่างไรก็ตาม เห็นด้วย แต่รัฐควรตั้งกองทุนเพื่อผู้บริโภคในประเทศ เช่นงดภาษีบางประเภท หรือแจกคูปองอาหารรายเดือน
บันทึกการเข้า

Aha555
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 168



« ตอบ #4 เมื่อ: 04-05-2008, 23:48 »

หลังจากได้อ่านข้อมูลกระทู้    
http://forum.serithai.net/index.php?topic=25626.0

ผมว่า...หนังชีวิตคงต้องดูกันอีกยาว....

เพราะยุคHEREเลือกHERE ...จึงได้HERE

จึงเข้าสู่ยุค ...

"ทำดี ....ดี"  /////  "ทำชั่ว ได้เงินและอำนาจ"

เอิ๊ก เอิ๊ก



*  (2.86 KB, 578x35 - ดู 266 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #5 เมื่อ: 05-05-2008, 00:00 »

เป็นไปได้ยากครับ ข้าวและสินค้าเกษตรอื่นๆไม่ได้มีจำกัดเหมือนน้ำมัน ถ้าราคาดีใครๆแห่กันมาปลูกแล้วก็มาตัดราคากันเอง ราคามันก็ตกอยู่ดี พาลจะไม่คุ้มทุนคนปลูกเอาอีก

คงเป็นเจตนาดีคณะละครสัตว์ชุดนี้ครับ แต่มองค่อนข้างตื้นไปหน่อย   
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #6 เมื่อ: 05-05-2008, 00:49 »

กลัวข้าวยากหมากแพงเหรอครับ
โน่นเลย OPEC กดราคาน้ำมันลงมาให้ได้ซิ
ต้นทุนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำใช้น้ำมันทั้งนั้น
ไม่ขอมากแค่ 50USD ก็พอ

การเกษตรมันเป็นฤดูกาล ถ้าต้นทุนการผลิตลดลง
พอผลผลิตออกต้องแข่งขันกันกับชาวบ้านยังไงราคาก็ต้องลด
ไม่เหมือนน้ำมัน ปั่นกันเข้าไป ทำยังไงก็ไม่ลงซักที
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 05-05-2008, 00:57 »

ความจริงแล้วผมเห็นด้วยกับการรวมตัวกันดูแลผลประโยชน์ด้านการเกษตรนะครับ

มีผลประโยชน์ก็ต้องรักษาผลประโยชน์นั้นถูกต้องแล้ว
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


sensei
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 721



« ตอบ #8 เมื่อ: 05-05-2008, 01:13 »

อย่าไปใส่ใจคำพูดฝรั่งขี้นกพวกนี้มากเลย มันเห่าแบบนั้นเพราะกลัวพวกมันจะได้รับผลเสียทางธุรกิจแค่นั้น
บันทึกการเข้า

DAWN
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 180


« ตอบ #9 เมื่อ: 05-05-2008, 01:32 »

เป็นไปได้ยากครับ ข้าวและสินค้าเกษตรอื่นๆไม่ได้มีจำกัดเหมือนน้ำมัน ถ้าราคาดีใครๆแห่กันมาปลูกแล้วก็มาตัดราคากันเอง ราคามันก็ตกอยู่ดี พาลจะไม่คุ้มทุนคนปลูกเอาอีก

คงเป็นเจตนาดีคณะละครสัตว์ชุดนี้ครับ แต่มองค่อนข้างตื้นไปหน่อย   
เห็นด้วยครับ...  น้ำมันปลูกไม่ได้ แต่ข้าวสามารถหาวิธีปลูกได้ง่ายกว่า เราจะเดินเข้าบ่วงเหมือน FTA หรือเปล่า
งานนี้ทำเกษตรกรแย่ไปพักใหญ่ ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน สาเหตุจากต้นทุนการผลิตในประเทศเราสูง ประสิทธิภาพการผลิตของเราต่ำ
ราคาผลิตต่อหน่วยสูงกว่าเพื่อนบ้าน ถ้าตั้ง ORAC ประเทศที่ยังไม่เป็นสมาชิก และปลูกข้าวได้ จะไม่ขายตัดราคาเชียวหรือครับ
ถึงจะให้ประเทศกสิกรรมมารวมกันได้หมด ประเทศที่เป็นผู้บริโภคก็อาจพัฒนาวิธีปลูกข้าวขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เราพยายามหาวิธีผลิต
เชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตรอยู่ ซึ่งมีตัวอย่างกรณี อิสราเอลได้คิดวิธีปลูกพืชบนพื้นทรายได้แล้ว ผมว่าน่าจะหาวิธีลดต้นทุนการเกษตร
และหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับเกษตรกรไทยดีกว่า และที่สำคัญเฉลี่ยกำไรจากพ่อค้าคกลางมาให้เกษตรกรมากขึ้นหน่อย
   ผมได้ยินมาว่า บางประเทศรัฐถึงกับออกทุนบางส่วนให้เกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ถ้าทำได้ผมว่าต้องเป็นผลดีอย่างแน่นอน  ครับ.
บันทึกการเข้า

Shr
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #10 เมื่อ: 05-05-2008, 01:43 »

เห็นด้วยครับ...  น้ำมันปลูกไม่ได้ แต่ข้าวสามารถหาวิธีปลูกได้ง่ายกว่า เราจะเดินเข้าบ่วงเหมือน FTA หรือเปล่า
งานนี้ทำเกษตรกรแย่ไปพักใหญ่ ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน สาเหตุจากต้นทุนการผลิตในประเทศเราสูง ประสิทธิภาพการผลิตของเราต่ำ
ราคาผลิตต่อหน่วยสูงกว่าเพื่อนบ้าน ถ้าตั้ง ORAC ประเทศที่ยังไม่เป็นสมาชิก และปลูกข้าวได้ จะไม่ขายตัดราคาเชียวหรือครับ
ถึงจะให้ประเทศกสิกรรมมารวมกันได้หมด ประเทศที่เป็นผู้บริโภคก็อาจพัฒนาวิธีปลูกข้าวขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เราพยายามหาวิธีผลิต
เชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตรอยู่ ซึ่งมีตัวอย่างกรณี อิสราเอลได้คิดวิธีปลูกพืชบนพื้นทรายได้แล้ว ผมว่าน่าจะหาวิธีลดต้นทุนการเกษตร
และหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับเกษตรกรไทยดีกว่า และที่สำคัญเฉลี่ยกำไรจากพ่อค้าคกลางมาให้เกษตรกรมากขึ้นหน่อย
   ผมได้ยินมาว่า บางประเทศรัฐถึงกับออกทุนบางส่วนให้เกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ถ้าทำได้ผมว่าต้องเป็นผลดีอย่างแน่นอน  ครับ.


รัฐบาลไทยลงทุนให้เกษตรกรอยู่แล้ว
เช่น 
ที่ดิน  การจัดสรรที่ดิน "สาธารณะ" ให้แก่เกษตรกร  อันนี้ก็เป็นการ "เอื้อประโยชน์" จากรัฐ
ระบบชลประทาน - คลองชลประทาน / ขุดบ่อ - ฝาย  อันนี้รัฐลงทุนให้หมด
ถนน - เส้นทางขนส่งพืชผลเข้าสู่พื้นที่  อันนี้รัฐก็ลงทุน
ยุ้งฉาง ลานตาก ลานเท บางแห่ง ก็เป็นการจัดประโยชน์ให้จากรัฐ
การประกันราคาพืชผล - เงินกู้  ก็เป็นการสนับสนุนจากภาครัฐ

ซึ่งถ้าฝรั่งมันจะเล่นงานเรา โดนยกเหตุ "การสนับสนุนจากภาครัฐ ( ทำให้การแข่งขันทางการค้าเป็นไปโโยไม่ยุติธรรม )"
...ย่อมทำได้แน่นอน
แค่เรื่องสิทธิทำกินบนที่ดินสาธารณะ โดยการบุกรุกพื้นที่ป่า เรื่องเดียว  ก็ตายแล้ว

บันทึกการเข้า

Caocao
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557



« ตอบ #11 เมื่อ: 05-05-2008, 02:23 »

ข้าวมันสต๊อกไม่ได้ มันเสื่อมสภาพ ราคาก็ตก เมื่อราคาดีก็ต้องรีบขาย ธรรมชาติของผลผลิต ถ้าสต๊อกไมได้ก็ปั่นราคาไม่ได้ ไม่เหมือนน้ำมัน แค่ลดกำลังผลิตเศรษฐกิจโลกก็ป่วนปั่นแล้ว อีกทั้งในอนาคต ถ้าเพื่อนบ้านจัดการปัญหาที่กระทบอยู่ได้ มีกำลังผลผลิตกลับเข้ามาแข่ง ราคาก็ลงอยู่ดี ปีนี้ปีทองโกยไว้ก่อนหน่ะดีแล้ว
บันทึกการเข้า

หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มครอง
999
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,022



« ตอบ #12 เมื่อ: 05-05-2008, 03:29 »



โลกเดินไปไกลชาวนาไทย ไม่ควรเดินตามนักการเมืองที่ขาดวิสัยทัศน์

สนับสนุนรัฐบาลครับ เขาจะทำงานพวกที่ยังไม่มีความเข้าใจหรือพื้นความรู้ครอบคลุมควรเรียนรู้ไปก่อน
บันทึกการเข้า

northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #13 เมื่อ: 05-05-2008, 05:57 »

อันนี้... ผมคิดว่าเราจะต้องดูว่าผลประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับมันจริงหรือเปล่า... ไม่ใช่ว่าพูดขึ้นมาลอยๆให้พอได้ฝันลมๆแล้งๆ แต่ผลโยชน์
จริงๆไปตกที่พ่อค้าคนกลางและนายทุน... ชาวนาก็ซวยอีกตามเคย... ข้าวกับน้ำมันมีความแตกต่างกันเยอะ...จะเอามาเปรียบเทียบกันไม่
ได้... น้ำมันความต้องการที่เพิ่มขึ้นทุกๆปีโดยเฉพาะประเทศที่กำลังมีการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรม...และในขณะเดียวปริมาณน้ำมันก็เริ่ม
ลดน้อยลงไปทุกขณะ... จะไปบอกพวกมันว่า ความต้องการของข้าวกำลังเพิ่มขึ้น..พวกเราจึงต้องขึ้นราคาข้าว...มันหัวเราะเอาตายห่า
แต่ถ้าบอกว่าต้องขึ้นราคาเพราะต้นทุนการผลิตมันสูงขึ้น...อันนี้ค่อยน่าฟังหน่อย... 
ไอ้พวกหัวแดงมันไม่สนใจหรอกว่าข้าวจะขาดตลาด...พวกนี้กินขนมปังเป็นหลัก...ขอให้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดไหน
ก็ได้ที่สามารถนำมาทำเป็นขนมปังได้...มันก็ไม่สนแล้ว... มันกลับจะดีใจซะอีกถ้าทุกคนเปลี่ยนไปกินขนมปังเพราะขนมปังผลิตภายในประเทศ
โดยไม่ต้องนำเข้า แล้วลองคิดดูว่าแต่ละประเทศมีชาวเอเซียอยู่กี่เปอร์เซ็นต์กัน
ผมลองคิดดูแล้ว...แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือชาวนา...แต่มันกลับจะเป็นการทำลายชาวนาในระยะยาวมากกว่า... ดูๆแล้วมันเหมือนกับ
ว่า...เป็นการกระทำที่หวังผลประโยซน์มหาศาลในระยะเวลาอันสั้นของคนบางกลุ่มเท่านั้นเอง... เพราะถ้าสามารถทำให้ชาวนาเห็นถึง
ผลกำไรจากโครงการที่กล่าวได้...ชาวนาก็จะยอมลงทุนซื้อทุกอย่างที่ช่วยในการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น...ใครที่กำไรจากจุดนี้..  และ
เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้นแต่ความต้องการของตลาดยังเท่าเดิม...ราคาข้าวก็ตกลงเหมือนเดิมอีก... ชาวนาก็รับกรรมอีกตามเคย
บันทึกการเข้า
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #14 เมื่อ: 05-05-2008, 09:31 »

เห็นด้วยกับแนวความคิดครับ

แต่รายละเอียดปลีกย่อยต้องขอดูก่อน
บันทึกการเข้า
THEHERO
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120


รัก ชาติ ศาส กษัตริย์ ยิ่งชีพ


« ตอบ #15 เมื่อ: 06-05-2008, 01:03 »

 

จริงๆก็เห็นดีนะครบ  ในหลักการ  และต้องมีการศึกษาแนวทางที่จริงจัง

คนจน  ในประเทศต่างๆ  ที่เราเห็น  นั้นมีมากมายก็จริง  แต่การที่เราต่างคนต่างขาย  ประเทศนั้นก็แย่อยู่ดี  ถ้าเรารวมกลุ่มได้

เราก็มีข้อต่อรองกับมหาอำนาจ  ที่มันปลูกข้าวไม่พอกินอย่างจีนได้  แต่ประเทศที่จนๆนั้น  เราส่งออก  ในแนว  แลกเปลี่ยน  หรือช่วยเหลือ  เป็นรายๆไปได้

จริงๆผมสนใจนะครับ  หากว่าจะทำ  แบบโอเปคจริงๆ  เพื่อลดการตัดราคากันเอง  จะไปบอกว่าสินค้าเกษตรจะล้นตลาด  อันนั้นต้องมองในแง่ความจริงที่ว่า

โลกเรานั้นหมุนไปเร็วมาก  พัฒนาการไปอย่างไม่มียั้ง  บางประเทศเป็นอุตสาหกรรมใหม่  ทอดทิ้งสังคมเกษตร  ข้าวปลา  ไม่ผลิต  ต้องหันมาซื้อกิน

ข้อดีของประเทศเรา  คือ  เป็นสังคมอุตสาหกรรมก็จริง  แต่ไม่ทอดทิ้งสังคมเกษตร  ของเรายังมีข้อได้เปรียบครับ  ภัยธรรมชาติเราก็น้อย  เมื่อเทียบกับ  พม่า  เวียดนาม  ล่าสุดพม่ายังโดนถล่มดวยพายุร้ายแรง

ประเทศยิ่งแย่ขึ้นไปใหญ่

จริงผม  อยากสนับสนุน  แนวคิด  การก่อตั้งสังคมสหกรณ์  ให้มีมากๆ  ในประเทศนะครับ  เอาแนวเล็กๆในบ้านเราก่อน
บันทึกการเข้า

ชนใด  ไร้ซึ่งความรัก  ชนนั้นพิกลนัก
popsies
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 19



« ตอบ #16 เมื่อ: 06-05-2008, 02:46 »

ต้องรวมครับแต่ก่อนอื่นกำจัดพ่อค้าคนกลางก่อนที
บันทึกการเข้า

พลังที่ยิ่งใหญ่คือพลังประชาชน
แต่ถ้าพลังมันมากไปต้องระวังจลาจล
การเมืองสมัครเล่นทำให้เราเข้าตาจน
ความคิดแตกเปนหลายสาขาเหมือนกับร้านชลาชล
ไม่ใช่เวลามานั่งเถียงหรือว่าฟังเหตุผล
ยิ่งสมานฉันท์มากก็ยิ่งโกลาหล
เมื่ออำนาจในมือไม่เข้าใครออกใคร
นักการเมืองไม่โกงกินเขาแค่ชิมไปบ่นไป

ผมเล่นร็อกแอนด์โรลเพื่อร็อกแอนด์โรลที่ผมเล่น
เมื่อสมัครเล่นการเมืองก็คือการเมืองสมัครเล่น
อนาคตประเทศไทยก็ยังมองไม่ค่อยจะเห็น
แค่อยากจะขอภาวนาให้หลุดจากความลำเค็ญ
อยากจะฝากความหวังไว้ในมือของรัฐบาล
ทำการใหญ่ก็ขอให้พอกับงบประมาณ
เพราะถ้าฟองสบู่มันแตกพวกเราก็คงจะทรมาน
เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้วัดกันที่ทรัพย์สิน
อนาคตของชาติไม่จำเป็นต้องวาดด้วยเงาทักษิณ
ควรจะปล่อยให้มันไหลไปแบบธรรมชาติ
บริหารกันแบบนายทุนอาจจะทำให้เรานั้นวิปลาส
ไม่ควรจะเน้นนโยบายที่เอาแต่เอื้ออาทร
เพราะเงินที่คุณจะเอาไปทุ่มมันคือภาษีอากร
มันคือการสร้างคะแนนเพื่อให้เกิดประชานิยม
มันคือการใช้เงินแผ่นดินมาเพื่อสร้างอาณานิคม
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #17 เมื่อ: 06-05-2008, 07:48 »

ต้องรวมครับแต่ก่อนอื่นกำจัดพ่อค้าคนกลางก่อนที

ในมุมมองของผม....นี่แหละคือปัญหาหลักที่ควรจะต้องแก้ไขไปตั้งนานแระ...
โอเคเลยครับ... ถ้าอยากจะทำกันเพื่อช่วยเหลือชาวนาจริงๆแล้วหละก็... ผมก็พอจะมีไอเดียอยู่บ้าง เคยคิดไว้นานแระแต่รอเพียงโอกาสที่จะได้กลับไปเริ่มต้น
ไม่ต้องไปสนใจออแร็ค-โอแร็คมันแล้วหล่ะ ผมขอเริ่มที่กระทู้ใหม่ก็แล้วกัน...หลายคน-หลายความคิด จะรอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา..ชาวนามีหวังเป็นหนี้หัวโตกันพอดี
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 06-05-2008, 09:14 »

อ่านของทุกๆท่าน ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ผมก็ยินดีครับ

แต่สำหรับผมอย่างไรก็เห็นด้วยครับ และ คิดว่าในอนาคตอย่างไร อาหารก็ไม่น่าจะล้นตลาด โดยเฉพาะข้าว!!!

เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้ ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

แต่ขณะเดียวกัน โลกใบเท่าเดิม พื้นดินก็มีเท่าเดิม (แถมในอนาคตยังจะน้อยลงไปอีก หากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย)

และปรากฎการณ์เอลนิโญ่ ลานิญ่า ก็สร้างผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลก (เมื่อก่อน 10 ปีเกิดครั้ง แ่ต่เดี๋ยวนี้น่าจะปีเว้นปี)

เพราะฉะนั้นถ้ามองในมุมนี้อนาคตยังไงๆ ก็อาหารไม่พอเลี้ยงประชากรโลกอยู่ดี

ดังนั้น หากการตั้ง ORAC ขึ้นมาแล้วกลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องราคาตก ผมว่าโอกาศที่จะเป็นเช่นนั้นน่าจะมีน้อย ในอนาคตข้างหน้า
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #19 เมื่อ: 06-05-2008, 09:45 »

อ่านของทุกๆท่าน ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ผมก็ยินดีครับ

แต่สำหรับผมอย่างไรก็เห็นด้วยครับ และ คิดว่าในอนาคตอย่างไร อาหารก็ไม่น่าจะล้นตลาด โดยเฉพาะข้าว!!!

เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้ ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

แต่ขณะเดียวกัน โลกใบเท่าเดิม พื้นดินก็มีเท่าเดิม (แถมในอนาคตยังจะน้อยลงไปอีก หากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย)

และปรากฎการณ์เอลนิโญ่ ลานิญ่า ก็สร้างผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลก (เมื่อก่อน 10 ปีเกิดครั้ง แ่ต่เดี๋ยวนี้น่าจะปีเว้นปี)

เพราะฉะนั้นถ้ามองในมุมนี้อนาคตยังไงๆ ก็อาหารไม่พอเลี้ยงประชากรโลกอยู่ดี

ดังนั้น หากการตั้ง ORAC ขึ้นมาแล้วกลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องราคาตก ผมว่าโอกาศที่จะเป็นเช่นนั้นน่าจะมีน้อย ในอนาคตข้างหน้า

เอาเป็นว่า...พวกเราจะเริ่มไม่ใช่รัฐบาล... ถ้ารัฐบาลเป็นห่วงชาวนาจริงๆ...ปัญหาความยากจนมันหมดไปนานแล้วครับ... 18 ปีที่ผมจากเมืองไทย
มา... ผมกลับไปชาวนาก็ยังจนอยู่ดี...มิหนำซ้ำจนหนักกว่าเดิมผมก็เห็นมาแล้ว... อย่าลืมว่ารัฐบาลในความจริงแล้วเห็นนายทุนมาก่อนชาวนา สำหรับ
ตาสี-ตาสาแล้ว 10-20 บาทก็คือรายได้ที่เพิ่มขึ่น แต่สำหรับผมแล้วทุกบาท-ทุกสตางค์เป็นของชาวนาไม่ใช่ของนายทุนหรือว่าพ่อค้าคนกลาง เพราะมันเป็น
หยาดเหงื่อของพวกเค้า สิ่งทีชาวนาทุกคนควรจะต้องสูญเสียก็คือภาษีเงินได้ของพวกเค้าเท่านั้น... รัฐบาลอยากทำอะไรก็ทำไป...ยิ่งแก้พวกเค้าก็ยิ่งจนลง
ผมพร้อมที่จะเริ่มต้นให้ชาวนา... ผมตั้งกระทู้ใหม่ไปแล้ว...ติดต่อผมมาก็แล้วกันแล้วผมจะอธิบายรายละเอียดให้ฟัง... ผมขอให้เป็นคนที่อยากจะช่วยชาวนา
ด้วยความตั้งใจจริงเท่านั้นนะครับ
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #20 เมื่อ: 06-05-2008, 13:10 »

Opec ก็เห็นต่างชาติ ออกมาตำหนิอยู่บ่อยๆ ตั้งหลายปีก่อน
ถ้าคุณว่าการรวมตัวแบบนี้ดีละก็ ขอสมมุติว่า

มือถือทุกเจ้าในเมืองรวมหัวกัน แล้วขึ้นราคา
การไฟฟ้า ไม่ต้องรวมหัวกันใคร ประกาศขึ้นราคาบ้าง
โรงสีข้าว รวมกลุ่ม แล้วขึ้นราคาข้าวถุง


ถ้าคุณสนับสนุนการรวมกลุ่มต่อรองราคา มันก็เหมือนกับยอม
รับให้ทุกๆ กลุ่มสินค้าทำแบบนี้ได้เหมือนกัน กรุณอย่า
Double Standard นะครับ
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 06-05-2008, 13:17 »

Opec ก็เห็นต่างชาติ ออกมาตำหนิอยู่บ่อยๆ ตั้งหลายปีก่อน
ถ้าคุณว่าการรวมตัวแบบนี้ดีละก็ ขอสมมุติว่า

มือถือทุกเจ้าในเมืองรวมหัวกัน แล้วขึ้นราคา
การไฟฟ้า ไม่ต้องรวมหัวกันใคร ประกาศขึ้นราคาบ้าง
โรงสีข้าว รวมกลุ่ม แล้วขึ้นราคาข้าวถุง


ถ้าคุณสนับสนุนการรวมกลุ่มต่อรองราคา มันก็เหมือนกับยอม
รับให้ทุกๆ กลุ่มสินค้าทำแบบนี้ได้เหมือนกัน กรุณอย่า
Double Standard นะครับ

  ซะงั้น
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #22 เมื่อ: 06-05-2008, 13:29 »

Opec ก็เห็นต่างชาติ ออกมาตำหนิอยู่บ่อยๆ ตั้งหลายปีก่อน
ถ้าคุณว่าการรวมตัวแบบนี้ดีละก็ ขอสมมุติว่า

มือถือทุกเจ้าในเมืองรวมหัวกัน แล้วขึ้นราคา
การไฟฟ้า ไม่ต้องรวมหัวกันใคร ประกาศขึ้นราคาบ้าง
โรงสีข้าว รวมกลุ่ม แล้วขึ้นราคาข้าวถุง


ถ้าคุณสนับสนุนการรวมกลุ่มต่อรองราคา มันก็เหมือนกับยอม
รับให้ทุกๆ กลุ่มสินค้าทำแบบนี้ได้เหมือนกัน กรุณอย่า
Double Standard นะครับ

ในโลกการค้าต้องมีการรวมตัวเพิ่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในรูปแบบของการรวมตัวจะทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
เช่นการตั้งราคาสินค้าก็ให้ตั้งในระดับราคาเดียวกัน
จะได้ไม่ต้องมาแข่งขันกันว่าใครขายถูกกว่า กลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้

ระดับราคาที่พูดถึง ต้องเป็นระดับราคาที่สมเหตุสมผล
เพราะเมื่อราคาสูงไป ก็จะมีพวกแหกคอกอยากขายของลดราคา
เจ้าอื่นก็ลดราคาลงตามเพื่อให้แข่งได้ แต่ผลสุดท้ายก็เจ๊งกันหมด
ตัวอย่างของกรณีนี้ก็ร้านเน็ตแถวบ้านผม บางร้านอยากได้ลูกค้าคิดชั่วโมงละ 10บาท
ผลคือ ร้านต่างๆก็ลดลงบ้าง 10-15บาท แล้วก็เจ๊งไปตามๆกัน

ถ้าระดับราคาต่ำไป ไม่สะท้อนต้นทุน ก็คงไม่มีใครอยากร่วมเจรจารวมกลุ่มด้วย
กลุ่มก็ล่มไป

แต่กรณี OPEC มีการรักษาระดับราคาเพื่อควมคุมการผลิต
เพราะเป็นทรัพยาการที่ใช้แล้วหมดไป หาทดแทนได้ยาก
หากแข่งกันขุดขึ้นมาขาย สุดท้ายจะฉิบหายกันหมดโลก
แต่...ที่ปั่นราคากันในปัจจุบันไม่ใช่ราคาจากกลุ่ม OPEC นะครับ
เพราะกลุ่ม OPEC ยังคงการผลิตให้เพียงพอกับการใช้งานอยู่
ที่ราคาขึ้น เป็นเพราะการปั่นราคาของตัวแทนค้าน้ำมันต่างหาก


กรุณาอย่าเหมารวมโดยไม่ดูองค์ประกอบครับ
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #23 เมื่อ: 06-05-2008, 20:08 »

ในโลกการค้าต้องมีการรวมตัวเพิ่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในรูปแบบของการรวมตัวจะทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
เช่นการตั้งราคาสินค้าก็ให้ตั้งในระดับราคาเดียวกัน
จะได้ไม่ต้องมาแข่งขันกันว่าใครขายถูกกว่า กลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้

...

กรุณาอย่าเหมารวมโดยไม่ดูองค์ประกอบครับ

ไม่จริงอย่างที่สุด การรวมตัวทางการค้า จะทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น
ไม่เคยเห็นมีกรณีไหน ที่รวมตัวกัน เพื่อผลประโยชน์ของผู้ซื้อเลยสักครั้ง ถ้าหาก
มีการรวมตัวได้ ยิ่งเข้มแข็งเท่าไหร่ สินค้าที่ขายจะมีราคาแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
มัตัวอย่างที่ไหน ที่การรวมตัวทงการค้าแล้วทำให้สินค้าราคาถูกลง

ตัวอย่างที่เห็น การรวมตัวแลว สินค้าราคาถูก คือพวกสินค้าเทคโนโลยี ที่ถูกไม่
ใช่ว่าเขาเห็นแต่ประโยชน์ของผู้ซื้อ แต่ถูกเพราะ Economic of Scale คือการ
รวมตัวกัน กำหนดมาตราฐาน ทำให้สินค้าผลิตได้ในจำนวนมาก จนราคามันถูก
ลงมาเอง ซึ่งทำให้ขายสินค้าได้ในราคาต่ำลง แล้วคนซ์อมากขึ้น นั่นคือกำไร
มากขึ้น

แต่ถ้าเป็นสินค้าพื้นฐาน ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมาก ไม่เห็นมีการรวมตัวแล้วราคา
ถูกลงเลยแม้แต่ตัวอย่างเดียว
บันทึกการเข้า
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #24 เมื่อ: 06-05-2008, 22:31 »

ไม่จริงอย่างที่สุด การรวมตัวทางการค้า จะทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น
ไม่เคยเห็นมีกรณีไหน ที่รวมตัวกัน เพื่อผลประโยชน์ของผู้ซื้อเลยสักครั้ง ถ้าหาก
มีการรวมตัวได้ ยิ่งเข้มแข็งเท่าไหร่ สินค้าที่ขายจะมีราคาแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
มัตัวอย่างที่ไหน ที่การรวมตัวทงการค้าแล้วทำให้สินค้าราคาถูกลง

ตัวอย่างที่เห็น การรวมตัวแลว สินค้าราคาถูก คือพวกสินค้าเทคโนโลยี ที่ถูกไม่
ใช่ว่าเขาเห็นแต่ประโยชน์ของผู้ซื้อ แต่ถูกเพราะ Economic of Scale คือการ
รวมตัวกัน กำหนดมาตราฐาน ทำให้สินค้าผลิตได้ในจำนวนมาก จนราคามันถูก
ลงมาเอง ซึ่งทำให้ขายสินค้าได้ในราคาต่ำลง แล้วคนซ์อมากขึ้น นั่นคือกำไร
มากขึ้น

แต่ถ้าเป็นสินค้าพื้นฐาน ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมาก ไม่เห็นมีการรวมตัวแล้วราคา
ถูกลงเลยแม้แต่ตัวอย่างเดียว
ผมเห็นด้วยกับคุณอี๊ตครับ... นายทุนจับกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนเป็นหลักและเพื่อที่จะให้ง่ายต่อการควบคุม
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #25 เมื่อ: 07-05-2008, 01:46 »

ก็ไม่ได้บอกว่าการรวมกลุ่มทำเพื่อผู้บริโภคอย่างเดียวนี่ครับ
การรวมกลุ่มผู้ผลิต ย่อมทำเพื่อผู้ผลิต
การรวมกลุ่มของผู้ขาย ย่อมทำเพื่อผู้ขาย
การรวมกลุ่มผู้บริโภค ก็ทำเพื่อผู้บริโภค
หากไม่มีการรวมกลุ่มเลยก็จะมีการตัดราคา การกดราคา การแทรกแซง
ซึ่งจะส่งผลเสียต่อตลาดโดยรวมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
เอาง่ายๆ คุณลองคิดดูว่าถ้าวันนึงชาวนาขายข้าวได้ตันละ 5พัน
ต่อมาขายได้ตันละ 1หมื่น อีกวันขายได้ตันละ 3พัน
คุณจะกำหนดปริมาณการผลิตอย่างไร คุณจะกำหนดต้นทุนของคุณอย่างไร
ถ้าผู้บริโภควันนึงซื้อข้าวถุงละ 50บาท อีกวันซื้อถุงละ 100 วันถัดมาซื้อ 200
ผู้บริโภคจะกำหนดการใช้จ่ายของตัวเองได้อย่างไร ผู้บริโภคจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรถูกอะไรแพง
สิ่งที่ตลาดต้องการไม่ใช่ราคาต่ำสุด หรือสูงเกินไป
แต่เป็นตลาดที่มีราคาเหมาะสมและ"นิ่ง"ที่จะวางใจในการผลิตและบริโภค
ในแง่ของธุรกิจจึงต้องมีการรวมกลุ่มทำให้เกิดพลังและความแน่นอน
ทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง ทำให้ธุรกิจสามารถดำรงต่้อไปได้

การเกิด Economic of Scale ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวครับ
แต่เกิดจากการผลิตมากๆเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง
การที่มีผู้ผลิตหลายรายแบ่งกำลังการผลิตไป
จึงไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เกิด Economic of Scale
หลักที่ทำให้เกิด Economic of Scale สูงสุดคือ
ทำอย่างไรให้มีการบริโภคมากๆ โดยมีคู่แข่งในตลาดให้น้อยที่สุด
ตัวอย่างเช่น มาม่า คือทำอย่างไรให้คนกินแต่มาม่ามากๆ จะได้ผลิตมาม่ามากๆ
ต้นทุนต่อหน่วยจะได้ถูกลง ขายในราคาที่ต่ำลง คนกินจะได้เพิ่มขึ้นอีก
ไม่ใช่รวมกับไวไว ยำยำ เพิ่มกำลังการผลิตไปเยอะๆ แต่คนกินปริมาณเท่าเดิมหรือมากขึ้นนิดหน่อย
(คงไม่มีใครกินมาม่าทุกวันวันละ3มื้อ หรือกินเพิ่มขึ้นเป็นมื้อละ2,3,4ซอง)
มาแบ่งกิน มาม่า ไวไว ยำยำ แบบนั้นจะไม่เกิด Economic of Scale
จะเห็นได้ว่ามันเป็นคนละเรื่องกับการรวมตัว และก็ไม่คล้ายกับตลาดผูกขาดที่มีผู้ผลิตรายเดียว
กรุณาแยกแยะและทำความเข้าใจใหม่ด้วยครับ

"สินค้าพื้นฐาน ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมาก" กรุณายกตัวอย่างด้วยครับ
เพราะในตลาดปัจจุบัน เท่าที่เห็นสินค้าประเภทนี้มีแต่ผลิตแข่งกัน
พยายามขายแข่งกัน ตัดราคากัน เพื่อให้ตัวเองขายได้มากที่สุด
โดยเฉพาะสินค้าี่อ่อนไหวอย่างสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค
สินค้าพวกนี้รวมกลุ่มกันก็ไม่มีทางที่จะโขกราคาสูงๆได้หรอกครับ
เพราะมันง่ายต่อการผลิต หากราคาสูงก็จะมีผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาแทรกราคาก็จะตกลง
สินค้าประเภทนี้จะมีราคาสูงได้ก็เฉพาะช่วงที่มีวิกฤตขาดแคลน
หรือมีต้นทุนอื่นที่สูงขึ้นมาจนทำให้ต้องขึ้นราคาตาม
(ไม่สามารถลดดต้นทุนลงได้จนกว่าจะมีทางเลือกใหม่ๆ)
ซึ่งก็จะเป็นอยู่เพียงช่วงที่มีปัจจัยสนับสนุนเท่านั้น

ถ้า...ไม่มีตัวกลางที่มีอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดราคา
หรือมีปัจจัยจำเพาะที่ทำให้กำหนดราคาได้ตามใจชอบ
คล้ายๆในกรณีน้ำมัน หรือเพชร ก็อย่าหวังเลยครับว่าจะมีการรวมกลุ่มเพื่อปั่นราคาสูงๆได้
บันทึกการเข้า
northstar
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 635


« ตอบ #26 เมื่อ: 07-05-2008, 02:13 »

ก็ด้วยเหตุผลนี้งัย...ผมถึงอยากจะทำในสิ่งที่มันจะทำให้ชาวนา-ประชาชนคือผู้กำหนดราคาเหล่านั้นด้วยตัวของพวกเค้าเอง...ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางหรือว่านายทุน... แต่ในส่วนที่รัฐบาลเป็นคนกำหนดเราก็ต้องยอมรับในส่วนนั้น เอาเป็นว่าติดตามผมไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ถึงบางอ้อพร้อมๆกัน
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #27 เมื่อ: 07-05-2008, 13:18 »

ในโลกการค้าต้องมีการรวมตัวเพิ่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในรูปแบบของการรวมตัวจะทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
เช่นการตั้งราคาสินค้าก็ให้ตั้งในระดับราคาเดียวกัน
จะได้ไม่ต้องมาแข่งขันกันว่าใครขายถูกกว่า กลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้

---------------------
จะเป็นผลประโยชน์ของทุกฝ่ายได้ยังไง


ประเด็นอื่นขออนุญาตไม่ตอบแล้ว ขี้เกียจพิมพ์ เอาที่หัวข้อกระทู้ดีกว่า จะได้เข้าเรื่อง
การรวมตัวทางเกษตร ยากครับ ไม่เหมือนโอเปค เพราะว่า น้ำมัน ส่วนใหญ่รัฐเป็นผู้
ควบคุม การตกลงในกลุ่ม สามารถตกลงแล้วมีผลบังคับใช้ได้ไม่ยาก แต่ลองคิดดู
ถ้าเป็นเรื่องข้าว ตกลงกันเรียบร้อยว่า ไทยจะผลิตข้าวส่งออก 4 ล้านตัน แล้วรัฐ
จะไปบังคับชาวนา ใด้ยังไง ยิ่งข้าวราคาสูง คนก็ยิ่งปลูกมากขึ้น การรวมตัวสินค้า
ทางเกษตร ยากมาก อย่างน้อย ต้องมีผู้ผลิตจำนวนน้อย และก็รักษาวินัยไว้ได้
ซึ่งคนไทย ขาดตัวนี้มากๆ ถึงอยากให้รวมกลุ่ม ก็รวมไม่ได้ ฟันธง
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #28 เมื่อ: 07-05-2008, 13:40 »

ในโลกการค้าต้องมีการรวมตัวเพิ่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในรูปแบบของการรวมตัวจะทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
เช่นการตั้งราคาสินค้าก็ให้ตั้งในระดับราคาเดียวกัน
จะได้ไม่ต้องมาแข่งขันกันว่าใครขายถูกกว่า กลายเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้

---------------------
จะเป็นผลประโยชน์ของทุกฝ่ายได้ยังไง


ประเด็นอื่นขออนุญาตไม่ตอบแล้ว ขี้เกียจพิมพ์ เอาที่หัวข้อกระทู้ดีกว่า จะได้เข้าเรื่อง
การรวมตัวทางเกษตร ยากครับ ไม่เหมือนโอเปค เพราะว่า น้ำมัน ส่วนใหญ่รัฐเป็นผู้
ควบคุม การตกลงในกลุ่ม สามารถตกลงแล้วมีผลบังคับใช้ได้ไม่ยาก แต่ลองคิดดู
ถ้าเป็นเรื่องข้าว ตกลงกันเรียบร้อยว่า ไทยจะผลิตข้าวส่งออก 4 ล้านตัน แล้วรัฐ
จะไปบังคับชาวนา ใด้ยังไง ยิ่งข้าวราคาสูง คนก็ยิ่งปลูกมากขึ้น การรวมตัวสินค้า
ทางเกษตร ยากมาก อย่างน้อย ต้องมีผู้ผลิตจำนวนน้อย และก็รักษาวินัยไว้ได้
ซึ่งคนไทย ขาดตัวนี้มากๆ ถึงอยากให้รวมกลุ่ม ก็รวมไม่ได้ ฟันธง

เอ๋า...ตอบไปตั้งยาว ไม่ตอบกลับ คิดว่าผมพูดผิด
แต่ดันเอาเรื่องที่ผมอธิบายไปแล้วว่ามันคืออะไรเป็นประเด็นในการแย้งของตัวเองซะงั้น
ตกลงว่าผมอธิบายไม่ดีหรือคุณอ่านไม่ละเอียดกันแน่

กรณีราคาข้าว กลับไปดูข่าวใหม่นะครับ
ชาวนาตอนนี้กำลังเดือดร้อนโดนกดราคาข้าวเหลือ 6พันบาท
จนต้องออกมาประท้วงกัน ที่ได้ประโยชน์มันนายทุนต่างหาก

การรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาเกษตรไม่ได้มีแต่เรื่องรวมเพื่อขายนะครับ
รวมเพื่อเงินทุน รวมเพื่อผลิต รวมเพื่อซื้อสินค้าในปริมาณมาก รวมเพื่อแปรรูป ฯลฯ
นั่นก็เป็นรูปแบบของการรวมตัวแบบนึงเหมือนกัน
ควรสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันมากๆด้วยซ้ำ
และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำไมผมถึงพูดว่า

"ในโลกการค้าต้องมีการรวมตัวเพิ่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในรูปแบบของการรวมตัวจะทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย"
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #29 เมื่อ: 07-05-2008, 20:58 »

5555
ก็เน้นให้เห็นชัดว่า ความจริงหรือเนี่ยะ มันก็โฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้น
สร้างกลุ่มต่อรองทางการค้า เพื่อใคร ถ้าไม่ใช่ตัวเอง มันไม่ใช่กลุ่ม
มูลนิธินี่ ถึงจะได้ทำเพื่อคนอื่น

อยากได้ตัวอย่างหรือ อ้อย+น้ำตาล ไง เคยมีครั้งไหน ที่จับมือแล้ว
ลดราคาให้ประชาขนบ้าง จับมือทีไร ขึ้นราคาทุกที

ส่วนข้าวหรือ มันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ตั้งแต่ รมต. มาพูดปั่นราคาแล้ว
โรงสีเลยตุนข้าว หวังฟันกำไร ผู้ส่งออกเลยไม่ค่อยยอมส่งออก เพราะ
ว่า ประเทศที่บริโภคข้าวเป็นหลักส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน จึงไม่
มีกำลังซื้อ แถมประเทศที่มีกำลังซื้อ ก็ไม่ยอมซื้อ แถมรัฐบาลก็ร่วมปั่น
บอกว่าจะเอาข้าวในสต๊อกมาขาย อู้ย.................. 

ผมไม่ได้ต่อต้ายเรื่องรวมกลุ่มนะ แต่ว่าไม่เชื่อว่าการรวมกลุ่ม แล้วผล
ประโยชน์มันตกกันคนท้ายสุด เพราะว่าจะโดนบีบจนหน้าเขียว

เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ยังไงก็ไม่เชื่อ รวมกลุ่มเพื่อประชาชน
ไม่ว่ากลุ่มไหนก็ทำเพื่อตัวเองทั้งนั้นแหล่ะ ถ้าชาวนารวมกลุ่ม
กันได้ ทำไมโรงสีจะรวมกลุ่มกันไม่ได้บ้างล่ะ

สรุปแล้ว จับกลุ่มกันได้เมื่อไหน ผู้บริโภคทั้งผอง โดนกันทั่วหน้าแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็ตาม ยกเว้นว่า ชาวนาจับกลุ่มสีข้าวมาขายโดยตรง
ซึ่งดูแล้วไม่เห็นหนทางเลยสักนิด
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #30 เมื่อ: 07-05-2008, 22:16 »

5555
ก็เน้นให้เห็นชัดว่า ความจริงหรือเนี่ยะ มันก็โฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้น
สร้างกลุ่มต่อรองทางการค้า เพื่อใคร ถ้าไม่ใช่ตัวเอง มันไม่ใช่กลุ่ม
มูลนิธินี่ ถึงจะได้ทำเพื่อคนอื่น

อยากได้ตัวอย่างหรือ อ้อย+น้ำตาล ไง เคยมีครั้งไหน ที่จับมือแล้ว
ลดราคาให้ประชาขนบ้าง จับมือทีไร ขึ้นราคาทุกที

ส่วนข้าวหรือ มันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ตั้งแต่ รมต. มาพูดปั่นราคาแล้ว
โรงสีเลยตุนข้าว หวังฟันกำไร ผู้ส่งออกเลยไม่ค่อยยอมส่งออก เพราะ
ว่า ประเทศที่บริโภคข้าวเป็นหลักส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน จึงไม่
มีกำลังซื้อ แถมประเทศที่มีกำลังซื้อ ก็ไม่ยอมซื้อ แถมรัฐบาลก็ร่วมปั่น
บอกว่าจะเอาข้าวในสต๊อกมาขาย อู้ย.................. 

ผมไม่ได้ต่อต้ายเรื่องรวมกลุ่มนะ แต่ว่าไม่เชื่อว่าการรวมกลุ่ม แล้วผล
ประโยชน์มันตกกันคนท้ายสุด เพราะว่าจะโดนบีบจนหน้าเขียว

เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ยังไงก็ไม่เชื่อ รวมกลุ่มเพื่อประชาชน
ไม่ว่ากลุ่มไหนก็ทำเพื่อตัวเองทั้งนั้นแหล่ะ ถ้าชาวนารวมกลุ่ม
กันได้ ทำไมโรงสีจะรวมกลุ่มกันไม่ได้บ้างล่ะ

สรุปแล้ว จับกลุ่มกันได้เมื่อไหน ผู้บริโภคทั้งผอง โดนกันทั่วหน้าแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็ตาม ยกเว้นว่า ชาวนาจับกลุ่มสีข้าวมาขายโดยตรง
ซึ่งดูแล้วไม่เห็นหนทางเลยสักนิด

เอ๋า ไปกันใหญ่ ก็รู้ๆกันอยู่ว่า ข้าว อ้อยน้ำตาล
นั่นมันเดรัจฉานวิชาของนักการเมือง รัฐมนตรี รัฐมนโททั้งนั้น
ไอ้ข้าวนั่นใครปั่นราคา ชาวบ้านได้รวมกลุ่มที่ไหน มีแต่โรงสีกดราคาเอาๆ
ยิ่งเรื่องของน้ำตาลที่เป็นสินค้าควบคุมด้วยแล้ว
ถ้ารัฐมนตรีรู้ไม่เห็นด้วย มันจะขึ้นราคาทั้งๆที่มีน้ำตาลสต๊อกอยู่เต็มโกดังได้ยังไง
มันเป็นการฮั้ว เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ไม่ใช่เรื่องการรวมตัวซักกะนิด
ยังไม่เห็นใครรวมตัวอะไร เจรจาอะไรกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย
(แต่เรื่องชั่วที่ทำกันลับๆนี่ไำม่แน่ใจ)

รวมตัวเรื่องไหนบ้างแล้วมันได้ประโยชน์อย่างไรก็ตอบไปแล้ว
แต่ยิ่งตอบก็ดูเหมือนคุณยิ่งไม่รู้เรื่อง ยิ่งพูดก็ยิ่งไม่เข้าเรื่องรวมตัว
มีแต่จะให้รวมตัวเป็นเรื่องผิดซะให้ได้
พูดไปคนละเรื่องแถไปคนละทาง กำลังสงสัยอยู่ว่าคุยคนละภาษาหรือเปล่า
อย่างเรื่อง Economic of Scale ที่คุณเริ่มไว้ ก็ไม่รู้ว่าคุณกับผมเข้าใจตรงกันหรือยัง
  
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #31 เมื่อ: 08-05-2008, 15:54 »

อ้าว ก็ข้ออ้างว่า การรวมกลุ่ม ให้ผลประโยขน์ทุกกลุ่ม มันจริงหรือ?
เข้าตัว!!!! ก็แล้วแต่คิดนะ ผมไม่ได้ต้านการรวมกลุ่ม แต่ควรจะใช้
มาตราฐานเดียวกัน ทุกคนควรรวมกลุ่มได้เหมือนกันหมด แล้วการ
รวมกลุ่ม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนอื่นแน่นอน อาจจะมีเป็นผลพลอย
ได้ แต่ไม่ใช่เหตุผลในการรวามกลุ่มทางการค้า อย่าเอามาอ้างเลย
น่าเกลียด


------------------------------
ต้นตอ "ข้าวราคาตก"

คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

โดย ทวี มีเงิน

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col02080551&day=2008-05-08&sectionid=0116

ยังไม่ทันไร ราคาข้าวในประเทศที่พุ่งทะยานจนรั้งไม่อยู่ก็ตกวูบอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย รับกับข้าวนาปรังของชาวนาที่เริ่มทยอยสู่ตลาด ฝันจะได้ราคาดีๆ ต้องฝันสลาย นี่คือทุกข์ของชาวนาไทยที่มีโอกาสเห็นๆ แต่ไม่เคยคว้าได้จริงๆ สักที

ตอนที่ข้าวราคาแพงใครๆ ก็คิดว่าชาวนารวย แต่ความเป็นจริงข้าวนาปีตกไปอยู่ในมือพ่อค้าท้องถิ่น โรงสี ตั้งแต่ก่อนราคาจะพุ่งสูงขึ้น ชาวนาจึงได้แค่เศษๆ นิดๆ หน่อยๆ แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ ที่มีแต่เข้าเนื้อ

หวังจะแก้ตัวคว้าโอกาสทองตอนข้าวนาปรังนี่แหละ แต่เอาเข้าจริงๆ พอผลผลิตออกสู่ตลาด ต้องเจอกับราคาข้าวในประเทศตกต่ำ บางพื้นที่ตกลงถึง 5,000 บาทต่อตัน จนมีคนออกมาโวย ออกมาประท้วงกันวุ่นวาย นี่แหละ "วิกฤตในโอกาส"

อะไรเป็นต้นเหตุให้ข้าวราคาตกแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย

ถ้าว่าตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็บอกว่า เป็นไปตามหลัก "ดีมานด์-ซัพพลาย" เมื่อความต้องการข้าวน้อยลง แต่สินค้าออกมามาก ราคาก็ตก นักวิเคราะห์บางรายก็ฟันธงว่า เป็นเพราะฟิลิปปินส์ยกเลิกประมูลข้าวจึงส่งผลให้ราคาตก บางคนก็บอกว่า ราคาข้าวในตลาดโลกสูง จนผู้ซื้อสู้ราคาไม่ไหว

แต่ที่ไม่มีใครพูดถึงและไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง เพื่อสรุปบทเรียน นั่นคือ เป็นผลมาจาก "จิตวิทยา" อันเนื่องมาจากกลยุทธ์ "พีอาร์โพลิซี" เพื่อสร้างคะแนนนิยมจากผู้บริโภคที่เป็นคนจนในเมืองล้วนๆ

หลังจาก "นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์" รัฐมนตรีพาณิชย์ เคยใช้กลยุทธ์เดียวกันด้วยการประกาศให้ชาวนาเก็บข้าวในสต๊อคไว้ขายเพราะราคาข้าวกำลังจะถึงตันละ 3 หมื่นบาท ไม่ถึงสัปดาห์ก็บอกให้ชาวนาขายข้าว ทั้งๆ ที่ข้าวอยู่ในมือพ่อค้า โรงสีหมดแล้ว หรือประกาศว่าจะตั้ง "โอเรค" จะรวมตัวกลุ่มผู้ผลิตข้าวเพื่อกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกเหมือนอย่างโอเปคกำหนดราคาน้ำมัน แล้วก็เงียบหายไปกับสายลม

ทั้งหลายทั้งปวงที่ออกมาตีปี๊บดังลั่น ก็เพื่อให้ดูว่ารัฐบาลเป็นห่วงเป็นใยชาวนา แต่ข้อเท็จจริงคนที่ได้ประโยชน์คือพ่อค้าและโรงสี

ครั้นราคาข้าวสูงขึ้น คนในเมืองโวยวายว่าเดือดร้อน รัฐบาลก็มีมติให้นำข้าว 2.1 ล้านตัน ที่สำรองไว้ออกมาทำข้าวถุงบรรเทาทุกข์

ในเชิงการบริหารรัฐบาลจะต้องดูแลชาวนาให้ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก ขณะเดียวกันต้องไม่ทิ้งคนจนในเมืองที่เดือดร้อนจากราคาข้าวแพง การที่รัฐบาลทำข้าวถุงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

แต่ที่รัฐบาลประกาศว่า จะนำข้าวในสต๊อค 2.1 ล้านตันมาทำข้าวถุง อาจจะถูกในเชิงยุทธศาสตร์ แต่พลาดในยุทธวิธี ความที่มุ่งหวังคะแนนเสียงกับคนในเมืองจนลืมผลกระทบที่จะตกกับข้าวนาปรัง

ทันทีจากรัฐบาลประกาศว่า จะทำข้าวถุงแก้ปัญหาขาดแคลนและราคาแพง พ่อค้าท้องถิ่น โรงสีข้าว ก็ไม่ยอมรับซื้อข้าวตามปกติและยังกระพือข่าวว่ารัฐบาลนำสต๊อค 2.1 ล้านตันมาทุ่มตลาด จึงกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนาที่กำลังทยอยสู่ตลาด พลอยทำให้ตลาดเกิดวิตกจริตไปด้วย ทุกอย่างต้องชะงักงัน พ่อค้าได้ทีฉวยโอกาสกดราคารับซื้อ ชาวนาก็จำใจขายเพราะอยู่ในภาวะผีถึงป่าช้า

นี่คือ ผลของการแก้ปัญหาแบบการเมือง นี่คือผลกระทบทางจิตวิทยาที่คาดไม่ถึง

เรื่องนี้จะไม่เกิดถ้ารัฐบาลมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า "อคส." ค่อยๆ ทยอยทำข้าวถุงออกไปวางตามโมเดิร์นเทรดแบบเงียบๆ ไม่ให้ขาดหายไปจากชั้นวางเหมือนที่ผ่านมา ไม่ต้องตีปี๊บให้ใหญ่โตเพื่อหวังผลทางการเมือง ราคาข้าวนาปรังก็ไม่ได้รับผลกระทบมากมายเช่นนี้

เพราะข้าวที่มาทำข้าวถุงแค่ 500 ตัน จิ๊บจ๊อยหากเทียบกับสต๊อค 2.1 ล้านตัน ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดแต่อย่างใด

เรื่องที่เกิดขึ้นมันสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะมองเป็นจุดๆ ไม่เข้าใจภาพใหญ่ทั้งระบบ การแก้ปัญหาเฉพาะจุด เมื่อแก้ตรงโน้นก็กระทบตรงนี้ เหมือนลิงแก้แห

ยิ่งมุ่งหวังผลการเมืองมากเกินไป ความเสียหายย่อมตามมาอย่างที่เห็น
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #32 เมื่อ: 08-05-2008, 16:18 »

เอ๋า ไปกันใหญ่ ก็รู้ๆกันอยู่ว่า ข้าว อ้อยน้ำตาล
นั่นมันเดรัจฉานวิชาของนักการเมือง รัฐมนตรี รัฐมนโททั้งนั้น
ไอ้ข้าวนั่นใครปั่นราคา ชาวบ้านได้รวมกลุ่มที่ไหน มีแต่โรงสีกดราคาเอาๆ
ยิ่งเรื่องของน้ำตาลที่เป็นสินค้าควบคุมด้วยแล้ว
ถ้ารัฐมนตรีรู้ไม่เห็นด้วย มันจะขึ้นราคาทั้งๆที่มีน้ำตาลสต๊อกอยู่เต็มโกดังได้ยังไง
มันเป็นการฮั้ว เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ไม่ใช่เรื่องการรวมตัวซักกะนิด
ยังไม่เห็นใครรวมตัวอะไร เจรจาอะไรกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย
(แต่เรื่องชั่วที่ทำกันลับๆนี่ไำม่แน่ใจ)

รวมตัวเรื่องไหนบ้างแล้วมันได้ประโยชน์อย่างไรก็ตอบไปแล้ว
แต่ยิ่งตอบก็ดูเหมือนคุณยิ่งไม่รู้เรื่อง ยิ่งพูดก็ยิ่งไม่เข้าเรื่องรวมตัว
มีแต่จะให้รวมตัวเป็นเรื่องผิดซะให้ได้
พูดไปคนละเรื่องแถไปคนละทาง กำลังสงสัยอยู่ว่าคุยคนละภาษาหรือเปล่า
อย่างเรื่อง Economic of Scale ที่คุณเริ่มไว้ ก็ไม่รู้ว่าคุณกับผมเข้าใจตรงกันหรือยัง
  

หุหุหุ
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #33 เมื่อ: 16-05-2008, 22:57 »

OREC เส้นทางปีศาจหรือนักบุญ

โดย ปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03160551&day=2008-05-16&sectionid=0130

ความคิดที่จะรวมตัวกันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวในแถบภาคพื้นเอเชียอันได้แก่ เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน จีน และไทย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันได้ 23 ล้านตันข้าวสาร จากปริมาณการค้าในตลาดโลก 29 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 79 โดยมีการกล่าวขานกันว่าจะเป็น OREC (Organization of Rice Exporting Countries) นั้น

แนวคิดดังกล่าวเกิดจากคำถามในเชิงหาทางออกเมื่อราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำและส่งผลกระทบไปถึงชาวนาที่ต้องประสบกับการขาดทุนจากการปลูกข้าว จนเกิดเป็นภาระของรัฐบาลแต่ละประเทศตลอดมา จึงได้มีการอ้างอิงรูปแบบอย่างของการรวมตัวกันในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันของโลกที่เรียกว่า OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries)

บทเรียนในอดีตเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา สมัย ดร.อดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการตั้งประเด็นเช่นเดียวกันนี้และทำกันอย่างก้าวหน้าถึงขั้นจัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศผู้ผลิตข้าวในกรุงเทพมหานคร โดยมีไทย เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน และจีน

แต่ในที่สุดก็ล้มเหลว

เพราะภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีจากอินเดียได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า อินเดียจะไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาข้าว ในลักษณะที่เป็น Cartel กล่าวคือ เป็นการรวมกลุ่มเพื่อกำหนดราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งเป็นประเด็นที่เสี่ยงต่อการละเมิดกฎกติกาของโลก ซึ่งสังคมโลกไม่ยอมรับ เพราะจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชากรโลกที่อดอยาก ซึ่งต้องพึ่งพาอาหารจากประเทศผู้ผลิตข้าว และอาจจะเลยเถิดไปถึงภาพพจน์ของประเทศว่าไม่มีมนุษยธรรม

เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ท่านมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงข่าวว่าจะมีการหารือกับรัฐมนตรีพาณิชย์จากอินเดียในประเด็นเรื่อง OREC และนายกรัฐมนตรีไทยก็ออกมาสำทับ พร้อมกับเสนอความคิดไปไกลถึงความร่วมมือกับลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย

แต่ยังไม่ทันสิ้นกระแสเสียงของนายกรัฐมนตรีไทย รัฐมนตรีเวียดนามก็ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อระหว่างประเทศว่า เวียดนามยังไม่มีความก้าวหน้าในการหารือกับไทยในลักษณะที่ทางฝ่ายไทยคาดหวัง

เมื่อไม่มีข่าวตอบรับจากอินเดีย ประกอบกับข่าวปฏิเสธจากเวียดนาม ก็คงประเมินสถานการณ์ได้ว่า OREC โดยนัยที่พูดถึงก็คงเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ล้มเหลวเหมือนเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

ในคราวใดที่สถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาประสบการขาดทุนจากการปลูกข้าว องค์กรระหว่างประเทศดูจะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อความพยายามดิ้นรนในการยกระดับราคาข้าวของประเทศผู้ผลิตข้าว

ต่อเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ราคาข้าวในตลาดโลกได้พลิกกลับมามีราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าภายในเวลา 5 เดือน ราคาข้าวขยับขึ้นสูงไปจากเดิมกว่า 1 เท่าตัว โดยนักวิเคราะห์ระหว่างประเทศได้ให้เหตุผลว่าเกิดจากวิกฤตโลกร้อน

เวียดนามเกิดภัยแห้งแล้ง ตามมาด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดอย่างรุนแรงจนต้องประกาศลดการส่งออกจาก 4.5 ล้านตัน มาเหลือ 3 ล้านตัน และยังชะลอการส่งออกต่อไป

อินเดียก็กำหนดเพดานราคาส่งออกข้าวสูงกว่าราคาตลาด จนงดการส่งออกไปโดยปริยาย

จีนก็ประสบปัญหาภัยหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 50 ปี

สุดท้ายก็มาลงที่เกษตรกรว่าได้ปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชอาหารมาเป็นพืชพลังงานที่ใช้ทดแทนน้ำมัน จนกระทั่งกลายเป็นประเด็นของโลกในเรื่องวิกฤตขาดแคลนอาหารอยู่ในขณะนี้

การรวมกลุ่ม OREC ในสถานการณ์ราคาข้าวที่สูงขึ้นเช่นนี้ จึงหนีไม่พ้นที่จะถูกองค์กรระหว่างประเทศมองว่าประเทศไทยควรมีบทบาทในทางสร้างสรรค์มากกว่านี้

ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ข้าวรายใหญ่จากตลาดโลกก็พูดเปรียบเทียบประเทศไทยกับการรวมกลุ่ม OREC ว่า มีลักษณะเป็นมาเฟียลุ่มแม่น้ำโขง เพราะเป็นผู้มีส่วนร่วมกันกับเวียดนามทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น

ดังนั้น ในสายตาคนทั่วไปย่อมมองว่าเป็นเส้นทางเดินของปีศาจ

การที่องค์กรระหว่างประเทศจะมีมุมมองในบริบทของมนุษยธรรมต่อประชากรโลกที่อดอยากและหิวโหยนั้นเป็นเรื่องถูกต้องและดีงาม ทั้งเป็นการกระตุ้นให้สังคมโลกได้เกิดจิตสำนึกต่อความเอื้ออาทรกับมนุษยชาติ

มีทางออกของ OREC บนเส้นทางนักบุญคือ ประเทศผู้ผลิตข้าวต้องมาหารือร่วมกันและนำเสนอความเป็นจริงพร้อมทางออกต่อองค์กรระหว่างประเทศว่า ชาวนาของทุกประเทศที่ปลูกข้าวในภาคพื้นเอเชียเป็นประชากรที่ยากจน

ความจริงที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ การทำนาจะขาดทุนจากต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น น้ำมัน ปุ๋ยเคมี สารเคมี การเผชิญกับความเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคและแมลงระบาด ความเป็นหนี้ได้พอกพูน จนชาวนาต้องขายที่ดินเปลี่ยนจากทำนาในที่นาของตนเองมาเป็นผู้เช่านา ซึ่งเป็นวิกฤตของชาวนาที่ท้าทายต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สินและคุณภาพชีวิตของชาวนา

กลุ่มประเทศ OREC ต้องนำเสนอทางออกด้วยการประกาศต้นทุนมาตรฐานของการผลิตข้าวของชาวนาและผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมให้กับชาวนา ซึ่งจะเป็นการกำหนดราคาจากต้นน้ำ เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมที่กำหนดต้นทุนและกำไรที่เหมาะสมจากโรงงาน แล้วจึงไปสู่ตลาดและผู้บริโภคเป็นจุดสุดท้าย เช่นนี้จึงจะเป็นทางออกเพื่อความอยู่รอดของชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง

ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือ ชาวนาต้องอยู่รอดได้ก่อน จึงจะมีคนปลูกข้าวเพื่อเป็นหลักประกันให้กับโลกได้ว่า จะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารและความอดอยากของประชากรโลก

สุดท้าย OREC จะต้องเรียกร้องให้ OPEC และประเทศที่ร่ำรวยจากการค้าและการลงทุนในตลาดโลก หันมาร่วมมือกันในนามของความมีมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อดอยากและหิวโหย

ทั้งนี้ จะได้เป็นบทพิสูจน์ว่าการค้าเสรีที่ดีนั้น จะต้องมีคุณธรรมกำกับอยู่ด้วย จึงจะสมกับความเป็นศิวิไลซ์ของโลกาภิวัตน์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: