ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 21:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชาชน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชาชน  (อ่าน 1703 ครั้ง)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« เมื่อ: 20-04-2008, 03:54 »

ยลกันก่อน เปิดแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชาชน  พิมพ์บทความนี้

หมวดที่ 1 บททั่วไป คงไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2550
 
หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ คงไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2550
 
หมวด ที่ 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ยึดตามรัฐธรรมนูญปี 2540 มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ประกอบเนื่องจากเนื้อหาสาระในปี 2550 บางส่วนที่เป็นประโยชน์เนื่องจากมีการจำแนกแยกได้อย่างเป็นสัดส่วนดีกว่าปี 2540
 
เรื่อง ยุบพรรค เขียนเพิ่มเติม มาตรา 63 รัฐธรรมนูญ 2540 ต่อไปจะกระทำยุบพรรคได้ 3 สาเหตุเท่านั้น 1.ถ้ามีการกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 2.การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 3.การกระทำเป็นภัยต่อความมั่นคงทั้งในและนอกราชอาณาจักร ส่วนการเพิกถอนสิทธิ จะต้องเป็นการกระทำของกรรมการบริหารพรรคการเมืองและหัวหน้าพรรคด้วย
 
หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย ยึดตามรัฐธรรมนูญปี 2550
 
หมวดที่ 5  แนว นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กลับใช้ตามมาตรา 71-89 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 บัญญัติค่อนข้างบังคับให้รัฐบาลดำเนินการตามรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน มีผลต่อรัฐบาลทุกยุคสมัยที่จะมาดำเนินการ อีกทั้งทำให้รัฐบาลนำนโยบายของพรรคที่หาเสียงกับประชาชนมาบรรจุเป็นนโยบาย ได้อย่างครบถ้วน
 
หมวด ที่ 6 รัฐสภา ให้กลับไปใช้ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 จำนวน ส.ส. 400 คน คุณสมบัติ และวิธีการเลือกตั้ง ตลอดจนวิธีการนับคะแนน ให้เป็นไปตาม มาตรา 98
 
ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ให้เป็นไปตามมาตรา 121-122 รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ทั้งหมด
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามมาตรา 138-145 รัฐธรรมนูญ ปี 2540
 
การ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยมีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายในหมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ (มาตรา 163 รัฐธรรมนูญ 2550) ให้คงไว้ ขณะที่มาตรา 170 รัฐธรรมนูญปี 2540 ให้เข้าชื่อ 50,000 คน
 
ส่วน ที่ 5 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญ 2550 ใช้เสียง 1 ใน 5 (มาตรา 185 รัฐธรรมนูญ 2540 ใช้เสียง 2 ใน 5) ส่วนการยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญ 2550 ใช้เสียง 1 ใน 6 (มาตรา 186 รัฐธรรมนูญ 2540 ใช้เสียง 1 ใน 5)
ส่วน ที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดิน กลับไปใช้ชื่อเดิมตามมาตรา 196 รัฐธรรมนูญ ปี 2540 คือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อให้ยึดโยงกับรัฐสภา
 
ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตาม มาตรา 199-200 ตามรัฐธรรมนูญ 2540
หมวด ที่ 7 คณะรัฐมนตรี ให้คงไว้ตามมาตรา 201-216 รัฐธรรมนูญ ปี 2540 โดยแก้ไขให้ ส.ส.สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ โดยไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งและให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมืองอื่นๆ ได้ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ห้ามไว้
 
กรณี รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งเพราะต้องคดีอาญา จะให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อถูกตัดสินให้จำคุก แม้แต่การรอลงอาญาด้วย เว้นแต่ความผิดลหุโทษ ประมาท หรือหมิ่นประมาท (เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมรัฐมนตรีไม่ให้กระทำความผิด
 
หมวดที่ 8 ศาล ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2540 ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 255-270) ศาลยุติธรรม (มาตรา 271-275) ศาลปกครอง (มาตรา 276-280)  ศาล ทหาร (มาตรา 281) โดยในส่วนของการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้กลับไปใช้มาตรา 255 รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการสรรหาก็ให้ดำเนินการต่อไป
 
ส่วน กรณีนำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญ จะให้ปรับจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 มาใช้ โดยหากรัฐสภาเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ สามารถยื่นได้ตามปกติ แต่ได้เปิดช่องให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้เหมือนกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550
 
หมวด ที่ 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในส่วนขององค์กรอิสระ จะให้กลับไปใช้เหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 (อัยการ สภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้กลับไปเป็นส่วนราชการเช่นเดิม)
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะมีคุณสมบัติและมีการสรรหาตามมาตรา 297-298 รัฐธรรมนูญ ปี 2540
 
ส่วน การเข้าชื่อของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่กระทำผิด ทุจริตได้ (มาตรา 164 รัฐธรรมนูญ 2550) ให้คงไว้
 
หมวด ที่ 12 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนที่มีอยู่ หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 50,000 คน (มาตรา 291 รัฐธรรมนูญ 2550) ให้คงไว้
 
บท เฉพาะกาล เกี่ยวกับองค์กรต่างๆ ทั้ง ส.ส. ส.ว. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ กกต.ทำงานอีก 180 วัน ป.ป.ช.ทำงานต่อไปได้ 6 เดือน-1 ปี
 
ไม่มีการแก้ไขในส่วนขององคมนตรี ตุลาการ และอัยการอาวุโส
 
สภา ผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ ปี 2540 กำหนดให้มี ส.ส. 500 คน ส่วนที่ขาดไป 20 คนจะให้มีการเลือกตั้งเพิ่มเติม หรือเลื่อน ส.ส.จากระบบสัดส่วนขึ้นมา
 
สมาชิก วุฒิสภา กำหนดให้มี จำนวน 200 คน จากเลือกตั้ง แต่ปี 2550 กำหนดให้มี 150 คนจึงเป็นปัญหาจะให้มีการเลือกตั้งให้ครบ 200 คน หรือไม่ แล้ว 74 คนที่มาจากการสรรหาจะให้พ้นจากตำแหน่งโดยพลัน
มาตรา 309 มีสองแนวคิด คือ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการนิรโทษกรรมเคยทำไว้แล้วใน รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ซึ่งการนิรโทษกรรมควรมีครั้งเดียวก็พอ จึงมีความเห็นว่าไม่ควรมีอีก และการนิรโทษกรรมเป็นการนิรโทษกรรมในอนาคต ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ถือว่าไม่เหมาะสม จึงเสนอให้ตัดทิ้งไว้ หรือให้คงไว้แต่มีเงื่อนไขในการนำมาใช้
 
 
หมายเหตุ : เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ที่พรรคพลังประชาชน เสนอแก้ไขในแต่ละหมวด โดยเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
http://www.prachatai.com/05web/th/home/11892

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #1 เมื่อ: 21-04-2008, 09:44 »



 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: