ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 19:38
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประวัติย่อทิเบต อ่านง่าย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประวัติย่อทิเบต อ่านง่าย  (อ่าน 3579 ครั้ง)
jnaj1
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 170


« เมื่อ: 19-04-2008, 04:41 »

สู่ ‘เอกราช’ ทิเบต! ฝันที่(ไม่)เป็นจริง?
โดย สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์    5 เมษายน 2551 12:36 น.


สัปดาห์ ที่ผ่านมาทิเบตกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ถูกจับจ้องจากทั่วโลก อะไรทำให้เกิดการประท้วงขึ้น? ทิเบตจะเรียกร้องเอกราชได้จริงหรือ? หรือสุดท้าย เรื่องราวทั้งหมดจะปลิวหายไปกับสายลม เช่นเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์ ที่พม่าเมื่อปี 2007
       
       ในภาษาจีน ผืนแผ่นดิน “ทิเบต” ถูกเรียกว่า “ซีจั้ง” ซึ่งหมายถึง “ขุมสมบัติแห่งทิศปัจจิม”
       
       ด้วยสถานะดินแดนที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ1 และยังเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ ทำให้ทิเบตกลายเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง ที่มหาอำนาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
       
       ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สัมพันธ์จีน-ทิเบต
       
       ราวต้นศตวรรษที่ 7 วีรบุรุษซรอนซันกัมโป (ซงจั้นกันปู้ - ชื่อตามเอกสารจีน) ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ทูโป (Tubo) อย่างเป็นทางการ ตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ภายใต้การปกครองของพระองค์ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาวิทยาการต่างๆที่ทันสมัยจากราชวงศ์ถัง2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ฝ่ายจีนอ้างว่า ในปีค.ศ. 634 เจ้าของแคว้นทิเบตได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์ถังของ จีนเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามฐานะที่ไม่เท่าเทียมดังกล่าวอาจเป็นการตีความเข้าข้างตนเองของ ฝ่ายจีน เนื่องจากช่วงศตวรรษที่ 7-9 มีหลักฐานยืนยันว่า พระเจ้ากรุงจีนและทิเบตมีฐานะเท่าเทียมกันและเป็นมิตรต่อกัน3
       
       ครั้นต่อมาในยุคราชวงศ์ซ่ง, หมิง กระทั่งถึง ราชวงศ์ชิง ทางฝ่ายจีนได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการแต่งตั้ง สถาปนายศทางศาสนาให้พระลามะหลายตำแหน่ง ในสมัยราชวงศ์ชิง จีนให้ความสำคัญกับการปกครองทิเบตมากขึ้น มีการแต่งตั้งข้าหลวงส่วนพระองค์ชาวแมนจู ที่เรียกว่า อัมบัน (Amban) ไปประจำที่ทิเบต ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารกิจการทิเบต
       
       ในช่วงสมัยราชวงศ์ชิง (1662-1911) จีนเผชิญกับภัยคุกคามจากตะวันตก โลกทัศน์เรื่องความเป็นรัฐชาติ (nation state) หรือประเทศที่มีขอบเขตพรมแดนชัดเจน ตามแนวคิดแบบฝรั่ง กลายเป็นพลังหนึ่งที่ท้าทายอำนาจการปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ชิง4 พร้อมกับการแผ่ขยายของลัทธิจักรวรรดินิยมที่มีอังกฤษเป็นผู้นำอีกทางหนึ่ง
       
       พร้อมกับการเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 17 กระทั่งเข้ายึดครองอินเดียโดยสมบูรณ์ในปีค.ศ. 18875 อังกฤษก็ค่อยๆแผ่อิทธิพลเข้าไปยังทิเบต ซึ่งมีอาณาบริเวณ ติดต่อทางเหนือของอินเดีย สำหรับจีนในขณะนั้นอำนาจการปกรองของราชวงศ์ชิงก็เริ่มถูกกัดกร่อนลงเรื่อยๆ นับแต่การปราชัยในสงครามฝิ่น (1839-1840)
       
       ใน ปี 1901-1902 รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย หวั่นเกรงกับข่าวลือว่า รัสเซียอาจใช้ทิเบตเป็นฐานในการจู่โจมพรมแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อินเดีย เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปยังเอเชียกลาง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียง6 รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียจึงส่ง พันโทฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ (Francis Younghusband) พร้อมกองกำลังติดอาวุธไปเจรจากับองค์ทะไล ลามะ7 พูดง่ายๆตามภาษาชาวบ้านว่า เจรจาพร้อมปืน

       การรุกเข้าไปของ อังกฤษเผชิญกับการต่อต้านของชาวทิเบต อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดกองกำลังของอังกฤษสามารถบดขยี้การต่อต้านขององค์ทะไล ลามะองค์ที่ 13 ทำให้พระองค์ต้องลี้ภัยไปยังมองโกเลีย ในปี 1904 ภารกิจของยังฮัสแบนด์จบลงด้วยการลงนามในอนุสัญญาปี 1904 ระหว่างอังกฤษ-จีน-ทิเบต ในครั้งนั้นข้าหลวงใหญ่ประจำทิเบต (อัมบัน) ได้ลงนามสนับสนุนด้วย แม้ภายหลังข้อความในอนุสัญญาบางส่วนจะไม่ได้รับอนุมัติจากทางอังกฤษและ ปักกิ่ง ทว่ายังฮัสแบนด์ได้แถลงไว้อย่างชัดเจนว่า “อังกฤษรับรองความเป็นเจ้าเหนือดินแดน (suzerainty) ทิเบตของจีน” ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการที่ผู้แทนอังกฤษใช้คำว่า เจ้าเหนือดินแดน (suzerainty) แทนคำว่า อธิปไตย (sovereignty) เป็นเล่ห์กลอย่างหนึ่ง เผื่อวันหน้าอังกฤษมีแสนยานุภาพขยายอำนาจเข้าไปแทนที่จีนในทิเบตได้ ก็อาจอ้างอิงคำว่า “เจ้าเหนือดินแดน” ว่ามีความชอบธรรมในการปกครองน้อยกว่า “อธิปไตย”8
       
       ครั้นปี 1907 มหาอำนาจอีกฝ่ายหนึ่งคือ รัสเซียก็ได้ทำสนธิสัญญากับอังกฤษว่า ทั้งสองจะเคารพบูรณภาพเหนือดินแดนของทิเบต ผ่านจีนซึ่งครองความเป็นเจ้าหนือดินแดน9
       
       ปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับทิเบต เริ่มขึ้นภายหลังการปฏิวัติซินไฮ้ (1911) โค่นล้มราชวงศ์ชิง ภาวะสูญญากาศทางการเมือง ทำให้ทิเบตถือโอกาสประกาศเอกราช อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลจีนไม่เคยยอมรับเอกราชของทิเบตและยังคงประกาศว่า ทิเบตเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน พร้อมกับได้พยายามส่งกองทหารไปฟื้นฟูอำนาจปกครองเหนือทิเบตโดยตลอด

   
       ระหว่างปี 1912-1950 ทิเบตสามารถดำรงเอกราชโดยพฤตินัย ทว่าในทางนิตินัยค่อนข้างคลุมเครือ เนื่องจากจีนมิได้ยอมรับว่า ทิเบตเป็นเอกราช คณะที่มหาอำนาจอื่นๆ คืออังกฤษและสหรัฐอเมริกา ก็มิได้ยอมรับเช่นกัน ทางอังกฤษยืนสูตรเดิม “รับรองความเป็นเจ้าเหนือดินแดนทิเบตของจีน” ขณะที่สหรัฐฯเองก็รับรองอธิปไตยของจีนเหนือทิเบต ระหว่างที่ทะไล ลามะ ส่งคณะการค้าเดินทางเยือนสหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรปในปี 1947-1948 ทางสหรัฐฯได้ออกวีซ่า FORM 257 ให้คณะการค้าทิเบต โดยวีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับบุคคลที่สหรัฐฯไม่รับรองรัฐบาลของประเทศนั้นๆ10
       
       ล่วงเข้าปี 1950 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหารเข้าไปปลดแอกทิเบต รัฐบาลของทะไล ลามะองค์ที่ 14 ไม่สามารถต่อต้านได้จึงถูกกดดันให้ลงนามใน “ข้อตกลงแห่งรัฐบาลกลางของประชาชนกับรัฐบาลท้องถิ่นแห่งทิเบตว่าด้วย มาตรการปลดปล่อยทิเบตโดยสันติวิธี” ในวันที่ 23 พฤษภาคม 198811 อย่างไรก็ตามการต่อต้านของชาวทิเบตยังคงดำเนินไปตลอด ระหว่างช่วงสงครามเย็น ในปี 1956 ชาวทิเบตทำการประท้วงต่อต้านจีน โดยได้รับความสนับสนุนจากซีไอเอ12 เหตุการณ์บานปลาย กระทั่งจีนต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามในปี 1959 ส่งผลให้องค์ทะไล ลามะต้องหลบหนีออกจากทิเบตในวันที่ 10 มีนาคม 1959 โดยมุ่งเดินทางไปยังอินเดีย
       
       หลังการลี้ภัยมายังอินเดีย องค์ทะไล ลามะได้เคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพให้กับทิเบต อย่างไรก็ตามไม่มีประเทศใดให้การรับรองเอกราชของทิเบต หรือกล่าวประฌามว่า จีนละเมิดอธิปไตยทิเบต ข้อเรียกร้องที่นานาประเทศกล่าวประฌามจีนก็เป็นเพียงประเด็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชนเท่านั้น13 ดังนั้นหลังทศวรรษ 1970 ที่สหรัฐฯหันมาจับมือกับแผ่นดินใหญ่ พร้อมกับยุติการสนับสนุนขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชทิเบต การเคลื่อนไหวของชาวทิเบต จึงเน้นที่การเคลื่อนไหว อย่างสันติ เพื่อรักษาวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของตน14 อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องเอกราชก็ยังฝังรากอยู่ในสำนึกของพวกเขา
       
       หากใช้มุมมองด้านกฏหมายระหว่างประเทศเข้ามาพิจารณา ข้อถกเถียงของรัฐบาลจีนย่อมมีน้ำหนักกว่าทิเบต เนื่องจากจีนไม่เคยยอมรับว่าทิเบตเป็นประเทศเอกราช และพยายามฟื้นฟูอำนาจเหนือดินแดนมาตลอดและก็ทำได้จริง นอกจากนี้ประชาคมระหว่างประเทศก็มิได้รับรองฐานะรัฐเอกราชของทิเบตในช่วง 1912-1950 ที่ทิเบตเป็นเอกราชโดยพฤตินัย15

   
       49 ปีแห่งการลี้ภัย: ชนวนเอกราช กับ ฝันที่ไม่เป็นจริง
       
       อย่างไรก็ตามในปี 2008 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของชาวทิเบตนับว่าคึกคักยิ่ง ด้วยปี 2008 นี้มีชนวนเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้ชาวทิเบตลุกขึ้นมาต่อต้านจีนอย่างแข็ง ขัน
       
       เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ โคโซโว ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของเซอร์เบียได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากเซอร์เบีย ความสำเร็จของโคโซโวดังกล่าว สร้างความวิตกให้จีนกังวลว่าอาจเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทิเบต, ซินเจียง (ซินเกียง) และไต้หวัน ประกาศเอกราชตาม
       
       นอกจากนี้ปี 2008 จีนยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เมื่อเป็นงานระดับโลก สายตาทุกคู่ย่อมจับจ้องมาที่จีน ฉะนั้นปี 2008 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับทิเบตในการเคลื่อนไหว เนื่องจากความสนใจต่อเหตุการณ์ใดๆที่เกี่ยวข้องกับจีนในปีนี้ย่อมได้รับ ความสนใจเป็นพิเศษ
       
       ส่วนปัจจัยภายในประเทศที่สร้างความอึดอัดให้กับชาวทิเบต พอๆกับชาวจีนโดยทั่วไปคือ ปัญหาเงินเฟ้อที่ทำสถิติพุ่งพรวดสู่งสุดในรอบทศวรรษ โดยสถิติเงินเฟ้อเดือนก.พ. ได้พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 8.7% ทำลายสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปี ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวไม่หยุด เหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ปลุกเร้าอารมณ์ของชาวทิเบต กระทั่งมาปะทุขึ้น ในวันที่ 10 มีนาคม 2008 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 49 ปีที่องค์ทะไล ลามะ ลี้ภัยออกจากทิเบต ชาวทิเบตพลัดถิ่น ที่ ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ได้เริ่มเคลื่อนขบวนเดินทัพเรียกร้องเอกราชอย่างสันติ โดยมุ่งเดินทางเหยียบแผ่นดินทิเบตในช่วงที่จีนเริ่มมหกรรมกีฬาโอลิมปิก

   
       พร้อมกับการเดินขบวนดังกล่าว ลามะและประชาชนชาวทิเบตในจีน ได้ร่วมกันชุมนุมประท้วงเรียกร้องเอกราช กระทั่งรัฐบาลจีนต้องส่งกำลังทหารเข้าไปในลาซา พร้อมกับการประกาศทำสงครามประชาชน เพื่อควบคุมสถานการณ์ในลาซา
       
       อย่างไรก็ตามท้ายที่สุด การเคลื่อนไหวของชาวทิเบต มีทีท่าว่าจะเป็นหมัน
       
       เนื่องจากสภาพการณ์ปัจจุบัน ประเทศต่างๆมีผลประโยชน์ผูกพันกับจีนอย่างมากมาย ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา หรือเยอรมนี ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการกล่าวประฌามจีนในประเด็นทิเบต ก็หยิบยกแต่ปัญหาสิทธิมนุษยชนมาพูด แต่มิเคยเข้าไปกดดันหรือแตกหักกับจีนอย่างแท้จริง ด้วยผลประโยชน์มหาศาลต่อการเข้าไปลงทุนในตลาดที่มีกำลังบริโภคถึง 1,300 ล้านชีวิต เป็นชิ้นเนื้อสำคัญที่มิอาจปล่อยให้หลุดลอย
       
       นอกจากนี้ความขัดแย้งกับทางการจีนรังแต่จะก่อให้เกิดปัญหาอย่าง รุนแรงตามมา เพราะความขัดแย้งกับจีนมิได้หมายถึงความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพียงแห่งเดียว แต่หมายถึงความขัดแย้งกับชาวจีนโพ้นทะเลด้วย แม้ปัจจุบันชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้าไปอยู่อาศัยยังประเทศต่างๆทั่วโลกจะถูก กลืนกลายให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนั้นๆ ทว่าสำนึกของความเป็นชาติส่วนหนึ่งยังผูกพันกับแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้นความขัดแย้งใดๆที่จะตามจึงมีราคาที่ต้องจ่ายมากมาย
       
       อย่าง มากที่สุดประเทศตะวันตกคงออกมาประฌามจีนเรื่องสิทธิมนุษยชน การใช้ความรุนแรง พร้อมกับแสดงความเสียใจต่อชาวทิเบตอย่างสุดซึ้ง แต่สุดท้ายแล้วละครเรื่องนี้ก็จบลงด้วยการ “เกี๊ยะเซี้ย” ระหว่างมหาอำนาจ ตบหน้าลามะ และชาวทิเบตที่ได้แต่เหนื่อยฟรี
       
       58 ปีผ่านไป ไฉนความขัดแย้งยังไม่จาง?
       
       แม้ฉากสุดท้ายของละครเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ ตั้งแต่ยังไม่เปิดม่าน ทำนองเดียวกับละครน้ำเน่าของทีวีไทย ทว่าบทเรียนสำคัญอย่างหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นจากการต่อต้านของชาวทิเบตคือการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของ จีน
       
       นโยบายจีนต่อทิเบตในช่วง 58 ปีนับแต่ประธานเหมาสั่งกรีฑาทัพปลดแอกทิเบตในปี 1950 เป็นเพียงการกดทับความขัดแย้งระหว่างชาวทิเบตกับจีน ที่ดูเผินๆแล้วเหมือนความขัดแย้งจะหายไป ทว่าความขัดแย้งนั้นกลับเพิ่มพูนรอวันปะทุ
       
       ทิเบตเป็นเขตปกครองตนเอง ซึ่งรัฐบาลจีนให้สิทธิว่า ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองต้องเป็นคนชนชาติท้องถิ่น ดูเผินๆเหมือนทิเบตจะได้รับอิสระพอสมควร ทว่าบุคคลที่ได้รับการคัดเลือก มักเป็นคนที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเลือกแล้วว่าคุยกันได้ หรือไม่ก็เป็นเด็กในคาถา นอกจากนี้อำนาจที่แท้จริงยังตกอยู่กับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขต ปกครองตนเอง ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นชาวจีนฮั่น และเป็นคนที่ส่วนกลางส่งมา
       
       นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังเข้าไปหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดม สมบูรณ์ในทิเบต อาทิการขุดเจาะเหมืองแร่ต่างๆ ตามอภิมหาโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาภาคตะวันตก ซึ่งเริ่มในปี 1999 จนนำไปสู่ความขัดแย้งกับท้องถิ่น เนื่องจากชาวทิเบตให้ความเคารพนับถือธรรมชาติมาก ธงมนต์ระโยงระยางที่โบกสะพัดไปตามสายลม สะท้อนความเชื่อ ความเคารพนับถือ ที่ชาวทิเบตมีต่อธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ด้วยการอาศัยสายลมเป็นสื่อกลาง คำภาวนาที่จารบนผืนธงจะถูกพัดพาไปยังเทพเจ้า
       
       หากการพัฒนาส่งดอกออกผลให้กับชาวทิเบต ก็เป็นเรื่องดี ทว่าพร้อมกับการเข้าไปปลดแอกในปี 1950 ร้านรวงต่างๆของชาวฮั่นผุดขึ้นราวดอกเห็ดในทิเบต ความจริงใจของจีนที่อ้างว่าไปปลดปล่อยทิเบต จึงถูกตั้งคำถาม ผลประโยชน์จาการพัฒนาตกอยู่ในมือใครกันแน่?
       
       การุกคืบของทุนที่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตดั้งเดิมก่อให้ความตึงเครียด ที่รอวันปะทุ ความตึงเครียดระหว่างจีน-ทิเบตถูกสั่งสมมาเรื่อยๆ กระทั่งรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต เริ่มให้บริการในปี 2006 ชาวจีนฮั่นก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทิเบตมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาวทิเบตซึ่งเป็นชนท้องถิ่น ที่รู้สึกว่าวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนกำลังถูกคุกคาม วัดวาอารามทิเบตได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างสวยงาม ทว่าความสวยงามดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวเสพเท่านั้นหรือ?
       
       สุด ท้ายความพยายามในการกลืนกลายชนชาติทิเบต ด้วยการสนับสนุนให้ชาวจีนฮั่นเข้าไปตั้งรกราก รวมทั้งกระบวนการลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ เปลี่ยนวัฒนธรรมทิเบตให้เหลือสถานะเป็นเพียงวัตถุที่เสพได้ จึงออกผลเป็นข่าวการปะทะระหว่างชาวจีนฮั่นกับชาวทิเบตที่ปรากฏอยู่เนืองๆ


http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000032332
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #1 เมื่อ: 19-04-2008, 07:36 »

เอาเป็นว่า จีน และ ทุกๆประเทศในโลกนี้ อดีต ปัจจุบัน ไม่เคยรองว่าธิเบตเป็นประเทศมาก่อน และ ทุกๆประเทศในปัจจุบันต่างยอมรับรับรองว่า ธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน

ชนเผ่าธิเบตคือ 1 ใน 56 ชนเผ่าของจีน ชนเผ่าที่ใหญ่กว่าธิเบตไม่ใช่ฮั่นเท่านั้น ยังมี ชนเผ่ามองโกล หมั่นโจว และชนเผ่าแถมยูนาน ต่างก็มีประชากรมากว่าชนเผ่าธิเบต

สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่เป็นการสนับสนุนของชาติตะวันตก โดยมีสหรัฐเป็นตัวการใหญ่ เช่นเดียวกับที่พวกมันเคย และ กำลังสนับสนุนฝ่ายต่อต่านอื่นๆทั่วโลก  เช่น ฝ่ายต่อต้านอิรักสมัยซัสดัม ฝ่ายต่อต้านอิหร่าน ฝ่ายต่อต้านคิวบา.........

เอาเป็นว่า ชาติตะวันตกสนับสนุนด้านการเงินทุน ความคิด และคน เพื่อต่อต้านทุกๆประเทศที่ไม่ลงรอย หรือ เป็นคู่แข่งกับพวกมัน
โลกใบนี้ถึงได้วุ่นวายไม่รู้จบสิ้น โลกยิ่งวุ่นวาย ยิ่งจะเป็นผลดีต่อพวกชาติขายอาวุธ สมมุติ โลกใบนี้ปราศจากการขัดแย้ง อาวุธของสหรัฐจะขายให้ใคร....และสหรัฐจะไปหาข้ออ้างที่ไหนไปรุกรานประเทศอื่นอีก

*********************************************
เอาภาพมาให้ดู หลายวันที่ผ่านมา ที่ประเทศจีน ในหมู่ประชาชน ได้ส่งเมล์ ส่งข้อความผ่านมือถือ บอกปากต่อปากให้ ต่อต้าน ห้างคาฟู ที่มีอยู่หลายร้อยแห่งในจีน ข้อหา...ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของคาฟู บริจาคเงินสนับสนุนกลุ่มคนต่อต้านจีนและเรียกร้องเอกราชธิเบต อ่านจากเว็บจีนต่างๆ ได้ความว่า จะบอยคอตห้างนี้ประมาณ 17 วัน (ไม่แน่ใจ) และ เคเอฟซี จะเป็นรายต่อไป

ในภาพจะเห็นชาวจีนนับหมื่นยืนอยู่หน้าห้าง คาฟู เพื่อโห่ร้องต่อว่า คนที่เข้าไปจับจ่ายในห้าง ว่าเป็นคนไม่รักชาติ

http://www.backchina.com/newspage/2008/04/19/152358.shtml
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #2 เมื่อ: 19-04-2008, 08:24 »

ชาวจีนนับหมื่นจะเดินขบวนประท้วงสื่อ ตอลอ ของชาติตะวันตก ในวันที่18/4/2008

http://news.xinhuanet.com/english/2008-04/18/content_8005712.htm

Chinese in France to rally in support of Olympics 
 
 
www.chinaview.cn  2008-04-18 21:24:57      Print
 
    PARIS, April 18 (Xinhua) -- Chinese expatriates and students in France are planning a peaceful demonstration Saturday at the Placede la Republique square in Paris, to express support for the 2008 Beijing Olympics and establish the truth about China and Tibet.

    About 10,000 people are expected to join the rally, the first ever to be staged by the Chinese in France, said Wu Rui, a Chinese student and the event's coordinator, at a press briefing Thursday.

    Wu said the demonstration is aimed at expressing support for the Beijing Olympics, protesting against the views expressed in some European media, telling the truth about China and Tibet -- issues on which the European people are not well informed, and consolidating the French-Chinese friendship.

    In a statement, the organizers said that some Western media had ignored the truth and published false information about the March 14 riots in Lhasa, capital of China's Tibet Autonomous Region, and about incidents surrounding the global Olympic torch relay.

    "During the relay of the Olympic flame in Paris on April 7, thousands of overseas Chinese were deeply offended and outraged by actions against the flame, in particular the attack by a 'pro-Tibet independence' activist on a disabled Chinese athlete carrying the Olympic torch," said Wu.

    "We are protesting against the stance of the European media, which did not provide fair and objective information on the Olympic torch relay in Paris," Wu added.

    "The mobilization is via Internet, and we expect Chinese from all parts of France to take part in this event," said Wu, adding that similar events were scheduled for the same day in London and Berlin.

    The demonstration, expected to last four hours, will include stands with a photographic and video presentation on Tibet titled "economic progress in recent years," speeches from Chinese settled in France and traditional songs
 
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #3 เมื่อ: 19-04-2008, 08:31 »


Angry Chinese burn French flag outside Carrefour
http://www.reuters.com/article/GCA-Olympics/idUSPEK30252620080418


Calls for Chinese boycott of French firm
http://news.yahoo.com/s/ap/20080415/ap_on_bi_ge/oly_china_carrefour_boycott_1
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #4 เมื่อ: 19-04-2008, 08:51 »

อยากให้มาดูเว็บนี้ เหตุผล 7 ข้อ ที่ประชาชนจีนบอยคอทฝรั่งเศส
ถ้าคุณอ่านภาษาจีนไม่ออก มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย

http://www.globalvoicesonline.org/2008/04/16/chinacarrefour-under-boycott-threat/
บันทึกการเข้า
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #5 เมื่อ: 19-04-2008, 09:58 »

แวะมาดู ไว้มีเวลาจะตามอ่านค่ะ ขอบคุณค่ะ

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 660


ทักษิณที่ดี คือทักษิณที่.......ตายแล้ว


« ตอบ #6 เมื่อ: 19-04-2008, 10:28 »

ทาไลลามะ ท่านไม่ได้เรียกร้องความเป็นเอกราชให้ธิเบตอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจตามที่สื่อมันเข้าใจครับ

ซึ่งแตกต่างจากพวกคนกลุ่มหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกร้อง

(แต่ปัญหาความรุนแรงมันเริ่มขึ้นเพราะขัดผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ฮาลาน ของนายทุนการเมืองสองกลุ่มแท้ ๆ)

ที่ท่านเรียกร้องคือ ขอสิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการนับถือศาสนา และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ครับ
บันทึกการเข้า

ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร

ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #7 เมื่อ: 19-04-2008, 10:48 »

Tuba



การแบ่งแยก ต้องทำทีละขั้น ได้ขั้นที่1 แล้ว ถึงไป ขั้นที่2.......เป้าหมายสุดท้ายก็คือต้องการแบ่งแยก

ความคิดตื้นๆ สมองกลวงแบบนี้...........ไปเชลียร์แม้วเหอะ......................
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #8 เมื่อ: 19-04-2008, 10:56 »

ทิเบต-ซีจ้าง

ทิเบตหรือซีจ้างในภาษาจีน เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำ มีภูมิประเทศงดงาม และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลุ่มลึกของศาสนาพุทธนิกายวัชรยานที่ได้ฝังรากลึกลงใน จิตใจคนทิเบต ศาสนาและการเมืองได้ถูกหลอมรวมให้เป็นระบบเดียวกันภายใต้การปกครองขององค์ ดาไลลามะ ที่สืบทอดตำแหน่งกันด้วยกระบวนการคัดเลือกแบบเสี่ยงทายตรวจสอบทางจิตวิญญาณ อย่างลึกซึ้ง ผิดแผกแตกต่างจากกระบวนการสรรหาผู้นำสูงสุดของทุกประเทศในโลก



หลังจากเหมาเจ๋อตงยึดอำนาจได้ในปี 1949 สองปีถัดมาในปี 1951 จีนได้ส่งกองทัพแดงยาตราเข้าสู่ทิเบต แม้จะรู้ล่วงหน้าแต่กองกำลังทหารของทิเบตก็มิอาจต้านทานแสนยานุภาพทางการ ทหารของจีนได้ ทิเบตจึงต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองโดยจีนนับจากนั้นเป็นต้นมา

หลังจากต่อรองกับรัฐบาลจีนอยู่พักใหญ่และเห็นว่าไม่เป็นผล ในที่สุดดาไลลามะองค์ปัจจุบัน ได้หลบหนีการติดตามไล่ล่าของทหารจีนเข้าสู่พรมแดนอินเดีย ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลเนรูห์ องค์ดาไลลามะและคณะผู้ปกครองได้รับพื้นที่ในบริเวณธรรมศาลาพัฒนาขึ้นเป็น เมืองใหม่ ต้อนรับผู้อพยพชาวทิเบตที่หลั่งไหลมารวมตัวกันตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเรียกร้อง เอกราช ปัญหาทิเบตจึงเป็นหนามตำใจรัฐบาลจีนในเวทีโลกมานับแต่นั้น และมีความลึกซึ้งพอกันกับปัญหาไต้หวัน



ยิ่งองค์ดาไลลามะได้รับความนิยมมากขึ้นในโลกตะวันตกเท่าใด ยิ่งรบกวนจิตใจรัฐบาลจีนมากขึ้นเท่านั้น ในปี 1959 ชาวทิเบตที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลจีนได้รวมตัวกันประท้วงจนเกิด เหตุการณ์จลาจลขึ้น จีนได้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

เมื่อย่างเข้าใกล้ปี 1989 อันเป็นช่วงเวลาครบรอบ 30 ปีของเหตุการณ์ดังกล่าว กระแสเรียกร้องเอกราชในทิเบตเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อผสานกับการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิ นในปีเดียวกัน ทิเบตได้กลายเป็นจุดอ่อนไหวขึ้นในทันที

ในจังหวะที่เจียงเจ๋อหมินถูกเรียกตัวจากเซี่ยงไฮ้ให้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของ ประเทศ หูจิ่นเทาเองได้ถูกส่งตัวมาเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในทิเบต การเรียกใช้ผู้นำที่เด็ดขาดเพื่อประคองช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของ จีน ดำเนินไปอย่างลึกซึ้งภายใต้การตรวจสอบท่าทีอย่างเข้มข้นของคณะผู้นำอาวุโส ในพรรคนำโดยเติ้งเสี่ยวผิง

ทิเบตภายใต้การนำของหูจิ่นเทาได้ถูก เร่งพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างเอาจริงเอาจัง วัดวาอารามได้รับการฟื้นฟูเพื่อรับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ การคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคถูกพัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ในชีวิต ของประชาชน ติดตามมาด้วยการอพยพคนจีนจำนวนมากเข้าสู่ทิเบต ทำให้ชาวทิเบตที่เคยมีอยู่เพียงสองล้านคนค่อยๆ กลายเป็นประชากรส่วนน้อยในประเทศของตนเองไปในที่สุด

การกลืนชาติจึงมีหลายวิธี ทั้งการใช้กำลังทหารเข้าหักหาญบังคับ ใช้วัฒนธรรมการบริโภคปรนเปรอหลอกล่อ รวมทั้งใช้การกลืนกินทั้งตัวและหัวใจ ด้วยการส่งผู้คนเข้าแต่งงานสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่ อันเป็นการทำให้เผ่าพันธุ์เดิมค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ จนไม่สามารถสืบหารากเหง้าได้


สู่ปักกิ่ง

แม้จะไม่ได้เป็นที่ชื่นชมในสายตาชาวโลก แต่การดำเนินนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของจีนเป็นสิ่งที่หูจิ่นเทาใช้กับทิเบต อย่างได้ผล ทำให้เมื่อถึงวาระที่จะต้องเตรียมการล่วงหน้า ก่อนที่เจียงเจ๋อหมินจะต้องลงจากอำนาจในปี 2002 หูจิ่นเทาได้ถูกดึงเข้าสู่วงจรอำนาจสูงสุดอย่างเต็มตัวเมื่อได้รับการคัด เลือกให้เข้าเป็นหนึ่งในกรรมการประจำคณะกรรมการกรมการเมืองในยุคที่ยังมี สมาชิกเจ็ดคน และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีเพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้ที่จะ ติดต่องานกับผู้นำต่างประเทศ

นับเป็นเวลา10ปีเต็มที่หูจิ่นเทา ได้ถูกกระบวนการสร้างผู้นำในแบบฉบับพรรคคอมมิวนิสต์จีนขัดเกลาฝึกฝน อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่จีนก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ ที่สุดในโลก รวมทั้งมีเงินทุนสำรองอย่างล้นเหลือ ภายใต้การสานต่อนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศจากเติ้งสู่เจียง



มรดกที่เจียงทิ้งไว้ให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้านหนึ่งคือความมั่งคั่ง แต่ด้านหลังบ้านที่ไม่ได้รับการกล่าวขานถึงนั้น คือกองขยะที่มาพร้อมกับความเจริญ ทั้งขยะทางวัตถุและขยะทางจิตใจ

สิ่งที่หูต้องทำใช่แต่เพียงสืบสานการพัฒนาต่อไปเท่านั้น แต่หูจำเป็นต้องสร้างสมดุลใหม่สำหรับมอบเป็นมรดกให้ผู้นำรุ่นที่ 5 ที่จะต้องรับไม้ต่อจากเขาในปี 2012 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า


ตัดมาจาก แมลงวันในจานปูของหูจิ่นเทา - ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา -

http://www.onopen.com/2008/editor-spaces/2762

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 19-04-2008, 11:08 »

ไม่ต้องมาอ้างคอมมิวนิสต์หรอก แม้แต่พรรค KMT ของดร.ซุน และเจียงไคเช็ค ในสมัยสาธารณรัฐจีน ก็ถือว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนมานานแล้ว จีนสมัยนั้นอ่อนแอมาก เพียงแต่พวกอเมริกาและอังกฤษขณะนั้นต้องการจีนเป็นพันธมิตรต่อต้านญี่ปุ่น จึงไม่มายุ่งอะไรกับกิจการภายในของจีน แต่พอโลกเปลี่ยนแปลง เกิดสงครามเย็นขึ้น CIA ส่งคนเข้าไปยั่วยุให้ทิเบตลุกฮือ  รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ต้องส่งกำลังเข้าไปปราบ นี่มันก็ธรรมดาเหลือเกิน แต่ไอ้พวกนี้มันก็พลิกคำพูดกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทันที
บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #10 เมื่อ: 19-04-2008, 12:57 »

มันมีมากกว่าที่เห็น มองแค่ผิวเผิน ก็ไม่ทันเล่ห์กลเกมส์การเมืองระหว่างประเทศของพวกจักรวรรดินิยมตะวันตก

เทียอั่งหม่อกุ้ยลอฮุยกาจุย ก็เป็นเช่นนี้แหละ



 



บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #11 เมื่อ: 19-04-2008, 13:19 »

ไม่ต้องมาอ้างคอมมิวนิสต์หรอก แม้แต่พรรค KMT ของดร.ซุน และเจียงไคเช็ค ในสมัยสาธารณรัฐจีน ก็ถือว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนมานานแล้ว จีนสมัยนั้นอ่อนแอมาก เพียงแต่พวกอเมริกาและอังกฤษขณะนั้นต้องการจีนเป็นพันธมิตรต่อต้านญี่ปุ่น จึงไม่มายุ่งอะไรกับกิจการภายในของจีน แต่พอโลกเปลี่ยนแปลง เกิดสงครามเย็นขึ้น CIA ส่งคนเข้าไปยั่วยุให้ทิเบตลุกฮือ  รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ต้องส่งกำลังเข้าไปปราบ นี่มันก็ธรรมดาเหลือเกิน แต่ไอ้พวกนี้มันก็พลิกคำพูดกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทันที

รู้ว่าเขาจ้องปลุกปั่นเล่นงานอยู่ก็ยังเต็มใจกระโจนลงไป วิธีอื่นก็มีแต่ไม่ยอมใช้
ผมตอบไปแล้วหลายรอบพอๆกับที่คุณพยายามเน้นเรื่องนี้มาแล้วหลายรอบ คงไม่จำเป็นตอบอีก


มันมีมากกว่าที่เห็น มองแค่ผิวเผิน ก็ไม่ทันเล่ห์กลเกมส์การเมืองระหว่างประเทศของพวกจักรวรรดินิยมตะวันตก

เทียอั่งหม่อกุ้ยลอฮุยกาจุย ก็เป็นเช่นนี้แหละ


ถ้ามองเป็นแค่การเมืองระหว่างจีนและตะวันตกก็อ่อนเกินไปแหละ

ถ้าทิ(ธิ)เบตไม่มีอะไร ทำไมจีนต้องเปลืองแรงขนาดนี้
ทำไมตะวันตกถึงอยากเสือกเรื่องชาวบ้านขนาดนั้น

แล้วทำไมทิ(ธิ)เบต ถึงไม่ยอมซักที........
ไม่ใช่แค่การเมือง ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ มันเป็นเรื่องของมนุษย์ที่ไม่ใช่สัตว์ด้วย
บันทึกการเข้า
Tuba ✿゚✎..✿.。.:。ღ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 660


ทักษิณที่ดี คือทักษิณที่.......ตายแล้ว


« ตอบ #12 เมื่อ: 19-04-2008, 13:22 »

Tuba



การแบ่งแยก ต้องทำทีละขั้น ได้ขั้นที่1 แล้ว ถึงไป ขั้นที่2.......เป้าหมายสุดท้ายก็คือต้องการแบ่งแยก

ความคิดตื้นๆ สมองกลวงแบบนี้...........ไปเชลียร์แม้วเหอะ......................



นี่คือเรื่องต่างประเทศ ผมยังไม่ได้อ้างอิงถึงไอ้แม้ว เพราะฉะนั้น อย่าโง่

ผมเชื่อที่ ทาไลลามะมาพูด เรื่องอะไรที่ผมจะต้องมาเชื่อไอ้ปัญญาอ่อน no name อย่างคุณพูดล่ะ?



แล้วก็ไอ้บ้องตื้นที่ไหนครับ ที่จะแบ่งแยกธิเบตออกจากจีนได้

ในเมื่อไม่มีประเทศไหนหนุนเลย แม้แต่ อเมฯ เวลาจีนมันประกาศว่า

"ธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน และจีนมีนิวเคลีร์ย" เมื่อประมาณปี 1998 ~ 1999
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-04-2008, 13:49 โดย Tuba » บันทึกการเข้า

ทหาร เป็นอะไรก็ไม่ได้ดี นอกจากเป็นทหาร

ตำรวจ เป็นอะไรก็ดีไม่ได้ แม้กระทั่งเป็นตำรวจ
kaitom
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5



« ตอบ #13 เมื่อ: 20-04-2008, 00:57 »

น่าจะมีการตั้ง รบ. พลัดถิ่นของอินเดียนแดงมั่ง ไม่ใช่มีแต่ เขตสงวนอินเดียนแดง

หรือมีการ "ปลดปล่อย " ฮาวาย กันมั่งดีมั้ยเนี่ย (ที่นี่ไม่โดนกลืนชาติซักกะติ๊ดเดียว..มั้ง!!!!)

เฮ้อ!
บันทึกการเข้า
เพื่อนร่วมชาติ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 777


« ตอบ #14 เมื่อ: 20-04-2008, 08:47 »

มันมีมากกว่าที่เห็น มองแค่ผิวเผิน ก็ไม่ทันเล่ห์กลเกมส์การเมืองระหว่างประเทศของพวกจักรวรรดินิยมตะวันตก

เทียอั่งหม่อกุ้ยลอฮุยกาจุย ก็เป็นเช่นนี้แหละ


เกมจักรวรรดินิยมตะวันตกนั่นพูดกันมานานเต็มทีแล้วครับ

ระวังเกมจักรวรรดินิยมตะวันออกไว้ด้วยละกัน

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: