ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
17-04-2024, 03:44
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทำไมไม่แก้ไข ม.291 เสียก่อนเช่นเมื่อคราวแก้ไข ม. 211 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทำไมไม่แก้ไข ม.291 เสียก่อนเช่นเมื่อคราวแก้ไข ม. 211  (อ่าน 975 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 10-04-2008, 13:47 »

สายใยไทยทั้งเมือง

วันพฤหัสบดี ที่ 10 เมษายน 2551
ทำไมไม่แก้ไข ม.291 เสียก่อนเช่นเมื่อคราวแก้ไข ม. 211
Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 26 , 04:35:11 น.  



ทุกปัญหาน่าจะมีทางออก
ไทยรัฐ[10 เม.ย. 51 - 15:31]
 
ผู้ที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองในระยะนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เนื่องจากมีหลายฝ่ายออกมาวิเคราะห์ และทำนายชะตาของบ้านเมืองในด้านร้ายเป็นส่วนใหญ่ หมอดูบางคนฟันธงว่ารัฐธรรมนูญเป็นมรณะ ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดแตกแยกในสังคม และเกิดการนองเลือด แม้แต่นักวิชาการก็ระบุว่าประเทศ ไทย ถลำเข้าสู่วิกฤติที่ตีบตันไร้ทางออก เพราะไม่มีกลไกในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

อันที่จริงสังคมไทยยังไม่ถึงกับสิ้นหวัง ประเทศไทยเคยผ่านความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์มาแล้วหลายหน และเชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาจะต้องมีทางแก้ไข เพียงแต่ว่าทุกฝ่ายจะยอมรับและแก้ไข ตามอำนาจหน้าที่ของตนหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เมื่อหมอดูทำนายว่าจะเกิดรัฐหารขึ้นอีก รัฐบาลก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิด ด้วยการหลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไข ให้มีรัฐประหารโดยเด็ดขาด

หมอดูระบุว่ารัฐธรรมนูญเป็นมรณะจะต้องได้รับการแก้ไข แม้แต่นักวิชาการและ ประชาชนบางส่วน ก็เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับพรรคพลัง ประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ แต่จะต้องแก้ไขตามแนวทางสมานฉันท์ให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ประชาชนทุกภาคส่วน และจะต้องไม่ใช่การแก้ไข เพื่อตนเองและพวกพ้อง

การดึงดันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ฟังเสียงใครๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายค้าน หรือประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเชื่อมั่นในเสียงข้างมากในสภา และดึงดันที่จะมุ่งแก้ไข มาตราที่เอื้อประโยชน์ต่อพรรคและพวกพ้อง เช่น แก้ไขเพื่อหนีการยุบพรรค หรือแก้ไข เพื่อลบล้างความผิดให้แก่พวกพ้อง อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคม และกลายเป็น เงื่อนไขหรือข้ออ้างของรัฐประหาร

ถ้าเห็นว่าบทบัญญัติบางประการของรัฐธรรมนูญ 2550 ขัดแย้งต่อหลักการปกครอง ประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น ที่มาและอำนาจของวุฒิสภา เป็นต้น ก็น่าจะจัดตั้งคณะกรรมการ หรือคณะกรรมาธิการร่วมหลายฝ่าย เพื่อทำการศึกษา และเสนอแนะประเด็นที่จะแก้ไข เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และทำความคิดเห็นที่แตกต่างให้กลายเป็นความคิดเห็นที่เหมือนกัน เป็นต้น

เมื่อนักวิชาการชี้ว่าสังคมไทยประสบกับความเสื่อม 5 ประการ รวมทั้งความเสื่อม ในภาคการเมือง ก็อาจจะมอบหมายให้ คณะกรรมาธิการศึกษาว่าเสื่อมจริงหรือไม่? พรรคการเมืองและนักการเมืองทุจริตคอรัปชัน และใช้อำนาจไม่เป็นธรรมจริงหรือ? จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร? จะป้องกันการซื้อเสียง และการทุจริตฉ้อราษฎร์-บังหลวงได้อย่างไร?

ในประเทศประชาธิปไตย เสียงข้างมากเป็นผู้ตัดสินหรือชี้ขาดปัญหาต่างๆก็จริงอยู่ แต่อำนาจเสียงข้างมากจะต้องถูกตรวจสอบโดยเสียงข้างน้อย และโดยประชาชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เหลิงอำนาจและใช้อำนาจไปในทางที่ผิด จนกลายเป็น “ทรราชเสียงข้างมาก” ซึ่งไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านหรือท้วงติงจากใครๆ เป็นการปกครองประชาธิปไตยแค่ในชื่อ.


***********************************
( ความเห็น )

จนถึงวันนี้ ยังไม่มีข้อสรุปที่น่าพอใจ เกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากมองดูความขัดแย้งในหลักการของผู้คนสองฝ่าย คือฝ่ายการเมืองพรรคพลังประชาชนและฝ่ายนักวิชาการ ผู้อาวุโส พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฝ่ายค้าน

ทั้งสองฝ่ายต่างก็มองกันคนละด้าน ฝ่ายแรกคือฝ่ายการเมืองผู้ที่กำลังถูกมองว่าจะแก้กฎหมายเพื่อตนเอง
มองว่าปัญหา จริยธรรม เป็นเรื่องเล็ก รมต.มหาดไทยบอกว่า มาจากการเลือกตั้งไม่ต้องไปสนใจจริยธรรม

รมต.สาธารณะสุขถามว่า จริยธรรมคืออะไร

รองประธานสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ บอกว่ารัฐธรรมนูญหยุมหยิมไม่เข้าท่า กรณีรมต.ไชยาถูกปปช.ชี้มูลความผิด

ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า ปัญหาจริยธรรมของนักการเมืองเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่ต้องสร้างให้มีขึ้นในหมู่นักการเมืองและผู้มีอำนาจทั้งหลาย

เล่นกันเฉพาะประเด็นนี้ก็ย่อมมองเห็นความแตกต่างในวิธีคิดของคนสองฝ่าย

ถึงขนาดที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องออกแถลงการณ์ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้"ปฏิวัติเงียบ"
นั่นคือรัฐบาลจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกระทำการโดยฝ่ายการเมือง หรือผู้ที่อยู่ในสภาเท่านั้น

ทั้งๆที่ผู้คนนอกสภา ต่างก็เห็นแตกต่างกันในหลากหลายประเด็น

จะว่าไปหากจะมองอย่างเป็นธรรมที่สุด รัฐธรรมนูญ ได้รับการลงประชามติจากประชาชน

สส. ก็มาจากประชาชน ย่อมมีศักดิและสิทธิ์เท่าเทียมกัน

ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นพ่อ สส.ก็คือลูก เพราะมาจากคุณพ่อรัฐธรรมนวย หากพ่อหัวคูณ ลูกก็คงหัวคูณ ไม่แพ้กัน

หากคิดว่า รัฐธรรมนูญ 2540 วิเศษนัก ก็ทำไมไม่กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของ การร่างรัฐธรรมนูญ 2540

ซึ่งมีที่มาจาก การแก้ไขมาตรา 211 จากรัฐธรรมนูญ 2535 ซึ่งเป็นวิธีการที่ยอมรับกันได้ในทุกประเด็น

ดีกว่านายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าทีมกฎหมายของพรรคพลังประชาชน ที่ไปยึดเอาตามมาตรา 291 ที่กำหนดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้....บอกว่าไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ก็ในเมื่อมันเป็น"รัฐธรรมนวย" ตั้งแต่ต้น ทำไมไปยึดติดกับวิธีการแก้ไข ที่เผด็จการเขียนเอาไว้

ก่อนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำไมไม่แก้ไข มาตรา 291 ที่เป็นหัวใจของการแก้ไข ให้เหมือนการแก้ไข มาตรา 211 ที่เคยทำกันมา เพื่อนำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นฉบับของประชาชน เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2540

หากเริ่มกันตรงที่เสนอแก้ไข มาตรา 291 นั่นคือทางออกของปัญหา ที่จะสามารถตอบโจทย์ของทุกฝ่ายได้
จะตั้ง สสร. ภาค 2 ภาค 3 กันยังไง จะให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมยังไง

มาคิดกันตรงประเด็นนี้ น่าจะดีกว่ามาทุ่มเถียงกันในเรื่องที่มันยังเป็นความเห็นแย้ง ไม่มีที่ลงตัว

หากมาทำยักท่าเกลียดตัวกินไข่ เลือกเปิบแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่พวกตนเป็นประโยชน์ คิดหรือว่าผู้คนนอกสภาเค้าจะยอมกันง่าย ๆ

มาจน พศ.นี้ ไม่มีใครโง่กว่าใครแล้วครับ....เพราะพวก สส. ที่กำลังแสดงบทบาทในขณะนี้ก็มาจากรัฐธรรมนวย

ดังนั้น สส. ก็หัวคูณไม่แพ้กันหรอกครับ

อย่าทะลึ่ง

แคน ไทเมือง
 
http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/04/10/entry-1/
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: