ปรากฏอยู่ในส่วนหนึ่งของข่าวเรื่อง คตส. ฟ้องอดีตนายกฯ ทักษิณด้วยมติเอกฉันท์ในคดีทุจริตเงินกู้พม่า 4 พันล้าน
ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทในกลุ่มชินวัตร
คตส. ได้อ้างหลักฐานว่าอดีตนายกฯ เป็นเจ้าของเครือชินวัตรอยู่ในขณะนั้น โดยผ่านนิติกรรมอำพรางซุกหุ้นไว้กับ
พี่ชายคุณหญิงพจมาน
แต่กลับพลาดที่ระบุคำนำหน้าชื่อ "คุณหญิง" ไว้ในสัญญาเงินกู้ ทั้งที่ตามวันเวลาในสัญญา
ยังไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นคุณหญิง บ่งชี้ว่าสัญญาถูกทำขึ้นภายหลังไม่ใช่ตามวันเวลาที่ระบุ
ถึงจะใช้บริการมือกฎหมายระดับสุดยอด แต่ของปลอมก็ยังเป็นของปลอมที่มีจุดผิดพลาดอยู่จนได้ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คตส.ฟัน “แม้ว” ทุจริต สั่งเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่า 4 พันล้านโดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 มีนาคม 2551 18:51 น.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000038527นายสัก กล่าวว่า จากการตรวจสอบยังพบว่า เมื่อปี 2542 ได้มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ชินคอร์ป ของบุคคลทั้ง 4
โดยใช้เงินจากบัญชีเงินฝากของนางพจมาน มาซื้อเชคธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน ลงวันที่
16 มี.ค.2542 รวม 3 ฉบับ จำนวน 32 ล้านหุ้น เป็นเงิน 493 ล้านบาท ในนามของผู้ถูกกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ และ
ยังมีการชำระในนามของนางพจมาน ชินวัตร 34.6 ล้านหุ้น เป็นจำนวนเงิน 519,750,000 บาท และในนาม นายบรรณพจน์
ดามาพงศ์ 6.8 แสนหุ้น เป็นเงิน 102 ล้านบาท โดย นายบรรณพจน์ ได้อ้างหลักฐานเป็นตั๋วสัญญาลงวันที่ 16 มีนาคม 2542
ว่าจะออกตั่วสัญญาคืนให้
คุณหญิงพจมาน 102 ล้านบาทโดยไม่มีดอกเบี้ยเมื่อคุณหญิงพจมานทวงถาม
“
แต่จากการตรวจสอบพบว่าในวันที่ 16 มีนาคม 2542 พบว่า นางพจมาน ยังไม่ได้ใช้คำนำหน้าว่าคุณหญิง เพราะ
เพิ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล 2542 แสดงให้เห็นว่า
ในวันที่ 16 มีนาคม ที่มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในนามนายบรรณพจน์ไม่ได้มีการทำตั๋วสัญญาใช้เงิน ลงวันที่ 16 มีนาคม
ไว้แต่อย่างใด แต่เป็นการจัดทำขึ้นมาภายหลัง เมื่อนางพจมาน ได้ใช้คำนำหน้านามว่าคุณหญิง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
ตั๋วสัญญาดังกล่าวทำถูกต้องหรือไม่ เป็นการทำขึ้นย้อนหลังหรือไม่ เพราะถ้าทำเอกสารในวันที่ 16 มีนาคม 2542 ตั๋วสัญญา
จะระบุให้จ่ายให้คุณหญิงพจมานไม่ได้” นายสัก กล่าว
นายสัก กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบยังพบว่าการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับ คุณหญิงพจมาน
กับบุตรทั้งสอง และนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่มีการชำระเงินซื้อขายกันจริง กระทั่งเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ได้มีการขายหุ้นชินคอร์ป
ทั้งหมดให้เทมาเส็ก เป็นเงินจำนวน 6.97 หมื่นล้าน ในขณะที่มีหลักฐานตั่วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 และวันที่
1 กันยายน 2543 รวม 5 ฉบับซึ่งเป็นค่าจองซื้อหุ้น และชำระค่าซื้อหุ้นจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและคุณหญิงพจมาน เป็นเงินเพียง
1.1 พันล้านบาท ดังนั้น จำนวนเงินที่ขายได้จึงแตกต่างกันถึง 6.85 หมื่นล้านบาท
“จึงไม่น่าเชื่อว่า นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ได้จองซื้อหุ้นเป็นของตัวเองจริง และไม่น่าเชื่อว่าจะมีการโอนขายหุ้นกันจริง
ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กับนายพานทองแท้ นางสาวยิ่งลักษ์ และนายบรรณพจน์” นายสัก กล่าว