ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 21:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  'ม้าแลกขุน'หรือ'ศรีธนญชัย'เจอ'พันท้ายนรสิงห์...'? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
'ม้าแลกขุน'หรือ'ศรีธนญชัย'เจอ'พันท้ายนรสิงห์...'?  (อ่าน 1723 ครั้ง)
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« เมื่อ: 15-03-2008, 12:07 »

15 มีนาคม พ.ศ. 2551 00:00:00
 
พาดหัวหนังสือพิมพ์เมื่อวานว่าด้วยการประกาศ "ยุติปฏิบัติหน้าที่" ของผู้ว่าฯ กทม.อภิรักษ์ โกษะโยธิน เพราะคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตั้งข้อหาเกี่ยวข้องกับการทุจริตซื้อรถและเรือดับเพลิงเป็นเรื่อง "ม้าแลกขุน" และ "อภิรักษ์แลกสมัคร"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ทั้งๆ ที่เรื่อง "ความสำนึกในจริยธรรม" ของนักการเมืองและผู้อาสามาทำงานสาธารณะนั้นเป็นเรื่อง "จุดยืน" ของแต่ละคนที่ต้องแสดงเมื่อเผชิญกับการกล่าวหาในการปฏิบัติหน้าที่ของตน

เป็น "ตลกร้าย" อย่างยิ่งที่รัฐมนตรีบางคนออกมาบอกว่า การแสดงออกของคุณอภิรักษ์ เรื่องนี้ "เร็วเกินไป มากเกินไป สูงเกินไป" เพราะในเมื่อ คตส. และศาลยังไม่ได้ชี้มูลความผิด ก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง "แสดงความรับผิดชอบ" นั่นสะท้อนถึงความแตกต่างในมาตรฐานแห่งจริยธรรมอย่างชัดเจน โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องขยายความเป็นประเด็นการเมืองเรื่องเอาชนะคะคานกันว่า ถ้าคุณอภิรักษ์ทำอย่างนี้แล้ว แปลว่าเป็นการกดดันให้นายกฯ สมัคร สุนทรเวช ที่ก็เป็นหนึ่งในผู้โดนกล่าวหากรณีซื้อรถและเรือดับเพลิงเหมือนกันให้ต้องแสดงสปิริตในลักษณะเดียวกันหรือไม่

หรือให้รัฐมนตรีสามคนใน ครม. ชุดนี้ที่ถูกกล่าวหากรณีหวยบนดิน (ที่รวมถึงรองนายกฯ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) จะต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการ "ยุติปฏิบัติหน้าที่" ของตัวเองหรือไม่

คนในรัฐบาลออกมาแก้ต่างให้นายกฯ และรองนายกฯ แล้ว...ว่าตำแหน่งแห่งหนของท่านได้เปลี่ยนไปแล้ว ข้อหาที่กำลังสอบสวนอยู่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมัคร และคุณสุรพงษ์ ในอดีต จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องแสดงจริยธรรมทางการเมืองแต่ประการใด นี่คือการตีความเข้าข้างตนเองตามตัวหนังสือตามรูปแบบของ "ศรีธนญชัย" มิใช่ความสำนึกในความผิดพลาดอย่างตรงไปตรงมาและฉับพลันอย่าง "พันท้ายนรสิงห์"

ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความคาดหวังของสาธารณชน ที่ต้องการเห็นนักการเมืองคุณภาพที่มีความรู้สึกละเอียดอ่อนต่อเรื่องที่เป็นรอยด่างว่าด้วย "พฤติกรรม" ของนักการเมืองแต่ละคนที่อาสามาทำงานให้กับประชาชนด้วยการรับปากว่าจะซื่อสัตย์สุจริต และจะไม่ยอมมีมลทินเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นอันขาด

ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือวันนี้หรือวันข้างหน้า ความคาดหวังของคนไทยที่มีต่อนักการเมืองคือการเป็นคนดี ไม่คิดโกง ไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์แห่งตน

ดังนั้น คำว่า "อายุความ" จึงไม่เกี่ยวกับหลักการแห่งจริยธรรม

และคำว่า "วันนั้นผมอยู่ตำแหน่งนั้น แต่วันนี้ผมอยู่ตำแหน่งนี้ และผมจะรับผิดชอบเฉพาะกับตำแหน่งวันนี้เท่านั้น" ย่อมไม่ใช่วิสัยของนักการเมืองที่รับปากว่าจะทำงานเพื่อชาติอย่างแท้จริง

ในประเทศที่นักการเมืองเคารพในสิทธิและความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนนั้น เพียงแค่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบแล้ว

แต่ที่เมืองไทย รัฐมนตรีคนนั้นจะชี้นิ้วไปที่ข้าราชการประจำให้ต้องรับผิดชอบแทนหรือไม่ก็โบ้ยให้คนอื่นต้องตอบคำถามว่าด้วยความรับผิดชอบแทนตน

บิล คลินตัน ตอนเป็นประธานาธิบดี แล้วก็ถูกสภาคองเกรสตั้งคณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมของเขาตอนเป็นผู้ว่ารัฐอาร์คันซอ และเรื่องไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า Whitewater Project...เพราะในกติกาสากลว่าด้วยจริยธรรมแห่งการเมืองนั้น ผู้อาสามาเป็นผู้นำประเทศในทุกระดับจะต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนเองตั้งแต่วันแรกที่อาสามารับใช้ชาวบ้าน...และทุกความเคลื่อนไหว ทุกความพัวพันเกี่ยวกับเรื่องความประพฤติไม่ชอบนั้นจะต้องถูกสอบสวนทวนความทั้งสิ้น

ความดีความชั่วของนักการเมืองไม่ได้หยุดอยู่ตรงที่หมดหน้าที่ตำแหน่งหนึ่งเพื่อไปรับอีกตำแหน่งหนึ่ง

ผลประโยชน์ของประชาชนที่นักการเมืองเอาไปทำปู้ยี่ปู้ยำนั้น ไม่ได้แยกแยะตาม "อายุความ" ตามกฎหมาย หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องจดจารึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติของนักการเมืองคนนั้นๆ ตลอดไป

ฉะนั้น การแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดของนักการเมืองจึงไม่มีคำว่า "เร็วไป" หรือ "มากไป" หรือ "สูงไป"

สำหรับนักการเมืองไทยแล้ว การแสดงความมีจริยธรรมที่ผ่านมา มีแต่ "ช้าไป น้อยไป และต่ำกว่ามาตรฐานอย่างน่ารังเกียจ" เท่านั้น

 
 
กาแฟดำ

http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/15/WW12_1238_news.php?newsid=239110


จะอ้างเรื่องการพ้นตำแหน่งไปแล้ว อะไรก็ว่ากันไป .....แต่ต้องไม่ลืม ว่า ปัจจุบัน หมอเลี๊ยบ อยู่ในตำแหน่ง รมว.คลัง ซึ่ง มีอำนาจ แล้ว เกี่ยวข้องโดยตรงกับ เรื่องหวย
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15-03-2008, 12:13 »

 

อภิรักษ์ ทำปืนลั่นใส่สมัคร

 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 15-03-2008, 12:32 »

 
15 มีนาคม พ.ศ. 2551 00:00:00
 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : การยุติบทบาทในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ภายหลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตการจัดซื้อรถ-เรือและอุปกรณ์ดับเพลิง ได้เกิดความเห็นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายแรก เห็นว่าเป็นการสร้างมาตรฐานการเมืองให้เกิดขึ้นกับเมืองไทย แม้ว่าการชี้มูลความผิดไม่มีตัวบทกฎหมายระบุว่าต้องยุติบทบาทหรือต้องลาออกจากตำแหน่ง แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็แสดงสปิริต เนื่องจากเห็นว่ามีมลทินทางการเมือง ส่วนฝ่ายหลัง เห็นว่าการลาออกของนายอภิรักษ์ มีเป้าหมายทางการเมือง โดยเฉพาะต้องการส่งสัญญาณให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี รับทราบ เพราะเป็นคดีเดียวกันและถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน

การแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเมืองไทยมานาน เนื่องจากข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมานักการเมืองมักจะทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน โดยอาศัยอำนาจทางการเมืองที่มีอยู่ให้รอดพ้นจากข้อกล่าวหา และมักจะอ้างในข้อกฎหมายว่าคดียังไม่สิ้นสุดก็ยังถือว่าตัวเองยังไม่มีความผิดแต่อย่างใด แม้ว่าจะถูกกล่าวหาจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองเช่นนี้ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเบื่อหน่ายการเมืองและเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ยิ่งกว่านั้นทำให้เกิดค่านิยมทางการเมืองที่น่ารังเกียจ ที่มักมองว่าหากตัวเองอยู่ในอำนาจทางการเมืองเสียแล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่จะมีใครมาเอาผิดใดๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังเราเริ่มเห็นนักการเมืองจำนวนไม่น้อย เริ่มแสดงความรับผิดชอบต่อข้อกล่าวหาต่างๆ ซึ่งไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเกิดจากความอับจนในข้อกฎหมายต้องลาออก หรือเป็นเพียงเกมการเมือง เราก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี อย่างกรณีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภา หรือกรณีของนายอภิรักษ์ แต่กรณีการออกมารับผิดชอบทางการเมืองยังไม่ถือว่าเป็นบรรทัดฐานทางการเมือง เพราะยังมีนักการเมืองหลายคนอ้างในข้อกฎหมายเหมือนที่เคยอ้างในอดีต เพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทย โดยเฉพาะนักการเมืองยังมีบรรทัดฐานต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและสถานการณ์ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าคนที่ถูกกล่าวหาจะคิดอย่างไรต่อข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้น

การสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองต่อกรณีดังกล่าวถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่น เรามักได้ยินข่าวเสมอในประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาแล้วว่าผู้นำหรือผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลลาออกจากตำแหน่ง เพราะถูกกล่าวหาว่าทุจริต แต่กรณีของไทยยังถือว่านักการเมืองยังไม่มีบรรทัดฐานในเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆ ที่เรื่องบรรทัดฐานทางการเมืองเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความเกี่ยวพันกับเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลเอง ดังนั้น หากเราต้องการให้การเมืองไทยพัฒนาต่อไปอย่างราบรื่น เราเห็นว่าต้องสร้างบรรทัดฐานบางอย่างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกรอบกติกาที่ยึดถือร่วมกัน หาไม่แล้วเมื่อเกิดวิกฤติศรัทธาคนก็มักสิ้นหวังและเรียกร้องหาอำนาจนอกสภา

การสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองอาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องพูดคุยกันอย่างรอบคอบ และต้องคิดให้พ้นนอกกรอบการเมือง หาไม่แล้วก็จะถูกโยงว่าเป็นเกมการเมืองของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสมอ เช่น นักการเมืองลาออกเมื่อถูกกล่าวหาจากหน่วยงานใด หรือจำเป็นต้องลาออกเมื่อใดหากกรณีกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน เราเห็นว่าสภาพสังคมไทยในขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะสร้างบรรทัดฐานขึ้นมา และทุกฝ่ายต้องเข้าร่วมกันคิดกันสร้างกติกา ซึ่งอาจนำโดยรัฐบาล และปล่อยให้มีการถกเถียงกันอย่างอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากภาคการเมือง เราเห็นว่าหากนักการเมืองมีบรรทัดฐานที่ดี เราก็เชื่อว่าวิกฤติการเมืองดังที่เคยเกิดขึ้นจะหมดไป แม้ว่าจะไม่ใช่แก่นแท้ของระบอบประชาธิปไตย แต่เราก็เชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียไม่ได้ หากเราต้องการประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
 
 


http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/15/WW12_1237_news.php?newsid=239102


ตรงสีแดง คือความเป็นจริง ที่ เกิดขึ้นเสมอ ในทุกรัฐบาลในหลายสิบปีที่ผ่านมา.....ผมถึงย้ำอยู่เสมอ ว่า หากกฏหมาย ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถใช้กับผู้ที่มีอำนาจในบ้านเมืองได้.....ประเทศไทย ก็จะกลับมาอยู่ในวงจรเก่า ๆ .....คอรัปชั่น รัฐประหาร แก้ไขรัฐธรรมนูญ ..แบบนี้ไปเรื่อย ไม่รู้จักจบสิ้น.....

ผมเชื่อว่า หากกฏหมาย สามารถ เอาผิด ต่อนักการเมืองขี้ฉ้อ ได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ละเว้น ผู้มีอำนาจ และ ไม่มีการประนีประนอม.....

ประเทศชาติ จะเจริญรุ่งเรื่อง และ เดินหน้าต่อไปได้แน่นอน.....กระบวนการยุติธรรม และการบวนการตรวจสอบ  ต้องไม่ยอมจำนน คำขู่ ของนักการเมือง ที่ ปลุกมวลชน ขึ้นมาสร้างความวุ่นวาย เพื่อล้มกระบวนการยุติธรรม........

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-03-2008, 12:35 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15-03-2008, 12:47 »

แสดงสีขาวมากๆ บ่อยๆ เดี๋ยวคนก็เห็นสีดำเองแหละ
บันทึกการเข้า

ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-03-2008, 17:12 »

คนส่วนใหญ่ของประเทศ เค้าจะมาอ่านกันบ้างไหม?

ถึงอ่านไป  เค้าจะสนใจหรือ เอาหูไปทำนา เอาตาไปทำไร่ ก้มหน้ารับเศษเนื้อ ดีที่สุด



บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-03-2008, 18:06 »

หลังจากออกมาด่ากันเรื่องอภิรักษ์ พวกปล้นชาติพึ่งนึกได้ว่า ทั่นตู้เย็นก็ลาออก ทั้งๆที่เรื่องยังไม่ถึงศาลฎีกา เช่นกัน

คราวนั้นชื่นชมว่ามีสปีริต แต่คราวนี้ ด่าซะแล้ว

มันจะเอาอะไรกันนักกันหนา

เป้าเอ๊ย โง่เหมือนพวก หรือ พวกโง่เหมือน   
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-03-2008, 20:10 »

หลังจากออกมาด่ากันเรื่องอภิรักษ์ พวกปล้นชาติพึ่งนึกได้ว่า ทั่นตู้เย็นก็ลาออก ทั้งๆที่เรื่องยังไม่ถึงศาลฎีกา เช่นกัน

คราวนั้นชื่นชมว่ามีสปีริต แต่คราวนี้ ด่าซะแล้ว

มันจะเอาอะไรกันนักกันหนา

เป้าเอ๊ย โง่เหมือนพวก หรือ พวกโง่เหมือน   




บอกได้คำเดียวครับ คุณ พรรณชมพู "เยี่ยม"






บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 16-03-2008, 11:41 »

วันนี้เป็นโลกของเทคโนโลยี......
แกนนำ'พรรคปล้นชาติ'และ'แนวร่วมเป็ดไก่' รู้ว่าพวกรากหญ้า
บางคนได้รู้เรื่อง และได้'เข้าใจ'...
ได้ตำหนิ'นายกฯนอมินี'และ'รมต.นกแล' หน้าด้าน ขาดจิตสำนึก...

จึงต้องโวยวาย เกลี้ยกล่อมให้คุณอภิรักษ์เปลี่ยนใจ......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-03-2008, 11:42 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: