ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 01:42
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  ประวัติศาสตร์ : ความเป็นไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประวัติศาสตร์ : ความเป็นไทย  (อ่าน 10923 ครั้ง)
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« เมื่อ: 10-03-2008, 21:43 »

ปราสาทเขาพระวิหาร อย่าเป็นปราสาทบาดหมาง สร้างบาดแผล

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



สังคมไทยต้องไม่ปล่อยให้ ปราสาทเขาพระวิหาร ถูกใช้เป็นเครื่องมือก่อเวรสร้างกรรมวิวาทขัดแย้งเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางสร้างบาดแผลใหม่ขึ้นอีก แล้วไม่ ควรวุ่นวายขัดขาเขมรเสนอ "มรดกโลก" แต่ควรสนับสนุนเต็มที่ แล้วนัดหารือเรื่องอื่นๆ ที่ ยัง ไม่ลงรอยอย่างเงียบๆ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน

"ความเป็นไทย" มีความเป็นเขมรปนอยู่มากจนแยกไม่ได้ เช่น ราชาศัพท์กราบบังคมทูลเป็นคำเขมร แสดงว่ายุคแรกๆ คนไทยอยู่ในวัฒนธรรมเขมร มีตัวอย่างเห็นชัดคือนุ่งโจงกระเบนอย่างเขมร คำโจงกระเบนก็เป็นภาษาเขมร ฯลฯ หลวงวิจิตรวาทการ (อดีตรัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากร) เคยแต่งกลอนเพลงประวัติศาสตร์ไว้เมื่อ พ.ศ.2482 บอกไว้ตรงๆ ว่า "เลือดของไทยเข้าไปปนเขมร" และ "ไทยยิ่งเพิ่มเขมรกลายเป็นไทยแท้" จะขอ คัดมาให้อ่านทั้งหมดดังนี้

พวกไทยน้อยเมื่อถอยจากน่านเจ้า ก็เดินเข้าเขตต์สุวรรณภูมิใหญ่

ตั้งเป็นถิ่นหลักฐานกันต่อไป ชื่อสิบสองจุไทยทางเบื้องบน

การเคลื่อนที่ของไทยไม่หยุดยั้ง เหมือนน้ำหลั่งไหลท่วมทุกแห่งหน

ไหลเข้าแดนขอมละว้ามาปะปน กล้าประจนสู้ภัยได้เขตต์ครอง

ชั่วเวลาราวห้าหกร้อยปี ไทยทวีเพิ่มเข้าเป็นเจ้าของ

เขตต์สุวรรณภูมิใหญ่ไทยเข้าครอง เหมือนน้ำนองท่วมทั่วทุกตำบล

แดนเขมรแดนละว้ามะลายู ไทยเข้าอยู่กำกับไม่สับสน

เลือดของไทยหลั่งไหลเหมือนสายชล เข้าปะปนเปลี่ยนเลือดละว้าเดิม

เลือดของไทยเข้าไปปนเขมร ทำให้เด่นเกียรติไทยได้ส่งเสริม

เลือดเขมรปนไทยไกลจากเดิม ไทยยิ่งเพิ่มเขมรกลายเป็นไทยแท้


"ความเป็นคน" โดยเฉพาะ "คนสุวรรณภูมิ" มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าความเป็นไทย, ความเป็นเขมร, ความเป็น ฯลฯ แต่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งตรงที่ถ้าไม่เข้าใจ "ความเป็นคนสุวรรณภูมิ" ก็จะไม่รู้จักจริงในความเป็นไทย, ความเป็นเขมร, ความเป็น ฯลฯ

น่าเสียดายมากๆ ที่พยายามบอกเรื่องอย่างนี้ให้กระทรวงการต่างประเทศรู้จักและเข้าใจ แต่พวกเขาเป็นชนชั้นนำ "ผู้ดี" เกินไป เลยไม่เข้าใจ

จนปัญญาและไร้ความสามารถ ไม่รู้จะทำยังไงให้พวกเขาเข้าใจ เลยยกกลอนเพลงหลวงวิจิตรฯมาให้อ่าน แล้วขอคัดบางตอนของจิตร ภูมิศักดิ์ เรื่องขอมๆ เขมรๆ มาพิจารณาเพลินๆ

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02100351&day=2008-03-10&sectionid=0131

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-03-2008, 21:51 »



ข้าพเจ้าจึงมองไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมจึงจะต้องพยายามปฏิเสธบทบาท ชนชาติที่พูดภาษาเขมรในดินแดนผืนนี้. แล้วพยายามพิสูจน์ให้ร่องรอยต่างๆ ของเขมรโบราณสถานกลายเปนชนชาติอื่นหรือแม้กระทั่งเปนไทย.

ข้าพเจ้าเห็นว่า เราต้องยอมรับรู้บทบาทอันมีจริงและยาวนานของเขา. แต่ขณะเดียวกัน ชนชาติเขมรหรือชนชาติที่พูดภาษาเขมรบนผืนแผ่นดินนี้ ก็ไม่จำเปนจะต้องเปนส่วนหนึ่งของรัฐเขมรแห่งนครธมเสมอไป. ทั้งนี้ เพราะชนชาติมิได้กำหนดขอบเขตรัฐ. บางครั้งชนชาติที่พูดภาษาเขมรที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำมูลแห่งอีสาน อาจเปนรัฐอิสระที่มีอำนาจพอๆ กับนครธม บางครั้งก็อาจจะยิ่งใหญ่กว่ารัฐเขมรแห่งนครธมและได้เปนผู้ครองนครธม บางครั้งก็อาจตกเปนเมืองขึ้นของรัฐเขมรแห่งนครธม...สภาพเช่นนี้มีขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์

รัฐในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้ก็ดี ในภาคอีสานของไทยบัดนี้ก็ดี ล้วนเคยมีรัฐเขมร หรือรัฐที่ชนชั้นปกครองเปนชนชาติเขมร และใช้ภาษาเขมรเปนภาษากลางมาแล้วทั้งนั้น รัฐเหล่านั้นบางรัฐก็ใหม่ บางรัฐก็เล็ก แต่ละรัฐเปนอิสระแก่กันในบางระยะ รวมกันในบางระยะ แต่ที่สำคัญก็คือเคยมีระยะอันยาวนานหลายร้อยปีที่รัฐเหล่านี้เปนสังคมต่างหากที่อยู่นอกเขตอำนาจของรัฐ สังคมทาสแห่งเขมรนครธม. เจริญรุ่งเรือง เคียงบ่าเคียงไหล่กับรัฐเขมรแห่งนครธม.
 
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงคัดค้านความเห็นของพวกนักประวัติศาสตร์ล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส แต่ก่อนที่พยายามอุปโลกน์ให้ดินแดนไทยปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตกอยู่ใต้อำนาจรัฐ เขมรนครธมมาโดยตลอดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ถึง 18.

ฉะนั้น เมื่อพูดถึงรัฐเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรืออีสาน ข้าพเจ้าจึงมิได้หมายความว่ารัฐเหล่านี้เปนส่วนหนึ่งของเขมรนครธมเสมอไป หากหมายถึงรัฐที่มีชนชาติเขมรเปนชนชั้นปกครอง. ใช้ภาษาเขมรเปนภาษากลาง; ชนชาติภายในรัฐไม่จำเปนต้องเปนชนชาวเขมรทั้งหมดและพูดภาษาเขมรทั้งหมด อาจจะมีส่วนที่เปนละว้า เปนมอญ เปนไทย เปนจาม เปนมลายู เปนกุยหรือกวย.

ศิลปวัฒนธรรมของรัฐนี้ มีอิทธิพลแบบเขมร แต่ก็มิใช่แบบเขมรนครธม หากหล่อหลอม เปนเอกภาพขึ้นจากศิลปวัฒนธรรมของเขมร มอญ ชวา มลายู เช่นที่เรียกว่าศิลปะสกุลลพบุรีเปนอาทิ

ศิลปสกุลนี้มีเค้าเขมรเปนแกน แต่องค์ประกอบทั้งหมดเปนอิสระจากเขมร, หากเปนผลิตผลของสังคมแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้เองโดยเฉพาะ.

รัฐดังกล่าวนี้มีทั้งระยะที่เปนอิสระ มีทั้งระยะที่ได้เปนใหญ่เหนือนครธม และก็มีทั้งระยะที่ตกเปนเมืองขึ้นของนครธม. มีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนศิลปและวัฒนธรรมระหว่างเขมรนครธมกับเขมรที่นี่. รัฐเหล่านี้มีชื่อของตนเปนอิสระ เปนต้นว่า รัฐละโว้ รัฐจานาศปุระ รัฐมหิธรปุระ ฯลฯ

รัฐที่มีชนชาติเขมรเปนชนชั้นปกครองเหล่านี้ หาใช่สิ่งนิรันดรไม่ ก่อนยุคของเขา บริเวณนี้ก็เปนเขตสังคมของรัฐมอญหรือชนชาติที่พูดภาษามอญ. ก่อนหน้ามอญขึ้นไปก็เป็นรัฐละว้า. ในระยะที่รัฐเขมรเหล่านี้เกิดขึ้นนั้น, เฉพาะในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยานี้ รัฐเขมรก็มิได้เปนสิ่งจริง; บางระยะก็หายไป มีรัฐที่ชนชาติชวามลายู เปนชนชั้นปกครองเกิดขึ้นแทน ที่; บางระยะก็ถูกชนชาติไทยช่วงชิงอำนาจรัฐไปได้ ปรากฏเปนรัฐไทยขึ้น.

เรื่องของรัฐเขมรในระยะหลังจึงเปนเรื่องบางระยะ บางสมัย ไม่ใช่ตลอดกาล.

ความผสมผสานคลุกเคล้าระหว่างมอญเดิมแห่งทวารวดีกับเขมรแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (ละโว้) กับชวา-มลายูที่แผ่อิทธิพลขึ้นมาเปนครั้งคราว รวมทั้งไทยซึ่งเปนสมาชิกส่วนใหญ่สำคัญส่วนหนึ่งของสังคมได้ก่อให้เกิดศิลปสกุลช่างผสมขึ้นใหม่ คือ อู่ทอง. ศิลปสกุลช่างนี้ เปนศิลป ของดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เปนของชนชาติต่างๆ ในบริเวณนี้ใช้และสร้างร่วมกัน ; ไม่ว่าเขมรจะขึงอำนาจชนชั้นปกครองไปได้และตั้ง รัฐเขมรขึ้น รัฐนั้นก็คงใช้ศิลปนี้และถ่ายเทศิลปนี้กับเขมรนครธมและเขมรทางที่ราบสูงภาคอีสาน ; ไม่ว่าชนชาติไทยจะชิงอำนาจการปกครองมาได้และตั้งรัฐไทยขึ้น รัฐนั้นก็คงใช้ศิลปนี้ และถ่ายเทศิลปนี้แลกเปลี่ยนกับรัฐไทยทางเหนือ เช่น ชเลียง (ศรีสัชนาไลย) เป็นต้น (จากหน้า 177-181)

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02100351&day=2008-03-10&sectionid=0131
บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #2 เมื่อ: 10-03-2008, 22:50 »

ปราสาทเขาพระวิหาร อย่าเป็นปราสาทบาดหมาง สร้างบาดแผล

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

...


"ความเป็นไทย" มีความเป็นเขมรปนอยู่มากจนแยกไม่ได้ เช่น ราชาศัพท์กราบบังคมทูลเป็นคำเขมร แสดงว่ายุคแรกๆ คนไทยอยู่ในวัฒนธรรมเขมร มีตัวอย่างเห็นชัดคือนุ่งโจงกระเบนอย่างเขมร คำโจงกระเบนก็เป็นภาษาเขมร ฯลฯ หลวงวิจิตรวาทการ (อดีตรัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากร) เคยแต่งกลอนเพลงประวัติศาสตร์ไว้เมื่อ พ.ศ.2482 บอกไว้ตรงๆ ว่า "เลือดของไทยเข้าไปปนเขมร" และ "ไทยยิ่งเพิ่มเขมรกลายเป็นไทยแท้" จะขอ คัดมาให้อ่านทั้งหมดดังนี้

...



ลองไปดูที่ธนบัตรกัมพูชาสิครับ
ตัวเลขบนนั้นก็คือตัวเลขที่เราเอามาใช้เป็นเลขไทยอยู่ทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #3 เมื่อ: 11-03-2008, 23:01 »


ลองไปดูที่ธนบัตรกัมพูชาสิครับ
ตัวเลขบนนั้นก็คือตัวเลขที่เราเอามาใช้เป็นเลขไทยอยู่ทุกวันนี้

จริงด้วยค่ะ ได้แถมมาหนึ่งใบ แต่ใบนี้เป็นใบที่เลิกใช้แล้ว 





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-03-2008, 23:03 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #4 เมื่อ: 11-03-2008, 23:08 »

ความสุขระยะสั้น ความทุกข์ระยะยาว ใน“วัฒนธรรมแห่งชาติ”ของไทยโลกาภิวัตน์

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



ยังต้องเนื้อเจริญใจปาฐกถาฯของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ช่วงที่พูดถึง“วัฒนธรรมแห่งชาติ”มาจากอำนาจรัฐและชนชั้นนำสร้างขึ้นให้กลมกลืนกับ รัฐชาติที่สร้างใหม่ แล้วใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือหลักเผยแพร่และปลูกฝังบังคับให้เสพติด“วัฒนธรรมแห่งชาติ”นั้น(พิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551) จึงขอยกประเด็นนี้มาให้ช่วยกันอ่านแล้วช่วยกันคิด ดังนี้

“ที่ผ่านมา รัฐชาติใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือหลักในการสร้าง ‘วัฒนธรรมแห่งชาติ’เพื่อเข้าแทนที่หรือครอบงำวัฒนธรรมประเพณีอันมีมาแต่เดิมของชุมชนท้องถิ่น ในแง่นี้นับว่ารัฐประสบความสำเร็จในการดัดแปลงคนในประเทศอยู่ไม่น้อย”

ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองวันนี้และพรุ่งนี้ล้วนถูกครอบงำด้วยทัศนะ “วัฒนธรรมแห่งชาติ”อย่างเดียวกันหมด เพราะผ่านระบบโรงเรียนของรัฐชาติมาเหมือนๆกัน ส่งผลให้มองวัฒนธรรมหยุดนิ่งตายตัวอยู่กับราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ไม่มีลุ่มน้ำอื่น และไม่มีเคลื่อนไหวให้กิน ขี้ ปี้ นอนในวิถีชีวิตจริงของผู้คน

อาจารย์เสกสรรค์อธิบายต่อไปว่า “แต่ขณะเดียวกัน โรงเรียนกลายเป็นสถาบันที่ผูกขาดระบบคุณค่าทางสังคม การศึกษาในห้องเรียนกลายเป็นเครื่องมือแบ่งแยกฐานะคนในชาติ แทนที่จะสอนคนให้เมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ มีอิสระทางความคิดและใช้สติปัญญาไปในทางสร้างสรรค์ กลายเป็นว่านานวันไปเนื้อในของการศึกษาไทยยิ่งขาดแคลนสาระด้านนี้”

อ่านถึงตรงนี้ยิ่งมองเห็น“วัฒนธรรมกะล่อน”แบบศรีธนญชัยที่เอาเปรียบคนอื่นทุกกระบวนท่า แล้วฉวยโอกาสทุกอย่างที่ขวางหน้าเพื่อความได้เปรียบ แม้จะต้องเฉดหัวคนอื่นออกไปอย่างไม่เป็นธรรม ดูได้จากการขับรถของคนทุกชั้นต่างพากันตะเพิดคนเดินข้ามถนนตรงทางม้าลายแล้วมีโอกาสถูกรถชนตายทุกขณะจิต

“การศึกษาขั้นสูงแปรสภาพเป็นแค่บัตรเครดิตหรือหนังสือเดินทางไปสู่ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและกลายเป็นกองทุนแห่งอำนาจมากกว่าขุมทรัพย์ทางปัญญา ความล้มเหลวของการศึกษาในโรงเรียน บนพื้นฐานที่ทั้งวัฒนธรรมชุมชนและตัวชุมชนต่างก็ถูกทำลายไปมากแล้ว ทำให้เด็กไทยรุ่นหลังๆ โดยเฉพาะลูกหลานคนชั้นกลางแทบจะไม่มีที่มาที่ไปทางวัฒนธรรมเหลืออยู่เลย พวกเขาขาดแคลนทั้งพุทธิปัญญาและความแข็งแรงทางจิตวิญญาณในขณะที่โลกกำลังหมุนไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างไม่หยุดยั้ง”

อาจารย์เสกสรรค์ย้ำว่า “ช่องว่างตรงนี้ทำให้ลูกหลานของเราต่างรับข่าวสารข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างหิวกระหาย โดยปราศจากเครื่องมือทางความคิดในการกลั่นกรอง ขาดสติในการนำมาประยุกต์ใช้ กลายเป็นวิถีชีวิตที่สับสนอลหม่าน ดิบๆสุกๆทางด้านรสนิยม ชีวิตเต็มไปด้วยความสุขระยะสั้นและความทุกข์ระยะยาว”

ตรงเผงเลย “วัฒนธรรมแห่งชาติ”ของไทย เป็นความสุขระยะสั้น แต่พบความทุกข์ระยะยาว มีแต่ความฉาบฉวย ผิวเผิน กะล่อน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไว้ยกตนข่มท่าน เช่น ความเป็นไทย(เฉิ่มๆ)ดีกว่าความเป็นคนอื่น ทั้งๆไม่จริง เป็นเท็จ แต่ขอโอ้อวดเพื่อความสุขระสั้นๆแค่นั้น

“ที่สำคัญคือแทบทั้งหมดล้วนแตกหน่อมาจากแนวคิดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo liberalism) ซึ่งเน้นเรื่องการไม่มีอยู่ของประเทศชาติ กระตุ้นวิถีชีวิตแบบไร้ราก อวดอัตตา ยืนยันความเชื่อที่ว่า ‘ธรรมชาติของมนุษย์ล้วนเห็นแก่ตัว’ ดังนั้น จึงส่งเสริมการแยกตัวจากส่วนรวมของปัจเจกบุคคล ตลอดจนฝากคุณค่าของชีวิตไว้กับกลไกตลาด เป็นต้น”

ผมอับจนปัญญามาก เพราไม่มีประสิทธิภาพจะบอกให้ผู้นำประเทศ, คณะรัฐมนตรี, ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ เข้าใจสิ่งที่อาจารย์เสกสรรค์ปาฐกถาไว้ เพราะเป็นแก่นสาระสำคัญที่ต้องเข้าใจร่วมกัน ถึงจะมีพลังผลักดันให้สังคมไทยในอนาคตก้าวไปข้างหน้าอย่างองอาจ ไม่พลาดพลั้งให้กับโลกาภิวัตน์

หนทางรอดพ้นพันธนาการโดยไม่ต้องหวังอำนาจจากรัฐชาติ ก็คือชุมชนท้องถิ่นต้องช่วยตัวเอง เพื่อลูกหลานในวันข้างหน้า วิธีง่ายๆก็คือทำห้องสมุดชุมชนรวมกับมิวเซียมท้องถิ่นอย่างง่ายๆประหยัดๆ มีตัวอย่างให้ดูที่โรงเรียนพนม สารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ก็เขียนถามมาจะพยายามหาคำอธิบายให้

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra04050351&day=2008-03-05&sectionid=0131

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #5 เมื่อ: 13-03-2008, 19:14 »




ขอขอบคุณ คุณ aiwen^mei  ที่นำเรื่องนี้มาให้อ่านครับ...

บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
นาคราช
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25



« ตอบ #6 เมื่อ: 19-03-2008, 08:24 »

เทียบอักษรในแบงค์ดู เหมือนคำไทยเด๊ะเลย   

บันทึกการเข้า

login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #7 เมื่อ: 19-03-2008, 10:18 »

เทียบอักษรในแบงค์ดู เหมือนคำไทยเด๊ะเลย   



การที่ตัวเลขมันตรงกันก็ไม่เห็นจะแปลก อยู่ในภูมิภาคเดียวกันรับถ่ายวัฒนธรรมกันอยู่แล้ว
ยิ่งในอดีตเดิมขอมเป็นชาติที่มีอำนาจมากก็ย่อมเผยแพร่ตัวอักษรได้ในวงกว้าง

แม้ไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน คณิตศาสตร์ก็เป็นภาษาสากล มีความใกล้เคียงกันในทุกภาษา
เช่นตัวเลข 0ก็เหมือนกันทั่วโลก 1ก็มาจากหนึ่งขีด 2ก็มาจากสองขีดเหมือนกัน
อาจจะมีการดัดแปลงบ้างแต่ก็ยังคงลักษณะให้พอเดาได้ 

ถ้าจะเทียบกันจริงๆแล้วควรตัวอักษร ภาษาเขมรน่าจะใกล้เคียงกับตัวอีกษรลาวมากกว่า
ส่วนภาษาไทยที่มีวิวัฒนาการไปมากแล้วแทบจะไม่เหมือนกันเลย
แม้แต่คำที่มาจากภาษาขอม คนไทยก็ดัดแปลงวิธีเขียนอ่านไปเกือบหมดแล้ว

ส่วนเรื่องดินแดน เรื่องไหนเป็นอดีตหลายร้อยปีไปแล้วไม่อยากจะพูดถึง
หากพูดไปมันจะสืบสาวเรื่องราวไม่จบสิ้น
แต่เรื่องเขาพระวิหาร คนที่ยังทันยุคสมัยนั้นอยู่เขายังจำได้ พูดเมื่อไหร่ก็เจ็บแค้นเมื่อนั้น
จะให้บอกว่าอย่าไปสนใจสมานฉันท์กันดีกว่า "คงยาก"
บันทึกการเข้า
Priateľ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 395



« ตอบ #8 เมื่อ: 19-03-2008, 18:25 »



เพิ่งมาทราบว่าตัวเลขเขากับเรานั้น เขียนเหมือนกันเปี๊ยบ 

ที่ผมสงสัยตลอดมาคือทำไมตัวเลขไทย(หรือเขมร) ถึงใช้หลักการของตัวเลขอาระบิก ซึ่งทำให้การบวกลบเลขมันง่ายกว่าตัวเลขอื่นๆเช่นโรมัน มันเป็นความบังเอิญอีกแล้วในการใช้เลขฐานสิบมาใช้งานในชีวิตประจำวัน

พอมาดูการออกเสียงของตัวเลขเขมร(ผมเดาว่าตัวหนังสือเล็กๆนั่นคือการออกเสียงนะครับ) ก็แปลกดีนะครับ ตั้งแต่เลขหกถึงเลขเก้า เขาออกเสียงแปลเป็นไทยได้ดังนี้ 6=ห้าหนึ่ง, 7=ห้าสอง, 8=ห้าสาม, 9=ห้าสี่ ยังกับอ่านเป็นเลขโรมันเลย ยกเว้นเลขเก้าที่ต่างกันไป

ผมเดาว่า ไทยได้รับอิทธิพลด้านตัวอักษรจากเขมรเพื่อมาออกเสียงในภาษาไทย (เหมือนฟิลิบปินส์เอาตัวอักษรฝรั่งมาเขียนตากาล็อก) นะครับ



ส่วนเรื่องเขาพระวิหาร

ผมเชื่อว่าประเด็นมันมากกว่านั้นนะครับ น่าจะเป็นเรื่องผลกระทบของเขตแดนมากกว่า แต่สำหรับคนไทยรุ่นหนึ่งแล้ว กรณีเขาพระวิหารมันเป็นอนุสาวรีย์ผลงานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสน่ะครับ ไม่เกี่ยวกับคนกัมพูชา
บันทึกการเข้า

If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.

ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #9 เมื่อ: 19-03-2008, 20:51 »

เทียบอักษรในแบงค์ดู เหมือนคำไทยเด๊ะเลย   





ผมว่าภาษาใบ้สิครับ..  ที่เป็นภาษาสากลเป็นที่สุด


คนรู้จักกันมากที่สุดในโลกเลย...หัดก็ง่ายสุด อิอิ...




บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
นาคราช
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25



« ตอบ #10 เมื่อ: 21-03-2008, 08:43 »

หนึ่งร้อยกีบของลาว เลข ๑๐๐ เหมือนกันอีก สงสัยเลขเขมรจะเป็นเลขสากลในภูมิภาคไปเสียแล้วกระมัง    ...........ทะนาคานแห่งซาดลาว

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-03-2008, 08:47 โดย นาคราช » บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #11 เมื่อ: 23-03-2008, 12:43 »

"วัฒนธรรมฆ้อง"สุวรรณภูมิ ลักษณะเฉพาะของอุษาคเนย์

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

อาจารย์มาลินี สาคริก เลขาธิการมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จะจัด "เปิดตัว" ให้หนังสือ "จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล" อันเป็นผลงานขนาดช้างครั้งประวัติศาสตร์เพลงดนตรีสยามประเทศ ของ หมอพูนพิศ อมาตยกุล ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก ในวันพรุ่งนี้ ศุกร์ที่ 21 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป

ผมรับหมายเกณฑ์ไปเล่าเรื่อง "หลักฐานเป็นพันๆ ปีของดนตรีและนาฏศิลป์สยามสุวรรณภูมิ" ด้วย เลยเขียนเรื่องแคน 3 พันปีไปวันก่อน วันนี้จะยกเรื่องเก่าเคยเขียนเล่าไว้นานแล้วมาเล่าใหม่ คือฆ้องที่จะเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ "คนไทย" พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว เก่าแก่กว่า 3,000 ปีมาแล้ว อยู่มณฑลกวางสีของจีน

ฆ้อง เป็นคำดึกดำบรรพ์ในตระกูลชวา-มลายู คำเดียวกับระฆัง เคยมีใช้ในภาษาไทยคู่กันว่าระฆ้องระฆัง แต่ต่อมากร่อนกลายเหลือเป็นฆ้อง คำหนึ่ง และระฆัง อีกคำหนึ่ง



คำว่าฆ้องใช้เรียกเครื่องมือทำด้วยโลหะ เช่น ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ฯลฯ แต่มักรู้จักทั่วไปว่ากลองทอง หรือมโหระทึก เป็นลักษณะทางอำนาจของ ผู้ครอบครอง และใช้ประโคมตีให้เป็นเสียงสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ปวงผีมีคุณ ฯลฯ ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาชนเผ่าชาติพันธุ์ทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่กวางสี

"วัฒนธรรมฆ้อง" เป็นสัญลักษณ์ร่วมเฉพาะภูมิภาคอุษาคเนย์ มีแหล่งกำเนิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ แล้วแพร่กระจายลงไปทางหมู่เกาะทะเลใต้ มีใช้ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์สืบเนื่องถึงทุกวันนี้

เมื่อลักษณะทางสังคมเติบโตขึ้นเป็นบ้านเมือง เป็นรัฐ เป็นราชอาณาจักร จนเป็นประเทศอย่างปัจจุบัน ฆ้องก็มีพัฒนาการเปลี่ยนไปตามความซับซ้อนทางสังคมด้วย เริ่มจากเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมก็กลายเป็นเครื่องมือตีบอกสัญญาณต่างๆ จนถึงบอกเวลา เช่น โมง เกิดจากเสียงตีฆ้องนี่เอง (คู่กับ ทุ่ม เกิดจากเสียงตีกลอง) แล้วก้าวหน้าเป็นเครื่องดนตรีประกอบการละเล่นสำคัญ เช่น เลี้ยงผี แก้บน จนถึงละคร โขน หนัง (ใหญ่) ในราชสำนัก เป็นเหตุให้มีชื่อเสียงต่างๆ กัน ตามบทบาทหน้าที่ ลักษณะรูปร่างและเสียง ดังนี้

ฆ้องเดี่ยว มีใบเดียว เสียงเดียว บางทีก็เรียกโหม่ง เหม่ง หมุ่ย และกระแต

ฆ้องคู่ มี 2 ใบ 2 เสียงระดับต่างกัน บางทีเรียกฆ้องโนรา เพราะใช้ตีประกอบการละเล่นโนรา

ฆ้องราว มี 3 ใบ 3 เสียงระดับต่างกัน บางทีเรียกฆ้องระเบง เพราะใช้ตีประกอบการละเล่นระเบง

ฆ้องราง มีหลายใบ ตีได้หลายเสียง วางบนรางเรียงยาวต่อกันหลายใบตามต้องการ

ฆ้องวง มีหลายใบหลายเสียง แต่เรียงเป็นร้านโค้งครึ่งวงกลม 2 แบบ คือ แบบมอญ มีร้านโค้งตั้งขึ้นข้างบน ส่วนแบบเขมร-ลาว-ไทย มีร้านโค้งวางราบรอบตัวคนนั่งตี

ฆ้องวงก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีอย่างเดียว วงเดียว โค้งเดียว หรือร้านเดียว ครั้นถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้ประดิษฐ์ขนาดเล็กลงให้ระดับเสียงเล็กและแคบ ใช้งานคู่กับของเดิมที่มีระดับเสียงใหญ่และกว้าง เลยเรียกชื่อต่างกันว่า ฆ้องวงใหญ่ กับ ฆ้องวงเล็ก

ฆ้องวงที่ใช้บรรเลงนำเพลงชุดสำเนียงแขกชวา-มลายูนี้ เป็นฆ้องวงใหญ่ มีเสียงกังวานไกล ต้องตีช้าๆ ห่างๆ เพื่อให้ฟังชัดทุกเสียง หากตีเร็วไปจะมีเสียงกังวานซ้อนกันจนรกหู ครูใหญ่ทางดนตรีแห่งกรุงสยามเคยบอกไว้นานแล้วว่า "คนฆ้องต้องตีอย่างขี้เกียจจึงจะไพเราะ"

เท่าที่ลำดับมาทั้งหมดอย่างย่นๆ ย่อๆ นี้ ก็เห็นชัดแล้วว่า "ฆ้อง" มีหลักฐานสืบเนื่องไม่ขาดสาย อย่างน้อยตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว จนปัจจุบัน สอดคล้อง "ความเป็นไทย" อยู่ที่นี่ ที่สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02200351&day=2008-03-20&sectionid=0131

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #12 เมื่อ: 24-03-2008, 06:48 »

^
^

ขอบคุณคุณ เม่ย หลายครับ  (ถ้าไม่อ่านข้างบนเนี่ย)

ที่ทำให้ผมทราบเรื่องนี้กระจ่างขึ้น....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-04-2008, 07:25 โดย เล่าปี๋ » บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #13 เมื่อ: 25-03-2008, 07:47 »

จังหวัดสุรินทร์ เริ่มมีชุมชนราว 3,000 ปีมาแล้ว

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


5,000 ปีมาแล้ว ยังไม่พบหลักฐานว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดสุรินทร์

แต่มีบรรพชนคนสุวรรณภูมิ เช่น ตระกูลมอญ-เขมร, ฯลฯ ร่อนเร่ล่าสัตว์แล้วตั้งหลักแหล่งบนพื้นที่หลายแห่งของอีสานทางสองฝั่งน้ำมูล-ชี

4,000 ปีมาแล้ว บริเวณจังหวัดสุรินทร์ยังไม่มีคนตั้งหลักแหล่งถาวร แต่มีคนผ่านไปมาแล้ว

เพราะทางต้นน้ำมูล-ชี เช่น บ้านโนนวัด (อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา) มีผู้คนตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนใหญ่ และมีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับผู้คนท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ทางลุ่มน้ำโขง ฯลฯ

3,000 ปีมาแล้ว มีผู้คนตั้งหลักแหล่งบริเวณพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง เป็นชุมชนกระจัดกระจายทั้งบริเวณสองฝั่งลำน้ำมูล กับทุ่งกุลาร้องไห้

บริเวณขอบทุ่งกุลามีหลักฐานการตั้งหลักแหล่งจำนวนมาก และมีลักษณะเฉพาะเรียก "วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้" เป็นเครือญาติทางวัฒนธรรมกับผู้คนสองฝั่งโขงในลาว, เวียดนาม, จนถึงกวางสี-กวางตุ้ง


แผนผังแสดงกำแพงเมือง-คูเมือง จังหวัดสุรินทร์ มี 2 ส่วน
ส่วนแรก อยู่ภายใน เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่มาก่อน มีคูน้ำคดโค้ง
ส่วนหลัง อยู่ภายนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่เท่ากัน
โดยมีร่องรอยระบุว่าเกี่ยวข้องกับการชลประทานชักน้ำมาใช้ในเมือง
(ภาพจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.)


หลัง พ.ศ.1 หรือมากกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ผู้คนบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ยังนับถือผี เช่น บูชางู, บูชากบ, ยกย่องผู้หญิงเป็นใหญ่, ฯลฯ ขณะนั้นยังไม่รู้จักศาสนาทั้งพราหมณ์และพุทธ จึงมีแต่ศาสนาผี

หลัง พ.ศ.500 บริเวณจังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนหนึ่งของ "สุวรรณภูมิ" แล้วเป็นแหล่งทรัพยากรส่งให้บ้านเมืองใกล้ทะเล เช่น ลุ่มแม่น้ำโขงทางกัมพูชา-เวียดนาม และลุ่มน้ำเจ้าพระยาทางประเทศไทย

หลัง พ.ศ.1000 บริเวณจังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐเจนละ ที่มีศูนย์กลางอยู่ทางแม่น้ำโขงและปากชี-มูล เขตอุบลฯ และจำปาสักในลาว ผลิตเหล็กและเกลือแลกเปลี่ยนตามที่ต่างๆ กว้างไกล

พราหมณ์และพุทธแพร่เข้ามาถึงบริเวณลุ่มน้ำชี-มูล ส่งให้บริเวณจังหวัดสุรินทร์ยุคนั้นรับศาสนาทั้งสองมาแทนศาสนาผี แต่ก็นับถือผีพร้อมไปด้วย

หลัง พ.ศ.1500 บริเวณจังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนหนึ่งของ "วัฒนธรรมขอม" นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นสำคัญ แต่มีศาสนาพุทธอยู่ด้วย แล้วสร้างปราสาทหินทั่วไป สร้างเมืองรูปสี่เหลี่ยม ขุดคูน้ำเอาดินกองเป็นเนินกำแพง แต่ยังไม่พบชื่อจริงว่าเมืองอะไร

เมืองสุรินทร์โบราณยุคนั้นอยู่ในเขตเครือญาติของกษัตริย์ผู้สถาปนา "ศรีศีขเรศวร" หรือปราสาทพระวิหารขึ้นบนยอดเขา เทือกทิวพนมดงเร็ก (แปลว่าทิวเขาไม้คาน)

ผู้คนในสุรินทร์ยุคนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของชาวสยามหรือเสียมที่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม แล้วทอผ้าไหมที่จะมีบทบาทสำคัญยุคต่อไป

หลัง พ.ศ.1700 บริเวณจังหวัดสุรินทร์มีบ้านเมืองกระจายมากขึ้น ผู้คนหนาแน่นขึ้นตามเส้นทางการค้า เห็นได้จากการกระจายของปราสาทขนาดต่างๆ กัน

หลัง พ.ศ.1800 เขตสุรินทร์เริ่มลดความสำคัญ เพราะอาณาจักรกัมพูชาร่วงโรยลง ศาสนาพราหมณ์อ่อนแรง ศาสนาพุทธเถรวาทแข็งแรงขึ้น คนสุรินทร์โบราณบางพวกเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่น เช่น กัมพูชา, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, ฯลฯ

มีบ้านเมืองที่เป็นรัฐขนาดเล็กชื่อ โคตรบอง และเรอแดว ควบคุมพื้นที่สองฝั่งโขง และปากน้ำมูล-ชี ผู้คนพวกนี้ส่วนมากอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร จะเป็นบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ต่อไปข้างหน้า

หลัง พ.ศ.2000 ลาวจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเคลื่อนย้ายหนีความขัดแย้งมาตั้งหลักแหล่งในเขตอีสาน แล้วแพร่เข้าไปในเขตจังหวัดสุรินทร์

ราว พ.ศ.2300 มีคนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร เรียกตัวเองว่ากูยหรือโกย มีบรรพชนเป็นประชากรของโคตรบองและเรอแดว นำโดยเชียงปุม ฟื้นฟูสุรินทร์ขึ้นบนเส้นทางการค้าเลียบเขาพนมดงเร็กและลำน้ำมูล ต่อมาได้นามเมืองสุรินทร์ แล้วถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02240351&day=2008-03-24&sectionid=0131

 
บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #14 เมื่อ: 25-03-2008, 08:07 »

หนึ่งร้อยกีบของลาว เลข ๑๐๐ เหมือนกันอีก สงสัยเลขเขมรจะเป็นเลขสากลในภูมิภาคไปเสียแล้วกระมัง    ...........ทะนาคานแห่งซาดลาว

   

ขอบคุณคุณนาคราชมากค่ะที่นำภาพธนบัตรของสปป.ลาวมาให้ได้ชม และช่วยอ่านเป็นภาษาไทยทั้งธนบัตรของเขมรและของลาวให้ด้วย

กรณีนี้ก็คงเหมือนที่เรียนประวัติศาสตร์เบื้องต้นสมัยชั้นประถมที่ว่า พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยในปี พ.ศ.๑๘๒๖ โดยดัดแปลงมาจากอักษรขอมน่ะค่ะ ส่วนตัวเลขนั้น พอมาเห็นตัวเลขในธนบัตรแล้ว แสดงว่า นำมาใช้ทั้งหมด

จะว่าไป ก็เหมือนภาษาจีนที่เป็นต้นแบบให้กับภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี นะคะ แม้ว่าญี่ปุ่นจะดัดแปลงอย่างไร ก็ยังต้องใช้ตัวอักษรจีนประมาณ 50 % ในขณะที่ เกาหลี เพิ่งจะมีอักษรของตัวเองใช้เมื่อประมาณ 500 กว่าปีนี้เอง คนเกาหลีที่มีโอกาสเรียนภาษาจีนในสมัยก่อน ก็มักจะเป็นชนชั้นสูงหรือมีการศึกษาที่มีโอกาสมากกว่าชาวบ้านทั่วไป



^
^

ขอบคุณคุณ เม่ย หลายครับ  ถ้าไม่อ่านข้างบนเนี่ย

ที่ทำให้ผมทราบเรื่องนี้กระจ่างขึ้น....


ยินดีค่ะ พอดีสนใจเหมือนกันค่ะ เมื่อได้อ่านแล้ว ก็ไม่อยากให้ผ่านเลยไป จึงมาโพสต์ในกระทู้ดีกว่า

ประวัติศาสตร์ก็คล้ายกับภูมิหลังของคนนะคะ ถ้าอยากทราบว่า คน ๆ นึงทำไมจึงมีอุปนิสัยอย่างนั้น หรือมีธาตุแท้อย่างไร คบได้ คบไม่ได้ ก็ต้องสืบประวัติกันหน่อยล่ะค่ะ รู้หน้าฉากแล้ว ก็ต้องรู้หลังฉากด้วย จึงจะรู้แน่ ๆ นะคะ แค่ลมปากนี่เชื่อมิได้เด็ดขาดค่ะ 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-03-2008, 08:08 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #15 เมื่อ: 25-03-2008, 08:29 »

การที่ตัวเลขมันตรงกันก็ไม่เห็นจะแปลก อยู่ในภูมิภาคเดียวกันรับถ่ายวัฒนธรรมกันอยู่แล้ว
ยิ่งในอดีตเดิมขอมเป็นชาติที่มีอำนาจมากก็ย่อมเผยแพร่ตัวอักษรได้ในวงกว้าง

แม้ไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน คณิตศาสตร์ก็เป็นภาษาสากล มีความใกล้เคียงกันในทุกภาษา
เช่นตัวเลข 0ก็เหมือนกันทั่วโลก 1ก็มาจากหนึ่งขีด 2ก็มาจากสองขีดเหมือนกัน
อาจจะมีการดัดแปลงบ้างแต่ก็ยังคงลักษณะให้พอเดาได้ 

ถ้าจะเทียบกันจริงๆแล้วควรตัวอักษร ภาษาเขมรน่าจะใกล้เคียงกับตัวอีกษรลาวมากกว่า
ส่วนภาษาไทยที่มีวิวัฒนาการไปมากแล้วแทบจะไม่เหมือนกันเลย
แม้แต่คำที่มาจากภาษาขอม คนไทยก็ดัดแปลงวิธีเขียนอ่านไปเกือบหมดแล้ว

ส่วนเรื่องดินแดน เรื่องไหนเป็นอดีตหลายร้อยปีไปแล้วไม่อยากจะพูดถึง
หากพูดไปมันจะสืบสาวเรื่องราวไม่จบสิ้น
แต่เรื่องเขาพระวิหาร คนที่ยังทันยุคสมัยนั้นอยู่เขายังจำได้ พูดเมื่อไหร่ก็เจ็บแค้นเมื่อนั้น
จะให้บอกว่าอย่าไปสนใจสมานฉันท์กันดีกว่า "คงยาก"


เพิ่งมาทราบว่าตัวเลขเขากับเรานั้น เขียนเหมือนกันเปี๊ยบ 

ที่ผมสงสัยตลอดมาคือทำไมตัวเลขไทย(หรือเขมร) ถึงใช้หลักการของตัวเลขอาระบิก ซึ่งทำให้การบวกลบเลขมันง่ายกว่าตัวเลขอื่นๆเช่นโรมัน มันเป็นความบังเอิญอีกแล้วในการใช้เลขฐานสิบมาใช้งานในชีวิตประจำวัน

พอมาดูการออกเสียงของตัวเลขเขมร(ผมเดาว่าตัวหนังสือเล็กๆนั่นคือการออกเสียงนะครับ) ก็แปลกดีนะครับ ตั้งแต่เลขหกถึงเลขเก้า เขาออกเสียงแปลเป็นไทยได้ดังนี้ 6=ห้าหนึ่ง, 7=ห้าสอง, 8=ห้าสาม, 9=ห้าสี่ ยังกับอ่านเป็นเลขโรมันเลย ยกเว้นเลขเก้าที่ต่างกันไป

ผมเดาว่า ไทยได้รับอิทธิพลด้านตัวอักษรจากเขมรเพื่อมาออกเสียงในภาษาไทย (เหมือนฟิลิบปินส์เอาตัวอักษรฝรั่งมาเขียนตากาล็อก) นะครับ



ส่วนเรื่องเขาพระวิหาร

ผมเชื่อว่าประเด็นมันมากกว่านั้นนะครับ น่าจะเป็นเรื่องผลกระทบของเขตแดนมากกว่า แต่สำหรับคนไทยรุ่นหนึ่งแล้ว กรณีเขาพระวิหารมันเป็นอนุสาวรีย์ผลงานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสน่ะครับ ไม่เกี่ยวกับคนกัมพูชา

ขอบคุณคุณ Priateľ มากค่ะสำหรับภาพอักษรตัวเลขของเขมรที่มีตัวเลขอารบิกเปรียบเทียบด้วย อ่านข้อสงสัยของคุณ Priateľ แล้ว เลยทำให้นึกถึงการใช้ลูกคิดของจีน แต่จีนจะมีหลักนับแค่หมื่น ถ้าหนึ่งแสน ก็จะใช้ว่า สิบหมื่น ถ้าหนึ่งล้านก็ร้อยหมื่น แต่มีคำว่า ร้อยล้าน ใช้ ส่วนตัวอักษรเลขของจีนก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง มีเลขศูนย์ที่เขียนกลม ๆ เหมือนสากล

สำหรับประเด็นเขาพระวิหารนั้น ได้ฟังคนในพื้นที่บอกเหมือนกันค่ะว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีปัญหา คือ แผนที่สำหรับการแบ่งเขตแดน ดูเหมือนว่า ทางฝรั่งเศสสมัยยังยึดครองเขมรอยู่จะได้เปรียบไทยตรงจุดนี้ แต่คืนก่อน ทางช่อง ๗ มั้งคะ ได้เรียนถามท่านทูต - เอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา ท่านว่า อยากให้ไทยกับเขมร ตกลงกันในแบบทวิภาคีให้เรียบร้อย ก่อนที่จะตัดสินว่าเป็นมรดกโลกหรือไม่ที่แคนาดา ก็คงต้องติดตามข่าวกันต่อไปค่ะ

ปล. มีเกร็ดเล็ก ๆ ที่ทราบจากคนในพื้นที่ก็คือ หลังจากศาลโลกตัดสินให้ ประสาทเขาพระวิหาร เป็นของเขมร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ แล้ว ผู้นำของไทยในเวลานั้นคือ จอมพลสฤษดิ์ โกรธมาก  แล้วก็เลยสั่งให้ถอนธงชาติของไทยที่เดิมตั้งอยู่ผาเป้ยตาดี มาตั้งที่ผามออีแดงแทน


บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #16 เมื่อ: 25-03-2008, 09:41 »

 

สำหรับผม
ผมมีความเชื่อมั่ย + ค้นคว้าด้วยตัวเองมาพักใหญ่

ผมเชื่อว่าคนไทยเป็นชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพมาจากมองโกล หรือจีน ทั้งนั้น

 

บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #17 เมื่อ: 25-03-2008, 10:54 »

เท่าที่คุ้ยจากความทรงจำ ในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนมีเลขศูนย์ครับ เลขศูยน์เกิดขึ้นที่อาหรับ
เป็นที่มาของตัวเลขอารบิค ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก ดังนี้น เลขศูนย์ในทุกภาษาในโลกนี้
จึงเขียนเหมือนกันหมด เพราะมาจากที่เดียวกัน แม้กระทั่งจีน ที่ตัวอักษรเกิดจากเส้นตรง
ตวัด จุด ยังมีเลขศูนย์เป็นวงกลมเลย


ส่วนเรื่อง ไทย-เขมร มีทฤษฎีคิดเล่นๆ สนุกๆ แต่ก็เร้าใจดีว่า เขมรต่างหากที่ย้ายเมือง
มาตั้ง กรุงศรีอยุธยา เพราะหนีโรคระบาด ไม่อย่างนั้น อยุธยาจะมาจากไหน อันนี้เป็น
ของ คุณไมเคิล ไรท์ นะครับ อ่านแล้วสนุกดี "ฝรั่งคั่งสยาม"
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #18 เมื่อ: 26-03-2008, 10:59 »

คำว่าชาติพึ่งมีมาเมื่อ 200 ปีนี้เอง

เป็นคำที่ใช้เพื่อผลประโยชน์ทางทุนนิยม
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 26-03-2008, 12:27 »

ถ้าชอบเรื่องพวกนี้ ลองสมัครสมาชิก ศิลปะวัฒนธรรม สิครับ

หลากหลายเรื่องราว ที่ทำให้เราเข้าใจอดีต เข้าใจเพื่อนบ้าน


ตอนทำงานใหม่ๆ ก็อาศัยหนังสือพวกนี้เป็นที่แสวงหาเรื่องราวมาคุยกันในวงเหล้ากับพวกเรียนศิลปากร

คุยกับพวกเรียนประวัติศาสตร์จากอักษรศาสตร์...ตอนเรียนปีหนึ่ง วิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาบังคับ
บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #20 เมื่อ: 07-04-2008, 12:52 »

ถ้าชอบเรื่องพวกนี้ ลองสมัครสมาชิก ศิลปะวัฒนธรรม สิครับ

หลากหลายเรื่องราว ที่ทำให้เราเข้าใจอดีต เข้าใจเพื่อนบ้าน


ตอนทำงานใหม่ๆ ก็อาศัยหนังสือพวกนี้เป็นที่แสวงหาเรื่องราวมาคุยกันในวงเหล้ากับพวกเรียนศิลปากร

คุยกับพวกเรียนประวัติศาสตร์จากอักษรศาสตร์...ตอนเรียนปีหนึ่ง วิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาบังคับ


ขอบพระคุณค่ะ ท่านลุงแคน แต่เวลาไม่ค่อยอำนวยค่ะ ถ้าได้อ่าน "ศิลปวัฒนธรรม" ก็จะนึกถึง "ช่อการะเกด" หรือก่อนหน้านั้นก็ "บานไม่รู้โรย" ล่ะค่ะ

ค้น ๆ ดูจากเว็บของมติชน เลยเล็งหนังสือของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" ไว้ก่อนหลายเล่ม

วันก่อน เม่ยไปแวะบูธ "มติชน" ไม่ผิดหวังค่ะ นอกจาก "ลับ ลวง พรางฯ " ที่ติดเบสต์ เซลเลอร์อันดับ ๑  -- พิมพ์ครั้งที่ ๓ ภายในสองวัน และพิมพ์ครั้งที่ ๔ ไปเรียบร้อยแล้ว

๑. คนไทยมาจากไหน?
๒. อักษรไทยมาจากไหน?
๓. พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน?
๔. สุวรรณภูมิ ต้นกระแสประวัติศาสตร์ไทย
๕. กรุงเทพฯ มาจากไหน?

โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ

และ ๖. รูปเขียนดึกดำบรรพ์ "สุวรรณภูมิ" 3,000 ปีมาแล้ว ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน โดย "อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ"


กำลังอ่านอยู่ค่ะ มีเนื้อหาน่าสนใจทั้งนั้น สมัยเรียน ก็จะมีวิชาเลือกบังคับให้เรียนเป็นพื้นฐานบ้างค่ะ เช่น วิชาอารยธรรม (Civilization) นอกจากวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทีเรียนจนถึงชั้นมัธยมปลาย แต่มาถึงยุคนี้ เนื้อหาหลายอย่างคงล้าสมัยและคลาดเคลื่อนไม่น้อยค่ะ




สำหรับผม
ผมมีความเชื่อมั่ย + ค้นคว้าด้วยตัวเองมาพักใหญ่

ผมเชื่อว่าคนไทยเป็นชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพมาจากมองโกล หรือจีน ทั้งนั้น

 



เยี่ยมค่ะ ไม่ทราบว่าแบบเรียนสมัยนี้มีเนื้อหาอย่างไรเนอะ

ส่วนอ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ท่านบอกว่า เทือกเถาเหล่ากอของท่านคือ "เจ๊กปนลาว" เพราะแม่เป็นเจ๊ก(ชาวนา)แต้จิ๋ว ส่วนพ่อสืบเชื้อสายลาวพวน(เชลยศึก)ที่บรรพชนถูกกวาดต้อนมาแต่เชียงขวางและเวียงจันสมัยรัชกาลที่ 3 -- มี ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ  ปกว่าด้วยเรื่อง "เจ๊กปนลาว" (2530)

บางส่วนบางตอนจากหนังสือ "คนไทยมาจากไหน" ของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"

คำว่า "ไทย" ไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ เพราะเชื้อชาติบริสุทธิ์ไม่มีจริงในโลก และไม่ใช่ชื่อชนชาติมาแต่แรก เพิ่งมาสมมติเรียกขึ้นภายหลังในช่วงใดช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์

ขบวนการถูกทำให้เป็น "ไทย" ไม่ได้มีมาแต่ตั้งเดิมดึกดำบรรพ์ แต่มีขึ้นราวหลัง พ.ศ.1700 แล้วพบหลักฐานความเป็นคนไทยอย่างจริงจังและชัดเจนเมื่อราวหลังพ.ศ.2000 ที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยุคกรุงศรีอยุธยานี่เอง ก่อนหน้านั้นขึ้นไปยังไม่พบหลักฐานเรียกตัวเองว่า "คนไทย" มีแต่คำว่า ไท ไต ที่ไม่ใช่ คนไทย กับคำว่า สยาม อันเป็นคำของคนอื่นใช้เรียกคนหลายเผ่าพันธุ์ที่สื่อสารด้วยภาษาไทย

ฉะนั้น ชื่อไท ไต และสยามกับภาษาไทย เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในอีกหลาย ๆ อย่างทางศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ ทีส่งผลให้คนกลุ่มหนึ่งมีหลายชนเผ่าเหล่ากอรวมกันสมมติชื่อเรียกตนเองว่า คนไทย


...

ลาว หมายถึง คน เช่นเดียวกับคำว่า ไท ไต แต่ต่างกันที่ ไท-ไต หมายถึงคนทั่วไป แต่ลาว หมายถึงคนได้รับยกย่องให้มีฐานะทางสังคมสูงกว่าดีกว่า หรือเหนือกว่าคนอื่น เช่น เป็นหัวหน้า เป็นนาย ฯลฯ

สมัยสามก๊ก มีเอกสารจีนระบุชนเผ่าหนึ่งซึ่งอยู่ทางภาคใต้ชื่อว่า "ลาว" มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่? อย่างไร? มีความหมายอย่างไร?

ครั้นถึงสมัยราชวงศ์จิ้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 9-10) ชื่อของชนเผ่าลาวเปลี่ยนไปเป็นหลัง จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ้อง (ราวพุทธศตวรรษที่ 16-19) จะนิยมเรียกชนเผ่านี้ว่าจ้วง (หรือเรียกตามสำเนียงท้องถิ่นว่า ผู้จ่อง)


.......
บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #21 เมื่อ: 07-04-2008, 13:21 »

เท่าที่คุ้ยจากความทรงจำ ในโลกนี้ ไม่มีที่ไหนมีเลขศูนย์ครับ เลขศูยน์เกิดขึ้นที่อาหรับ
เป็นที่มาของตัวเลขอารบิค ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก ดังนี้น เลขศูนย์ในทุกภาษาในโลกนี้
จึงเขียนเหมือนกันหมด เพราะมาจากที่เดียวกัน แม้กระทั่งจีน ที่ตัวอักษรเกิดจากเส้นตรง
ตวัด จุด ยังมีเลขศูนย์เป็นวงกลมเลย


ส่วนเรื่อง ไทย-เขมร มีทฤษฎีคิดเล่นๆ สนุกๆ แต่ก็เร้าใจดีว่า เขมรต่างหากที่ย้ายเมือง
มาตั้ง กรุงศรีอยุธยา เพราะหนีโรคระบาด ไม่อย่างนั้น อยุธยาจะมาจากไหน อันนี้เป็น
ของ คุณไมเคิล ไรท์ นะครับ อ่านแล้วสนุกดี "ฝรั่งคั่งสยาม"

ขอบคุณค่ะ ถ้ามีข้อมูลจากหนังสือ "เรื่องน่ารู้ในอักษรจีน" และเล่มอื่น ๆ เพิ่มเติมจะนำมาโพสต์ค่ะ

สำหรับอักษรขอมนั้น ในหนังสือ "อักษรไทยมาจากไหน?" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ตอนหนึ่ง บอกไว้ว่า

ถ้านับจากอักษรไทย ย้อนกลับไปหารากเหง้า จะพบว่าได้แบบจากอักษรเขมรที่เรียก "อักษรขอม" ย้อนกลับไปเก่ากว่าอักษรขอมจะพบ อักษรทวารวดี อักษรปัลลวะทมิฬ ตามลำดับ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นแบบให้มีอักษรไทยขึ้นที่รัฐละโว้ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อราวหลังพ.ศ. 1700

ถ้าพิจารณาตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีสนับสนุนอย่างแข็งแรงแล้ว จะเห็นว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออกที่เป็นรัฐละโว้-อโยธยาศรีรามเทพ คือแหล่งหล่อหลอมและค่อย ๆ ก่อรูปอักษรไทยขึ้น ส่งผลให้มีวรรณคดีที่เป็นภาษาไทย แล้วเขียนด้วยอักษรไทย สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

รัฐละโว้มีความใกล้ชิดเป็นเครือญาติสนิทกับราชอาณาจักรกัมพูชาที่เมืองพระนคร จนได้ชื่อในตำนานเลียนแบบชื่อกัมพูชาว่า "กัมโพช" แล้วเรียกชาวละโว้ว่า "ขอม"

ขอม เป็นชื่อเรียกทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติใดชนชาติหนึ่ง เช่น กลุ่มชนเผ่าพันธุ์ใดก็ตามที่นับถือฮินดูสมัยนั้นจะถูกเรียกว่าขอมทั้งนั้นอย่างเดียวกับใครก็ตามนับถืออิสลามย่อมถูกเรียกว่าแขกทั้งหมดโดยไม่จำแนกเผ่าพันธุ์ ฉะนั้นกลุ่มชนทุกเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในสังกัดละโว้หรือกัมโพชบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะได้ชื่อว่าขอมทั้งหมด ซึ่งต้องมีตระกูลไทย-ลาว รวมอยู่ด้วย แม้บ้านเมืองละโว้ก็ถูกเรียกเมืองขอมจนถึงตัวอักษรที่ใช้ ย่อมได้ชื่ออักษรขอม

ตัวอักษรที่ใช้ในรัฐละโว้ครั้งนั้นคืออักษรเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร ย่อมถูกเรียกอักษรขอมตามชื่อทางวัฒนธรรมและชื่อบ้านเมืองในภาษาพูดของคนทั่วไป

...



คำว่าชาติพึ่งมีมาเมื่อ 200 ปีนี้เอง

เป็นคำที่ใช้เพื่อผลประโยชน์ทางทุนนิยม

ขอบคุณค่ะ

เสียดายที่ทุนนิยมมักจะมีแนวโน้มไปในทางสามานย์ มากกว่าจะสร้างสรรค์ โลกมันจึงได้ยุ่งวุ่นวายมาตลอดแบบนี้

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #22 เมื่อ: 14-04-2008, 22:29 »

แคนพระปิ่นเกล้า มีกำเนิด 3 พันปีมาแล้ว

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

         
(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดแคน
มี "แคนหลวง" ขนาดใหญ่เต้าหนึ่ง เก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
เชื่อว่าจะเป็นแคนคู่พระหัตถ์
(ขวา) หมอแคน-หมอลำ รูปลายเส้นบนเครื่องมือสัมฤทธิ์เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว
พบที่เวียดนาม เป็นหลักฐานเครื่องเป่าเก่าแก่สุดสืบจนปัจจุบัน


แคน เป็นเครื่องเป่าเก่าแก่มากกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เป็นสมบัติร่วมของคนทุกชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ แต่ปัจจุบันมีผู้นิยมเล่นในหมู่ลาว, และชนเผ่าในหุบเขา เช่น ม้ง, เย้า, ฯลฯ

ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาใช้แคนเป็นเครื่องบรรเลงขับกล่อมพร้อมเครื่องมืออื่นๆ แต่ในยุคกรุงเทพฯเป็นเครื่องดนตรีประจำพระองค์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะขอสรุปที่อาจารย์ ส.พลายน้อย เคยเขียนเล่าว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเรียนเป่าแคนตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานกล่าวไว้ แต่เข้าใจว่า ต้องก่อนพุทธศักราช 2379 เพราะมีปรากฏในจดหมายเหตุของหมอปลัดเลหรือ บรัดเล บันทึกไว้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2379 ตอนหนึ่งว่า

“เจ้าฟ้าน้อยทรงพาหมอบรัดเล กับภรรยาชมเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเป็นเครื่องลาว(แคน) หมอบรัดเลเคยทราบว่าแคนมีเสียงไพเราะนัก อยากจะได้ฟัง จึงถามว่าใครๆที่อยู่ในที่นี้เป่าแคนได้บ้าง เจ้าฟ้าน้อยตรัสตอบว่าได้ซิ แล้วพระองค์จึงหยิบแคนขึ้นทรงเป่า แลตรัสถามหมอบรัดเลว่า ต้องการจะฟังแอ่วด้วยหรือ เมื่อหมอบรัดเลตอบรับแล้ว พระองค์จึงทรงเรียกคนใช้เข้ามาคน 1 คนใช้นั้นเข้ามากระทำความเคารพโดยคุกเข่ากราบลง 3 ครั้งแล้วนั่งลงยังพื้น คอยฟังแคนอยู่ ครั้นได้จังหวะก็เริ่มแอ่วอย่างไพเราะจับใจ ดูเหมือนจะได้ศึกษามาเป็นอย่างดีจากโรงเรียนสอนดนตรี ฉะนั้น”

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ดนตรีประเภทแคนเห็นจะเป็นที่นิยมกันมาก ตามวังเจ้านายสมัยนั้นก็นิยมให้มีแคนและพวกแอ่วไว้ประดับบารมี ที่แน่นอนก็คือปรากฏว่าที่วังกรมหลวงวงษาธิราชสนิทก็มี


         
(ซ้ายบน) เครื่องเป่าของชาวจ้วง กวางสี ทำจากกระบอกไม้ไผ่และเขาควาย
ไผ่กระบอกสั้นเรียก "ป่อมปี้" ไผ่กระบอกสูงเรียก "หลูเซิน"
(ซ้ายล่าง-ล่างกลาง) ปี่น้ำเต้าหรือแคนของกลุ่มชนเผ่าชาติพันธ์ในหุบเขาของอุษาคเนย์
(บนขวา) ฟ้อนแคนของกลุ่มชาติพันธุ์สองฝั่งโขงเมื่อประมาณร้อยปีมาแล้ว ยังมีลักษณะสืบเนื่องจากยุคโลหะ
(ล่างขวา) ประเพณีขับซอในท้องถิ่นล้านนาก็สืบมาจากยุคโลหะ
(ภาพและคำบรรยายจากหนังสือ ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ พรรพชนคนไทยในอุษาคเนย์ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2547)


การที่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพากันโปรดแคนมากเช่นนี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไม่พอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก และคงจะเก็บอัดอั้นไว้เป็นเวลานาน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้จะสวรรคตจึงได้มีประกาศจึงได้มีประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว เมื่อ ณ วันศุกร์ เดือน 12 แรม 14 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก 1227 (พ.ศ. 2408)

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่ใช่แต่จะทรงแคนได้อย่างเดียว แม้คำแอ่วก็ชำนาญ ส่อให้เห็นว่าน่าจะตรัสภาษาพื้นเมืองสระบุรีได้เป็นอย่างดี หลักฐานในเรื่องนี้จะเห็นได้จากคำแอ่ว ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏอยู่หลายเล่มสมุดไทย

...


หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02190351&day=2008-03-19&sectionid=0131
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-04-2008, 22:31 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 21-04-2008, 02:42 »

ปัจจุบันในภาษาพูดของชาวอีสาน คำว่า "ลาว" เป็นคำให้เกียรติ หากพูดถึงบุรุษที่ 3

ถ้าผู้ใหญ่พูดถึงเด็ก หรือ ผู้อ่อนวัยกว่าว่า "เลาเป็นจั่งซั่นจั่งซี่"..."ลาวเป็นจั่งซั่นจั่งซี่"...( เขาเป็นยังงั้นยังงี้ )

เป็นคำกล่าวถึงในแง่เอ็นดู นับถือ...ยังมีใช้กันอยู่ครับ แต่บางทีก็กร่อนลงลงเป็น "เลา" ( เสียงสั้นลง )

ถ้าไม่ให้เกียรติก็เรียก "มัน" ตรงๆ นี่แหละ อิ อิ


ไต คือ ไทยใหญ่

ไท คือ ไทยน้อย

อักษรไทย กับลาว มาสายเดียวกัน เพราะความเชื่อที่ว่า คนไท มาจากเมืองแถน เดียนเบียนฟูไงครับ

พี่น้อง "ไทดำ ไทขาว" กระจายในเส้นทางค้าขาย จากตะวันออกไปตะวันตก

สุโขทัย อีสาน คนไท จากเมืองแถน เดียนเบียนฟู  สุจิตต์ และอาจารย์ศรีศักดิ์บอกว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

ชาวสยาม หรือ ศยาม หรือ เสียม เข้าใจว่าศูนย์กลางอยู่เวียงจันทร์ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ก็บอกเช่นนั้น )

ชาวสยาม เน้นเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ "ชนชาติ"  ( มีวัฒนธรรม ความเชื่อ นับถือผี หรือ เทวดา เช่น "ผีฟ้า" ผีป่า ผีน้ำ )

สยามประเทศ เป็นอีกระดับหนึ่งคือระดับ "รัฐชาติ"

ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ เพิ่งมาเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนแถบนี้ สมัยหลังๆ นี่เอง

จิตรภูมิศักดิ์บอกว่า เมื่อพราหมณ์มาก่อน ในเขมร ภายหลัง พุทธเข้าไปชนะเพราะพราหมณ์ เน้นชนชั้นสูง เทพเจ้า

มีการกดขี่ทางชนชั้น มีเกณฑ์แรงงานมากเกินไป ชาวนาไม่ชอบ

ส่วนพุทธ สอนให้ช่วยตัวเอง เป็นศาสนาของชาวนา...ประมาณนั้น

ลองๆ ค้นดูหนังสือ "ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม" จะบอกหมดว่า "คนไทยมาจากไหน"
หรือคนไทยอยู่ที่นี่มานานหลายพันปีคือคนไทยกลุ่มอุษาคเนย์นี่แหละ

อีกเล่มคือ "แอ่งอารยธรรมอีสาน" เป็นเรื่องพลิกความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ผลงานอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม
บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #24 เมื่อ: 24-04-2008, 08:14 »

ทุนนิยมสามานย์ สงกรานต์โสมม ในสังคมความเป็นไทยของรัฐราชการ

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


"ทุนนิยมสามานย์" เป็นคำของอาจารย์จากจุฬาฯท่านหนึ่งที่เข้าร่วมทำงานให้รัฐบาลทักษิณสมัยแรกๆ แล้วทนความสามานย์ของเศรษฐกิจ-การเมืองนี้ไม่ได้เลยขอถอนตัวออกจากรัฐบาลนั้น

"สงกรานต์โสมม" เป็นคำสะท้อนความรู้สึกของคนที่เดือดร้อนจากพฤติกรรมโสมมของคนเล่นสงกรานต์อย่างสามานย์ แล้วจัดการให้พวกนี้อยู่ในร่องในรอยไม่ได้

"สังคมความเป็นไทย" เป็นคำสรุปรวบยอดของคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับ "ความเป็นไทย" ปลอมๆ ที่สามานย์และโสมมหนักข้อขึ้น

สรุปว่า "ทุนนิยมสามานย์ เล่นสงกรานต์โสมม ในสังคมความเป็นไทย" เป็นคำคล้องจองส่งสัมผัสสมดังคำพูดว่า "ไทยเป็นชาตินักกลอน"

ความเป็นไทย ไม่มีรูปแบบตัวตนตายตัว แต่เป็นสิ่ง "สมมุติ" มีในจินตนาการเหมือนคำว่า "ชาติ" นั่นแหละ (นี่ผมจำคำอธิบายของอาจารย์ฝรั่งมาปรับใช้) ฉะนั้นความเป็นไทยย่อมต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคนที่มีประสบการณ์และสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมต่างกัน

พ่อค้ากระฎุมพีย่อมมีจินตนาการของความเป็นไทยต่างจากขุนนางศักดินาข้าราชการในระบอบอำมาตยาธิปไตย ฉะนั้นผู้จัดการของ "4 สาววงเกิร์ลลี่ เบอร์รี่" ย่อมมองเห็นความเป็นไทยต่างจากขุนนางศักดินาข้าราชการผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม

เครื่องแต่งกาย "ชุดไทย" ย่อมขึ้นอยู่กับสำนึกจินตนาการของคนพวกไหนกลุ่มไหนด้วย? แล้วยังขึ้นกับ "กาละ" และ "เทศะ" คือเวลาและสถานที่ของคนแบบไหนด้วย? ฉะนั้น ชุดขาสั้นของ 4 สาวนั่นแหละความเป็นไทยอย่าง "ร่วมสมัย" แต่ชุดผ้าถุงกรอมเท้ามีสไบห่มคือความเป็นไทยอย่าง "พ้นสมัย"

ทั้ง 2 ชุดล้วนเป็นสินค้าที่เอาไว้ "ขาย" หลอกคนโง่ๆ งี่เง่าใน "ตลาด" เท่านั้น

สังคมความเป็นไทยต้องการแค่นี้มิใช่หรือ

เริ่มจากกระทรวงวัฒนธรรมยินดียกย่อง 4 สาวเป็นพรีเซ็นเตอร์แต่งกายชุดไทยเพื่อการตลาดที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงต้องการได้หน้าผ่านสื่อต่างๆ ส่วนต้นสังกัด 4 สาวก็ได้ผลตอบแทนทางการตลาด เมื่อ "ขนมพอสมน้ำยา" สมน้ำสมเนื้อแล้วเจือสมคำคล้องจอง ทุนนิยมสามานย์ สงกรานต์โสมม สังคมความเป็นไทย แล้วจะมาโวยวายทำไม?

ยิ่งโวยวายก็เหมือน "อ้าปาก เห็นลิ้นไก่" กระทรวงวัฒนธรรมแค่ไหน ความเป็นไทยก็แค่นั้นแหละว้า

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02220451&day=2008-04-22&sectionid=0131

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #25 เมื่อ: 25-05-2008, 10:55 »

ปัจจุบันในภาษาพูดของชาวอีสาน คำว่า "ลาว" เป็นคำให้เกียรติ หากพูดถึงบุรุษที่ 3

ถ้าผู้ใหญ่พูดถึงเด็ก หรือ ผู้อ่อนวัยกว่าว่า "เลาเป็นจั่งซั่นจั่งซี่"..."ลาวเป็นจั่งซั่นจั่งซี่"...( เขาเป็นยังงั้นยังงี้ )

เป็นคำกล่าวถึงในแง่เอ็นดู นับถือ...ยังมีใช้กันอยู่ครับ แต่บางทีก็กร่อนลงลงเป็น "เลา" ( เสียงสั้นลง )

ถ้าไม่ให้เกียรติก็เรียก "มัน" ตรงๆ นี่แหละ อิ อิ


ไต คือ ไทยใหญ่

ไท คือ ไทยน้อย

อักษรไทย กับลาว มาสายเดียวกัน เพราะความเชื่อที่ว่า คนไท มาจากเมืองแถน เดียนเบียนฟูไงครับ

พี่น้อง "ไทดำ ไทขาว" กระจายในเส้นทางค้าขาย จากตะวันออกไปตะวันตก

สุโขทัย อีสาน คนไท จากเมืองแถน เดียนเบียนฟู  สุจิตต์ และอาจารย์ศรีศักดิ์บอกว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน

ชาวสยาม หรือ ศยาม หรือ เสียม เข้าใจว่าศูนย์กลางอยู่เวียงจันทร์ ( จิตร ภูมิศักดิ์ ก็บอกเช่นนั้น )

ชาวสยาม เน้นเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ "ชนชาติ"  ( มีวัฒนธรรม ความเชื่อ นับถือผี หรือ เทวดา เช่น "ผีฟ้า" ผีป่า ผีน้ำ )

สยามประเทศ เป็นอีกระดับหนึ่งคือระดับ "รัฐชาติ"

ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ เพิ่งมาเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนแถบนี้ สมัยหลังๆ นี่เอง

จิตรภูมิศักดิ์บอกว่า เมื่อพราหมณ์มาก่อน ในเขมร ภายหลัง พุทธเข้าไปชนะเพราะพราหมณ์ เน้นชนชั้นสูง เทพเจ้า

มีการกดขี่ทางชนชั้น มีเกณฑ์แรงงานมากเกินไป ชาวนาไม่ชอบ

ส่วนพุทธ สอนให้ช่วยตัวเอง เป็นศาสนาของชาวนา...ประมาณนั้น

ลองๆ ค้นดูหนังสือ "ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม" จะบอกหมดว่า "คนไทยมาจากไหน"
หรือคนไทยอยู่ที่นี่มานานหลายพันปีคือคนไทยกลุ่มอุษาคเนย์นี่แหละ

อีกเล่มคือ "แอ่งอารยธรรมอีสาน" เป็นเรื่องพลิกความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ผลงานอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม


ขอบพระคุณท่านลุงแคนค่ะ

เท่าที่อ่านบทความของ อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ใน "มติชน" ช่วงที่ผ่านมา อาจารย์ให้น้ำหนัก กับ วัฒนธรรมของอีสานและพลังของ "ลาว" อยู่มากค่ะ

เมื่อหลายอาทิตย์ก่อน อดีตอธิการบดีของ ม.เกษตรศาสตร์ ท่านหนึ่ง มีจดหมายไปยังคอลัมน์ "บก.ฟอรั่ม" ของ มติชน เสนอเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "ไทย" ให้เป็น "สยาม" แทน และได้ไล่เรียงแยกย่อยคนเชื้อชาติต่าง ๆ ในประเทศไทยนี้ว่ามีจำนวนหลายสิบเผ่าพันธุ์ทีเดียว

จะว่าไปแล้ว ความเป็นไทย ในยุคนี้ กับความเป็นไทย ในห้วงสมัยแค่เพียงย้อนกลับหลายสิบปีก่อนโน้นก็นับว่ามีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย

นอกจากเชื้อสายเผ่าพันธุ์ลาวแล้ว อีกเชื้อชาติหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทสำคัญไม่น้อยทีเดียว คือ เชื้อชาติจีนที่แยกย่อยไปได้หลายกลุ่ม

จากคอลัมน์ "ซูมซอกแซก" เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว ทำให้ทราบว่า คนดังหลายท่านในบ้านเรา สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีแซ่เดิมว่า "หลี่ว์"

-------------------------------------------------------------------------------------

เสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง (10-11 พ.ค.) ประเทศไทยของเรามีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะเชื้อสายจีนจากประเทศต่างๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 400 คนเห็นจะได้ ที่โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ กับโรงแรมเอเชีย พัทยา จังหวัดชลบุรี

อาคันตุกะทั้งหมดนี้ ล้วนอยู่ในตระกูล LUฌ ที่ เขียนเป็นตัวอักษรจีนว่า เหมือนกัน แต่อ่านออก เสียงต่างกันไปสุดแต่ว่าจะเป็นชาวจีนเชื้อสายใด

บ้างก็ออกเสียงว่า “ลู” บ้างก็ออกเสียงว่า “หลือ” บ้างก็ออกเสียงว่า “ลู่” และบ้างก็ออกเสียงว่า “ลิ”

ของไทยเรามักรู้จักกันในนามของตระกูล “หรู” และจัดตั้งเป็น สมาคมตระกูลหรูประเทศไทย เพื่อให้เกียรติแก่คุณ กำพล เตชะหรูวิจิตร ที่ริเริ่มก่อตั้งสมาคมขึ้นเมื่อหลายปีก่อน

ตระกูลหรือแซ่ LUฌ นี้ เป็นตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง ว่ากันว่า คนดังที่สุดระดับต้นตระกูลได้แก่ “ลิโป้” ตัวละครเอกของเรื่อง “สามก๊ก” ที่คนไทยรู้จักดี

แม้ว่าลูกหลานของตระกูลนี้ในปัจจุบันจะมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับตระกูลเก่าแก่อื่นๆ เช่น ตระกูล ตั้ง, ตระกูล ลิ้ม หรือตระกูล อึ้ง ฯลฯ

แต่กระนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นแซ่หรือตระกูลที่มีความสามัคคีกลมเกลียวอย่างดียิ่ง เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปประกอบอาชีพ ณ ประเทศใด ก็จะนัดพบปะและรวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมอย่างเหนียวแน่นอยู่เสมอๆ

ต่อมาเมื่อการคมนาคมสื่อสารสะดวกยิ่งขึ้น ก็ยังมีการติดต่อข้ามประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้ แลก เปลี่ยนข้อมูลสื่อสารซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นชมรม หรือสมาคมตระกูลลู หรือหรู ในระดับโลกเช่นเดียวกับอีกหลายๆตระกูล

อีกทั้งยังได้มีการประชุมสัมมนาในระดับโลกมาแล้วถึง 2 ครั้ง

การประชุม ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค เมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่แล้ว ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมถึงกว่า 400 คนนั้น เป็นการประชุมตระกูลหรูโลกครั้งที่ 3 โดยมีสมาคมตระกูลหรูประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

ประธานจัดงานได้แก่ คุณ วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ นายกสมาคมตระกูลหรูประเทศไทย คนปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประธานโรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซฯ อยู่แล้ว จึงได้ใช้โรงแรมแห่งนี้เป็นเวทีการประชุม และเป็นที่พักของสมาชิกตระกูลหรูโลกควบคู่กันไป

ส่วนอดีตนายกสมาคมฯ กำพล เตชะหรูวิจิตร ก็รับภาระการดูแลที่พัทยา โดยใช้ โรงแรมเอเชีย พัทยา เป็นฐานหลักในการต้อนรับมวลสมาชิก ในโอกาสที่ไปดูงานและท่องเที่ยวหลังการประชุมใหญ่

ดูจากนามสกุล วีรบวรพงศ์ ของประธานสมาคมตระกูลหรูประเทศไทย คนปัจจุบันแล้ว ท่านผู้อ่านก็คงจะคาดเดาไม่ถูกว่า คุณวรวิทย์นั้นเป็นคนแซ่หรูกับเขาด้วย เพราะไม่มีคำว่า “หรู” หรือ “ลู” หรือ “ลิ” อยู่ในนามสกุลเลย

ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก เพราะลูกหลานตระกูลนี้ในเมืองไทยจำนวนไม่น้อย ที่ก่อตั้งนามสกุลใหม่ที่มิได้ระบุบ่งเค้าเดิมไว้

อาทิ ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ หรือ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ก็ไม่มีคำว่า “หรู” หรือ “ลู” ปรากฏอยู่

แต่ท่านที่เอ่ยถึงเหล่านี้ก็ยึดมั่นในตระกูลเดิมของท่าน และจะไปมาหาสู่หรือเยี่ยมเยียนผู้คนในตระกูลเดียวกัน ตั้งแต่ยังมิได้มีการจัดตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการด้วยซ้ำ

รวมทั้งนักการเมืองที่โด่งดังอีกท่านหนึ่งของประเทศไทย ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลนี้ แต่เมื่อมองจากนามสกุลคงไม่สามารถระบุ หรือคาดเดาได้เช่นกัน

คุณ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นั่นเอง

บรรพบุรุษของท่านอยู่ในตระกูลนี้ แต่ออกเสียงว่า “ลิ” ตามสำเนียงของชาวฮกเกี้ยน

ดังนั้น เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ชาวตระกูลหรูทั่วโลกที่มาประชุม คณะกรรมการจึงได้เชื้อเชิญคุณชวนในฐานะญาติพี่น้องคนหนึ่งของตระกูล ไปเป็นประธานในพิธีเปิดประชุม


http://thairath.co.th/news.php?section=specialsunday12&content=90128


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-05-2008, 10:57 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
หน้า: [1]
    กระโดดไป: