ลุงแคน
ผมไปเจอบทความของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของภาค xx
เขาบอกว่า
พรรคของเขาเลยน๊า....
มิน่าล่ะ 5555
เอาไปเถอะ ไม่มีใครอยากได้หรอก
"พรรคของเราคนของเรา" ...ประชาชนได้อะไร !?
หลังพรรคประชาธิปัติย์มีการอนุมัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นลงในนามพรรคทั้ง ในส่วนของเทศ บาลและ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 8 แห่งในภาคใต้ ได้แก่ นายอำนวย บัวเขียว อบจ. ชุมพร,นายนภา นาทีทอง อบจ.ระนอง,นายธานี เทือกสุบรรณ อบจ.สุราษฎร์ธานี,นางอั
ญชลี วานิช เทพบุตร อบจ.ภูเก็ต,นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อบจ.พัทลุง,นายธานินทร์ ใจสมุทร อบจ.สตูล,นายดาวุด ซา อบจ.ยะลาและนายไพร พัฒโน เทศบาลนครหาดใหญ่
เริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและมีประเด็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นว่า การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นลงในนามพรรคของพรรคประชาธิปัตย์นั้น
ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองหรือไม่ และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพรรคประชาชนได้อะไร เมื่อพรรคประชาธิปั
ตย์คือพรรคของคนใต้
หลังพรรคประชาธิปัตย์อนุมัติให้นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัยลงสมัครนายกอบจ.จังหวัดพัทลุงก็เกิดกระแสข่าวว่าบรรดาสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงและว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต่างย้ายทีมมาเข้ากับนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อีกทั้งความแน่ชัดที่นายสานันท์
สุพรรณ ชนะบุรี นายกอบจ.พัทลุงคนปัจจุบันเริ่มไม่ชัดเจนว่าจะลงสมัครอีกหรือไม่ ทั้งที่เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนก็จะหมดวาระลง
ย้อนกลับไปดูการเลือกตั้งอบจ.พัทลุงครั้งที่แล้วที่นายสานันท์ ได้รับการสนับสนุนจากนายนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่นายสุพัฒน์
สนับสนุนนายบันเทิง วรศรี ลงนายกอบจ. มาครั้งนี้นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ยอมสละเก้าอี้ ส.ส.ส่งลูกสาวลงส.ส.แทน ตนหันมาลงสนามการ เมืองท้องถิ่นอย่างอบจ.ทำให้นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.ในมุ้งเดียวกันต้องถอยออกมา นายสานันท์ ขณะนี้จึงดูเหมือนไร้คนสนับสนุน ในสนามการเมืองภาคใต้ที่ยังขายความเป็นประชาธิปัตย์
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ว่าที่ผู้สมัคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงและอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคมีมติอนุมัติให้ตนลงสมั
ครนายกอบจ.ในนาม พรรคแล้ว ด้านความแน่ชัดว่าใครบ้างที่จะมา เป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่มีใครเปิด ตัวชัดเจน ด้านนายสานันท์ นายกอบจ.คนปัจจุบันจะลงสมัครหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าสมาชิกสภาองค์ การบริหารส่วนจังหวัด ต่างย้ายทีมมาอยู่กับ ตนขณะนี้ส.จ.เก่าจำนวน 26 คนมาอยู่กับตน ทั้ง นี้ส.จ.ทั้งหมดล้วนเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้นและแจ้งความประสงค์ที่จะลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น ส.จ.ทั้งหมดคือคนของพรรคประชาธิปัตย์และตนก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์
ด้านความได้เปรียบเสียเปรียบที่ตนลงในนามพรรคประชาธิปัตย์นายสุพัฒน์ กล่าวว่า มีทั้งความได้เปรียบและเสียเปรียบ ที่ผ่านมาทั้ง การเมืองท้องถิ่นและ
การเมืองระดับชาติเข้ากัน ไม่ได้ทำให้มีปัญหาเรื่องการพัฒนาจังหวัด เวลาส.ส.คิดอย่างไรท้องถิ่นไม่ได้คิดตาม ถึงเวลาแล้วที่พรรคประชาธิปั
ตย์ต้องเป็นพรรคแรกที่ทำให้การเมืองท้องถิ่นและการเมืองระดับชาติไปด้วยกันได้ ในวันนี้ถึงพรรคไม่ได้เป็นรัฐบาลแต่นโยบายของพรรคก็สามารถนำมาใช้ได้
ในจังหวัดพัทลุงที่ผ่านมาการเมืองท้อง ถิ่นกับการเมืองระดับชาติไม่เอื้อต่อกันทำให้มี ปัญหาในการพัฒนาพัทลุงเพราะฉะนั้นหากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจั
บมือกันเป็นเครือข่ายร่วมกันพัฒนากับการเมืองระดับชาติ หากการพัฒนาไปกันได้จะเป็นประโยชน์ ต่อบ้านเมืองและประชาชนได้ประโยชน์
ส่วนความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้ง นี้ตนมีความพร้อมมานานแล้ว ตนรอที่จะลง สมัคร นายกอบจ.มานานแล้วตามที่พรรคต้องการให้ตนลงส่วนคู่แข่งนั้น ยั
งไม่มีการเปิดตัวแต่อย่างใดนายสุพัฒน์กล่าวและว่า
ด้านนายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พัทลุง กล่าวว่า ขณะนี้ตนยังไม่มีการเปิดตัวว่าจะลง สมัครอีกครั้ง หรือไม่ต้องรอหลังหมดวาระ
ส่วนเรื่องส.จ.ที่ไปอยู่กับนายสุพัฒน์นั้นตนไม่ทราบและไม่ขอให้ความคิดเห็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งคนลงในนามพรรค
ด้านสนามการเลือกตั้งอบจ.สตูลซึ่งขณะนี้มีความแน่ชัดแล้วว่าจะมีผู้สมัครลงชิง นายกอบจ. 3คน คือนายธานินทร์ ใจสมุทร อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลงสมั
ครในนามพรรคประชาธิปัตย์ นายปัจจุบัน อังโชติ พันธ์ อดีตนายกอบจ.และนายวิทูร หลังจิ นายกอบจ.สตูลคนปัจจุบัน
นายธานินทร์ ใจสมุทร อดีตส.ส. พรรคประชาธิปัตย์และว่าที่ผู้สมัครนายกอบจ.สตูลในนามพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การเลือกตั้งอบจ.ครั้งนี้พรรคมีมติให้ตนลงใน นามพรรคประชาธิปัตย์ คนสตูลส่วนใหญ่ให้ การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว นี้เป็นครั้งแรกที่พรรคส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นในนามพรรค ด้านความได้เปรียบเสียเปรียบนั้นขณะนี้ยังมองไม่ออก ตนเป็นทีมเดียวที่ส.จ.ในการลงสมัครครั้งนี้เป็นทีมนอกนั้นลงนายกอบจ.คนเดียวทั้งสิ้น และตน มีความพร้อมเต็มที่สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนการลงในนามพรรคหรือไม่ลงในนามพรรคนั้น ตนมองว่ามีความแตกต่างกันมาก การที่พรรคสนับสนุนมีข้อดีที่ว่า เหมือนมีคนรับรองในเรื่องตัวผู้สมัคร ในความโปร่งใสในการทำงาน เหมือนมีพี่เลี้ยงทั้งในการตรวจสอบการทำงาน การจะทำอะไรต้อง คำนึงถึงพรรคด้วยเพราะเราเป็นคนของพรรคนายธานินทร์ กล่าว ด้านนายปัจจุบัน อังโชติพันธ์ อดีตนายกอบจ.กล่าวว่า ตนไม่ได้ให้ความสนใจว่าใครจะลงสมัครครั้งนี้ในนามอะไร ตนมอง ว่าเป็นผู้สมัครคนหนึ่งที่เข้ามาในสนามการเลือกตั้งอบจ.ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่น ด้านความได้เปรียบเสียเปรียบนั้นขึ้นอยู่กับพี่น้อง ประชาชนที่ต้องรับรู้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น การเลือกตั้งอะไร แบบไหน เป็นการเมืองใหญ่ หรือการเมืองท้องถิ่นประชาชนจะตัดสินใจเอง ความได้เปรียบเสียเปรียบอยู่ที่ว่าใครจะมีกลยุทธ์การหาเสียงแบบไหน ความพร้อมที่จะเข้ามารับใช้พี่น้องประชาชนต่างหากที่เป็นความได้เปรียบ และหากพูดถึงความพร้อมตนเป็นคนแรกที่ขึ้นป้ายหาเสียงเป็นคนแรกในจังหวัดสตูล ตนมีความพร้อมที่จะเข้ามารับใช้พี่น้องประชาชนจริงๆ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกั
บพรรคหนึ่งพรรคใด
การแข่งขันครั้งนี้ตนไม่ได้กังวลว่าใครเข้ามาเป็นคู่แข่งหรือใช้ยี่ห้ออะไรมาลงแข่ง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพร้อม ด้านความมั่นใจตนมีความมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนจะ
ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนว่าต้องการคนแบบไหน คนที่เป็นนักการเมืองมา หลายสมัยแต่เคยทำอะไรเพื่อชาวบ้านบ้างประชาชนรู้ดีว่าใครเป็นอย่างไร
เป็นใครมาจากไหน จะมาหลอกลวงประชาชนอีกไม่ได้ ประชาชนน่าแยกแยะได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้ง แบบไหนและเลือกคนเข้าไปทำอะไร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตนดูแลพี่น้องประชาชนมาตลอดเพราะฉะนั้น ฐานเสียงจึงมีอยู่ในทุกๆ กลุ่ม ตนสามารถยืนอยู่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งการทำมาหากินทางการเมืองพร้อมที่จะทำงานรับใช้พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง
ด้านนายวิทูร หลังจิ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นเรื่อง ความได้เปรียบเสียเปรียบทาง การเมืองที่ใครลงในนามพรรคหนึ่งพรรคใด ตนมองการแข่งขันการเลือกตั้งอบจ.ครั้งนี้เหมือนครั้ง ที่ผ่านมา และมีความพร้อมที่จะรับใช้พี่น้องประชาชนมากกว่าครั้ง
ที่ผ่านมาเนื่องจากตนบริหารงานมาแล้วถึง 4 ปี
ด้านนายประสงค์ สุวรรณวงศ์ หรือปลัดอ๋อย หนึ่งในผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกเทศ มนตรีนครหาดใหญ่กับนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ที่ลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่พรรคลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่แต่ละคนจะมีผู้ให้การสนับสนุน ให้การช่วยเหลือ ตนไม่ขอให้ความคิดเห็นอะไรมากกว่านี้ อ.จรูญ หยูทอง นักวิจัยสถาบันทักษิณคดีศึกษาและนักวิชาการท้องถิ่น ให้ความเห็นเกี่ยวกับการที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นลงในนามพรรค ว่า ตนคิดว่าการ ลงสมัครในนามพรรคนั้นเป็นความประสงค์ของผู้สมัครที่ต้องการลงในนามพรรคเพราะในพื้นที่ภาคใต้การลงในนามพรรคประชาธิปัตย์นั้นทำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกของนักการเมืองท้องถิ่น ในภาคใต้ที่ต้องการให้ประชาชนรับรู้ว่าตนเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์แต่ประชาชนจะได้ประโยชน์หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากคนที่พรรคส่งลงในนามพรรคเป็นคนดีก็ดีไปแต่ถ้าคนที่พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนไม่ดีตามที่คาดหวังก็จะทำ ให้ประชาชนเสียประโยชน์ เพราะในพื้นที่ภาคใต้
ตรรกะของการเลือกคือเลือกเพราะเป็นประชาธิปัตย์ไม่ได้เลือกคนที่คุณภาพ การที่พรรคจะสนับสนุนใครลงในนามพรรคนั้นควรดูที่คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจาก ความเป็นสมาชิกพรรค แต่ส่วนใหญ่ในภาคใต้นักการเมืองท้องถิ่นล้วนเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้นการจะได้ลงในนามพรรคหรือไม่ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับผู้บริหารพรรคเป็นสำคัญ การตัดสินใจเลือกของประชาชนส่วนใหญ่จึงดูว่าใครเป็น ประ ชาธิปัตย์มากกว่ากัน ใครเป็นคนของใครไม่ใช ่เรื่องเสียหายแต่การสนับสนุนใครควรดูที่คุณภาพของคนด้วย ถึงแม้เป็นคนของประชาธิ ปัตย์แต่ไม่มีศักยภาพก็ไม่น่าจะเป็นคนชี้ขาด ไม่ควรตัดโอกาสคนที่มีคุณภาพแต่ไม่มีโอกาสสังกัดพรรค ที่สำคัญคือประชาชนจะได้ประโยชน์จากการเมืองที่แท้จริง
ด้านความได้เปรียบเสียเปรียบทาง การเมืองการลงในนามพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะภาคใต้ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแน่นอน ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ว่าในอดีตใครสังกัดพรรคฝ่ายรัฐบาลจะได้เปรียบแต่ในภาคใต้ใครสังกัดพรรคฝ่ายค้านกลับได้เปรียบ ประชาชนควรพิจารณาคุณสมบัติอย่างอื่นด้วยประชาชนผู้เลือกควรเป็นผู้ตัดสิน กลายเป็นค่านิยมที่นักการเมืองท้องถิ่นในภาคใต้ต้องสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเพราะหาเสียงได้ง่าย โอกาสชนะมีสูง ไม่ต้องทำอะไรมากก็ได้รับการเลือกจากพี่น้องประชาชน เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีดุลพินิจที่กว้างขึ้น ไม่ผูกติดอยู่กับพรรคหรือมติพรรค ยิ่งใน ปัจจุบันที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านด้วยแล้วไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่าการลงในนามพรรคประชาธิปัตย์แล้วประชาชนจะได้ประโยชน์ ต้องถามประชาชนว่าคาดหวังอะไรจากการเมืองบ้าง ที่เราเลือกผู้แทนทุกวันนี้เราเลือกเป็นประเพณีนิยม เรื่องตามกันมาหรือไม่ ตนไม่ออกว่านโยบายของนักการเมืองท้องถิ่นที่จะนำมาแก้ไข พัฒนาท้องถิ่นของตน มีอะไรบ้างนอกจากการวิ่งเต้นเพื่อสังกัดพรรคใดพรรคหนึ่งภาคใต้กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้นำเอาการเมืองมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่แต่เป็นการนำการเมืองมาประดับ การเมืองต้องกินได้ ต้องแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนได้ การลงในนามพรรค การสังกัดพรรคเป็นเกมส์การเมือง เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นผู้ตั
ดสิน
ในความคิดเห็นส่วนตัวตนมองว่านัก การเมืองท้องถิ่น ไม่ควรสังกัดพรรค เพราะพรรคสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบให้เกิดขึ้น และการสังกัดพรรคหรือลงในนามพรรคนั้นตนมองว่าควรจะสังกัดพรรครัฐบาลมากกว่า เพื่อสามารถดึงงบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นได้ง่ายกว่า ถ้านักการเมืองสังกัดพรรคจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการพัฒนาเนื่องจากในพรรคเดียวกันก็มีการแบ่งขั้วกันเอง เกิดการแข่งขันเพื่อเอาชนะกันถามว่าประชาชนได้อะไร การพัฒนาในบางพื้นที่เกิดเงื่อนไข ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากนั้นก่อให้เกิดความแตก แยกในหมู่ประชาชน
ด้านดร.บูฆอรี ยีหมะ ประธานกรรม การสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยา ลัยราชภัฎสงขลา กล่าวว่า การส่งนักการเมืองท้องถิ่นลงสมัครในนามพรรคการเมือง เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว เพียงแต่ในช่วงที่ผ่านมาอาจยังไม่มีความชัดเจน เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ผ่านมาส.ส.หรือนักการเมืองระดับชาติบางคนก็มีการสนับสนุนนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็มีการสนับสนุนกันคนละคนและล้วนแต่เป็นประชาธิปัตย์ด้วยกันทั้งหมด ที่ผ่านมาการเมืองระดับชาติให้การสนับสนุนการเมืองท้องถิ่นในลักษณะเป็น การส่วนตัวมากกว่า คือเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนในพรรค
ความพยายามจะส่งคนลงในนามพรรค ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากส.ส.ในพรรคเองก็จะมีนักการเมืองท้องถิ่นในเครือข่ายที่แตกต่างกันก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเอง และจะเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดที่พรรคส่งคนลง ในนามพรรคนั้น เป็นพื้นที่ที่พรรคเห็นแล้วว่า การส่งใครคนใดคนหนึ่งลงในนามพรรคนั้น จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือมีสมัครที่ลงแข่งมีตัว แทนของพรรคเพียงคนเดียว
การที่การเมืองระดับชาติเข้ามาสนับ สนุนการเมืองท้องถิ่นย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบ ในกรณีของภาคใต้ใครลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ย่อมได้เปรียบ คือ
ความเป็นพรรคทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในความพร้องและทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับการ เมืองระดับชาติทำให้สะดวกในการประสาน ประโยชน์ด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาท้องถิ่นได้ นอกจากนั้นยังได้เปรียบใน การหาเสียงเลือกตั้ง โดยการนำแกนนำพรรค มาช่วยเหลือในการหาเสียง
การส่งคนลงในนามพรรคมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดี คือ ทำให้การเมืองท้องถิ่นเชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติในแง่ของแนว ทางในการพัฒนาหากพรรคนั้นเป็นพรรครัฐบาล หากเป็นคนละพรรคหรือพรรคที่นักการเมืองสังกัดเป็นพรรคฝ่ายค้าน ย่อมมีผลต่อแนวทางในการพัฒนาได้เช่นกันซึ่งอาจ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้อง ถิ่นได้ เราจะให้การเมืองท้องถิ่นปลอดจากการเมืองระดับชาติดีหรือไม่และในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร
สุดท้ายแล้วการเมืองระดับชาติย่อมเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่นเพียงแต่ไม่ประกาศตัวว่าเป็นคนของพรรคชัดเจนแต่ในทางปฏิบัตินั้นใช่ จะเห็นว่านักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ในภาคใต้มีความสัมพันธ์อันดีกับนักการเมืองระดับชาติทั้งสิ้น ใครที่ไม่อยู่ในเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์โอกาสการประสบความสำเร็จก็ยาก คนในสังคมควรร่วมกันอภิปรายว่านักการเมืองท้องถิ่นควรจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่
ด้านนายชาลี นพวงศ์ ณ อยุธยาผู้อำนวยการ สถานีวิทยุชุมชน เอฟ.เอ็ม 97 เมก กะเฮิร์ซ กล่าวว่า การส่งคนลงในนามพรรค ของพรรคประชาธิปัตย์จะมีผลมาถึงการบริหารท้องถิ่น หากท้องถิ่นเป็นคนของพรรค ทั้งหมดประชาชนต้องมองว่าถ้าส.ส.ทำงานดีก็จะมีผลมาถึงท้องถิ่นด้วยแต่หากส.ส.มีผลงานที่ไม่ดีย่อมมีผลต่อตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
แน่นอนว่าในพื้นที่ภาคใต้หากใครลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ย่อมได้เปรียบ ทุกวันนี้ที่ประชาชนเลือกประชาธิปัตย์ก็เลือกไปตามกระบวนการไม่ได้เลือกเพราะพิจาร ณาตัวบุคคลว่าดีหรือไม่เป็นการให้ความไว้วางใจกับพรรคเป็นที่ตั้งอยากฝากถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้พรรคนึกถึงประชาชนตามสโลแกนที่ว่าประชาชนต้องมาก่อน ต้องฟังเสียงประชา ชนว่า บุคคลที่จะลงสมัครนั้นประชาชนต้องการหรือไม่ การทีผู้บริหารท้องถิ่นหรือนัก การเมือง ท้องถิ่นต้องลงในนามพรรคนั้น ตนมองว่า ประการแรกนักการเมืองหรือผู้บริหารนั้นอาจ ไม่มั่นใจว่าผลงานที่ตนทำนั้นเป็นที่ประทับใจ ของประชาชนและเพื่อตอกย้ำชัยชนะให้กับ ตนเองโดยไม่ต้องมีคู่แข่งและนอกจากนั้น เป็นการเอาเปรียบคนอื่นมากเกินไปหรือไม่เพราะคนในพรรคเองไม่ได้มีเพียงคนเดียวที่ลงสมัคร พรรคเลือกจะสนับสนุนเป็นบางคน การที่นักการเมืองท้องถิ่นลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ประชาชนไม่ได้อะไร เพราะการเมืองท้องถิ่นไม่ได้เกี่ยวข้องนโยบายระดับชาติ คนที่ลงในนามพรรคอาศัยพรรคเพื่อให้เกิดความมั่นใจในชัยชนะแต่ประชาชนไม่ได้อะไรเลย
นอกจากประชาชนไม่ได้อะไรแล้วประชาชนยังเสียโอกาส ที่จะเลือกผู้บริหาร พรรคควรมองประชาชนมาก่อน ในกรณีของจ.พัทลุงมีความชัดเจนที่สะท้อนให้เห็นว่า
พรรคเห็นแก่พวกมากกว่าประชาชน
http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=10185)&PHPSESSID=e9964e23e646d402dec26d316ad98666หลับหูหลับตากา สส เป็นเอาหนักกว่าอีสานอีกนะเนี่ย