เพิ่งเห็นข่าวมีการรวมกลุ่มกันของนักศึกษา 20 สถาบันครับ มีโครงการ "ผู้ตรวจการการเมืองไทย"
ติดตามการบริหารของ 20 กระทรวง และติดตามฝ่ายค้านอีกด้วย
มีการตั้งเว็บของกลุ่มอยู่ที่นี่นะครับ..
http://www.thaishareblog.com/จากที่เห็นให้สัมภาษณ์ก็ยังไม่เฉียบคมเด่นชัดมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวของเยาวชน
ที่ให้ความสนใจกับการเมืองไทยกลุ่มหนึ่ง ถือว่าเป็นการสร้างบรรยากาศให้เกิดความสนใจการเมือง
ในหมู่นักศึกษา
ถ้าท่านใดมีคำแนะนำอะไรให้กับเด็กๆ กลุ่มนี้ ก็เชิญได้นะครับ เขามีอีเมล์ของกลุ่มอยู่ที่
sai_jai_thai@hotmail.comอ่านข้อมูลดูก็เห็นกลุ่มนี้ลงหนังสือพิมพ์ และออกทีวีหลายรายการแล้วครับ เอาจริงพอสมควร 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำแถลงการณ์ของกลุ่มเขียนโดย Mr.Tempura
เสาร์, 23 กุมภาพันธ์ 2008
ใบแถลงการณ์พลังนักศึกษาผู้ตรวจการการเมืองไทยเนื่องจากเหตุการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในบ้านเมืองของเรา โดยเฉพาะเรื่องของ
การเมืองการปกครองของประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนอำนาจ ความสับสน ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
จนกระทั่งในที่สุด การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา บัดนี้ประเทศไทยกลับเข้าสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ตามระบอบ
ประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี2550 ซึ่งเป็นรัฐบาลผสมของพรรคการเมือง 6 พรรค ภายใต้การนำของ นายกสมัคร สุนทรเวช
แต่เนื่องด้วยประวัติศาสตร์การเมืองทุกยุคทุกสมัย เรามักจะได้รับรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาลอยู่เสมอ
เช่น ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น การผูกขาดอำนาจของรัฐ(เผด็จการ) การขาดคุณธรรมจริยธรรม การบริหารงานที่ผิดพลาด
การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่วงยุคของรัฐบาลของ พลตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จนเป็นเหตุทำให้
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ใช้เหตุผลดังตัวอย่างที่กล่าวอ้างในข้างต้นเป็นข้ออ้างในการทำการปฏิวัติรัฐประหาร จนเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 ทำให้ได้รัฐธรรมนูญปีพุทธศักราช 2550 ขึ้นมา
เป็นฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน
โดยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2550 ประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองให้เป็นการเมืองของ
ภาคประชาชน โดยการเพิ่มสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองทุกระดับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้
ถือว่า ประชาชน คือ หัวใจของการเมือง โดยเฉพาะการทำให้สิทธิ เสรีภาพเป็นจริงในทางปฏิบัติ เช่น เสรีภาพในการรวมตัว
และแสดงบทบาทผ่านองค์กรภาคประชาชน การกำหนดให้องค์กรประชาชนมีบทบาทมากขึ้นในระบบการเมือง ลดการผูกขาด
อำนาจรัฐ สร้างเสริมอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเป็น “ผู้เล่น” มิใช่ “ผู้ดู” ทางการเมืองอีกต่อไป
อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชน ประชาชนและองค์กรเอกชนต่างๆ
ในทางการเมือง
ทางกลุ่มเรานักศึกษาใส่ใจไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการปกครองบริหารประเทศ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ไม่อยากเห็นบ้านเมืองเข้าสู่ความวุ่นวายเหมือนในอดีต และอยากมีส่วนร่วม
ในการปกครองประเทศมากขึ้น โดยทางกลุ่มฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายเพื่อนนักศึกษาจำนวน 20 มหาวิทยาลัยทั่วกรุงเทพฯ ได้รวมตัวกันขึ้น
เพื่อทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงกลุ่มนิสิตนักศึกษา ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์และสิทธิพื้นฐานทุกด้าน
การบริหารงานของรัฐบาลเกิดความโปร่งใส ยุติธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและนักการเมืองมีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยสันติวิธี ปัญญาชนและยึดหลัก
ของประชาธิปไตยและยังดำเนินการเรียกร้อง แถลงการณ์ แสดงเจตจำนง จุดยืนของภาคประชาชน แก่ภาคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
http://www.thaishareblog.com