ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 08:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ใครได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัสมั่ง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ใครได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัสมั่ง  (อ่าน 4090 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 25-02-2008, 06:22 »

บทความ : หยุดปลูกยูคาฯ...หยุดเข่นฆ่าประชาชน คลิกที่นี่

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ

ปัญหาที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมนี้คือ การขาดแคลนวัตถุดิบ (เนื้อไม้) และปัญหาปริมาณการ
ใช้น้ำในกระบวนการผลิต ผู้ประกอบการได้พยายามแก้ปัญหาขาดแคลนไม้โดยการส่งเสริมให้
เกษตรกรรายย่อยปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
ได้มากนัก ผู้วิจัยได้พยายามค้นหาว่าเหตุใดเกษตรกรรายย่อยจึงมิได้เปลี่ยนจากการปลูกพืชชนิด
อื่นมาเป็นยูคาลิปตัส การคำนวณหาผลตอบแทนของการปลูกยูคาลิปตัสเปรียบเทียบกับการปลูกมัน
สำปะหลัง พบว่าการปลูกยูคาลิปตัสให้ผลตอบแทนต่ำกว่าการปลูกมันสำปะหลังในกรณีเกษตรกร
รายย่อยภาคอีสาน แต่การปลูกยูคาลิปตัสให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกมันสำปะหลังในกรณีการ
ปลูกโดยบริษัทขนาดใหญ่ นี่คือเหตุผลที่บริษัทผู้ผลิตเยื่อกระดาษต้องการได้พื้นที่สัมปทานขนาด
ใหญ่เพื่อปลูกไม้ยูคาลิปตัส แต่รัฐอาจไม่สามารถตอบสนองได้เพราะการปลูกไม้ยูคาลิปตัส เป็น
ปัญหาโต้แย้งทางการเมือง นอกจากนั้นอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต้องใช้น้ำปริมาณมาก (การผลิต
เยื่อกระดาษประเภทกึ่งเคมี 1 ตัน ต้องใช้น้ำประมาณ 40-60 ลูกบาศก์เมตร) อีกทั้งยังมีปัญหาน้ำเสีย
จำนวนมาก จนทำให้เกิดแรงต่อต้านทางการเมืองเป็นประจำ
ที่มา: tdri


ใครเป็นเถ้าแก่บริษัทเยื่อกระดาษในประเทศไทยบ้าง

ก่อนยุคเศรษฐกิจพอเพียง

การขยายตัวของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษดังกล่าว สง่ผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของ
ไทยมีกำลังการผลิตเยื่อกระดาษใยสั้นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันไทยมีกำลังการผลิตเยื่อกระดาษใย
สั้นเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็น อันดับ 5 ในเอเชีย รองจากจีน ญี่ปุ่น อินโดนเซีย
และอินเดีย โดยไทยมีกำลังการผลิตปีละประมาณ 1 ล้านตัน จากการผลิตของผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรมจำนวน 5 ราย1/ ประกอบด้วย

บมจ.แอ๊ดวานซ์ อะโกร มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุด ร้อยละ 44.9 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นฟอกขาว
จากยูคาลิปตัส(Bleached Eucalyptus Kraft Pulp) ในโรงเยื่อกระดาษ 2 โรง รวมทั้งสิ้น 430,000 ตัน
ต่อปี ตามมาด้วย

บมจ.ฟินิคซ์พัลพแอนด์เพเพอร์มีส่วนแบ่งการผลิต ร้อยละ 23.0 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นจากไม้ยู
คาลิปตัส (Bleached Eucalyptus Kraft Pulp) จำนวน 195,000 ตันต่อปี เยื่อใยสั้นจากไม้ไผ่ (Bleached
Bamboo Pulp) จำนวน 20,000 ตันต่อปี และ เยื่อใยสั้นจากปอ(Bleached Kenaf Pulp) จำนวน 5,000
ตันต่อปี

บมจ.เยื่อกระดาษสยาม มีส่วนแบ่งการผลิตร้อยละ 13.1 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นฟอกขาวจากยูคา
ลิปตัส ประเภท CTMP Pulp จำนวน 78,000 ตันต่อปี และ เยื่อกระดาษจากชานอ้อย(Bagasse Pulp)
จำนวน 48,000 ตัน ต่อปี

บมจ.ปัญจพลพัลพอินดัสตรีมีส่วนแบ่งการผลิตร้อยละ 11.5 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นจากไม้ยูคาลิป
ตัส ประเภท Unbleached Kraft Pulp จำนวน 110,000 ตันต่อปี

บมจ.สยามเซลลูโลส มีส่วนแบ่ง การผลิตร้อยละ 7.5 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นจากยูคาลิปตัส
(Bleached Eucalyptus Pulp) จำนวน 72,000 ตันต่อปี

ที่มา: ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
http://www.krungsri.com/pdf/research/03_in...aper/Paper3.pdf

ระหว่างยุคเศรษฐกิจพอเพียง

เยื่อกระดาษสยาม (SPP) ในเครือปูนใหญ่ (SCC) สยายปีกลงทุนข้ามชาติอีกครั้ง อัด 220 ล้านบาทซื้อ
หุ้น UPPC บริษัทผู้ผลิตกระดาษคราฟท์รายใหญ่ในฟิลิปปินส์ ที่เจอพิษวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียตั้งแต่ปี
2540 อีก 43% ส่งผลเครือปูนใหญ่เทกฯเบ็ดเสร็จ 86% เพิ่มสินทรัพย์กลุ่มปูนใหญ่เป็นกว่า 4 พันล้าน
บาท ก่อนทำเทนเดอร์ฯ ซื้อหุ้นจาก รายย่อยทั้งหมด โบรกเกอร์ชี้การเทกฯ โรงงานกระดาษครั้งนี้ ไม่
กระทบเครือปูนใหญ่ แม้จะรับภาระหนี้กว่า 3.6 พันล้านก็ตาม แต่ได้ส่วนแบ่งตลาดกระดาษคราฟท์มาก
ที่สุดในแดนตากาล็อกทันที 35% ตั้งเป้าเป็นผู้นำเอเชียอีก 10 ปีข้างหน้า

บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) (SPP) ในเครือ ซิเมนต์ไทย ประกาศแสวงหา โอกาสการเติบ
โตในต่างประเทศปีนี้ หลังประสบความสำเร็จลงทุน ซื้อหุ้นในบริษัทอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจ เดียวกันในไทย
อาทิ บมจ.ฟินิคซ์ พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ (PPPC) บมจ.ไทยเคนเปเปอร์ (TPC) จนครองส่วนแบ่งตลาด
กระดาษคราฟท์ เกิน 50% พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้ผลิตเยื่อกระดาษ ติดอันดับต้นในภูมิภาคเอเชียภายใน
10 ปีข้างหน้า

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7401

แนวโน้มอนาคต

เยื่อกระดาษปี 51 ตลาดในทรงตัว…ตลาดนอกเติบโตตามอุปสงค์จีน

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 16:01:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เยื่อกระดาษเป็นอุตสาหกรรมการผลิตพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ โดยการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้จะไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ จากการที่เยื่อกระดาษจะถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ขยายตัวใน
ทิศทางเดียวกันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมการพิมพ์ทุกชนิด และ
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยนั้น แม้การพัฒนาของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะขยายตัวเติบโตขึ้นทุกปี แต่ความต้อง
การใช้เยื่อกระดาษของไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 44 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ยังถือว่าน้อยมาก
เมื่อเทียบกับอัตราการบริโภคกระดาษในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่มีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่
241,206 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ตามลำดับ ทำให้อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษของไทยยังมีโอกาสที่จะเติบโต
ได้อีกมาก


ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษของไทยนั้น นอกจากจะผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ
บริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของการผลิตทั้งหมดแล้ว ส่วนที่เหลือยังสามารถส่งออก
ไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ โดยในช่วง 2–3 ปีมานี้ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง
จนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านบาทเศษเมื่อปีที่ผ่านมา


อืดสุดๆ เช่า host ต่างดาวอยู่หรือเปล่าเนี่ย
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #1 เมื่อ: 25-02-2008, 09:35 »

ยู้ฮู ยู้ฮู ร้างไปแล้วเรอะ บอร์ดนี้

เถ้าแก่โรงปูน คือ เถ้าแก่โรงปิโตร คือ เถ้าแก่โรงกระดาษ

เมื่อก่อนคนน้อยทำมาหากินแค่ปูนก็พอเพียง เดี๋ยวนี้คนเยอะชักไม่พอเพียง
ต้องเพิ่มกิจการปิโตร กิจการปิโตรเขาก็ว่าก้าวหน้าดี แต่ยังไม่พอเพียง คน
อยู่กันมากก็แย่งกันกินกันก้าวหน้าก็ไม่พอเพียง ต้องเพิ่มโรงกระดาษ วัตถุ
ดิบยังไม่พอเพียง ต้องส่งเสริมต้องให้คนปลูกยูคาลิปตัสกันมากๆ ถึงจะพอ
เพียง พอเพียงคือมีภูมิคุ้มกันอยู่ได้ด้วยตัวเอง
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25-02-2008, 10:59 »

บมจ.แอ๊ดวานซ์ อะโกร มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุด ร้อยละ 44.9 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นฟอกขาว
จากยูคาลิปตัส(Bleached Eucalyptus Kraft Pulp) ในโรงเยื่อกระดาษ 2 โรง รวมทั้งสิ้น 430,000 ตัน
ต่อปี

บมจ.เยื่อกระดาษสยาม มีส่วนแบ่งการผลิตร้อยละ 13.1 จากกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นฟอกขาวจากยูคา
ลิปตัส ประเภท CTMP Pulp จำนวน 78,000 ตันต่อปี และ เยื่อกระดาษจากชานอ้อย(Bagasse Pulp)
จำนวน 48,000 ตัน ต่อปี

ใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นผู้ถือหุ้น แอ๊ดว๊านซ์ อะโกร บอกได้ไหมแถ
430,000 ตัน มากกว่าเสี่ยโรงปูนที่แถชอบอ้างอีกหลายเท่านา
 
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #3 เมื่อ: 25-02-2008, 11:42 »

กระดาษสองเอ เจ้าของชื่อทักษิณ เอ๊ย โยธิน ดำเนินชาญวนิชย์
ปี 2548 ยอดขายรวม 21,119.06 ล้านบาท เทียบกับ 40,306 ล้านบาท
ของเยื่อกระดาษสยามแล้วยังห่างชั้น ข้อมูลนั่นมันเก่ามากแล้ว ตอนนี้
เยื่อกระดาษพอเพียงแห่งสยามเค้าขยายตัวแล้ว แถมเปลี่ยนชื่อให้โก
อินเตอร์เป็นเอสซีจีเปเปอร์อีกด้วย อย่าเอามาเทียบเลย

ให้.....ตอบ.....อีก.....คง.....คอย....ไม่....ไหว.....แล้ว.....จ้า
ช้า.....ชิบ.......หาย............ลา.......ก่อน.....เร็ว.....เมื่อ.....ไหร่
บอก..........ด้วย
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #4 เมื่อ: 25-02-2008, 12:40 »

ขึ้นต้นพอจะน่าเอ็นดู  Mr. Green

ยู้ฮู ยู้ฮู ร้างไปแล้วเรอะ บอร์ดนี้

ลงท้าย กวน teen เหมียนเดิม 

ให้.....ตอบ.....อีก.....คง.....คอย....ไม่....ไหว.....แล้ว.....จ้า
ช้า.....ชิบ.......หาย............ลา.......ก่อน.....เร็ว.....เมื่อ.....ไหร่
บอก..........ด้วย

ไม่ช้าขนาดน้านนนนนนนน

ก็ช้า เอ๊ย เร็ว พอทน
   Tongue out
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-02-2008, 15:36 »

*  ยูคาลิปตัส  ....  มีการนำเสนอให้สนับสนุนในการปลูกอีกครั้ง

    โดย   นาย  วุฒิพงศ์ ฉายแสง ....  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ส.ส.ฉะเชิงเทรา   พรรคพลังประชาชน  ( ปล้นชาติ  )

    แล้ว  หมัก  ก็รีบๆๆๆๆ ขานรับแบบหน้าชื่นตาบาน  (  หน้าบานอยู่แล้ว  ...  เลยดู  อืด  ขึ้นไปใหญ่ )

    แถม  หมัก  ยังบอกด้วยว่า   > ปลูก  ยูคา  มีแต่ประโยชน์ไม่มีโทษ  <     (  ปากไว  ไม่ใช้สมองคิดแบบเดิม ๆ )

    ชอบแถ .. ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องกระดาษแล้วโยงไปถึง ปูนซิเมนต์  เพื่อกระทบชิ่งไปที่ .....  ( แบบที่ชอบทำบ่อย ๆ หรอก  )

    มาว่าเรื่อง  ยูคา  ดีกว่า  .....  ว่าปลูกแล้วให้ผลดี หรือ เสีย  มากกว่ากัน

    ในแง่ดีของการปลูก  ยูคาลิปตัส  คือ ........


         1. การทำไม้ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ทำรั้ว ทำคอกปศุสัตว์ ทำเสา หรือใช้ในการก่อสร้างต่างๆ
       
         2. การทำฟืน เผาถ่าน โดยถ่านไม้ยูคาลิปตัสใช้เป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ดีและมีขี้เถ้าน้อย
             ไม้ฟืนยูคาให้พลังงานความร้อน 4,800 แคลอรีต่อกรัม ส่วนถ่านไม้ยูคาให้พลังงานความร้อน 7,400 แคลอรีต่อกรัม
             จัดว่าให้ความร้อนใกล้เคียงกับถ่านไม้โกงกาง ซึ่งเป็นถ่านไม้ที่ดีที่สุด
       
        3.  การทำชิ้นไม้สับ ไม้ยูคาลิปตัสเมื่อแปรรูปและสับทำชิ้นไม้สับ สามารถนำไปผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด
             แผ่นใยไม้อัด แผ่นปาร์ติเกิล และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ที่มีมูลค่าสูง
       
        4.  การทำเยื่อไม้ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถแปรรูปทำเยื่อไม้ยูคาที่ประกอบด้วยเซลลูโลส  นำไปใช้
             ทำเส้นใยเรยอนและทำผ้าแทนเส้นใยฝ้าย และปุยนุ่น
       
        5.  การทำกระดาษ เยื่อไม้ยูคาลิปตัส 1 ตันสามารถผลิตเยื่อกระดาษได้ประมาณ 1  ตัน โดยเยื่อไม้ยูคา
             มีคุณสมบัติเด่น คือ มีความฟูสูง และมีความทึบแสง ประกอบกับไฟเบอร์มีความแข็งแรงเหมาะต่อการ
            ใช้ทำกระดาษพิมพ์เขียวประเภทต่าง ๆ


   มองผ่าน ๆ  เหมือนว่าดีใช่ป่าวหล่ะ  ......  แล้วมาดูข้อเสียของ  ยูคาลิปตัส   กันมั่ง   

        ยูคาลิปตัส   มีผลกระทบต่อระบบนิเวศที่สูงมาก โดยเฉพาะต่อดิน น้ำ สัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์ขนาดเล็ก
        เช่น มดแดง หรือแมลงต่างๆ จะถูกทำลายและไร้ที่อยู่อาศัย  รวมถึงผลกระทบที่เกิดต่อโครงสร้างของดิน
        โดยเฉพาะดินในเขตภาคอีสาน ซึ่งเป็นดินปนทราย  เมื่อผ่านการปลูกป่ายูคาลิปตัสไปประมาณ 4-5 ปี
        ดินบริเวณนั้นจะมีสภาพแห้งแล้งมาก   บริเวณป่ายูคาลิปตัสจะไม่มีพืชต่างๆ  สามารถเกิดขึ้นแซมได้เลย
        เพราะยูคาจะปล่อยสารเคมีที่มีพิษออกมายับยั้งการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง ดังนั้น เมื่อฝนตกลงมา
        จึงเกิดการชะล้างหน้าดินสูง  เท่ากับ
   “ ดินที่มีคุณภาพเลวที่สุดคือดินที่ปลูกยูคาแล้ว ”

        นอกจากนั้น ยูคาลิปตัสยังเป็นพืชโตเร็ว รากจึงดูดซับปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ ได้ดีมาก รากแผ่ขยายลงในดิน
        ได้ลึกมากถึง 15 ม.  ยากแก่การกำจัดทำลายหลังการปลูก ... พืชชนิดอื่นไม่สามารถจะแย่งแร่ธาตุสู้มันได้
        ผลกระทบของการปลูกยูคาเป็นพืชเชิงเดี่ยวในประเทศไทย  โดย  อารีรัตน์ กิตติศิริ  ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบท
        และเพื่อน (RRAFA)  กล่าวไว้ในรายงานว่า .... พื้นที่ปลูกยูคาของสวนป่าสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อปี 2528
        เคยมีพื้นที่ปลูกยูคาถึง 8,575 ไร่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
  " ผลร้ายต่อระบบนิเวศที่หลงเหลือจากการปลูกยูคา
        สร้างความเดือดร้อนมากมาย  ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับกลายเป็นดินที่มีเกลืออยู่มาก สีของดินเปลี่ยนเป็นสีขาว
        ผลผลิตข้าวในพื้นที่ใกล้เคียงลดลงกว่า 10 เท่า  และ   แหล่งน้ำบาดาลที่เคยมีถึง 5 บ่อ  กลับเหือดหาย
        เหลือเพียงบ่อเดียวจนเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง โดยน้ำบาดาลมีระดับลดลงถึง 10 -15 เมตร "


        http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000021870  <<  อ้างอิงมาจากนี่  !!

   เด๋วว่าง ๆ จะเอาข้อเสียมาแปะให้อีก  ....  โด่ เอ๊ยย  สงสัยนอกจาก  หมัก  จะนับเลขได้แค่  1  แล้ว

   ใครในฟากเดียว  พรรคเดียวกัน  พูดอะไรมา ....  มันคงหนับหนุนด้วยหมด  >>  ปากไว   อยู่แล้วนี่


     <<  ยูคา  มีประโยชน์สูงสุดกะเจ้านี่ต่างหาก  หมีโคอาล่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-02-2008, 15:38 โดย see - u » บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
Gu
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 68



« ตอบ #6 เมื่อ: 25-02-2008, 16:45 »

จำได้ว่าพ่อผมเคยบอกว่าปลูกยูคาลิปตัสไม่ดี เพราะรากต้นยูคาฝังลึกทำให้ดินเสียไม่สามารถทำไรได้อีก 
ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนด้วยครับ
บันทึกการเข้า

ชีวิตคือการเดินทางบางครั้งการเดินทางก้อแสนจะยาวนานเกินไปสำหรับชีวิตคนหนึ่งคน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 10-03-2008, 01:43 »

ผลผลิตทางการเกษตร จากการปลูกพืชมีหลักกลางๆ ว่า

ปลูกพืชที่เหมาะสม ในพื้นที่ที่เหมาะสม

บางพื้นที่ ใช้ประโยชน์อย่างอื่นยาก ฟื้นดินยาก ก็ใช้ยูคาน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม

ความต้องการเยื้อกระดาษมีทั่วโลก

การผลิตเยื่อกระดาษมีทั่วโลก ใช้ผลผลิตจากพืชทั้งนั้น

อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษต้องทำนโยบายแบบองค์รวม ควรมครอบคลุมทุกด้าน

นอกจากผลผลิตที่จะทำเยื่อกระดาษ หรือไม้ใช้สอยในการก่อสร้าง

ยังต้องลงไปดูเรื่องพืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทนด้วย
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: