ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 13:58
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตุลา 19 ต้องถามหาว่าใครฆ่าประชาชน: ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ตุลา 19 ต้องถามหาว่าใครฆ่าประชาชน: ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ?  (อ่าน 10325 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 23-02-2008, 23:01 »

6 ตุลา ประชาธิปัตย์ยืนดูตำรวจ-ทหารฆ่าประชาชน
http://webboard.mthai.com/58/2008-02-22/370649.html



ทนดูทนฟังมาหลายวันด้วยความสะอิดสะเอียนเหลือกำลังกับลีลาและอาการของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อกรณีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ที่น่าเศร้าเสียใจและอภัยให้ไม่ได้ กับความโหดร้ายของฆาตรกรในเครื่องแบบตำรวจและทหาร ที่เข่นฆ่าล้างผลาญชีวิตนักศึกษาและประชาชนผู้บริสุทธิ์ อย่างบ้าคลั่ง

นายสมัคร สุนทรเวช จะเห็นคนตายกี่ศพ ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับ ใครฆ่าประชาชน

ป่วยการที่จะมาไล่บี้ถามหาคาดคั้นกับคนเห็นเหตุการณ์ว่ามีคนตายกี่คนกันแน่ แต่ควรจะต้องไปไล่บี้ถามหาว่าใครฆ่าประชาชน ต่างหากเล่า

ที่สำคัญกว่าจำนวนคนตายว่ากี่ราย กี่ศพ และใครฆ่าประชาชน ก็คือ ทำไมรัฐบาล ผู้บริหารบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ป้องกัน ไม่สกัดกั้น ไม่ยับยั้งการฆ่าประชาชน

จากบันทึกของคนเดือนตุลา ใน เวปไซต์ www.2519.net ได้ลำดับเหตุการณ์ก่อนจะเกิดกรณี 6 ตุลาคม 2519 ว่าเค้าลางความเลวร้ายและรุนแรง สัญญาณแห่งหายนะ มีแนวโน้มให้เห็นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2519 ซึ่งมีการโฆษณาชวนเชื่อใส่ร้ายขบวนการนักศึกษาที่กำลังเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว อย่างหนักหน่วง

นับจากเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม เป็นเวลา 4 เดือนเต็ม ที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เสมือนเป็นการยั่วยุให้เกิดการปะทะของนักศึกษา กับกลุ่มมวลชนที่ได้รับการฟูมฟักจากทหารบางกลุ่ม และใช้สื่อวิทยุยานเกราะ และสื่อหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และ บางกอกโพสต์ โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า ขบวนการนักศึกษาเป็นผู้มีเจตนาร้ายต่อประเทศชาติ และพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเป็นผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่มีเป้าหมายโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์

หลายครั้งที่มีการเอ่ยอ้างถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มักจะมีตัวละครหลักอยู่เพียง 3 ตัว คือ นักศึกษา ตำรวจ-ทหาร และ สื่อ ไม่ทราบว่าเป็นความตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงรัฐบาลที่บริหารราชการแผ่นดินในห้วงเวลานั้น หรือเป็นเพราะไม่มีใครให้ค่า ให้ราคารัฐบาลในขณะนั้น ทั้งๆ ที่รัฐบาลเป็นผู้มีหน้าที่บริหารประเทศให้เกิดความสงบเรียบร้อย และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้ได้รับความปลอดภัย

เป็นไปได้อย่างไรที่รัฐบาลในขณะนั้น ปล่อยให้มีการใช้สื่อของรัฐและสื่อเอกชน ปลุกระดมมวลชน ให้เข้าใจผิดต่อขบวนการนักศึกษา ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นผู้มีแผนการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และ มีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริงสักเรื่องเดียว

อีกทั้งรัฐบาลยังดำเนินการจับกุมแกนนำนักศึกษา ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามที่สื่อตั้งข้อกล่าวหา ไปคุมขัง แต่ปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้องของนักศึกษาที่ให้ขับจอมพลถนอม กิตติขจร ในคราบของเณร ออกจากประเทศไทย โดยอ้างว่าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญของจอมพลถนอม ที่จะอยู่ในประเทศไทยได้ ทั้งๆ ที่จอมพลถนอม เป็นผู้ทำลายระบบประชาธิปไตย และทำลายรัฐธรรมนูญ มาก่อน ท่าทีและการดำเนินการของรัฐบาล จึงเท่ากับเป็นการจงใจยั่วยุให้ขบวนการนักศึกษาลุกฮือขึ้นมานั่นเอง

รัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และไม่สามารคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ ในขณะนั้น ก็คือ รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำ มีม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี หรือเรียกตามภาษาการเมืองทั่วไปว่า เป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หรือ รัฐ บาลหม่อมเสนีย์ นั่นเอง

จากลำดับเหตุการณ์กรณี 6 ตุลาคม 2519 ที่ปรากฎอยู่ในเวปไซต์ www.2519. net ระบุว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อย่างยิ่ง กล่าวคือ หลังจากที่ขบวนการนิสิตนักศึกษา ได้รับชัยชนะจากการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้สำเร็จ แม้จะมีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อของนักศึกษาและประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับผลตอบแทนที่ได้รับคือ การได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาสู่ประเทศไทย หลังจากที่ห่างหายไปนานกว่าสิบปี ที่อำนาจอธิปไตย ไม่ได้เป็นของปวงชนชาวไทย แต่ไปตกอยู่ในมือทรราชนับเนื่องจากจอมพล สฤษฎิ์ ธนะรัชต์ จนถึงจอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร

หลังจากที่พลังนักศึกษาและประชาชน ร่วมกันขับไล่ทรราชออกไปจากประเทศไทยได้แล้ว ขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้า ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มพลังที่สำคัญในการคานอำนาจ เป็นดุลอำนาจใหม่ของสังคมไทย ที่ทำให้กลุ่มอำนาจเดิมซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ ตำรวจ และทหาร ที่เคยได้ประโยชน์จากการที่มีอำนาจอยู่ในมือและทำอะไรได้ตามใจชอบ ต้องเสียประโยชน์ จากากรถูกขบวนการนักศึกษาตรวจสอบ และเปิดโปง

ความไม่พอใจและแผนการที่จะกำจัดขบวนการนักศึกษาก่อรูปก่อร่างขึ้นมา ในหมู่นาย ทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่พ่ายแพ้เสียอำนาจไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยการจัดตั้งมวลชน อาทิ ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ซึ่งเป็นนักเรียนอาชีวะ นัก เรียนช่างกล ขึ้นมาเป็นกลุ่มพลัง ก่อกวนบ้านเมือง หาเรื่องทำร้ายนักศึกษา สร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ตำรวจและทหารได้ออกมาแสดงบทบาท และปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการเติบโตของขบวนการนักศึกษา ไปถึงขั้นทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง

เหตุการณ์ นิสิตนักศึกษาและประชาชนนับแสนเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 จบลงด้วยชัยชนะเป็นของประชาชน หลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศ

แต่เพียง 3 ปี ชัยชนะของนักศึกษาและประชาชน เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ก็พลิกผันแปรเปลี่ยนเป็นความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับเมื่อถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยมีการใช้เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงไม่ให้จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศไทย ของขบวนการนักศึกษา มาเป็นเงื่อนไข และกล่าวหาบิดเบือนว่านักศึกษาไม่ได้ต้องการประชาธิปไตย ไม่ได้คัดค้านจอมพลถนอม แต่ มีเป้าหมายโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

วันที่ 29 สิงหาคม 2519 บุตรสาวจอมพลถนอม เข้าพบม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่บ้านพัก เพื่อเจรจาขอให้จอมพลถนอม กลับประเทศไทย เพื่อบวช

วันที่ 31 สิงหาคม 2519 คณะรัฐมนตรี มีมติไม่ให้จอมพลถนอม เดินทางกลับประเทศไทย

วันที่ 2 กันยายน 2519 แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ติดใบปลิวต่อต้านการเดินทางกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม โดยมีขบวนการนักศึกษาเข้าร่วม

วันที่ 3 กันยายน 2519 นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่ามีมือที่สามจะสวมรอยเอาการกลับมาของจอมพลถนอม เป็นเครื่องมือก่อเหตุร้าย

เป็นการปรากฎชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ครั้งแรกในบันทึกลำดับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในเวปไซต์ www.2519.net ในฐานะผู้กล่าวเตือนให้ระมัดระวัง “มือที่สาม” จะก่อเหตุร้าย มิใช่ในฐานะผู้ก่อเหตุร้าย ทั้งก่อด้วยตนเอง หรือสนับสนุน และเป็นการปรากฎชื่อของนายสมัคร สุนทรเวช เพียงครั้งเดียวในบันทึกลำดับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519


แม้รัฐบาลจะมีมติไม่เห็นด้วยกับการกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร แต่ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ในคราบของสามเณร ก็อาศัยผ้าเหลืองห่มตัว เดินทางจากสิงคโปร์ มาถึงวัดบวรนิเวศ เมื่อเวลา 10.00 น. โดยมีนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปรอต้อนรับ

พฤติการณ์ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่แตกต่างจากปากว่าตาขยิบ ทั้งๆ ที่มีมติคณะรัฐมนตรีว่าไม่ให้เข้าประเทศไทย แต่เมื่อจอมพลถนอม เดินทางมาถึง กลับมีทหารชั้นผู้ใหญ่ไปรอต้อนรับและให้ความคุ้มครอง อีกทั้งวิทยุยานเกราะของทหาร ยังโจมตีนักศึกษาที่ต่อต้านคัดค้าน ว่าเป็นผู้ทำลายศาสนา

โฆษกรัฐบาลแถลงว่าจอมพลถนอม เข้ามาบวชตามที่ได้ขอรัฐบาลไว้แล้ว และ น่าจะพิจารณาตัวเองได้หากเกิดความไม่สงบขึ้น

รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะนั้น ไม่ได้แสดงท่าทีว่าจะขับจอมพลถนอม ออกนอกประเทศ ตรงกันข้ามกลับเปิดโอกาสให้จอมพลถนอม พำนักอยู่ในประเทศไทย ได้ตามความพึงพอใจ และไม่มีมาตรการใดๆ กำกับดูแลเป็นพิเศษ แต่ปล่อยให้เป็นไปตามวินิจฉัยของจอมพลถนอม เอง

ท่าทีของรัฐบาลต่อการกลับมาเข้ามาของจอมพลถนอม ทำให้ขบวนการนักศึกษาไม่พอใจ เพราะจอมพลถนอม คือหัวหน้าทรราชที่ทำลายประชาธิปไตยของประเทศไทย ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน

วันที่ 21 กันยายน 2519 นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่ารัฐบาลมีมติจะให้จอมพลถนอม ออกไปนอกประเทศโดยเร็ว

วันที่ 23 กันยายน 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ทหารเตรียมกำลังเต็มอัตราศึก และ สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศให้ตำรวจจับนักศึกษาที่ติดโปสเตอร์ต่อต้านจอมพลถนอม

วันที่ 24 กันยายน 2519 พนักงานการไฟฟ้านครปฐม 2 คน ที่เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกสังหารและแขวนคออย่างโหด***ม

วันที่ 25 กันยายน 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ขบวนการนักศึกษา และ แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เรียกร้องให้ขับจอมพลถนอม ออกนอกประเทศ และ เร่งจับฆาตรกรสังหารพนักงานการไฟฟ้า โดยเร็ว

วันที่ 30 กันยายน 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าข้อเรียกร้องให้พระถนอม ออกนอกประเทศนั้น รัฐบาลทำไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีมติไม่ให้จอมพลถนอม เข้าประเทศ แต่ก็ไม่ขัดขวาง และดำเนินคดี เมื่อจอมพลถนอม แอบเข้าประเทศ แล้วยังมาบอกว่าไม่สามารถขับออกไปได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ขบวนการนักศึกษา และญาติวีรชนที่เสียชีวิตเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ประท้วงกันอย่างต่อเนื่อง

4 ตุลาคม 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่ามีตำรวจกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้สังหารโหดพนักงานการไฟฟ้านครปฐม ที่ต่อต้านจอมพลถนอม ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์ แสดงละครล้อเลียนการสังหารโหดพนักงานไฟฟ้านครปฐม ที่ถูกฆ่าแขวนคอ

การแสดงละครของนักศึกษา ถูกสถานีวิทยุยานเกราะบิดเบือนให้ประชาชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีแผนการโค่นล้มสถา บันพระมหากษัตริย์ โดยบอกว่า ผู้แสดงเป็นคนถูกแขวนคอมีหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชาย

5 ตุลาคม 2519 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยไม่มีนายสมัคร สุนทรเวช ร่วมเป็นรัฐมนตรี

หนังสือพิมพ์ดาวสยาม และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เผยแพร่ภาพการแสดงละครล้อการแขวนคอของนักศึกษา โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่าการแสดงดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

สถานีวิทยุยานเกราะ โดยพ.อ.อุทาร สนิทวงศ์ ประกาศว่า “เดี๋ยวนี้การชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องต่อต้านพระถนอมแล้ว หากแต่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” และ “ขอให้รัฐบบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการนองเลือดที่อาจจะเกิดขึ้น หากให้ประชาชนชุมนุมกันแล้ว อาจมีการนองเลือดขึ้นก็ได้”

เวลา 21.30 น. นายประยูร อัครบวร รองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ของศนนท. ได้นำนักศึกษา 2 คนที่แสดงเป็นพนักงานการไฟฟ้าที่ถูกแขวนคอ มาแถลงข่าว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ว่า “ทางนักศึกษาไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมสถานีวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยาม จึงให้ร้ายป้ายสีบิดเบือนให้เป็นอย่างอื่น โดยดึงเอาสถาบันที่เคารพมาเกี่ยวข้อง”

ถัดมาอีกเพียง 10 นาที คือ เวลา 21.40 น. รัฐบาล ก็ออกแถลงการณ์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ว่า “ตามที่มีการแสดงละครที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ศกนี้ มีลักษณะเป็นการหมิ่นหรือการแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์รัชทายาท รัฐบาลได้สั่งการให้กรมตำรวจดำเนินการสอบสวนกรณีนี้โดยด่วนแล้ว”

หลังจากนั้น สถานีวิทยุยานเกราะ ก็ปลุกระดมมวลชนและลูกเสือชาวบ้านให้ไปรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ และ กล่าวหานักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดทั้งคืนจนถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519

6 ตุลาคม 2519 เวลา 08.10 น. นาทีแห่งการเข่นฆ่านักศึกษาประชาชนผู้บริสุทธิ์ ก็อุบัติขึ้น โดย พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ บัญชาการให้ตำรวจตระเวณชายแดน หรือ ตชด. พร้อมอาวุธสงครามครบมือบุกเข้าในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีนักศึกษาชุมนุมกันอยู่ประมาณ 3,000 คน

การระดมยิงเข้าใส่ของตชด. ทำให้นักศึกษาเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมจำนน ถูกจับถอดเสื้อมัดมือไพล่หลัง นอนกลางสนามฟุตบอลที่ร้อนระอุ แต่อีกส่วนหนึ่งตกใจวิ่งหนีออกด้านหน้าประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝั่งสนามหลวง ก็ถูกรุมประชา ทัณฑ์จนบาดเจ็บเสียชีวิต บางรายถูกจับแขวนคอ บางรายถูกเผาสด

3 ชั่วโมงที่ล้อมปราบและเข่นฆ่าอย่างอำมหิตผ่านพ้นไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นักศึกษาที่รอดตายกว่าพันชีวิต ตกอยู่ในกรงเล็บของมัจจุราชที่เรียกว่า ตำรวจและทหาร โดยมีศพเพื่อนๆ ล้มตายอยู่หลายคนและหลายจุด เป็นพยานหลักฐานความโหดร้ายของผู้ฆ่าและผู้สั่งฆ่า

11.50 น. สำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่านายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ตั้งกองบัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล

12.00 น. รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ว่า 1.เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสยามมกุฎราชกุมารได้แล้ว 6 คน จะดำเนินการฟ้องศาลโดยเร็ว 2. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าควบคุมสถานการณ์การปะทะกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว 3. รัฐบาลได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด


เป็นแถลงการณ์ที่บ่งบอกถึงความเด็ดขาดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้เลือกข้างแล้วว่าจะยืนอยู่ตรงข้ามกับนิสิตนึกศึกษาประชาชน ที่ถูกเข่นฆ่าล้มตายในมหาวิท ยาลัยธรรมศาสตร์ และดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสถานีวิทยุยานเกราะ และลูก เสือชาวบ้านที่ถูกปลุกระดมขึ้นมา ทุกประการ ทั้งยังกล่าวหาว่านักศึกษา ดำเนินการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งต่อมามีพยานหลักฐานปรากฎชัดว่านักศึกษา เป็นผู้ถูกใส่ร้าย โดยสถานีวิทยุยานเกราะของทหาร เป็นผู้บิดเบือนข้อมูลข่าวสารหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อด้วยความเข้าใจผิด

แต่อีกเพียง 6 ชั่วโมงต่อมา พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของรัฐบาลหม่อมเสนีย์ ก็ประกาศยึดอำนาจปกครองแผ่นดิน เป็นการสิ้นสุดวาระของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคสมัยของเผด็จการอีกครั้งหนึ่ง

จากลำดับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ของคนเดือนตุลา ในเวปไซต์ www.2519.net ที่ได้นำมาบอกกล่าวข้างต้นนี้ มีข้อพึงสังเกตและตั้งคำถามหลายประการด้วยกัน ดังนี้

1. พึงสังเกตว่า มีการใช้สื่อมวลชน ได้แก่วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นเครื่องมือปลุกระดมมวลชน และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ให้ประชาชนหลงผิด เข้าข่ายการโฆษณาชวนเชื่อ ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือทางการเมือง แบ่งแยกคนในชาติเป็นฝักฝ่าย และทำร้ายซึ่งกันและกัน โดยขาดสติ ไม่ยั้งคิด ซึ่งวิธีการเช่นนี้ ได้ถูกนำมาใช้โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และสื่อเครือข่ายผู้จัดการ จนทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ อย่างรุนแรง และกลายเป็นเงื่อนไขให้ทหารก่อการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549

2. พึงสังเกตว่า มีการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง และใส่ร้ายผู้อื่น ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และไม่จงรักภักดี ในทุกครั้งที่มีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองและยึดอำนาจปกครองแผ่นดิน

3. พึงตั้งคำถามแก่พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่บอกว่าแม้จะมีอายุเพียง 11 ปี ในขณะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่ก็ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย มาเป็นอย่างดี และ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ในห้วงเวลาที่มีการปลุกระดมมวลชนสร้างความแตกแยกให้คนในชาติ และ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในห้วงเวลาที่มีการเข่นฆ่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า...

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่หาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น ทั้งๆ ที่มีเค้าลางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2519 และมีความพยายามที่จะก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองมาโดยตลอด

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงปล่อยให้จอมพลถนอม เข้ามาในประเทศไทยได้ และไม่ดำเนินการกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ไปรอต้อนรับและคุ้มครองความปลอดภัยให้จอมพลถนอม ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดมติคณะรัฐมนตรี

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่เชื่อนายสมัคร สุนทรเวช ว่าจะมีการใช้การเดินทางกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม เป็นเงื่อนไขสร้างความวุ่นวายขึ้นในประเทศ

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ขับจอมพลถนอม ออกนอกประเทศ ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะเป็นชนวนให้นักศึกษาชุมนุมประท้วงและมีโอกาสที่จะเกิดการปะทะกันได้โดยง่าย เนื่องจากมี “มือที่สาม” รอสร้างสถานการณ์อยู่แล้ว

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงพูดจาภาษาเดียวกับสถานีวิทยุยานเกราะ กล่าวหาว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ดำเนินการกับสถานีวิทยุยานเกราะ ซึ่งดำเนิน การปลุกระดม สร้างความแตกแยกให้แก่คนในชาติ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

เหตุใด รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยอม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของทหาร และตำรวจ จึงไม่ออกคำสั่งหยุดการเข่นฆ่านักศึกษา ของตำรวจและทหาร แต่กลับปล่อยให้มีการล้อมปราบและสังหารโหด ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีผู้ล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก

ต้องถามว่า พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้รับคำสั่งจากใคร จึงสั่งการให้ตชด. บุกเข้าไปยิงนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต้องถามว่า ในฐานะรมว.มหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลกรมตำรวจ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินการอย่างไรบ้าง เมื่อเห็นตำรวจฆ่านักศึกษา

ต้องถามว่า นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในขณะนั้น แสดงบทบาท ท่าทีอย่างไรเมื่อเห็นการประหารโหดนักศึกษา ด้วยเหตุที่เชื่อว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ต้องถามว่า ในขณะที่นักศึกษาถูกล้อมปราบและเข่นฆ่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงบทบาทอย่างไรบ้าง ต่อการทำหน้าที่ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อยของคนในชาติ

ต้องถามว่า นับแต่การสังหารโหดเริ่มต้นเมื่อเวลา 08.10 น. จนถึง 11.50 น. ที่รัฐบาลแถลงว่าได้ตั้งกองบัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมงที่ตำรวจและทหารใช้อาวุธสงครามสังหารโหดนักศึกษา รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกคำสั่งให้ตำรวจและทหารหยุดปฏิบัติการ บ้างหรือไม่ และมีรัฐมนตรีคนใด ไปดูเหตุการณ์ สถานการณ์ในพื้นที่หรือไม่

ต้องถามว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน ในห้วงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปเป็นรัฐบาลทั้งก่อนเกิดเหตุและวันเกิดเหตุ 6 ตุลาคม 2519 บ้างหรือไม่ และมีความเห็นอย่างไรกับบทบาทท่าทีของพรรค และรัฐมนตรีของพรรค ที่คิดแต่หนีเพื่อเอาตัวรอด และปล่อยให้นักศึกษาประชาชน ถูกเข่นฆ่าล้มตายเป็นใบไม้ร่วง

ต้องถามว่า หลังการเข่นฆ่านักศึกษาผ่านพ้นไป ทำไมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงออกแถลงการณ์ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่ารัฐบาลเลือกที่จะยืนฝั่งตรงข้ามกับนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้ในวันนั้น ด้วยการจะดำเนินการส่งฟ้องผู้ถูกตำรวจจับกุมข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเร็ว ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่ว่าเป็นข้อหาที่เกิดขึ้นจากการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของสื่อ มิใช่เกิดจากพฤติกรรมของนักศึกษา จริงๆ

ต้องถามว่า หลังจากเหตุการณ์นองเลือดผ่านพ้นไป เหตุใด พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลที่ตัวเองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปด้วย

คำถามข้อสุดท้ายนี้ พรรคประชาธิปัตย์ อาจจะตอบไม่ได้ในวันนั้น แต่วันนี้ พรรคประชา ธิปัตย์ น่าจะตอบได้แล้ว เพราะมีช่องทางที่จะค้นหาความจริงได้แล้ว เนื่องจากขณะนี้บุคคลในครอบครัวของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ คือ พล.อ.วินัย ภัทยิกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการคมช. เป็นนายทหารที่รู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น ได้เข้ามามีความสัมพันธ์อันดีกับพรรคประชา ธิปัตย์ ในฐานะพ่อของส.ส.สกลธี ภัทยิกุล ส.ส.กรุงเทพฯ ของพรรคประชาธิปัตย์

ไม่น่าเชื่อว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ในเวลานั้น ที่ยังไม่มีคำตอบจวบจนวันนี้ จะหวนกลับมาอีกครั้งจากการขยายประเด็นของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อจะเล่นงาน นายสมัคร สุนทรเวช แต่ดูเหมือนว่า รายการนี้จะเป็นการขว้างงูไม่พ้นคอ

ในขณะที่ นายสมัคร สุนทรเวช ต้องตอบ 1 คำถามว่าเหตุใดจึงพูดว่าเห็นคนตาย 1 คน

แต่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องตอบให้ได้ว่าทำไมจึงไม่ป้องกัน และไม่สกัดกั้นการเข่นฆ่านักศึกษาประชาชน

อ่านประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 จบลงเที่ยวนี้ ผมเชื่อแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ

เพราะฉะนั้น หากใครอยากจะถาม อยากจะรู้อะไรเกี่ยวกับ 6 ตุลาคม 2519 ต้องถามพรรคประชาธิปัตย์ จะได้คำตอบดีที่สุด

แต่อย่าลืมตอบคำถามหลายข้อของผมด้วยนะครับ


มีใครโต้แย้งข้อเท็จจริง ที่ยกมาอ้างในบทความหรือเปล่า?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-02-2008, 23:45 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23-02-2008, 23:10 »


สมัครเป็นนักการเมืองดาวสภาในพรรคปชป.อยู่แล้วตอนนั้น




http://www.prachatai.com/05web/th/home/11208

ถ้าจะเข้าใจว่าทำไมสมัคร สุนทรเวช โกหกเรื่อง 6 ตุลา ใน CNN เราควรพิจารณาบทบาทของเขาในการช่วยก่อให้เกิดเหตุนองเลือดแต่แรก และการปกป้องผู้กระทำความผิดด้วยการโกหกเรื่อง 6 ตุลา ในช่วงภายหลังอย่างต่อเนื่อง

 

            สำหรับรายละเอียดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 สามารถอ่านได้ในหนังสือหลายเล่ม หรือเข้าไปดูบทความที่ www.pcpthai.org หรือ http://wdpress.blog.co.uk

 
 

 


ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ สื่ออื่นๆ และหนังสือวิชาการ
รวบรวมโดย ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ
 

ตลอดปี 2519 สมัคร สุนทรเวช มีส่วนในการปลุกระดมม็อบฝ่ายขวาให้เกลียดชังนักศึกษาและนักประชาธิปไตย มีส่วนในการสนับสนุนวิทยุยานเกราะซึ่งปลุกระดมให้คนฆ่านักศึกษา และมีส่วนในการสนับสนุนให้ถนอมและประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์ความรุนแรง


29 มิ.ย. “ยานเกราะเป็นศูนย์บัญชาการให้นักเรียนอาชีวะเผาธรรมศาสตร์ ยานเกราะและ สมัคร เป็นพวกเดียวกัน” ประชาชาติ (ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ในบทความ 6 ตุลา มองว่าเป็นพวกเดียวกันด้วย)

5 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจฝ่ายต่อต้านศูนย์นิสิตนักศึกษาขณะที่นิสิตนักศึกษาชุมนุมต่อต้านสหรัฐ” ดาวสยาม

1-7 ก.ค. “สมัครอ้างว่าโครงการบัณฑิตอาสาสมัครของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บัณฑิตปลุกระดมชาวบ้าน” สยามจดหมายเหตุ

6 ก.ค. “สมัครคัดค้านการให้งบโครงการบัณฑิตอาสาของดร.ป๋วย ‘เพราะใช้ปลุกระดมชาวบ้าน’ ”ประชาธิปไตย

8-14 ก.ค. “วิทยุยานเกราะบอกให้ทหารกับกระทิงแดงเตรียมขจัดนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ

            “นายกเสนีย์ และปลัดกระทรวงกลาโหมเตือนตำหนิวิทยุยานเกราะ แต่สมัครยังเลือกออกอากาศทางสถานีนี้ และ สนิทกับพันโทอุทร”

10 ก.ค. “นายกเสนีย์ตำหนิวิทยุยานเกราะว่ายุให้แตกแยก”ประชาชาติ

11 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจกับประชาชนที่ชุมนุมสนับสนุนวิทยุยานเกราะ และชมวิทยุยานเกราะ/ พท. อุทาน .... สถานี มีประโยชน์เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนระบายความรู้สึกทางคลื่นวิทยุ ” ดาวสยาม

13-15 ก.ค. “สุธรรม แสงประทุม กล่าวหา สมัคร กับวิทยุยานเกราะว่า ก่อสถานการณ์ยั่วยุให้ปราบประชาชน”
“โคทม  อารียา ประธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ยานเกราะ ยุให้ฆ่าฝ่ายตรงข้าม”อธิปัตย์

12-18 กค 19 “สมัครกล่าวว่าการที่นักศึกษาชุมนุมประท้วงการกลับมาของประภาสเท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย” สยามจดหมายเหตุ

23 ก.ค. “สมัครว่ามีคนไม่ปรารถนาดีที่มีอาวุธนับพันกระบอกเข้ามาในกรุงเทพฯ จากต่างแดนและค่ายอพยพ” ประชาชาติ

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปหาถนอมที่สิงคโปร์” “สมัครบอกว่าถนอมไม่ผิดข้อกล่าวหาฆ่าคนตาย เมื่อ 14 ตุลา”  ดาวสยาม และ David Morell & Chai-anan Samudavanija 1981 “Political Conflict in Thailand”.Oelgeschlager, Gunn  & Hain Publishers, Cambridge Massachusetts

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปปลอบใจถนอมที่สิงคโปร์ว่าโอกาสที่จะกลับไทยในอนาคตยังมี”ประชาชาติ “ส.ส. คนหนึ่งเสนอว่าการนำประภาสกลับเป็นแผนของพวก ขวาตกขอบ เพื่อปราบปรามฝ่ายซ้าย”

15 ส.ค. ตีพิมพ์รูปสมัครกับลูกเสือชาวบ้านวังสราญรมย์ ดาวสยาม

18 ส.ค. “สมัครพูดออกโทรทัศน์เกินมติคณะรัฐมนตรี พูดทำนองห้ามนักศึกษาประท้วงการกลับมาของประภาส นายก เสนีย์ไม่เห็นด้วย นายกบอกว่ามีการวางแผนนำประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์” “สมัคร และ ส.ส. พรรคชาติไทย ไปหาประภาส”ประชาชาติ

20 ส.ค. “สมัครไปหาประภาส แล้วพูดออกโทรทัศน์มีท่าที ‘ปราม’ คนต่อต้านประภาส”ประชาชาติ

22 ส.ค. “ยานเกราะขัดคำสั่งรัฐบาลและโจมตีนักศึกษาที่ประท้วงประภาส และกระทิงแดงโยนระเบิดเข้าธรรมศาสตร์ ตาย 2 บาดเจ็บ 36” ประชาชาติ ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ยานเกราะออกข่าวเหมือนเป็นกองบัญชาการพวกที่บุกเผาธรรมศาสตร์ตอนประภาสกลับมา”

24 ส.ค. “รัฐบาลแถลงว่ามีคนชักนำประภาสเข้ามาเพื่อก่อเรื่อง”ประชาชาติ

26 ส.ค.-1 ก.ย. “สมัครว่ายานเกราะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง” สยามจดหมายเหตุ

27 ส.ค. “สมัครว่ายานเกราะทำงานเพื่อช่วยชาติ” ประชาธิปไตย

27 ส.ค. “สมัครยานเกราะไม่ควรถูกปิด ยานเกราะเป็นวิทยุดีต้านคอมมิวนิสต์” ประชาชาติ

27 ส.ค. “สมัครไปพูดกับม็อบหน้าสถานียานเกราะ:- หนุน พท. อุทรและยานเกราะ ถ้าห้ามยานเกราะบ้านเมืองจะฉิบ หาย” ชาวไทย

28 ส.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์ กล่าวหา ยานเกราะ ว่าเอาข้อมูลเท็จมาโจมตีตน” ประชาชาติ

29 ส.ค. “สมัครพูดว่ายานเกราะให้ประโยชน์แก่ปวงประชาในยามวิกฤต”ประชาธิปไตย

2 ก.ย. “สมัครพูดว่ามือที่สามทำงานในรูปแบบนิสิตนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ 2-8 ก.ย.

6 ก.ย. “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ” ประชาธิปไตย

6 ก.ย. “สมัครพูดว่ารัฐบาลใช้นักศึกษาอาชีวะต่อต้านนักศึกษามหาวิทยาลัย” (ขณะนั้นเขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการที่ กระทรวงมหาดไทย) “สมัครว่าลูกเสือชาวบ้านและวิทยุยานเกราะ ชมรมวิทยุเสรี สร้างความสามัคคีในการต่อต้านคอมมิวนิสต์” ชาวไทย

6 ก.ย. สมัครพูดว่า “รัฐบาลใช้อาชีวะต่อต้านนักศึกษา” “ยานเกราะรู้เท่าทันพวกปลุกระดมให้มวลชนวุ่นวาย แต่คนหวังร้ายต้องการปิดสถานี” “ลูกเสือชาวบ้านช่วยให้ชาติอยู่รอด สมัครเป็นสมาชิกและวิทยากรให้ลูกเสือชาวบ้าน” ประชาชาติ

7 ก.ย. “สมัครพูดว่า 14 ตุลา 16 ไม่ให้ประโยชน์อะไรกับบ้านเมือง” สยามรัฐ

11 ก.ย. “สมัครมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีวะ กลุ่มขวาจัดชุมนุมที่ไหนสมัครไปที่นั้น”ประชาชาติ

13 ก.ย. “สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด” ประชาธิปไตย

15 กย “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด”ประชาธิปไตย

19 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ ยานเกราะแนะรัฐบาลให้ฆ่า นักศึกษา 30,000 คนเพื่อชาติ”

23 ก.ย. “สมัครบอกว่าเป็นรัฐมนตรีคนเดียวในพรรคประชาธิปัตย์ที่มีความเห็นว่าถนอมควรอยู่ในเมืองไทยต่อไป”  Bangkok Post

23 ก.ย. “อาชีวะไล่ตีนักศึกษาที่ติดโปสเตอร์ต้านถนอม” สยามรัฐ

24 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541)เสนอว่า “สมัครว่าถนอมมีประโยชน์ต่อ บ้านเมือง”

4 ต.ค. “อาชีวะ กระทิงแดง ประชาชน ต่อต้านนักศึกษาและสนับสนุนสมัคร” ดาวสยาม

4 ต.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์เตือนตำรวจอย่าหลงลมปากสมัคร” สยามรัฐ

4 ต.ค. “ตำรวจสนับสนุนสมัคร” ประชาธิปไตย

5 ต.ค. “คนที่ชุมนุมสนับสนุนสมัครกล่าวหาว่า สุรินทร์, ชวน, ดำรง และ วีระ เป็นคอมมิวนิสต์” สยามรัฐ

6 ต.ค. “ยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีโจมตีนักศึกษาและระดมให้มวลชนไปจัดการกับนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์  ก่อนหน้านี้นายกเสนีย์ห้ามวิทยุสร้างความแตกแยก”ประชาธิปไตย

6 ต.ค. “ยานเกราะเรียกประชุมลูกเสือชาวบ้านด่วน กลุ่มรักชาติเรียกร้องให้จัดการกับนักศึกษาและ ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ดาวสยาม

6 ต.ค. “กลุ่มผู้รักชาติบุกทำเนียบร้องให้สมัครเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง” ไทยรัฐ

6 ต.ค. “วิทยุยานเกราะและสถานีในเครือข่ายออกอากาศเรียกร้องให้มีการ ‘ฆ่ามันฆ่ามัน!’ (นักศึกษา)” Bangkok Post

6 ต.ค. ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมที่ลานพระรูปทรงม้าเรียกร้องให้แต่งตั้ง สมัคร และ สมบุญ เป็นรัฐมนตรี” สยามจดหมายเหตุ

6 ต.ค. วิทยุยานเกราะสด “บ่าย 6 ตุลา 19 สล้าง บุญนาค -ตำรวจคนหนึ่งที่นำกำลังบุกธรรมศาสตร์ – อวดว่า “ได้ฆ่าคนสำเร็จและมองการทุบตีคนจนพูดไม่ออกว่าเป็นเรื่องตลก” (มีเทป และดู Nation 5/10/2539 ดร. ธงชัย วินิจจะกูล)

 

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19

9 ต.ค. “สมัครคงจะได้ร่วมรัฐบาลหลังรัฐประหาร” “คณะปฏิรูปสั่งยึดเผาหนังสือ ซ้าย” สยามรัฐ

9 ต.ค. “วันที่ 6 ต.ค.ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้ปลด/จับรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์ และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดาวสยาม

 

11 ตุลาคม 2519 เทป สมัคร สุนทรเวช พูดออกโทรทัศน์ช่อง 7

สมัครมองว่าหลัง 14 ตุลา 2516 เมืองไทยมีประชาธิปไตย “มากเกินไป”
สมัครได้รับเชิญไป “ปฏิรูปสื่อมวลชน” หลังการทำรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลา เขาเล่าว่าเขามีบทบาทในการตัดสินว่า น.ส.พ.“ฉบับไหนควรจะออก และฉบับไหนไม่ควรจะออก”
สมัครเสนอว่านักศึกษายิงออกมาจากธรรมศาสตร์ และเน้นว่า“ปฏิเสธไม่ได้” ดังนั้นการที่ตำรวจยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์มีความชอบธรรม วิธีการของฝ่ายยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลา เป็นวิธีการ “นุ่มนวล” ไม่รังแกใคร ไม่จับใครโดยไม่มีข้อหา แต่ในความ “นุ่มนวล” ดังกล่าวพร้อมจะใช้ความรุนแรงกับ “ผู้มิดีมิร้าย”
สมัครพูดต่อว่า 6 ตุลา “พิสูจน์” ว่านักศึกษาบางคนใช้ธรรมศาสตร์เพื่อสร้างความไม่พอใจกับคนไทยทุกคน และพวกนี้เป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์ โดยผู้บริหารสนับสนุนนักศึกษาเหล่านั้น

12 ต.ค. “สมัครพูดว่าทหารจำเป็นต้องยึดอำนาจ และอดีตรัฐมนตรีเช่นชวน และสุรินทร์เป็นผู้ก่อเหตุนองเลือดที่ ธรรมศาสตร์ ฝ่ายรัฐบาลมิได้กระทำต่อนักศึกษาเกินเหตุ” Bangkok Post

3 มี.ค. 2520 และ 6 ต.ค. 2520 สมัครในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยออกคำสั่งแบนหนังสือกว่า 200 เล่ม ในรายชื่อนั้นมีหนังสือของ ธีรยุทธ บุญมี, วิทยากร เชียงกูล, เสกสรร ประเสริฐกุล, ณรงค์ เพชรประเสริฐ, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ปรีดี พนมยงค์, สุภา ศิริมานนท์, ทวี หมื่นนิกร, จูเลียส ไนยาเร ฯลฯ

เทป ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์พูดที่ Australia ปี 2520 “สมัครตามผมไปแก้ภาพพจน์ 6 ตุลา ในต่างประเทศ เสมอ” “ผู้ที่ทำจลาจลในวันที่ 6 ตุลา 19 ต่อรัฐบาลที่มีความชอบธรรมตามกฎหมายคือพวกกระทิงแดงลูกเสือชาวบ้านที่เรียกร้องให้นำนักการเมืองสองคนมาเป็นรัฐมนตรี”

3 มิ.ย. 2520 “รัฐมนตรีมหาดไทยสมัครไปสหรัฐ/ยุโรปเพื่อแก้ภาพพจน์เมืองไทยหลัง 6 ตุลา” Nation Review

4 มิ.ย. 2520 ที่ฝรั่งเศส (ในหนังสือ วีระ มุสิกพงศ์ 2521 “โหงว นั้ง ปัง” สันติ์วานา ผู้พิมพ์) สมัครพูดว่า “นักศึกษามีอาวุธและยิงออกมาจากธรรมศาสตร์ คนที่ถูกเผาและคนที่เผาไม่ใช่คนไทยแต่เป็นคนเวียดนามเพราะ เข้าไปพบหมาย่างในธรรมศาสตร์หลังเหตการณ์”

            ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช ได้เดินทางไปต่างประเทศ “เพื่อแก้ภาพเหตุนองเลือด 6 ตุลา” และได้พูดว่า: (เกี่ยวกับคนที่ถูกแขวนคอและเผาหน้าธรรมศาสตร์) “เข้าใจว่าเป็นคนเวียดนามเองที่ถูกฆ่าตาย” ตอนนี้เราทราบว่าคนหนึ่งที่ถูกแขวนคอตายและเผาคือ วิชิตชัย อมรกุล นิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            สมัคร สารภาพใน สยามรัฐรายสัปดาห์ 25 มิ.ย.-1ก.ค. 2543 ว่าโยนแฟ้มเอกสาร 6 ตุลาใส่ Peggy Duff ที่อังกฤษ เมื่อมีการถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา

Nation Review 19 ก.ค. 2520 “สมัครกลับจากยุโรป ไม่พอใจที่นักศึกษาไทยในอังกฤษประท้วงตน และบอกว่าจะสอบสวนนักศึกษาทุนรัฐบาลที่เข้าร่วม”



 

 
 

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท   วันที่ : 16/2/255
 



บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 23-02-2008, 23:14 »



http://hilight.kapook.com/view/19925

มีพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้ง สมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี




          เวลา 16.30 น.วันนี้ (29 มกราคม) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าฯ ถวายร่างประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

          ซึ่ง นายสมัคร สุนทรเวช เป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ก่อนที่นายยงยุทธจะอันเชิญพระบรมราชโองการมายังบ้านพักของนาย สมัคร ใน เวลาประมาณ 18.00 น.

ประวัติ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของไทย

          การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 อาจเป็นฝันที่คาดไม่ถึงของ "สมัคร สุนทรเวช" แต่ความฝันดังกล่าวเต็มไปด้วยวิบากกรรมที่ตามไล่ล่าจนอาจส่งผลให้เก้าอี้ประมุขฝ่ายบริหารสั่นคลอนอย่างรุนแรง ติดตามชีวิตที่มีทุกรสชาติได้โดยพลัน 

         ...และแล้วก็เป็นไปตามคาดหมาย นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน(พปช.)ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยเสียง 310 เสียงเลือกให้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 

         ท่ามกลางเสียงครหาว่า นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี "นอมินี" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

         สำหรับ นายสมัคร ถือเป็นนักการเมือง และนักพูดที่มีชื่อเสียง จัดได้ว่าเป็น "ดาวสภา" คนหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยท่วงท่าลีลาสำนวนโวหารในการอภิปรายที่ถึงพริกถึงขิง ออกรสออกชาติ เรียกได้ว่าหากนายสมัครลุกขึ้นอภิปรายรัฐบาลเมื่อไร ชาวบ้านร้านตลาดแทบทุกคนจะต้องหยุดฟัง

         กล่าวกันว่า ความสามารถในการพูดของนายสมัครนั้น ถ้าบอกว่า กาเป็นสีขาว คนก็พร้อมจะเชื่อ ...






 

 

 

 

 

 

         ประวัติชีวิตอดีตดาวสภาคนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่กรุงเทพมหานคร บ้านหน้าวังบางขุนพรหม ถนนสามเสน

         บิดาคือ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) มารดาคือ คุณหญิง บำรุงราชบริพาร เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

         ประวัติการศึกษา ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม ชั้นประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา ชั้นมัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ ขั้นอุดมศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ยังศึกษาเพิ่มเติม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,BRYANMT & STRATION INSTITUTE ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

         ประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร - ประกาศนียบัตร A.C.C. (โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์) นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) Dip. in Accounting and Business Administration

         หลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แล้วก็หันไปเขียนบทความและความคิดเห็นทางการเมือง ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และเขียนไปถึง พ.ศ. 2516 จากนั้น จึงเข้าสู่แวดวงการเมืองเต็มตัว เมื่อปี 2511

         โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครเลือกตั้งในระดับต่างๆ ไล่มาจนถึงระดับท้องถิ่น

         สำหรับตำแหน่งใหญ่ๆ นั้น เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง อาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

         และล่าสุดกับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น คือ 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

         หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. นายสมัคร ยังหันมาเอาดีด้านสื่อโทรทัศน์ ด้วยการเป็นผู้ดำเนินรายการอาหารชื่อดัง  "ชิมไปบ่นไป"

         แต่ที่ฮือฮาที่สุดคือการรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ซึ่งจัดร่วมกับนายดุสิต ศิริวรรณ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีใน "รัฐบาลหอย" ธานินทร์ กรัยวิเชียร (ขณะที่นายสมัครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งใช้อำนาจตามประกาศคณะปฏิรูกการปกครองแผ่นดินซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยคณะรัฐประหารสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ฉบับ จนนายสมัครกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผู้คนในวงการหนังสือพิมพ์จำนวนมาก)

         ในการจัดรายการดังกล่าวทั้งคู่ กล่าวโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กระทั่งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากและสุดท้ายรายการก็จำเป็นต้องปิดตัวลง

         แต่ไม่นานพิษจากรายการดังกล่าวยังตามมาเล่นงาน โดยผู้ดำเนินรายการทั้งสองต้องตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากกรณีพูดพาดพิงนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. และศาลมีคำพิพากษาสั่งจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

         เส้นทางการเมืองยังคงหอมหวนเสมอสำหรับนายสมัคร โดยตัดสินใจลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กทม. ในปี 2549 ซึ่งก็ได้รับเลือกตามคาดหมาย

         แต่ยังไม่ทันที่จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก กกต. เนื่องจากมีคำร้องคัดค้าน และไม่นาน กกต.ชุดดังกล่าวก็ถูกศาลตัดสินให้พ้นสภาพ กระทั่งเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เสียก่อน

         หลังจากนั้นก็หายหน้าไปจากแวดวงการเมืองพักใหญ่จนเชื่อว่า นายสมัครจะปิดฉากชีวิตทางการเมือง

         แต่แล้วเหมือนฟ้าลิขิต พ.ต.ท.ทักษิณ จะทาบให้นายสมัครมาเป็นหัวหน้า พปช.โดยพ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่า มีความเหมาะสมเนื่องจากนายสมัครมีความจงรักภักดี ในขณะที่ตัวพ.ต.ท.ทักษิณถูกหล่าวหาว่า ไม่จงรักภักดี

         แต่อีกเหตุผลหนึ่งเชื่อกันว่านายสมัคร เป็นบุคคลคนเดียวที่กล้าต่อกรกับ "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" ตามนิยามของพ.ต.ท.ทักษิณอย่างเปิดเผยหรือ "อีแอบผมขาว" ในนิยามของนายสมัคร

         ในที่สุดนายสมัครก็ได้นั่งเก้าอี้ประมุขฝ่ายบริหารอย่างที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน

         แต่ใช่ว่า เก้าอี้นายกรัฐมนตรีจะนุ่มนวลดั่งฝันเพราะวิบากกรรมที่นายสมัครได้ทำไว้ขณะดำรงผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งนายสมัครลงนามในสัญญาจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทในวันสุดท้ายก่อนที่จะพ้นตำแหน่ง เป็นผลให้นายสมัครถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)สอบสวนในเวลาต่อมาและถูกแจ้งข้อกล่าวว่า ทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงดังกล่าว คาดว่า คตส.จะสรุปสำนวนคดีนี้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2551

         ถ้า คตส.สรุปว่า นายสมัครมีความผิด แม้อัยการสูงสุดจะเห็นว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ก็มีแนวโน้มว่า คตส.จะส่งฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการทางเมืองเอง

         ถึงเวลานั้นเก้าอี้ของนายสมัครก็จะแขวนอยู่บนเส้นด้ายและเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องเดินขึ้นศาลเพราะถูกกล่าวหาว่า ฉ้อราษฎร์บังหลวงนานหลายเดือน ซึ่งคาดว่าศาลจะพิพากษาคดีในราวปลายปี 2551

         นอกจากนั้นนักวิเคราะห์เชื่อกันว่า นายสมัครจะเป็นนายกฯที่ไร้การนำเพราะอำนาจบารมีทั้งหมดมิได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่อยู่ที่ฮ่องกง

         เห็นได้จากในช่วงที่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีการแย่งชิงจากกลุ่มแก๊งต่างๆ ใน พปช.ถนนทุกสายมุ่งตรงไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้ช่วยชี้ขาดหรือผลักดันให้เป็นรัฐมนตรี

         เมื่อสภาพเป็นเช่นนั้นายสมัครจึงแทบไม่มีอำนาจในการควบคุมกลุ่มแก๊งต่างๆที่อยู่ในสภาได้เลย

         ไม่เพียงแต่ปัญหาหาช่วงชิงอำนาจในการ พปช.ที่นายสมัครไม่สามารถควบคุมได้ ยังมีปัญหาว่า นายสมัครนั้นมีศัตรูทางการเมืองจำนวนมากที่พร้อมจะขุดบาดแผลของนายสมัครออกมาถล่มอย่างต่อเนื่อง

         รวมถึงอำนาจนายกองทัพที่เคยเป็นแกนหลักในการโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อกันว่า ยังไม่สามารถตกลงหรือต่อรองกันได้กับกลุ่มอำนาจเก่าได้อย่างลงตัวจนเกรงว่าจะเกิดเหตุใหญ่ในการโยกย้ายแต่งตั้งในเดือนเมษายน 2551

         อาจเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้ไม่นาน

 

ภาพครั้งอดีตเป็นรัฐมนตรี

 
 
ชอบพับนกมาแต่ไหนแต่ไร

 
 
ลีลา "ดาวสภาฯ" รุ่นเก๋า

 

 เจ้าพ่อข้อมูล - ตัวเลขแห่งสภาฯ

 
 
มือถือรุ่นนี้ ไม่โชว์เบอร์ แต่ โชว์รุ่น (คนโทร)

 
 
เมื่อครั้งหาเสียงในนามพรรคประชากรไทย



บทบาทผู้ว่ากรุงเทพฯ ก่อนลาการเมือง (ชั่วคราว)

 
 
หัวหน้าพรรคพลังประชาชน

 

แอ็คชั่นขณะรอผลโหวตนายกรัฐมนตรี

 

ท่านประธานที่เคารพ ผม "งดออกเสียง" (ให้ตัวเอง)

 
 
ชิมไปบ่นไป หลังคว้าชัย จากผลโหวตนายกรัฐมนตรี

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 23-02-2008, 23:18 »



อ้างถึง

19 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ ยานเกราะแนะรัฐบาลให้ฆ่า นักศึกษา 30,000 คนเพื่อชาติ”




ผมสงสัยที่ยานเกราะพูดว่า

ต้องมีคนตายสัก 30000 คน นอกจากสมัครแล้ว

ต้องมีคนหนุนหลัง...ที่ใหญ่ไม่แพ้ถนอม ประภาส
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 23-02-2008, 23:20 »




รัฐบาลเสนีย์ซึ่งมีชวนเป็นรัฐมนตรี เจอตอ คุมสถานการณ์ไม่ได้ ประกาศลาออก

ชวนยังมีชีวิตอยู่ น่าจะไปถามว่าพอทราบไหมว่า ตอที่ว่าคืออะไร? ขนาดเสนีย์เป็นนายกฯต้องลาออก


แต่ผมสรุปให้ในตอนนี้ก่อนว่า เป็นเรื่องฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายแน่นอน สมัครเป็นตัวละครฝ่ายขวา

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 23-02-2008, 23:21 »



ก็มีประว้ติศาสตร์ ลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องมีคนเชียนยืนยัน  มีอีกเยอะที่แบะ แบะ หาคำตอบไม่ได้

เวียนแต่หาคนผิด ไปถามชวนสิครับ คนรุ่นเดียวกับสมัคร ดูมันจะพูดว่าอย่างไร?


เอารายชื่ออดีตผบ.ทบ. มาให้ศึกษากัน


http://www.rta.mi.th/command/33command.htm

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 23-02-2008, 23:28 »



พลเอก เสริม ณ นคร
ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๒๑
( ระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๓๐ กันยายน ๒๕๒๑ )


--------------------------------------------------------------------------------

วันเกิด ๒ มีนาคม ๒๔๖๓
เป็นบุตรของนายชุบ และนางลมุล ณ นคร ภริยาคือ คุณหญิง แสงเดือน ณ นคร
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๗๙ จบการศึกษาชั้นมัธยม ๘ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ.๒๔๘๓ จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๘๓ ผู้บังคับหมวดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๔
รับพระราชทานยศว่าที่นายร้อยตรี
- พ.ศ.๒๔๘๔ รับพระราชทานยศนายร้อยโท สำรองราชการกองบังคับการแผนกทหารปืนใหญ่ สำรองราชการกองบังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๘๖ รับพระราชทานยศร้อยเอก สำรองราชการกองบังคับการจังหวัดทหารบกเชียงใหม่
- พ.ศ.๒๔๘๘ สำรองราชการกองบังคับการกรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๘๙ นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๙๑ รับพระราชทานยศพันตรี ฝ่ายเสนาธิการประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์, ฝ่ายเสนาธิการ
ประจำมณฑลทหารบกที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๙๔ รับพระราชทานยศพันโท ฝ่ายเสนาธิการทหารบกที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๙๕ ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑ นายทหารติดต่อกรมผสมที่ ๒๑ (ส่วนประจำถิ่น), หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๙๗ รับพระราชทานยศพันเอก
- พ.ศ.๒๕๐๐ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
- พ.ศ.๒๕๐๑ รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุง
- พ.ศ.๒๕๐๓ เจ้ากรมพลาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๐๔ รับพระราชทานยศพลตรี เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
- พ.ศ.๒๕๐๙ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง
รับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๑๐ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๔ ผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในเวียดนามใต้ (ผลัดที่๔)
- พ.ศ.๒๕๑๕ รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๗ เสนาธิการทหารบก รับพระราชทานยศพลเอก
- พ.ศ.๒๕๑๙ รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๒๑ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รับพระราชทานยศพลเรือเอก
พลอากาศเอก
- พ.ศ.๒๕๒๒ รองนายกรัฐมนตรี
ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๓ ราชการสนามกรณีสงครามอินโดจีน
- พ.ศ.๒๔๘๕ ราชการสนามกรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา
- พ.ศ.๒๔๙๕ ราชการสงคราม ณ ประเทศเกาหลี
- พ.ศ.๒๕๐๔ ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ.๒๕๑๓ ราชการสงคราม ณ ประเทศเวียดนาม
- พ.ศ.๒๕๑๕ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๕๑๗ เสนาธิการกองอำนวยการรักษาความสงบทั่วไป
- พ.ศ.๒๕๑๘ นายทหารพิเศษ ประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษ ประจำ
กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๙ ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป
นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ และตุลาการศาลทหารสูงสุด
- พ.ศ.๒๕๒๐ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
ประจำกรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็นผู้อำนวยการรักษาพระนคร และเป็นสมาชิกสภานโยบายแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๕๒๑ กรรมการสภาทหารผ่านศึกประเภทประจำการ ในวาระที่ ๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ
- พ.ศ.๒๔๙๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๕ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๖ เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี) ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญจักรมาลา
- พ.ศ.๒๕๐๔ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก เหรียญชัยสมรภูมิ (เอเชีย)
- พ.ศ.๒๕๐๕ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๗ ประถมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น ๓
- พ.ศ.๒๕๑๐ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๑๑ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๑๓ ทุติยจุลจอมเกล้า เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๑๕ เหรียญชัยสมรภูมิ (เวียดนาม)
- พ.ศ.๒๕๑๖ เหรียญสมรภูมิ (เวียดนาม) (ประดับเครื่องหมายเปลวระเบิด) เหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๑๘ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๒๓ เข็มสมุทนาธิปัตย์กิตติมศักดิ์ เข็มนาวิกาธิปัตย์กิตติมศักดิ์
ผลงานที่สำคัญ
- พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๔ ปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับบัญชากองกำลังทหารไทย ณ สาธารณรัฐเวียดนามใต้ (ผลัดที่ ๔)
- พัฒนากองทัพบกทุกด้านบนพื้นฐานของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ โดยเสริมสร้าง
กำลังรบให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
- มีการริเริ่มแนวคิดในการจัดตั้งกองกำลังทหารพราน เป็นกำลังสำรอง เพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ป้องกันการก่อการร้าย






พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๒๒
( ระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๔ )


--------------------------------------------------------------------------------

วันเกิด ๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๓
เป็นบุตรหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง) และคุณแม่อ๊อด ติณสูลานนท์
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๘๐ จบการศึกษาชั้นมัธยม ๘ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๔ หลักสูตรพิเศษโรงเรียนเทคนิคทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
- พ.ศ.๒๔๙๐ โรงเรียนนายทหารม้า
- พ.ศ.๒๔๙๕ โรงเรียนยานเกราะสหรัฐอเมริกา หลักสูตรผู้บังคับกองร้อย
- พ.ศ.๒๔๙๖ โรงเรียนยานเกราะสหรัฐอเมริกา หลักสูตรผู้บังคับกองพัน
- พ.ศ.๒๕๐๓ วิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรพิเศษ ชุดที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๐๙ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๙
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้บังคับหมวดประจำกรมรถรบอินโดจีน ต่อมารับพระราชทาน
ยศนายร้อยตรี ประจำกรมรถรบ
- พ.ศ.๒๔๘๕ รับพระราชทานยศนายร้อยโท
- พ.ศ.๒๔๘๗ รับพระราชทานยศร้อยเอก
- พ.ศ.๒๔๘๙ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กองพันที่ ๑ กรมรถรบ
นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนนายทหารม้า
- พ.ศ.๒๔๙๒ รักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมรถรบ
รับพระราชทานยศพันตรี
- พ.ศ.๒๔๙๓ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ กองพันทหารม้าที่ ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์
รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๔ รองผู้บังคับการ จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
- พ.ศ.๒๔๙๖ อาจารย์แผนกวิชายุทธวิธี กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลน้อยทหารม้า (กรุงเทพฯ)
- พ.ศ.๒๔๙๗ รับพระราชทานยศพันโท
อาจารย์แผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ
กองพลน้อยทหารม้า ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒ รักษาราชการอาจารย์แผนกวิชาทหาร
กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลทหารม้าและรักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๙๙ รับพระราชทานยศพันเอก
- พ.ศ.๒๕๐๑ ผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
- พ.ศ.๒๕๐๖ รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
รองผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และรองผู้บังคับการจังหวัด ทหารบกสระบุรี
- พ.ศ.๒๕๑๑ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี รับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ.๒๕๑๒ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารมหาดเล็กที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๖ รองแม่ทัพภาคที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๑๗ แม่ทัพภาคที่ ๒ รับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๒๐ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รับพระราชทานยศพลเอก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

- พ.ศ.๒๕๒๑ ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๒๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๓๑ นายกรัฐมนตรี (๕ สมัย)
ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๔ ราชการสนามกรณีสงครามอินโดจีน
- พ.ศ.๒๔๘๕ ราชการสนามกรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา
- พ.ศ.๒๕๐๒ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ.๒๕๑๑ สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ.๒๕๑๒ ราชองครักษ์เวร
นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๕ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๕๑๘ ราชองครักษ์พิเศษ
- พ.ศ.๒๕๒๑ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษา
พระองค์ และนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๒๒ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๒๓ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ (คราวสงครามอินโดจีน)
- พ.ศ.๒๔๙๑ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๕ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๖ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๘ เหรียญจักรมาลา
- พ.ศ.๒๔๐๔ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๐๕ เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามมหาเอเชียบูรพา) และทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๑๒ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๑๕ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๑๘ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๑๙ ทุติยจุลจอมเกล้า
- พ.ศ.๒๕๒๑ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓ และ
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๒๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๒ มหาโยธิน
- พ.ศ.๒๕๒๕ ปฐมจุลจอมเกล้า
- พ.ศ.๒๕๓๑ นพรัตน์ราชวราภรณ์
- พ.ศ.๒๕๓๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๑ เสนางคะบดี
ผลงานสำคัญ
- พ.ศ.๒๔๘๔ ร่วมรบในสงครามอินโดจีน
- พ.ศ.๒๔๘๕ ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา
- ขณะที่ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒ ได้ริเริ่มแนวความคิดนโยบาย "การเมืองนำการทหาร" ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และสามารถดึงมวลชนมาเป็นแนวร่วมได้เป็นจำนวนมาก แนวคิดนี้เผยแพร่ไปสู่กองทัพภาคอื่น ๆ และกลายเป็นความคิดหลักของกองทัพบก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และขยายออกไปสู่คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๖๖/๒๓ เรื่องนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ลง ๒๓ เมษายน ๒๕๒๓ ซึ่งนำไปสู่การยุติสงครามกลางเมืองลงอย่างเด็ดขาดในปี ๒๕๒๔
- ได้จัดตั้งโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) และจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และภาคเอกชน
เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน



บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 23-02-2008, 23:39 »




http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol02210251&day=2008-02-21&sectionid=0202


อ้างถึง

พิสูจน์คำสาบาน ฯพณฯ

ถ้าผมไปเกี่ยวข้องกับวันที่ 6 ตุลาฯแม้แต่นิดเดียว ให้ผมต้องมีอันเป็นไป"

"ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ"

"โอกาสนี้ดีเหลือเกินที่ผมได้มาชี้แจง ถ้าผมไปเกี่ยวข้องใดๆ ขอให้มีอันเป็นไปนับแต่วันนี้ แต่ถ้าผมไม่ได้เกี่ยวข้องจริง ให้ผมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยความสงบสุข"

ทั้งหมดคือคำสาบานของ นายสมัคร สุนทรเวช กลางที่ประชุมรัฐสภา ในวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยผู้นำยืนยันว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519



บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 24-02-2008, 00:26 »



ทุกวันนี้เราย้อนกลับมาแยกดูคัวละครก็มี



-ตำรวจ

-ทหาร

-ข้าราขการ

-รัฐบาล

-นักการเมือง

-นักศึกษา

-คอมมิวนิสต์

-พวกคลั่งชาติ ซ้าย/ขวา

-พวกคลั่งเจ้า

-ลูกเสือชาวบ้าน

-นวพล

-กระทิงแดง

-สื่อแท้ สือเทียม

-บ่างช่างยุ นักเสี้ยม  นักปลุระดม นักบิดเบือน

-เหยื่อ

-มือเท้าผู้มีอำนาจ

-ครู อาจารย์ นักวิชาการ คณะบดี อธิการบดี

-พวแอบๆ เล่นใต้ดิน..

-อื่นๆ



บางคนสวมหมวกหลายใบ ก็วิเคราะห์แยกแยะกันเอาเอง

ที่มีปัญหาเพราะนิยมความป่าเถื่อนรุนแรง เล่นใต้ดิน แทงข้างหลัง มัดมือเผา ชำเราศพ ฯลฯ
บันทึกการเข้า

ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #9 เมื่อ: 24-02-2008, 00:36 »

.


* 12131231.JPG (6.04 KB, 128x128 - ดู 2737 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 24-02-2008, 00:39 »



ส่วนท่านใดต้องการชำระประวัติศาสตร์

ก็หาข้อมูลมาเพิ่มเติม ว่าอะไรคือตัวชักนำให้ ฆ่ากันกลางเมือง

เพียงเพราะต่างฝ่ายเชื่อว่าตนเรียกร้องความชอบธรรม


แต่ผมขอกล่าวโทษ รัฐบาลมะเขือเผาของเสนีย์ ที่ไม่สามารถรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยได้..

เปรียบเสมือนไม่มีสมรรถภาพที่จะดูแลระบอบประชาธิปไตย จนเกิดการสะดุดในระบอบการเมืองไทยครั้งใหญ่

อยู่ในวังวนของเผด็จการทหารและภัยระบอบคอมมิวนิสต์ เกิดบาดแผลทางใจต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้


อย่างไรก็ตาม ก็ขอฟันธงว่า หากทหารไม่ถูกดึงเข้ามาเล่นการเมือง

หน่วยงานตำรวจและยุติธรรมได้รับการปรับปรุงอย่างจริงจังต่อเนื่อง

ปัญหาเข่นฆ่าเช่นนี้จะหมดไป ซึ่งหมายรวมถึงการรัฐประหารนอกระบบสภาด้วย

                                                                                                             
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 24-02-2008, 04:45 »


8 คำตอบจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เรื่อง 6 ตุลาฯ
by SS4 on Sun Feb 24, 2008 1:44 am



ชาญวิทย์ เกษตรศิริ...6 ตุลาฯ คือประวัติศาสตร์ที่ไม่มีอายุความ
Posted by สุทธิชัย หยุ่น วันเสาร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551


ถาม 7.
สำหรับบุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญๆสมัยนั้น หรือ “ใครเป็นใครเมื่อ 6 ตุลา 2519”


ตอบ
ก็มีอาทิ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็น นรม. อธิบดีกรมตำรวจ คือ พล.ต.อ.ศรีสุข มหินทรเทพ รองอธิบดีฯ คือ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ ทั้งยังมี พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค เป็นรองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม และมีนายตำรวจแถวหน้าๆ เช่น พล.ต.อ.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ พล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต ทางด้านลูกเสือชาวบ้านมี พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัญ เป็นผู้นำ ส่วนหัวหน้ากระทิงแดงก็คือ พล.ต.สุดสาย หัสดิน ณ อยุธยา และยังเป็นรองผู้อำนวยการ กอ.รมน. อีกด้วย และมีพรรคพวกสำคัญ คือ นายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ นอกจากนี้ทางด้านผู้นำสงฆ์ที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ก็คือ กิตติวุฑโฒภิกขุ ซึ่งมีผู้นำนวพล นายวัฒนา เขียววิมล เป็นมิตรร่วมรบ และที่สำคัญคือมีกระบอกเสียงวิทยุสถานี “ยานเกราะ” กับเครือข่ายวิทยุเสรี อันมีนายทหารโฆษกปลุกระดมคนสำคัญ คือ อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร่วมด้วยอาจารย์ “ฝ่ายเกลียด” เช่น ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ หรือนักเขียนเช่น “ทมยันตี” ฯลฯ สมัยนั้น ผบ.สส. คือ พลเรือตรีสงัด ชลออยู่ ที่กลายเป็นหัวหน้าคณะนายทหารทำการ “รัฐประหาร 6 ตุลา 2519 (แต่ใช้ชื่อไม่ถูกต้องวิชารัฐศาสตร์ว่า “การปฏิรูป” เช่นเดียวกับครั้ง 19 กันยายน 2549 หรืออีก 30 ปีต่อมา) สมัยนั้นมี ผบ.ทบ. ชื่อพลเอกเสริม ณ นคร (เพิ่งรับตำแหน่งต่อจากพลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์)ส่วน ผบ.ทร. คือ พลเรือเอกอมร ศิริกายะ และ ผบ.ทอ. คือ พลอากาศเอกกมล เตชะตุงคะ ทางธรรมศาสตร์ซึ่งกลายเป็น Killing Field ไปนั้นมี ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี และมีนายก อมธ. คือ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ส่วนผู้นำนักศึกษา “เป้านิ่ง” ของการสังหารหมู่ ก็มีเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ชื่อนายสุธรรม แสงประทุม นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ คือ นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ และนายกองค์การนักศึกษารามคำแหงฯ คือ นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม เป็นต้น

นักศึกษา “ตัวเล็กๆ” ที่ไม่ใช่ระดับนำ แต่ได้กลายเป็น “ข้อกล่าวหาคลาสสิก” ว่าด้วย “การหมิ่นพระบรมเดชาฯ” และ “ไม่จงรักภักดี” ต้องการทำลาย “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” คือ นายวิโรจน์ ตั้งวานิขย์ และนายอภินันท์ บัวหภักดี 2 นศ. มธ. ผู้แสดงละคร ณ ลานโพธิ์ เรื่องกรรมกร 2 นายถูกฆ่าตายที่นครปฐม ละครนี้ต่อต้านการกลับเข้าประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ลอบไปบวชเณรที่สิงคโปร์ แล้วห่มผ้าเหลืองเข้ามาบวชพระอีกรอบหนึ่ง ที่วัดบวรนิเวศ บางลำภู ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอย่างโหด***มด้วยอาวุธร้าย และการรัฐประหาร 6 ตุลาในที่สุด
บันทึกการเข้า

สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #12 เมื่อ: 24-02-2008, 14:30 »


 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 24-02-2008, 19:05 »



หลายคนยังมีชีวิตอยู่ รอปชป.อย่างชวนรัฐบาลสองสมัย มาแก้หน้าตนเอง โดยรับถนอมมาแต่งตั้ง 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 25-02-2008, 20:55 »



บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 25-02-2008, 21:06 »



ถามกันมาหลายคนแล้ว

แนะนำนักข่าว ให้ไปถามอดีตทหารแก่ๆ

หรือนักการเมืองแก่ๆ ว่าใครเป็นใคร

หรือจะตั้งกรรมาธิกาหรือกรรมการชุดพิเศษ ก็ต้องเอาคนเหล่านี้เข้าร่วม

อาจะได้เบาะแสเพิ่มเติม ว่าใครสั่งพวกตำรวจทหารในข่าวเหล่านั้น ตามรายชื่อที่ยกมาครับ..

แต่อย่างไรก็ตาม มีกฎหมายที่ได้นิรโทษกรรม พวกเหล่านั้นไปหมดแล้ว



8 คำตอบจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เรื่อง 6 ตุลาฯ
by SS4 on Sun Feb 24, 2008 1:44 am



ชาญวิทย์ เกษตรศิริ...6 ตุลาฯ คือประวัติศาสตร์ที่ไม่มีอายุความ
Posted by สุทธิชัย หยุ่น วันเสาร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551


ถาม 7.
สำหรับบุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญๆสมัยนั้น หรือ “ใครเป็นใครเมื่อ 6 ตุลา 2519”


ตอบ
ก็มีอาทิ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็น นรม. อธิบดีกรมตำรวจ คือ พล.ต.อ.ศรีสุข มหินทรเทพ รองอธิบดีฯ คือ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ ทั้งยังมี พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค เป็นรองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม และมีนายตำรวจแถวหน้าๆ เช่น พล.ต.อ.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ พล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต ทางด้านลูกเสือชาวบ้านมี พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัญ เป็นผู้นำ ส่วนหัวหน้ากระทิงแดงก็คือ พล.ต.สุดสาย หัสดิน ณ อยุธยา และยังเป็นรองผู้อำนวยการ กอ.รมน. อีกด้วย และมีพรรคพวกสำคัญ คือ นายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ นอกจากนี้ทางด้านผู้นำสงฆ์ที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา ก็คือ กิตติวุฑโฒภิกขุ ซึ่งมีผู้นำนวพล นายวัฒนา เขียววิมล เป็นมิตรร่วมรบ และที่สำคัญคือมีกระบอกเสียงวิทยุสถานี “ยานเกราะ” กับเครือข่ายวิทยุเสรี อันมีนายทหารโฆษกปลุกระดมคนสำคัญ คือ อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร่วมด้วยอาจารย์ “ฝ่ายเกลียด” เช่น ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ หรือนักเขียนเช่น “ทมยันตี” ฯลฯ สมัยนั้น ผบ.สส. คือ พลเรือตรีสงัด ชลออยู่ ที่กลายเป็นหัวหน้าคณะนายทหารทำการ “รัฐประหาร 6 ตุลา 2519 (แต่ใช้ชื่อไม่ถูกต้องวิชารัฐศาสตร์ว่า “การปฏิรูป” เช่นเดียวกับครั้ง 19 กันยายน 2549 หรืออีก 30 ปีต่อมา) สมัยนั้นมี ผบ.ทบ. ชื่อพลเอกเสริม ณ นคร (เพิ่งรับตำแหน่งต่อจากพลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์)ส่วน ผบ.ทร. คือ พลเรือเอกอมร ศิริกายะ และ ผบ.ทอ. คือ พลอากาศเอกกมล เตชะตุงคะ ทางธรรมศาสตร์ซึ่งกลายเป็น Killing Field ไปนั้นมี ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี และมีนายก อมธ. คือ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ส่วนผู้นำนักศึกษา “เป้านิ่ง” ของการสังหารหมู่ ก็มีเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ชื่อนายสุธรรม แสงประทุม นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ คือ นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ และนายกองค์การนักศึกษารามคำแหงฯ คือ นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม เป็นต้น

นักศึกษา “ตัวเล็กๆ” ที่ไม่ใช่ระดับนำ แต่ได้กลายเป็น “ข้อกล่าวหาคลาสสิก” ว่าด้วย “การหมิ่นพระบรมเดชาฯ” และ “ไม่จงรักภักดี” ต้องการทำลาย “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” คือ นายวิโรจน์ ตั้งวานิขย์ และนายอภินันท์ บัวหภักดี 2 นศ. มธ. ผู้แสดงละคร ณ ลานโพธิ์ เรื่องกรรมกร 2 นายถูกฆ่าตายที่นครปฐม ละครนี้ต่อต้านการกลับเข้าประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ลอบไปบวชเณรที่สิงคโปร์ แล้วห่มผ้าเหลืองเข้ามาบวชพระอีกรอบหนึ่ง ที่วัดบวรนิเวศ บางลำภู ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอย่างโหด***มด้วยอาวุธร้าย และการรัฐประหาร 6 ตุลาในที่สุด


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 25-02-2008, 22:53 »




บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #17 เมื่อ: 26-02-2008, 00:18 »

ตุลา 19 ต้องถามหาว่าใครฆ่าประชาชน: ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ?

ทหาร ตำรวจ ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดงของคณะทหาร
ผู้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล มรว.เสนีย์ ปราโมชที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณ
แต่ไม่ได้เป็น'เผด็จการรัฐสภา'ด้วย....
 
ร่วมกันฆ่าประชาชน นักศึกษาที่ชุมนุมประท้วงการกลับมาของ'เณรเฒ่าถนอม'.... Exclamation
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 26-02-2008, 00:37 »

ตุลา 19 ต้องถามหาว่าใครฆ่าประชาชน: ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ?

ทหาร ตำรวจ ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดงของคณะทหาร
ผู้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล มรว.เสนีย์ ปราโมชที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณ
แต่ไม่ได้เป็น'เผด็จการรัฐสภา'ด้วย....
 
ร่วมกันฆ่าประชาชน นักศึกษาที่ชุมนุมประท้วงการกลับมาของ'เณรเฒ่าถนอม'.... Exclamation



ขำมากๆ เขาฆ่ากันเสร็จ มีแถลงการณ์ของรัฐบาลแล้ว จึงเกิดการปฏิวัติโดยสงัด ซึ่งไม่ทราบมีใครหนุนหลังอีก

รัฐบาลเสนีย์ลาออกไป ได้รับการโปรดเกล้าฯกลับมาใหม่ ไม่มีสมัครในรายชื่อวันที่ 5 ตค.19 มีแต่พวกที่หนีตาย คุมสถานการณ์ไม่ได้.



บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #19 เมื่อ: 26-02-2008, 00:52 »


ขำมากๆ เขาฆ่ากันเสร็จ มีแถลงการณ์ของรัฐบาลแล้ว จึงเกิดการปฏิวัติโดยสงัด ซึ่งไม่ทราบมีใครหนุนหลังอีก

รัฐบาลเสนีย์ลาออกไป ได้รับการโปรดเกล้าฯกลับมาใหม่ ไม่มีสมัครในรายชื่อวันที่ 5 ตค.19 มีแต่พวกที่หนีตาย คุมสถานการณ์ไม่ได้.






ถ้าจะบอกให้คนไทยเชื่อว่าก่อน 6 ตุลา 19
สงัด สมัคร ทมยันตี อุทิศ อุทาร ฯลฯ เป็น'วุ้น' อยู่
ก็ตามใจเถอะ..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 26-02-2008, 01:22 »


ถ้าจะบอกให้คนไทยเชื่อว่าก่อน 6 ตุลา 19
สงัด สมัคร ทมยันตี อุทิศ อุทาร ฯลฯ เป็น'วุ้น' อยู่
ก็ตามใจเถอะ..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 ของไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย (25 กันยายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)


หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ


[แก้] รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีคณะรัฐมนตรี ดังนี้

พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายสิดดิก สารีฟ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

[แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 สิ้นสุดลงพร้อมกับ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี นับเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน


[แก้] อ้างอิง
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี   http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_38.htm
ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb2_main11.htm
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 26-02-2008, 02:45 »

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 ของไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ประเทศไทยมีรัฐมนตรีหญิงเป็นครั้งแรก จำนวน 2 คนคือ คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นางวิมลศิริ ชำนาญเวช รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

นอกจากนี้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ที่เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และได้ทำรัฐประหารสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกครั้งหนึ่งในรัฐบาลนี้ และต่อมาได้ทำรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520


[แก้] รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 ของไทย
ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายดุสิต ศิริวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ต่อมา พล.ร.อ.สงัด ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลชุดนี้)
นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (เป็นหนึ่งในสองรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย)
นายสุธี นาทวรทัต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสมัคร สุนทรเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เป็นการดำรงตำแหน่งระดับรัฐมนตรีว่าการครั้งแรกของนายสมัคร)
นายเสมา รัตนมาลัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายภิญโญ สาธร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เรือโทยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พลอากาศโทเพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางวิมลศิริ ชำนาญเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (เป็นหนึ่งในสองรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย)
พลเอกเล็ก แนวมาลี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายคนึง ฤๅชัย เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

[แก้] การสิ้นสุดของ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจาก พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดิน เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 และได้ประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. 2520 และจัดตั้ง สภานโยบายแห่งชาติ โดยให้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช พ.ศ. 2519 สิ้นสุดลง พร้อมกับสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและคณะรัฐมนตรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-02-2008, 03:17 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 26-02-2008, 02:49 »



รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลโท บุญเรือน บัวจรูญ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมพร บุญยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายฉลอง ปึงตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายทำนอง สิงคาลวณิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประสงค์ สุขุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายนาม พูนวัตถุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายปรก อัมระนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลโทเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายจำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายประพนธ์ ปิยะรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

[แก้] การปรับคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ดังนี้

พลเอก เล็ก แนวมาลี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

[แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 301 คน และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ทำให้คณะรัฐมนตรี ที่บริหารประเทศอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 26-02-2008, 02:51 »



คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 ของไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 รัฐบาลของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ซึ่งผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคในขณะนั้นจึงได้รับการสนับสนุนให้ให้เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาลประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเกษตรสังคม แต่เมื่อคณะรัฐบาลชุดนี้แถลงนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฎว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออก


[แก้] รายชื่อคณะรัฐมนตรี
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายเทียม ไชยนันท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พลอากาศโท อุสาห์ ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายประมุท บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายสมศาสตร์ รัตนสัค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประเทือง คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายธรรมนูญ เทียนเงิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมบุญ ศิริธร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสันต์ เทพมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 26-02-2008, 02:56 »

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 37 ของไทย
ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2519 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายพิชัย รัตตกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายเล็ก นานา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายคล้าย ละอองมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมบุญ ศิริธร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นาย[ชวน หลีกภัย]] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายสิดดิก สารีฟ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายปรีชา มุสิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายแผน สิริเวชชะพันธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

[แก้] การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2519 สืบแทน พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ซึ่งถึงแก่อนิจกรรรม
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สืบแทน พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519
[แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 37 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้มีหนังสือถวายบังคมทูลพระกรุณา ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 ขอพระราชทานกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีทั้งคณะจึงเป็นอันสิ้นสุดลง

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 26-02-2008, 03:04 »



พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์
ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๒๐
( ระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๑๘ - ๓๐ กันยายน ๒๕๑๙ )


--------------------------------------------------------------------------------


วันเกิด ๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ อสัญกรรม ๑๒ กันยายน ๒๕๓๘
เป็นบุตรนายยัง และนางแพ บำรุงพงศ์ ภริยาคือ คุณหญิง จรัสลักษณ์ บำรุงพงศ์
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๗๗ - ๒๔๗๙ ศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๘๐ นักเรียนทำการนายร้อย ตำแหน่งผู้บังคับหมวดประจำ
กองพันทหารม้าที่ ๔ จังหวัดจันทบุรี รับพระราชทานยศว่าที่นายร้อยตรี
- พ.ศ.๒๔๘๑ รับพระราชทานยศนายร้อยตรี
- พ.ศ.๒๔๘๔ สำรองราชการกองบังคับการแผนกทหารม้า
รับพระราชทานยศนายร้อยเอก นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนนายทหารม้า
- พ.ศ.๒๔๘๖ ประจำแผนกทหารม้า สำรองราชการกองบังคับการกรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๘๗ ประจำกรมทหารม้าที่ ๔๕ ในกองพลทหารม้า
- พ.ศ.๒๔๘๘ รับพระราชทานยศพันตรี
- พ.ศ.๒๔๘๙ นายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๙๑ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๒ รับพระราชทานยศพันโท
- พ.ศ.๒๔๙๓ รองเสนาธิการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๔ รักษาราชการเสนาธิการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๕ รับพระราชทานยศพันเอก เสนาธิการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๗ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๙๙ รับพระราชทานยศพลจัตวา เสนาธิการภาคทหารบกที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๐ เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๒ รับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ.๒๕๐๓ เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารบก ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
- พ.ศ.๒๕๐๖ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ.๒๕๐๗ เจ้ากรมการรักษาดินแดน รับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๐๘ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ.๒๕๑๐ รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๖ เสนาธิการทหารบก รับพระราชทานยศพลเอก
- พ.ศ.๒๕๑๗ รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๘ ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๐ รองนายกรัฐมนตรี

ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ ราชการสนามในคราวสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส
- พ.ศ.๒๔๘๗ ราชการสนามในคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา
- พ.ศ.๒๔๙๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๙๙ ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ.๒๕๐๙ นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ ๑ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๑ สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ.๒๕๑๘ นายทหารพิเศษ ประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์,
และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๙๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๒ เหรียญจักรมาลา ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๓ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ ชั้นที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๙๖ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๘ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓
- พ.ศ.๒๕๐๓ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๐๔ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๕ เหรียญชัยสมรภูมิ (เอเชีย)
- พ.ศ.๒๕๐๗ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๐๙ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๑๑ ทุติยจุลจอมเกล้า เหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๑๒ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๑๓ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๑๔ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๑๗ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
ผลงานที่สำคัญ
- ร่วมปฏิบัติการภาคสนาม ในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยเข้าประจำกรมทหารม้า ที่ ๔๕ ในกองพลทหารม้า ได้เคลื่อนกำลังเข้าตีข้าศึกไปจนถึงแคว้นยูนนาน
- จัดโครงการช่วยเหลือประชาชน เพื่อแยกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ออกจากประชาชนทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการใช้มาตรการทางทหารภายใต้สถานการณ์การปฏิบัติการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์์ในขณะนั้น
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 26-02-2008, 03:13 »




พลเอก กฤษณ์ สีวะรา
ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๑๙
( ระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ - ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘ )

--------------------------------------------------------------------------------

วันเกิด ๒๙ มีนาคม ๒๔๕๗ อสัญกรรม ๒๑ เมษายน ๒๕๑๙
เป็นบุตรร้อยตรีชิต และนางละมุล สีวะรา ภริยาคือ คุณหญิง สุหร่าย สีวะรา
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๕๙ ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนสีตบุตรบำรุง
- พ.ศ.๒๔๖๒ ศึกษาต่อโรงเรียนวัดสามจีน
- พ.ศ.๒๔๖๔ - ๒๔๖๖ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม
- พ.ศ.๒๔๖๗ ศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย)
- พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
- พ.ศ.๒๔๗๔ นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สอบได้เป็นที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๗๙ นักเรียนทำการนายร้อยในโรงเรียนทหารราบ
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๗๙ รับพระราชทานยศนายร้อยตรี
- พ.ศ.๒๔๘๑ ผู้บังคับหมวดโรงเรียนทหารราบ
- พ.ศ.๒๔๘๓ รับพระราชทานยศนายร้อยโท ผู้บังคับหมวดกองโรงเรียนนายสิบพลรบ
- พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้บังคับหมวดกองโรงเรียนนายสิบทหารราบ
- พ.ศ.๒๔๘๕ รับพระราชทานยศนายร้อยเอก
- พ.ศ.๒๔๘๖ สำรองราชการกองบังคับกองพันทหารราบที่ ๓๓
- พ.ศ.๒๔๘๗ สำรองราชการกองบังคับการมณฑลทหารบกที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๘๘ รับพระราชทานยศพันตรี
- พ.ศ.๒๔๘๙ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๔ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนทหารราบ
- พ.ศ.๒๔๙๐ ประจำกองบังคับการกรมจเรทหารราบ
รองผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๑ ผู้บังคับกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๒ รักษาราชการผู้บังคับกองดุริยางค์มณฑลทหารบกที่ ๑
รับพระราชทานยศพันโท
- พ.ศ.๒๔๙๓ ผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๕ รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๖ รับพระราชทานยศพันเอก
- พ.ศ.๒๔๙๙ รับพระราชทานยศพลจัตวา
- พ.ศ.๒๕๐๐ รองผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑
รับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ.๒๕๐๓ รองแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑ รักษาราชการผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ แม่ทัพภาค กองทัพภาคที่ ๒   
- พ.ศ.๒๕๐๔ รับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๐๖ แม่ทัพภาค กองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๘ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รับพระราชทานยศนายพลเอก
รักษาราชการแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๙ รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๒ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ.๒๕๑๓ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ.๒๕๑๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พ.ศ.๒๕๑๖ ผู้บัญชาการทหารบก รับพระราชทานยศพลเรือเอก
พลอากาศเอก
- พ.ศ.๒๕๑๗ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ.๒๕๑๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม


ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๕ ราชการสนามในสงครามมหาเอเชียบูรพา
- พ.ศ.๒๔๙๒ ราชองครักษ์เวร และร่วมอำนวยการปราบปรามจลาจลเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
- พ.ศ.๒๔๙๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ และร่วมการปราบปรามกบฏ เมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๔
- พ.ศ.๒๕๐๐ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ และร่วมทำการรัฐประหาร เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
- พ.ศ.๒๕๐๒ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ.๒๕๐๓ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- พ.ศ.๒๕๐๗ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๑ สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ.๒๕๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๕๑๓ สภานายกราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ.๒๕๑๖ นายทหารพิเศษ ประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๗ ตุลาการศาลทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ
และบริหารงานป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ทั่วไป นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๘๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๐ เหรียญจักรมาลา
- พ.ศ.๒๔๙๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๓ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ ชั้นที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๙๖ ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓
- พ.ศ.๒๔๙๙ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๓ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๐๔ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๕ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ประถมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญชัยสมรภูมิ (มหาเอเชียบูรพา)
- พ.ศ.๒๕๐๖ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๐๙ ทุติยจุลจอมเกล้า มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๑๑ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๑๗ เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ ๑)
ผลงานที่สำคัญ
- ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒, ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านได้พยายามมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพ
ภาคที่ ๒ เพื่อหาทางวางกำลังทหารที่จังหวัดสกลนคร ทำให้มีหน่วยทหารเข้ามาตั้ง
ในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ทำให้
ประชาชนได้รับความอบอุ่นโดยทั่วกัน กองทัพบกจึงได้อนุมัติให้ตั้งชื่อค่ายกองพันที่ ๑
กรมทหารราบที่ ๓ จังหวัดสกลนคร ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน


 




บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 26-02-2008, 03:16 »

ผมว่าข้อมุลมันน้อยไปนะครับ สาเหตุที่คนไทยฆ่ากันเอง ขออนุญาตเอาความเห็นบางท่านจากฟ้าเดียวกันมาแปะหน่อยครับ

จากกระทู้นี้ครับ http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=5969

คงกฤดิ ศิริรณรงค์     Feb 17 2008, 11:21 PM

เห็นด้วยกับ อ. เป็นอย่างยิ่งครับ แต่ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุผลเดียวกันหรือเปล่า คือ ผมมองโดยอาศัยอ่านหนังสือเก่าๆของฝ่ายซ้ายที่ตี
พิมพ์ในช่วงนั้นกับหนังสือที่ อ.สุลักษณ์, อ.เสกสรรค์ เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ช่วงนั้นผมรู้สึกว่าฝ่ายซ้ายเองก็มีลักษณะทีพร้อมจะใช้กำลัง
เข้าเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน(ถ้ามีกำลัง) มีการปลุกระดมให้คนกลุ่มหนึ่งเกลียดชังคนอีกกลุ่มหนึ่งเหมือนกัน (การพูดของฝ่ายซ้ายมีข้อ
เท็จจริงรองรับแต่ก็เป็นการพูดกระดุ้นให้เกิดความเกลียดชังอยู่ดี) เพราะฉะนั้นผมก็เลยมองว่ามันเป็นเรื่องของคนสองฝ่ายที่จะมีเรื่องกัน
การยกความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาฯไปให้ฝ่ายขวาอย่างเดียวมันก็ไม่ยุติธรรมเท่าไหร่
แต่ขออนุญาตเรียนถามเพื่มเติมว่าทำไม อ. ถึงต้องแยก xxx ออกไปเป็นอีกกรณีหนึ่งด้วยครับ ในเมื่อท่านก็มีสถานะในระบอบเก่าอยู่
เมื่อฝ่ายซ้ายแสดงอาการพร้อมจะโค่นล้มระบอบเก่าด้วยการใช้กำลังไม่ว่าโดยส่วนตัวหรือ
ส่วนรวมท่านก็น่าจะมีความชอบธรรมที่จะต่อสู้
นะครับ
-------------------------
ผัวเผลอแล้วเจอกัน     Feb 18 2008, 04:45 PM


ผมค่อนข้างเห็นด้วยกะนายคงกฤตนะครับ
ขอถามอ.สมศักดิ์หน่อย (คนอื่นจะตอบด้วยก็ได้ ผมอยากรู้มานานแล้ว ขอเหตุผลประกอบด้วย)
สมมุตินะครับ (เป็นคำถามแบบ What if ในเว็บบอร์ดประวัติศาสตร์เมืองนอกเขาลองตั้ง scenario ขึ้นมาที่เกี่ยวกะเหตุการณ์จริงขึ้นมาวิเคราะห์และให้ความเห็นกัน เช่นถ้าฮิตเลอร์ไม่บุกรัสเซียแต่ตีอังกฤษให้แตกก่อน แล้วผลของ WW2 จะเปลี่ยนแค่ไหน, ถ้าญี่ปุ่นไม่บุก Pearl Habor แล้วจะเป็นยังไง)
ถ้าไม่มีกรณี 6 ตุลา ไม่มีการใช้กำลังปราบปราม แล้วเหตุการณ์เมืองไทยจะเป็นยังไงต่อ เช่น
- ฝ่ายซ้ายแข็งขึ้นเรื่อยๆ แล้วใช้กำลังต่อสู้ แล้วแพ้ (หรือชนะ? หรือแบ่งแยกบางภาค บางจว ออกไปได้)
- พคท ร่วมมือกะประเทศอื่นเอาชนะไทยได้
- ไม่มีอะไร ฝ่ายซ้ายตั้งพรรคการเมืองเข้ามาต่อสู้กันในสภา
- รบ. เสนีย์ หรือ รบ. พลเรือนชุดอื่นบริหารต่อไป แล้วก็เจอทหารปฏิวัติอยู่ดีประมาณ 2-3 ปีหน
etc
ผมเองยังนึกไม่ออกว่าถ้าไม่มี 6 ตุลา แล้วจะเป็นยังไงต่อ
แต่อยากรู้มุมมองของอาจารย์ด้วย
-----------------------------------------------
สหายสิกขา     Feb 18 2008, 05:03 PM

ความจริง ตอนนี้ผมสนใจศึกษาเรื่องข้อมูลประวัติศาสตร์ของฝ่ายซ้ายไทย โดยเฉพาะ พคท.
ความคิดในสมองผมตอนนี้ กลับไม่ได้สนใจ เรื่อง scenario ว่ามีหรือไม่มี 6 ตุลา,
ผมกลับสนใจ "การขัดแย้งภายใน พคท." มากกว่า
คือช่วงที่ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร แยกตัวจาก พคท. ดูเหมือนว่าเขามีความเห็นขัดแย้งกับแกนนำ พคท. ในช่วงที่เขาไปศึกษาที่ สถาบันมาร์กซ์-เลนิน
เขาเคยเป็น สส. มาก่อน ผมไม่แน่ใจ (ยังไม่ได้ศึกษามากพอ) ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับความขัดแย้งในแนวทางใดของ พคท.
แต่ดูเหมือนว่า พคท. จะพยายาม "เลียนแบบ" ความสำเร็จของการ "ปฏิวัติ" ของเหมาเจ๋อตุง
เลียนแบบนี่เลียนแบบเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สภาพสังคม เช่น เป็นกึ่งศักดินา กึ่งเมืองขึ้น (ทั้งที่มันไม่ได้มีสภาพแบบนั้น หรือใกล้เคียงกับจีนเลย) จึงสรุปนโยบายเพื่อ "ต่อสู้ด้วยอาวุธ" ใช้แนวทาง "ชนบทล้อมเมือง"
ดูเหมือน ประเสริฐ จะไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธ เขาจึงแยกตัวออกมา แล้วเข้าร่วมมือกับกลุ่มนายทหารประชาธิปไตย และมีอิทธิพลอย่างสูงกับ นโยบาย 66/23 ในภายหลัง
ซึ่งก็คล้ายกับ ผิน บัวอ่อน แต่ผินนี่ดูเหมือนจะมี เรื่องซับซ้อนกว่าประเสริฐมาก คือโดนจับไป 3 ปี แล้วโดนสอบสวน ภายหลังก็หันมาให้ความร่วมมือกับทางการ ในช่วง 14-19 (คล้ายๆ ว่ามีเรื่องหักหลังกัน หรือแตกแยกกันกับ ประเสริฐ เอี้ยวฉาย) โดยออก บทความ, หนังสือ โจมตีแนวทาง พคท. โดยตรง
แต่เมื่อ ศูนย์การนำ พคท. ประกาศแนวทางต่อสู้ด้วยอาวุธ , ใช้ชนบทล้อมเมือง และการต่อสู้ในต่างจังหวัดเริ่มรุนแรงขึ้น ก็เท่ากับว่าแนวทางของ พคท. ดึงดูดแนวคิดของ นศ. ไม่น้อย
ผมอ่านในหนังสือว่า ผิน มองว่า พคท. ไปสนับสนุน นศ. ใช้แนวทางซ้ายจัด , ความจริง น่าจะมองแย้งได้ว่า นศ. สนใจแนวทางซ้ายจัดเอง โดยอาจจะมี พคท. จัดตั้งบ้าง แต่ไม่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ, ซึ่งแนวทางซ้ายจัดไม่ถูก เพราะเท่ากับไปยั่วยุและท้าทาย ชนชั้นปกครอง ซึ่งผลก็ออกมาเป็น 6 ตุลา
(ผมคิดอยู่เหมือนกันว่า การที่ เลนิน, เหมา, โฮจิมินห์, เช พวกนี้ปฏิวัติได้สำเร็จ เพราะมันมีสงครามหล่อเลี้ยงอยู่ แต่ในยุคหลังของไทยมันไม่มีแล้ว จีน โซเวียต เริ่มเดินแนวแบบชาตินิยมมากขึ้นด้วย)
คือถ้ามองแบบวิภาษวิธี ผมกลับสนใจจุดเริ่มตรงนี้มากกว่า (แน่นอนผมไม่ได้มองว่า ชนชั้นนำทำถูกต้องแล้วที่ตอบโต้ด้วย 6 ตุลา)
ผมสนใจยิ่งขึ้นว่า จะเป็นอย่างไร ถ้า พคท. "เชื่อ" แนวทางของ "ประเสริฐ" หรือ "ผิน" แทน , (น่าคิด แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ถ้าดูแนวคิดศูนย์การนำ พคท อย่าง วิรัช, ธง, เจริญ)
ป่านนี้อาจจะมี สส. ของพรรคคอมมิวนิสต์ในสภาหรือเปล่า?

---------------------------------------------------

เท่าที่อ่านดู ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีใครบงการหรอกครับ

สาเหตุเกิดจากความเกลียดแค้น ชิงชังกันเท่านั้นเอง จนขาดสติ

ถ้าต่างฝ่ายยังชี้หน้าด่ากันว่าพวกมรึงผิด โดยไม่มองย้อนดูตัวเอง ว่าทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า

ปัญหามันก็อาจจะเกิดซ้ำรอยเดิมเหมือนในอดีตได้อีก

แล้วก็จะมาชี้หน้าด่ากันอีก ว่าพวกมรึงผิด
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 26-02-2008, 04:04 »

ลำดับเหตุการณ์กรณี 6 ตุลาคม  2519  http://www.2519.net/newweb/doc/histry/1.doc

มิถุนายน 2519

สุธรรม แสงประทุม ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในช่วงนั้นได้มีการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังก้าวเดินไปสู่ความเลวร้ายทุกขณะ โดยมีการทำลายล้างทั้งการโฆษณาและวิธีการรุนแรง แต่กลับทำให้ขบวนการนักศึกษาเติบใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดูจากผลการเลือกตั้งกรรมการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ประจำปี 2519 นักศึกษาฝ่ายก้าวหน้าได้รับชัยชนะเกือบทุกสถาบัน

27 มิถุนายน 2519

กิตติวุฒโฑภิกขุ ให้สัมภาษณ์ น.ส.พ.จัตุรัส ว่า “การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ”

2 กรกฎาคม 2519

กรรมการ ศนท. นัดพบประชาชนที่สนามหลวง การชุมนุมครั้งนี้มีคนถูกปาด้วยเหล็กแหลมและก้อนหินจนบาดเจ็บหลายคน สุธรรมกล่าวในการชุมนุมว่ากรรมการ ศนท.ชุดนี้อาจจะเป็นชุดสุดท้าย แต่ก็พร้อมยืนตายคาเวทีต่อสู้

ในช่วงนั้น ที่ทำการ ศนท. ในตึก ก.ต.ป. ถูกล้อมและขว้างปาหลายครั้ง และยังเคยมีคนมาติดต่อกับกรรมการ ศนท.เสนอให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับจะสนับสนุนเงินทองและที่อยู่ให้ โดยบอกว่าจะมีรัฐประหารแน่นอน แต่ไม่อยากให้นักศึกษาลุกขึ้นต่อต้าน แต่กรรมการ ศนท.ตอบปฏิเสธ

27 กรกฎาคม 2519

หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวขนาดใหญ่ว่า “วางแผนยุบสภาผู้แทน ตั้งสภาปฏิรูปสวมรอย” เนื้อข่าวกล่าวว่า บุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยทหาร ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า ข้าราชการ กำลังวางโครงการตั้ง “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” เตรียมตัวเพื่อขึ้นมาบริหารงานแทนรัฐบาลเสนีย์


6 สิงหาคม 2519

คณะรัฐมนตรีประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาคำขอของจอมพลถนอม (ที่จะเดินทางเข้าประเทศ) ปรากฏว่าความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรอนุมัติเพราะจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการชุมนุมขับไล่ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรอนุมัติเพราะจอมพลถนอมมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

10 สิงหาคม 2519

มีข่าวลือว่าจอมพลถนอมเดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่วันรุ่งขึ้นก็มีข่าวว่าจอมพลถนอมทำบุญเลี้ยงพระที่วัดไทยในสิงคโปร์

16 สิงหาคม 2519

มีข่าวแจ้งว่าจอมพลประภาส จารุเสถียร หนึ่งในสามทรราชที่ถูกนักศึกษาประชาชนขับไล่ และหลบหนีออกนอกประเทศไปเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เดินทางกลับเข้าประเทศแล้ว

19 สิงหาคม 2519

นักศึกษาจำนวนหนึ่งจัดขบวนแห่รูปวีรชน 14 ตุลา ไปที่สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาให้ตำรวจดำเนินคดีกับจอมพลประภาส
15.00 น. นักศึกษาชุมนุมที่ลานโพธิ์ แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะมีคำสั่งห้ามแล้ว
17.00 น. ศนท.จัดชุมนุมที่สนามหลวง
22.00 น. นักศึกษาประชาชนประมาณหมื่นคน เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงเข้ามายังสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ และมีการชุมนุมกันตลอดคืน

20 สิงหาคม 2519

กรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เปิดอภิปรายที่ลานโพธิ์ ชี้แจงเหตุผลที่ต้องย้ายการชุมนุมเข้ามาในธรรมศาสตร์ การชุมนุมที่สนามฟุตบอลยังดำเนินไปตลอดคืน

21 สิงหาคม 2519

กลุ่มกระทิงแดงเริ่มปิดล้อมมหาวิทยาลัย

14.00 น. นักศึกษารามคำแหง 3,000 คน เดินขบวนเข้ามาทางประตูมหาวิทยาลัยด้านพิพิธภัณฑ์ กระทิงแดงปาระเบิดและยิงปืนเข้าใส่ท้ายขบวน มีผู้เสียชีวิต 1 คน แต่การชุมนุมยังดำเนินต่อไป
20.30 น. ฝนตกหนัก กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงยืนหยัดอยู่ในสนามฟุตบอล จนฝนหยุด จึงเคลื่อนเข้าไปในหอประชุมใหญ่ และอยู่ข้างในตลอดคืน

22 สิงหาคม 2519

จอมพลประภาสเดินทางออกนอกประเทศ นักศึกษาประชาชนสลายตัว

26 สิงหาคม 2519

มีข่าวลือว่าจอมพลถนอมลอบเข้ามาทางจังหวัดสงขลา แต่ไม่เป็นความจริง นายสุธรรม แสงประทุม เลขาศูนย์นิสิตฯ แถลงว่าจอมพลถนอมต้องการกลับมามีอำนาจอีกครั้ง

27 สิงหาคม 2519

อธิบดีกรมตำรวจมีคำสั่งให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องระมัดระวังมิให้จอมพลถนอมเดินทางเข้าประเทศไทย

28 สิงหาคม 2519

ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เดินทางเข้าประเทศไทย โดยแถลงว่าเข้ามาเพื่อปรนนิบัติบิดาของจอมพลถนอม และมารดาของท่านผู้หญิง รวมทั้งเป็นเจ้าภาพงานแต่งงานเพื่อนของบุตรชายด้วย

29 สิงหาคม 2519

บุตรสาวจอมพลถนอม 3 คนเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่บ้านพักซอยเอกมัย เพื่อเจรจาขอให้จอมพลถนอมเข้ามาบวชและรักษาบิดา นายกฯ ขอนำเรื่องเข้าปรึกษา ครม.

30 สิงหาคม 2519

น.ท.ยุทธพงษ์ กิตติขจร ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเหตุผลที่จอมพลถนอมขอเดินทางเข้าประเทศไทย

31 สิงหาคม 2519

ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรอนุมัติให้จอมพลถนอมเดินทางกลับเข้ามา และ รมช.ต่างประเทศสั่งสถานทูตไทยในสิงคโปร์แจ้งผลการประชุม ครม.ให้จอมพลถนอมทราบ

1 กันยายน 2519

นายกรัฐมนตรีเรียกอธิบดีกรมตำรวจและรองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษเข้าพบ เพื่อเตรียมการป้องกันการเดินทางเข้าประเทศของจอมพลถนอม และให้นำเอกสารจากกระทรวงมหาดไทยและกลาโหมเกี่ยวกับการพิจารณาความผิดจอมพลถนอมในกรณี 14 ตุลาคม 2516 มาตรวจสอบ

2 กันยายน 2519

แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติติดใบปลิวต่อต้านการเดินทางกลับไทยของจอมพลถนอมตามที่สาธารณะ นายสุธรรม แสงประทุม เลขาศูนย์นิสิตฯ พร้อมด้วยตัวแทน อมธ. สโมสรนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกันแถลงว่าจะคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอมจนถึงที่สุด

3 กันยายน 2519

อธิบดีกรมตำรวจชี้แจงว่าได้เตรียมการป้องกันจอมพลถนอมเดินทางกลับเข้ามาไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้าเข้ามาจะควบคุมตัวทันที

นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รมต.ยุติธรรม ซึ่งเดินทางกลับจากสิงคโปร์ แถลงว่าหลังจากได้พบและชี้แจงถึงความจำเป็นของรัฐบาลต่อจอมพลถนอมแล้ว จอมพลถนอมบอกว่าจะยังไม่เข้ามาในระยะนี้

นายสมัคร สุนทรเวช รมช.มหาดไทย กล่าวโดยสรุปว่าขณะนี้มีมือที่สามจะสวมรอยเอาการกลับมาของจอมพลถนอมเป็นเครื่องมือก่อเหตุร้าย


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 26-02-2008, 04:20 »

24 กันยายน 2519

01.00 น. รถจี๊ปและรถสองแถวบรรทุกคนประมาณ 20 คน ไปที่ประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านท่าพระจันทร์ ทำลายป้ายที่ปิดประกาศขับไล่ถนอม

นายเสถียร สุนทรจำเนียร นิสิตจุฬาฯ ถูกตีที่ศีรษะและถูกแทงลำตัว ในขณะที่ออกติดโปสเตอร์พร้อมกับเพื่อนอีก 2 คน ซึ่งถูกทำร้ายและถูกรูดทรัพย์ไปโดยฝีมือชายฉกรรจ์ 20 คนในรถกระบะสีเขียว


นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรรบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม พบมีรอยมัดมือและรอยถูกรัดคอด้วยเชือกไนล่อน ตำรวจสืบสวนบิดเบือนสาเหตุว่ามาจากการผิดใจกับคนในที่ทำงานและติดสินบนนักข่าวท้องถิ่นให้เงียบ แต่มีผู้รักความเป็นธรรมนำรูปประมาณ 20 กว่ารูปพร้อมเอกสารการฆาตกรรมมาให้ ศนท. ในวันที่ 25 กันยายนตอนเช้า

(ในวันที่ 6 ตุลาคม มีตำรวจ 5 คนถูกจับในข้อหาสมคบฆ่าแขวนคอสองพนักงานการไฟฟ้า ได้แก่ ส.ต.อ. ชลิต ใจอารีย์ ส.ต.ท.ยุทธ ตุ้มพระเนียร ส.ต.ท.ธเนศ ลัดดากล ส.ต.ท.แสงหมึก แสงประเสริฐ พลฯ สมศักดิ์ แสงขำ แต่ทั้งหมดถูกปล่อยตัวอย่างเงียบๆ หลังจากนั้น)
25 กันยายน 2519

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี (อีกครั้งหลังจากลาออกไปเมื่อ 2 วันก่อน)

ศนท.โดยสุธรรม แสงประทุม และชัชวาลย์ ปทุมวิทย์ ผู้ประสานงานแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ชี้แจงกับสื่อมวลชนกรณีฆ่าแขวนคอที่นครปฐม มีการชุมนุมที่จุฬาฯ  และตั้งตัวแทนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ 1.จัดการให้พระถนอมออกจากประเทศไทยโดยเร็วที่สุด 2.ให้เร่งจับกุมฆาตกรฆ่าแขวนคอที่นครปฐม

สภาแรงงานฯ โดยนายไพศาล ธวัชชัยนันท์ ขอเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเพื่อยื่นหนังสือ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้า

ดร.คลุ้ม วัชโรบล นำลูกเสือชาวบ้านประมาณ 200 คน ไปวัดบวรนิเวศฯ เพื่ออาสาป้องกันการเผาวัด

26 กันยายน 2519

กิตติวุฒโฑภิกขุ และนายวัฒนา เขียววิมล แกนนำกลุ่มนวพล ไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรฯ เวลา 22.30 น. อ้างว่ามาสนทนาธรรม และว่าการเข้ามาบวชของพระถนอมนั้นบริสุทธิ์


6 ตุลาคม 2519

สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศว่า พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นคำขาดต่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามกฎหมายต่อ ศนท. ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเด็ดขาด หากมีรัฐมนตรีหรือนักการเมืองคนใดเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ก็ให้จับกุมและลงโทษตามกฎหมายทันที

สุธรรม แสงประทุม กับกรรมการ ศนท. และตัวแทนชุมนุมนาฏศิลป์ฯ เดินทางไปขอพบนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ

01.40 น. กลุ่มคนประมาณ 100 คนได้บุกเข้าไปเผาแผ่นโปสเตอร์หน้าประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านสนามหลวง กลุ่มคนที่อออยู่หน้าประตูพยายามจะบุกปีนรั้วเข้าไป มีเสียงปืนนัดแรกดังขึ้นและมีการยิงตอบโต้ประปรายแต่ไม่มีใครบาดเจ็บ

02.00 น. กลุ่มนวพลในนาม “ศูนย์ประสานงานเยาวชน” มีแถลงการณ์ความว่า “ขอให้รัฐบาลจับกุมกรรมการ ศนท. ภายใน 72 ชั่วโมง หากรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ นวพลจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด”

03.00 น. สถานีวิทยุยานเกราะยังคงออกรายการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ตลอดทั้งคืน ส่วนภายในธรรมศาสตร์ยังมีการอภิปรายและแสดงดนตรีต่อไปแม้จะมีผู้พยายามบุกเข้ามหาวิทยาลัยและมีเสียงปืนดังขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ของ ศนท. ขึ้นอภิปรายบนเวทีขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ใช้อาวุธ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น เจ้าหน้าที่หน่วยปราบจราจลยกกำลังมากั้นทางออกด้านสนามหลวง

05.00 น. กลุ่มคนที่ยืนอออยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัยพยายามจะบุกปีนเข้าไปอีกครั้ง ยังคงมีการยิงตอบโต้ด้วยปืนพกประปราย

07.00 น. กลุ่มคนที่อออยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัยตั้งแต่ตอนตีหนึ่งพยายามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยโดยใช้รถบัสสองคันขับพุ่งเข้าชนประตู ต่อมาก็มีเสียงระเบิดดังขึ้น

07.50 น. ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) และตำรวจท้องที่ ล้อมอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย โดยมี พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ และพล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท มาถึงที่เกิดเหตุและเข้าร่วมบัญชาการ

08.10 น. พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ บัญชาการให้ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) อาวุธครบมือบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตชด.มีอาวุธสงครามใช้ทุกชนิด ตั้งแต่เครื่องยิงระเบิด ปืนต่อสู้รถถัง ปืนเอ็ม 79 ปืนเอ็ม 16 ปืนเอช.เค. และปืนคาร์บิน ตำรวจบางคนมีระเบิดมือห้อยอยู่ครบเต็มอัตราศึก เสียงปืนดังรุนแรงตลอดเวลา ตำรวจประกาศให้นักศึกษายอมจำนน นักศึกษาหลายคนพยายามวิ่งออกมาข้างนอก จึงถูกประชาชนที่อยู่ภายนอกรุมประชาทัณฑ์ นักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมอยู่ข้างในแตกกระจัดกระจายหลบหนีกระสุน

08.18 น. ตชด.เข้าประจำการแทนตำรวจท้องที่ และมีกำลังใหม่เข้ามาเสริมอีก 2 คันรถ

08.25 น. ตชด.บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยหลายจุด พร้อมกับยิงกระสุนวิถีโค้ง และยิงกราดเข้าไปยังกลุ่มนักศึกษาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก มีนักศึกษาถูกยิงบาดเจ็บและเสียชีวิตทันทีหลายคน (ไทยรัฐ 7 ตุลาคม 2519)

08.30-10.00 น. นักศึกษาและประชาชนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยตลอดคืนต่างแตกตื่นวิ่งหนีวิถีกระสุนที่ ตชด.  และกลุ่มคนที่เข้าก่อเหตุได้ยิงเข้าใส่ฝูงชนอย่างไม่ยั้ง ทั้งๆ ที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของนักศึกษามีปืนพกเพียงไม่กี่กระบอก

นักศึกษาประชาชนที่แตกตื่นวิ่งหนีออกไปทางหน้าประตูมหาวิทยาลัยในจำนวนนี้มีมากกว่า 20 คนถูกรุมตีรุมกระทืบ บางคนถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัส แต่ยังไม่สิ้นใจ ได้ถูกลากออกไปแขวนคอ และแสดงท่าทางเยาะเย้ยศพต่างๆ นานา

นักศึกษาหญิงคนหนึ่งถูกรุมตีจนสิ้นชีวิต แล้วถูกเปลือยผ้าประจาน  โดยมีชายคนหนึ่งซึ่งเข้าก่อเหตุ  รูดซิปกางเกงออกมาแสดงท่าเหมือนจะข่มขืนหญิงผู้เคราะห์ร้ายนั้น  ให้พวกพ้องที่โห่ร้องอยู่ใกล้ๆ ดู   มีประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นเหตุการณ์ชวนสังเวช  ก็จะเดินเลี่ยงไป ด้วยน้ำตาคลอ

 ประชาชนที่ชุมนุมอยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัย ลากศพนักศึกษาที่ถูกทิ้งอยู่เกลื่อนกลาดข้างหอประชุมใหญ่ 3 คนออกมาเผากลางถนนราชดำเนิน ตรงข้ามอนุสาวรีย์พระแม่ธรณีบีบมวยผม ใกล้ๆ กับบริเวณแผงขายหนังสือสนามหลวง โดยเอายางรถยนต์ทับแล้วราดน้ำมันเบนซิน จุดไฟเผา ศพนักศึกษาอีก 1 ศพถูกนำไปแขวนคอไว้กับต้นมะขามแล้วถูกตีจนร่างเละ

เหตุการณ์ในและนอกธรรมศาสตร์ช่วงนี้มีรายละเอียดมากมาย ดังปรากฏจากคำพูดของผู้ประสบเหตุการณ์คนหนึ่งในวันนั้น ดังต่อไปนี้

…ในเช้าวันที่ 6 ตุลา ขณะที่ฉันนอนอยู่ตรงบันไดตึกวารสารฯ ก็ได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น ฉันและเพื่อน 2 คนเดินออกมาดูเหตุการณ์ยังสนามฟุตบอล จึงทราบว่าพวกตำรวจได้ยิง เอ็ม 79 เข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บหลายคน เพื่อความปลอดภัย โฆษกบนเวทีประกาศให้ประชาชนหลบเข้าข้างตึก ฉันและเพื่อนยืนฟังอยู่พักหนึ่ง พวกทหารก็เริ่มระดมยิงเข้ามาในธรรมศาสตร์ทุกด้านเป็นเวลานาน ฉันกับเพื่อนจึงหมอบอยู่บริเวณข้างตึกโดมข้างๆ เวที ภาพที่เห็นข้างหน้าคือ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่มีควันตลบไปหมด พวกมันระดมยิงถล่มมายังหน้าหอใหญ่เป็นเวลานาน พวกเราหลายคนถึงกับร้องไห้ด้วยความเคียดแค้น และเป็นห่วงเพื่อนๆ ของเราที่รักษาความปลอดภัยอยู่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน แต่พวกตำรวจระดมยิงเข้ามาเหมือนจะทำลายคนจำนวนพันคน ตำรวจยิงเข้ามาพักหนึ่ง เมื่อแน่ใจว่าพวกเราที่หน้าหอใหญ่ตายหมดแล้ว มันจึงกล้าเอารถเมล์วิ่งพังประตูเข้ามาในธรรมศาสตร์

เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น พวกเราจึงช่วยกันพังประตูตึกโดมเข้าไป ตอนแรกคิดว่าอยู่ในตึกคงปลอดภัย แต่เมื่อเห็นว่าพวกมันยังยิงเข้ามาไม่หยุดและเคลื่อนกำลังเข้ามามากขึ้น จึงตัดสินใจกระโดดลงจากตึกโดมแล้ววิ่งไปตึกศิลปศาสตร์และลงแม่น้ำเจ้าพระยา ฉันและเพื่อนๆ ได้ขึ้นฝั่งที่ท่าพระจันทร์ ปรากฏว่าพวกตำรวจตรึงกำลังอยู่บริเวณดังกล่าว และปิดถนนถึงท่าช้าง ประชาชนบริเวณท่าพระจันทร์ปิดประตูหน้าต่างกันหมด พวกเราเดินเลาะไปตามริมน้ำ พอมาระยะหนึ่งไม่มีทางไป เพื่อนบางส่วนพอวิ่งออกไปถนนก็ถูกตำรวจจับ ฉันและเพื่อนจึงตัดสินใจเคาะประตูบ้านประชาชนบริเวณนั้น มีหลายบ้านเปิดให้พวกเราเข้าไปหลบด้วยความเต็มใจ เนื่องจากจำนวนคนมีมากเหลือเกิน เพื่อนของเราบางส่วนยอมเสียสละให้ผู้หญิงและประชาชนเข้าไปหลบในบ้านประชาชน ในบ้านที่ฉันเข้าไปหลบอยู่มีคนประมาณ 30 คนอยู่ด้วย เจ้าของบ้านต้มข้าวต้มให้พวกเรากิน ฉันนั่งฟังเสียงปืนที่พวกมันยิงถล่มธรรมศาสตร์อยู่ประมาณชั่วโมงเศษ มีทหารและตำรวจ 2 คนมาเคาะประตูบ้าน มันขู่ว่าถ้าไม่เปิดจะยิงเข้ามา เจ้าของบ้านจึงต้องไปเปิดให้พวกตำรวจเข้ามาตรวจค้นบ้านทุกชั้น ทุกห้องตามความต้องการ

พวกเราถูกตำรวจไล่ให้มารวมกับคนอื่นๆ ที่ถูกจับอยู่ก่อนแล้วที่ถนนข้างวัดมหาธาตุ นอนกันเป็นแถวยาวมาก ตำรวจสั่งให้ผู้ชายถอดเสื้อ ทุกคนต้องนอนอยู่นิ่งๆ ห้ามเงยหัวขึ้นมา พวกเราต้องนอนอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ต้องทนตากแดดอยู่กลางถนน และยังมีกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านที่ร้ายกาจหลายคนเดินด่าว่าพวกเราอย่างหยาบคาย ทั้งพูดท้าทายและข่มขู่อยู่ตลอดเวลา เราต้องเผชิญกับการสร้างสถานการณ์ข่มขู่ทำลายขวัญของพวกตำรวจ โดยสั่งให้พวกเรานอนคว่ำหน้าและไล่ประชาชนออกจากบริเวณนั้น แล้วยิงปืนรัวสนั่นจนพอใจจึงหยุด ฉันนอนอยู่ริมๆ แถวรู้สึกว่ากระสุนวิ่งไปมาบนถนน ไม่ห่างไกลจากเท้าฉันนัก บางครั้งก็มีเศษหินเศษอิฐกระเด็นมาถูกตามตัวพวกเรา แทนที่พวกตำรวจจะทำลายขวัญพวกเราสำเร็จ กลับเสริมความเคียดแค้นให้กับพวกเราทุกคน เหมือนฉันได้ผ่านเตาหลอมที่ได้ทดสอบความเข้มแข็งและจิตใจที่ไม่สะทกสะท้านต่อการข่มขู่ บางคนรู้สึกกลัว พวกเราก็คอยปลอบใจ ไม่ให้กลัวการข่มขู่ พวกมันทำเช่นนี้อยู่หลายครั้งจนพอใจ จึงสั่งให้พวกเราคลานไป สักพักหนึ่งมันก็ตะคอกสั่งให้หมอบลง จนถึงรถเมล์ที่จอดอยู่ใกล้ๆ ก็ให้ลุกขึ้นเข้าแถวทยอยกันขึ้นรถ

พวกเรานั่งกันเต็มรถทั้งที่นั่งและพื้นรถ ตำรวจสั่งให้พวกเราเอามือไว้บนหัวและต้องก้มหัวลงต่ำๆ  พอรถแล่นออกมายังสนามหลวงผ่านราชดำเนินจะมีกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านตั้งแถวรออยู่ พอรถมาถึงมันก็ขว้างก้อนอิฐก้อนหินและโห่ร้องด้วยความชอบใจ พวกเราในรถหลายคนหัวแตก บางคนถูกหน้าผากเลือดไหลเต็มหน้า พวกตำรวจที่คุมมาก็คอยพูดจาเยาะเย้ยถากถางและตะคอกด่าพวกเรามาตลอดทางจนถึงบางเขน พอรถเลี้ยวเข้ามาบางเขนก็มีตำรวจเอาเศษแก้วขว้างเข้ามาในรถ แต่โชคดีที่ไม่ถูกใครเข้า เมื่อรถวิ่งเข้ามาจอดที่เรือนจำก็มีตำรวจกลุ่มหนึ่งวิ่งเข้ามาล้อมรถไว้ บางส่วนกรูเข้าในรถ ทั้งด่า ทั้งเตะ ซ้อมคนในรถตามชอบใจ คนไหนใส่แว่นมันยิ่งซ้อมหนัก บางคนถูกมันกระชากเอาแว่นไปด้วย พวกมันสั่งให้ทุกคนถอดนาฬิกาและสร้อยคอให้หมด ผู้ชายต้องถอดเข็มขัดออก มันอ้างว่าเดี๋ยวพวกเราจะเอาไปผูกคอตายในคุก คนไหนไม่ทำตามมันก็เอาท้ายปืนตี มันทำตัวยิ่งกว่าโจร ยิ่งกว่าสัตว์ป่าอีกด้วย

ฉันและเพื่อนหญิงประมาณ 400 คน ถูกขังอยู่ชั้น 2 ของเรือนจำ มีอยู่ 2 ห้อง ห้องหนึ่งจุคน 200 กว่าคน สภาพในคุกทั้งสกปรก ทั้งคับแคบ ต้องนอนเบียดเสียดกัน น้ำก็ไม่มีให้ใช้ ในระยะแรกน้ำก็ไม่มีให้กิน พวกเราทุกคนที่อยู่ในคุกได้จัดตั้งกันเป็นกลุ่มๆ ตามแต่ละองค์กรเพื่อช่วยเหลือกัน จัดให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือ เช่น เล่าแลกเปลี่ยนเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลา ที่แต่ละคนได้พบเห็นความทารุณโหดร้ายของ ตชด. ตำรวจ กระทิงแดง และลูกเสือชาวบ้าน ที่ร่วมกันเข่นฆ่าเพื่อนๆ และพี่น้องประชาชนอย่างโหด***ม….

เหตุการณ์น่าสังเวชที่มีรายละเอียดยังมีอีกมาก ดังส่วนหนึ่งกระจายเป็นข่าวไปทั่วโลก ดังเช่น

นีล ยูลิวิค ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์ได้รายงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดอะ รียิสเตอร์ วันที่ 8 ตุลาคม 2519 ว่า “ด้วยความชำนาญในการสื่อข่าวการรบในอินโดจีนแล้ว ข้าพเจ้าสามารถบอกได้ว่าเสียงปืนที่ได้ยินนั้น 90% ยิงไปในทิศทางเดียวกัน คือยิงใส่นักศึกษา บางครั้งจึงจะมีกระสุนปืนยิงตอบมาสักนัดหนึ่ง

เลวิส เอ็ม ไซมอนส์ รายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก ครอนิเกิล วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ว่า “หน่วยปราบปรามพิเศษต่างก็กราดปืนกลใส่ตัวอาคารและส่วนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย พวกแม่นปืนที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษใช้ปืนไรเฟิลแรงสูงยิงเก็บเป็นรายตัว ตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งสวมหมวกเบเร่ต์ดำ เสื้อแจ๊คเก็ตดำคลุมทับชุดพรางตาสีเขียวได้ยิงไปที่อาคารต่างๆ ด้วยปืนไร้แรงสะท้อนยาว 8 ฟุต ซึ่งปกติเป็นอาวุธต่อสู้รถถัง ส่วนตำรวจคนอื่นๆ ก็ยิงลูกระเบิดจากเครื่องยิงประทับไหล่ ไม่มีเวลาใดเลยที่ตำรวจจะพยายามให้นักศึกษาออกมาจากที่ซ่อนด้วยแก๊สน้ำตา หรือเครื่องควบคุมฝูงชนแบบมาตรฐานอื่นๆ” ไซมอนส์ได้อ้างคำพูดของช่างภาพตะวันตกคนหนึ่งที่ชาญสนามมา 4 ปีในสงครามเวียดนาม ซึ่งกล่าวว่า “พวกตำรวจกระหายเลือด มันเป็นการยิงที่เลวร้ายที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา”

สำนักข่าวเอพี (แอสโซซิเอเต็ด เพรส)รายงานจากผู้สื่อข่าวประจำประเทศไทยว่า นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ถูกล้อมยิงและถูกบุกทำร้ายจากพวกฝ่ายขวาประมาณ 10,000 คน ตำรวจระดมยิงด้วยปืนกลใส่นักศึกษาที่ถูกหาว่าเป็นฝ่ายซ้าย นักศึกษา2 คนถูกแขวนคอและถูกตีด้วยท่อนไม้ ถูกควักลูกตา และถูกเชือดคอ

นายจี แซ่จู ช่างภาพของเอพี กล่าวว่า เขาเห็นนักศึกษา 4 คนถูกลากออกไปจากประตูธรรมศาสตร์ถึงถนนใกล้ๆ แล้วถูกซ้อม ถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วเผา

หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิส ไทมส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์รายงานจากผู้สื่อข่าวของตนในกรุงเทพฯ ว่า กระแสคลื่นตำรวจ 1,500 คนได้ใช้ปืนกลระดมยิงนักศึกษาในธรรมศาสตร์ พวกฝ่ายขวาแขวนคอนักศึกษา 2 คน จุดไฟเผา ตีด้วยท่อนไม้ ควักลูกตา เชือดคอ บางศพนอนกลิ้งกลางสนามโดยไม่มีหัว

หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 รายงานว่ามีนักศึกษาอย่างน้อย 4 คนพยายามหลบรอดออกมาข้างนอกมหาวิทยาลัย แต่แล้วก็ถูกล้อมกรอบด้วยพวกตำรวจ และพวกสนับสนุนฝ่ายขวาเข้ากลุ้มรุมซ้อมและทุบด้วยท่อนไม้จนถึงแก่ความตาย นักศึกษาบางคนมีเลือดไหลโชกศีรษะและแขน เดินโซเซออกมาจากมหาวิทยาลัยแล้วก็ล้มฮวบลง

สำนักข่าวอินเตอร์นิวส์ ผู้พิมพ์วารสารอินเตอร์เนชั่นแนล บุลเลทิน รายงานว่าตำรวจได้ใช้ปืนกล ลูกระเบิดมือ ปืนไร้แรงสะท้อน ระดมยิงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย นักศึกษาหลายคนถูกจับตัวและถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วจุดไฟเผา คนอื่นๆ บ้างก็ถูกซ้อม บ้างก็ถูกยิงตาย “ผู้อยู่ในธรรมศาสตร์ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิง ตำรวจก็ไม่หยุด ขอให้หยุดชั่วคราวเพื่อให้ผู้หญิงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสหนีออกไป ตำรวจก็ไม่ฟัง”

11.00 น. หลังจากตำรวจบุกยึดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว นักศึกษาประชาชนถูกสั่งให้นอนคว่ำ แล้วควบคุมตัวไว้ทยอยลำเลียงขึ้นรถเมล์และรถสองแถวส่งไปขังตามสถานีตำรวจต่างๆ (มี 3 แหล่งใหญ่ๆ ได้แก่ นครปฐม ชลบุรี และร.ร.ตำรวจนครบาลบางเขน) มากกว่า 3,000 คน ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้น นักศึกษาชายและหญิงถูกบังคับให้ถอดเสื้อ นักศึกษาหญิงเหลือแต่เสื้อชั้นใน ถูกสั่งให้เอามือกุมหัว นอนคว่ำคลานไปตามพื้น ระหว่างที่คลานไปตามพื้นก็ถูกเตะถีบจากตำรวจ ระหว่างขึ้นรถก็ถูกด่าทออย่างหยาบคายและถูกขว้างปาเตะถีบจากตำรวจและอันธพาลกระทิงแดง ลส.ชบ. ระหว่างลงจากรถไปยังที่คุมขังก็ถูกตำรวจปล้นชิงทรัพย์สินและของมีค่าไป

กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้กำชับการอยู่เวรยาม ให้เจ้าหน้าที่สื่อสารคอยรับฟังข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสดับตรับฟังข่าวในเขตจังหวัด ป้องกันการก่อวินาศกรรมสถานที่ราชการ และหาทางยับยั้งอย่าให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

กทม.สั่งปิดโรงเรียนในสังกัดโดยไม่มีกำหนด กระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดโรงเรียนในสังกัดถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2519 กระทรวงยุติธรรมสั่งหยุดศาลต่างๆ 1 วัน

11.50 น. สำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ตั้งกองบัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล

12.00 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์สรุปได้ว่า
1.   เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสยามมกุฎราชกุมารได้แล้ว 6 คน จะดำเนินการส่งฟ้องศาลโดยเร็ว
2.   เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าควบคุมสถานการณ์การปะทะกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว
3.   รัฐบาลได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด


............................

18.00 น. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ประกาศยึดอำนาจ ความว่า “ขณะนี้ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 6 ตุลาคม เป็นต้นไป และสถานการณ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน…” โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจการปกครอง คือ “…คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ประจักษ์แจ้งถึงภัยที่ได้เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือ ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่ม ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนของคอมมิวนิสต์ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการเข้าจับกุมก็ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธร้ายแรงที่ใช้ในราชการสงคราม โดยร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชาวเวียดนามต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก”

สรุปความเสียหายจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ตามตัวเลขทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 145 คน (ในจำนวนนี้เป็นตำรวจเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 23 คน) นักศึกษาประชาชนถูกจับกุม 3,094 คน เป็นชาย 2,432 คน หญิง 662 คน ขณะที่แหล่งข่าวอ้างอิงจากการเก็บศพของเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณว่ามีนักศึกษาประชาชนเสียชีวิต 530 คน ส่วนทรัพย์สิน (จากการสำรวจของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีครุภัณฑ์และวัสดุของคณะต่างๆ เสียหายเป็นมูลค่า 50 กว่าล้านบาท ร้านสหกรณ์มีสินค้าและทรัพย์สินเสียหาย 1 ล้าน 3 แสนบาท สิ่งของมีค่าหายสาบสูญ อาทิ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง เครื่องเย็บกระดาษ เสื้อผ้า เงินสด รายงานแจ้งว่า “หน้าต่างถูกทุบและโดนลูกกระสุนเสียหาย โต๊ะเก้าอี้พัง ห้องพักอาจารย์ถูกรื้อค้นกระจัดกระจาย”

24 สิงหาคม 2520

อัยการศาลทหารกรุงเทพฯ พิจารณาสำนวนสอบสวนแล้ว มีคำสั่งฟ้องนักศึกษาและประชาชนเป็นผู้ต้องหาจำนวน 18 คน

16 กันยายน 2521

ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ทั้ง 18 คน ได้รับการนิรโทษกรรม พร้อมกับผู้ต้องหาในศาลอาญาอีก 1 คน คือนายบุญชาติ เสถียรธรรมมณี ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ

18 กันยายน 2521

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สมธ.) ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 8 แห่ง จัดงานรับขวัญ “ผู้บริสุทธิ์ 6 ตุลา” ที่ลานโพธิ์



ที่มา :   (1) คัดลอกและเรียบเรียงจาก จุลสาร “พิสุทธ์” เนื่องในงานรำลึกวีรชนเดือนตุลา จัดพิมพ์โดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ     
          ไทย
   (2) จุลสาร “ตุลา สานต่อเจตนาวีรชน” จัดพิมพ์โดย พรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
   (3) หนังสือ “รอยยิ้มในวันนี้” คณะกรรมการบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2522
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-02-2008, 04:44 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

prinz_bismarck
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156


« ตอบ #30 เมื่อ: 26-02-2008, 14:13 »

นี้คือภาพล้อเลียนการแขวนตอของนักศึกษา คุณว่าหน้าเมือนใคร







บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 26-02-2008, 18:30 »


ตายฟรี  Exclamation

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 27-02-2008, 21:02 »


สงัด บุญชัย เกรียงศักดิ์ เปรม ฯลฯ คือตัวแทนของทหาร ยุ่งเกี่ยวการเมืองแบบ

ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราสส.มักตีรวนกันในสภา

และเล่นการเมืองนอกสภา รัฐบาลไม่สามารถบังคับตามกฏหมาย

เพราะไม่มีอำนาจคุมทหาร ตำรวจได้


ดังนั้นทหารที่คิดปฏิวัติครั้งต่อไป คงต้องเจอกับทหารที่ปกป้องระบอบประชาธิปไตย


-ต้องมีการควบคุมรถถังไม่ให้เข้ามาวิ่งเฉียดในเมืองหลวงอีก

-จะต้องไม่มีใครนอกสายการบังคับบัญชาแทรกแซงสั่งการทหารได้อีก

-การต่อสู้จลาจล ต้องใช้ตำรวจปราบจลาจลที่ถูกฝึกมารักษาชีวิตคนเท่านั้น


ดังนั้นการประท้วง จะต้องไม่มีการสลายการชุมนุมโดยเสียเลือดเนื้อเป็นอันขาด



หากมีการทุจริต ทุกชนิดก็ต้องใช้กระบวนการทางสาธารณะและทางศาลเท่านั้น..

การประท้วงโดยความสงบ ต้องไม่เป็นการรับจ้างหรืออุดหนุนจากนายทุนปลุกระดม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-02-2008, 21:10 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 29-02-2008, 19:15 »



การทำรัฐประหาร เป็นเพียงยาแก้ปวด ไม่ได้แก้ไขรากของปัญหา

รากของปัญหา คือวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย

ซึ่งหมายรวมถึงนิสัยและความเชื่อที่ผิดๆด้วยครับ..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: