ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 18:15
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คลิปสมัครอัดนักข่าวสาว ผู้หญิงน่ารังเกียจ-ฆ่าคน?( ผมไม่ได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คลิปสมัครอัดนักข่าวสาว ผู้หญิงน่ารังเกียจ-ฆ่าคน?( ผมไม่ได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์ )  (อ่าน 1072 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 20-02-2008, 16:48 »

สายใยไทยทั้งเมือง


วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
คลิปสมัครอัดนักข่าวสาว ผู้หญิงน่ารังเกียจ-ฆ่าคน?( ผมไม่ได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์ )
Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 310 , 00:29:01 น.   

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ อัลจาเซียรา ของประเทศกาตาร์ ระหว่างที่มีการสัมภาษณ์นั้น นายกฯไม่พอใจคำถามที่ผู้สื่อข่าว(สาว) ตั้งคำถาม จึงได้ย้อนถามผู้สื่อข่าว(สาว) ออกไปอย่างดุเดือด ซึ่งได้นำเอาเทปบันทึกระหว่างการอัดรายการมานำเสนอให้ชมบางช่วง

สมัคร  : "ถ้าผมพูดว่า นักข่าวอย่างคุณเป็นผู้หญิงที่น่ารังเกียจ คุณฆ่าคน คุณจะต้องเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า ไม่ ไม่"

ผู้สื่อข่าว : ท่านนายกรัฐมนตรีคะ ขอบคุณที่พูดเช่นนั้น (ผู้สื่อข่าวพยายามที่จะกล่าวขอบคุณเพื่อจบบทสนทนาและมีสีหน้าเรียบเฉย)

สมัคร : (พูดท่าท่างขึงขัง)" คุณเชื่อผมสิ พูดจากใจจริง คุณต้องเข้าใจว่ามีคนใส่ความผม ถ้าผมเป็นคนเลวจริง ถ้าผมคอร์รัปชั่น ทำไมผมได้รับเลือกตั้ง ทำไมพรรคนี้ถึงได้ ส.ส.ถึง 233 คน ทำไม ทำไมคนมือสะอาดถึงได้แค่ 165 ที่นั่ง? ทำไม ตอบผมมาสิ แค่ตอบคำถามผมมา"

ผู้สื่อข่าว : " โอเค ท่านนายกฯคะ เราต้องพอแค่นี้ก่อนค่ะ ขอบคุณมากสำหรับการให้สัมภาษณ์ค่ะ" (ผู้สื่อข่าวได้พยายามตัดบท)

สมัคร  : "ขอบคุณ แต่ได้โปรด ทำการบ้านมาบ้าง อย่าหยิบเอาแค่ข้อมูลบางอย่างแล้วมาตั้งคำถาม ถ้าผมไม่ใช่ตัวจริง ผมมาไกลขนาดนี้ไม่ได้หรอก ขอบคุณที่มา พอแล้ว"

ผู้สื่อข่าว  : "ขอบคุณมาก"

ที่มา  http://www.matichon.co.th/news_title.php?id=1404
มติชน วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551

http://www.sukiflix.com/35da0b6f6ea37bcf8bcb.video
101 East - Thailand's new Prime Minister -09 Feb 08 - Part 1
101 East - Thailand's new Prime Minister -09 Feb 08 - Part 2

******************
2..

2-3 วันมานี้ ท่านนายกรัฐมนตรีดูเหมือนจะพลาดท่า หลังจากให้สัมภาษณ์ CNN

มาโดนฝ่ายค้านในสภาสอนมวยเข้าให้อีก กลับไปอ้างเรื่องใครแก่ ใครอ่อน

หนุ่มมาร์คเลยสวนนิ่มๆ แก่หรืออ่อน "ก็เงินเดือนเท่ากัน"...แหมมันพะยะค่ะ

พอโดนต้อนจนมุมแล้ว กลับเด้งเชือกออกลูกสาบาน ฮ่า ฮ่า

เหมือนมวยพม่าเอาหน้าแนบพื้น กันคู่ต่อสู้กระทืบซ้ำซะงั้น อิ อิ

******************
3...

สมัครสารภาพกลางสภาว่า ตัวเองอยู่ที่สนามหลวงวันเกิดเหตุ 6 ตุลาคม 19 ลองอ่านดูครับ
( คำอภิปรายตอบโต้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย ในวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา)

สมัคร : " ผมไม่เคยสั่งปิดนสพ. คนที่ปิดอาจเป็นเจ้าพนักงานการพิมพ์ ซึ่งผมไม่เคยสั่งให้เขาไปปิด ถ้าเขาจะทำตามหน้าที่บ้างผมก็จำไม่ได้ว่ามีสักเท่าไหร่"

"ขอบอกว่า เมื่อมีการปฎิวัติวันที่ 6 ตุลาคม  2519 นั้น มีการปิดนสพ.ทุกฉบับ ผู้ว่าฯกทม.ถูกเชิญเข้าไปในคณะปฎิรูป บังเอิญผมนั่งอยู่ด้วย ก็ได้ไปพร้อมกับผู้ว่า ฯ และนั่งคุยกับหัวหน้าคณะปฎิรูป มีพลอากาศเอกคนหนึ่งบอกผมว่า มีการสั่งปิดนสพ.หมดทุกฉบับ ผมก็บอกว่า ไม่เห็นด้วย เพราะพรุ่งนี้คนไทยจะรู้ได้อย่างไรว่า คณะปฎิรูปเป็นใครมาจากไหน รุ่งขึ้นคณะปฎิรูปก็ตั้งคณะกรรมการเปิดนสพ.5 คน มีทหารเป็นหัวหน้า และผมเป็น 1 ในนั้น ซึ่งเป็นคนสั่งเปิดนสพ.ทุกฉบับ พยานที่อ้างอิงได้ชื่อนายประพันธ์  เหตระกูล ตอนนั้นอยู่นสพ.เดลินิวส์ มานั่งอยู่หน้าห้อง เขามาเพราะเป็นเพื่อนที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน ผมสั่งเปิดเป็นแถวเลย เปิดหมด"

" เรื่อง 6 ตุลาคม 2519 สื่อฝรั่งมาถาม ผมก็ตอบตามที่รู้ คือ ผมอยู่สนามหลวง ที่อื่นเขาจะทำอะไรกันผมไม่ทราบ แต่ที่นี่มีคนถูกตี แล้วเอายางมาใส่แล้วเผา ตายที่สนามหลวง1 คน แต่ผมก็อยากถามกลับว่า คนที่มาถามอายุเท่าไหร่ อยู่ในเหตุการณ์หรือ หรือมีใครฝากมาถาม หรือไปจำขี้ปากใครเขามาถามว่า ผมเป็นฆาตกรมือเปื้อนเลือดเพราะการกล่าวหาแบบนี้ใช้ทุกยุค เวลาที่ผมจะลงสมัครเลือกตั้งครั้ง ก็จะถูกกล่าวหาอย่างนี้ทุกครั้ง ถามว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริง คนกทม.ที่รู้สิ้นเห็นชาตินักการเมืองดีกว่าใคร แล้วผมลงเลือกตั้งผมจะชนะล้านคะแนนต่อห้าแสนคะแนนหรือ "

**************
4...

สิงห์เหลิม...ออกมาให้ข่าวทำท่าว่าอยู่ในเหตุการณ์...
บอกว่าวันเกิดเหตุ 6 ตุลา 19 อยู่หน้าธรรมศาสตร์กับเค้าเหมือนกัน

แต่ดันไปอ้างว่าตำรวจเมาทำปืนลั่น เลยเป็นชนวนเหตุเข่นฆ่ากัน..เฮ้อ..

แถมไปบอกว่า เกิน 20 ปี หมดอายุความไปแล้ว...อ้าว...

โธ่..สิงห์เหลิม อ้างว่าจบดร.ทางกฎหมาย แต่ดันไม่ทราบว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคมนั้น
เค้าทำกฎหมายนิรโทษกรรมกันมาแล้ว เพราะจับสุธรรม แสงปทุมและคณะ 18 คน ขึ้นศาลอยู่ 2 ปี หาข้อผิดไม่ได้
เลยมาออกกฎหมายนิรโทษกรรม กลัวเค้าเช็คบิลในภายหลัง

เออ...แล้ววันนั้น "สิงห์เหลิม" ไม่พบท่านนายกรัฐมนตรีเหรอครับ ท่านสมัคร ก็สารภาพแล้วว่าอยู่แถวๆ นั้นนี่นะ...

แหม...ไม่บอกไม่รู้นะเนี่ย...ว่าเหตุการยิงกันเมื่อ 6 ตุลา 19 มาจากปืนลั่น...( จากตำรวจขี้เมาคนหนึ่ง )
ไม่ได้มาจากคำสั่งกวาดล้าง จากผู้มีอำนาจในสมัยนั้น โดยมี สถานีวิทยุยานเกราะบงการทางอากาศ

เหอ เหอ...


**************

5...

กรณีปิดปากหนังสือพิมพ์ ผมเขียนให้อ่านตั้งนานแล้ว ในบล็อคนี้แหละ...
ย้อยรอยเดือนตุลา..คนปาก***(น) ปิดปากคน
Posted by Canไทเมือง , ผู้อ่าน : 936 , 02:13:39 น.   
http://www.oknation.net/blog/canthai/2007/10/04/
*******************************************

กรณีปิดปากหนังสือพิมพ์ ผมเขียนให้อ่านตั้งนานแล้ว ในบล็อคนี้แหละ...
ย้อนรอยเดือนตุลา คนปาก***( น )ปิดปากคน

นายกจะมาอ้างว่า "ไม่ได้สั่งปิด แต่เป็นคนสั่งเปิด...เปิดหมดเลย"

เอางี้ครับที่ท่านพูดในสภาเมื่อวันก่อน...บอกว่าไม่รู้ไม่เห็น..เกี่ยวข้องกับ 6 ตุลา 19
แต่ไหงคืนนั้นสั่งทหาร 5 คนในที่ประชุมให้เปิดหนังสือพิมพ์ได้
ตอนวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ท่านยังไม่มีตำแหน่งแห่งที่
ไหงเสียงดังกว่าทหารอีก 5 คนครับ ตอบดีๆหน่อยครับ....ผมละงงจริงๆ

หลังจาก 22 ตุลาคม 2519 ท่านนายกคงลืมไปว่า สมัยก่อนนั้น มหาดไทยใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่ม...
เพราะกรมตำรวจก็อยู่ใต้มหาดไทย

แหม...ทำเป็นลืมนะครับ...ท่านสั่งย้ายอธิบดีกรมตำรวจกับมือ...ทำเป็นลืมไปได้ยังไงครับ

เจ้าพนักงานการพิมพ์ ก็เป็นตำรวจสันติบาล...ลูกน้องท่านทั้งนั้น...แค่กระแอมเค้าก็กลัวขี้หดแล้วท่าน

ลูกน้องของ รมต.มหาดไทย นั่นแหละครับ จะปฏิเสธไปทำไมครับ
ในเมื่อหลังเหตุ 6 ตุลา 19 แล้ว ก็ยังสั่งปิดหนังสือพิมพ์เป็นว่าเล่น

จนเค้าปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2520 ขับพวกท่านลงจากอำนาจ

ในวันนั้นหนังสือพืมพ์ที่ถูกปิดก็ยังปิดอยู่ถึง 13 ฉบับ...

เรื่องราวพวกนี้มีบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ไปหมดแล้วครับ
และผมก็ได้เขียนไว้หลายเดือนแล้วเกี่ยวกับการปิดปากหนังสือพิมพ์

6...

วันนี้มติชนก็เปิดรายงาน การปิดปากหนังสือพิมพ์ โดยศาสตราจารย์ สุกัญญา ตีระวนิช(สุดบรรทัด)
นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนที่เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ไทย
( เพิ่งได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 )

ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 
บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือรายงานประจำปีของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2528

********************************
สกู๊ป-มองย้อนอดีต 30 ปียุค'หมัก'ครองเมือง พิฆาต'หนังสือพิมพ์'
ผ่านแว่นนักวิชาการด้านสื่อ

http://www.matichon.co.th/news_title.php?id=1403
( ผมคัดมาบางส่วนนะครับ...ที่เหลือตามอ่านที่มติชน )


หนังสือพิมพ์กับเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

เสรีภาพอันเฟื่องฟูหลัง 14 ตุลา ในที่สุดก็ทำท่าจะผ่านพ้นไป ทั้งๆ ที่ยังมิได้อำนวยประโยชน์แก่ผู้อ่านเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่เป็นกุญแจดอกสำคัญของสื่อหนังสือพิมพ์ไปสู่สังคมที่รอบรู้และยุติธรรม

3 ปีหลังจากนั้น เสรีภาพอันเฟื่องฟูก็ถูกยึดคืน สภาพถูกปิดหู ปิดตา เหมือนเมื่อ 10 กว่าปีก่อนก็กลับคืนมาอีก

********* ฯลฯ *******

ต้นเดือนตุลาคม กลุ่มพลังต่างๆ พากันแสดงศักดาของตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ วิทยุยานเกราะและโทรทัศน์กระจายข่าวว่า มีการแสดงละครแขวนคอหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยตัวละครคนหนึ่งแต่งหน้าเหมือนองค์รัชทายาทที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

ภาพผู้ถูกแขวนคอตีพิมพ์อย่างเด่นชัดในหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับ คือ ดาวสยาม กับ Bangkok Post ภาพถ่ายนั้นจะถูกตัดต่อ หรือตกแต่งใหม่หรือไม่จนบัดนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่

สถานีวิทยุทหารปลุกระดมบุก มธ.จนเกิดโศกนาฏกรรม

ตลอดทั้งวันและคืนที่ 5 ตุลาคม สถานีวิทยุทหารได้ออกอากาศปลุกเร้าให้ผู้รักชาติไปรวมกันที่ธรรมศาสตร์ เพื่อตอบโต้การกระทำของนักศึกษา หน่วยกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ ทหาร และประชาชนบางส่วนได้ไปออกกันหน้ามหาวิทยาลัย

กระสุนนัดแรกยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์ประตูมหาวิทยาลัยถูกพัง และโศกนาฎกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติก็ได้บังเกิดขึ้น

จนคณะปฏิรูปซึ่งมี พล.อ.สงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้า ก็ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อ 6 โมงเย็นของวันที่ 6 ตุลาคม 2519
นักศึกษาจำนนมากหนีเข้าป่า และหนังสือพิมพ์ของฝ่าย 'หัวรุนแรง' ประสบความพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง

เย็นวันที่ 6 ตุลาคม ทหารได้เข้ามาแทรกแซงด้วยเหตุผล "เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและกฎหมายและเพื่อประเทศชาติ" รัฐธรรมนูญ รัฐสภา และพรรคการเมืองทั้งสิ้นถูกยุบเลิก

รัฐบาลใหม่ประกาศห้ามประชาชนชุมนุมทางการเมือง และมีการตั้งคณะกรรมการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์

สามวันต่อมา นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

หนังสือพิมพ์สมัยรัฐบาลธานินทร์

แนวนโยบายของธานินทร์อยู่ในลักษณะขวาจัดและต่อต้านคอมมิวนิสต์ใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์ของรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาลกลับปฏิบัติต่อสื่อมวลชนในแนวคล้ายคลึงกัน

บุคคลหลายฝ่ายวิจารณ์ว่า ไม่มีรัฐบาลชุดใดจะเข้มงวดกับหนังสือพิมพ์เท่ากับรัฐบาลธานินทร์ นโยบายของธานินทร์ พิจารณาได้จากการวิจารณ์เรื่องศึกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ในหนังสือเรื่อง การใช้กฎหมายป้องกันคอมมิวนิสต์ เขียนโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

'การก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างสถานการณ์ โดยก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในประเทศไทย และให้เป็นภาระแก่ทางรัฐบาลในอันที่จะต้องป้องกันและปราบปราม โดยปกติการก่อการร้ายเหล่านี้ก็ใช้คนไทยด้วยกันเองมาฆ่าฟันพวกเรากันเอง ใช้คนไทยด้วยกัน ตั้งตนเป็นผู้ปลดแอกให้แก่ราษฎร โดยสร้างมโนภาพให้ราษฎรมองรัฐบาลในแง่เลวร้ายต่างๆ นานา จริงบ้างเท็จบ้างผสมผสานกันไป การทำสงครามนอกแบบโดยใช้เพทุบายโสมมทำนอง 'ยุให้รำ ตำให้รั่ว" นี้เป็นการทำสงครามที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด...

...ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ใช้วิธีการแทรกซึมบ่อนทำลาย และคุกคามทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยทุกวิถีทาง อาทิเช่นมีการยุยงให้เกลียดชังรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง....

...สมควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า ในวันมหาวิปโยคอันเป็นวันที่นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น เหตุสำคัญที่สุดเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการนองเลือด สูญเสียชีวิตประชาชนและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยเป็นจำนวนมากนั้นก็คือการข่าวกรองคลาดเคลื่อนไปจากความจริง ทั้งนี้จะเป็นไปโดยจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ตาม และไม่ว่าจะมองในแง่ใดก็มีแต่ผลร้ายทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งไม่สามารถประเมินสถานการณ์แท้จริงได้ถูกต้อง บทเรียนที่สุดขมนี้ ไม่บังควรให้เกิดขึ้นอีกเป็นอันขาดหากมีวิกฤติกาลเกิดขึ้นอีก จักต้องมีการทดสอบการข่าวกรองกันหลายทางและหลายชั้นเพื่อมิให้มีการคลาดเคลื่อนได้ ถ้าพลั้งพลาดอีกไม่ใช่แต่เพียงจะสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อเท่านั้น หากแต่อาจสูญสิ้นเอกราชของชาติไทยไปเลยก็เป็นได้'

การตระหนักถึงความสำคัญของกระแสข่าวสารทำให้รัฐบาลธานินทร์เห็นความจำเป็นของการควบคุมทั้งระบบ

ความเลวร้ายของนักหนังสือพิมพ์บางคน ความด้อยมาตรฐานของนักหนังสือพิมพ์บางคนความไม่สามัคคีกันของกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ เป็นจุดสำคัญที่รัฐบาลยกมากล่าวอ้างในการลิดรอนเสรีภาพของนักหนังสือพิมพ์

อันที่จริงลักษณะของนักหนังสือพิมพ์เช่นนี้เป็นลักษณะของประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งนักหนังสือพิมพ์รุ่นเก่าที่มีความรับผิดชอบ มุ่งหวังที่จะให้คลื่นลูกใหม่ เข้ามาขับไล่น้ำเน่าเสียออกไปจากวงการ ซึ่งหมายความว่า วงการหนังสือพิมพ์จะเข้าระดับมาตรฐานประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้น ครั้นเมื่อรัฐบาลมองไปอีกทาง หนังสือพิมพ์ก็จำต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้ประชาชนคนอ่านได้รับความรู้ที่เปิดกว้าง

แต่บทเรียนหลัง 14 ตุลาพิสูจน์ว่า แม้ยามมีเสรีหนังสือพิมพ์ก็ทำหน้าที่ที่ควรจะเป็นมิได้ เพราะยังถูกฉุดดึงด้วยกลไกบางส่วน ซึ่งไร้มาตรฐานและทำลายวงการหนังสือพิมพ์ของตนเอง การเรียกร้องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ยุครัฐบาลธานินทร์จึงมิสู้จะได้ผลอันใดเพราะรัฐบาลไม่เชื่อใจ และไม่จริงใจต่อหนังสือพิมพ์เสียแล้ว

คณะปฏิรูปสั่งปิด นสพ.-ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร

6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสั่งปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และพิจารณาเปิดใหม่ในวันรุ่งขึ้น ภายใต้ความควบคุมของ 'คณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร' ที่คณะปฏิรูปฯได้แต่งตั้งขึ้น

ครั้นเมื่อนาย ธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี หนังสือพิมพ์ถูกควบคุมไว้ด้วย พ.ร.บ.การพิมพ์ ปี 2484
คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 42 และที่ปรึกษาพนักงานการพิมพ์ ซึ่งมีนายประหยัด ศ.นาคะนาท เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา

การปิดหนังสือพิมพ์ ในสมัยรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร
( หลัง 6 ตุลาคม 19 รัฐบาลหอยเริ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อ  22 ตุลาคม 19 )

11 ตุลาคม 19 ปิดหนังสือพิมพ์ ดาวดารายุคสยาม รายวัน

10 ตุลาคม 19 ปิดหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ไม่มีกำหนด (ปิดตาย) รวม 13 ฉบับ

29 ตุลาคม 19 ปิดหนังสือพิมพ์ ชาวไทย รายวัน 7 วัน เพราะลงข่าวเรื่องปลัดชลอ วนภูติ โกงอายุราชการ

14 มกราคม 20 ปิด เสียงปวงชน 3 วัน เพราะพาดหัวข่าวไม่ตรงกับความจริง

18 มกราคม 20 ปิด ปฏิญญา รายปักษ์ ไม่มีกำหนดเพราะตีพิมพ์ข้อความอันมีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์

20 มกราคม 20 ปิด แนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์ เพราะตีพิมพ์ข้อความที่ทำให้ต่างชาติอาจเข้าใจรัฐบาลไทยผิด

26 มกราคม 20 ปิด เดลิเมล์รายวัน เพราะเป็นการตีพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาตเรื่องจากใบอนุญาตขาดการต่ออายุไปแล้ว

27 มกราคม 20 ปิด ดาวดารายุคสยาม เพราะตีพิมพ์ข้อความเป็นเท็จ

15 กุมภาพันธ์ 20 ปิด บ้านเมือง 7 วัน เพราะตีพิมพ์ข้อความที่มีลักษณะกล่าวร้ายเสียดสีรัฐบาลไทย

18 กุมภาพันธ์ 20 ปิด เด่นสยามรายวัน ไม่มีกำหนดเพราะวิจารณ์การปิด เดลินิวส์

31 มีนาคม 20 ปิด ชาวไทย ไม่มีกำหนด เพราะเขียนข้อความบิดเบือนความเป็นจริง

10 เมษายน 20 ปิด เดลิไทม์ ไม่มีกำหนด

12 เมษายน 20 ปิด บางกอกเดลิไทม์ ไม่มีกำหนด

15 พฤษภาคม 20 ปิด บูรพาไทม์ยุคชาวสยาม ไม่มีกำหนด เพราะกล่าวร้ายรัฐบาล กรณีใช้ ม.21 ประหารชีวิตฉลาด หิรัญศิริ

25 พฤษภาคม 20 ยึดหนังสือ "เลือดล้างเลือด"

2 มิถุนายน 20 ปิด สยามรัฐ 7 วัน

2 กรกฎาคม 20 ปิด เสียงปวงชน ไม่มีกำหนด

2 กรกฎาคม 20 ปิด ยุคใหม่รายวัน ไม่มีกำหนด ที่ราชบุรี

8 สิงหาคม 20 ปิด หลังเมืองสมัยไทยเดลี่ 7 วัน เพราะลงบทความ "รัฐบาลแบบไหน"

****** ฯลฯ *******

เมื่อรัฐบาลพยายามควบคุมกลไกของข่าวสารด้านนี้ แต่อยู่ในสภาวะ 'จับไม่มั่น คั้นไม่ตาย'

ความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับหนังสือพิมพ์ก็ทวีขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด รัฐบาลก็หันไปใช้วิธีเก่า เช่นเดียวกับสมัยจอมพล ป. และวิธีการเดียวกับโลกหลังม่านไม้ไผ่ คือการออกหนังสือพิมพ์เอง ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ เจ้าพระยา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เหตุอาจจะเป็นเพราะความโจ่งแจ้งของความพยายามที่จะโฆษณาชวนเชื่อมากเกินไป

รัฐบาลตระหนักดีถึงช่องว่างระหว่างรัฐบาลกับหนังสือพิมพ์ จึงพยายามลดช่องว่างนั้น โดยจัดการสัมมนาร่วมกันระหว่างนักหนังสือพิมพ์ บุคคลในคณะรัฐบาล และอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

นสพ.ยุครัฐบาลธานินทร์อึดอัดที่สุด

นายปรีชา สามัคคีธรรม นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเสรีภาพหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นว่า รัฐบาลมองหนังสือพิมพ์จากสมมุติฐานของตัวเองเท่านั้น และการสัมมนาที่จัดขึ้น 'มีอะไรเคลือบแฝงอยู่' รัฐบาลไม่จริงใจต่อหนังสือพิมพ์ ข้อแก้ไขคือการเปิดให้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมาย การจะลงโทษนั้นขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ไม่ใช่ให้คณะกรรมการชุดหนึ่งมาเป็นผู้ตัดสิน ทางสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ยื่นข้อเสนอ 4 ข้อให้รัฐบาลพิจารณาดังนี้คือ

1. ให้ยกเลิกที่ปรึกษาเจ้าพนักงานการพิมพ์

2. ให้มีการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อควบคุมกันเอง

3. ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 42

4. อย่าปิดหนังสือพิมพ์ หรือ ถ้าจะปิดควรให้สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพมีส่วนเข้าไปรู้เห็นบ้าง

ท้ายที่สุด นายปรีชาได้สรุปได้ว่า การประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ในยุค รัฐบาลธานินทร์อยู่ในสภาวะที่อึดอัดที่สุด และนักหนังสือพิมพ์จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อเสรีภาพทุกวิถีทาง

วันที่ 13 สิงหาคม 2520 เสียงปวงชน ถูกสั่งปิดจากบทความเรื่อง 'อธิปไตยของชาติ'

5 สมาคมหนังสือพิมพ์ ได้แก่ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สมาคมหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าว สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคและสมาคมนักหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวในเดือนกันยายน 2520 สถาบันหนังสือพิมพ์ยังพยายามผนึกกำลังทุกวิถีทางที่จะให้มีการยกเลิกที่ปรึกษาเจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เรียกร้องให้นายประหยัด ศ.นาคะนาท พิจารณาตนเอง ซึ่งไม่เป็นผลสำเร็จจนสิ้นสุดรัฐบาลธานินทร์

การถูกปิดกั้นเสรีภาพเช่นนี้ ทำให้หนังสือพิมพ์อ้างว่า ทำให้ประชาชนไม่อาจรับทราบกระแสข่าวที่แท้จริง และเป็นอันตรายต่อระบบประชาธิปไตย และยังอ้างด้วยว่า ทำให้หนังสือพิมพ์ไม่สามารถทำหน้าที่ในการพัฒนาประเทศด้วยการสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชน และเน้นให้ประชาชนหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ

นักหนังสือพิมพ์พากันประนามรัฐบาลธานินทร์ว่า 'เลวร้าย' ยิ่งกว่ายุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

การเรียกร้องของหนังสือพิมพ์ ดูเหมือนว่า จะไม่ทำให้รัฐบาลโอนอ่อนลงได้มากน้อยยังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่จะบ่งบอกว่าหนังสือพิมพ์เริ่มได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีสัญญาณอันดีงามอย่างหนึ่งดังมาจากกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ด้วยกันเอง คือ หลังจากการถูกกดบีบ เหยียดหยาม นักหนังสือพิมพ์กลุ่มหนึ่งที่มุ่งหวังจะยกระดับการหนังสือพิมพ์ ได้พิจารณากลุ่มพวกตัวเองมากขึ้น นักหนังสือพิมพ์กลุ่มนี้พากันยอมรับว่าความเลวร้ายของนักหนังสือพิมพ์บางคนบางกลุ่มนั้น มีจริง และกลายเป็นจุดด่างที่รัฐบาลเพ่งเล็ง และหาทาง 'เล่นงาน' หนังสือพิมพ์ทั้งหมด

โซ่ตรวนเหล่านี้ กลับจองจำไม่ให้นักหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพทำอะไรได้มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผสมกับการทำหนังสือพิมพ์ในระบบนายทุน

ในวันที่ 21 กันยายน 2520 ได้เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดใกล้พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกเธอทั้ง 3 พระองค์มิได้ทรงรับอันตรายแต่ประการใด แต่หนังสือพิมพ์ได้โจมตีรัฐมนตรีมหาดไทยเวลานั้น คือ นายสมัคร สุนทรเวช อย่างรุนแรง

หลังจากนั้นอีก 1 เดือน คือในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ก็เกิดรัฐประหาร และรัฐบาลธานินทร์ต้องหลุดจากตำแหน่งไป

ในเวลานั้น ยังมีหนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดอยู่ 13 ฉบับ

*************************
สรุป
บทความของสุกัญญา ตีระวนิช(สุดบรรทัด) ตรงกับที่ผมเขียนไว้เมื่อหลายเดือนก่อน

ย้อยรอยเดือนตุลา..คนปาก***(น) ปิดปากคน

ท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ในวันนี้
ขณะนั้น ( หลัง 22 ตุลา 19 ) เป็นรัฐมตรีมหาดไทย สั่งการกรมตำรวจโดยตรง

ขนาด.....พลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ ท่านยังสั่งย้ายได้
แล้วเจ้าพนักงานการพิมพ์ ก็แค่ "ผู้บัญชาการตำราจสันติบาล" จะไม่หงอให้ท่านหรือครับ

แล้วจะไปปฏิเสธทำไม....เรื่องปิดเรื่องเปิดหนังสือพิมพ์ ก็ในเมื่อหลักฐานมันบอกว่า
ในวันที่สั่งปิดหนังสือพิมพ์ในคืน 6 ตุลา 19 อันเป็นวันประกาศปฏิรูปการปกครองนั้น
ท่านยังไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในคณะปฏิรูปหรือรัฐบาลใหม่ใช่หรือไม่

ท่านไม่รู้เรื่องการปฎิรูป 6 ตุลา19 จริงหรือ ?

ในเมื่อเค้าสั่งปิดวันนั้น...ทำไมท่านสั่งให้เปิดหนังสือพิมพ์ได้
ในเมื่อท่านสารภาพเองว่าในห้องนั้นมีทหารหัวหน้าคณะปฏิรูปและพลอากาศเอกคนหนึ่ง

ท่านใช้อำนาจจากไหนถึงได้ยอดเยี่ยมกระเทียมดอง สามารถเปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ขนาดนั้น !!!

ท่านทราบมั๊บครับว่า ผู้อำนวยการนสพ.ไทยรัฐ ต่อรองอะไรกับหัวหน้าคณะปฏิวัติ....
ทำไมถึงห้ามหัวหน้าข่าวหน้า 1 จำนวน 3 คน และห้ามคนเขียนข่าวหน้า 4 ทำหน้าที่

อ้อ...ย้ำนะครับ หลังวันที่ 20 ตุลาคม 2520 อันเป็นวันปฏิวัติซ้ำ
ในเวลานั้น ยังมีหนังสือพิมพ์ที่ถูกสั่งปิดอยู่ 13 ฉบับ....
รมต.มหาดไทย วันที่ 22 ตุลาคม 2519- 20 ตุลาคม 2520
ผู้เป็นเจ้านายของเจ้าพนักงานการพิมพ์ทำอะไรอยู่ครับ

หรือว่านั่นเป็นสายตาของชายวัย 40 เศษๆ ที่เห็นคนถูกฆ่าและเผาเพียงศพเดียวที่สนามหลวง..

....เรื่องอื่นๆ ไม่ทราบ..ไม่รู้...ไม่เห็น...เช่นนั้นหรือ ?

ท่านนายกรัฐมนตรีตอบให้ชื่นใจหน่อยครับ



แคน ไทเมือง

 

สายใยไทยทั้งเมือง
http://www.oknation.net/blog/canthai/2008/02/20/entry-1
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: