ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 16:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบ หุ้นสามัญ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบ หุ้นสามัญ  (อ่าน 3102 ครั้ง)
weeradate
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 19-05-2006, 00:40 »

10
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบ หุ้นสามัญ

ตั้งแต่พ.ศ. 2540ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงนั้น ทำให้ร้านค้าขาดสภาพคล่องทางการเงินแต่สภาพคล่องทางหนี้สินกลับไม่ฝืดตามกันไป ทั้งนี้ก็เพราะวิธีการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลานั้นยังคงดำเนินไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงทำให้เกิดภาวะดอกเบี้ยล้นระบบจนกระทั้งเกิด NPL ล้นระบบ
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจระดับรากหญ้า
ตามหลักการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน คือ ควรจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่อง ปลอดดอกเบี้ย และ ปราศจากการยึดทรัพย์ เพราะรากหญ้าเป็นบุคคลหาเช้ากินค่ำรัฐบาลจึงไม่ควรไปยึดทรัพย์เพราะจะเป็นการทุปหม้อข้าวตนเองระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐบาลควรรอเงินปันผลจ่ายจากประชาชนจึงจะถูกต้อง ตามชื่อนโยบาย แปลงสินทรัพย์เป็นทุน
แต่วิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่รัฐบาลนำมาใช้โดยอ้างว่าช่วยเหลือ คือ การนำสินทรัพย์ที่ไม่มีหลักประกันที่ชัดเจน เช่น ห้องเช่า แผงลอย ทรัพย์สินทางปัญญา นำมาขอกู้กับสถาบันการเงิน(หน้าเลือด) โดยผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นและมีโอกาสถูกยึดทรัพย์
ฉะนั้นจากความหมายของนิยามความคิดที่รัฐบาลตัดสินใจนำมาใช้กับประชาชน จึงควรเรียกว่า การแปลงสินทรัพย์ให้ประชาชนเป็นหนี้ หรือ การแปลงสินทรัพย์ประชาชนให้กลายเป็นทุนของธนาคารโดยสุจริตและชอบธรรม
จากนโยบายนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐบาล กับ ธนาคาร รวมกันป้อนผลประโยชน์ให้แก่กัน โดยอาศัยชื่อนโยบายที่ดูเหมือนดีบังหน้า ฉากหลังก็ดูดเลือดรากหญ้าโดยการ คิดดอกเบี้ย และ ยึดทรัพย์ ซึ่งขัดต่อความต้องการของคนจน และ ขัดต่อชื่อนโยบาย ที่ว่าด้วย ศาสตร์การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนอย่างแท้จริง
ในส่วนวิธีการที่รัฐบาลทำมันขัดต่อชื่อ การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เช่นไร ผมจะอธิบายความหมายของทุน เช่น ทุนแบบหุ้นสามัญ แท้ที่จริงเป็นเช่นไร ให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ ก่อนที่จะได้เข้าใจต่อไปว่า การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนทำเช่นไร ดังนี้




11
1. นิยาม หุ้นสามัญ ( common stock )
ลักษณะเฉพาะ
หุ้นดังกล่าวออกโดยบริษัทเอกชนที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง เจ้าของกิจการมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาทิ การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การครอบงำกิจการ โดยจะมีสิทธิออกเสียงตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่


ผลตอบแทนที่ได้รับ
1. เงินปันผลกำไรในธุรกิจ การจ่ายเงินปันผลถูกกำหนดให้มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป และไม่มีการบังคับให้ต้องจ่ายเงินปันผลนอกจากความตั้งใจที่จะจ่าย คณะกรรมการจะจัดการประชุมเพื่อประเมินฐานะทางการเงินของบริษัทและความต้องการใช้เงินในอนาคต บริษัทต้องมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลก่อน แล้วถึงกำหนดวันจ่ายที่แน่นอน
2. กำไรจาการขายหุ้น จะไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดการณ์ได้
3. สิทธิการจองหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนและซื้อหุ้นใหม่ในราคาพิเศษ มีโอกาสทำกำไร

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ผลตอบแทนจากหุ้นสามัญไม่มีความแน่นอน อาจสูง ต่ำ หรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับผลของการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ และ ปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายปัจจัย นอกจากนี้หากบริษัทมีปัญหาทางการเงิน ถึงขั้นล้มละลายหรือจำเป็นต้องเลิกกิจการ เงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์จะต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้ และ ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์เหนือกว่าหุ้นสามัญ ส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งให้ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นอันดับสุดท้าย หรือหากกิจการประสบผลขาดทุนผู้ที่ได้รับผลเสียหายคนแรกคือ ผู้ถือหุ้นสามัญ ดังนั้น การลงทุนในหุ้นสามัญจึงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ๆ




12
2. หนี้สิน
ลักษณะเฉพาะ
ไม่ว่าคุณจะเป็นหนี้แบบไหน หรือ กับใคร ทางการเงินแล้วคุณไม่ต่างอะไรกับ “ทาส” เพราะทาส คือ คนที่มีหน้าที่ต้องทำงานหนักเพื่อผู้อื่นไปจนตาย โดยไม่มีสิทธิ์ที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เอาไว้เป็นของตนเอง
ข้อสังเกตุ ทั้ง ๆ ที่ รัชการที่ 5 ทรงเลิกทาส มานานแล้วแต่ก็ยังมีคนไม่เข้าใจคำว่า ทาส คือ อะไร และยินยอมให้เกิดระบบทาส ขึ้นอย่างชอบธรรม (ยิ่งคิดยิ่งงง…..!)และได้เปลี่ยนชื่อเรียกทาสให้มันใหม่ว่า เป็นระบบการเงิน ระบบการคิดอกเบี้ย ระบบยึดทรัพย์ และอื่น ๆ เช่น NPL เป็นต้น
3. สินทรัพย์
ลักษณะเฉพาะ
เป็นผลพลอยได้ หรือ ส่วนต่างจาก หนี้สิน ลบ ทุน กล่าวคือ ดอกเบี้ยที่คุณต้องให้เจ้าหนี้ ลบ เงินปันผลหรือกำไรที่คุณได้รับจากการลงทุน เช่น การลงทุนซื้อหุ้นจากบริษัทเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนเปิดกิจการใหม่ ถ้าหาก ดอกเบี้ยเงินกู้ มากกว่า เงินปันผล หรือ กำไร คุณจะถูกกินทุน เรียกว่า ขาดทุน นำไปสู่การยึดทรัพย์ และนำไปสู่ความตายทางเศรษฐกิจ แต่ถ้า เงินปันผล มากกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ เรียกว่า กำไร หรือ สินทรัพย์
เมื่อผู้อ่านพอเข้าใจลักษณะเฉพาะของคำศัพท์ต่างๆ แล้วก็จะสามารถทำความเข้าใจ ความหมายของ การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบหุ้นสามัญได้ไม่ยาก โดยรูปแบบของการแปลงมีดังนี้
1. ความหมายของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบหุ้นสามัญ หมายถึง การที่สถาบันการเงินหรือนักลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ ตามหลัก สถาบันการเงินหรือนักลงทุนจะได้รับเงินปันผล หรือ ไม่ขึ้นอยู่กับผลงานการดำเนินการของบริษัท และนโยบายที่กำหนดจะจ่ายหรือไม่มีการจ่ายเงินปันผลในปีนั้น ๆ ถ้าหากสถาบันการเงินหรือนักลงทุนไม่พอใจผลการดำเนินงานหรือนโยบายที่ไม่ต้องการจ่ายเงินปันผลในปีนั้น ๆ ก็สามารถขายหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในมือตามช่วงเวลาและระดับราคาที่ต้องการ




13
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในระดับรากหญ้าก็มีแนวทางที่สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ กล่าวคือ เมื่อเจ้าของสินทรัพย์มีความต้องการแปลงสินทรัพย์ของตนให้เป็นทุน หรือเรียกว่า ให้มีผู้ร่วมทุน โดยตนยินดีแบ่งกำไรที่ได้ให้แก่ผู้ร่วมทุน ซึ่งผู้ร่วมทุนในที่นี้ได้แก่ สถาบันการเงิน รับบทเป็น นักลงทุน ส่วนเจ้าของสินทรัพย์ รับบทเสมือนเป็น บริษัทเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเมื่อสถาบันการเงินได้ตกลงอนุมัติวงเงินตามความสมดุลระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ กับ วงเงินขอแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ก็เปรียบเสมือนได้ซื้อหุ้นสามัญ

หลักเกณฑ์สำคัญของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแบบหุ้นสามัญ คือ

1. ผู้กู้จะเป็นผู้กำหนดจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น และสามารถกำหนดว่าปีใดหรือเดือนใดที่จะไม่จ่ายเงินปันผล
2. หากผู้ถือหุ้นอยากขายหุ้นสามารถทำได้ตามหลัก โดยผู้ถือหุ้นรายต่อไปจะเป็นผู้รับโอน สินทรัพย์ ไว้ครอบครองแต่ต้องแจ้งให้ ผู้กู้ทราบทุกครั้งที่เกิดการขายหุ้นให้บุคคลอื่น
3. หากกิจการของผู้กู้ล้มละลาย ธนาคารต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบปัญหาของกิจการ เช่น ให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือ จะไปยึดทรัพย์ไม่ได้เพราะเป็นผู้ถือหุ้น ฉะนั้นธนาคารจึงมีหน้าที่คอยรับเงินปันผล แม้ว่าอาจจะน้อยแต่ถ้าไม่พอใจก็สามารถขายหุ้นในราคาขาดทุน ให้แก่บุคคลอื่นที่สนใจได้
4. ผู้ถือหุ้นสามารถร่วมประชุมกับเจ้าของกิจการมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาทิ การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การครอบงำกิจการ โดยจะมีสิทธิออกเสียงตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่

เมื่อไม่มีการยึดทรัพย์ และ ไม่มีคำว่า การเจรจาประนอมหนี้หาข้อยุติไม่ได้ สังคมจะลดความตึงเคลียดมากกว่าทุกวันนี้ สังคมจะมีภาวะเบียดเบียนเฟ้อน้อยกว่าทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
Think Earth
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 196


« ตอบ #1 เมื่อ: 19-05-2006, 07:36 »

Why don't we just raise the price of any Agricultural product?

I think it is easier.

This project, finally, the land will be in a bank for sure.

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: