ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 13:44
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 1 และ 2 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 1 และ 2  (อ่าน 1429 ครั้ง)
weeradate
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 19-05-2006, 00:39 »

เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 1 และ 2
6
เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 1
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ที่ประเทศปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ผสม ทุนนิยมขนาดใหญ่ ครอบงำประเทศ
ทุกคนในประเทศมีความรู้สึกเหมือนกับว่า ตนเองได้มีสิทธิหน้าที่สมบูรณ์แบบตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงทุกคนถูกครอบงำและถูกจำกัดสิทธิของตนเองภายใต้กรอบการเงินเดียวกัน ซึ่งหากมองให้ลึกกรอบการเงินของประเทศไทยได้ลอกเลียนแบบของชาติตะวันตกมาทั้งดุ้น กรอบการเงินของไทยไม่ได้ทำให้กลิ่นไอของระบอบทาสจางหายไปแม้แต่น้อย สังเกตได้จาก อิสระภาพและเสรีภาพของลูกหนี้ยังคงอยู่ภายใต้อานัดของเจ้านี้ ตั้งแต่อิสระในการกินการใช้ก็ต้องถูกจำกัดสิทธิเพราะลูกหนี้ต้องหักเงินส่วนหนึ่งจากรายได้ไปส่งส่วยให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ส่งดอกเบี้ยมิฉะนั้นเจ้าหนี้ก็จะยึดทรัพย์ของลูกหนี้ โดยใช้อำนาจากฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่มีไว้ปกป้องระบอบทาสเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่ ทำให้ระบอบทาสเกิดความชอบธรรมเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่งาม ทั้ง ๆ ที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงได้ประกาศห้ามให้นำระบอบทาสมาใช้อีก เพราะพระองค์ทรงประกาศเลิกทาสไปแล้วผมจะเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่า วิบัติ คงจะไม่ผิด หากเป็นเช่นนี้ต่อไปทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงอาจถูกกลืนจากแนวคิดของชาติตะวันตก เหมือนทฤษฏีการเลิกทาสก็เป็นไปได้
ดอกเบี้ยได้ทำให้ฝ่ายลูกหนี้ต้องจ่ายเงิน ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรณ์โดยทำให้ลูกหนี้ไม่เกิดการผลิต หรือ การบริโภค หากลูกหนี้ไม่มีปัญญาจ่ายเจ้าหนี้ก็จะมายึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดทำให้ลูกหนี้ล้มละลาย หากผมจะถามว่าความชอบธรรมในการยึดทรัพย์ลูกหนี้มาขายใช้หนี้ ทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตสูญหายไปเพราะจะทำให้เค้าไม่มีบ้านจะอยู่ไม่มีโทรทัศท์ดู ไม่มีน้ำไม่มีไฟฟ้าใช้ ตรงนี้มันไม่แรงไปหน่อยเหรอ
เมื่อลูกหนี้ถูกยึดสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่เค้าสมควรได้รับในฐานะคน ๆ หนึ่งในสังคมเดียวกัน ผมขอถามว่า กฏหมายจะทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันได้ยังไงครับ ขนาดสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนเราสมควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันในกรอบสังคมเดียวกัน ยังถูกทำลายอย่างชอบธรรมเลย





7
ผมขอถามว่าการที่ลูกหนี้ทำผิดที่ใช้เงินเค้าช้าเกินไป ไม่ทันใจเจ้าหนี้ ไม่ประทับใจกระบวนการยุติธรรม แค่นี้ทำให้เค้าต้องสูญเสียสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตไปจากชีวิตเลยเหรอ หากทำกันอย่างนี้มันเหมือนทำกับลูกหนี้เป็นหมาตัวหนึ่งนะครับ เพราะหมามันมีสิทธิในการดำรงชีวิตน้อยกว่าคน ดังนั้นเราจึงไม่ควรให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนเหลื่อมล้ำกัน ผมอยากให้สังคมทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่
หากจะลงโทษเค้าก็ไม่ควรไปยึดทรัพย์เค้าอย่างน้อยควรให้เค้ามีบ้าน มีโทรทัศน์ และมีอะไรอื่น ๆ ตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานที่คน ๆ หนึ่งจะได้รับจากสังคมที่อ้างว่ามีความเท่าเทียมกัน ส่วนเรื่องหนี้ควรเป็นเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป เพราะตราบใดที่ลูกหนี้ยังมีลมหายใจก็เป็นหลักประกันได้แล้วว่า เค้าจะสามารถจ่ายหนี้ให้คุณได้
วิธีการคิดดอกเบี้ยไม่ได้คำนึงและไม่ได้มอบสิทธิของความเป็นคน ขนาดคนที่กินข้าวจนอิ่ม เค้ายังสามารถขอให้ตัวเค้าเองหยุดกินได้ หรือ คนที่หิวข้าว เค้าสามารถขอให้ตนเองทานข้าวได้ โดยไม่ต้องไปขอร้องใครให้อนุญาติ เพราะเป็นสิทธิที่มีมาแต่กำเนิด ฉันใด
การจ่ายดอกเบี้ยก็ต้องสามารถขอร้องให้ตนเองเลิกจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ทนไม่ได้ ฉันนั้น เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิไปบังคับหรือขู่เข็นหรือยึดทรัพย์เค้าได้ การบังคับให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่เจ้าหนี้กำหนด หรือบังคับให้ต้องถูกยึดทรัพย์ มันก็เหมือนมีคนมาบังคับให้เรากินข้าวต่อไปให้หมดแม้ว่าเราจะกินไม่ไหวแล้วก็ตาม
อาจเปรียบการบังคับให้จ่ายดอกเบี้ยเสมือน มีใครซักคนบังคับให้เรามีเซ็กกับใครก็ได้ โดยที่เราไม่มีสิทธิปฏิเสธ ดังนั้นการถูกบังคับให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้ง ๆ ที่เราจ่ายต่อไปไม่ไหวมันก็ไม่ต่างอะไรกับการถูกข่มขืนทางการเงิน จะเห็นได้ชัดว่าการให้สิทธิเจ้าหนี้ไปบังคับให้ลูกหนี้บริโภคดอกเบี้ย เปรียบเหมือน ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั่นเอง








8
เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 2
จากบทความเรื่อง เมื่อ ดอกเบี้ย ละเมิด สิทธิส่วนบุคคล 1 ในตอนจบ หลายคนคงจะสงสัยว่าจะให้ลูกหนี้สามารถละเมิดสัญญาที่ตกลงกับเจ้าหนี้ได้โดยอำเภอใจอย่างงั้นหรือ บทความนี้จะอธิบายทางออกทางหนึ่งจากทางออกที่เป็นไปได้หลายทาง โดยใช้หลักสิทธิส่วนบุคคลในการกำหนดหลักการกู้ยืมเงินและคิดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันการถูกคิดดอกเบี้ยแบบโหด และ ป้องการการยึดทรัพย์โดยชอบธรรม โดยมีหลักคิดดังนี้
หากเกิดการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ คือ เจ้าหนี้ ส่วนผู้กู้ คือ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่สิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ย และ บังคับให้ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ย โดยอ้างว่าตนควรได้รับดอกเบี้ยเพราะเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นความชอบธรรม แต่เจ้าหนี้จะได้รับสิทธิ 2 รูปแบบ คือ
แบบที่ 1. ทุกครั้งที่ลูกหนี้ต้องการบริโภค เช่น ปัจจัย 4 ลูกหนี้ต้องสั่งซื้อสินค้าผ่านเจ้าหนี้ ส่วนเจ้าหนี้ต้องสั่งซื้อสินค้าให้ลูกหนี้แล้วขายต่อให้ลูกหนี้ในราคาตลาดเปรียบเสมือนการจับเสื้อมือเปล่า กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับกำไรจากการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้และหากสินค้าที่ลูกหนี้สั่งซื้อเป็นสินค้าที่เจ้าหนี้ดำเนินกิจการอยู่แล้วจะทำให้กิจการของเจ้าหนี้เกิดสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ถ้าสินค้าที่ต้องการซื้อเป็นสินค้าที่รอช้าไม่ได้ลูกหนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องสั่งซื้อสินค้าผ่านเจ้าหนี้ทุกครั้ง ดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้ได้กำไรจากการส่งมอบสินค้าเท่ากับว่าลูกหนี้ได้เจ้าดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้นี่คือ วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในรูปแบบหนึ่งที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเองมากกว่าในปัจจุบัน และถ้าหากคิดว่าวิธีนี้เป็นภาระแก่เจ้าหนี้มากกว่า ก็สามารถเปลี่ยนเป็นวิธีที่ 2
แบบที่ 2. คือ ทุกครั้งที่ลูกหนี้บริโภค เช่น ปัจจัย 4 ลูกหนี้ต้องบริจาคเงินส่วนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้เป็นดอกเบี้ย ซึ่งเงินบริโภคนี้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิกำหนดอัตราแต่อย่างใด ดังนั้นลูกหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภค และจำนวนเงินที่ต้องการบริจาค ดังนั้นหากไม่ต้องการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้มากก็ควรบริโภคให้น้อย หรือเรียกว่า ออมให้มาก
แนวคิดทั้ง 2 มาจากความต้องการทำลายหลักการคิดดอกเบี้ย หรือ เรียกตามภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า ทำลายการใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต โดยเฉพาะข้อ 1 นอกจากจะทำลายการคิดดอกเบี้ยแล้ว ยังทำให้เกิดการบริโภค การลงทุน การผลิต และการจ้างงาน ตามหลักทฤษฏีของเคนส์ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้จำนวนคนว่างงานและปัญหาที่เกิดจากการว่างงาน เช่น ลักทรัพย์ อาชญากรรม ลดลง ซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปภาพได้ดังนี้


9
รายได้


บริโภค การลงทุน

การผลิต

การจ้างงาน

การทำลายหลักการคิดดอกเบี้ยอาจกล่าวได้ว่าได้ทำให้ สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ มากขึ้น และ การว่างงานลดลง กล่าวคือ การจ่ายดอกเบี้ยทำให้ความสามารถในการบริโภค จนถึง การจ้างงาน ของลูกหนี้ลดลง เมื่อความสามารถในการจ้างงานลดลงก็จะทำให้คนงานตกงาน นำไปสู่ปัญหาการว่างงานในที่สุด
หรือถ้าหากนำเงินก้อนที่จะต้องมาจ่ายดอกเบี้ยมาซื้อสินค้าหรือบริการ กับ เจ้าหนี้ นอกจากจะทำให้เจ้าหนี้ได้กำไรแล้ว เจ้าหนี้ยังได้ขายสินค้าซึ่งทำให้กิจการของเจ้าหนี้เกิดสภาพคล่อง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่อไป ก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งท้ายที่สุดก็จะทำให้การว่างงานของลูกจ้าง และของลูกหนี้ลดลง สังคมก็จะดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
หรือถ้าหากคิดมูลค่าดอกเบี้ยทั้งหมดที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ มาหักลบกับกำไรที่ได้จากการใช้บริการซื้อสินค้าจากลูกหนี้ ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ 1 ล้านบาท เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ฉะนั้นลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ปีละ 1 แสนบาท มูลค่าดอกเบี้ยจำนวนนี้จะถูกหักไปเรื่อย ๆ จากการใช้บริการซื้อสินค้าระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ โดยที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิบังคับให้ลูกหนี้ต้องซื้อสินค้า โดยปริมาณการซื้อสินค้าหรือบริการจากเจ้าหนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการบริโภคสินค้าของลูกหนี้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น หากเจ้าหนี้ขายสินค้าแพงกว่าราคาตลาดลูกหนี้จะสามารถเลิกซื้อขายสินค้ากับเจ้าหนี้ได้ตามเหตุผลที่ปรากฏ โดยค้างดอกเบี้ยไว้มิให้คิดทบต้นอีกรอบ
ส่วนการยึดทรัพย์ตามหลักของเคนส์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อยึดทรัพย์ก็จะทำให้ความสามารถในการสร้างรายได้ของลูกหนี้ลดลง ท้ายที่สุดก็จะทำให้การว่างงานสูงขึ้น ซึ่งการยึดทรัพย์จึงไม่ใช่หลักการที่ดีสำหรับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมื่อเราสามารถทำลายแนวคิดดอกเบี้ยได้แล้วตอนต่อไปผมจะเสนอทางออกป้องกันไม่ให้เกิดการยึดทรัพย์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: