ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 11:48
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  การใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต  (อ่าน 1724 ครั้ง)
weeradate
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 19-05-2006, 00:37 »

การใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต
คำนำ
ก่อนหน้าที่ผมจะเริ่มเขียนผมเริ่มคิดค้นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มาได้ประมาณ 4 ปี สาเหตุที่ต้องใช้เวลาคิดค้นยาวนานขนาดนี้เนื่องจากต้องศึกษาปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มจนถึงจุดจบ จากนั้นศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาตั้งแต่บทที่ 1 ถึงวิทยานิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ของสาขานั้น ๆ
หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนวิทยานิพนธ์ส่วนตัวของผมก็ว่าได้มันเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่สามารถมีอุดมการณ์เป็นของตนเองไม่ได้ลอกใคร
เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ตั้งที่บทที่ 1 ถึงบทที่ 11 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบขั้นตอนการเป็น นักฆ่าเงินเฟ้อ ส่วนบทสุดท้ายคือบทที่ 12 เป็นบทสรุปแนวทางปฏิบัติหลายแนวทางตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทที่ 11 หลอมรวมมาเป็น นักฆ่าเงินเฟ้อ ภาค ปฏิบัติ
เนื้อหาบางบทมันไม่ได้มาจากทฤษฏีหรือฟังใครมา มันเกิดจากการตกผลึกของปัญหาและทฤษฏีจนทำให้ วันหนึ่งผมกำลังนั่งกินไอติม คำตอบมันก็วิ่งเข้ามาในหัวผมเองทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดและไม่ได้ท่องทฤษฏีอะไร ทำให้ผมต้องรีบวิ่งไปเอาปากกามาจดเพราะเดียวมันจะลืม(ประจำ)
ผมจะเป็นอย่างนี้เป็นประจำ โชคดีที่ทุกวันนี้มีโทรศัพท์มือถือทำให้ผมไม่ต้องวิ่งหาปากและกระดาษเพียงแค่บันทึกเสียงผ่านมือถือ
สุดท้ายขอให้ตกตะลึงกับแนวคิดแปลกแปลกของผมให้หนำใจ














การใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต

คุณเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับเงินที่หามาได้บ้างไหมว่า เราต้องนำเงินขอเราไปจ่ายในสิ่งที่ไร้ค่าโดยไม่ก่อให้เกิดการผลิตสำหรับตัวเรา เช่น จ่ายดอกเบี้ย จ่ายค่าปรับ จ่ายค่าธรรมเนียม จ่ายค่าวิ่งเต้น เป็นต้น เงินต่าง ๆ ที่เราต้องจ่ายเหล่านี้ได้ทำให้คนจ่ายเกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ เงินจำนวน 100 บาทที่เราต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้นั้น เป็นเงินที่ทำให้สูญเสียความสามารถในการบริโภคหรือการลงทุน
หากคนบางคนบอกว่ามันก็สมควรแล้วเพราะคุณไปยืมเงินทุนเค้ามา คุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเขา หรือหากคุณไปไหว้วานให้เค้าช่วยเหลือคุณก็ต้องจ่ายเงินใต้โต็ะ หรือคุณไปทำผิดกฏหมายคุณก็ต้องถูกปรับ เหตุผลพวกนี้ก็มีส่วนถูกแต่คุณอย่าลืมว่า หากเราต้องเสียเงินไปโดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต เราก็ต้องไปเบียดเบียนคนอื่นเพื่อให้เราได้เงินนั้นคืนมาเหมือนเดิม
ฝ่ายที่ได้รับเงินจากเราถือว่าเค้าได้เงินกินเปล่า หากเราไม่จ่ายการงานต่าง ๆ ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จ แนวคิดนี้เรียกว่า การใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต
หากจะเรียกการเก็บเงินกินเปล่าว่าเป็นการคอรัปชั่นส่วนบุคคล คงไม่ผิดเพราะเงินที่ได้มาไม่สามารถหาความชอบธรรมได้ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าการเรียกเก็บมันจะเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้อย่างไร เพราะมันเป็นธรรมเฉพาะฝ่ายที่ได้รับเงินกินเปล่าเท่านั้น ส่วนฝ่ายที่ให้ก็ให้เพื่อหวังน้ำบ่อหน้า ซึ่งถ้าหากน้ำบ่อหน้าเหือดแห้ง หรือ ไม่ได้น้ำบ่อหน้าอย่างที่หวัง ได้ไม่คุ้มเสีย ส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินชีวิตของคนที่ต้องจ่ายเงินกินเปล่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บุคคลผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลุกค้า ลูกจ้าง และบุคคลที่ใกล้ชิด ต้องเป็นฝ่ายแบกรับต้นทุนร่วมกับคนที่ต้องจ่ายเงินกินเปล่า เพราะคนที่ต้องจ่ายเงินกินเปล่าต้องเบียดเบียนบุคคลผู้เกี่ยวข้องอีกต่อหนึ่งเพื่อให้ต้นทุนของการจ่ายเงินกินเปล่าลดลงเพื่อให้สามารถอยู่รอดภายใต้ภาวะการแข่งขัน โดยบุคคลผู้เกี่ยวข้องก็ต้องไปเบียดเบียนคนอื่นอีกต่ออีกทอดหนึ่ง สุดท้ายสังคมก็จะเกิดความตึงเคลียดเพราะไม่มีใครอยากเล่นเกมส์นี้เป็นคนสุดท้าย เพราะผู้เล่นเกมส์นี้เป็นคนสุดท้ายจะเป็นผู้แบกรับต้นทุนที่สูงที่สุด ซึ่งอาจหมายถึง หายะนะ หรือ ความตาย ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็จะเบียดเบียนเด็กต่อไปเพราะเด็กรังแกง่ายที่สุด สุดท้ายเยาวชนของชาติก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คอยเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ในสายเลือด




2
ขอยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายขึ้นว่า การเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ระหว่างบุคคลจะทำให้เกิดความแตกต่างทางด้านต้นทุน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรค ภาวะเงินเฟ้อส่วนบุคคล ดังนี้

นาย ก นาย ข
รายได้ 100 บาท รายได้ 100 บาท
หัก ค่าน้ำค่าไฟ 20 หัก ค่าน้ำค่าไฟ 20
ค่าอาหาร 20 ค่าอาหาร 20
ค่าน้ำมัน 20 60 บาท ค่าน้ำมัน 20
ค่าดอกเบี้ย 20 80 บาท
เหลือสุทธิ 40 บาท เหลือสุทธิ 20 บาท

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า นาย ก และ นาย ข บริโภค ( ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ) เท่ากัน แต่มูลค่ารวมของการบริโภคต่างกัน = 20 บาท ( 80 - 60 บาท) สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการบริโภคต่างกันเกิดจากนาย ข มีหนี้ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ย สภาวะที่เกิดขึ้นกับนาย ข นักเศรษฐศาสาตร์เรียกกันว่า ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหมายถึง ภาวะที่มูลค่าของสินค้ามีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเวลาได้ผ่านไป เช่น ลูกอม 10 เม็ดราคา 10 บาท แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกอม 10 เม็ดราคาขยับขึ้นไปเป็น 15 บาท เป็นต้น ดังนั้นหากสังเกตจะพบว่า คนเหมือนกันแต่บางคนมีค่าใช้จ่ายครองชีพสูงกว่าอีกคน ยกตัวอย่างเช่น นาย ก และ นาย ข ซึ่งเป็นคนเหมือน ๆ กัน แต่ค่าใช้จ่ายในการครองชีพต่างกัน คือ นาย ก 60 บาท ส่วนนาย ข 80 บาท หากสังเกตต่อไปอีกจะพบว่า ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ไม่ได้เกิดจากการบริโภคที่มากกว่า แต่เกิดจากการใช้เงินโดยไม่ก่อให้เกิดการผลิตที่มากกว่า เพราะนาย ข ต้องจ่ายเงินกินเปล่าที่เรียกว่า ดอกเบี้ย ให้กับเจ้าหนี้
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิตและบริโภคนั้น มีส่วนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
หากสังเกตุจะพบว่า เงิน 100 บาทถ้าอยู่ในมือของคนมูลค่าของเงินจะลดลงทันที เช่น ถ้าเงิน 100 บาท ตกอยู่ในมือของนาย ข มูลค่าเงินจะถูกลดลงทันทีเหลือแค่ 20 บาทส่วนนาย ก ถูกลดค่าเหลือ 40 บาท อาจกล่าวได้ว่า เมื่อเงินตกอยู่ในมือของคน เงินจะถูกลดค่าลงไป เหมือน รถยนต์เมื่อถูกใช้งานค่าของมันก็ตกลง กลายเป็นรถมือสอง นั่นเอง

3
ส่วนภาวะบริโภคเฟ้อส่วนบุคคล หมายถึง บุคคล 2 คน คนหนึ่งต้องกินกับข้าวมื้อละ 5 อย่างจึงอิ่ม แต่อีกคนกินกับข้าวแค่ 1 อย่าง ก็อิ่ม ซึ่งคนที่กินกับข้าวถึง 5 อย่างเรียกว่า บุคลนั้นเกิดภาวะบริโภคเฟ้อส่วนบุคคล (ผมนิยามขึ้นมาเอง)
เมื่อเจ้าขอธุรกิจนำเงินไปใช้โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิตเช่นต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก ทำให้ความสามารถในการจ้างงานลดลงดังนั้นคนงานที่เคยถูกจ้าง ก็จะตกงานเพราะนายจ้างมีเงินไม่พอที่จะจ้างคนงานจำนวนเท่าเดิมดังนั้นจึงต้องลดจำนวนคนงานเพื่อความอยู่รอด คนที่ตกงานจึงกลายเป็นโรคว่างงาน
จะเห็นได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดกับเจ้าของธุรกิจสามารถก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานกับลูกจ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากเราต้องการทำลายปัญหาการว่างงานก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ขจัดการใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต คำถามที่ตามมาคือหากเราไม่ให้ฝ่ายหนึ่งแบกรับต้นทุนที่เรียกว่าการใช้ทรัพยากรณ์โดยไม่ก่อให้เกิดการผลิต แล้วอีกฝ่ายจะมีกำไรได้อย่างไร คำตอบก็คือ ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถรวยได้แต่ต้องรวยหรือจนไปด้วยกัน หลักการคือ เราต้องนำรายได้ , กำไร และ รายจ่ายที่เกิดขึ้นกับทั้ง 2 ฝ่ายมารวมกัน หากมีกำไรก็มีด้วยกันหรือหากขาดทุนก็ขาดทุนด้วยกัน หมายความว่า หากอยู่ก็อยู่ด้วยกันหากตายก็ตายด้วยกัน
เมื่อสังคมมีรูปแบบเช่นนี้ก็จะทำให้การทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ตนเองได้ผลประโยชน์จากการสูญเสียของอีกฝ่าย จะไม่เป็นผลดีต่อผู้กระทำเพราะผู้กระทำต้องร่วมรับผิดชอบต่อการสูญเสียของอีกฝ่ายหนึ่งนั่นเอง เมื่อเหตุการเป็นเช่นนี้การเอารัดเอาเปรียบกันก็จะไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่ได้รับคือการจนลงไปด้วยกัน การดูแลกันและการห่วงใยเอาใจใส่กันจะเกิดขึ้น เพราะหากทั้ง 2 ฝ่ายแข็งแรงก็จะสามารถสร้างผลกำไรร่วมกันได้มากขึ้น แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเจ็บป่วยหรือด้อยความรู้ความสามารถก็จะส่งผลให้กำไรที่ต้องร่วมกันสร้างมีมูลค่าลดลง ดังนั้นทางเดียวที่จะทำให้อยู่รอดได้คือ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้อยู่รอดไปด้วยกัน เมื่อต่างคนต่างแสวงหาความรู้และป้อนองค์ความรู้ให้แก่กันกำไรที่ต้องร่วมกันสร้างก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น





4
เมื่อเราสามารถสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นได้เช่นนี้แล้วเท่ากับว่า ภาวะการบริโภคเฟ้อก็จะถูกกำจัดไปโดยปริยาย เช่น การมีความรู้ไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ เมื่อฝ่ายหนึ่งบริโภคความรู้มากกว่าหรือมีความรู้หลากหลายกว่าเท่ากับว่าฝ่ายที่บริโภคความรู้มากกว่าเป็น ฝ่ายที่เกิดภาวะการบริโภคเฟ้อ แนวทางที่จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติของการใช้ระบบสังคมแบบนี้ก็คือ ทั้ง 2 ฝ่ายจะปฏิบัติการร่วมมือกันโดยอัตโนมัติที่จะถ่ายทอดความรู้และยินดีเรียนรู้องค์ความรู้จากกันและกันให้มากที่สุด สาเหตุที่สถานการณ์เป็นเช่นนี้เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต่างตระหนักถึงกำไรสูงสุดที่ต้องสร้างด้วยกัน เมื่อต้องสร้างกำไรร่วมกันการเพิ่มความรู้ความสามารถให้แก่กันก็เป็นจึงเป็นแนวทางที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วนั่นเอง
ถ้าหากอีกฝ่ายหนึ่งติดเหล้า หรือ ติดการบริโภคลักษณะอื่นที่ส่งผลให้กำไรร่วมกันลดลง เช่น ติดการพนัน ติดเที่ยวกลางคืน ติดเล่นเกมส์ทั้งวันจนดึกจนดื่นทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะหายไปเปรียบเสมือนถูกทำหมันไปโดยปริยาย
กล่าวคือ ถ้า นาย ก ทำกำไรได้เดือนละ 100 บาท นาย ข เดิมทำกำไรได้ 100 บาทเช่นกัน แต่เมื่อติดเหล้าทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงจึงทำให้กำไรของนาย ข ลดลงเหลือ 50 บาท แต่ยังไม่ถูกนาย ก ตำหนิตราบใดที่ยังไม่ได้ทำให้กำไรของนาย ก ลดลง แต่ถ้าวันใดความสามารถในการทำกำไรของนาย ข ลดลงจนทำให้กำไรของนาย ก ลดลงด้วย เนื่องจากนาย ข ขาดทุน เพราะป่วยเป็นโรคไตวาย ต้องเข้าโรงพยาบาลจึงไม่มีรายได้มีแต่รายจ่าย และถ้าหากผลขาดทุนของนาย ข ทำให้นาย ก แบกรับผลขาดทุนของนาย ข ไม่ไหว เพราะผลขาดทุนของนาย ข ทำให้นาย ก เกิดภาวะขาดทุนเช่นกัน ในที่สุดก็จะส่งผลให้ทั้งคู่ต้องตายทางเศรษฐกิจ
ถ้านาย ก ไปข่มขืน นางสาว ง ซึ่งทำให้นางสาว ง เจ็บปวดใจส่งผลให้การสร้างกำไรของนางสาว ง ลดต่ำลงจนกระทั่งประสบผลขาดทุน ซึ่งในที่สุดก็จะกระทบนาย ก ด้วยเช่นกัน และนาย ก ก็ต้องกลับมาช่วยเหลือนางสาว ง เหมือนเดิมมิฉะนั้น ทั้งคู่ก็จะต้องตายทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นการไปข่มขืนนางสาว ง เปรียบเสมือนนาย ก กำลังฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วมันได้ไม่คุ้มเสียนั่นเอง
ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ภาวะตายทางเศรษฐกิจเกิดกับคนทั้ง 2 เกิดขึ้นมาเร็วกว่าความตายทางธรรมชาติ ก็มีแค่หนทางเดียวคือ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องร่วมเดินในแนวทางที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีกำไรสูงสุดเท่านั้น เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีกำไรสะสมเหลือเฟือเหลือใช้แม้ว่าความตายตามธรรมชาติจะมาเยือนแต่ก็ยังมีเงินเหลือใช้โดยไม่ต้องทำงานนั่นเอง


5
หากเราขยายผลแนวคิดดังกล่าวจากการเริ่มต้นที่คน 2 คน กลายเป็นครอบครัว ชุมชน และกลายเป็นสังคมโลก ผมหวังเหลือเกินว่าแนวคิดนี้จะสามารถทำให้โลกสงบสุข ไม่มีสงความ ไม่มีการข่มขืน ไม่มีการชิงทรัพย์ ไม่มีการติดเหล้าติดบุหรี่ และอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนและการไม่ต้องร่วมรับผิดชอบจากสิ่งที่กระทำ เพราะสิ่งที่ได้มันไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องเสียนั่นเอง


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ นักฆ่าเงินเฟ้อ ผมคิดว่ามันพอจะมีสาระเลยนำมาให้ลองอ่าน ขอบคุณครับ

หากสังเกตุบทความชิ้นนี้ไม่ได้เป็นแนวคิดของระบอบทุนนิยม  หรือ  สังคมนิยม   เพราะบทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้ใครสะสมทุน   และไม่ได้สนับสนุนให้ปกครองโดยระบอบทหาร  หรือ  เผด็จการ  แต่บทความนี้เป็นแนวคิดที่ทั้ง  2  ระบอบไม่เคยกล่าวถึง  นั่นก็คือ  การถ่ายโอนค่าใช้จ่ายระหว่างกัน   ซึ่งจะทำให้คนรวยกับคนจนไม่เกิดช่องว่างที่แยกห่างกันมากมายเหมือนกับระบอบทุนนิยมและสังคมนิยม  พฤติกรรมต่าง  ๆ  ของประชาชนจะส่งผลกระทบให้แก่กัน  ผ่านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น   โดยจะส่งผลกระทบต่อกำไรในที่สุด   และในที่สุดคนที่โกงคนอื่นเพื่อความร่ำรวยของตนเองก็จะไม่สามารถร่ำรวยได้อีกต่อไป   เพราะต้องร่วมรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น ๆ  ที่ถูกโกง  เพราะค่าใช้จ่ายมีการถ่ายโอนกันนั่นเอง   

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-05-2006, 01:07 โดย weeradate » บันทึกการเข้า
ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #1 เมื่อ: 19-05-2006, 10:02 »

ถ้าหาก นิสัย หรือ สันดาน ของมนุษย์ คิดอยากจะรวยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เช่น ถ้าเจ้าของโรงงานไม่ยอมลงทุนกำจัดน้ำเสีย
ต้นทุนก็ต่ำ สินค้าขายได้ดี กำไรเพิ่ม แต่สิ่งแวดล้อมเน่า
เมื่อตัวเองรวยเพิ่มขึ้น เขาไม่เห็นหรอกว่า ได้เพิ่มต้นทุนทางสังคมให้กับตัวเองอย่างไร
สิ่งที่จับต้องได้ มีแต่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น

แล้วจะทำอย่างไร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: