ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 00:05
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ผู้มีอิทธิพลเหนือนายกฯนอมินี ยังมีความคิดเห็นอย่างนี้ไหม..... 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ผู้มีอิทธิพลเหนือนายกฯนอมินี ยังมีความคิดเห็นอย่างนี้ไหม.....  (อ่าน 1005 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 13-02-2008, 09:27 »

หมอเลี๊ยบ ยันแนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นของสภาที่ปรึกษาฯ

"หมอเลี๊ยบ" ยันแนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นของ สป. เพื่อแก้ไข รธน. ดักคอฝ่ายค้านอย่าซ้ำรอยเดิมบอยคอตเลือกตั้งจนเกิดปัญหา "วิษณุ" บอกฝ่ายค้านให้ดูตัวเองเป็นตัวอย่างไม่สังกัดพรรคการเมืองยังเข้าร่วมรัฐบาลได้


  (27มี.ค.) เวลา 15.00 น. น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติไม่รับข้อเสนอการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อความสมานฉันท์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เสนอเพราะไม่เชื่อจริงใจแต่เป็นเพียงการซื้อเวลา ว่า แนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นแนวคิดที่มีผู้เสนอมาจากหลายทางก่อนหน้านี้ แม้กระทั่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เอง ซึ่งนายกฯได้เห็นชอบและได้ประกาศออกมาเป็นนโยบายว่า หลังการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งรัฐบาลก็จะเสนอให้ตัวแทนพรรคการเมืองอื่น ทั้งที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่ได้ส่ง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมด้วย เพื่อให้เป็นรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่จะปฏิรูปการเมือง แก้ไขกติการัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นใน 15 เดือน

ดังนั้นวันนี้ถ้าอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านหรือหรือนักวิชาการมานั่งเฝ้าระแวงกันก็จะไปสู่ทางตันอีกเหมือนตอนที่มีการยุบสภาแล้ว หากฝ่ายค้านไม่บอยคอตการเลือกตั้ง ปัญหาต่างๆ ที่พูดถึงในวันนี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้น จึงหวังว่าอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านจะไม่คิดในทำนองเดิมอีก ไม่สมควรจะซ้ำรอยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบอยคอตเลือกตั้งอีกครั้ง เพราะวันนี้รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะผ่าทางตันทางการเมืองซึ่งต้องมีความสมานฉันท์และปรองดองเป็นสำคัญ หากจะมาตั้งแง่ไม่ไว้วางใจอีกเหตุการณ์ต่างๆ ก็จะคลี่คลายไม่ได้ 

เมื่อถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิจารณ์ว่าเป็นรัฐบาลเสียสติแห่งชาติ น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการก็เป็นเพียงการมองจากมุมของนักวิชาการ รัฐบาลนี้ก็เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะจากนายธีรยุทธมาหลายครั้งแล้วว่าเราเสียสติเรื่องนั้นเรื่องนี้และทำผิดพลาดในเรื่องต่างๆ แต่อยากจะบอกว่าเพราะสิ่งที่เราทำแบบที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเสียสติกลับทำให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รัฐบาลสามารถกำจัดปัญหายาเสพติดได้ และทำให้เราสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ ได้ อยากเชิญชวนให้นักวิชาการได้เปิดตาและมองไปรอบๆ ข้างด้วยว่าหลายสิ่งหลายที่เคยวิจารณ์ในอดีตได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่วิจารณ์ไปมันผิด นักวิชาการเองต้องเลิกที่จะใช้ถ้อยคำที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไม่เช่นนั้นนักวิชาการเองจะถูกกล่าวหาเช่นเดียวกันว่าเป็นนักวิชาการสติเฟื่อง คิดไปโดยที่ไม่ได้มองบนพื้นฐานความเป็นจริงของสังคม

  เมื่อถามว่า นายธีรยุทธระบุว่านายกฯไม่อยู่กับร่องกับรอยเพราะก่อนหน้านี้ก็โจมตีด่าพล.ต.จำลอง ศรีเมืองและนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ แต่จะมาเชิญให้เข้าร่วมในรัฐบาลแห่งชาติ น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งพวกเราคงต้องหันกลับมาร่วมกันหาข้อสรุปว่าจะช่วยผ่าทางตันให้ประเทศได้อย่างไร

เมื่อถามอีกว่า ก่อนหน้านี้มีการเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติมาหลายครั้ง แต่ทำไมรัฐบาลเพิ่งหยิบยกขึ้นมาตอนนี้ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า การตัดสินใจแต่ละเรื่องขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมหนึ่ง บางขณะอาจไม่จำเป็น แต่ในขณะที่ต้องการความรักความสามัคคีของคนในชาติ การตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม

ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณีที่นายกฯ ประกาศตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ภายหลังการเลือกตั้ง ว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบและไม่ควรตอบ นายกฯ พูดขึ้นก่อนก็ควรไปถามนายกฯ เพราะตนไม่เข้าใจว่าคืออะไร แต่ถ้าหลังการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมาก และต้องการให้พรรคการเมืองอื่นมาร่วมจัดตั้งรัฐบาลตามข้อกฎหมายแล้วไม่มีอะไรติดขัด ดูจากตนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองยังเข้าร่วมรัฐบาลได้ และความเหมาะสมก็เป็นเรื่องของผู้จัดตั้งรัฐบาลที่จะต้องคิด ส่วนจะมีปัญหาตามมาหรือไม่นั้นก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะคนตั้งรัฐบาลก็ต้องหาคนที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้นนั้นมาประกอบเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 201 และคุณสมบัติของรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.

เมื่อถามว่า ถ้าได้ ส.ส.ไม่ครบ 500 คน จะเปิดประชุมสภาฯ ไม่ได้ นายวิษณุ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น หากนำเรื่องนี้ไปถามศาลรัฐธรรมนูญศาลก็ยังไม่ยอมตอบ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งกระโดดข้ามว่าจะเปิดสภาฯ ไม่ได้ ตนไม่ทราบว่าจะเปิดได้หรือไม่ได้ ถ้าเป็นการคุยกันและแสดงความเห็นทางวิชาการก็ทำได้ แต่ถ้าจะเป็นข่าวและออกจากปากตนคงไม่สมควรที่จะชี้นำ แต่ถึงเวลาจริงรัฐบาลต้องตัดสินใจ เพราะการเปิดสภาฯ เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องถวายพระราชกฤษฎีกา

ต้องคุยกันทั้งข้อดี ข้อเสียและลู่ทาง

เมื่อถามว่า หากเปิดสภาฯ ไม่ได้จะมีปัญหาในการตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อย่าว่าแต่รัฐบาลแห่งชาติหรือไม่แห่งชาติก็มีปัญหา ถ้าไปถึงขั้นนั้นแล้ว

ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ณ ที่ทำการพรรคไทยรักไทย กรณีอดีต 3 พรรคฝ่ายค้านปฏิเสธร่วมจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า การตั้งรัฐบาลแห่งชาติคือการเปิดโอกาสให้มาช่วยกันทำงาน จะได้แนวทางในการที่จะปฏิรูปการเมือง เพราะว่าแนวทางต้องเข้าครม. ก่อนจะเข้าสู่สภา เลยอยากจะเปิดทาง แต่ไม่ได้หมายความว่า ใครจะเข้าหรือไม่เข้า แล้วเราจะไปบังคับ เพราะต้องตามใจเขา หากฝ่ายค้านไม่ร่วมก็ไม่เป็นไร ไม่เข้าก็ไม่เข้า

เมื่อถามว่า แนวทางรัฐบาลแห่งชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม นายกฯ กล่าวว่า ไม่ร่วมก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพียงแต่เราเปิดโอกาสให้

ต่อข้อถามว่า รัฐบาลจะถูกมองว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการหรือไม่ เพราะไม่มีฝ่ายค้าน นายกฯ กล่าวว่า ปกติตอนนี้รัฐบาลก็มีพรรคเดียวอยู่แล้ว เพียงแต่สภาที่ผ่านมามีพรรคประชาธิปัตย์ แต่วันนี้เมื่อรัฐบาลถูกบอยคอต ก็ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ว่า หากมีการบอยคอตแล้วห้ามเลือกตั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า รูปแบบการปฏิรูปการเมืองที่มีคนกลางเข้ามาคืออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เป็นรูปแบบการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง คงต้องว่ากันในรายละเอียดอีกครั้ง หลังเลือกตั้งวันที่ 2เม.ย.

ถามว่า มีการมองบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการแล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้มอง แนวคิดวันนี้คล้ายกับแนวสมาชิกสภาร่างสนามม้า คือใช้บุคคลหลากหลายอาชีพรวมกัน และคิดกันเพื่อให้เป็นตัวแทน ในแต่ละสาขาอาชีพ ที่จะมาช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ

ที่มา คมชัดลึก
 

http://www.hunsa.com/2005/view.php?cid=5174&catid=87



ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบ'รัฐบาลแห่งชาติ'ของ'ผู้มีอิทธิพลเหนือนายกฯนอมินี' ก็ตาม
ก็อยากจะรู้ว่า 'ผู้มีอิทธิพลฯ'และ'หมอเลี๊ยบ' ยังมีความคิดเห็นเหมือนเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงเพราะสถานการณ์เปลี่ยน....
เพราะรู้ว่าการ'สมานฉันท์'ของ'ผู้มีอิทธิพล'นั้น มีหลายรูปแบบ หลายวิธีการ......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-02-2008, 09:30 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: