ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 04:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อยากได้ข้อมูลเรื่องเม'กา ทำ CL ยาครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อยากได้ข้อมูลเรื่องเม'กา ทำ CL ยาครับ  (อ่าน 2721 ครั้ง)
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« เมื่อ: 12-02-2008, 11:33 »

คือ จำไม่ได้ว่าอ่านเจอในกระทู้ไหนเรื่องที่บอกว่าเม'กา ก็ทำ CL ยาเหมือนกัน

ก็เลยอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #1 เมื่อ: 12-02-2008, 20:56 »

Patent remedies; Compulsory licensing.(Drug companies face the risk of compulsory licensing)(Brief Article)
Economist (US), The,  October, 2001 
 Content provided
in partnership with 

Drug companies are not alone in facing the risk of having patents taken away

Related Results
Copyright ruling hits...
Digital technology...
Immersion Announces...
Pill paupers; Drugs...
Brazil, US Reach...
Most Popular Articles
in Business
Research and Markets ...
Do Us a Flavor - Ben ...
eBay made easy: ready ...
Katrina's lawsuit ...
Wal-Mart's newest ...
More »


ANTHRAX does not affect the brain, but panic about the disease may well lead to seizures--of drug patents, at any rate. As America's anthrax scare spreads,  its government wants to stockpile millions of tablets of Cipro, an antibiotic used to fight one of the nastier forms of the disease. The Department of Health has successfully negotiated with Bayer, the German patent-holder, for a roughly half-price discount on an order of 100m pills. Its chief bargaining chip has been a provision in American law ...

http://findarticles.com/p/articles/mi_hb5037/is_200110/ai_n18269584

ยา...ที่รัฐบาลอเมริกันใช้สิทธิCLได้ ก็เป็นยาBayerจ้างผลิตในอินเดีย ไม่ถึงหนึ่งดอลล่าร์....
ในขณะที่ซื้อจากBayer เยอรมันโดยตรงเกือบ 10ดอลล่าร์(?).....
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13-02-2008, 11:32 »

ขอบคุณครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13-02-2008, 11:37 »

ไม่ทราบว่าข้อมูลตรงนี้มาจากไหนเหรอครับ
Patent remedies; Compulsory licensing.(Drug companies face the risk of compulsory licensing)(Brief Article)
Economist (US), The,  October, 2001 
 Content provided
in partnership with 

Drug companies are not alone in facing the risk of having patents taken away

Related Results
Copyright ruling hits...
Digital technology...
Immersion Announces...
Pill paupers; Drugs...
Brazil, US Reach...
Most Popular Articles
in Business
Research and Markets ...
Do Us a Flavor - Ben ...
eBay made easy: ready ...
Katrina's lawsuit ...
Wal-Mart's newest ...
More »



พอดีไปตาม Link ที่คุณปุถุชน บอกแล้วเจอแค่นี้น่ะครับ
อ้างถึง
ANTHRAX does not affect the brain, but panic about the disease may well lead to seizures--of drug patents, at any rate. As America's anthrax scare spreads,  its government wants to stockpile millions of tablets of Cipro, an antibiotic used to fight one of the nastier forms of the disease. The Department of Health has successfully negotiated with Bayer, the German patent-holder, for a roughly half-price discount on an order of 100m pills. Its chief bargaining chip has been a provision in American law ...

http://findarticles.com/p/articles/mi_hb5037/is_200110/ai_n18269584
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 14-02-2008, 13:33 »

ไปเจอบทความเก่าในเว็บองค์การเภสัชกรรม คาดว่าเขียนตั้งแต่ ดร.ศุภชัย ยังไม่ได้เป็น ผอ. WTO
(ประมาณปี 2542) แต่มีเนื้อหาครอบคลุม เกี่ยวกับสิทธิบัตรยา และการทำ CL มากพอสมควรครับ

บทความพูดถึง WTO และความตกลง TRIPS (Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights)
ซึ่งมีเรื่องของ CL เป็นส่วนหนึ่งของความตกลง

มีการพูดถึง CL (Compulsory License - มาตรการบังคับใช้สิทธิ ) และ Parallel import ( มาตรการ
การนำเข้าคู่ขนาน - คือการสามารถนำเข้ายาตัวเดียวกันจากแหล่งอื่นที่ถูกกว่า )

ในบทความอ้างอิงถึง การใช้ CL ของสหรัฐอเมริกา ว่ามักให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่ม biotechnology
ในขณะที่ฝรั่งเศส ใช้ CL เป็นเครื่องมือควบคุมราคายา และยังพูดถึงพฤติกรรมต่างๆ ของบริษัทยาสหรัฐฯ
ที่พยายามขัดขวางการทำ CL ในประเทศกำลังพัฒนา (ทั้งที่ประเทศตัวเองก็ทำ CL เหมือนกัน)

นอกจากนี้ยังมีพูดถึงประเด็นอื่นๆ เช่น Free Trade กับ Fair Trade ที่มีการเรียกร้องให้เกิด Fair Trade
หรือ "การค้าที่เป็นธรรม" แทนที่จะเป็น Free Trade ที่เป็นแค่การค้าเสรีและมุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นสำคัญ
ซึ่งถึงตอนนี้เมื่อมีการทำ FTA กันจริงๆ ก็ก่อปัญหาผลกระทบไปแทบทุกประเทศอย่างที่เราทราบกัน 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ด้านหนึ่งของเหรียญ
http://www.gpo.or.th/rdi/html/trips.html
อัจฉรา เอกแสงศรี - ส่วนวิชาการและข้อมูล

    ถ้า เอ่ยคำว่า "WTO" ขึ้นมา แทบทุกคนรอบข้างคงจะร้อง อ๋อ! และคุ้นเคยกับคำนี้มากขึ้น
    ตอนที่เราส่งชายงาม ขึ้นประกวดชิงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ WTO เมื่อเร็ว ๆ นี้ ต่อเนื่อง มาจนถึง
    ข่าวการจลาจล ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลกครั้งที่ 3 ที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา
    เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา


ทำไมถึงต้องเป็น WTO

    องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ถือกำเนิด
    มาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้า หรือที่เรียกว่า "แกตต์" (General
    Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ซึ่งได้จัดให้มีการเจรจาโต๊ะกลมกันหลายครั้ง จนถึงการ
    เจรจาการค้ารอบอุรุกวัย เมื่อ พ.ศ. 2529 สู่กำเนิดของ "องค์การค้าโลก" ขึ้นใน พ.ศ. 2537และได้มีการ
    จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกแรกเริ่ม 18 ประเทศประเทศไทยเข้า
    เป็นสมาชิกของ WTO ลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง
    ปัจจุบัน WTO มีสมาชิก 135 ประเทศ ซึ่งในแถบเอเชียอาคเนย์นี้มี 7 ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิก WTO
    ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟ เมียนมาร์ ศรีลังกา และประเทศไทย และมีอีก 2 ประเทศ
    อยู่ในสถานะผู้สังเกตการณ์ ได้แก่ ภูฐาน และเนปาล

    ขอบข่ายการทำงานของ WTO จะดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่สากกะเบือยัน
    เรือรบ คือ ตั้งแต่ การเกษตรจนถึงสิ่งทอและเสื้อผ้า ตลอดถึงการให้บริการและทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ
    โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เกิดการค้าเสรี (FREE TRADE)


FAIR TRADE VS FREE TRADE

    เมื่อวันที่ 16 - 18 สิงหาคม 2542 ได้มีการประชุมร่วมกันของประเทศกำลังพัฒนาที่ รร.สยามซิตี้
    กรุงเทพฯ เพื่อหาข้อสรุปและมาตรการที่จะปฏิบัติต่อความตกลง TRIPS (Trade Related Aspects of
    Intellectual Property Rights) เพื่อเตรียมตัวหาแนวทางตั้งรับกับข้อเรียกร้องของประเทศที่พัฒนาแล้ว
    ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าโลกที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ความตกลง TRIPS เป็นความตกลงของประเทศสมาชิก WTO เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทาง
    ปัญญาทุกประเภท (ผู้เขียนจะขอเน้นเฉพาะเรื่อง สิทธิบัตร มิฉะนั้นแล้วจะต้องจัดพิมพ์เป็นอีกฉบับ
    โดยเฉพาะ)ความตกลง TRIPS ที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องจำใจลงนามยอมรับในการประชุม WTO
    เมื่อ พ.ศ. 2538 ได้กำหนดให้ ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์
    และกรรมวิธีในทุกสาขาเทคโนโลยี ยกเว้นพืชหรือสัตว์ที่ไม่ใช่จุลชีพ และกรรมวิธีทางชีววิทยาที่จำเป็น
    สำหรับการผลิตพืชหรือสัตว์ อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกจะต้องให้การคุ้มครองพันธุ์พืชไม่ว่าโดย
    สิทธิบัตรหรือโดยระบบกฎหมายเฉพาะ (ประเทศไทยได้เลือกให้การคุ้มครองพันธุ์พืชโดยใช้กฎหมาย
    เฉพาะคือ พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช) ประเทศสมาชิกในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องปฏิบัติตามความ
    ตกลง TRIPS ภายใน 1 ปี ส่วนประเทศกำลังพัฒนา จะต้องปฏิบัติภายใน 5 ปี ซึ่งก็จะถึงกำหนดใน
    เดือนมกราคม 2543 นี้และหากยังไม่อาจขอยืดออกไปได้อีก 5-6 ปี แต่ในระหว่างนี้ต้องให้สิทธิผูกขาด
    ทางการตลาด (exclusive marketing rights) อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี กับยาของบริษัทยาต่างชาติ
    ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2538

    ประเทศอินเดียได้แสดงเจตจำนงค์ชัดเจนที่จะขอขยายเวลาการปฏิบัติตามความตกลง TRIPS
    ไปเป็น พ.ศ. 2548 ด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังไม่มีความพร้อม ทั้ง ๆ ที่ประเทศอินเดีย
    มีความสามารถในการสังเคราะห์วัตถุดิบทางยาได้หลายชนิด ส่วน ประเทศไทยนั้น เราได้ยอมรับ
    การจดสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และได้มีการแก้ไขข้อปลีกย่อยของพรบ.
    สิทธิบัตรให้เป็นไปตามความตกลง TRIPS เรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ. 2542

    ประเทศแทบทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุม ได้แสดงความคิดเห็นต่อต้านแนวทางที่ WTO ใช้ความ
    ตกลง TRIPS ในการบังคับกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะจะนำไปสู่การครอบครองและผูกขาดของ
    ประเทศที่พัฒนาแล้วในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญ และเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน
    ของมนุษย์ โดยอาศัยความก้าวหน้าและความได้เปรียบของการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว
    นอกจากนี้ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลก ครั้งที่ 3 นี้ มีแนวโน้มว่าประเทศสหรัฐอเมริกาจะ
    ขอให้ทบทวนความตกลง TRIPS โดยจะขอให้ขยายขอบเขตการให้สิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตและกรรมวิธีการ
    ผลิตสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องผนึกกำลังกันต่อสู้ และมีการเรียกร้อง FAIR TRADE
    แทน FREE TRADE จนนำมาสู่การจลาจลและความล้มเหลวในการประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลกในที่สุด


ทรัพย์สินทางปัญญา VS ความยุติธรรมในสังคม

    ความตกลง TRIPS ได้ยินยอมให้มีเรื่อง Compulsory license (มาตรการบังคับใช้สิทธิ)
    and Parallel import (มาตรการนำเข้าซ้อน)
ใน พรบ. สิทธิบัตร

    Compulsory license เป็นสิทธิที่รัฐสามารถบังคับใช้สิทธิบัตรจากผู้ถือสิทธิบัตรได้เพื่อป้องกัน
    หรือบรรเทาการขาดแคลนอาหาร ยา หรือ สิ่งอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรงหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่น

    Parallel import เป็นสิทธิที่ผู้บริโภคสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรได้ หากปรากฏว่า
    ผู้ถือสิทธิบัตรได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นในประเทศอื่นถูกกว่า

    Compulsory license เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการที่จะดูแลไม่ให้มีการใช้สิทธิบัตรในทางมิชอบ
    หรือเอาเปรียบโดยผู้ถือสิทธิบัตร ซึ่งแต่ละประเทศย่อมให้ความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ ของตน
    แตกต่างกันไป เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มักให้ความสำคัญกับการใช้ Compulsory license
    ในสินค้าประเภท biotechnology ประเทศฝรั่งเศส ใช้ Compulsory license เป็นเครื่องมือ
    ในการควบคุมราคายา

    บริษัทยาต่างชาติโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามล็อบบี้ทุกวิถีทางผ่าน USTR
    (United States Trade Representative) ให้ใช้มาตรการทางการค้ากับประเทศกำลังพัฒนา
    เพื่อขัดขวางการใช้ Compulsory license กับผลิตภัณฑ์ยา วารสารการแพทย์ "แลนเซ็ต"
    ของอังกฤษ ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2542 ได้ลงบทความแสดงว่า ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้
    ใช้มาตรการทางการค้าทุกรูปแบบเพื่อบีบบังคับให้ประเทศไทย ปรับปรุง พรบ.สิทธิบัตรใน
    พ.ศ. 2535 ให้ยอมรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ซึ่งประเทศไทยก็ได้ยินยอมในข้อเรียกร้องดังกล่าว
    แต่ได้ตั้ง คณะกรรมการสิทธิบัตรยา สำหรับเป็นกลไกในการควบคุมราคายา เนื่องจากได้มีหลาย
    องค์กรได้ แสดงความคิดเห็นต่อต้านการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านยาด้วย
    เหตุผลหนึ่งที่ว่าจะทำให้ยามีราคาแพงขึ้น ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึง แต่
    เป็นที่น่าเสียดายว่าคณะกรรมการสิทธิบัตรยาได้ถูกยกเลิกไปในการปรับปรุง พรบ.สิทธิบัตร
    ฉบับปี พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลที่เกรงว่า อาจไปขัดต่อความตกลง TRIPS

    เหตุผลสำคัญประการหนึ่งของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่รัฐนำมาอ้างตอนแก้ไข
    พรบ. สิทธิบัตร เมื่อปี 2535 คือ เพื่อให้เกิด การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเจ้าของสิทธิบัตร แต่
    จากรายงานการศึกษาเรื่อง "ผลกระทบของความตกลง TRIPS ต่ออุตสาหกรรมยา" ปรากฏว่า
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันไม่มีหลักฐานใดมาสนับสนุนว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ
    การลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมยาเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน พบว่าผลิตภัณฑ์ยาในประเทศที่มี
    สิทธิบัตรจะมีราคาสูงกว่าประเทศที่ไม่มีสิทธิบัตรอย่างชัดเจน เช่น บริษัท Glaxo-Wellcome
    ขาย AZT 100 mg ในราคา 1.5 US$ ในประเทศฝรั่งเศส ขณะที่ขายราคา 35-50 cents ใน
    ประเทศไทย เพื่อแข่งขันกับ generic drug ที่ผลิตภายในประเทศซึ่งราคาประมาณ 22-35 cents
    บริษัท Pfizer ขาย DiflucanTM (fluconazole)ในประเทศไทย แคปซูลละ 6.55 US$ (Diflucan
    ได้ exclusive marketing rights ในประเทศไทย ผ่านช่องทาง SMP-Safety Monitoring
    Program จนถึง ปี พ.ศ. 2539) แต่เมื่อมี generic drug ผลิตออกมา ราคา ของ generic
    drug จะอยู่ที่ประมาณ 2.37 US$ ในปี 2541 และลดลงเหลือ 0.6 US$ ในปี พ.ศ. 2542


Lifesaving Drugs for Killer Prices

    เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 ได้มีการประชุม ของ WHO (World Health Organization)
    ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศสมาชิก WHO ได้เรียกร้องให้ WHO ติดตามและ
    วิเคราะห์อุตสาหกรรมยา และการสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งกำลังถูกคุกคามและ
    ควบคุมจากนโยบายการค้าเสรี และความตกลง TRIPS Medicins San Frontieres (MSF-
    องค์กรหมอไร้พรมแดน) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านการแพทย์ มีสาขาอยู่ใน 80 ประเทศทั่วโลก
    ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือและการให้บริการด้านการแพทย์แก่ประชากร
    ที่ด้อยโอกาส และได้รางวัล "Nobel Prize" สาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2542 MSF ได้แสดงความ
    เป็นห่วงเช่นเดียวกันว่า ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยได้ขยายกว้างขึ้น แพทย์และผู้ป่วยมีความ
    ต้องการยาที่จำเป็น (essential drugs)ใหม่ ๆ และการที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึง
    ก็ต่อเมื่อมีการผลิต generic drugs เนื่องจากยาจะมีราคาถูกลง และหลายประเทศที่กำลังพัฒนา
    มีศักยภาพในการผลิต generic drugs ที่มีคุณภาพ

    จากการผนึกกำลังเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์ ผลของความตกลง TRIPS ต่อการเข้าถึงยาของ
    ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาขององค์กรต่าง ๆ นี้เอง ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย
    ประธานาธิบดีคลินตันได้ปราศรัยในที่ประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2542 นี้ว่า

    "Intellectual property protections are very important to a modern economy,
    but when HIV and AIDS epidemics are involved, and like serious health care crises,
    the United States will henceforward implement its health care and trade policies in
    a manner that ensures that people in the poorest countries won't have to go without
    medicine they so desperately need. I hope that this will help South Africa and many
    other countries that we are committed to support in this regard."

    นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกายังได้แสดงความจริงใจผ่านทาง USTR โดยได้ประกาศปลด
    ประเทศอาฟริกาใต้ ออกจากประเทศที่ต้องถูกจับตามองภายใต้มาตร-การการค้า special 301
    (ก่อนหน้านี้ประเทศอาฟริกาใต้ได้แสดงเจตจำนงค์อย่างเปิดเผยที่จะใช้ Compulsory licensing
    กับกลุ่มยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วย AIDS)

    นอกจากนี้กลุ่มองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคได้เรียกร้องให้ WHO จัดตั้งคณะทำงานขึ้นติดตาม
    การดำเนินงานที่จะสานต่อคำปราศรัยของประธานาธิบดี คลินตันให้เป็นรูปธรรม


ประเทศไทย กับ ทรัพย์สินทางปัญญา

    สำหรับประเทศไทยนั้น ดิฉันให้ความสำคัญกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมาก หน้าที่ของ
    กรมทรัพย์สินทางปัญญา มิใช่มีเพียงปกป้องและคุ้มครองเจ้าของสิทธิบัตรเท่านั้น แต่กรมทรัพย์สิน
    ทางปัญญายังมีหน้าที่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้น คือ คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคด้วย เจตนารมณ์
    สำคัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาก็เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมด้วยการส่งเสริมให้
    มีการพัฒนาสร้างสรรค์งานและเทคโนโลยีอย่างมีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อสังคม การให้สิทธิบัตร
    กับสิ่งประดิษฐ์ที่ปราศจากเทคโนโลยีที่มีคุณค่านั้นมีอยู่ ทำให้เกิดการผูกขาดในสินค้าที่ไม่ชอบธรรม
    ซึ่งหากผู้บริโภคต้องการเพิกถอนสิทธิบัตรมีทางเดียวเท่านั้นคือต้องไปต่อสู้กันในศาล ซึ่งไม่ทราบว่า
    จะต้องเสียเงินและเวลาอีกเท่าไหร่ อย่างเช่น คดีพิพาทระหว่างบริษัท ไมโครซอฟท์และกระทรวงยุติธรรม
    ของสหรัฐ หลังจากการต่อสู้คดีในชั้นศาลเป็นระยะเวลานาน และในที่สุดศาลได้ตัดสินสรุปว่า บริษัท
    ไมโครซอฟท์ทำการผูกขาดตลาดจริง และในที่สุดผลเสียจะตกกับ ผู้บริโภคทั่วไป แต่กว่าผลตัดสิน
    คดีความนี้จะออกมา บริษัทคู่แข่งของไมโครซอฟท์ก็แทบจะล่มสลาย และไม่ใช่คู่แข่งของบริษัท
    ไมโครซอฟท์อีกแล้ว

    ดิฉันเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่กรมทรัพย์-สินทางปัญญา จะต้องสร้างและพัฒนาให้มีผู้ตรวจสอบ
    สิทธิบัตรที่มีคุณภาพเพียงพอควบคู่กับการใช้มาตรการ Compulsory licensing ให้เป็นประโยชน์
    เพื่อให้ พรบ. สิทธิบัตร นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงและเพื่อประโยชน์
    กับประชาชนในประเทศชาติเราเอง

---

เอกสารอ้างอิง

    1. เอกสารการประชุม Regional Consultation on WTO Multilateral Trade Agreements
        and Their Implications on Health-TRIPS 16-18 August 1999, Hotel Siam City, Bangkok,
        Thailand.
    2. เอกสารการประชุมวิชาการ เรื่อง สิทธิบัตรยา การคุ้มครองพันธุ์พืช สัตว์ จุลชีพ และ
        ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 1 พ.ย. 2542
    3. รายงานของ Medicins Sans Frontierers เรื่อง "Working Compulsory Licensing
        According to TRIPS" November 16, 1999.
    4. บทความของ ดร. จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 29 พ.ย. 2542
    5. Windows Magazine 2542; 7(77).
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-02-2008, 13:44 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #5 เมื่อ: 14-02-2008, 14:00 »

CL : มาตรการยาสินค้าคุณธรรม
โดย : ชาญณรงค์ วงค์วิชัย
เมื่อ : 12/02/2008 01:00 PM

บ้านผมรวยกว่าบริษัทยาอีก ไปดูที่บ้านผมได้
ถ้าเป็นผม ผมจะไปกินดอกไม้จันทน์แทน ... ฯลฯ
(คำสัมภาษณ์ รมต.กระทรวงสาธารณสุข ไชยา สะสมทรัพย์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551)
จากคำกล่าวหรือการให้สัมภาษ์ของ รมต.สาธารณสุข ไชยา สะสมทรัพย์ นั้นทำให้เกิดกระบวนการคิดบางอย่าง จริงแล้วเจ้ากระทรวงนั้นเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน จากคำสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการตอบภาคประชาสังคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงความคิดของท่านต่อกระบวนการ CL ซึ่งเราเข้าใจบ้านท่านรวยกว่าบริษัทยา แล้วคำถามที่ตามมาสำหรับคนจนที่ไม่สามารถเข้าถึงยาหละ หรือ แม้กระทั่งการเข้าไม่ถึงยาของพวกเรานั้น โทษฐานที่ท่านให้คือ ดอกไม้จันทร์กระนั้นหรือ?

จริงแล้วกระบวนการ CL หรือ Compulsory Licensing หรือมาตรการบังคับใช้สิทธิ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งตาม พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พศ. 2535 และ (ฉบับที่ 3) พศ.2542 และเป็นไปตามปฏิญาโดฮา (Doha Declaration on Trips and Public Health) ตามข้อตกลง TRIPS (Trade Relate Intellectual Property Rights) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ให้อำนาจแก่ประเทศสมาชิกผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ติดสิทธิบัตรได้หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นข้อยืนยันยาคือสินค้าคุณธรรมที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจด้วย เพราะนี่คือบทหนึ่งของชีวิต

ดังนั้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมมะเร็ง และเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรัง ภาคประชาสังคมต่างๆ ได้เข้าพบ รมต.สาธารณสุข เนื่องจากทราบว่ากระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินกระบวนการยกเลิก CL โดยเหตุผลที่ให้คือ "ได้รับหนังสือจากกระทรวงพาณิชย์ เลขที่หนังสือ พณ 07003/FTA/5 ลงวันที่ 30 มกราคม 2551 ลงนามโดยอดีต รมต.พาณิชย์ นายเกริกไกร จีระแพทย์ ในเนื้อความจดหมายอ้างถึง ตามที่ประเทศไทยควรทบทวนกระบวรการดำเนินการเรื่อง CL เพราะส่งผลกระทบในเศรษฐกิจภาพรวม ทั้งยังประเทศไทย จากประเทศที่ถูกจับตามอง PWL จะกลายเป็นประเทศที่ถูกจับตามองสูงสุด PFC (Priority Foreign Country) ซึ่งเป็นการเสนอโดยสมาคมพรีม่า เสนอ USTR ให้เลือกไทยส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมากมายมหาศาล" และยามะเร็งเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนน้อย เราต้องดูประเทศเป็นหลัก มากว่าที่จะต้องตกเป็นเครือมือใคร

ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาสังคมได้ให้เหตุผล และยังยืนยันในหลักการ 3 ข้อ ซึ่งเสนอแก้ รมต. สาธารณสุข คือ

1. ไม่ควรยกเลิกมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร โดยรัฐกับยามะเร็งที่ได้ประกาศไปแล้ว ถ้ายังไม่มาตรการช่องทางใดที่ดีกว่า
2. การหามาตรการอื่นมาทดแทน ควรเป็นกระบวนการที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
3. การประกาศหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบด้านและมีข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้น ก่อนประกาศนโยบายใดๆ
(จดหมายภาคประชาชน ยื่อต่อ รมต.สาธารณสุข 8 กุมภาพันธ์ 2551)

แต่จากข้อมูลนั้นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกับ รมต.สาธารณสุขคือ โรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง จากข้อมูลประเทศไทยผู้ป่วยโรคมะเร็งเสียชีวิต ประมาณปีละ 3 หมื่นกว่าคน ป่วยแกประมาณปีละ 1 แสนคนต่อปี และการรักษาโรคมะเร็ง มีกระบวนการทั้งเคมีบำบัด หรือ การรักษาแบบมุ่งเป้า (Drugs for Tageted Cell Therapy) ตามที่หนังสือ รัฐมนตรีกระทวงสาธารณสุข ที่ สปสช.05/013521 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 เรื่องการดำเนินการเรื่องยามะเร็ง 4 รายการ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ โดยต่อมามีการประชุมในคณะกรรมการชุดดังกล่าวและมีมติการประชุม 7/2550 วันที่ 2 ตุลาคม 2550 เสนอ รมต.สาธารณสุข ทำ CL ยา 4 รายการ ประกอบด้วย

- ยา Docetaxel (ชื่อทางการค้า Taxotere) ใช้รักษามะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด เต้านม ยาที่มีสิทธิบัตรราคาถึง 2.5 หมื่นบาทต่อเข็ม ขนาด 80 มก. ขณะที่ยาชื่อสามัญที่มีคุณภาพเดียวกันราคาเพียง 4 พันบาท เท่านั้น ต่างกันถึง 6 เท่า

- ยา Letrozole (ชื่อทางการค้า Femara) ใช้รักษามะเร็งเต้านม ราคาต่อเม็ด 230 บาท ใช้วันละ 1 เม็ด จ่าย 6 กว่าบาทต่อเดือน ยาชื่อสามัญราคาเม็ดละ 6-7 บาท ต่างกัน 30 เท่า

- ยา Erlotrinib (ชื่อทางการค้า Tarceva) รักษามะเร็งปอด ราคา 2.75 พันบาทต่อเม็ด ใช้วันละ 1 เม็ด 8.25 หมื่นต่อคนต่อเดือน ยาสมัญราคา 735 ต่อเม็ด ต่างกันเกือบ 4 เท่า

- ยา Tmtinib (ชื่อทางการค้า Glivec) รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว และ มะเร็งทางเดินอาหาร ขนาด 100 มก. ราคา 917 ต่อเม็ด ขนาด 400 มก. ราคา 3.6 พันบาทต่อเม็ด และการใช้ต้องใช้อย่างน้อย 400 มก. ทุกวัน และยืดอายุผู้ใช้ได้ราว 2 ปี การใช้เฉลี่ยต่อปีเป็นเงิน 1.3 ล้านบาท ต่อคนต่อปี ขณะที่ยาสมัญ 100 มก. ราคา 50-70 บาท
(นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551)

แน่นอนที่สุกภาคประชาสังคมต้องดำเนินการควบคู่กับ รมต.สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพราะบทหนึ่งที่ต้องทำ คือ ยาคือสินค้าคุณธรรม และทุกคนมีสิทธิที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ หากมองย้อนกระบวนการเรื่อง CL เป็นกระบวนการที่ดำเนินมา พร้อมกับเครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรภาคประชาสังคม คงต้องบอกว่าการดำเนินนโยบายใดๆ ก็ตามควรคิดว่า ข้อมูลรอบด้านเพียงพอหรือไม่ รวมถึง การมองให้เห็นมิติของชีวิตผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา ยามะเร็งเป็นตัวอย่างที่สำคัญ เพราะข้อมูล รมต. สาธารณสุขยังบอกว่าเป็นคนส่วนน้อย แต่เมื่อดูตัวเลขอย่างแท้จริง ราคาที่เกิดขึ้นนั้น คงบอกว่า ท่านคงต้องทบทวน หรือจะเป็นดังคำตะโกนก้องเรื่อง CL ใต้ห้องโถงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่า (CL ถูกต้อง) (CL ถูกใจ) (CL ถูกกฏหมาย) ซึ่งท่านไม่เข้าใจเลย


ชาญณรงค์ วงค์วิชัย
ผู้ประสานงาน คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
 
   http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=678
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 14-02-2008, 18:01 »

ขอบคุณคุณปุถุชน และ คุณจิระศักดิ์ มากครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
หน้า: [1]
    กระโดดไป: