ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 05:16
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทิศทางเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง "สมานฉันท์"คือคำตอบสุดท้าย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทิศทางเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง "สมานฉันท์"คือคำตอบสุดท้าย  (อ่าน 1684 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 26-01-2008, 16:49 »



ทิศทางเศรษฐกิจหลังเลือกตั้ง "สมานฉันท์"คือคำตอบสุดท้าย
มติชนรายวัน  วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10883

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายพิเศษเรื่อง "การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ปี 2551 และวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้ง" มีสาระสำคัญดังนี้

ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของภาวะเศรษฐกิจออกเป็น 3 กรณี โดยกรณีพื้นฐานมีความเป็นไปได้มากที่สุดนั้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัว 4-5% อยู่สมมติฐานเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก 14 ประเทศ ขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.8% ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 83 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33.8 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ 3.25% และรายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณอยู่ที่ 2.28 ล้านล้านบาท และให้สมมติฐานทางการเมืองว่า ประเทศไทยจะมีรัฐบาลผสมที่ค่อนข้างอ่อนแอ และมีทีมเศรษฐกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก แต่ไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมือง

จากสมมติฐานเหล่านี้จะส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนในปีหน้าขยายตัวได้ 4% และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 2% ส่วนมูลค่าการส่งออกขยายตัว 12% ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 9% ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 11.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับในกรณีที่สถานการณ์หรือปัจจัยต่างๆ ดีกว่าที่คาดการณ์มาก จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ตามศักยภาพ คือ อาจขยายตัวได้ถึง 5-6% แต่อยู่บนสมมติฐานที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า 14 ประเทศ ขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 4% และราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจนมาอยู่ที่ระดับ 34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 3% ส่วนรายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ มีจำนวน 28 ล้านล้านบาท และตั้งสมมติฐานทางการเมืองไว้ว่า จะมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมือง และมีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็งสามารถผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญได้ สมมติฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิด แต่ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ หากนักการเมืองยังมุ่งประโยชน์ของตัวเอง

ส่วนกรณีเลวร้ายนั้นประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ไม่เกิน 4% แม้โอกาสที่จะเกิดกรณีนี้จะมีความเป็นจะต่ำมาก เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยค่อนข้างแข็งแรง แต่ก็ไม่สามารถประมาทได้เช่นเดียวกัน โดยสมมติฐานของกรณีเลวร้ายนั้น คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า 4 ประเทศ จะขยายตัวได้เพียง 3% และราคาน้ำมันดิบดูไบพุ่งสูงถึง 90 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ขณะที่ค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าถึง 30-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐอย่างมีนัยสำคัญ ประเมินว่าดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 เพราะเป็นช่วงที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ในสหรัฐถึงจุดสูงสุดแล้ว และผลกระทบของปัญหาดังกล่าวอยู่ในระดับที่รุนแรงไม่น้อยกว่าช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพียงแต่ปัญหาครั้งนี้เกิดขึ้นกับสหรัฐและสหรัฐสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว

ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.อาจจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 3.5% แต่ทางคณะเศรษฐศาสตร์กลับเห็นว่า ธปท.ควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แม้อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัว 4-5% ก็ตาม แต่เนื่องจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวเป็นแรงกดดันจากด้านอุปทานที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ เพราะฉะนั้นหาก ธปท. จะดำเนินนโยบายโดยใช้อัตราดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อก็คงจะไม่ได้ผล โดยปัญหาจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นดังกล่าว จะแก้ไขได้ด้วยการใช้มาตรการระยะยาวเท่านั้นที่เป็นลักษณะของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลับยิ่งสร้างปัญหาในระยะยาว

ส่วนสมมติฐานด้านการเมืองในกรณีเลวร้ายนั้น อาจจะมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงในระดับเดียวกับเมื่อครั้งพฤษภาคม 2535 หรือเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพและทีมเศรษฐกิจไม่เป็นที่ยอมรับ กรณีเช่นนี้ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะผู้มีอำนาจทางการเมืองจะต้องไม่ผลักดันนโยบายหรือมาตรการที่อ่อนไหว หรือทำให้เกิดการเผชิญหน้า เช่น การยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หรือในกรณีการตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คน แม้ควรจะให้ความเป็นธรรมกับบุคคลที่ไม่มีความผิด แต่รัฐบาลก็ไม่ควรต้องเร่งดำเนินการมากจนเกินไป

ถ้าการเมืองมีเสถียรภาพ และประเทศไทยมีรัฐบาลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนที่แน่นอน แต่กฎหมายที่ยังเป็นปัญหา เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีก และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจต่างด้าว จะต้องมีความชัดเจนด้วยเช่นกัน สำหรับมาตรการกันสำรอง 30% เห็นว่ายังไม่ควรยกเลิกในเวลานี้ เนื่องจาก ธปท.ควรมีเครื่องมือสำหรับจัดการความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะสั้น เพราะหากปล่อยให้ค่าเงินบาทผันผวนและแข็งค่ามากจะทำให้ภาคการส่งออกที่ใช้แรงงานเป็นหลักจะอยู่ได้ลำบาก อีกทั้งปัจจุบันเนื้อหาของมาตรการกันสำรอง 30% ถูกผ่อนคลายลงไปมากแล้ว

ในปีหน้าแนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนคือ การชะลอตัวของภาคการส่งออก ทำให้ประเทศไทยต้องเพิ่มบทบาท ของภาคการใช้จ่ายในประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน ที่น่าจะเป็นองค์ประกอบหลักเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี แม้อัตราการลงทุนและภาคการบริโภคจะกระเตื้องขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้ยังมีขีดจำกัดในระดับบุคคลและนิติบุคคล รายได้ที่แท้จริงของประชาชนบางกลุ่มปรับตัวลดลง รวมทั้งระดับการเป็นหนี้โดยเฉลี่ยค่อนข้างสูงประมาณ 104,571 บาท/ครัวเรือน ขณะที่รายได้ครัวเรือนประมาณ 80% หมดไปกับการบริโภค ทำให้เงินออมและเงินเพื่อการลงทุนน้อยมาก

แต่เนื่องจากปัจจุบันอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 80-90% จึงทำให้อุตสาหกรรมต้องการที่จะขยายการลงทุนแล้ว แต่เพราะสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่นิ่งทำให้นักลงทุนยังกลัวๆ กล้าๆ เพราะถ้าการเมืองมีเสถียรภาพระดับหนึ่ง และภาครัฐเองควรเดินหน้าการลงทุนพวกโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็คต์) เพื่อเป็นตัวนำให้ภาคเอกชนลงทุนตามมา

ทั้งนี้ แนะนำให้รัฐบาลต้องทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นอีก แต่อยู่บนพื้นฐานที่ไม่สูญเสียวินัยการคลัง โดยสามารถจะตั้งงบประมาณกลางปีขาดดุลเพิ่มเติมอีก 80,000-100,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในกับประเทศในระยะยาว

และสิ่งที่สำคัญคือ สถานการณ์การเมืองที่ทุกฝ่ายควรจะเดินไปในแนวทางของความสมานฉันท์ เพราะฉะนั้นบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องไม่ทำให้เกิดการเผชิญหน้าเด็ดขาด เพราะเกรงว่าสุดท้ายอาจะเกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26-01-2008, 16:51 »



"ดร.สมชัย จิตสุชน" วิพากษ์ทีมเศรษฐกิจ "พปช.-ปชป." รัฐบาลใหม่ต้องเก่งทั้งรุกและรับ
ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3962 (3162)

เศรษฐกิจในปี 2551 ต้องเผชิญความเสี่ยงหนักหนาสาหัสแค่ไหน ? หากพรรคพลังประชาชนได้จัดตั้งรัฐบาล แล้วจะขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจอย่างไร ? และการเมืองปี 2551 จะเป็นเช่นไร ?

ย่อมเป็น 3 ประเด็นหลักที่ทุกคนต้องรู้

"ดร.สมชัย จิตสุชน" ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ฝ่ายการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะผู้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดมีมุมมองที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

- วิเคราะห์เศรษฐกิจในปี 2551 น่าจะเป็นอย่างไร ?

ต้องจัดการกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมืองด้วยควบคู่กันไป ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจะมีอยู่ 3-4 ตัว ซึ่งผมให้ความสำคัญ เป็นปัญหาที่โยงมาจากซับไพรม ทำให้การส่งออกน้อยลง ตลาดมีกำลังซื้อซบเซา ตลาดอื่นก็มีสิทธิโดนกระทบทางอ้อมเช่นกัน เพราะหลายประเทศส่งออกไปยังอเมริกา ส่งออกได้น้อยลง รายได้ก็แย่ลง เป็นตัวแรกที่มีผลตามมาอีกหลายๆ ตัว เช่น วิธีการแก้ปัญหาของอเมริกาด้วย

ถ้าอเมริกาแก้ปัญหาด้วยวิธีเอาตัวรอดอย่างรวดเร็ว เช่น อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะรักษาสภาพของปัญหา ไม่ให้กระจายไปในประเทศ การลดดอกเบี้ยอะไรต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้ดอลลาร์ยิ่งอ่อนค่าลงทั้งสิ้น แล้วปัญหาดอลลาร์จะโยงไปที่ซับไพรม ดอลลาร์ในตัวเองมีแนวโน้มที่จะ อ่อนลงอยู่แล้ว พอมีซับไพรมวิธีการแก้ไขปัญหาของอเมริกาก็อาจจะทำให้อ่อนลงเร็วขึ้น การส่งออกของเราจะยิ่งกระทบไปกันใหญ่ เพราะค่าเงินบาท ก็จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จะโดน 2 เด้ง

ตัวที่จะช่วยได้เป็นผลทางบวกเล็กๆ จากเรื่องของซับไพรม คือเงินจะไหลออกจากอเมริกามาแถวนี้มากขึ้น ซึ่งจริงๆ ก็ไหลมาแล้ว ปีกว่าๆ จนเป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องทำเรื่องกันสำรองเงินลงทุนต่างประเทศ 30% แต่ว่ามันคงจะต่อเนื่อง ถ้าซับไพรมยิ่งแรงก็ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก เป็น 3 เด้ง ทำให้สุดท้ายโยงไปเรื่องของการส่งออก

ผลทางบวกคือเมื่อมีเงินทุนไหลเข้ามา ประเด็นคือเราจะใช้เงินทุนเหล่านี้ให้เกิดประโยชนได้อย่างไร ต้องยกพระราชดำรัสในหลวง ผมชอบมากคือถ้ามีเงินก็ใช้ ค่าเงินแข็ง มีเงินเยอะก็ใช้ ผมว่าเป็นหัวใจของวิธีแก้ปัญหา เพียงแต่ลงรายละเอียดเพิ่มขึ้น คือจะใช้อย่างไร วิธีที่สุดก็คือเอาเงินที่ว่าไปลงทุนซื้อเครื่องจักร ไปทำเมกะโปรเจ็กต์ที่กระตุ้นในเรื่องของการลงทุน เป็นวิธีใช้ที่ดีที่สุดคือข้อดี ถ้าใช้แบบนั้นแล้วจะทำให้นำเข้ามากขึ้น

- ด้านไหนที่ไม่ควรนำเงินนี้ไปใช้อย่างเด็ดขาด

การลงทุนที่ก่อให้เกิดฟองสบู่ได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์ที่แรงๆ ซึ่งคงไม่รอดถ้าเงินมันมาก็อาจจะขึ้น แต่ว่าก็ต้องระวัง ขึ้นช่วงปีสองปีแรกผมไม่ค่อยห่วงเท่าไร แต่อย่าปล่อยให้เลยเถิดจนเกิดฟองสบู่ อีกอย่างคือเอาไปใช้ประชานิยม ไม่ใช่ประชานิยมจะแย่ทั้งหมด แต่เท่าที่พรรคการเมืองต่างๆ ออกแคมเปญมา มันแย่ซะครึ่งหรือเกินครึ่ง คือมันใช้แบบไม่จำเป็น คือใช้แบบทักษิณ คือใช้เพื่อหวังผลทางการเมืองเป็นหลัก ประชานิยมที่ไม่หวังผลการเมือง และก่อให้เกิดประโยชน์ระยะยาวก็มาก ขึ้นอยู่ว่าจะทำหรือเปล่า

ความเสี่ยงถัดมาที่ผมให้น้ำหนักคือ เรื่องการเมืองที่โยงมาเรื่องเศรษฐกิจ มันโยงกันผ่านเรื่องการลงทุน หมายความว่าถ้าการเมืองไม่ดี ดูขัดแย้ง มันดูส่อให้เกิดความรุนแรงตามมา ไม่ลงตัวสักที ถ้าอย่างนั้นนักลงทุนก็จะไม่กล้าลงทุน เผลอๆ จะกลายเป็น wait and see ไปอีกปีหรือครึ่งปีอย่างน้อย จริงๆ มันผูกกับประเด็นแรก ถ้าส่งออกคุณแย่ลง คุณหวังไม่ได้ คุณต้องหวังการลงทุน ถ้าลงทุนไม่มาด้วย ส่งออกแย่ลงด้วย ปีหน้าจะเป็นปีที่แย่มาก ใกล้ๆ เผาจริงอย่างที่เขาว่า เพราะฉะนั้นห่วงโซ่ในเรื่องของความมีเสถียรภาพทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นตัวป้องกันไม่ให้เกิดการเผาจริง

ถัดมาคือเรื่องน้ำมันกับเงินเฟ้อ นี่เป็นปัจจัยที่ 3 และ 4 ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องเดียวกัน เงินเฟ้อเพราะน้ำมันแพง ผมไม่ค่อยห่วงเท่าไร ผมคิดว่ามันเป็นผลกับเศรษฐกิจดีเกินคาด โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน อินเดีย รัสเซีย เข้าใจว่าประเทศบราซิลด้วย ตรงนี้ดีเกินคาด เมื่อดีเกินคาดก็มีความต้องการใช้น้ำมันเยอะ น้ำมันแพงเพราะปัจจัยบวกคือเศรษฐกิจโลกดี ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ดีด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เช่นซับไพรม น้ำมันจะถูกลงไปเองโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องไปกังวลกับมันมากนัก มันไม่เหมือนกับเกิดสงคราม รบกันแล้วทำให้บ่อน้ำมันมีปัญหาก็เลยทำให้แพง อย่างนี้น่ากลัว แต่ว่าทุกวันนี้มันไม่ใช่

- ถ้าเทียบทีมเศรษฐกิจระหว่างประชาธิปัตย์กับพลังประชาชนใครเป็นต่อ

ต่างกัน เพราะสะท้อนถึงแนวคิดที่ต่างกันทั้งสองพรรค พรรคพลังประชาชนเชื่อในเรื่องของนักบริหาร เชื่อในเรื่องของนักธุรกิจ จะเห็นว่าทีมเศรษฐกิจของเขาไม่มีนักเศรษฐศาสตร์เลย เป็นความเชื่อที่เป็นมาตั้งแต่สมัยทักษิณ โดยรวมๆ การบริหารเศรษฐกิจในรูปของมหภาค ผมคิดว่าเขาไม่มีคนดูตรงนี้เลย ความต่างคือถ้าเป็นนักธุรกิจจะถนัดเรื่องเกมรุก ถ้าเป็นนักการตลาดจะถนัดเรื่องเกมรับ การบริหารเศรษฐกิจต้องมีทั้งรุกและรับ เวลามีปัญหาอย่างซับไพรมจะต้องเล่นเกมรับ คุณต้องรู้ว่าจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างไร ถ้าคุณเป็นนักการเมือง คุณอาจจะไม่ชอบตั้งรับ นักการเมืองอยากให้ดอกเบี้ยถูกๆ อยากให้ธุรกิจดูเฟื่องฟู

ส่วนทีมเศรษฐกิจของประชาธิปัตย์ ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าทีม นายอภิสิทธิ์เข้าใจประเด็นเศรษฐกิจมหภาค เพราะเป็น นักเศรษฐศาสตร์ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ภาพความเป็นนักวิชาการสูง ในขณะเดียวกันก็จะขาดแง่มุมในเชิงรุก กล้าได้กล้าเสียนักเศรษฐศาสตร์จะไม่ทำ ซึ่งนายอภิสิทธิ์อาจจะไม่ทำ

- ถ้าพรรคพลังประชาชนมา มีการพูดถึงประชานิยมต่อยอด

ต่อยอดแบบไหน แบบเพิ่มเงินอย่างเดียว หรือว่าศึกษาข้อจุดอ่อนให้ดีขึ้น ถ้าแบบหลังนี้ผมพอรับได้ อย่างเช่นกองทุนหมู่บ้าน เท่าที่ผมประเมินได้ผลครึ่งหนึ่ง พอจะเห็นผลประโยชน์ครึ่งหนึ่ง ต่อยอดคือไปดูว่าทำไมอีกครึ่งหนึ่งถึงไม่ได้ประโยชน์ หรือเอาเฉพาะหมู่บ้านที่พร้อมต่อยอด จะเพิ่มเงินเป็น 2 ล้านก็ไม่เป็นไร แต่ให้เป็นหมู่บ้านที่รู้ว่าจะเอาเงินไปใช้อะไรจริงๆ ไม่ใช่เอาไปซื้อมือถือไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ โดยธรรมชาติของประชานิยมมันให้ครึ่งเดียวไม่ได้ มันต้องให้หมดทุกคน ไม่เช่นนั้นเสียงจะหายไปครึ่งหนึ่ง

- ในฐานะที่ศึกษาระบบธรรมาภิบาล มองการเมืองไทยข้างหน้าอย่างไร

ธรรมาภิบาลของทางภาครัฐสำคัญที่ผลประโยชน์ทับซ้อน ในรัฐธรรมนูญปี 2550 พยายามพูดเรื่องนี้มากขึ้น ห้ามอะไรเยอะแยะไปหมด จนคนที่คิดซื่อสัตย์สุจริตกลับทำงานยาก ในแง่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคือป้องกัน ผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อย่างที่เรารู้ว่ากฎระเบียบอะไรก็ตามมันมีช่องว่างเสมอ แล้วคุณเจอคนที่ยี้ white collar ยี้ คือยี้จบปริญญาโท ปริญญาเอกยี้นักเรียนนอก ไม่ใช่ยี้ภูธร สามารถทำเกมที่มัน ซับซ้อนได้ white collar ยี้ ผมไม่แน่ใจว่ารัฐธรรมนูญปี"50 จะทำอะไรได้ ยิ่งมีมือกฎหมายระดับพระกาฬอยู่ ตามไม่ทันหรอก ผมว่าตัวที่จะช่วยได้มากที่สุดคือกลไกภาคประชาชน กรณี กฟผ. และ ปตท. อันนี้เป็นการป้องกันและสร้างธรรมาภิบาล ต้องอิงกับระบบศาลยุติธรรม คือประชาชนสามารถ ลุกขึ้นมาเรียกร้อง ส่งเรื่องเข้าศาลแล้วศาลสามารถตัดสินอย่างเป็นธรรม จะป้องกันเรื่อง conflict of interest ได้เป็นอย่างดี จะสังเกตได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะไม่ค่อยมี ที่ไม่เยอะไม่ได้หมายความว่ากฎหมายเขาดีกว่า แต่ภาคประชาชนแข็งแรง ภาคสื่อมวลชนแข็งแรง ใครทำอะไรไม่ดีจมูกไวมาก ไวแล้วทำหน้าที่ข่าวสืบสวนสอบสวน เปิดประเด็นให้ถกเถียงในสาธารณะแล้ว คนอื่นรับลูกต่อ ทำให้นักการเมือง ไม่ค่อยกล้าออกนอกลู่นอกทาง คนที่จะสู้กับ white collar ก็ต้อง white collar ถึงจะเท่าทันกัน

- รากหญ้าต้องการทักษิณ ในขณะที่กรุงเทพฯไม่เอาทักษิณชัดเจน เป็นภาพที่แบ่งเมืองไทยหรือไม่

แบ่งชัดเจน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองนิ่งยาก ในอดีตที่ผ่านมาเราเคยมีความขัดแย้งทางการเมืองบ้าง แต่มักจะเป็น การขัดผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มผู้มีอำนาจด้วยกันเอง ซึ่งสุดท้ายเจรจากันได้ แม้กระทั่งการปฏิวัติรัฐประหารสุดท้ายก็เจรจากันได้

แต่คราวนี้เป็นการขัดแย้งระหว่างชนชั้น ระหว่างกลุ่มคนที่มีรากฐาน พื้นฐานทางความคิด พื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจต่างกัน แล้วรวมตัวกัน เข้มแข็งด้วย ผมไม่คิดว่ามันเป็นความผิดของใคร แต่คิดว่าอาจจะเป็นผลดีในระยะยาวด้วยซ้ำ คือทำให้คนในเมืองตระหนักมากขึ้นว่า เขาละเลยคนในชนบทไม่ได้แล้ว ถ้าเขาละเลย เขาก็ต้องเจอทักษิณอยู่เรื่อยๆ เจอพรรค พลังประชาชนอยู่เรื่อยๆ จะออกไปต่อต้าน ไปปฏิวัติก็ยังกลับมาได้อีก

ในที่สุดแล้วต้องคิดถึงเรื่องนี้มากขึ้น ควรจะให้โอกาสกับคนชนบท คนต่างจังหวัดให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร ให้มีโอกาสผลักดันตัวเองขึ้นมาเป็นคนชั้นกลางรุ่นใหม่ได้อย่างไร ให้โอกาสทางการศึกษา เป็นแนวคิดเรื่อง รัฐสวัสดิการ เพราะจะปิดช่องว่างระหว่างคนรวยในเมืองกับคนจน

รัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นได้ คนในเมืองต้องเห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นยาก ประโยชน์หลักๆ เกิดขึ้นกับคนชนบท เพราะฉะนั้นถ้าคนในเมืองเริ่มตระหนักว่า คุณไม่อยากเจอทักษิณ ไล่อย่างไรก็ไม่ไป คุณก็ต้องยอมจ่ายในรูปภาษี เอาไปทำแนวทางรัฐสวัสดิการเพื่อให้คนในเขตชนบทมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการศึกษาดีขึ้น รับรู้ข่าวสารมากขึ้น ได้รับการดูแลรักษาดีขึ้น ได้รับสิทธิทางการเมืองมากขึ้น

ในแง่แนวคิดมีอยู่เยอะ มีหลายประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการ เอาแรงงาน เข้าสู่ระบบมากขึ้น เดี๋ยวนี้คนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาน้อยมาก มีอยู่นอกระบบเยอะมาก ที่อยู่นอกระบบเหล่านั้นคือคนที่มีรายได้น้อย บางคนก็ไม่ได้น้อยทีเดียว ให้เอาคนเหล่านี้มาอยู่ในระบบคือต้องเสียภาษี ในขณะเดียวกันก็เข้าสู่ระบบประกันสังคมด้วย โน้มน้าวให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม แม้ว่าจะเป็นบริษัทที่ไม่จดทะเบียน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินก็ควรจะทำ แต่การจะทำได้นั้น คนรวยต้องเห็นด้วย ต้องเสียสละ

ต้องมีคนประเมินว่า ทำไมเราพูดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมาตั้งเยอะแยะ พูดเรื่องชินคอร์ป คตส.ก็ทำงานมาเป็นปี ทำไมคนยังเลือกทักษิณ มีคนบอกว่าการสื่อสารให้กับประชาชนในชนบทยังไม่ดีพอใช่ไหม ผมว่าไม่ใช่ ถ้าเขาจะเข้าใจ เขาสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก ประเด็นคือเขาไม่แคร์ บอกว่าผลประโยชน์ทับซ้อน คือการเอาภาษีของประชาชนไปใช้อย่างผิดรูปแบบ

ประชานิยมคือการเอาเงินไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า คนจนบอกผมไม่เสียภาษี แคร์ทำไม ภาษีอย่างเดียวที่เสียคือภาษีรัฐ ที่เหลือไม่ได้เสียภาษีอะไรเลย คุณไปขายไอเดียนี้ขายไม่ออก ดีเสียอีก ยิ่งพูดประเด็นนี้ชัดขึ้นยิ่งเลือกทักษิณ แสดงว่าทักษิณทำเพื่อฉัน ดูดเงินจากคนรวยมาให้ฉัน เพราะคนในเมืองเสียภาษี ไปถามชาวบ้านว่า รู้ไหมทักษิณโกง เขาบอกว่ารู้ ถามว่าเลือกไหม เขาบอกว่าเลือก ไม่ใช่ว่าเขาไม่เข้าใจ แต่มันเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้โกงเงินเขา

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26-01-2008, 16:52 »



นวัตกรรมประเทศไทย
มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2551

จากการที่ในปัจจุบันมีกระแสความตื่นตัวในเรื่องของนวัตกรรมในการบริหารองค์กรกันอย่างมาก กับในช่วงนี้ที่เรากำลังรอผลการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่ ก็ทำให้ผมได้คิดเหมือนกันนะครับว่า รัฐบาลใหม่จะนำนวัตกรรมดีๆ มาสู่ประเทศไทยกันได้บ้างไหม ก่อนอื่นนั้นต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะครับว่า นวัตกรรมไม่ได้หมายถึงแค่นวัตกรรมในสินค้า และบริการอย่างเดียวนะครับ กระบวนการบริหารจัดการก็ต้องมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกันครับ

นักวิชาการทางการจัดการชื่อดัง Gary Hamel ก็เขียนหนังสือชื่อ The Future of Management ขึ้นมา โดยเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่องค์กรต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางการจัดการหรือ Management Innovation กันมากขึ้น

นอกจากนี้ ดูเหมือนจะเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นนะครับว่า นวัตกรรมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า บริการ การจัดการ หรือกลยุทธ์ ทำให้เริ่มเกิดข้อสงสัยเหมือนกันนะครับว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าได้นั้น นวัตกรรมน่าจะมีบทบาทและความสำคัญอยู่พอสมควร ซึ่งนวัตกรรมของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม ก็พูดถึงกันเยอะแล้ว และมีหน่วยงานรับผิดชอบกันพอสมควร

แต่ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะสำคัญและยังละเลยกันอยู่ คือนวัตกรรมในการบริหารประเทศครับ ถ้าเปรียบเทียบประเทศเหมือนกับองค์กรธุรกิจแห่งหนึ่ง ถ้าองค์กรธุรกิจจะประสบความสำเร็จ และเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันได้ นวัตกรรมทางการจัดการเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วถ้าประเทศไทยต้องการจะเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ นวัตกรรมในการบริหารประเทศก็น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน

ถ้านวัตกรรมในการบริหารประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วเราควรจะเริ่มต้นจากที่ใดครับ ผมว่าจะเริ่มต้นนวัตกรรมในการบริหารประเทศได้ ต้องเริ่มจากระดับสูงสุด คือรัฐบาลก่อนครับ ซึ่งรัฐบาลใหม่ที่เรากำลังจะได้ในเร็ววันนี้ (ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนจะมาก็แล้วแต่) น่าจะต้องเริ่มคิดนะครับว่า จะนำหลักเรื่องนวัตกรรมมาปรับใช้กับการบริหารประเทศได้อย่างไร

ผมมาลองคิดดูนะครับว่า รัฐบาลใหม่จะช่วยในการนวัตกรรมประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง ก็คงต้องเริ่มจากการเลือกคนเข้าร่วมรัฐบาล เนื่องจากถ้าต้องการนวัตกรรมประเทศไทยแล้ว คงจะต้องทำในหลายๆ ด้านพร้อมกันครับ บรรดารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลถือเป็นกลไกที่สำคัญมากครับ เนื่องจากนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ ตัวผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานถือเป็นปัจจัยสำคัญครับ

รัฐบาลใหม่จะต้องแถลงนโยบายและแผนบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา ซึ่งตัวนโยบายและแผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนั้น ก็เปรียบเสมือนเป็นแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของรัฐบาล ซึ่งตรงนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดินเลยครับ เนื่องจากนโยบายและแผนบริหารราชการแผ่นดินนี้ จะต้องถูกถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติราชการของหน่วยราชการต่างๆ ต่อไป จะดูว่ารัฐบาลใหม่มีเจตนานวัตกรรมประเทศไทยมากน้อยเพียงไหน ก็ดูที่นโยบายและแผนบริหารราชการนั้นแหละครับ หวังว่านโยบายและแผนบริหารที่จะเกิดขึ้นนั้น สะท้อนเจตนารมณ์ของรัฐบาลใหม่ในการนวัตกรรมประเทศไทยนะครับ

นอกจากนี้ รัฐบาลใหม่ก็ควรจะเริ่มต้นนวัตกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศด้วยเช่นเดียวกันนะครับ รัฐบาลใหม่อยากจะเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต (อย่างน้อยก็สี่ปีข้างหน้า) ก็ต้องเริ่มคิดนะครับ ไม่ใช่ปล่อยให้ถอยหลังลงไปเรื่อยๆ แต่ก่อนผมจำได้ว่า เวลาพูดถึงคู่แข่งของประเทศไทยก็จะนึกถึงสิงคโปร์ แล้วก็ขยับมาเป็นมาเลเซีย ในปัจจุบันก็เป็นเวียดนาม ทำให้ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า ในอีกสิบปีข้างหน้าจะกลายเป็นประเทศใดต่อไป

ถ้าประเทศไทยจะสร้างความโดดเด่นและแตกต่างในสนามการแข่งขันระดับโลก ประเทศไทยจะมุ่งเน้นในด้านไหน ก็ได้แต่เฝ้าภาวนานะครับว่า คำตอบเหล่านี้จะมีในรัฐบาลชุดใหม่

เคยมีบางท่านท้วงผมเหมือนกันว่า หลักวิชาการในเรื่องของนวัตกรรมประเทศนั้นเป็นหลักวิชาการบนแผ่นกระดาษ ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย แต่ผมคิดว่าทุกอย่างก็มีข้อจำกัดทั้งนั้นครับ ขึ้นอยู่กับว่าคนที่จะมาเป็นผู้บริหารประเทศนั้น จะกล้าทำหรือไม่เท่านั้นเอง

นวัตกรรมหรือการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ นั้น ต้องอาศัยความกล้าของตัวผู้บริหารนะครับ เริ่มตั้งแต่การกล้าที่คิด กล้าที่จะทำ และกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น ทำไมองค์กรธุรกิจระดับโลกถึงริเริ่ม และให้ความสำคัญกับนวัตกรรมได้ แล้วทำไมประเทศไทยจะทำไม่ได้ ผมคิดว่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบหรือข้อจำกัดหรอกครับ ขึ้นอยู่กับความกล้าที่จะคิด จะทำ รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญครับ

บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #3 เมื่อ: 26-01-2008, 20:35 »

ผมประชาชนเดินดินกินข้าวแกง คงบอกว่าไม่สมานฉันท์กับความชั่วร้ายฮะ
คงดำเนินชีวิตตามปรกติ ใช้จ่ายตามปรกติ
แต่อาจลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง อดออมเพิ่มมากขึ้น ตามความเสี่ยงที่มีมากขึ้น

อ้อ และ คงไปเสียภาษีตามปรกติฮะ แม้ไม่อยากเสียฮะ


คงทำได้เท่านี้ฮะ ตามหน้าที่พลเมืองดี
แต่สมานฉันท์คงยากฮะ เพราะผมเชื่อว่า การไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจเป็นสิ่งถูกต้อง
เมื่อคนไม่ดีมีอำนาจ ผมตัวเล็กๆ คงอยู่เฉยๆ ฮะ


ที่เหลือคงเป็นฝีมือรัฐบาลใหม่นะฮะ ที่จะนำพาประเทศไป
เห็นบอกมือเศรษฐกิจเยอะ
ถ้าเปิดมาหมอเลี๊ยบนั่ง รมว คลัง ผมคงพูดได้เต็มปากว่า พปช หาเสียงโกหกประชาชนฮะ
ที ปชป ให้คุณอภิสิทธิ์คุมเศรษฐกิจ ยังด่าว่าไม่ใช่มือเศรษฐกิจ ทั้งที่จบเศรษฐศาสตร์
ที พปช ให้หมอเลี๊ยบที่จบหมอ กะ เอ็มบีเอ มาคุมกระทรวงเศรษฐกิจเกรดเอบวก คงพูดได้ไม่เต็มปากหรอกฮะว่ามือเศรษฐกิจระดับอ๋อง 


อีกอย่างถ้าบริหารไม่ดี เศรษฐกิจไม่ไหลลื่น
ฝากบอก พปช ให้สมานฉันท์ด้วยนะฮะ ว่าอย่าโทษคนอื่น
ตัวอย่างเช่น คมช เข้ามาทำเจ๊ง ตัวเองเข้ามาก็สาหัสแล้ว (คนอื่นเขาเจอร้ายกว่านี้ ยังเอากลับมาจากเหวได้ แต่คนอีกคนสบายไป)
หรือ เพราะกลไกตลาด, กระทบจากปัจจัยภายนอก ควบคุมไม่ได้ ...
โชว์แมนหน่อยนะฮะ เพราะงวดนี้คุมกระทรวงเศรษฐกิจเกือบหมด บวก ของเก่าอีกหกปี
ไปโทษอย่างอื่นมันแย่นะฮะ

 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26-01-2008, 20:57 »

ผมประชาชนเดินดินกินข้าวแกง คงบอกว่าไม่สมานฉันท์กับความชั่วร้ายฮะ
คงดำเนินชีวิตตามปรกติ ใช้จ่ายตามปรกติ
แต่อาจลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง อดออมเพิ่มมากขึ้น ตามความเสี่ยงที่มีมากขึ้น

อ้อ และ คงไปเสียภาษีตามปรกติฮะ แม้ไม่อยากเสียฮะ


คงทำได้เท่านี้ฮะ ตามหน้าที่พลเมืองดี
แต่สมานฉันท์คงยากฮะ เพราะผมเชื่อว่า การไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจเป็นสิ่งถูกต้อง
เมื่อคนไม่ดีมีอำนาจ ผมตัวเล็กๆ คงอยู่เฉยๆ ฮะ


ที่เหลือคงเป็นฝีมือรัฐบาลใหม่นะฮะ ที่จะนำพาประเทศไป
เห็นบอกมือเศรษฐกิจเยอะ
ถ้าเปิดมาหมอเลี๊ยบนั่ง รมว คลัง ผมคงพูดได้เต็มปากว่า พปช หาเสียงโกหกประชาชนฮะ
ที ปชป ให้คุณอภิสิทธิ์คุมเศรษฐกิจ ยังด่าว่าไม่ใช่มือเศรษฐกิจ ทั้งที่จบเศรษฐศาสตร์
ที พปช ให้หมอเลี๊ยบที่จบหมอ กะ เอ็มบีเอ มาคุมกระทรวงเศรษฐกิจเกรดเอบวก คงพูดได้ไม่เต็มปากหรอกฮะว่ามือเศรษฐกิจระดับอ๋อง 


อีกอย่างถ้าบริหารไม่ดี เศรษฐกิจไม่ไหลลื่น
ฝากบอก พปช ให้สมานฉันท์ด้วยนะฮะ ว่าอย่าโทษคนอื่น
ตัวอย่างเช่น คมช เข้ามาทำเจ๊ง ตัวเองเข้ามาก็สาหัสแล้ว (คนอื่นเขาเจอร้ายกว่านี้ ยังเอากลับมาจากเหวได้ แต่คนอีกคนสบายไป)
หรือ เพราะกลไกตลาด, กระทบจากปัจจัยภายนอก ควบคุมไม่ได้ ...
โชว์แมนหน่อยนะฮะ เพราะงวดนี้คุมกระทรวงเศรษฐกิจเกือบหมด บวก ของเก่าอีกหกปี
ไปโทษอย่างอื่นมันแย่นะฮะ

 

ไปฝากที่เว็บไซท์เขาสิ น้อง ที่นี่มีแต่ะคำแนะนำ ไม่มีอาการปัดสวะ เพราะไม่ได้ฝักใฝ่พรรคการเมือง..
บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #5 เมื่อ: 26-01-2008, 21:16 »

ไปฝากที่เว็บไซท์เขาสิ น้อง ที่นี่มีแต่ะคำแนะนำ ไม่มีอาการปัดสวะ เพราะไม่ได้ฝักใฝ่พรรคการเมือง..



 
ตัดข่าวแปะบอกมีแต่คำแนะนำ
คนอื่นเสนอความคิดเห็นอีกด้าน ไม่รับฟัง
ชอบไปถามหาความรับผิดชอบกะฝ่ายที่ไม่มีอำนาจบริหาร
แล้วบอกภาษาการเมือง 

การเมืองคงเป็นเรื่องตามความคิดคุณคนเดียว
เห็นต่างไม่ได้ ต้องเห็นตาม 

 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26-01-2008, 21:20 »



 
ตัดข่าวแปะบอกมีแต่คำแนะนำ
คนอื่นเสนอความคิดเห็นอีกด้าน ไม่รับฟัง
ชอบไปถามหาความรับผิดชอบกะฝ่ายที่ไม่มีอำนาจบริหาร
แล้วบอกภาษาการเมือง 

การเมืองคงเป็นเรื่องตามความคิดคุณคนเดียว
เห็นต่างไม่ได้ ต้องเห็นตาม 

 

เขาห้ามวิจารณ์สมาชิกนอกประเด็น เว็บมาสเตอร์เพิ่งจะเตือน ระวังโดนแบน

ไม่มีอะไรจะเขียนเป็นชินเป็นอัน ก็ไม่ต้องเขียน แปะก็อย่าให้เลอะเทอะ

รับยาแก้ท้องผูกมั้ย?
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26-01-2008, 21:42 »



บทความเขาก็เขียนอ่าน ง่ายๆ

สมานฉันท์ ในการทำงานเพื่อชาติ ไม่ใช่ทำชั่วใดๆ

แบบพวกขอบผิดศีล ปล่อยคนโง่ให้ลอยนวลโดยไม่รู้ว่าตนเองโง่

ไม่รู้จักพระราชดำรัส ให้ปรองดอง รู้รักสามัคคี แปลว่าอะไร?

ไปตีความขัดกัน แกว่งปากเล็กๆ บังเงาไปเรื่อยเฉื่อย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 27-01-2008, 02:08 »



ถ้ามองมิติเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ ต้องอาศัยความร่วมมือในการสร้างสรรค์มากกว่าการต่อสู้ทางการเมืองด้วยซ้ำ

ในเมื่อเราต้องการให้เกิดการกระจายรายได้ กระจายความสามารถต่างๆได้จริง ไม่ใช่เป็นที่พูดบลัพกันของนักการเมืองและกองเชียร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 02:43 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 31-01-2008, 15:30 »



เฟดหั่น ดบ.2 ครั้ง 1.25% ศก.โลกสะเทือน! ชี้ร้ายแรงกว่าปี 40 ถึง 3 เท่า
http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9510000012665
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 มกราคม 2551 10:28 น.
 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
 

 
 
 
  “เฟด” ประกาศหั่นดอกเบี้ยระลอก 2 ตามคาด 0.5% ภายใน 2 สัปดาห์ ลดไปถึง 1.25% สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าหนัก คาดนักลงทุนแห่ขายทิ้งเงินดอลลาร์ กระทบตลาดเงิน-ตลาดทุนโลกปั่นป่วน เม็ดเงินร้อนเก็งกำไร ราคาทองคำ-น้ำมันพุ่งขึ้นทันที นักวิเคราะห์ชี้ ร้ายแรงกว่าปี 40 ถึง 3 เท่า แนะแบงก์ชาติรับมือบาทแข็ง หวั่นภาวะราคาสินค้า-ค่าครองชีพ ดันเงินเฟ้อ เครื่องมือใช้ดอกเบี้ยแก้เกมอาจมีปัญหา
       
       วันนี้ (31 ม.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นอีก 0.5% จากอัตรา 3.5% ลงเหลือแค่ 3.0% ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2548 ครั้งนี้นับเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ภายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่การลงมติครั้งล่าสุดไม่ได้มีคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ เนื่องจากนายริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานธนาคารกลางสาขาดัลลัส ไม่เห็นด้วยและต้องการให้คงระดับอัตราดอกเบี้ยตามเดิม
       
       การประชุมลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด มีขึ้นในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐรายงานว่า เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ขยายตัวเพียง 0.6% เท่านั้น เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า วิกฤตจากการปล่อยสินเชื่อการเคหะสำหรับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือซับไพรม์ และหนี้บัตรเครติดจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ
       
       **ดอลลาร์อ่อนยวบทันทีเมื่อเทียบเงินสกุลหลัก
       
       ภาวะการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงทันที หลังจากที่เฟด ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้นลงอีก 0.50% และยังส่งสัญญาณว่าอาจมีการลดดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด
       
       สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ค่าเงินยูโรแข็งแกร่งขึ้นแตะระดับ 1.4898 ดอลลาร์ต่อยูโร จากระดับของวันอังคารที่ 1.4776 ดอลลาร์ต่อยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งแกร่งขึ้นแตะระดับ 1.9942 ดอลลาร์ต่อปอนด์
       
       ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อ่อนตัวลงแตะระดับ 106.95 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับ 107.12 เยนต่อดอลลาร์ และอ่อนตัวลงแตะระดับ 1.0857 ฟรังซ์ต่อดอลลาร์ จากระดับ 1.0941 ฟรังซ์ต่อดอลลาร์
       
       “ดอลลาร์อ่อนตัวลงทันทีที่คณะกรรมการเฟดตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้นลงอีก 0.50% สู่ระดับ 3.0% และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีก 0.50% สู่ระดับ 3.5% ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแม้เป็นหนึ่งในแนวทางที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ แต่ทำให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์มีมูลค่าลดลงและไม่น่าดึงดูดใจ”
       
       นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่ระบุว่า จีดีพีไตรมาส 4 ปี 50 ขยายตัวขึ้นเพียง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2550 ซึ่งลดลงอย่างมากจากระดับของไตรมาส 3 ที่ 4.9% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ระดับ 1.2%
       
       นายไมเคิล วูลฟอล์ก นักวิเคราะห์จากแบงก์ออฟนิวยอร์ก กล่าวว่า นักลงทุนมองว่าแม้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% แต่ตัวเลขเงินเฟ้อภายในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญญาที่เฟดจะต้องตามแก้ไขต่อไป
       
       การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเป็นการปรับลดครั้งที่ 4 นับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. 2550 และเกิดขึ้นเพียง 8 วันหลังจากเฟดตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยฉุกเฉิน 0.75% เมื่อวันอังคารที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการเฟดคาดหวังว่าการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้และครั้งก่อน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตปานกลาง และจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
       
       **ราคาทองคำพุ่งแตะระดับสูงสุด
       
       ด้านภาวะราคาทองคำในการซื้อขายตลาดนิวยอร์ก ซึ่งมีการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิค ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากเฟด ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ซึ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง และกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคัก
       
       นายคาร์ลอส ซานเชส นักวิเคราะห์จากซีเอ็มพี กรุ๊ป กล่าวกับสำนักข่าวเอพี โดยระบุว่า การซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีขึ้นหลังจากตลาดทองคำ NYMEX ปิดทำการแล้วนั้น สัญญาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย.พุ่งขึ้นแตะระดับสุงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 942.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่เฟดตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย
       
       ก่อนที่เฟดจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ย สัญญาทองคำส่งมอบเดือน เม.ย.ในตลาด NYMEX ปิดที่ 926.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ร่วงลง 4.50 ดอลลาร์ เมื่อคืนนี้
       
       ทั้งนี้ คณะกรรมการเฟดตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้นลงอีก 0.50% สู่ระดับ 3.0% และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงอีก 0.50% สู่ระดับ 3.5% เพื่อป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยคณะกรรมการเฟดคาดหวังว่าการลดดอกเบี้ยครั้งล่าสุด และการลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน 0.75% ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตปานกลาง และจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
       
       “ผมไม่คิดว่าจะมีอะไรมาหยุดยั้งการพุ่งขึ้นของราคาทองคำได้” นายคาร์ลอส กล่าวสรุปด้วยความเชื่อมั่น
       
       นายเจมส์ สตีล นักวิเคราะห์จาก HSBC ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวว่า ตลาดทองคำนิวยอร์กขานรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด นักลงทุนมองว่าทองคำและโลหะมีค่าประเภทอื่นๆ เป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัยในยามที่เศรษฐกิจผันผวน
       
       นักวิเคราะห์หลายรายคาดว่า ราคาทองมีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนเดือน เม.ย.นี้
       
       **ราคาน้ำมันดิบพุ่ง “โอเปก” ยันไม่เพิ่มกำลังการผลิต
       
       สำหรับผลกระทบแรงกดดันด้านราคาน้ำมัน ล่าสุด รัฐมนตรีของกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (กลุ่มโอเปก) ออกมาระบุว่าอาจจะไม่เพิ่มการผลิตน้ำมันตามแรงกดดันของสหรัฐฯ ในการประชุมที่จะจัดขึ้นที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย ในวันพรุ่งนี้
       
       โดยซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของกลุ่มมีท่าทีพอใจต่อปริมาณการผลิตและความต้องการน้ำมันที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่สมาชิกอีกหลายประเทศยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องขยายเพดานการผลิต เพราะเกรงว่าความต้องการและราคาน้ำมันจะลดลงอย่างมาก หากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ตามที่คาดกันไว้
       
       สำหรับราคาซื้อขายน้ำมันดิบชนิดไลท์ที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวานนี้ สูงขึ้น 69 เซ็นต์ อยู่ที่ระดับ 92.33 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์แถบทะเลเหนือเพิ่มขึ้น 53 เซนต์ อยู่ที่ระดับ 92.53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
       
       **บาทแข็งขึ้นแตะ 33.01 กดดันเงินเฟ้อ
       
       นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 33.01/02 บาทต่อดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากปิดตลาดวานนี้ซึ่งอยู่ที่ระดับ 33.04/07 บาทต่อดอลลาร์
       
       การปรับลดดอกเบี้ย 0.5% ของเฟดเมื่อคืนนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของยุโรป 1% จึงทำให้ค่าเงินยูโรปรับตัวสูงขึ้น
       
       ส่วนสกุลเงินในตลาดต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.4845/47 ดอลลาร์ต่อยูโร ซึ่งตลาดยังรอดูว่าค่าเงินยูโรจะสามารถปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1.5000 ดอลลาร์ต่อยูโร ได้หรือไม่ ขณะที่เงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับร่วงลง
       
       **บาทแข็ง-เงินเฟ้อ ร้ายแรงกว่าปี 40
       
       นายสมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยในปี 2551 หลังเฟดปรัดลดอัตราดอกเบี้ยแรงหลายระลอก โดยเชื่อว่า ผลกระทบจะลามเป็นลูกโซ่ และเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าเงินของตลาดโลกมีความผันผวน เนื่องจากค่าเงินของสหรัฐฯ จะอ่อนตัวลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่า ดังนั้นเป็นงานหนักของรัฐบาลชุดใหม่ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องหามาตรการรองรับโดยด่วน
       
       “ผมมองว่า ธปท.จะประสบปัญหาวิกฤต 2 ทาง คือ รับภาระขาดทุนในการแทรกแซงค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ รวมถึงภาระดอกเบี้ยที่จะออกพันธบัตรเพิ่มเติมในการดูดสภาพคล่องเพื่อแก้ปัญหาค่าเงินแข็งและเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นในอนาคต”
       
       ทั้งนี้ ยอมรับว่าทั่วโลกขาดความมั่นใจเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างมากกรณีที่จะลดดอกเบี้ยอีก 0.5% เพราะในช่วง 1-2 สัปดาห์ เท่ากับว่าเฟดลดดอกเบี้ยถึง 1.25% ไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน ซึ่งผลที่ตามมาคือการเก็งกำไรค่าเงิน ทองคำ น้ำมันกันทั่วโลก เนื่องจากต่างชาติไม่ต้องการถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไว้
       
       “ถือว่าเป็นงานหนักของ ธปท. ที่ต้องรับภาระถึง 2 เด้ง จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการให้ดี ภายใต้ข้อจำกัด เพราะปัจจุบันใช้เงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐหลายแสนล้านบาท มากกว่าช่วงวิกฤติปี 2540 ถึง 3 เท่า ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ การเก็งกำไรค่าเงินบาทที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง”
       
       นายสมภพ กล่าวอีกว่า มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องดำเนินการเร็วที่สุด คือ แก้ปัญหาการปรับตัวของราคาสินค้า ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการขอขึ้นราคาสินค้าหลายราย ขณะที่ค่าจ้างของลูกจ้างปรับตัวไม่ทันตามค่าครองชีพ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าทำได้ลำบาก
       
       สำหรับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดในสหรัฐในปี 51 จะมีผลกระทบต่อโลกรุนแรงกว่าเมื่อปี 43-44 เพราะช่วงนี้เศรษฐกิจจีนช่วยพยุงให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันจีนก็มีข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 31-01-2008, 15:34 »




มูดีส์ฯ ชี้สหรัฐกำลังเป็นหลุมดำฝัง ศก.โลก หวั่นมาตรการหั่น ดบ. 1.25% อาจทำให้ล้มทั้งยืน
http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9510000012808
 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 มกราคม 2551 13:27 น.
 
 
 
มูดีส์ อินเวสเตอร์ฯ ชี้หลุมดำถล่มศก.โลก มีศูนย์กลางอยู่ในสหรัฐ ระบุต้นตอสำคัญ การปรับลดดบ.แรงๆ 1.25% ในช่วงภาวะถดถอย และมีปัญหาเงินเฟ้อจากภาวะต้นทุนผลัก กำลังเป็นเงื่อนตายสำคัญที่ยังแก้ไม่ตก และจะกลายเป็นชนวนที่ทำให้ ศก.ทั่วโลก พังตามเป็นโดมิโน "เอสแอนด์พี" ส่งสัญญาณวิกฤติสถาบันการเงินล้ม
       
       วันนี้(31 ม.ค.) บริษัท มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความเสี่ยงในระดับสูงมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะยังคงดูดี แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความพลิกผันนั้นมีอยู่สูง เพราะมีสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นที่จะทำให้แนวโน้มแย่ลง
       
       รายงานของมูดีส์ อินเวสเตอร์สฯ ยังระบุอีกว่า ศูนย์กลางของความผันผวนและไม่แน่นอนนี้เห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ที่สหรัฐ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพคล่องและวิกฤตสินเชื่อที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงไม่ชัดเจน
       
       นายปิแอร์ ไซเลโต หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สากลของมูดีส์ และเป็นผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ การวิเคราะห์สินเชื่อในระดับย่อยลงมาจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในมุมมองที่กว้างขึ้นด้วย รวมถึงการพิจารณาเรื่องความเกี่ยวโยงกันของความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ไม่น่าพอใจนัก
       
       รายงานชื่อ "Mapping the Near Future: Macro Stress Scenarios for 2008-2009" และ "Global Financial Risk Perspectives" มูดีส์ได้ระบุถึงสถานการณ์ที่น่าจะเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2008-2009 โดยแบ่งตามความเสี่ยงเป็น 3 กรณี ได้แก่
       
       กรณีแรก ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวที่มีต่อเศรษฐกิจโลก รายงานคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่น คงจะมีความแข็งแกร่งลดลง ขณะที่เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่จะยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ โดยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่ไม่ได้ผูกติดกับเงินดอลลาร์ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
       กรณีที่สอง Stagflation คือการที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย พร้อมกับการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง โดยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินซึ่งมีผลให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ แม้ว่าการขยายตัวสดใสนั้นจะสูญหายไป
       
       กรณีที่สาม Stagnation คือการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางประเทศ
       
       ล่าสุด มีรายงานเพิ่มเติมว่า สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอส แอนด์ พี) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐ โดยระบุว่า เมื่อถึงที่สุดแล้ว สถาบันการเงินอาจมีผลขาดทุนจากปัญหาต่อเนื่องในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 265,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
       
       ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก เอส แอนด์ พี เปิดเผยว่า ได้ปรับลด หรืออาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐ มูลค่า 270,000 ล้านดอลลาร์ และทำการทบทวนโดยอาจมีแนวโน้มปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารซีดีโอ มูลค่า 264,000 ล้านดอลลาร์อีกด้วย

 
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 01-02-2008, 16:34 »



คลังแนะรัฐบาลเดินหน้าเมกะโปรเจกต์ บริหารให้เสี่ยงน้อยที่สุด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000013252
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:38 น.
 
 
       ร.ท.นพดล พันธุ์กระวี รองผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ความเสี่ยงด้านการคลังจากรัฐวิสาหกิจ" ว่า ในวันนี้ (1 ก.พ.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการจัดการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากรัฐวิสาหกิจให้กับไทย เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ได้รับแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ยที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และปัจจัยภายใน ซึ่งไทยกำลังเผชิญจากนโยบายด้านการลงทุน ทั้งนี้ ยอมรับว่า นโยบายประชานิยมของรัฐบาลมีความเสี่ยงในทุกเรื่อง แต่มองว่าหากทำแล้วเกิดประโยชน์ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ รัฐบาลก็จำเป็นต้องเดินหน้า แต่จะต้องบริหารให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด
        อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้รับในครั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะนำไปประมวลผล เพื่อหาแนวทางการบริหารให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของไทย ก่อนนำเสนอรัฐบาลใหม่ต่อไป

 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 01-02-2008, 16:38 »



'โฆสิต' แนะ รบ.ใหม่สร้างความเข้มแข็งด้านวิทย์ฯ แก่ผู้ประกอบการไทย
 http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000013263
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:58 น.
 
 
       ในการประชุมสัมมนาเรื่อง "การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ" นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลไทยใหม่ควรสร้างฐานความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ โดยขณะนี้ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากมีความหลากหลายด้านชีวภาพ และเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลกที่ส่งออกอาหารมากที่สุด มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศใช้บริการทางการแพทย์ไทยปีละกว่า 1 ล้านคน รวมทั้งมีการลงทุนเพื่อวิจัย และพัฒนาระหว่างหน่วยงานไทย และบริษัทชั้นนำของโลก โดยมั่นใจว่าเรื่องดังกล่าวจะสามารถแข่งขันกับต่างชาติ และเป็นศูนย์กลางทางการวิจัยด้านพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในอาเซียนได้
        ด้านนายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวว่าที่ผ่านมาได้ประกาศการส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยผู้ประกอบการไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงินทุกเขตที่ตั้ง และหากตั้งอยู่ในเขตอุทยานวิทยาศาตร์จะได้รับลดอย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี
        ด้านายศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่าการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพในปีนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาวัคซีน ระบบเซ็นเซอร์ที่รับมือกับปัญหาโรคอุบัติใหม่ การพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช รวมทั้งการวิจัยการแก้ปัญหาผลิตผลทางการเกษตรด้วย

 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 04-02-2008, 03:50 »



ต่างชาติให้เวลา “เจ๊มิ่ง” พิสูจน์ฝีมือแก้ ศก.6 เดือน ชี้ “หมอเลี้ยบ” ต้องใช้พี่เลี้ยง    
 http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9510000013758
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2551 12:52 น.
 
 
 
 
  หอการค้า ตปท.ในไทย ชี้ต่างชาติให้เวลารัฐบาลใหม่ 6 เดือน เพื่อดูผลงาน-การแก้ปัญหา ระบุ “เจ๊มิ่ง” จะคุมทีม ศก.ยังต้องพิสูจน์ฝีมือ ส่วน “หมอเลี้ยบ” ต้องมีทีมพีเลี้ยงคอยดูแล ขณะที่หอการค้าไทยจี้รัฐบาลใหม่ต้องเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพในทันที ชี้นโยบาย ศก.ต้องชัดเจนเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น
       
       อดีตประธานสภาหอการค้าต่างประเทศ ให้เวลารัฐบาลใหม่ 6 เดือนพิสูจน์ผลงาน ขณะเชื่อมือมิ่งขวัญ คุมงานเศรษฐกิจด้านนายแพทย์สุรพงษ์ ต้องมีทีมงานช่วยดูแล
       
       นายปีเตอร์ จอห์น แวน ฮาเรน อดีตประธานสภาหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้มีการพูดคุยกับสมาชิกหอการค้าต่างประเทศเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจน ซึ่งนักธุรกิจต่างประเทศจะให้เวลารัฐบาลชุดใหม่ 6 เดือนในการดำเนินการด้านนโยบายเศรษฐกิจ
       
       ขณะที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินนโยบายต่างๆ ได้สำเร็จ โดยเฉพาะการลงทุนระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์ ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น
       
       ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติมองว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจะตรวจสอบรัฐบาลอย่างจริงจังก็จะทำให้พรรครัฐบาลเร่งสร้างผลงานได้เร็วขึ้น
       
       สำหรับ ตำแหน่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ที่มีรายชื่อ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จะเป็นผู้ดูแลในภาครวมนั้น อดีตประธานสภาหอการค้าฯ ตปท.กล่าวว่า ควรจะให้โอกาสในการพิสูจน์ผลงาน ซึ่งที่ผ่านมา นายมิ่งขวัญถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ เป็นที่ยอมรับของนักธุรกิจในระดับหนึ่ง
       
       ส่วนกรณีของนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (หมอเลี้ยบ) เลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) ที่อาจจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น ควรจะมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเข้ามาช่วยดูแล
       
       **นลท.ขาดความเชื่อมั่น นโยบาย ศก.ต้องชัดเจน
       
       นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนกำลังจับตามองเศรษฐกิจไทยอยู่ รัฐบาลควรแสดงให้นักลงทุนเห็นถึงเสถียรภาพของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการชูนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมและชัดเจน เพื่อคลายความกังวลที่มีต่อการลงทุนและภาคธุรกิจไทย เนื่องจากสัญญาณการฟื้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้สามารถขับเคลื่อนและฟื้นตัวดีขึ้น และมีอัตราการขยายตัวอยู่ในกรอบที่ 4.5–5.0%
       
       เนื่องจากขณะนี้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่มาจากสินเชื่อคุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ ทำให้เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวที่ยังไม่แน่นอนว่าจะชะลอตัวลงมากเท่าใด ขณะเดียวกัน หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ภาคการส่งออกที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของไทยเมื่อปีที่แล้วอาจมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่มากนัก
       
       ดังนั้น ภาคการส่งออกของไทยจึงยังไม่แน่นอน อีกทั้งสถานการณ์ของราคาพลังงานยังมีความผันผวนอยู่มาก ไม่ว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการขนส่งของไทยสูงขึ้น ภาคเอกชนจึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูในเรื่องของพลังงาน พร้อมเร่งส่งเสริมทิศทางของพลังงานทดแทนที่ชัดเจน เพื่อที่ภาคเอกชนกล้าเข้ามาลงทุนในการผลิตแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในอนาคต
       
       นายธนวรรธน์ พลวิชัย กล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวลง โดยเฉพาะดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อาจทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าห่วงมาก รัฐบาลจึงควรให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับการส่งออกและไม่แข็งค่าจนเกินไป
       
       **จี้แก้ปัญหาเร่งด่วน เงินเดือน-ค่าครองชีพ
       
       นายธนวรรธน์ ระบุว่า จุดแรกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาลใหม่ รัฐบาลต้องแก้ปัญหาเร่งด่วนเรื่องค่าครองชีพของประชาชนที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น การสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ นักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวน้อยกว่าเป้าที่ควรจะเป็น จากการขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้การบริโภคชะลอตัวลง
       
       ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนก็ชะลอตัวเช่นกันจากความไม่ชัดเจนในทิศทางเศรษฐกิจไทย ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งหานโยบายเศรษฐกิจที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในระยะยาว เพื่อให้ภาคประชาชนและนักธุรกิจเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ที่สำคัญควรสนับสนุนเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจให้หมุนเวียนทั่วประเทศ จะช่วยให้เกิดการจ้างงานและซื้อขายวัตถุดิบในประเทศมากขึ้น รวมไปถึงส่งเสริมโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐให้ภาคเอกชนเห็นว่า มีโครงการลงทุนที่น่าสนใจ และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งก็จะทำให้การส่งออกขยับตัวได้ดี
       
       “ปัญหาอันดับแรกที่รัฐบาลต้องแก้ไข คือ ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม หากรัฐบาลสามารถจัดการให้ราคาพลังงานไม่สูงเกินไป และมีการพูดคุยกับภาคเอกชนไม่ให้มีการปรับราคาสินค้ามากเกินไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน”
       
       ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นในระดับ 3.5-4.0% จึงมั่นใจว่าการลงทุนของเอกชนและการบริโภคของประชาชนจะปรับตัวดีขึ้นตามมา ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวในอัตรา 5% ได้จริงตามเป้าหมายที่วางไว้

 
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: