ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 14:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  =='เติ้ง' เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หรือแผนม้าไม้เมืองไทย== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
=='เติ้ง' เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หรือแผนม้าไม้เมืองไทย==  (อ่าน 1223 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 20-01-2008, 14:33 »

จากหน้าข่าวการเมืองของเดลินิวส์ครับ วิเคราะห์เรื่องบรรหารในหลายแง่มุมที่ไม่ได้นึกถึง
ก็เลยเก็บเอามาฝากให้อ่านกันนะครับ 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
'เติ้ง' เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หรือแผนม้าไม้เมืองไทย
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=152032&NewsType=1&Template=1
วันที่ 20 มกราคม 2551 เวลา 00:00 น.
   
ไม่รู้ว่าจะมาไม้ไหนกันแน่ เมื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ตอบรับอย่างเป็นทางการร่วมกับพรรคเพื่อแผ่นดิน
ที่จะร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะต้องรอให้เลือกตัวประธานสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน

จริงอยู่ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จะต้องเริ่มจากการเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก เพื่อเลือกตัวประธานสภา
เสร็จแล้วถึงเป็นขั้นตอนของการซาวเสียงเลือกตัวนายกรัฐมนตรี หากใครได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง ก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
และเป็นผู้จัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับพรรคต่าง ๆ

สำหรับขั้นตอนในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว หากไม่มีพรรคไหนได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง พรรคการเมือง
ที่มีอยู่จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย แล้ววิ่งจับขั้วกันเพื่อให้ฝ่ายของตนเองมีเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ระหว่างการวิ่งจับขั้วนั้นจะมีการเจรจาต่อรอง
ตำแหน่งรัฐมนตรีและกระทรวงที่รับผิดชอบไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยพรรคแกนนำจะเป็นผู้จัดสรรตำแหน่งให้แต่ละพรรคร่วมรัฐบาล
เกิดความพึงพอใจ เพื่อรวบรวมเสียงให้ครบเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีก่อนการเปิดประชุมสภาสมัยแรก

ดังนั้นจุดแตกหักของเกมการวิ่งจับขั้วรัฐบาลอยู่ที่การโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคแกนนำฝ่ายใดสามารถรวบรวม
เสียงสนับสนุนได้เกินกึ่งหนึ่งก่อนและมีข้อตกลง ที่แน่ชัด ฝ่ายนั้นก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล และฝ่ายที่เหลือซึ่งมีเสียงน้อยกว่า
จะไปเป็นฝ่ายค้าน ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ หรือไม่มีความแน่ชัดก็อาจจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลมีปัญหาภายหลัง

แต่ในกรณีของพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินที่นายบรรหารประกาศว่า เข้าร่วมรัฐบาลแต่ไม่สนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี
สามารถตีความไปได้หลายทาง

ประการแรก นายบรรหารอาจจะประเมินว่า การจัดตั้งรัฐบาลพรรคพลังประชาชนท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า
และปฏิกิริยาไม่ยอมรับพรรคพลังประชาชนของคนกรุงเทพฯ ที่แสดงออกจากการลงคะแนนเลือกตั้ง จะทำให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ไม่ยาว

การเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินได้ทุ่มกำลังพลและเสบียงกรังอย่างมหาศาลเพื่อให้ได้ ส.ส.ไม่ต่ำกว่าพรรคละ
50 คน แต่ความพยายามดังกล่าวประสบความล้มเหลว เพราะสู้แรงเบียดของพรรคพลังประชาชนไม่ได้

ผลที่ตามมาก็คือ พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางได้สูญเสียกำลังพลและเสบียงกรังไป
เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้น หากเลือกไปเป็นฝ่ายค้าน ก็จะไม่มีโอกาสพักฟื้นซ่องสุมกำลังพลและสะสม
เสบียงกรังได้อย่างรวดเร็ว

ถ้าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินตัดสินใจไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน แล้วเล่นเกมเปิดอภิปราย
ไม่ไว้วางใจ ครม.ทั้งคณะภายหลังการแถลงนโยบาย การยื่นญัตติในลักษณะนี้จะตัดเสียงของรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ไม่ให้มีสิทธิ
โหวตตามรัฐธรรมนูญมาตรา 177 วรรค 2 เพื่อให้โหวตแพ้ฝ่ายค้านและต้องพ้นจากการเป็นรัฐบาลทั้งคณะ

แต่ในกรณีเช่นนี้ก็เสี่ยงต่อการแลกหมัดของพรรคพลังประชาชนที่ยังครองเสียงข้างมากอยู่เช่นเดิม ซึ่งจะโหวตนายกรัฐมนตรีคนใหม่
เข้ามาแล้วประกาศยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่เพื่อให้ได้ ส.ส.มากกว่าเดิม ในกรณีที่มีการเลือกตั้งใหม่ภายในระยะเวลา 6 เดือน
ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินมีโอกาสพ่ายแพ้อย่างราบคาบ เนื่องจากเสบียงกรังที่เหลืออยู่เหมือน
น้ำในแก้ว ขณะที่พรรคพลังประชาชนยังมีเสบียงกรังไม่ต่างจากน้ำในเขื่อน เทออกมาเท่าไหร่ก็ไม่หมด

การเข้าร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ก็เพื่อยืดอายุสภาหรือเลื่อนเวลาการเลือกตั้งออกไป เพื่อให้มีโอกาสพักฟื้น แต่การเข้าร่วมรัฐบาล
ได้ทำให้เกิดภาพเชิงลบกับพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินในสายตาของคนกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ นายบรรหารจึงต้องประกาศ
ไม่สนับสนุนนายสมัคร เพื่อลดแรงเสียดทานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เหตุผลอีกประการหนึ่งในการเข้าร่วมรัฐบาล ถ้ายังจำกันได้ก่อนหน้านี้เคยปรากฏข่าว นายบรรหาร ได้รับการทาบทามจาก
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งเดินทางไปอังกฤษก่อนการเลือกตั้ง 2-3 เดือนในทำนองว่า พรรคพลังประชาชนพร้อมสนับสนุน
ให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายบรรหารได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวไป โดยอ้างความเกรงใจต่อบุคคลที่เคยนับถือมาตลอด 30 ปี

จนกระทั่งเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง พรรคพลังประชาชนได้ทาบทามให้พรรคชาติไทยเข้าร่วมรัฐบาล แต่นายบรรหารได้ยื่นข้อเสนอ
5 ประการ โดยเฉพาะเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในครั้งนั้นนายบรรหารถูกนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค
พลังประชาชนตอกกลับโดยยกเอาเรื่องการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงกว่านายบรรหารมาคุยข่ม

ไม่ได้ทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว แถมยังต้องไปทนกินน้ำใต้ศอกของผู้ที่เคยคุยข่ม การเข้าร่วมรัฐบาลครั้งนี้อาจจะมีแผนอะไร
ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะแผนม้าไม้เมืองทรอย

นั่นคือ การเข้าไปเป็นตัวสอดแทรก เพราะดูจากจำนวนตัวเลข ส.ส.ของแต่ละพรรค ไม่ว่าพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดิน
จะไปเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ขั้วของพรรคพลังประชาชนซึ่งรวมกับอีก 3 พรรคเล็ก ก็จะมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งเล็กน้อย หรือ
ประมาณ 250 เสียงเช่นเดิม หากพรรคชาติไทยและพรรคเพื่อแผ่นดินพลิกไปทางไหน การเมืองก็จะพลิกไปทางนั้น โดยเฉพาะ
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ

การประกาศร่วมรัฐบาล แต่จะไม่โหวตสนับสนุนให้นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี อาจเป็นการต่อเชื้อชนวนไว้สำหรับการเดินแต้ม
ในอนาคต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

อย่าลืมว่าในพรรคพลังประชาชนเองก็มีปัญหาเรื่องการสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน เพราะ ส.ส.ส่วนหนึ่ง
เกรงว่าท่าทีที่แข็งกร้าว และปฏิกิริยาไม่เอาพรรคพลังประชาชนของคนกรุงเทพฯ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง
ขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้นายสมัครยังเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม. ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนของ คตส.
ได้ชี้มูลไปแล้ว หากเกิดอะไรขึ้นกับหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็เกรงจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของพรรคไปด้วย

ขณะเดียวกัน ส.ส.อีกฝ่ายหนึ่งได้แสดงท่าทีสนับสนุนนายสมัครอย่างเด่นชัดก็แบ่ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกนิยมชมชอบนายสมัคร
เป็นทุนเดิม แต่อีกกลุ่มหวังเป็น “ตาอยู่” ในกรณีที่นายสมัครถูกเตะตัดขาจนตกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ก็จะฉวยโอกาสนี้สนับสนุนให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามารับตำแหน่งแทน โดยวางแผนเตรียมให้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทน
ส.ส.นครพนม 1 คน ที่ยอมลาออกเพื่อเปิดทางให้หัวหน้าพรรคคนใหม่

ส.ส.กลุ่มนี้หวังว่าเมื่อ พล.อ.ชวลิต เข้ามาเป็นผู้นำคนใหม่ จะทำให้ขั้วอำนาจในพรรคพลังประชาชนเปลี่ยนแปลงไป
อันจะมีผลทำให้เกิดการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่

การแสดงท่าทีไม่สนับสนุนนายสมัครให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของนายบรรหาร อาจช่วยกระพือไฟความขัดแย้งในพรรคพลังประชาชน
ให้ลุกโชนเร็วขึ้น ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน.
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #1 เมื่อ: 20-01-2008, 14:50 »

ถ้า ปชป พร้อมใจโหวตให้บรรหารคงสนุกพิลึก
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 20-01-2008, 18:49 »

ถ้า ปชป พร้อมใจโหวตให้บรรหารคงสนุกพิลึก

อาการคุณบรรหารแปลกๆ ครับ ไม่ยอมเอ่ยปากหนุนคุณสมัครเป็นนายกฯ
บอกแต่ว่าให้ไปดูในสภา จะเล่นอะไรกันนี่
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 20-01-2008, 18:58 »

ย้อนนึกดูอาการคุณสมัครก็ประหลาดๆ แค่สื่อถามว่าใครเป็นนายกฯ ก็โมโห
ฝ่ายคุณบรรหารก็ไม่ยอมไปร่วมแถลงจัดตั้งรัฐบาลเสียด้วย

..อันนี้เป็นข่าวตอนแถลงร่วมกับพรรคเพื่อแผ่นดินครับ..

ถ้าไม่เห็นชื่อนึกว่าคุณสมัครเป็นคนตอบ อาการมันติดต่อกันได้ด้วยหรือ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
'เติ้ง' ฉุน เครียด สื่อซักกั๊กหนุน 'หมัก'?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=17235&catid=46
วันที่ 19 มกราคม 2551 เวลา 11:04:01 น.

ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักกับอาการ 'น็อตหลุด' ของ 'นายบรรหาร ศิลปอาชา' หัวหน้าพรรคชาติไทย (ชท.)
แม้จะเข้าสู่ 'วัยทอง' หลายปีแล้วก็ตาม แต่พอเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ตั้งรัฐบาล 'บุรุษวัย 75' กลับแสดงอาการ 'เม้งแตก'
ใส่สื่อหลายครั้ง

โดยเหตุการณ์ที่เป็นที่โจษขานสุด หนีไม่พ้น การตะเพิดผู้สื่อข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ออกจากที่ทำการพรรคชาติไทย
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม หลังยิงคำถามจี้ใจดำกรณีปรากฏข่าวต่อรองขอตำแหน่งนายกฯ คนที่ 25

หลังจากนั้นนายบรรหารก็พยายามสงบปากสงบคำ งดให้สัมภาษณ์ยาวๆ

กระทั่งช่วงค่ำของวันที่ 17 มกราคม ชท. มีคิวแถลงร่วมกับ พผ. ที่โรงแรมปาร์ค นายเลิศ ถนนวิทยุ โดยมีทั้ง
'แกนนำ-แกนตาม' ร่วมเป็นสักขีพยานอย่างพร้อมเพรียง

นายบรรหาร : ขอนมัสการสื่อมวลชนทุกคน ผมเป็นใบ้ไป 2 สัปดาห์กว่า เพราะสื่อมวลชนพยายามสอบถามผมเรื่องการเมือง
แต่พอบอกว่าต้องรอให้ครบ 15 วันก่อน (ก่อนจะร่ายยาวถึงที่มาที่ไปในการจับมือของ 2 พรรค ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2550
พร้อมยกสมการการเมือง และเหตุผลอื่นๆ ขึ้นมาอธิบาย)...ขอประกาศต่อประชาชนและสื่อมวลชนว่า ชท. และ พผ.ซึ่งมี 61 เสียง
ยินดีจะเป็นรัฐบาลร่วมกับ พปช.

ผู้สื่อข่าว : จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค พปช. เป็นนายกฯ หรือไม่

นายบรรหาร : 'ไม่ใช่ ผมบอกให้จัดรัฐบาล อย่าลงลึก ต้องโหวตเลือกประธานสภาก่อน'

(จากนั้นก็ชิงยุติการขยายความเพิ่มเติมด้วยการส่งไมค์ให้ 'นายสุวิทย์ คุณกิตติ' หัวหน้าพรรค พผ. ใช้เวลา 3 นาที)

ผู้สื่อข่าว : ขณะนี้ พปช. ยังไม่ตอบรับเงื่อนไข 5 ข้อเป็นทางการ เหตุใดจึงมั่นใจจะร่วมงานด้วย

นายบรรหาร : การตอบตกลงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ อาศัยคำพูดก็ได้ เมื่อเขารับรองกับแกนนำของ 2 พรรคแล้ว เราก็ต้องให้เกียรติ

ผู้สื่อข่าว : หาก พปช. ผิดเงื่อนไข จะถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาลหรือไม่


นายบรรหาร : เหตุยังไม่เกิด

(จากนั้นก็มีคำถามหลากหลายจากผู้สื่อข่าวหลายคน อาทิ การพูดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์ การจัดสรรโควต้ารัฐมนตรี ฯลฯ ซึ่งนายบรรหารได้ตอบคำถามด้วยสีหน้าเรียบเฉย)

ผู้สื่อข่าว : ขอทราบจุดยืน 2 พรรค ต่อการสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯ


นายบรรหาร : มันก้าวไปไกลเกินไปแล้วมั้ง

ผู้สื่อข่าว :
โดยหลักการนายสมัครเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมาก ควรสนับสนุนหรือไม่


นายบรรหาร : ผมบอกแล้วว่าต้องไปโหวตในสภา

ผู้สื่อข่าว : พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ บอกว่านายสมัครเหมาะสม

นายบรรหาร : ไม่ตอบ

ผู้สื่อข่าว : ไม่ตอบ แสดงว่าไม่สนับสนุนใช่หรือไม่

นายบรรหาร : หนูอยู่ฉบับไหน ถามหาเรื่องไม่ดีนะ ไม่ดี

(ขณะเดียวกันมีการถามคำถามจากผู้สื่อข่าวรายอื่นในอีกมุมหนึ่งของห้อง เพื่อถามนายสุวิทย์ ในระหว่างนั้น

นายบรรหารได้หันมามองหน้าผู้สื่อข่าวคนเดิมที่ถาม)

นายบรรหาร : หนูอยู่ฉบับไหน ถ้าบอกผมมา ผมจะตอบคำถามให้

ผู้สื่อข่าว : ประชาชาติธุรกิจ


นายบรรหาร : อ๋อ ประชาชาติฯ พวกเดียวกับมติชน วันก่อนก็ถามผมไม่ดีเลย ผมจะบอกให้นะว่าเรื่องนายกฯ มันต้องโหวตในสภาฯ เป็นเรื่องของผู้แทนฯ ผมจะไปตอบแทนได้ยังไง เข้าใจนะ

ผู้สื่อข่าวอีกคนถาม : เหตุใดจึงมั่นใจในคำพูดแกนนำ พปช. มากกว่าพฤติกรรมที่แสดงออก

นายบรรหาร : ผมตอบจบไปแล้ว อย่าย้ำ ผมตอบจบแล้ว

(เวลาผ่านไป มีคำถามใหม่แทรกเข้ามา แต่ตอบไปได้ 1-2 คำถาม นายบรรหารยังติดใจกับคำถามผู้สื่อข่าวก่อนหน้านี้)

นายบรรหาร : หนูที่ถามเมื่อกี้อยู่ฉบับไหน

ผู้สื่อข่าว : มติชน

นายบรรหาร : อ๋อ มติชนอยู่กับประชาชาติ เดี๋ยวผมต้องพูดกับผู้ใหญ่คุณแล้ว ถ้าคำพูดคนมันเชื่อถือไม่ได้ จะเชื่อในอะไร มันไม่มีความจริงใจกันแล้ว

ผู้สื่อข่าว : เห็นนายสมัครออกมาพูดถึงมือสกปรก มือที่มองไม่เห็น จึงสงสัยว่า 2 พรรคนี้ติดใจพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า

นายบรรหาร : อย่าให้ผมตอบทะเลาะกับใครเลย ไม่เอา

ผู้สื่อข่าว : ในเมื่อ พปช. ได้เสียงข้างมาก ทำไมจึงไม่มีประกาศสนับสนุนหัวหน้า พปช. เป็นนายกฯ

นายบรรหาร : คุณถามใคร

ผู้สื่อข่าว : ถามหัวหน้าพรรคทั้ง 2 คน

นายบรรหาร : ดี งั้นให้สุวิทย์ตอบ

(พอนายสุวิทย์ตอบจบ)

นายบรรหาร : ผมรู้สึกจะถูกรุกไล่แล้ว เนื้อหาที่แถลงก็ครบถ้วนแล้ว ขอยุติการให้สัมภาษณ์แค่นี้ (จากนั้นก็ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทันที)

เหล่านี้คืออาการ 'มึน เครียด เม้งแตก' ที่เกิดขึ้นกับนายบรรหาร ในเวลาเพียง 20 นาที ที่ถูกยิงคำถามจากสื่อมวลชน!!!
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Familie
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369



« ตอบ #4 เมื่อ: 20-01-2008, 19:04 »

ใช่ครับ ช่วงนี้ต้องจับตาดูคุณบรรหารให้ดี
แกคือตัวแปรหรือตัวป่วนของการเมืองช่วงนี้
การเมืองช่วงนี้จะพลิกผันไปอย่างไร อยู่ที่ท่าทีของคุณบรรหาร
บันทึกการเข้า


บรรพบุรุษ ของไทย แต่โบราณ      ปกบ้าน ป้องเมือง คุ้มเหย้า
เสียเลือด เสียเนื้อ มิใช่เบา           หน้าที่เรา รักษา สืบไป
ลูกหลาน เหลนโหลน ภายหน้า      จะได้มี พสุธา อาศัย
อนาคต จะต้องมี ประเทศไทย       มิยอมให้ ผู้ใด มาทำลาย
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 20-01-2008, 19:16 »

หากจะอ่านกันอีกมุมหนึ่ง

อาการของนายบรรหาร เป็นอาการที่มาจากรีโมทคอนโทรล ซึ่งกดสั่งงานมาจากฮ่องกง

การหักดิบนายสมัครนั้น ขณะนี้อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคได้ แต่การยอมให้นายสมัครเป็นนายก ก็คาดเดาอนาคตไม่ได้เช่นกัน การสั่งนายสมัครก่อนได้เป็นนายก กับหลังเป็นนายกแล้ว มันคนละเรื่องกัน

การรวมกันของหกพรรคการเมือง หากตัดพรรคใหญ่ออกไปแล้ว อีกห้าพรรคที่เหลือนั้น จะรวมกับใครก็ได้ ขอให้ได้เป็นรัฐบาลก็แล้วกัน ไม่มีอุดมการอะไร มีแต่อุดมกิน

คนที่จะสั่งนายบรรหารได้ ไม่อาจสั่งด้วยความนับถือหรือเกรงใจ สั่งได้ด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทนเท่านั้น และคนที่มีศักยภาพสั่งได้ในตอนนี้ มีคนเดียวหรือสองคน แต่ตามกฎหมายเขาถือว่าเป็นคนคนเดียวกัน

ขอเดาว่า นายกรัฐมนตรี ที่พรรคใหญ่ต้องการนั้น มีชื่อนำหน้าว่า ส.เสือ แต่ไม่ใช่หมักหมม บรรหารจึงเป็นหมากตัวหนึ่ง ที่ถูกจับมาเดิน เพื่อหักกันในพรรคใหญ่เท่านั้นเอง 
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20-01-2008, 21:17 »

ดูเหมือนว่าแกจะกระสันต์อยากเป็นรัฐบาลมากกว่าทำเพื่อชาติบ้านเมืองจริงๆนะครับ

นักการเมืองมักทนอดอยากปากแห้งไม่ไหว

แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน ถ้ารัฐบาลส่อเค้าจะไม่รอด ป๋าเติ้งอาจเปลี่ยนสีได้ทันที

แต่ป๋าเติ้งก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะได้ร่วมพรรครัฐบาลอื่นๆอีกแน่นอนในฐานะพรรคทางเลือกที่สาม

การเมืองจึงไม่มีมิตรแท้ไม่มีศัตรูถาวรด้วยประการฉะนี้แล
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


หน้า: [1]
    กระโดดไป: