ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
16-04-2024, 15:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  ปี่แก้ว นางหงส์ พระอภัยมณี วรรณกรรมไทย เกี่ยวกับปี่...มีกี่เรื่องครับ.. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ปี่แก้ว นางหงส์ พระอภัยมณี วรรณกรรมไทย เกี่ยวกับปี่...มีกี่เรื่องครับ..  (อ่าน 18230 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 19-01-2008, 22:19 »




ตั้งกระทู้ ไว้ก่อน เดี๋ยวไปดูตอนอวสานก่อน..
บันทึกการเข้า

Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 19-01-2008, 22:31 »



ตั้งกระทู้ ไว้ก่อน เดี๋ยวไปดูตอนอวสานก่อน..

ติดละครเรื่องนี้เหมือนแฟนผมเลย ฮ่าๆๆๆ


เค้านั่งดูไป แล้ว ก็นั่งด่าทั้งผี ทั้งคน ว่าโง่เนอะ

แต่ก็ไม่เลิกดูซะที

ฮ่าๆๆๆ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19-01-2008, 22:36 »

ติดละครเรื่องนี้เหมือนแฟนผมเลย ฮ่าๆๆๆ


เค้านั่งดูไป แล้ว ก็นั่งด่าทั้งผี ทั้งคน ว่าโง่เนอะ

แต่ก็ไม่เลิกดูซะที

ฮ่าๆๆๆ

ชอบเห็นคนรักกันอะครับ
 

ละคร ปี่แก้วนางหงส์  http://entertainment.hunsa.com/view.php?cid=35677&catid=16
 




ในยุคสมัยที่บ้านเมืองถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมตะวันตก จนศิลปะไทยหลายแขนงถูกกลืนหายไปไม่พ้นแม้แต่วงมโหรีของ  พระยาพิชัยเดชา(สมภพ)  ผู้สืบทอดศิลปะดนตรีไทยที่ต้องยุบวงมโหรีปี่พาทย์ และส่งหัวหน้าวง นายพ่วง(ต้น-จักรกฤช) นางเพียร(รัชนี) และลูกน้องทั้งหมดกลับเมืองสุพรรณบุรีก่อนไป พิกุล(เอ๊ะ-อิศริยา)  ลูกสาวของนายพ่วงได้พบรักกับ คุณราช(แดน-วรเวช) ลูกชายคนเดียวของท่านพระยาพิชัยเดชา  เช่นเดียวกับ สิน(กิก-ดนัย)  มือฆ้องประจำวงที่แอบรักพิกุลเหมือนกัน เอื้อย(เฟิร์น-พิมพ์ชนก)ลูกสาวแม่สุดไม่ชอบพิกุลเพราะหลงรักสิน 

 สารภี(พลอย-ชิดจันทร์) ลูกสาวคนโตของ เจ๊กพ้ง นายห้างเศรษฐีใหม่ สารภีมีคู่ปรับเป็นลูกสาวนายทหารใหญ่คือ หญิงดาว(ใหม่-สุคนธวา) กับ หญิงเดือน(แพง-พรรณชนิดา) พระยาพิชัยเดชาเบื่อความเจ้าชู้ของคุณราชจึงจะจับแต่งงานกับสารภี เมื่อคุณราชรู้ก็ให้ มุด(ต่อ-เรืองฤทธิ์) บ่าวคนสนิทพาหนีไปบ้านนายพ่วง  คุณราชโกหกนายพ่วงว่าพ่อส่งมาเรียนดนตรี เพราะคุณราชอยากเป็นเจ้าของพิกุล จึงยอมสาบานกับพิกุลว่าหากตนหมดรักพิกุลวันใด ขอให้ตายด้วยคมดาบคมหอกและอาวุธทุกอย่าง  คุณราชแกล้งสินด้วยการขอนายพ่วงเล่นฆ้องแทนสิน อ้วน(ปอย-ณภัทร)และ อ้น(แชมป์-ธนพล) เพื่อนสนิทของสินไม่พอใจจึงหาทางทำร้ายคุณราช นายพ่วงโกธรมากที่รู้ว่าพิกุลชอบพอกับคุณราช ต่างกับนางเพียรที่อยากได้เขยเป็นลูกพระยา 

เพราะคุณสารภีรู้ว่าคุณราชมีใจกับพิกุล จึงใช้พิกุลทำงานหนักจนทุกคนสงสาร  สินพยายามเตือนพิกุลเรื่องความเจ้าชู้ของคุณราชแต่พิกุลไม่เชื่อ  คุณราชโกหกพิกุลว่าถูกพ่อบังคับให้แต่งงาน ทำให้พิกุลใจอ่อนยอมเป็นของคุณราช   วันหมั้นของคุณราชกับสารภี ท่านพระยาพิชัยเดชาสั่งให้พิกุลเป่าปี่แก้วกล่อมหอความผิดหวังทำให้พิกุลเป่าปี่แก้วจนกระอักเลือดตาย  สินโมโหตามไปสาปแช่งคุณราชที่ทรยศต่อความรักของพิกุล ขาดคำฟ้าก็ผ่าใส่ร่างคุณราชจนตาย 

 

ส่วนคุณสารภีก็จมน้ำตาย เหลือแต่ท่านพระยาที่หนีรอดไปได้ สินหัวใจสลายฝังร่างของพิกุลพร้อมกับปี่แก้วไว้ใต้ต้นพิกุล  เพราะเขารู้ดีว่าวิญญาณของพิกุลคงอยากจะรอคุณราชอยู่ที่นี่  บ้านของนายพ่วงถูกท่านพระยาส่งคนมาเผาด้วยความแค้นที่ต้องเสียลูกชาย ....ไม่มีวงมโหรีอีกต่อไป...จะมีก็แต่เสียงปี่แก้วที่ยังคงดังโหยหวนอยู่ทุกค่ำคืนจากท่าน้ำใต้ต้นพิกุล       

พ.ศ. 2550 นิราช(แดน-วรเวช)   นักกฎหมายหนุ่มของบริษัทก่อสร้างร่วมทุนขนาดใหญ่ของประเทศ   นิราชหมั้นกับ นิสา(พลอย-ชิดจันทร์) สองปีแล้วแต่ยังไม่ได้แต่งเพราะยุ่งกับงาน   นิสาเข้าใจคู่หมั้นเพราะนิราชสัญญาว่าหลังจากสร้างสะพานเสร็จเขาจะแต่งงานกับนิสาทันที  นิราชมาที่สุพรรณฯ เพื่อเจรจากับชาวบ้านที่ต่อต้านการสร้างสะพานนิราชมาพักอยู่ที่บ้านของ กำนันบุญนำ(ต่อเรืองฤทธิ์) เพื่อปรึกษาปัญหาชาวบ้าน  กำนันบุญนำเตือนให้ระวังสินธร(กิก-ดนัย)  หัวโจกของบรรดาชาวบ้านที่ต่อต้านการสร้างสะพาน นิราชมายืนใต้ต้นพิกุลเสียงปี่แก้วทำให้นิราชปวดหัวจนหมดสติ  พอนิราชฟื้นก็เจอนายพ่วงแสดงท่าทีไม่พอใจ แถมยังโดนพวกมโหรีรุมทำร้าย โชคดีที่พิกุลออกมาห้ามไว้ก่อน พิกุลร้องไห้และก้มกราบเท้านิราช   พิกุลเป่าปี่แก้วให้นิราชฟัง แต่นิราชกลับปวดหัวจึงขอให้พิกุลหยุดเป่าปี่แต่พิกุลไม่ยอม ทำให้นิราชหมดสติอีกครั้ง

กำนันบุญนำมีลูกสาวสองคน คือ ปลายรุ้ง(ใหม่-สุคนธวา)กับสายสร้อย(แพง-พรรณชนิดา)ทั้งคู่ตกหลุมรักนิราช เมื่อนิราชถามหาบ้านโบราณหลังนั้นแต่กำนันบุญนำไม่ตอบ สองพี่น้องอยากเอาใจจึงเล่าประวัติบ้านผีให้ฟังแต่เล่าผิดๆ ถูกๆ  นิราชไม่เชื่อจึงไปที่บ้านต้นพิกุลเพื่อบอกว่าต้องรื้อบ้านหลังนี้  นิราชค้างที่บ้านพิกุลทำให้นิราชได้ยินเสียงวงมโหรีซ้อม และเห็นพิกุลทะเลาะกับนายพ่วงและนางเพียร โดยหารู้ไม่ว่าทั้งคู่ต้องการฆ่านิราชด้วยความแค้นจากอดีต นิราชติดอยู่ในเรือนพิกุลไม่สามารถออกมาได้ 

   

   

ยิ่งนานวันนิราชก็ยิ่งถูกมนต์สะกดของพิกุลจนสติเลอะเลือน พิกุลกับนิราชเล่นดนตรีคู่กันอย่างมีความสุข  ท่ามกลางความอาฆาตพยาบาทของเหล่าวิญญาณที่คิดจะฆ่านิราชทุกครั้งที่พิกุลเผลอ  สินธรเห็นนิราชอยู่ในเรือนพิกุลแต่เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน  กำนันบุญนำตัดสินใจเป็นคนบุกเข้าไปช่วยแต่ถูกทำร้ายจนตกเรือน 

นิสาที่อยู่กรุงเทพฯรู้สึกเป็นห่วงนิราชจึงไปหาแม่ชีที่วัด แม่ชีนั่งสมาธิและรู้สึกถึงความมืดดำที่กำลังรุมล้อมนิราชอยู่    นิสาไปหานิราชที่สุพรรณฯ รุ้งกับสร้อยไม่พอใจที่รู้ว่านิสาเป็นคู่หมั้นของนิราช จึงหลอกให้นิสาไปตามนิราชที่เรือนพิกุล เมื่อพิกุลเห็นนิสาก็อาละวาดจับนิสาล่ามโซ่และเฆี่ยนตีเหมือนกับที่เคยถูกคุณสารภีทำร้ายในอดีต   กำนันบุญนำไปตามนิสาแต่ก็ถูกเสียงปี่แก้วและมโหรีขับไล่จนไม่มีใครกล้าเข้าไป   สินธรช่วยนิราชหนีออกมาได้สำเร็จ   ส่วนนิสาถูกพิกุลขังไว้ในเรือนและถูกทรมานสมกับความเลวของเธอชาติก่อน

สินธรเล่าให้นิราชฟังว่าหลวงปู่ทวดสั่งให้มาหาปี่แก้วที่เรือนพิกุล  แต่เขายังหาไม่เจอจึงต้องการปกป้องเรือนพิกุลจนกว่าจะหาปี่แก้วเจอ สินธรที่นิราชถูกดึงดูดไปที่เรือนพิกุลแสดงว่าเขาต้องเกี่ยวข้องกับวิญญาณในเรือน   แม่ชีภาวนาจิตพบว่าชาติที่แล้วนิราชและนิสาร่วมกันก่อกรรมไว้ที่เรือนพิกุล แม่ชีมาที่หลุมศพของพิกุลเพื่อขอให้ปล่อยวางความพยาบาทจากชาติที่แล้ว นิราชแกล้งทำเป็นหลงมนต์ของพิกุลเพื่อให้สินธรไปตามหานิสา นิราชไม่สามารถเล่นฆ้องได้ ทำให้พิกุลรู้ว่านิราชโกหกเธอเหมือนในอดีต นิราชยอมให้พิกุลทำร้ายเพื่อถ่วงเวลาให้สินธรพานิสาหนี   

กำนันบุญนำมาเผาเรือนพิกุล แต่เมื่อนิราชได้รู้สิ่งที่เขาเคยทำไว้กับพิกุลในชาติที่แล้ว นิราชจึงตัดสินใจยอมรับกรรมอยู่ในเรือนพิกุลแห่งนี้  แม่ชีพยายามขอให้พิกุลปล่อยตัวนิราช เพราะอยู่คนละภพคนละชาติ  ด้วยความรักนิสาวิ่งฝ่ากองไฟเข้าไปช่วยนิราช   

พลังความรักของ “นิสา” ที่มีต่อ “นิราช” ในชาติปัจจุบัน จะสามารถลบล้างบาปกรรม และแรงอาฆาตแค้นของ “พิกุล” ได้หรือไม่  ใครคือผู้ที่จะลบล้าง “เวรกรรม”  ครั้งนี้

 ติดตามชมละคร “ปี่แก้วนางหงส์” หลังข่าวช่อง 3 ทุกวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์  เวลา 20.30 - 22.00 น.
 

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 19-01-2008, 22:46 »



ปี่แก้วนางหงส์ 3
http://youtube.com/watch?v=LwzZTWMdLTs




<<< รายชื่อนักแสดงจากละคร ปี่แก้วนางหงส์ >>>

แดน - วรเวช ดานุวงศ์ รับบทเป็น คุณราช , นิราช
กิก - ดนัย จารุจินดา รับบทเป็น สิน , สินธร
เอ๊ะ - อิสริยา สายสนั่น รับบทเป็น พิกุล
พลอย - ชิดจันทร์ รุจิพรรณ รับบทเป็น คุณสารภี , นิสา
แพง - พรรณชนิดา ศรีสำราญ รับบทเป็น หญิงเดือน , สร้อยสาย
ใหม่ - สุคนธวา เกิดนิมิตร รับบทเป็น หญิงดาว, ปลายรุ้ง
 เฟริ์น - พิมพ์ชนก พลบูรณ์ รับบทเป็น เอื้อย
ปอย - ณภัทร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รับบทเป็น อ้น
แชมป์ - ธนพล แย้มพรายภิรมย์ รับบทเป็น อ้วน
สมภพ เบญจาทิกุล รับบทเป็น เจ้าพระยาพิชัยเดชา
อี๊ด - ดวงใจ ฤทัยกาญจน์ รับบทเป็น ท่านผู้หญิงเกสร
ต้น - จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รับบทเป็น นายพ่วง
รัชนี ศิระเลิศ รับบทเป็น นางเพียร
วิสรรค์ ฉัตรรังสิกุล รับบทเป็น เจ็กพ้ง
แพรพลอย โอรี รับบทเป็น พุดกรอง
ต่อ - เรืองฤทธิ์ วิศมล รับบทเป็น มุด , กำนันบุญนำ
เมตตา รุ่งรัตน์ รับบทเป็น แม่สร้อย
หงส์ - สุชาดา พูนพัฒนสุข รับบทเป็น                    สุนี

<<< นักแสดงนำละคร ปี่แก้วนางหงส์ >>>



 วรเวช ดานุวงศ์ รับบทเป็น :: คุณราช, นิราช :: หนุ่มหล่อหน้าตาดี มีเสน่ห์ เชื่อมั่นในตัวเองสูง ลูกชายของพระยาพิชัยเดชา จบการปกครองจากเมืองนอก นิสัยเจ้าชู้ รักสนุก เห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก ชอบแก้ปัญหาด้วยวิธีผิด ๆ

 


 ดนัย จารุจินดา รับบทเป็น :: สิน, สินธร :: ชายหนุ่มผู้ซื่อสัตย์ ใจคอกล้าหาญ อยู่กับวงมโหรีมาตั้งแต่เด็ก มีฝีมือในการตีฆ้องนางหงส์ คอยดูแลปกป้องพิกุลจนกลายเป็นความรัก แต่เป็นรักข้างเดียวเพราะพิกุลมีใจให้กับคุณราชเท่านั้น

 


 อิสริยา สายสนั่น รับบทเป็น :: พิกุล :: สาวสวยจากต่างจังหวัด นิสัยซื่อสัตย์ อ่อนโยน มีหน้าที่เป่าปี่แก้วในวงมโหรี บูชาความรักแม้จะถูกทรยศก็ตาม แต่วิญญาณยังรอคอยคุณราชตามคำสัญญา

 


 ชิดจันทร์ รุจิพรรณ รับบทเป็น :: คุณสารภี, นิสา :: ลูกสาวนายห้างชื่อดัง หัวสูง มีความสวยเป็นที่เลื่องลือ เก่ง ฉลาด เชื่อมั่นในตัวเองสูง ชอบการเอาชนะ อยากได้อะไรต้องได้ จบการศึกษาจากต่างประเทศ

 


 สุคนธวา เกิดนิมิตร รับบทเป็น :: หญิงดาว, สร้อยสาย :: แฝดผู้พี่ หญิงสาวสวยฉลาดแกมโกง รังเกลียดคนจน ชอบเอาชนะ ชอบออกงานสังคมเพื่อจับผู้ชาย

 
                                   
 พรรณชนิดา ศรีสำราญ รับบทเป็น :: หญิงเดือน, ปลายรุ้ง :: แฝดผู้น้อง นิสัยเดียวกัน รักสวย รักงาม ใจเสาะ ชอบแก่งแย่งชิงดีกับพี่สาว
 

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19-01-2008, 23:38 »



Search Results for “ปี่แก้วนางหงส์”

http://youtube.com/results?search_type=search_videos&search_query=%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C&search_sort=relevance&search_category=0&search=Search&v=&uploaded=&filter=1&page=1



Ost.ปี่แก้วนางหงส์ - ภพรัก.mp3
http://www.esnips.com/nsdoc/4a848aab-4202-4a9f-9c00-2eec5460c293/?id=1200759826093







http://variety.mcot.net/inside_novel_type.php?novell_type=59
ปี่แก้วนางหงส์ 06/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 13/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 12/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 11/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 10/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 09/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 08/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 07/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 06/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 04/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 03/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 02/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 01/01/2551
 ปี่แก้วนางหงส์ 31/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 30/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 29/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 28/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 27/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 26/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 25/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 24/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 23/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 22/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 21/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 20/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 19/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 18/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 17/12/2550
 แก้วนางหงส์ 16/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 15/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 14/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 13/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 12/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 10/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 09/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 08/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 07/12/2550
 ปี่แก้วนางหงส์ 06/12/2550
 


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 20-01-2008, 01:11 »


วีดิทัศน์
ประกอบการเรียนการสอน


http://www.bmaeducation.in.th/download/veditus.doc
ผู้ชำนาญปี่  พระสังข์  สุวรรณสาม        115         วรรณคดี  และวรรณกรรม

ท่านใดที่ประสงค์ ขอยืมหรือสำเนาวีดิทัศน์ ติดต่อที่
ฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
กองวิชาการ  สำนักการศึกษา
ถนนลาดหญ้า  เขตคลองสาน
กรุงเทพฯ  10600 โทร. 0 2437 6636
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20-01-2008, 01:25 »

ปี่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ปี่ เป็นเครื่องดนตรีไทยแท้ ๆ ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทนอีก 8 เสียง รวมเป็น 32 เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม. กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความ แน่นกระชับยิ่งขึ้น

ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิดดังนี้

ปี่นอก มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 3.5 ซม. เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม เสียงของปี่นอกจะมีเสียงที่เล็กแหลม
ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ำเกินไปาแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง
ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 41 – 42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม. เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้สำหรับเป่าให้นางผีเสื้อสมุทร (ในวรรณกรรมของสุนทรภู่) ขาดใจตายนั่นเอง โดยเสียงของปีในจะเป็นเสียงที่ต่ำ และเสียงใหญ่



..................



ปี่
         เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ตามปรกติ "เลาปี่" ทำด้วยไม้แก่นหรือไม้จริง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง ต่อมามีผู้นำวัตถุอย่างอื่นมาทำเลาปี่เช่น งา ศิลา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ช่วงกลางป่อง เจาะภายในกลวงตลอด ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่ ใช้งา ชัน หรือวัตถุอย่างอื่นมาหล่อเสริมตอนหัวและตอนท้ายขึ้นอีกประมาณข้างละ0.5 ซม. เรียกว่า "ทวน" ทางหัวเรียกว่า "ทวนบน" และทางท้ายเรียกว่า "ทวนล่าง"

         ช่วงป่องกลางนั้นเจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงเรียงลงมาตามข้างเลาปี่ 6 รู คือ รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู แล้วเว้นระยะเล็กน้อยเจาะรูล่างอีก 2 รู ตอนกลางเลามักกลึงควั่นเป็นเกลียวคู่ 14 คู่ไว้ระยะพองาม และตอนหัวท้ายตรงคอดเล็กควั่นอีกข้างละ 4 เกลียว เกลียวควั่นเหล่า นี้กันลื่น และทำให้รูปของปี่สวยงามขึ้น ที่รูเป่าตอนทวนบนใส่ลิ้นปี่

          สำหรับเป่า ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลซ้อน4 ชั้น ตัดกลมผูกติดกับท่อลมเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า "กำพวด" กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอื่น ๆ มีลักษณะเรียว ยาวประมาณ 5 ซม. วิธีผูกเชือกให้ลิ้นใบตาลติดกับกำพวดนั้นเรียกกันว่า "ผูกตะกรุดเบ็ด" หัวกำพวดที่จะสอดเข้าไปในช่องทวนบนโตกว่าทางปลายที่ผูกลิ้นใบตาลเล็กน้อย และมักใช้ถักหรือเคียนด้วยเส้นด้ายสอดเข้าไปในเลาปี่พอมิดที่พันด้าย

         ปี่ชนิดนี้แต่เดิมคงจะใช้เป่านำวงดนตรี และใช้กับวงเครื่องตีเป็นพื้น จึงเรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า "วงปี่พาทย์" แต่ก่อนวงดนตรีวงหนึ่ง ๆ ใช้ปี่เพียงเลาเดียวสำหรับบรรเลงประกอบการเล่นหนังใหญ่ การแสดงโขน ละครนอก ซึ่งผู้ชายเป็นผู้แสดง

         ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงละครในโดยใช้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงและปรับปรุงโขนเป็นอย่างโขนโรงในขึ้น จึงแก้ไขเครื่องดนตรีให้เหมาะสม โดยเฉพาะปี่ที่ใช้เป่ากันมาแต่ก่อนนั้นได้แก้ไขขนาดและปรับเสียงใหม่ให้มีเสียงใหญ่และนุ่มนวลขึ้น

         เรียกปี่ที่แก้ไขใหม่นี้ว่า "ปี่ใน" และเรียกปี่ที่ใช้อยู่เดิมว่า "ปี่นอก" ส่วนปี่ทีใช้เป่าประกอบการ เล่นหนังใหญ่ ซึ่งมีขนาดและสำเนียงอยู่กลางระหว่างปี่นอกกับปี่ในนั้น เรียกว่า "ปี่กลาง" ปี่ของไทยจึงมีขึ้นเป็น 3 ขนาด คือ

1. ปี่นอก ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 3.5 ซม.เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม เสียงของปี่นอกจะมีเสียงที่เล็กแหลม

2. ปี่กลาง ขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม.สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ำเกินไปาแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง

3. ปี่ใน ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 41-42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม.เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้สำหรับเป่าให้นางผีเสื้อสมุทร (ในวรรณกรรมของสุนทรภู่) ขาดใจตายนั่นเอง โดยเสียงของปีในจะเป็นเสียงที่ต่ำ และเสียงใหญ่








[แก้ไข] ประเภทของปี่ต่างๆ
[แก้ไข] ปี่ไฉน
         เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้ มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา จ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา








[แก้ไข] ปี่ชวา
         เป็นปี่สองท่อน รูปร่างลักษณะเหมือนปี่ไฉน แต่ย่าวกว่า ทำด้วยไม้หรืองา เนื่องจามีขนาดยาวกว่าปี่ไฉน จึงให้เสียงแตกต่างไปจานปี่ไฉน เข้าใจว่าไทยนำปี่ชวาเข้ามาใช้คราวเดียวกับ กลองแขก จากหลักฐานพบว่ามีการใช้ปี่ชวา ในกระบวนพยุหยาตรา ในสมัยอยุธยาตอนต้น

[แก้ไข] ปี่มอญ
         เป็นปี่สองท่อน เหมือนปี่ชวา แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า เลาปี่ทำด้วยไม้ ลำโพงทำด้วยโลหะ ใช้ บรรเลงในวงปี่พาทย์ มอญ หรือสมัยก่อนเรียกว่า ปีพาทย์รามัญ

[แก้ไข] ปี่ใน
         ปี่ใน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าแบบมีลิ้น เข้าใจว่าที่เรียกว่าปี่น่าจะเรียกตามเสียงที่ได้ยิน มีลักษณะรูปร่าง การเปิดปิดนิ้วเปลี่ยนเสียงและวิธีการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใดและใครเป็นคนสร้าง มีแต่เพียงข้อสันนิษฐาน ต่างๆเท่านั้น บ้างก็ว่าปี่ในมีพัฒนาการมาจากเรไร ซึ่งเป็นเครื่องเป่าแบบโบราณมีเสียงเดียว ทำจากไม้ซาง ๒ อัน เสียบเข้ากับลูกน้ำเต้า เพราะลักษณะของปี่ในที่ป่องตรง กลางอาจเป็นการรักษาลักษณะรูปแบบของลูกน้ำเต้า บ้างก็ว่าพัฒนามาจากการเป่าใบไม้และกอข้าวซึ่งยังปรากฏมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อความต้องการในการใช้งานมีมากขึ้น




[แก้ไข] ผู้ที่มีชื่อเสียงในการบรรเลงปี่ใน
ในอดีต

1. พระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร)

2. พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์)

3. พระยาเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม สุนทรวาทิน)

4. ครูเทียบ คงลายทอง

5. ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล

6. ครูจำเนียร ศรีไทยพันธ์

ในปัจจุบัน

1. อาจารย์บุญช่วย โสวัตร

2. อาจารย์ปี๊ป คงลายทอง

3. ครูกาหลง พึ่งทองคำ

4. ครูสะอิ้ง แก้วกระมล

5. อาจารย์อนันต์ สบฤกษ์




[แก้ไข] ลักษณะการนั่งเป่าปี่ที่ดี
ดังภาพ



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

-วิกีพีเดีย

-ดนตรีไทย

-images.google

-สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมไทย

-student.chula

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88"
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20-01-2008, 01:36 »

http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK23/chapter3/t23-3-l4.htm

วงปี่ชุม ประกอบด้วยวงปี่ ๓ลักษณะ
- ปี่ชุมสาม ใช้ปี่ ๓ เลา คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่สร้อย
- ปี่ชุมสี่ ใช้ปี่ ๔ เลา คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่สร้อย และปี่ตัด
- ปี่ชุมห้า ใช้ปี่ ๕ เลา คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ๒ เลา ปี่สร้อย และปี่ตัด
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20-01-2008, 02:00 »

อ้างถึง
http://www.grandprixgroup.com/new/magazine/xoauto/detail.asp?Detail_Id=1496&Column_Name=Knowledge

เพลง “เขมรปี่แก้ว” เนื้อเพลงตอนต้นมีดังนี้

“ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

พระจันทรจรสว่างกลางโพยม ไม่เทียมโฉมนางงามพี่พราหมณ์เอ๋ย แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน”



เรื่องปี่พระอภัยมีมาก ผมต้องขอเล่าเรื่องนี้ต่อไปอีก อย่าเพิ่งเบื่อก็แล้วกัน



ไก่อ่อน.
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 20-01-2008, 06:28 »


พระอภัยมณี
 
http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/apaimanee/apaimanee.htm



            วรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นคำประพันธ์ประเภทคำกลอนที่มีความไพเราะ และมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง ได้มีการพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ และได้มีการพิมพ์ เผยแพร่เป็นลำดับในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง
            ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องพระอภัยมณีเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาว แต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง
            หนังสือเรื่องพระอภัยมณี ผิดกับหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่งอยู่หลายประการ จะว่าไม่มีหนังสือเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาเปรียบก็ได้ เป็นหนังสือดีแปลกจากเรื่องอื่น ๆ  กลอนของสุนทรภู่ก็แปลกจากกลอนของกวีอื่นซึ่งนับว่าดีในสมัยเดียวกัน ความคิดและโวหารก็แปลกจากหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่ง และความที่คนทั้งหลายนิยมหนังสือพระอภัยมณีก็แปลกจากหนังสือเรื่องอื่น ๆ
            ข้อดีที่ยิ่งของหนังสือพระอภัยมณี อยู่ที่การแต่งพรรณนาอัชฌาสัยของบุคคลต่าง ๆ กันอย่างหนึ่ง คนไหนวางอัชฌาสัยไว้อย่างไรแต่แรก ก็คงให้อัชฌาสัยเป็นอย่างนั้นอยู่ทุกแห่งไปเมื่อกล่าวถึงในแห่งใด ๆ ต่อไปอีกอย่างหนึ่ง คำพูดจาว่ากล่าวกันด้วยความรักก็ดี ความโกรธแค้นก็ดี สุนทรภู่รู้จักหาถ้อยคำสำนวนมาว่าให้สัมผัสใจคน ใครอ่านจึงมักชอบจนถึงนำมาใช้เป็นสุภาษิต


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 20-01-2008, 20:56 »





อ่านวรรณคดีลำนำ
1 - ตำนานเกี่ยวกับกำเนิดวันสงกรานต์ ( คนอ่าน 27168 คน) ( คนแสดงความเห็น 531 คน) เปิดรับความคิดเห็น
2 - มานี มานะ (ป.1) บทที่ 21 ( คนอ่าน 26980 คน) ( คนแสดงความเห็น 110 คน) เปิดรับความคิดเห็น
3 - มานี มานะ (ป.1) บทที่ 22 ( คนอ่าน 26940 คน) ( คนแสดงความเห็น 41 คน) เปิดรับความคิดเห็น
4 - ตำนานวันวาเลนไทน์ ( คนอ่าน 27053 คน) ( คนแสดงความเห็น 468 คน) เปิดรับความคิดเห็น
5 - นางนพมาศ ( คนอ่าน 27030 คน) ( คนแสดงความเห็น 1060 คน) เปิดรับความคิดเห็น
6 - พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ( คนอ่าน 27034 คน) ( คนแสดงความเห็น 628 คน) เปิดรับความคิดเห็น
7 - เจ้าแม่กวนอิม ( คนอ่าน 27081 คน) ( คนแสดงความเห็น 842 คน) เปิดรับความคิดเห็น
8 - เปาบุ้นจิ้น ( คนอ่าน 27006 คน) ( คนแสดงความเห็น 820 คน) เปิดรับความคิดเห็น
9 - นิทานเวตาล เริ่มเรื่อง ( คนอ่าน 27057 คน) ( คนแสดงความเห็น 521 คน) เปิดรับความคิดเห็น
10 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 1 ( คนอ่าน 27047 คน) ( คนแสดงความเห็น 334 คน) เปิดรับความคิดเห็น
11 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 2 ( คนอ่าน 26960 คน) ( คนแสดงความเห็น 98 คน) เปิดรับความคิดเห็น
12 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 3 ( คนอ่าน 26936 คน) ( คนแสดงความเห็น 77 คน) เปิดรับความคิดเห็น
13 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 4 ( คนอ่าน 26938 คน) ( คนแสดงความเห็น 44 คน) เปิดรับความคิดเห็น
14 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 5 ( คนอ่าน 26940 คน) ( คนแสดงความเห็น 41 คน) เปิดรับความคิดเห็น
15 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 6 ( คนอ่าน 26945 คน) ( คนแสดงความเห็น 37 คน) เปิดรับความคิดเห็น
16 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 7 ( คนอ่าน 26930 คน) ( คนแสดงความเห็น 39 คน) เปิดรับความคิดเห็น
17 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 8 ( คนอ่าน 26930 คน) ( คนแสดงความเห็น 31 คน) เปิดรับความคิดเห็น
18 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 9 ( คนอ่าน 26929 คน) ( คนแสดงความเห็น 131 คน)
19 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 10 ( คนอ่าน 26942 คน) ( คนแสดงความเห็น 53 คน) เปิดรับความคิดเห็น
20 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 11 ( คนอ่าน 26954 คน) ( คนแสดงความเห็น 36 คน) เปิดรับความคิดเห็น
21 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 12 ( คนอ่าน 26941 คน) ( คนแสดงความเห็น 25 คน) เปิดรับความคิดเห็น
22 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 13 ( คนอ่าน 26930 คน) ( คนแสดงความเห็น 37 คน) เปิดรับความคิดเห็น
23 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 14 ( คนอ่าน 26926 คน) ( คนแสดงความเห็น 23 คน) เปิดรับความคิดเห็น
24 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 15 ( คนอ่าน 26922 คน) ( คนแสดงความเห็น 30 คน) เปิดรับความคิดเห็น
25 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 16 ( คนอ่าน 26934 คน) ( คนแสดงความเห็น 18 คน) เปิดรับความคิดเห็น
26 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 17 ( คนอ่าน 26928 คน) ( คนแสดงความเห็น 27 คน) เปิดรับความคิดเห็น
27 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 18 ( คนอ่าน 26923 คน) ( คนแสดงความเห็น 35 คน) เปิดรับความคิดเห็น
28 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 19 ( คนอ่าน 26925 คน) ( คนแสดงความเห็น 27 คน) เปิดรับความคิดเห็น
29 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 20 ( คนอ่าน 26925 คน) ( คนแสดงความเห็น 22 คน) เปิดรับความคิดเห็น
30 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 21 ( คนอ่าน 26928 คน) ( คนแสดงความเห็น 23 คน) เปิดรับความคิดเห็น
31 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 22 ( คนอ่าน 26934 คน) ( คนแสดงความเห็น 39 คน) เปิดรับความคิดเห็น
32 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 23 ( คนอ่าน 26932 คน) ( คนแสดงความเห็น 11 คน)
33 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 24 ( คนอ่าน 26932 คน) ( คนแสดงความเห็น 23 คน)
34 - นิทานเวตาล เรื่องที่ 25 ( คนอ่าน 26971 คน) ( คนแสดงความเห็น 133 คน)
35 - นกกางเขน บทที่ 1 [ทำรัง] ( คนอ่าน 26958 คน) ( คนแสดงความเห็น 295 คน)
36 - นกกางเขน บทที่ 2 [ลูกนก] ( คนอ่าน 26927 คน) ( คนแสดงความเห็น 29 คน)
37 - นกกางเขน บทที่ 3 [เพลงกล่อมลูก] ( คนอ่าน 26960 คน) ( คนแสดงความเห็น 32 คน)
38 - นกกางเขน บทที่ 4 [ความสามัคคี] ( คนอ่าน 26930 คน) ( คนแสดงความเห็น 14 คน)
39 - นกกางเขน บทที่ 5 [คำสั่งสอน] ( คนอ่าน 26928 คน) ( คนแสดงความเห็น 17 คน)
40 - นกกางเขน บทที่ 6 [ความตื่นภัยของลูกนก] ( คนอ่าน 26932 คน) ( คนแสดงความเห็น 16 คน)
41 - นกกางเขน บทที่ 7 [หัดบิน] ( คนอ่าน 26926 คน) ( คนแสดงความเห็น 12 คน)
42 - นกกางเขน บทที่ 8 [ความดื้อของนิ่ม] ( คนอ่าน 26927 คน) ( คนแสดงความเห็น 13 คน)
43 - นกกางเขน บทที่ 9 [ลูกนกพ้นอกพ่อแม่] ( คนอ่าน 26939 คน) ( คนแสดงความเห็น 31 คน)
44 - พระยาพิชัยดาบหัก ( คนอ่าน 27048 คน) ( คนแสดงความเห็น 158 คน)
45 - สาวิตรี ( คนอ่าน 27061 คน) ( คนแสดงความเห็น 77 คน)
46 - กากี ( คนอ่าน 27203 คน) ( คนแสดงความเห็น 74 คน)
47 - แม่ปลาบู่ทอง ( คนอ่าน 27264 คน) ( คนแสดงความเห็น 246 คน)
48 - สังข์ทอง (ฉบับย่อเนื้อเรื่องทั้งหมด) ( คนอ่าน 28229 คน) ( คนแสดงความเห็น 351 คน)
49 - หลวิชัย - คาวี ( คนอ่าน 27211 คน) ( คนแสดงความเห็น 53 คน)
50 - โสนน้อยเรือนงาม ( คนอ่าน 27157 คน) ( คนแสดงความเห็น 295 คน)
51 - เวสสันดรชาดก ( คนอ่าน 26967 คน) ( คนแสดงความเห็น 23 คน)
52 - ชาวบ้านบางระจัน ( คนอ่าน 27077 คน) ( คนแสดงความเห็น 120 คน)
53 - ไกรทอง (ฉบับย่อ) ( คนอ่าน 27333 คน) ( คนแสดงความเห็น 187 คน)
54 - ขุนช้างขุนแผน ( คนอ่าน 27138 คน) ( คนแสดงความเห็น 187 คน)
55 - พระลอ ( คนอ่าน 27080 คน) ( คนแสดงความเห็น 59 คน)
56 - ควายทรพาและควายทรพี ( คนอ่าน 26974 คน) ( คนแสดงความเห็น 65 คน)
57 - กำเนิดนางมณโฑ ( คนอ่าน 26987 คน) ( คนแสดงความเห็น 114 คน)
58 - รามเกียร์ติ์ ตอนพระนารายณ์สังหารยักนนทก (ชาติก่อนของทศกรรฐ์)
( คนอ่าน 26994 คน) ( คนแสดงความเห็น 217 คน)
59 - ศรีปราชญ์ ( คนอ่าน 27078 คน) ( คนแสดงความเห็น 73 คน)
60 - พระมหาชนก (พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 )
( คนอ่าน 27104 คน) ( คนแสดงความเห็น 41 คน)
61 - ท้าวผาแดงนางไอ่ ( คนอ่าน 26983 คน) ( คนแสดงความเห็น 48 คน)
62 - ตำนานวันสงกรานต์ ( คนอ่าน 26952 คน) ( คนแสดงความเห็น 106 คน)
63 - สามก็ก (ตอนที่ 54 - อวสาน) ( คนอ่าน 26943 คน) ( คนแสดงความเห็น 67 คน)
64 - สามก็ก (ตอนที่ 46 - 54) ( คนอ่าน 26925 คน) ( คนแสดงความเห็น 21 คน)
65 - ปู่โล่โถ ( คนอ่าน 26947 คน) ( คนแสดงความเห็น 69 คน)
66 - แถนใจดี กับ กบกินตะวัน ( คนอ่าน 26934 คน) ( คนแสดงความเห็น 61 คน)
67 - เทพเสินหนง : บิดาแห่งการเกษตร ( คนอ่าน 26934 คน) ( คนแสดงความเห็น 26 คน)
68 - หนี่หว่าเจ้าแม่ผู้ให้กำเนิดมนุษย์ ( คนอ่าน 26958 คน) ( คนแสดงความเห็น 67 คน)
69 - สามก็ก (ตอนที่ 37 - 45) ( คนอ่าน 26951 คน) ( คนแสดงความเห็น 44 คน)
70 - สามก็ก (ตอนที่ 28 - 36) ( คนอ่าน 26930 คน) ( คนแสดงความเห็น 19 คน)
71 - สามก็ก (ตอนที่ 19 - 27) ( คนอ่าน 26936 คน) ( คนแสดงความเห็น 32 คน)
72 - สามก็ก (ตอนที่ 10 - 18) ( คนอ่าน 26927 คน) ( คนแสดงความเห็น 25 คน)
73 - สามก็ก (ตอนที่ 1 - 9) ( คนอ่าน 26948 คน) ( คนแสดงความเห็น 93 คน)
74 - ไซอิ๋ว ( คนอ่าน 27053 คน) ( คนแสดงความเห็น 279 คน)
75 - นางสิบสอง และ พระรถเมรี ( คนอ่าน 27280 คน) ( คนแสดงความเห็น 254 คน)
76 - รามเกียรติ์ ( คนอ่าน 27101 คน) ( คนแสดงความเห็น 457 คน)
77 - พระอภัยมณี ( คนอ่าน 27080 คน) ( คนแสดงความเห็น 503 คน)
78 - กระเช้าสีดา ( คนอ่าน 27046 คน) ( คนแสดงความเห็น 694 คน)
79 - ราชาธิราช ตอน กำเนิดมะกะโท ( คนอ่าน 27219 คน) ( คนแสดงความเห็น 266 คน)
80 - สังข์ทอง ( คนอ่าน 27266 คน) ( คนแสดงความเห็น 1577 คน)
 
 
"""""""""""


พระอภัยมณี ( คนอ่าน 27081 คน) ( คนแสดงความเห็น 503 คน)


      พระอภัยมณีและศรีสุวรรณโอรสท้าวสุทัศน์แห่ง กรุงรัตนา
เมื่อมีชันษาได้สิบสามปีจึงออกจากเมืองไปศึกษาเล่าเรียน พระอภัยมณี
เรียนวิชาเป่าปี่ ส่วน ศรีสุวรรณ เรียนวิชากระบี่กระบอง


      ครั้นกลับเมือง พระบิดาโกรธเพราะไม่ทรงโปรดวิชาที่เรียน จึงขับ
ออกนอกเมืองในระหว่างทางได้พบกับสามพราหมณ์ คือ โมรา สานน
และ วิเชียร ซึ่งมีความรู้ที่แตกต่างออกไป


            พระอภัยมณีได้ลองเป่าปี่ให้สามพราหมณ์ฟังจนสามพราหมณ์
และศรีสุวรรณหลับไป   นางผีเสื้อสมุทรเมื่อได้ยินเสียงปี่ และเห็นความ
งดงามของพระอภัยมณีจึงแอบลักพาตัวไปไว้ในถ้ำ


    พระอภัยมณีจำยอมอยู่กับนางผีเสื้อสมุทร จนมีโอรสชื่อว่าสินสมุทร
ส่วนศรีสุวรรณและสามพราหมณ์ครั้นตื่นขึ้นมา ไม่พบพระอภัยมณีก็ออก
ตามหาจนถึงเมืองรมจักร  ซึ่งมีกษัตริย์นามว่าท้าวทศวงศ์ และมีธิดานาม
ว่าเกษรา ศรีสุวรรณได้อภิเษกกับ เกษรา จนมีธิดานามว่า อรุณรัศมี


         ต่อมาครอบครัวเงือกได้อาสาพาพระอภัยมณี และสินสมุทรหนี
นางผีเสื้อสมุทรจนมาถึงเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยมณีได้นางเงือกเป็น
เมียอีกคนหนึ่งมีโอรสนามว่าสุดสาคร




       ทางฝ่าย เมืองผลึก ท้าวสิลราชมีพระธิดานามว่า สุวรรณมาลี
เจ้าลังกาได้ขอไว้เพื่อให้อภิเษกกับ อุศเรน ราชโอรส วันหนึ่งท้าวสิลราช
พา สุวรรณมาลี ไปเที่ยวทางทะเล และเรือได้แล่นมาถึงเกาะแก้วพิสดาร
พระโยคี จึงฝาก พระอภัยมณี สินสมุทร และชาวเรือที่อาศัยอยู่
บนเกาะลงเรือมาด้วย แต่ นางผีเสื้อสมุทร ได้ติดตามพระอภัยมณี
และเข้าทำลายเรือให้แตก ท้าวสิลราชสิ้นพระชนม์ สินสมุทรแบกนาง
สุวรรณมาลีลอยน้ำมา ส่วนพระอภัยมณีว่ายน้ำขึ้นอีกเกาะหนึ่ง
นางผีเสื้อสมุทรก็ได้ตามไปอีกแต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้ พระอภัยมณีจึงเป่าปี่
ฆ่านางผีเสื้อสมุทรตาย สินสมุทรพานางสุวรรณมาลีขึ้นฝั่ง และพบกับ
เรือโจรสลัด


           จึงขอโดยสาร แต่โจรสุหรั่งพยายามจะเอานาง
สุวรรณมาลีเป็นเมีย สินสมุทร จึงฆ่าตาย และได้ครองเรือ
ฝ่ายพระอภัยมณี พบเรือ อุศเรน  จึงขอโดยสารมาด้วย
สินสมุทรเดินทางมาถึง เมืองรมจักร ได้ต่อสู้กับ ศรีสุวรรณ
สินสมุทร จับ ศรีสุวรรณ ได้ จึงรู้ว่าเป็นอาหลานกัน และ
ได้ชวนกันออกตามหา พระอภัยมณี จนพบ


     แต่ ศรีสุวรรณ ไม่ยอมคืน นางสุวรรณมาลี ให้กับ อุศเรน
จึงเกิดการต่อสู้กันอุศเรนรบแพ้หนีไปเมืองลังกา เมื่อถึงเมือง
ผลึกพระอภัยมณี ได้นางวาลีมาเป็นสนม และช่วยกันออก
อุบายให้พระอภัยมณีและนางสุวรรณมาลีอภิเษกกัน
จนมีธิดาฝาแฝด สร้อยสุวรณ จันทร์สุดา


     ฝ่ายนางเงือกเมื่อคลอดโอรสมา โยคี จึงตั้งชื่อให้ว่า สุดสาคร
และได้สอนเวทมนตร์ต่าง ๆ ให้พร้อมทั้งมอบไม้เท้าให้สุดสาครจับม้า
นิลมังกรได้แล้วนำมาเป็นพาหนะคู่ใจ ครั้นเจริญวัยก็ออกติดตามหา
พระอภัยมณี ระหว่างทางพบชีเปลือยถูกชีเปลือยผลักตกเหว
พระโยคีต้องมาช่วย สุดสาครตามชีเปลือยเข้าไปในเมืองการะเวก
และได้ของคืนท้าวสุริโยทัยกษัตริย์แห่งเมืองการะเวกรับสุดสาคร
เป็นโอรสบุญธรรมอุศเรนเมื่อรบแพ้ก็เจ็บแค้นยกทัพมาตีเมืองผลึก
แต่แพ้ ถูกนางวาลีพูดยั่วจนอกแตกตายวิญญาณของอุศเรนเข้า
สิงนางวาลี   จนทำให้นางต้องตายตาม เมื่อเจ้าลังกาและอุศเรน
สิ้นพระชนม์ นางละเวงวัณฬาจึงครองเมืองแทนและคิดแก้แค้น
บาทหลวงจึงแนะนำให้นางส่งรูป โดยใส่เสน่ห์ลงในรูปวาด
ของนาง กษัตริย์ผู้ใดพบเห็นจะได้หลงใหล และมาช่วยรบ เจ้าเมือง
ละมานยกมาเป็นทัพแรก


      ครั้นมาถึงเมืองผลึกได้ยินเสียงปี่ของพระอภัยมณีก็หลับใหล
และถูกจับได้   เจ้าเมืองละมานจึงตรอมใจตาย และสิงอยู่ในรูปวาด
ของนางละเวงวัณฬา พระอภัยมณีครั้นได้รับรูปของนางละเวงวัณฬา
ก็มีความหลงใหลเป็นอย่างมาก    ฝ่ายสุดสาครได้ขอลากษัตริย์เมือง
การะเวกออกตามหาพระอภัยมณี โดยมีพระหัสไชยและนางเสาวคนธ์
ขอติดตามด้วย สุดสาครเมื่อเดินทางมาถึงเมืองผลึกก็เข้าช่วยแก้ไข
พระอภัยมณีให้หายคลุ้มคลั่งนางละเวงวัณฬา    ในขณะเดียวกันกับ
ที่ศึกจากเมืองต่าง ๆ มาล้อมเมืองผลึกไว้มาก พระอภัยมณี และ
ศรีสุวรรณจึงยกทัพออกสู้รบ และเป่าปี่สะกดทัพ แต่นางละเวงวัณฬา
มีตราราหูคอยป้องกันไม่ให้หลับ และเกิดอันตราย ครั้นพระอภัยมณีได้
พบนางละเวงก็หลงรัก พยายามพูดเกี้ยว แต่นางละเวงวัณฬาขับม้าหนี
เข้าป่าจนพบดินถนันและได้ผีย่องตอดเป็นข้าทาส


        นางละเวงวัณฬาได้เดินทางมาถึงสำนักบาทหลวงอีกแห่งหนึ่ง
และขอนางยุพาผกาและนางสุลาลีวันที่อยู่ในสำนักนี้เป็นราชธิดาบุญ
ธรรม




       เมื่อนางละเวงวัณฬาหนีไป กองทัพของพระอภัยมณีได้เข้าเมือง
และยึดเมืองหน้าด่านได้ทำให้นางละเวงวัณฬาต้องออกศึกเพื่อป้อง
กันเมืองหน้าด่าน   บาทหลวงจึงแนะนำให้ออกอุบาย ให้พระอภัยมณี
เป่าปี่เพื่อสะกดทัพ หลังจากนั้นให้เผาค่ายเสีย  แล้วจับตัวพระอภัยมณี
มาฆ่า นางละเวงวัณฬาไม่กล้าทำเช่นนั้น แต่ไม่กล้าขัดคำสั่งจึงให้
นางยุพาผกาทำหน้าที่ไปลวงให้พระอภัยมณีเป่าปี่   แล้วจับพระอภัยมณี
มาไว้ในเมืองลังกา พระอภัยมณีหลงเสน่ห์นางละเวงวัณฬา ขณะเดียว
กันนางละเวงวัณฬาได้ออกอุบายให้นางรำภาสะหรีมีสารเข้าเมืองลังกา
และศรีสุวรรณก็ถูกเสน่ห์ของนางรำภาสะหลี สินสมุทรทราบข่าวจึง
คิดแก้แต่นางยุพาผกา ได้รับสารจากนางละเวงวัณฬาให้เชิญสินสมุทรเข้าวัง
เพื่อเยี่ยมอาการประชวรของพระอภัยมณี สินสมุทรหลงกลของ
นางละเวงวัณฬา จึงทำให้ถูกเสน่ห์อีกองค์ หนึ่งสามพราหมณ์ที่
คอยอยู่นอกเมืองจึงส่งข่าวให้นางสุวรรณมาลีทรงทราบ


       นางสุวรรณมาลีเมื่อทราบเรื่องราว จึงแจ้งข่าวไปยังเมืองรมจักร
และเมืองการะเวกให้เข้าช่วยเหลือ โดยนางสุวรรณมาลียกทัพ
ล่วงหน้ามาก่อน ครั้นทัพของสุดสาครและหัสไชยมาถึง สุดสาคร
จึงอาสาเข้าแก้เสน่ห์ แต่แล้วก็ต้องถูกเสน่ห์ของนางสุลาลีวันทางฝ่าย
พราหมณ์ทิศาปาโมกข์โลกเชษฐ์ที่ติดตามมากับสุดสาคร จึงเข้า
แก้ไขเสน่ห์โดยให้หัสไชยถือธงยันต์เข้าไปในเมืองลังกาและสามารถ
ช่วยสินสมุทรและสุดสาครออกมาได้ ครั้นตกดึกนางยุพาผกาและ
สุลาลีวันให้ย่องตอดสะกดทัพ แล้วเอาเสน่ห์ไปป้ายสินสมุทร และ
สุดสาครอีก พร้อมทั้งเขียนสารไว้ให้นางเสาวคนธ์ เป็นเหตุให้
นางเสาวคนธ์โกรธแค้นมาก จึงลอบเข้ายิงแก้มนางสุลาลีวัน
นางละเวงวัณฬาโกรธแค้นมากจึงยกกองทัพออกสู้รบอีก
พระโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดารจึงมาห้ามทัพ การรบจึงสิ้นสุด
ต่างฝ่ายต่างเป็นไมตรีกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-01-2008, 21:01 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

อธิฏฐาน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,912


รักษาประเทศชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน


« ตอบ #11 เมื่อ: 20-01-2008, 21:00 »


วรรณไทยเกี่ยวกับปี่ไม่ทราบว่ามีกี่เรื่องค่ะ  แต่วรรณจีนที่เกี่ยวกับปี่ก็มี เล่าปี่ค่ะ

 
บันทึกการเข้า

หยุด...สัมปทานอุทยานแห่งชาติ
http://www.oknation.net/blog/sandstone
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20-01-2008, 21:06 »


วรรณไทยเกี่ยวกับปี่ไม่ทราบว่ามีกี่เรื่องค่ะ  แต่วรรณจีนที่เกี่ยวกับปี่ก็มี เล่าปี่ค่ะ

 

วีดิทัศน์
ประกอบการเรียนการสอน


http://www.bmaeducation.in.th/download/veditus.doc
ผู้ชำนาญปี่  พระสังข์  สุวรรณสาม        115         วรรณคดี  และวรรณกรรม

ท่านใดที่ประสงค์ ขอยืมหรือสำเนาวีดิทัศน์ ติดต่อที่
ฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
กองวิชาการ  สำนักการศึกษา
ถนนลาดหญ้า  เขตคลองสาน
กรุงเทพฯ  10600 โทร. 0 2437 6636

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 03-02-2008, 19:59 »


สำนวน ฉัตรแก้วกั้นเกศ พบเป็นลายลักอักษรในพระอภัยมณีของสุนทรภู่ด้วยครับ

ในหนังสือที่นางละเวงเขียถึงพระอภัย มีโอรสกับพระอภัยหนึ่งคนชื่อ พระมังคลา..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-02-2008, 21:12 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #14 เมื่อ: 03-02-2008, 20:21 »


สำนวน ฉัตรแก้วกั้นเกศ พบเป็นลายลักอักษรในพระอภัยมณีของสุนทรผู้ด้วยครับ

ในหนังสือที่นางละเวงเขียถึงพระอภัย มีโอรสกับพระอภัยหนึ่งคนชื่อ พระมังคลา..


แล้วมีสุนทรเมียมั้ย ?
สุนทรเกย์  สุนทรตุ๊ด  สุนทรไบ  สุนทรทอม  สุนทรดี้อีก ?

ส่วน "สุนทรเวช" เค้าได้ดิบได้ดีไปแล้ว
เป็นถึงลูกจ้างตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฝ่ายกิจการงานการเมือง - บริษัทในเครือชินวัตร
รับเงินเดือน 2 ต่อ
...สบายไป
บันทึกการเข้า

อธิฏฐาน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,912


รักษาประเทศชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน


« ตอบ #15 เมื่อ: 03-02-2008, 20:54 »



สุนทรผู้
  แก้ด่วนค่ะคุณคิว อาจารย์พ่อมาเห็นแล้ว


 
บันทึกการเข้า

หยุด...สัมปทานอุทยานแห่งชาติ
http://www.oknation.net/blog/sandstone
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 03-02-2008, 21:02 »

แล้วมีสุนทรเมียมั้ย ?
สุนทรเกย์  สุนทรตุ๊ด  สุนทรไบ  สุนทรทอม  สุนทรดี้อีก ?

ส่วน "สุนทรเวช" เค้าได้ดิบได้ดีไปแล้ว
เป็นถึงลูกจ้างตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฝ่ายกิจการงานการเมือง - บริษัทในเครือชินวัตร
รับเงินเดือน 2 ต่อ
...สบายไป

ขออภัย สะสมมุขไว้เยอะไปครับ 


สุนทรผู้
  แก้ด่วนค่ะคุณคิว อาจารย์พ่อมาเห็นแล้ว


 

หลุดแล้วทำไงดีครับ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-02-2008, 21:13 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 03-02-2008, 21:22 »

แล้วมีสุนทรเมียมั้ย ?
สุนทรเกย์  สุนทรตุ๊ด  สุนทรไบ  สุนทรทอม  สุนทรดี้อีก ?

ส่วน "สุนทรเวช" เค้าได้ดิบได้ดีไปแล้ว
เป็นถึงลูกจ้างตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฝ่ายกิจการงานการเมือง - บริษัทในเครือชินวัตร
รับเงินเดือน 2 ต่อ
...สบายไป

ที่นี้โทษผมไม่ได้แล้วนะครับ ของผมแก้ไขหมดแล้ว..
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #18 เมื่อ: 03-02-2008, 21:48 »

ชอบ ดั่งดวงตะวัน ละครดีครับ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 03-02-2008, 21:55 »


ชอบ ดั่งดวงตะวัน ละครดีครับ

ปกติไม่ค้อยได้ดูละครครับ วันก่อนเผอิญได้ดูตอนอวสานเรื่องนี้

เลยเอามาพ่วงไว้กับเรื่องพระอภัยมณี

เรื่องปี่แก้ว สรุปว่า รักเหนือฟ้าลิขิต เพราะสามารถพรากเนื้อคู่เขาจากกัน มาอยู่กับคู่ใหม่ที่มีความรักแรงกล้าได้..


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 04-02-2008, 16:04 »



ท่านที่ชอบวรรณคดีไทย

หวังว่าคงชอบพระอภัยมณี เป็นเรื่องที่ยาวและติดดินดีครับ

ชาวบ้านอ่านได้ ชาวเมืองอ่านดี

อ่านแล้วน่าจะได้ความคิด เพราะเป็นเรื่องแนวแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริง..แต่ก็ให้คติบ้าง

เรียกพระเยโฮว่า ว่า พระยะวาโห หรืออะไรนี่แหละ สลับกันเพื่อสัมผัสหรือเปล่า?ต้องพินิจดู..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 04-02-2008, 17:03 »

 

มีท่านใดเคยวิจารณ์ สุนทรภู่ หรือเปล่า?

อยากให้ลองวิจารณ์ให้สมาชิกฟังครับ..

ผมว่าสุนทรภู่มีความคิดลึกซึ้ง

เสียดายที่ติดยึดกับกรอบจารีตประเพณีมากไป..

สมัยโบราณ การเดินทางและการสื่อสารยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน

แต่ก็มองลึกๆ สุทรภู่เป็นพวกจินตนาการสูง เช่นคนสามารถมีอะไรกับเงือก มีลูกได้

แล้วตอนท้ายเงือกกลายเป็นคนได้อีก ซึ่งแม้ไม่จริงเป็นเรืองเล่า ก็สามารถเก็บเอามาแต่งเป็นเรื่องเป็นราวได้

แสดงว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่คิดว่าท่านคงไม่บบรลุธรรมแม้เคยบวชเรียนก็ตาม

แต่ในแง่กลอนแล้ว มีความสามารถ ประพันธ์ได้ไหลลื่อนดี คติก็เอามาจากประสบการณ์และสิ่งที่เรียนมา ตรงนี้ไม่ได้คิดนอกกรอบอะไร?

เนื่องจากในอดีต ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่าการแข่งขันแบบหัวต่อหัวของประชากร..

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: