ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« เมื่อ: 18-01-2008, 22:02 » |
|
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา...ดอกฟ้าฯได้มีโอกาสไปเที่ยวเชียงใหม่
หลังจากไม่ได้ไปมานานแล้ว เลยอยากเอาภาพสวยๆมาฝากค่ะ
ขออภัยถ้าหากเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนในที่นี้นะคะ
ผิดตกยกเว้น....ดอกฟ้าฯ ขออภัยล่วงหน้านะคะ
แค่อยากเอาสิ่งที่ได้เห็นมาแบ่งปันกันค่ะ
..................................................................่สถานที่แห่งแรก ที่พี่สาวพาไปชมและไปกราบสักการะ หลังจากไปถึงก็คือ อนุสาวรีย์ พระนางจามเทวี แห่งนครหริภุญไชย
ปฐมกษัตรีย์แห่งล้านนา ที่จังหวัดลำพูนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเชียงใหม่เท่าไหร่นัก
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-09-2008, 22:23 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด »
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 18-01-2008, 22:14 » |
|
พระนางจามเทวี
ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย
ชาติกำเนิดของพระนางจามเทวี มีที่มาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน
ทั้งจากตำนาน พงศาวดารและหลักฐานอื่น ในตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่าพระนางเป็นธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้
ได้เดินทางพร้อมพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฏกและช่างผู้มีฝีมือหลากหลายประเภท 500 คน จากเมืองละโว้ สู่นครหริภุญไชย
(อ้างอิงจาก จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และมูลศาสนา สำนวนล้านนา)อีกสำนวนหนึ่งซึ่งเป็นมุขปาฐะ
สำนวนพื้นบ้าน กล่าวว่า พระนางจามเทวีนั้นทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยมาแต่เดิม
โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่ง นามว่า อินตา ส่วนมารดาไม่ทราบชื่อ ทั้งสองเป็นชาวเมงคบุตร
อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนองดู่ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ได้มีการบันทึกตามพระชาตาพระนางจามเทวีเมื่อแรกประสูติไว้ว่า
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๑๑๗๖ เวลาจวนจะค่ำ
ที่มา... จากวิกิพีเดียมีผู้มาสักการะบูชาไม่ขาดสาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 18-01-2008, 23:22 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 19-01-2008, 06:44 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-01-2008, 07:34 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 19-01-2008, 21:50 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
|
อธิฏฐาน
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 20-01-2008, 21:07 » |
|
ดอกไม้สวยจริง ๆ ค่ะคุณดอกฟ้าฯ น่าจะนั่งกับคนรู้ใจค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 20-01-2008, 21:52 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 23-01-2008, 21:20 » |
|
ครูบาศรีวิชัย
ครูบาศรีวิชัย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
มีนามเดิมว่า อ้ายฟ้าร้อง เพราะในขณะที่ท่านเกิด อากาศวิปริต มีลมฝน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงถือเอานิมิตนั้นมาตั้งชื่อ
ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ใต้) ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ปีขาล เวลาพลบค่ำ บิดาชื่อ นายควาย มารดา ชื่อ นางอุสา
การบรรพชา อุปสมบท
ครูบาศรีวิชัย ได้เริ่มบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ณ วัดบ้านปาง อำเภอลี้
ซึ่งเป็นอารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน มี ครูบาขัติยะ วัดบ้านปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ อายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบท
มี พระครูสุมโณ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวิชโย
ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก ครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา (ปัจจุบันอยู่ในตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน) ด้วยเหตุที่มีอุปนิสัยชอบสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย กินน้อย และรู้แนวทาง
ปฏิบัติธรรมบ้างแล้ว จึงถือโอกาศขึ้นไปอยู่ปฏิบัติกัมมัฏฐานบนดอยทิศใต้ของหมู่บ้าน (ที่ท่านสร้างเป็นวัดบ้านปางเดี๋ยวนี้)
เมื่อท่านได้วิเวกทางกาย จิตใจก็หยั่งรู้เข้าสู่สมาธิหยั่งลงสู่วิปัสสนาญาณ
ท่านก็ยิ่งมีความพากเพียรในการปฏิบัติกัมมัฏฐานมากขึ้น
เคร่งครัดในวินัย ไม่แตะต้องลาภสักการะปัจจัย ฉันอาหารมังสะวิรัติ
ประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใส ชื่อเสียงของท่านก็ยิ่งโด่งดัง
ไกลออกไป ชาวบ้านหลั่งไหลเข้ามาเคารพบูชาท่านมากขึ้น ต่อมา ครูบาขัติยะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น
ท่านจึงรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง และบุกเบิกป่านั้นสร้างเป็นวัดขึ้น
ไม่นานก็สร้างเสร็จมีงานฉลอง (ปอยหลวง) ถึง ๗ วัน ๗ คืน และได้ตั้งชื่อวัดใหม่
่แห่งนี้ว่า วัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรืองบ้านปาง ชาวบ้านเรียกว่า วัดบ้านปาง
ส่วนวัดเดิมที่มีอยู่ในหมู่บ้านก็หมดสภาพไป นับเป็น
วัดแรกที่ท่านได้สร้างขึ้นมา (พ.ศ. ๒๔๔๔) ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๖๓
ต้องอธิกรณ์ถูกกล่าวหาในหลายกรณี เช่นเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ไม่ประพฤติตนให้ เป็นไปตามคำสั่งของคณะสงฆ์
ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของพระครูมหารัตนากร
เจ้าคณะแขวงลี้ ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ตามพ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ ฯลฯ ครูบาศรีวิชัยถูกกักบริเวณให้อยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ๑ ปี
(พ.ศ.๒๔๕๔) ถูกกักบริเวณอยู่ในวัดศรีดอนชัยเชียงใหม่ ๓ เดือน สุดท้ายจึงถูกนิมนต์ให้เข้าไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๓) แต่ทุกคดีก็ได้รับการวินิจฉัยจากสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้นว่าไม่มีความผิด
ครูบาศรีวิชัยจึงเดินทางกลับจังหวัดลำพูน บรรดาสานุศิษย์จัดขบวนต้อนรับ ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ
ประชาชนก็เพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้น (ถูกอธิกรณ์ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘)
จึงทำให้ศรัทธาสาธุชนทั่วสารทิศมาเฝ้าชื่นชมบารมี ร่วมทำบุญกับครูบาศรีวิชัย
ที่ถือว่าเป็นพระอริยสงฆ์มาโปรดสัตว์โลกในยุคกึ่งพุทธกาล
ท่านมักจะรับนิมนต์ไปเป็นประธาน (นั่งหนัก)ในการบูรณะศาสนสถานทั่วภาคเหนือไม่ต่ำกว่า ๑๐๘ แห่ง
ผลงานการก่อสร้างศาสนาสถาน และสาธารณสมบัติ
บูรณะซ่อมแซมบริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย (พ.ศ.๒๔๖๓) หลังจากกลับจากกรุงเทพฯแล้ว
ไปบูรณะพระเจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อำเภอฮอด (พ.ศ.๒๔๖๔) สร้างวิหาร วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา (พ.ศ.๒๔๖๕) บูรณะพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ (พ.ศ.๒๔๖๖) วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๖๗) สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปาง
พระธาตุเกตุสร้อยแก่งน้ำปิง (พ.ศ. ๒๔๖๘) รวบรวมพระไตรปิฏกฉบับอักษรล้านนาจำนวน ๕,๔๐๘ ผูก (พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๗๑) บูรณะวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๗๔) และผลงานชิ้นอมตะคือ
การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจังหวัดเชียงใหม่ ที่ศรัทธาสานุชน
มาร่วมกันสร้างถนนวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน ตามสัจจะวาจา (พ.ศ.๒๔๗๘)
สร้างวิหารวัดบ้านปาง(พ.ศ.๒๔๗๘ เสร็จปี พ.ศ.๒๔๘๒)
วัดจามเทวี (พ.ศ.๒๔๗๙) สุดท้าย คือ สะพานศรีวิชัย เชื่อมระหว่างลำพูน (ริมปิง) - เชียงใหม่(พ.ศ.๒๔๘๑)
ที่มาสร้างเสร็จภายหลังจากที่ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ (รวมวัดต่างๆที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยไปบูรณะปฏิสังขรณ์รวม ๑๐๘ วัด)
ต่อมามีผู้เรียกท่านว่า พระศรีวิชัย ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า ครูบาศรีวิชัยบ้าง
ครูบาวัดบ้านปางบ้าง ครูบาศีลธรรมบ้างซึ่งเป็นนามที่ชาวบ้านตั้งให้ ด้วยความนับถือ
ผลงานที่เด่นมากของครูบาศรีวิชัยก็คือ การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้
จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพ
ด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วเนาวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์
การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
วันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน
ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทาง
สายนี้ใช้เวลา ๕ เดือน กับ ๒๒ วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘
วาระสุดท้ายชีวิต
ผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ การสร้างสะพานข้ามลำน้ำปิง ระหว่างบ้านริมปิง จังหวัดลำพูน กับอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ สะพานยังไม่ทันเสร็จ โรคริดสีดวงทวารของท่านกำเริบ จึงต้องไปพักที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ก็รับสั่งให้หาหมอดีๆ มารักษา แต่อาการก็ไม่ทุเลา ท่านจึงกลับวัดบ้านปาง อำเภอลี้
อาการของท่านมีแต่ทรงกับทรุด
จนถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ เวลา ๐๐.๐๕ นาฬิกา กับ ๓๐ วินาที ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ
ศพของท่านได้เก็บไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี
เมื่อวิหารที่วัดบ้านปางเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำศพของท่านแห่เป็นขบวนใหญ่กลับเข้าสู่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
เป็นเวลา ๗ ปี เพื่อให้ลูกศิษย์ได้พึ่งบารมีของท่าน ทำการสร้างสะพานข้ามแม่น้าปิงให้เสร็จตามคำสั่งของท่าน
ต่อมาเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ทางจังหวัดลำพูนจึงได้บำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพของท่านอย่างใหญ่โตถึง ๑๕ วัน ๑๕ คืน
ตำรวจ ทหาร เข้ารักษาการณ์อย่างเข้มแข็ง เพื่อมิให้ใครเข้ายื้อแย่งอัฐิของท่าน
และได้มีการตกลงแบ่งอัฐิของท่านออกเป็น ๖ ส่วน คือ
บรรจุไว้ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง
บรรจุไว้ที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง
บรรจุไว้ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง
บรรจุไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปางส่วนหนึ่ง
บรรจุไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันจังหวัดพะเยา) ส่วนหนึ่ง
บรรจุไว้ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ส่วนหนึ่ง
เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และเคารพนับถือท่านจะได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป
ครูบาศรีวิชัย คือนักบุญในกึ่งยุคพุทธกาล ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และพุทธศาสนา
ด้วยความเมตตากรุณาอันเปี่ยมล้นด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่
ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า นักบุญแห่งล้านนาไทย (ต๋นบุญ โพธิสัตว์)
อ้างอิง...จาก http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cturdsak/kuba.htmคติเตือนใจ....จากหนังสือ คนดีที่โลกไม่ลืม..
อยู่เฮือนพัง ยังดี ไม่มีทุกข์ ดีกว่าคุก หลายเท่า ไม่เศร้าหมอง จนยังดี มีธรรม ค้ำประคอง ดีกว่าปอง ทุจริต คิดร่ำรวย..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 27-01-2008, 02:33 » |
|
มาถึงที่หมายด้วยความตั้งใจ.....ที่อยากกราบสักการะบูชา....
สวยงามมากเลยค่ะ......[/
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 27-01-2008, 02:47 » |
|
วัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย
พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่
ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง
พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม
แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น
ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081
สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก
พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง
เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
ข้อมูล...จาก วิกิพีเดีย...
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 02:58 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด »
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 27-01-2008, 07:15 » |
|
... น่าอ่านทุกวันอาทิตย์ตอนเช้า... ชอบมากเวลา.. พี่ดอกฟ้า ไปเที่ยวฯ แล้วนำรูปมาฝาก เหมือนดูหนังท่องเที่ยวสารคดี ตอนเช้าๆ ..ทานขนมไปพลางฮะ ~@----------------------------------------------------------------------@~ ~@----------------------------------------------------------------------@~
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 08:25 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 31-01-2008, 00:47 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-01-2008, 00:51 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด »
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
ปรมาจารย์เจได
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 01-02-2008, 20:34 » |
|
อยากไปแอ่วเหนือมั่งจังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 01-02-2008, 20:56 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-02-2008, 20:58 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด »
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ปรมาจารย์เจได
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 01-02-2008, 22:41 » |
|
แหล่งวัฒนธรรม หรือ วัตถุ อาหาร ที่เหนือไม่น่าสนครับ สนแต่สาวเหนืออย่างเดียวครับ 55
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 02-02-2008, 22:58 » |
|
แหล่งวัฒนธรรม หรือ วัตถุ อาหาร ที่เหนือไม่น่าสนครับ สนแต่สาวเหนืออย่างเดียวครับ 55 ตรงนี้...เป็นความชอบส่วนบุคคลนะคะ
ไม่ขอก่าวก่าย....แต่เห็นด้วยตรงที่ได้สัมผัสมาว่า.....
สุภาพสตรีที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าท้องถิ่นหรือบุคคลทั่วไป ค่อนข้างจะน่ารัก
อัธยาศัยดี แววตาและคำพูดแสดงออกถึงความมีน้ำใจไมตรีค่ะยกตัวอย่างสองสาวที่ร้านนี้....น่ารัก พูดเพราะ...ทั้งลดแลก แจกแถม ฝากเบอร์โทรศัพท์ ไว้ให้ด้วยนะ....น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง เจ้านี้อร่อยจริงๆค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ริวเซย์
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 03-02-2008, 01:34 » |
|
แหล่งวัฒนธรรม หรือ วัตถุ อาหาร ที่เหนือไม่น่าสนครับ สนแต่สาวเหนืออย่างเดียวครับ 55 อาหารก็อร่อยนะครับ ถ้าคุณเจไดมาเที่ยวเมื่อไหร่ก็บอก ผมจะพาไปกินร้านอร่อยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 11-02-2008, 18:26 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 11-02-2008, 20:38 » |
|
ขอบคุณคุณดอกฟ้าฯ ที่แนะนำทั้งที่น่ากินและที่น่าเที่ยว
จะรออ่านและดูต่อนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 13-02-2008, 22:35 » |
|
ร่องรอยของเวียงกุมกามปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร
ลักษณะที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้น จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจ
ร่องรอยของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีความยาวประมาณ 850 เมตรไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและกว้างประมาณ600 เมตร
ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง
http://www.geocities.com
ที่นี่มีนักดนตรีอาสา ขับกล่อมบรรเลงผู้มาเยือน ทำให้บรรยากาศครื้นเครง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 14-02-2008, 21:33 » |
|
ขอบคุณคุณ ดอกฟ้าฯครับ ที่นำเรื่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่
มาให้ชมและอ่านครับ เสียดายรูปถ่าย ครกตำข้าว จังเลย
ที่ภาพถ่ายออกมา มันดูมืดไป ก็เลยเห็นครกไม่ชัดครับ
แล้วเมื่อไรจะพาไปกินซะที ผมหิวแล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 16-02-2008, 23:40 » |
|
ขอบคุณคุณ ดอกฟ้าฯครับ ที่นำเรื่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่
มาให้ชมและอ่านครับ เสียดายรูปถ่าย ครกตำข้าว จังเลย
ที่ภาพถ่ายออกมา มันดูมืดไป ก็เลยเห็นครกไม่ชัดครับ
แล้วเมื่อไรจะพาไปกินซะที ผมหิวแล้วครับ ยังไม่ถึงเวลารับประทาน....ยังไม่เสร็จสิ้นภาระกิจ
รอแป๊ะนึง....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 17-02-2008, 00:04 » |
|
พระเจ้าเม็งรายมหาราช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชานุสาวรีย์ พ่อขุนเม็งราย ที่ห้าแยกพ่อขุน จังหวัดเชียงรายพระเจ้าเม็งรายมหาราช หรือ พ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย
ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน มาสู่เมืองเชียงราย
และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี
เมื่อพระชนมายุได้ 20 ชันษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา
นับเป็นราชกาลที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า
แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช)
ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด
หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน
และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย
ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ
ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม
พ.ศ. 1805 พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่ามกลางเมือง
ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง พ.ศ. 1818 ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช
เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา
พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย
พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ
และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้
จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง
ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี
เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน
ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว
พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม
พ.ศ. 1824 อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร
พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้อ้ายฟ้าปกครอง
ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม
ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก
ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา
มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839
เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง
ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) 11 หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน
พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์
เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง
พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง 18 พระองค์ จนถึง พ.ศ. 2101
ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า
........................................................................ ประวัติศาสตร์....ที่น่าเรียนรู้และนำมาสอนใจ
ทำไม.... ราชวงศ์หิริภุญชัยจึงล่มสลาย
ทำไม....อำนาจในการปกครองแว่นแคว้นในสมัยก่อน...ถึงต้องอาศัยความเกรียงไกรของไพร่พล
การเมือง คือบทสะท้อน ของประชาราษฎ์ ในทุกยุคสมัย.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 19-02-2008, 18:56 » |
|
ยังไม่ถึงเวลารับประทาน....ยังไม่เสร็จสิ้นภาระกิจ
รอแป๊ะนึง....
แงๆๆๆๆหิววว.. จวนได้เวลาหาที่หม่ำยางง ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
|
|
|
ทิมมี่
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 23-02-2008, 21:04 » |
|
เข้ามาอ่าน ขอบคุณสำหรับเรื่อง และภาพที่นำมาฝากทุกๆท่านครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 24-02-2008, 21:32 » |
|
คุณดอกฟ้าฯครับ อ้าวไม่เห็นอธิบายเส้นทาง
ที่จะไปหม่ำหล่ะครับ หรือเวลาไปเที่ยวเชียงใหม่
ให้จอดรถถามคนเดินข้างถนน หรือสามล้อเอาเองหรือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 26-02-2008, 18:32 » |
|
ขอบคุณคุณดอกฟ้าฯ ครับ
แล้วถ้าไปกินร้านที่นี้ แล้วบอกเจ้าของร้านว่า
อ่านมาจากกระทู้ ของคุณดอกฟ้าฯจะมีส่วนลดมั่งอ่ะปล่าว ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 01-03-2008, 22:26 » |
|
ขอบคุณคุณดอกฟ้าฯ ครับ
แล้วถ้าไปกินร้านที่นี้ แล้วบอกเจ้าของร้านว่า
อ่านมาจากกระทู้ ของคุณดอกฟ้าฯจะมีส่วนลดมั่งอ่ะปล่าว ? ขออภัยค่ะ....ที่มาตอบช้า
ขอบอกว่าไม่มีค่ะ...เพราะยังไม่ได้เป็นถึงขนาดหมึกแดง
หรือเชลล์ชวนชิม...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 06-03-2008, 20:46 » |
|
อ่าๆ...อิ่มแล้วครับ มีแรงตามคุณดอกฟ้าฯ
ไปเที่ยวต่อได้แล้วครับ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 07-04-2008, 00:09 » |
|
แงๆๆ อ่า...คุณดอกฟ้า ฯ ไปไหนแล้ว...อ่า..ผมหิวคร้าบ..
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-05-2008, 12:52 โดย เล่าปี๋ »
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
patchktt
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 1
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 19-05-2008, 11:19 » |
|
ถ้ามีโอกาสมาแอ่วเชียงใหม่ คราวต่อไป อย่าลืม ไป "ป่าดงปงไหว" ด้วยนะ ธรรมชาติดีมาก ยิ่งช่วงฤดูฝนด้วย ต้นไม้เขียวขจี อากาศเย็นสบาย จะเห็นป่าชุมชมที่อุดมสมบูรณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 19-05-2008, 23:24 » |
|
ถ้ามีโอกาสมาแอ่วเชียงใหม่ คราวต่อไป อย่าลืม ไป "ป่าดงปงไหว" ด้วยนะ ธรรมชาติดีมาก ยิ่งช่วงฤดูฝนด้วย ต้นไม้เขียวขจี อากาศเย็นสบาย จะเห็นป่าชุมชมที่อุดมสมบูรณ์ ขอบคุณ..ที่กรุณาแนะนำค่ะ
ว่าแต่ว่า "ป่าดงปงไหว" นี่อยู่ส่วนไหนของเชียงใหม่คะ เพราะไม่เคยได้ยินชื่อนี้เลย
ในกูเกิ้ลจะมีข้อมูลรึเปล่า เผื่อว่าครั้งหน้าจะได้แวะไปเยี่ยมเยือน แล้วเอาภาพมาฝากเพื่อนๆสมาชิกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 24-05-2008, 20:58 » |
|
ขอบพระคุณลุงถึก....ที่หาเพลงอมตะนิรันดร์กาล มาเปิดให้เข้าบรรยากาศ
ฟังแล้วเพราะดีค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
|