ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18-04-2024, 23:47
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ตั้งกระทู้ไว้ติดตามเรื่องเศรษฐกิจฮะ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ตั้งกระทู้ไว้ติดตามเรื่องเศรษฐกิจฮะ  (อ่าน 2687 ครั้ง)
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« เมื่อ: 14-01-2008, 20:13 »

ผมมีความเป็นห่วงเรื่องเศรษฐกิจ
ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่งผลต่อค่าเงินบาท และคงตามมาด้วยการส่งออก
แถมแบงค์ชาติแทรกแทรงค่าเงินอีก คาดว่าอาจถูกลองของในไม่ช้า่
คุ้นๆ กันไหมครับ กับเรื่องที่กำลังเกิด

การเมืองคงจบสิ้นเดือนนี้
พปช คงเป็นรัฐบาลที่ต้องนำประเทศชาติ
หวังว่าคงนำประเทศชาติไปได้
แต่วันนี้ผมยังไม่เห็นทีมเศรษฐกิจเลยนอกจากมือประชาสัมพันธ์มิ่งขวัญ
เห็นมีข่าวคุณทนงกะคุณโกร่ง มาคั่ว รมต คลัง ........ เฮ้อออออออออ
ไม่ทราบว่าไม่มีทางเลือกอื่นใช่ไหม สมาชิกตั้งหลายล้าน
หามือเศรษฐกิจไม่ได้เลยเหรอ
หวังว่าประกาศทีมเศรษฐกิจมา คงไม่ยี้นะฮะ


 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 14-01-2008, 20:27 »

วงจรหรือวัฏจักรเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมนั้น มันจะมีขึ้นและมีลงเป็นระยะ แต่ระดับความสูงของการขึ้นและลงนั้น ไม่มีความแน่นอน อย่างที่เรียกกันว่า ขาขึ้น และขาลง

ระยะนี้เป็นขาลงของระบบทุนนิยม และความจริงมันน่าจะกลับไปข้าขึ้นได้ในเวลาอีกไม่นานนัก แต่ปัญหาใหญ่ก็คือราคาพลังงาน และปัญหาเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ของสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีทางออก ปัญหาของเขาก็เหมือนกันของเรา นั่นคือ หนี้เน่า NPL ที่เขาเรียกเสียเพราะว่าซับไพรม์ ซึ่งความจริง ซับไพรม์ของไทยนั้นก็มีเยอะ เพียงแต่ระดับความเป็นอยู่ของคนไทย มาตรฐานต่ำกว่าอเมริกา ดังนั้นปัญหาซับไพรม์ของเรา ก็เลยเป็นการล่องหนหายตัว หนีหนี้บัตรเครดิต ปล่อยให้ยึดบ้าน ยึดรถ 

ความจริงถ้าอเมริกามาปรึกษาไทย ปัญหาเรื่องซับไพรม์จะไม่เกิด หรือบรรเทาไปได้มาก  เพราะไทยเรามีวิธีจัดการกับปัญหาซับไพรม์ได้เยี่ยมที่สุดในโลก 

นั่นคือ โทรไปทวงหนี้ ด่า ส่งแฟกซ์ไปประจานที่ทำงาน โทรไปด่าเจ้านายลูกหนี้ ข่มขู่พ่อแม่ลูกหนี้ วิธีการอย่างนี้ อเมริกาทำไม่เป็น ปัญหาเลยยุ่ง 

ข้างบนนั้นล้อเล่นค่ะ

เรื่องจริงก็คือ ทุนนิยมกำลังหมดสภาพ และกำลังจะพินาศในไม่ช้า แต่ยังมีกลุ่มบุคคลจำนวนมาก ยังเพ้อฝันอยู่กับการลงทุน การค้าต่างประเทศ การผลิต อุตสาหกรรม และเรื่องปัญญาอ่อนทั้งปวง รวมทั้งคิดจะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย

ภาวะโลกร้อน จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอุตสาหกรรมฟุ่มเฟือย การผลาญพลังงานทุกรูปแบบ จะต้องถูกควบคุม เราอยู่บนโลกที่กำลังจะพินาศไม่ได้ ไม่ว่าจะมีพลังงานไฟฟ้าเหลือเฟือจากโรงงานนิวเคลี้ยร์ เราฟุ่มเฟือยต่อไปไม่ได้อีกแล้ว

เวลาของมนุษย์ชาติ กำลังจะหมดลง ถ้าเราไม่หยุด ทุนนิยม

ให้อเมริกาพังไปเถิดค่ะ ถ้าเราไม่โลภ รู้จักพอเพียง ทำเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนไทยส่วนใหญ่อยู่รอด

นายทุนโง่ๆ จะตายก็ช่างหัวมัน 
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15-01-2008, 00:04 »

ถ้าสหรัฐเศรษฐกิจล่ม ประเทศไทยอาจเลิกอิงดอลล่าห์ก็ได้นะครับ

ตอนนี้โอเปกก็พยายามตีตัวออกห่างดอล่าห์แล้ว
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #3 เมื่อ: 15-01-2008, 01:04 »

ผมคิดว่าระบบทุนนิยมโลกอยู่ในช่วงปรับฐานเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพใหม่มากกว่าขาลงทางเศรษฐกิจ
เพียงแต่การปรับดุลยภาพนี้ส่งผลกระทบให้เกิดการชลอตัว
การหดตัวรอบนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อเรา เพราะเศรษฐกิจเราส่วนหนึ่งอิงเศรษฐกิจโลก
งานนี้ถ้าเราจัดการไม่ดี ชนชั้นกลางบางส่วนคงรับผลเต็มๆ

การเลิกอิงดอลล่าห์คงเป็นไปไม่ได้ในระยะอันสั้น
เพราะฉนั้นดอลล่าห์ก็คงอิทธิพลต่อไป
ค่าเงินเราคงแข็งค่าต่อไป
คำถามคือถ้าค่าเงินเรากลับไปที่ระดับ 28-30 บาทต่อดอลล่าห์
เรายังคงมีความได้เปรียบที่จะแข่งขันหรือไม่

ผมเป็นห่วงพอควร

 
บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #4 เมื่อ: 15-01-2008, 01:12 »

ยังมี สนธิสัญญา FTA และ JTEPPA อีกครับ

ไม่รู้ประเทศไทยเราเสียเปรียบมากแค่ไหน

ยังดีนะที่ไม่เซ็นต์กับสหรัฐ... แต่ถ้ารัฐบาลพปช.เป็นรัฐบาล

ผมว่าโอกาสเซ็นต์ก็น่าจะสูงอยู... ถ้าเซ็ตน์ไปแล้วยุ่งมากมายๆแน่ๆ

เพราะสหรัฐฯ คงไม่เอาไปน้อยๆแน่ๆ 

ไว้อาลัย ให้กับเศรษฐกิจครับ เฮ้ออออออออออ
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-01-2008, 01:17 »

เห็นด้วยกับคุณจขกท.ตรงที่ว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากๆก็ความสามรถในการแข่งขันของเราครับ รู้สึกมันเหมือนกับอยู่กับที่หรือถดถอยยังไงก็ไม่รู้ เด็กรุ่นใหม่ๆจำนวนไม่น้อยมีค่านิยมค่อนข้างรักสบายมากเกินไป จบมาทำงานปีสองปีก็ขอเงินพ่อแม่ไปต่อ mba เพื่อที่จะกลับมาเป็นผู้บริหารแล้ว ระบบแรงงานมันเลยพิกลพิการไป เพราะดูไปดูมาจะเห็นมีแต่ผู้บริหารกับกรรมกร   Laughing
บันทึกการเข้า
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #6 เมื่อ: 21-01-2008, 23:34 »

ก่อนอื่นบอกก่อนฮะว่าไม่ใช่กูรูทางการเงินฮะ
แต่มาอัปเดทข้อมูลจากที่อ่านข่าวมา พร้อมเพิ่มเติมข้อสังเกตุส่วนตัวฮะ

เงินทุนต่างชาติที่เคยลงทุนลุยตลาดหุ้นไทยสูงสุดที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท ณ เดือน กรกฎาคม 2550 ที่ Set Index ประมาณ 888 จุด ตอนนี้เงินทุนต่างชาติเหลืออยู่ประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ณ เดือน มกราคม 2550 ที่ Set Index ประมาณ 766 จุด นั่นคือต่างชาติลดการลงทุนไปประมาณ 1.1 แสนล้าน ในเวลา 6 เดือน โดยเฉพาะเดือนมกราคมนี้ เทขายมาอย่างสม่ำเสมอเกือบสองอาทิตย์ติด รวมขายสุทธิออกมาตั้งแต่ต้นปีเกือบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี ท่ามกลางความกังวลต่อปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ มาตรการของปธน.บุชไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ที่นักลงทุนวิตกก็คือ มาตรการดังกล่าวอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะพลิกฟื้นภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่เฟดก็คงไม่มีอะไรใหม่ๆในการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน อาจกล่าวได้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอีกครั้ง

เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว ก็จะกระทบกับผู้ส่งออกของไทย เพราะปัจจุบันไทยส่งออกไปยังสหรัฐถึง 15%
ส่วนตัวคาดว่าการส่งออกเราคงหดตัวอย่างรุนแรงแน่นอน GDP อาจหายไปซัก 1%

สำหรับค่าเงินบาทในวันนี้ปิดตลาดที่ 33.11/14 จาก 33.05/08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปแทรกแซงเพื่อป้องกันไม่ให้แข็งค่าเกินไป
ขณะที่ค่าเงินบาทในตลาด off-shore อยู่ที่ 30.89/31.19 จาก 31.00/20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
คาดการว่าค่าเงินบาทในปีนี้คงอยู่ที่ระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหรือต่ำกว่า

อีกอย่างเงินของนักลงทุนต่างชาติที่ขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย อาจยังไม่มีการไหลออกไปมาก เพราะค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง หรือ อาจมึช่องทางอื่นหรือไม่ในการโอนเป็นเงินบาทออกไปแลกในตลาด off-shore ??????
ส่วนตัวเป็นห่วงว่าเป็นการเก็บกระสุนเงินบาทก่อนถล่มให้กระจายแบบปีสี่ศูนย์
คงยังไม่เร็วๆนี้หรอก แต่ถ้าขายต่อเนื่องในตลาดหลักทรัพย์แบบเทกระจาดต่อไปอีกซักสองเดือน คิดว่าไม่แน่นะ
ผิดพลาดประการใดขออภัยฮะ

 
บันทึกการเข้า
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #7 เมื่อ: 21-01-2008, 23:40 »

ฟังข่าววันนี้เห็นว่า ไม่มีใครรับเชิญมาเป็น รมว คลัง ให้กับ พปช เลยฮะ
อืมมมมมมมมมมม แล้วบอกว่ามีมือเศรษฐกิจ เจ๋งๆ
สงสัยคงไปเชิญหม่อมอุ๋ยมาแน่ๆ เป็นไม้สุดท้ายแน่ๆ 


 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 21-01-2008, 23:52 »



ไม่เหมือนปี สี่ศูนย์ครับ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปหลายตัว

การขายหุ้นไป มองได้หลายแง่ครับ..


รัฐบาลต้องพยายามคุมราคาสินค้าจำเป็นภายในประเทศ
บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #9 เมื่อ: 22-01-2008, 01:03 »

ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องต่อกันเสมอ
อย่าลืมว่าตอนนี้การส่งออกเป็นพระเอกแทบจะตัวเดียว เครื่องยนต์อื่นๆ แทบไม่ทำงานเช่นการลงทุน การบริโภคภายใน

หากไม่สามารถขายของออกไปได้หรือขายแล้วขาดทุน จะทำให้บริษัทต่างๆ ผลิตสินค้าขายไม่ได้ต้องปิดตัว เลิกจ้างงาน เป็นผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ครับ  หากเกิดกรณีเช่นว่านี้จริงจะทำให้ค่าเงินบาททรุดลงเพราะความเชื่อมั่นไม่มีเหลือ ท้ายสุดต่างชาติที่เขานำเงินเข้ามาจะถอนเงินลงทุนหนีทันที แบบเดียวที่เคยเกิดช่วงลดค่าเงินบาทนั่นแหละครับ

ดังนั้นรัฐต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ บวกกับการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบที่ต้องนำเข้าสินค้่าทุน หรือ ใช้จ่ายเงินในรูป ดอลล่าห์ ในขณะที่ต้องควบคุมเงินเฟ้อที่เกิดจากน้ำมันขึ้นราคาแล้วส่งผลต่อค่าอุปโภค บริโภค

ตอนนี้คำถามคือเงินอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจให้มันหมุนเวียนผ่านเมกกะโปรเจคเนี่ยมันได้กันถ้วนทั่วหรือป่าว
ในเมื่อถ้าส่งออกไม่รอด กระตุ้นเศรษฐกิจได้กันไม่ทั่ว คนไม่เชื่อมั่นไม่ยอมใช้สอย
ย่อมต้องมีบริษัทเล็กใหญ่ปิดตัว คนตกงาน

ผมว่าเราเริ่มเข้าสู่ภาวะ Stagflation ถ้าเราควบคุมไม่ดี
คราวนี้ก็น้องๆ ปีสีศูนย์ครับ ไม่แตกต่าง

ปล เจอใน google ฮะ
Stagnation และInflation เป็นคำที่อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีปัญหาเงินเฟ้อควบคู่กับภาวะการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ, มีการว่างงานสูง ซึ่งอาจจะหมายรวมเป็นว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) คำว่า "Stag" หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจเสื่อมถอย ในขณะที่ "Flation" บ่งบอกถึง ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยปกติปัญหาเงินเฟ้อ พร้อมเศรษฐกิจตกต่ำมักจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เมื่อสองเกลอ (ตัวแสบ) มาเจอกัน ก็เลยเกิดปรากฏการณ์ "สองเด้ง" และทำให้ผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง มีอาการปวดหัว เป็นอย่างมาก เพราะว่าหากจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ (ลดดอกเบี้ย/เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ) ก็จะไปเพิ่มแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ หากจะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ (ขึ้นดอกเบี้ย/ขึ้นภาษี) ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการถดถอยของเศรษฐกิจซ้ำเติมก็ได้ ถึงจุดนี้ก็คงต้องเลือกเอาว่าจะแก้อะไรก่อน โดยที่ไม่ทำให้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งรุนแรงมากขึ้นนัก

 

บันทึกการเข้า
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #10 เมื่อ: 22-01-2008, 01:12 »

อีกอย่างที่น่ากังวลมากๆ คือ ธปท ยังคิดกรอบเดิมคือการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท
มันไม่มีทางชนะตลาดที่มีผู้เล่นทั่วโลก และ ทุนมากกว่าเรามากมาย
แทรกแซงมากๆ เดี๋ยวก็โดนดี ติดกับดักตัวเองแบบเก่า

ผมอยากให้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนของเงินทุนสำรองประเทศในรูปแบบที่มี Reserve เป็น USD, EURO และ YEN
แต่ไม่ใช่ตระกล้าเงินจะดีกว่า อย่างน้อยลดความกดดันทางด้านการขาดทุนทางบัญชีได้ดีกว่าไปอิง USD อย่างเดียว

 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 22-01-2008, 01:52 »



ลงทุนเมกะโปรเจ็กท์ พวกสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นรถไฟรางคู่ช่วยได้ครับ

คอคอดกระก็อยากให้ทำ เพราะศึกษาไว้มาเยอะ เหลือแต่เลือกเทคนิคและตัดสินใจ

ส่วนธุรกิจอุตสาหกรรมไทยส่วนที่พอมีตลาดภายในประเทศ ควรหันมากระตุ้นตลาดในประเทศ การขายราคาไม่สูงนักจะทำให้ขายได้มากและคงกำลังผลิตไว้ได้

ตลาดเกิดใหม่ก็ต้องหาไป ผลิตสินค้าให้ตรงกับรสนิยมลูกค้า

ส่วนรัฐสวัสดิการเช่นการศึกษาฟรีก็น่าทำ..


เรื่องการดูแลเงินก็ว่าไปครับ  ผมไม่ค่อยกังวล

ตลาดเล็ก เราขึ้นกับตลาดเงินโลกอยู่แล้ว ดอกเบี้ยต้องว่าตามตลาดโลก

ยกเว้นจะคุมเงินไหลเข้าออกได้จริง จากมาตรการอื่นๆที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-01-2008, 01:59 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 22-01-2008, 09:15 »

อีกอย่างที่น่ากังวลมากๆ คือ ธปท ยังคิดกรอบเดิมคือการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท
มันไม่มีทางชนะตลาดที่มีผู้เล่นทั่วโลก และ ทุนมากกว่าเรามากมาย
แทรกแซงมากๆ เดี๋ยวก็โดนดี ติดกับดักตัวเองแบบเก่า

ผมอยากให้บริหารอัตราแลกเปลี่ยนของเงินทุนสำรองประเทศในรูปแบบที่มี Reserve เป็น USD, EURO และ YEN
แต่ไม่ใช่ตระกล้าเงินจะดีกว่า อย่างน้อยลดความกดดันทางด้านการขาดทุนทางบัญชีได้ดีกว่าไปอิง USD อย่างเดียว

 




เอารูปปลากรอบไหมครับ ซ้ำรอยเดิม แต่ในทางตรงกันข้ามกับปี 40
ใครจะโง่มาเป็นรมว.คลังตอนนี้ฟะ 55555
เมืองไทยน่ะโคตรซวย ซวยซ้ำซากเพราะคอรับชั่นเรื้อรังและซับซ้อนมากที่สุดในโลก
เพราะคนที่เลือกตั้งเข้ามาแม่งก็ซื้อเสียงเข้ามา เข้ามาก็มาแบ่งโควต้า
ก็ได้แต่คนไร้ความสามารถ หรือไม่ก็พรรคพวก เป็นการตอบแทนบุญคุณ
นโยบายเศรษฐกิจ ก็กำหนดเอาตามกลุ่มผลประโยชน์ของคนไม่กี่กลุ่ม
เปิดเสรีการเงิน การค้า บริการทั้งหลายแหล่ ก็เพื่อคนไม่กี่คน
เข้ามาถือหุ้นแอบอิงกิจการต่างชาติ เป็นนอมินี
โดยไม่มีการควบคุมว่าการลงทุนอะไรที่เราจะได้ประโยชน์
และจะหาประโยชน์อย่างไร ไม่มี มีแต่การปล่อยให้มันมาสูบข้างเดียว
เช่น FTA ทั้งหลายและพวก JTEPA ที่บางคนในนี้พยายามอ้างเป็นผลงานของ สุระยุด
โดยหารู้ไม่ว่า เขารับฝากของให้ไอ้เหลี่ยม รอไอ้เหลี่ยมกลับมา

ส่วนการจะเอาเงินไปลงทุนนั้น ก็เผชิญอุปสรรค นอกจากความไร้วิสัยทัศน์แล้ว
ก็ติดเรื่องคอรับชั่นนี่แหละ ลองคิดดูว่า หากมี sovereign wealth fund ของตัวเอง
คงจะกลายเป็น "อมยิ้ม ลูกกวาดยักษ์" ให้พวกนักกินเมืองเข้ามารุมทึ้ง
นอกจากนี้ด้วยความที่มันสนใจแต่การโกง คนที่โกงทุกวันก็ไร้วิสัยทัศน์
ก็ไม่มีใครมาดูแลการพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของประเทศ
มันก็เน่าซ้ำซากอยู่นี่แหละ ส่วนประชาชนก็ตกอยู่ในกะลาครอบต่อไป
ดังนั้น จะโทษแบงก์ชาติอย่างเดียว ก็คงไม่เต็มปากเต็มคำ
เพราะสิ่งแวดล้อมมันพิกลพิการไปหมด เครื่องมือมีน้อย

ตอนนี้เป็นช่วงของการลากขึ้นไปเชือดครับ ก่อนที่จะเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
น่าสงสาร ธาริษา คงจะตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับ เริงชัย ซวยสุดๆ


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-01-2008, 09:34 โดย The Inconvenient Truth » บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #13 เมื่อ: 22-01-2008, 11:01 »

ผมยังคงไม่แน่ใจ เท่าไหร่นัก เกี่ยว กับ เงินทุนไหลเข้า ไหลออก.....เชื่อว่า เงินต่างชาติ จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ อย่างต่อเนื่อง ช่วงนี้..น่าจะยังคง ไม่ไหลออกไปมากนัก......

ผมกลับไปนั่งทบทวน เศรษฐกิจ ในช่วงหลายปี ทีผ่านมา.....บางที เราอาจโชคดี ได้ อานิสงฆ์ จากการ การไหลออก ของเงินทุน ในสหรัฐ......

ในระบบการเงินโลก เงิน จะไม่มีวันหยุดนิ่ง...บรรดา นักลงทุน ทั้งหลาย จะมักจะไม่ปล่อยให้เงิน หยุดนิ่ง เงิน จะวิ่งไป วิ่งมาทั่วโลก อยู่ตลอดเวลา....

เมื่อครั้งที่ ฟองสบู่แตก ในแถบ เอเชีย เงินทุนต่าง ๆ ก็ไหลเข้าไปในสหรัฐ....เศรษฐกิจ สหรัฐ ก็ เติบโต แบบที่ ไม่เคยเป็นมาก่อน....แต่คราวนี้ สหรัฐ กำลัง อยู่ในภาวะถดถอย..

เมื่อ เงินไหลออก จะสหรัฐ จำนวนมหาศาล จากปัญหาซับไพร์ม....ย่อม จะต้อง หาทางไป ยังจุดใดจุดหนึ่ง.....มองไปที่ยุโรป...ตอนนี้ ภาวะ เศรษฐกิจ ก็น่าจะอยู่ในช่วงถดถอยเช่นกัน.....ประกอบกับค่าเงิน ที่ แข็งโป๊ก.....อาจจะยังไม่ค่อยน่าลงทุนเท่าไรนัก.......

ผมว่า แถบเอเชีย นี่แหละครับ..ที่ เงิน จาก ยุโรปและ อเมริกา จะไหลเข้ามาลงทุน....และ จะทำให้เราได้ อานิสงฆ์ ไม่มาก ก็ น้อย......

..... เป็นที่น่าเสียดาย ที่ ประเทศชาติ ได้ ไอ้ พรรคชั่ว กับ สารพัด สิงสาราสัตว์ มาบริหารประเทศ....เรา คง ไม่สามารถฉกฉวย โอกาส ได้มาก นัก...

ที่น่ากลัวยิ่งกว่า นั้น ไอ้ รัฐบาล ผสม ดี เอ็น เอ แบบ เอา ส่วนชั่ว มาตัดต่อพันธุกรรม ให้ ดูทุเรศ ยิ่งไปอีก......มันจะทำให้ ชาติ ฉิบหาย แทนที่จะดีขึ้น...มันจะแข่งกัน หาเสียง แล้ว วิ่ง ลด แลก แจก แถม เพื่อช่วงชิง ความได้ เปรียบ ในการหาเสียงครั้งต่อไป.....ที่อาจเกิดขึ้นไม่นาน

ผม เห็น ทีม เศรษฐกิจ ของรัฐบาลนี้ ก็ได้แต่ ส่ายหัว....มันมี แต่ พวกกระสือ กระหัง กับพวกเปรต.....ผสมพันธ์ กัน มั่วไปหมด...

เฮ้อ !!!!


 
บันทึกการเข้า
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #14 เมื่อ: 22-01-2008, 13:09 »

วันนี้คง SET Index คงล่อกันแถว 730 จุดฮะ คิดว่าไม่ต่ำกว่า 725 จุด
ลดลงประมาณ 5%-7% ซึ่งไม่น่าเกลียด
ลงลึกกว่านี้เป็น Panic Sell น่าจะมีโอกาสรีบาวเล็กๆ

แล้วไปลุ้นดาวโจรฮะ ว่าทานได้แค่ไหน
ส่วนตัวคิดว่าดาวโจรจะช๊อคโลกฮะ
ดังนั้นอยากให้มองแนวถัดไปที่ 680 หรือ 620 ฮะ
ให้แนวกว้างเพราะไม่รู้ว่าใครจะเปลี่ยนใจไปรับ


แต่ส่วนตัวมองโลกแง่ร้ายฮะ 620 ฮะ
โชคดีฮะ


 
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 22-01-2008, 13:33 »

วันนี้คง SET Index คงล่อกันแถว 730 จุดฮะ คิดว่าไม่ต่ำกว่า 725 จุด
ลดลงประมาณ 5%-7% ซึ่งไม่น่าเกลียด
ลงลึกกว่านี้เป็น Panic Sell น่าจะมีโอกาสรีบาวเล็กๆ

แล้วไปลุ้นดาวโจรฮะ ว่าทานได้แค่ไหน
ส่วนตัวคิดว่าดาวโจรจะช๊อคโลกฮะ
ดังนั้นอยากให้มองแนวถัดไปที่ 680 หรือ 620 ฮะ
ให้แนวกว้างเพราะไม่รู้ว่าใครจะเปลี่ยนใจไปรับ

แต่ส่วนตัวมองโลกแง่ร้ายฮะ 620 ฮะ
โชคดีฮะ

 

อเมริกาปิด แต่แคนาดาไม่ปิด TSX ถล่มไป 600 ขณะนี้ Dow Futures ลงไป 500 กว่า

พูดถึงตอนนี้ เตรียมเงินสดเอาไว้ รอสักแป๊บแล้วค่อยเข้าไปแล้วถือยาว คุ้มนะเนี่ย ทั่วโลกหุ้นดีๆยังมีอยู่ ก็แค่โดนแรงกดดันทางจิตวิทยาไปด้วยแค่นั้น
บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #16 เมื่อ: 22-01-2008, 21:48 »

The Fed said it was cutting the federal funds rate, the interest that banks charge each other on overnight loans, to 3.5 percent, down by three-fourths of a percentage point from 4.25 percent.

The Fed action was the most dramatic signal it can send that it is concerned about a potential recession in the United States. It marked the biggest one-day move by the central bank in recent memory.

The Fed decision was taken during an emergency telephone conference with Fed officials on Monday night. Those discussions occurred after global financial markets had plunged Monday as investors grew more concerned about the possibility that the United States, the world's largest economy, could be headed into a recession.

In a brief statement, the Fed said it had decided to cut the federal funds rate "in view of a weakening of the economic outlook and increasing downside risks to growth."



เฟดลดดอกเบี้ย 0.75% DJIA ลงไปตอนนี้ 400 จุด

อีกข่าว หมอเลี๊ยบ เป็น รมว คลัง ..... โอ๊วแม่จ้าวววววววววววววววววว
พรรคที่บอกว่ามีมือเศรษฐกิจ

งานนี้ รัฐบาลขิงแก่ กะ คมช คงเป็นแพะชุดแรก โทษฐานบริหารไม่ดี
ตามด้วย ปชป กะ พันธมิตร คงเป็นแพะชุดสอง โทษฐานประท้วงขับไล่นายเหลี่ยม
IMF คงถูกตามมารักษา
สุดท้าย นายเหลี่ยม คงขี่ควายขาวเข้ามากู้ชาติ


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-01-2008, 22:13 โดย Albert Einsteins » บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 22-01-2008, 22:31 »

เฟดตัดสินใจได้ถูกต้องแล้ว กล้าๆฟัน 0.75 ไปเลย เงินเฟ้อก็เฟ้อวะ ดีกว่าปล่อยทรุด ทำให้เด้งกลับมาเหลือ -200 กว่าๆ ส่วน S&P/TSX +200 กว่า จากการลดดอกเบี้ยของธ.กลาง ณ เวลา 10AM EST

ส่วนศรีธนญชัยแลนด์ ไม่ต้องหวังแล้วครับ ตัวใครตัวมัน แปลว่า มันต้องเน่าจริงๆ ไม่งั้นหมอคอมฯ คงไม่คิดไปถึงขั้นบากหน้ามานั่งเองหรอก

ผมคิดว่า ทักษิณไม่น่าจะกลับมาภายในปีนี้ นอกจากจะยังไม่แน่ใจในความปลอดภัยแล้ว การกลับมาในช่วงเศรษฐกิจเน่าสุดๆไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่จะโดนด่า สู้อดทนรอสักหน่อย ตอนมันต่ำสุดๆและกำลังจะหักหัวขึ้น ค่อยกลับมาก็ได้ ตอนนั้นก็สามารถกรุยทางซื้อได้หมดจดจนรับประกันความปลอดภัยให้ตัวเองได้แล้ว (ไม่มีใครสามารถต้านทานข้อเสนอเงินเป็นสิบๆล้านได้หรอก)  สามารถรวบอำนาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ศัตรูทางการเมืองถูกกำจัดหมดสิ้นและแตกกระเจิง ขวากหนามทุกอย่างหมดไปแล้ว และยังอ้างได้ว่ากลับมากู้ชาติได้ด้วย ตามสไตล์ยิงนัดเดียวต้องได้นกไม่ต่ำกว่า 4 ตัว
บันทึกการเข้า

so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #18 เมื่อ: 22-01-2008, 23:12 »

เมื่อประมาณสี่เดือนที่แล้ว นายอลัน กรีนสแปน ได้ทำนายไว้หนังสือเล่มใหม่ของแกว่าการลดดอกเบี้ยของเฟดจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนในที่สุดเฟดจะต้องกลับมาขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้ออีกครั้ง อาจไปถึงเลขสองหลัก การลดดอกเบี้ในช่วงนี้เป็นการลดแรงกระแทกจากปัญหาซับไพร์ม ซึ่งคงทำได้ไม่นานเท่าไหร่เพราะเงินเฟ้อมันมาจ่อคอหอยเร็วกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งก็มาจากการปั๊มเงินออกมาใช้ในสงครามอิรัก และราคาน้ำมัน ซึ่งวันนี้ปรับลงพร้อมๆกับทองคำ เพราะความตื่นกลัวล่วงหน้า

น่าแปลกอยู่เหมือนกัน ที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำในสิงคโปร์ตอนนี้กลับสวนทางเพิ่มขึ้น 1% แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือประเทศสาระขัณฑ์ของเรานี่แหละครับ ที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน วิกฤติเศรษฐกิจมาเคาะประตูแล้ว ไอ้พวกห่านี้ยังมะงุมมะงาหรายื้อตำแหน่งกันอยู่ แถมทำท่าจะได้ไอ้เลี้ยบมาเป็นขุนคลังอีก ถ้าถึงเวลาสถานการณ์จริงก็คงดูไม่จืดครับ   Laughing Mr. Green
บันทึกการเข้า
Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #19 เมื่อ: 23-01-2008, 11:14 »

คิดว่ายังไงทักษิณต้องรีบกลับฮะ
แต่คงสองสามเดือนหลังรัฐบาลใหม่เรียบร้อย
ไม่งั๊นค่าใช้จ่ายบานฮะ โดนรีดโดนไถอยู่ตลอดควบคุมไม่ได้
อีกอย่างเงินยังโดนอายัด ต้องรีบเอาคืนก่อนเศรษฐกิจลงเหว


ส่วนเรื่อง เฟดลดดอกเบี้ย แน่นอนตัดสินใจถูกมากฮะ
DJIA ลบแค่ประมาณ 130 จุด
แต่จะยื้อได้นานแค่ไหน หรือว่าเป็นแค่การแตะถ่วงให้นักลงทุนอเมริกันมีเวลาถอนเงินทุนจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้อย่างราบรื่น
ต้องจับตามองดีๆ ใน 1-3 เดือนข้างหน้า


บ้านเราเปิดบวก ตอนนี้ลงมาลบแค่หนึ่งจุด คงสวิงไปมาแน่ๆ

จากที่เห็น นักลงทุนต่างชาติน่าจะยังถอนเงินออกจากตลาดหุ้นบ้านเราฮะ
แต่ถอนออกแบบขายแพง ซื้อกลับถูก เอาออกแต่ส่วนต่าง
ค่าเงินก็ยิ่งแข็งค่าแน่นอนหลังเฟดลดดอกเบี้ย
เราไม่เคยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจหลังไอเอ็มเอฟ
ความสามารถทางการแข่งขันก็ร่วงอีกเพราะไม่เคยส่งเสริม
เงินทุนคงผ่านเราไปลงฮานอย กับ พนมเปญ



เห็นแล้วสมเพชจัง ที่เราฝากความหวังกะพรรคการเมืองที่บอกว่ามีมือเศรษฐกิจ ทีมเศรษฐกิจที่เจ๋ง
เปิดมาหมอเลี๊ยบนั่นเองคุมคลัง
หมอเลี๊ยบคงงานหนัก เพราะ ต้องคุมเศรษฐกิจมหภาคที่แกไม่ค่อยรู้เรื่่องนอกจากการลดน้ำหนัก
สงสัยคงส่งมาลดขนาดเศรษฐกิจประเทศไทย

นายกหมักคงงานเบา เพราะ แกคงบอกนักข่าวว่า หมอเลี๊ยบดูแลอยู่ แกไม่ตอบจะตายไหม
ฮิฮิฮิ



 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 24-01-2008, 20:15 »



ผมว่าเน้นๆ พยายามติดตามค้นคว้าทางเศรษฐกิจต่อไป

ก็คงจะดีเหมือนกัน..
บันทึกการเข้า

LunaticBomberman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 147


« ตอบ #21 เมื่อ: 25-01-2008, 23:10 »

สงสารเศรษฐกิจประเทศไทย 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 26-01-2008, 14:19 »



สศช.ใช้ข้อมูลล้าหลัง 20 ปี ส่งผลตัวเลขจีดีพี "บิดเบือน"
กรุงเทพธุรกิจ  วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551

ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ บล.ไทยพาณิชย์ ซึ่งนำโดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ได้ทำรายงานเรื่อง "ทำไมเศรษฐกิจ จึงรู้สึกเหมือนโตต่ำกว่าตัวเลข จีดีพี"?

บทสรุปในรายงานดังกล่าว ระบุว่าเศรษฐกิจแท้จริงรู้สึกเหมือนเติบโตต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มาก แม้ว่าอัตราการขยายตัวของ จีดีพี จะอยู่ที่ระดับที่สูงถึง 4.9% ในไตรมาส 3 ปี 2550 หรือ 4.5% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 แต่ดัชนีวัดความเชื่อมั่นและผลการดำเนินงานของภาคธุรกิจกลับปรับตัวแย่ลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ 72.8 ในเดือนมี.ค.2550 และลดลงต่อเนื่องมาตลอด ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ย.

ส่วนอัตราการขยายตัวของรายได้ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ที่เคยเติบโต 17% ต่อปีในไตรมาส 1 ปี 2549 กลับลดลงและติดลบ 8% ต่อปีในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา อะไรทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน และความเชื่อมั่นปรับตัวไม่สอดคล้องกับตัวเลขอัตราการขยายตัวของจีดีพี ทำไมเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงดูเหมือนกำลังเติบโตโดยปราศจากแรงขับเคลื่อน

เหตุผล 3 ข้อที่จะอธิบายได้ว่าทำไมเศรษฐกิจจึงรู้สึกเหมือนโตต่ำกว่าตัวเลขจีดีพี

เหตุผลข้อแรก อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวต่ำกว่าการเติบโตของจีดีพีในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพียง 1.3% และ 0.7% ตามลำดับ ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของ จีดีพีที่ระดับ 4.5% อย่างมาก เนื่องจากภาคธุรกิจถูกขับเคลื่อนด้วยการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ (การบริโภคและการลงทุน) มากกว่าการขยายตัวของจีดีพี โดยรวม ดังนั้นการขยายตัวของ จีดีพี ที่มาจากการเติบโตของการส่งออกเป็นหลักในช่วงนี้ จึงมีผลดีต่อธุรกิจต่างๆ ภายในประเทศไม่เต็มที่นัก

เหตุผลข้อที่สอง ในขณะที่เศรษฐกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยการส่งออกเป็นหลัก แต่ภาคส่งออกเอง กลับต้องประสบกับการลดลง ของราคาสินค้าส่งออก แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเติบโตเกือบ 8% ในไตรมาส 3 ปี 2550 แต่ราคาสินค้าส่งออกในสกุลบาทกลับปรับตัวลดลง 1.8% เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 9% และ 2% ในปี 2548 และปี 2549 ตามลำดับซึ่งหมายความว่าประเทศไทยทำการผลิตและส่งออกในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น แต่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกลับทำให้รายได้ต่อชิ้นลดลง

เหตุผลข้อที่สามที่สำคัญคือ ตัวเลขอัตราการขยายตัวของ จีดีพี สูงกว่าความเป็นจริง ตัวเลขจีดีพี ที่ประกาศอย่างเป็นทางการอิงกับการเติบโตจริงที่คำนวณโดยใช้ราคาปีฐาน (พ.ศ. 2531) ที่เก่าเกือบ 20 ปี แต่ราคาในเชิงเปรียบเทียบ(Relative Prices) ตั้งแต่ตอนนั้นถึงตอนนี้แตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่าง เช่น ราคาสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น ช้ากว่าราคาสินค้าการเกษตรมาก แต่ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่าสินค้าการเกษตรจีดีพี เป็นตัววัดผลผลิต และประเทศไทยก็กำลังผลิตมากขึ้น แต่ "มูลค่าที่แท้จริง" ของผลผลิตนั้นไม่ได้มากอย่างที่เคยเป็นในอดีต

ตัวอย่าง เช่น การเพิ่มขึ้นมากของผลผลิตอุตสาหกรรมในระยะหลังนี้เกิดจากการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เพื่อส่งออก แต่มูลค่าของชิ้นส่วนเทียบกับสินค้าและบริการอื่นๆ ในตอนนี้ต่ำกว่าเมื่อย้อนกลับไปในปี 2531 อย่างมาก การใช้ราคาในอดีตมาถ่วงน้ำหนัก ทำให้สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมใน จีดีพี และอัตราการเติบโตของ จีดีพี สูงกว่าที่ควรจะเป็น

การใช้ราคาปีฐานที่ใหม่ขึ้นจะทำให้การคำนวณ จีดีพี สะท้อนภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันดีขึ้น และทำให้การเติบโตของ จีดีพี ใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 หายไปประมาณ 60-80 Basis Point (BPS) สภาพัฒน์ประเมินว่าการใช้ราคาปีฐานในปี 2545 จะทำให้อัตราการขยายตัวของจีดีพี ในระหว่างปี 2543-2548 ลดลงจากเดิมประมาณ 60 BPS ซึ่งบางปีอัตราการขยายตัวของ จีดีพี อาจลดลงถึง 140 BPS เราขอเน้นว่าวิธีการคำนวณตัวเลข จีดีพี ของทางการนั้นไม่ผิด แต่เป็นเพราะปีฐานที่เก่า ทำให้ตัวเลขที่คำนวณได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจแท้จริงในปัจจุบันได้ไม่ดีนัก แนวโน้มราคาและโครงสร้างการผลิตในระยะหลังที่ต่างจากอดีตมาก ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากขึ้น

ประเด็นที่ควรพิจารณา 2 ข้อ ประเด็นแรก การใช้ตัวเลข จีดีพี ที่เติบโตเกินจริงในการวางนโยบาย หรือวางแผนธุรกิจ อาจเกิดความผิดพลาด ตัวเลข จีดีพี ที่สูงกว่าที่ควร อาจทำให้ผู้วางนโยบายใช้นโยบายด้านการเงิน และการคลังที่ตึงตัวเกินไปบริษัทต่างๆ ก็ควรเลือกใช้ตัวเลขที่มีผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจของตนในการวางแผน เช่น ใช้ตัวเลขการอุปโภคบริโภคหรือการลงทุนภาคเอกชนแทนการใช้ จีดีพี โดยรวม ประเด็นที่สอง สิ่งต่างๆ กำลังปรับตัวดีขึ้น แม้ตัวเลข จีดีพี ที่ผ่านมาอาจจะสูงเกินจริง แต่เราเชื่อว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีสัญญาณว่าอุปสงค์ภายในประเทศผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และน่าจะดีขึ้นในปี 2551 แม้ตัวเลขการขยายตัวของจีดีพี อาจจะไม่ก้าวกระโดดเพราะการชะลอตัวของการส่งออก แต่การเติบโตที่เกิดจากอุปสงค์ภายในประเทศ จะเป็นการเติบโตที่มีแรงขับเคลื่อนอย่างแท้จริง
บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #23 เมื่อ: 26-01-2008, 21:48 »

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นนักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่เก่ง เคยทำงานเวิล์ดแบงค์
ผมรู้จักท่านบ้างจึงเชื่อว่าบทสัมภาษณ์คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณคุุณ Q ฮะที่หามาให้อ่านกัน

เห็นด้วยบางอย่างฮะ
อย่างที่บอกว่าส่งออกคงได้รับผลกระทบ คงเหลือแต่การลงทุนและการบริโภคภายใน
แต่อย่างที่แสดงความเห็นไปแล้ว
การลงทุน คงพึ่งเมกกะโปรเจค หวังว่าการลงทุนนี้จะได้รับอานิสงค์กันถ้วนหน้า ไม่เฉพาะบางกลุ่ม
เพราะการกระตุ้นนี้ถ้ากระจายในวงกว้าง จะดีมากที่จะหมุนวงล้อเศรษฐกิจ หากกระจุกต้วคงไม่ดีต่อส่วนรวม

ส่วนการบริโภคในภาวะที่ราคาถีบตัวสูง กะ ความไม่มั่นใจของผู้บริโภค
ทำให้อาจไม่ขยายตัว อาจจะทรงตัว
ยกเว้นรัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นได้

สุดท้ายทุกอย่างก็อยู่ในมือรัฐบาล
เร่งสร้างความเชื่อมั่น เร่งวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่คงไม่น่าห่วงเพราะเรามีหมอเลี๊ยบ หมอจิงๆ มาผ่าตัดเศรษฐกิจ 

 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 26-01-2008, 21:53 »




มาดันกระทู้ให้ เผื่อบางคนไม่ได้อ่าน

ว่าต้องเปิดรับข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ๆ

อย่าแสดงความเห็นแบบพวกท่องเป็นนกขุนทอง..



คนที่เข้าใจ คุยครั้งเดียวก็ทราบครับว่า มีความรู้ระดับใด ค้นคว้าเป็นหรือฟังขี้ปากคนอื่นมา...
บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #25 เมื่อ: 27-01-2008, 01:19 »

ไม่ต้องดันหรอกฮะ
ถ้าคนเขาสนใจก็อ่านกันเองฮะ
เพราะกระทู้ผมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ฮะ เห็นต่างได้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
มุมมองที่หลากหลายก็เปิดโลกแห่งปัญญาฮะ
ผมไม่งมโข่งเป็นกบในกะลาว่าตัวเองถูกเสมอฮะ

อ้ออีกอย่าง ผมสมองมีคิดเป็นฮะ ไม่เคยฟังขี้ปากใครฮะ
เพราะเปิดรับฟังความคิดเห็นคนอื่นเสมอฮะ
ใฝ่หาความรู้เสมอฮะ ไม่ดื้อด้่านเป็นบัวใต้ซีเมนต์ฮะ
จะจบปอสี่แต่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็เป็นปราชญ์ได้ฮะ

ถ้าจบปริญญาเอก ถ้าคิดดีไม่เป็น สำหรับผมแล้วถือว่าโง่ฮะ



 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 01:21 โดย Albert Einsteins » บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 27-01-2008, 01:26 »

ไม่ต้องดันหรอกฮะ
ถ้าคนเขาสนใจก็อ่านกันเองฮะ
เพราะกระทู้ผมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ฮะ เห็นต่างได้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
มุมมองที่หลากหลายก็เปิดโลกแห่งปัญญาฮะ
ผมไม่งมโข่งเป็นกบในกะลาว่าตัวเองถูกเสมอฮะ

อ้ออีกอย่าง ผมสมองมีคิดเป็นฮะ ไม่เคยฟังขี้ปากใครฮะ
เพราะเปิดรับฟังความคิดเห็นคนอื่นเสมอฮะ
ใฝ่หาความรู้เสมอฮะ ไม่ดื้อด้่านเป็นบัวใต้ซีเมนต์ฮะ
จะจบปอสี่แต่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็เป็นปราชญ์ได้ฮะ

ถ้าจบปริญญาเอก ถ้าคิดดีไม่เป็น สำหรับผมแล้วถือว่าโง่ฮะ



 



 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 27-01-2008, 01:32 »



มาดันกระทู้ให้ เผื่อบางคนไม่ได้อ่าน

ว่าต้องเปิดรับข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ๆ

อย่าแสดงความเห็นแบบพวกท่องเป็นนกขุนทอง..



คนที่เข้าใจ คุยครั้งเดียวก็ทราบครับว่า มีความรู้ระดับใด ค้นคว้าเป็นหรือฟังขี้ปากคนอื่นมา...



กระทู้ตั้งในที่สาธารณะ ก็เป็นสาธารณะไปแล้วครับ ผมพูดกับคนทั่วไปด้วย..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 27-01-2008, 01:37 »




จะดูว่าเก่งหรือไม่ ต้องดูการตัดสินใจ ในกรณีจริงแต่ละเคส.?

ถ้าดูประวัติ อภิสิทธิ์ก็เด็กไม่มีประสบการณ์ทำงานจริงด้านนี้ นอกจากอภิปรายนิดหน่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 01:48 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Albert Einsteins
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 146



« ตอบ #29 เมื่อ: 27-01-2008, 13:58 »

ข่าวว่าด๊อกเตอร์โกร่งตอบรับเป็น รมว คลัง
คงต้องรอดูว่าจริงป่าว
แต่อย่างน้อยแกก็รู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาคดีคนนึง
กลับลำทันอย่างนี้ค่อยดีหน่อย
กลัวเป็นข่าวปล่อย สุดท้ายหมอเลี๊ยบมาจิงๆ

เอาใจช่วยฮะ หวังว่าคงไม่ลงเหวนะ

 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 27-01-2008, 14:05 »




ด้านเศรฐกิจมหภาคเปรียบเหมือนสุขภาพคนเรา ถ้าไม่ป่วยก็ไม่ควรจ่ายยา หรือผ่าตัด

ควรรักษาร่างกานให้แข็งแรงไว้เสมอ..อ้อจิตใจสบายมีความมั่นคงดี สุขภาพก็ไม่วูบวาบครับ

ญาติคนไข้ ต้องคอยติดตาม เฝ้าไข้ คุยกับหมอ..

หนีไม่พ้นแนวคิดเรื่องภูมิคุ้มกันต้องค่อยๆสร้าง ตัวเล็กก็แข็งแรงได้ ถ้าไม่ยกของหนักเกินตัวครับ
บันทึกการเข้า

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 27-01-2008, 22:39 »

ผมเกลียด ดร.โกร่งมาก
เพราะถึงแกจะทำตัวเป็นพระเอกละครหลังข่าว
แต่สุดท้ายก็ไม่ต่างอะไรกับพวก
"ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก"

สัมพันธ์ประกันภัย ที่ ดร.โกร่งบริหาร เจ๊งไปเท่าไหร่
เอามาคุมเศรษฐกิจเกรดเอบวก มิฉบิหายวายวอดรึ
 
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

h_e_a_t
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


น้ำข้าว อร่อยกว่า ไวน์ เยอะเลยย


« ตอบ #32 เมื่อ: 27-01-2008, 23:39 »

หากท่านมีธุรกิจระดับใหญ่ในมือ และอยู่ในวงการมานานกว่า สิบปี ท่านจะไม่วิตกเรื่องใคร เป็นทีมงานเศรษฐกิจของรัฐบาล ครับ


ในวงการธุรกิจไม่ว่าประเทศไหนก็ตามในระบบทุนนิยม ซึ่งไทยเราก็เป็น

นักธุรกิจ เป็นผู้กำหนดเศรษฐกิจครับ ผ่านทางองค์กรที่รวมตัวกันทางธุรกิจ และธนาคารพาณิชย์

รัฐบาลเป็นเพียง ผู้ประคองให้เกิดแนวทาง และดุลย์ของการค้าภายในและภายนอก เท่านั้น

ธนาคารชาติ ก็เป็นผู้มองภาพรวมของการเงิน แต่นั่นมันหลังจากธุรกิจได้ดำเนินกระบวนการของมันไปมากกว่า ครึ่งทางแล้ว


ปัญหาปัจจุบัน เป็นผลของการกระเทือนในใยแมงมุมที่สานต่อกันหมดแล้วในโลกปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศเราอยู่ตรงส่วนไหน และสั่นสะเทือนมากหรือน้อยกว่าจุดอื่นเท่าใด


สิ่งที่แต่ละประเทศจะทำได้เพื่อหยุดการกระเพื่อมของใยแมงมุม คือ การทรงตัวอยู่ให้ได้นานที่สุด นิ่งที่สุด เพื่อให้แรงกระเพื่อมตัวนั้นค่อยๆลดลงจนหมดไป

..............มันเป็นธรรมขาติของเศรษฐกิจโลก สลับไปมา

ใครมีวิธีทรงตัวได้ดีกว่ากัน คนนั้นก็อยู่รอดบนใยแมงมุมนี้

ทีมงานที่จะเข้ามาดูแล ผมเชื่อว่า เขาก็ทราบดี เพราะ มันไม่ใช่ช่วง ไต่ตามใยออกหากิน แต่มันเป็นช่วงหาดุลย์ให้เหมาะเพื่อเกาะใยไม่ให้ตก ต่างหาก ครับ


...................................และนี่เป็นเหตุผลหลัก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงส่งสัญญาณ ผ่านให้ประชาชนทราบ ถึง เศรษฐกิจพอเพียง

เพราะหากเราหาดุลย์ของการเกาะใยได้แล้ว เราก็จะเกาะอย่างมั่นคง ไม่กระเพื่อมไปมากตามแรงสั่นไหว

........ฐานรากของเราเองในเศรษฐกิจ คือ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง

หากมั่นคงแล้ว จะไต่ใยออกหากิน หรือจะเกาะใยให้แน่นไม่ให้ตก ก็ทำได้อย่างไม่อันตราย


เศรษฐกิจไทย สำหรับรัฐบาลนี้ ไม่ใช่เรื่องการพัฒนา หรือ แสวงหาแนวใหม่ๆ เพื่อหาเงิน  แต่เป็นเรื่องของการทำอย่างไรให้เกิดดุลย์ที่เหมาะสมของประเทศ โดยให้เจ็บตัวน้อยที่สุดจากแรงกระเพื่อมที่มาจากต่างประเทศต่างหากครับ

การให้ต่างชาติมาลงทุนมากขึ้น ไม่ต่างไปจากการมีคนช่วยยึดเราให้แน่นกับใยแมงมุม แต่เมื่อสักวันเขาปล่อยขาเรา เราก็อ่อนแอตามเคย  ไม่ใช่วิถีทางที่ยั่งยืนสักนิด


...................มีใครมองไหมว่า ทำอย่างไรให้ฐานรากของเศรษฐกิจภายในแข็งแรงก่อน  ก่อนที่จะคิดให้ผู้อื่นเข้ามาลงทุนมากๆเพื่อช่วยเศรษฐกิจ?????????


หลงทางกันไปหรือเปล่า..........หรือ ผมคิดผิดไปเอง
บันทึกการเข้า

โลกนี้ ไม่มีใครสูงกว่าใคร  แต่ที่เรามองเห็นคนอื่นสูงกว่า ก็เพราะเราไปคุกเข่าให้เขาเอง
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #33 เมื่อ: 28-01-2008, 09:10 »

ข่าวว่าด๊อกเตอร์โกร่งตอบรับเป็น รมว คลัง
คงต้องรอดูว่าจริงป่าว
แต่อย่างน้อยแกก็รู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาคดีคนนึง
กลับลำทันอย่างนี้ค่อยดีหน่อย
กลัวเป็นข่าวปล่อย สุดท้ายหมอเลี๊ยบมาจิงๆ

เอาใจช่วยฮะ หวังว่าคงไม่ลงเหวนะ

 

เป็นความจริง ครับ....ดร.โกร่ง เป็นคนที่ มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ มหภาคคนหนึ่ง..แต่ อีโก้สูง จนน่าเกลียด

แต่สิ่งที่ ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ก็ คือ วิกฤติ ปี 40 ดร. ได้แสดงให้เห็นแล้ว ในยามที่วิกฤติ จริง ๆ

ไม่สามารถ แก้ไขปัญหาให้ชาติบ้านเมืองได้ กลับ เลือกทางที่ซ้ำเติมชาติ ด้วย การเจาะฟองสบู่

ซ้ำร้าย นั่นยังไม่พอ แทนที่จะหุบปาก เงียบ ๆ ไว้ ...กลับ ออกมาตีโพย ตีพาย โทษโน่น โทษนี่

แทนที่ จะยอมรับผิด ด้วยการ เงียบ ๆ .....ดร.โกร่ง คนนี้ แหละครับ ที่ พยากรณ์ เศรษฐกิจ ปี 42

ว่า GDP จะติดลบ 5  เป็นการพยากรณ์ ที่ ห่วย ที่สุดในโลกทีเดียวครับ...ผมจำแม่นแฮะ

เครดิต ที่หลงเหลืออยู่ ก็คือ การอยู่ในทีม เศรษฐกิจ ของ คุณสมหมาย ฮุนตระกูล..ครั้งนั้น

การตัดสินใจ เกือบทั้งสิ้น เป็นการตัดสินใจ โดย คุณสมหมาย ฮุนตระกูล ด้วยการ สนับสนุน

ของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์......สภานะ ดร.โกร่ง ในครั้ง นั้น ก็ไม่ต่าง กับ จาตุรนต์ ฉายแสง

 รมช.คลัง ในยุค ทนง พิทยะ หรอกครับ....ถ้า ผมเลือกได้....และไม่มีตัวเลือกมากนัก

ผมขอเสี่ยง กับ หมอ เลี๊ยบ ดีกว่า.....ดูมีความละอายใจ ละอาย ต่อบาป มากกว่า ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-01-2008, 09:12 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #34 เมื่อ: 21-02-2008, 16:21 »

http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/21/WW12_1237_news.php?newsid=231815


น้ำมันโลกทุบสถิติปิดที่100.01ดอลล์เข้าใกล้120ดอลล์"จุดวิกฤติ"ของธุรกิจไทย
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 00:00:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ใน การทำงานของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ถึงเวลาต้องแข่งกับเวลามากขึ้น หลังจากที่ได้ใช้เวลา 3 วันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไป แต่ดูเหมือนว่า ระบบการทำงานของรัฐบาลในวันนี้ ยังแบ่งแยกไม่ออกว่า ปัญหาระยะสั้นและเร่งด่วนคืออะไร โดยดูได้จากมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่มีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 6 กลุ่มเพื่อดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งได้บรรจุเรื่องการดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน อาทิ กฎหมายค้าปลีก ไว้ในนโยบายเร่งด่วนด้วย โดยที่รักษาการโฆษกรัฐบาลแถลงข่าวว่า "เพื่อดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใน 6 กลุ่มภารกิจ และมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน จึงได้มอบหมายให้นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน"

คณะทำงานออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อาทิ การดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท,ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และพลังงาน การ ดำเนินมาตรการรองรับผลกระทบจากราคาพลังงาน กลุ่มที่ 2 เร่งรัดการลดรายจ่ายให้กับประชาชน อาทิ การสร้างระบบประกันความเสี่ยงให้กับเกษตรกร การวางระบบถือครองและแนวเขตที่ดินทำกิน ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน และสร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน อาทิ เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จัดสรรงบประมาณตามขนาดของประชากร (SML) โครงการธนาคารประชาชน สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน การเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้าน

กลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ อาทิ การเร่งรัดการลงทุนระบบขนส่งมวลชนระบบราง ท่าอากาศยานสากล การขยายพื้นที่เพิ่มประสิทธิภาพชลประทานพร้อมประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น ปีแห่งการลงทุน รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวข้องกับการลงทุน อาทิ กฎหมายค้าปลีก กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ อาทิ ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยว และกลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน แต่ทั้ง 6 กลุ่มคณะทำงาน กลับไม่ได้กำหนดกรอบเวลาในการทำงานที่แน่นอน รวมทั้งเตรียมการรับมือกับความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะที่รุมเร้าจากปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในวันนี้ความผันผวนที่เกิดขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ทะยานทะลุ 100.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำลายสถิติสูงสุดจากช่วงปลายปีที่ผ่านมา

ในขณะที่ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ เปิดเผยภาวะธุรกิจของไทยในปี 2551 จากความคิดเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 489 ราย ระหว่าง 11 ธ.ค. 2550 - 28 ม.ค. 2551 เรื่องผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันต่อภาค การค้าของไทย มี 4 จุดเปราะบางทั้งลดการผลิต ลดจ้างงาน ย้ายฐานผลิต และปิดกิจการ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยที่ใกล้"จุดวิกฤติ" ว่า หากราคาน้ำมันแพงถึงจุดเสี่ยงภัยที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการให้ต้องมีการ ปรับตัวกัน พบว่ากรณีราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผู้ประกอบการจะลดการผลิต 10% แต่หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ 1.01% ต้องปิดกิจการ และหากราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจนสูงกว่า 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ 1.32% ปิดกิจการลง

ในเรื่องค่าเงินบาทก็เช่นกัน แม้ว่าภาคธุรกิจยอมรับการปรับตัวที่ต้องเร่งดำเนินการ แต่ก็เรียกร้องความช่วยเหลือเร่งด่วนจากภาครัฐ โดยต้องการให้ภาครัฐแทรกแซงค่าเงินบาท รองลงไปคือพยุงราคาน้ำมัน และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ตามลำดับ โดยเฉพาะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งออกเพราะหากเงินบาทแข็งค่าเฉลี่ยถึง 32.50 บาทต่อดอลลาร์ อัตราขยายตัวการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 4.6% แต่หากเงินบาทแข็งค่าไปถึง 30 บาท การส่งออกอาจถึงขั้นขยายตัวติดลบ และหากถูกซ้ำเติมด้วยปัจจัยลบมากขึ้น ถ้าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องไปอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์แล้ว จะส่งผลให้ผู้ประกอบการ 2.08% ปิดกิจการลง

ทั้งนี้พบว่าผู้ประกอบการ SMEs ได้รับผลกระทบสูงกว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ปัญหาทิศทางเงินดอลลาร์อ่อน กระแสเงินทุน ปัญหาซับไพร์มในสหรัฐ ยังคงปะทุเป็นระลอก โดยขอให้นำปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมาประกอบก่อนการตัดสินใจในเรื่องมาตรการกัน สำรอง 30% เนื่องจากหากมีการยกเลิกในขณะนี้ จะเป็นตัวเร่งผลกระทบที่มีต่อค่าเงินบาทมากขึ้น



มาดูกันครับ ว่านโยบายนี้จะเป็นอย่างไร?
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #35 เมื่อ: 23-02-2008, 10:05 »

เรื่องเงินบาท ต้องยอมให้ได้ซะก่อน ว่า เรา คงทำอะไรที่มันฝืน ๆ มากไปไม่ได้ เงิน ก็ยังคงเดินหน้า แข็งค่าต่อไปอยู่แล้ว....

ที่เราทำได้ ก็คือ การชะลอไม่ให้ แข็งค่าเร็วเกินไป เพื่อให้ผู้ส่งออกได้ปรับตัว ปรับราคาสินค้า.....

หากหมอเลี๊ยบ ยืนกราน จะยกเลิกมาตรการ 30%  เพื่อผลทางจิตวิทยา การลงทุน หรือ การเมืองอะไรก็แล้วแต่
จะต้องมีมาตรการรองรับที่ ทีพอควร...เพราะหลังจากยกเลิก หากไม่มีมาตรการอะไรที่ดีออกมารองรับ เงิน จะไหล่บ่าเข้าไทย.....ซึ่งเงินส่วนใหญ่ เป็นเงิน ที่ เค้ามาเก็งกำไร...อาจจะมีบางส่วนที่เข้ามาลงทุนในภาค เรียลเซ็คเตอร์บ้าง.....เงินทุนเหล่านี้ จะทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว......ผู้ส่งออกจะปรับตัว ปรับราคา ไม่ทัน......ตลาดหุ้น อาจเกิดภาวะกระทิง หุ้นอาจจะขึ้นระเบิดเถิดเทิง (พวกนักลงทุนถึงได้เรียกร้องกันนักหนาว่าให้ยกเลิก) .....แบ็งค์ชาติ จะต้องเหนื่อยกับการ นั่งชั่งใจว่า จะต้องเข้าแทรกแซง ค่าเงินเมื่อไหร่ ซึ่งก็คงเลี่ยงไม่ได้....แล้ว ก็ ขาดทุน อีก.....แล้ว ก็ถูกด่าอีก....ตอนที่เงินทุน เข้ามา มันก็เกิดความเสียหาย แบบที่ผมว่า มานั่นแหละครับ.......

แต่ตอนที่ พวกนักเก็งกำไร จะออกจากตลาดไทยนี่ซิครับ.....คงยังจำกันได้น๊ะครับ.....เมื่อครั้งปี 40  ....ตายเรียบ.....ยิ่งตอนเข้า มีเงินเข้ามามาก ก็เหมือนกับสะสมพลังไว้มาก....ตอนที่ออก ก็ยิ่งจะรุนแรงมากขึ้นไปอีกหลายเท่า...เพราะ จะมีบรรดาเศรษฐีทั้งหลายตามน้ำไปด้วย.......ไม่อยากนึกถึงจริง ๆ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-02-2008, 10:24 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 23-02-2008, 11:25 »

การส่งออก ที่เป็นของคนไทยจริงๆน่ะ ตายไปนานแล้ว โดนเวียดนามตีตายไปนานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น พวกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ต่างๆ พวกที่ยังอยู่รอดได้มีแต่ออร์เดอร์ในประเทศทั้งนั้น

และในระบบเศรษฐกิจ มันไม่ได้มีผู้ส่งออกเท่านั้น ยังมี ผู้นำเข้า  การไประดมช่วยผู้ส่งออกกันท่าเดียวก็คือการมองด้านเดียว เพราะว่า เวลานี้ผู้นำเข้าวัตถุดิบที่เอามาผลิตของส่งออก ก็ได้รับผลกระทบด้วย เพราะเขาต้องเสียต้นทุนที่แพงมากกว่าปกติ เงินดอลล่าร์ร่วงลงทุกวันๆ และเขาไม่รู้ว่า วันไหนที่แบ๊งก์ชาติอั้นไม่อยู่ขึ้นมา ตัวเองมีสิทธิเจ๊งย่อยยับ

นอกจากนี้ก็มี  ประชาชนคนเดินดิน ที่เผชิญกับเงินเฟ้อ ทยอยตายกันไป ยังไม่นับหนี้สินที่มาจากสมัยหน้าเหลี่ยมไปรณรงค์สร้างหนี้เอาไว้

แล้วก็พวก SME ที่เวลานี้เป็นซากไปหมดแล้ว เพราะว่า ทั้งไอ้รัฐบาลเหลี่ยม รัฐบาลฤาษี มันปล่อยให้ ยักษ์ใหญ่ฟาดฟันกันจนหญ้าแพรกแหลกไปหมด  น่าสงสารมาก บางคนทั้งเดือนยังไม่มียอดขายก็มี แล้วยังเจอสรรพากรมาตรวจ มาค้น หาว่าหลบอีกต่างหาก
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #37 เมื่อ: 23-02-2008, 17:30 »

การแข็งค่า ของเงินบาท ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ส่งออกอย่างเดียว.....ยังส่งผลไปถึงภาคบริการ อื่น ๆ ด้วย.....ประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยว.....ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นภาคส่วนที่นำเงินเข้าประเทศ เป็นจำนวนมาก......

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ น้ำมันเริ่มไต่ระดับขึ้นใหม่ ๆ ในช่วงทักษิณ เราขาดดุลย์การค้า  แต่อาศัยภาคบริการพวกนี้แหละ ที่ยังทำให้เรา มีดุลย์ชำระเงิน เป็นบวกอยู่

อย่างไรก็ดี....เรา คงไปต้านทาน การแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้หรอกครับ เพราะ มันเป็นกระแสโลก...ทำได้แต่ เพียงป้องกันไม่ให้ พวกเงินร้อน มันเข้ามามากจนเกินไป หรือ ให้เข้ามาน้อยที่สุด  เพราะ มันไม่ได้มีประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจในประเทศ กลับแต่ จะมาทำลาย ในระยะยาว......

แบ็งค์ชาติ ออกมาตรการ 30 % เพราะ ไม่อยากเข้าการแทรกแซงค่าเงินมากเกินไป.....มันมีแต่ เสียมากกว่าได้....แบ็งค์ ก็ย่อมรู้ดีแน่นอนว่า ยังไงเงินบาทก็ต้องเดินหน้า แข็งค่าต่ออยู่ดี....ที่ทำ ๆ อยู่ ก็เพียงต้องการสกัดพวกเงินร้อน อีกทั้งยังเป็นการ ซื้อเวลาให้ ธุรกิจ ต่าง ๆ ที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับเงินดอลล่าห์ ได้มีเวลาปรับตัว กัน....

สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ อย่าให้พวกนักการเมืองที่คิดแต่จะหาเสียง หาประโยชน์ เข้ามาแทรกแซงแบ็งค์ชาติได้ ก็แล้วกันครับ..มันจะเป็นกลียุคทางเศรษฐกิจ แบบปี 40 อีกครั้ง
บันทึกการเข้า
LunaticBomberman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 147


« ตอบ #38 เมื่อ: 23-02-2008, 18:43 »

อืม...เข้ามาเก็บความรู้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: