ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 01:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อวสาน 149 เจริญกรุง 64บ้านโบราณล้ำค่า 5 รัชกาล 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อวสาน 149 เจริญกรุง 64บ้านโบราณล้ำค่า 5 รัชกาล  (อ่าน 10293 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 13-01-2008, 18:34 »

เปิดตำนานบ้านไม้สักทอง 4 แผ่นดิน แห่งเจริญกรุง 64 จากอดีตจนถึงปัจจุบัน สำรวจหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ก่อนจะเหลือเพียงความหลัง สัญลักษณ์ แห่งความพยายามปกปักรักษาชุมชน ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกราก

ณ ริมแม่น้ำเจ้าพระ ยาช่วงที่ถูกเรียกว่าเป็นทำเล หัวมังกรกับถนนที่เก่าแก่ที่ สุดในกรุงเทพฯ อย่างถนนเจริญ กรุง บ้านไม้สักทองทั้งหลังอายุ ไม่ต่ำกว่า 70 ปี ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางความเจริญทางวัตถุ ห้อมล้อมด้วยคอนโดฯ หรูระดับห้าดาว เป็นฉากหลัง บนผืนแผ่นดินที่ปัจจุบัน คือ ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บ้านไม้สักทองทั้งหลัง ที่จากประวัติ ของบ้านสันนิษฐานว่า อาจถูกสร้างขึ้นช่วง ก่อนปี 2468 ที่ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงปลายรัชกาล คือพยานหนึ่งเดียวที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงหลงเหลืออยู่บ่งบอกถึงความเป็นมาของชุมชนเจริญกรุง 64 บนความภูมิใจของชาวชุมชน

สภาพของบ้านไม้สักทอง ผ่านสายตาช่วงภาพ และผู้สื่อข่าว “สยามธุรกิจ” ถูกทาบทาไว้ด้วยสีเหลืองสลับสีขาว ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยลายปูนปั้นตามขอบหน้าต่าง และบานหน้าต่างประดับกระจกสี บ่งบอกถึงความสุนทรีย์แห่งอดีตกาล ที่ถูกบรรจงสร้างสรรค์ไว้จากจินตการของเจ้าของบ้าน และบ่งบอกถึงความเก่าแก่ ในฐานะที่ที่บ้านหลังนี้ ยืนผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วตลอด 4 รัชกาล 4 การผลัดแผ่นดิน

ความน่าสนใจของบ้านหลังนี้ อยู่ที่ เกือบทั้งหลัง สร้างขึ้นจากไม้สักทองโบราณ ที่ยึดติดกันไว้ด้วยสลักแบบโบราณแท้ๆ ที่ปัจจุบันนอกจากวังของเจ้านาย หรือบ้านโบราณของขุนนางเก่าบางแห่งแล้ว ก็แทบจะไม่หลงเหลือบ้านลักษณะนี้ให้เห็นอีกในกทม. ที่ตั้งของบ้านอยู่เลขที่ 149 ซ.เจริญกรุง 64 เขตยานนาวา หากเข้าจากด้านปากซอยเจริญกรุง 64 จะอยู่ซ้ายมือ ติดกับบ้านโบราณอีกหนึ่งหลัง ที่มีอายุใหม่กว่ากันไม่ถึง 30 ปี ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 500 เมตร

นางศิริพร วงศ์พูลเชาว์ ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในปัจจุบัน เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของบ้านไม่สักสี่แผ่นดินแห่งซอยเจริญกรุง 64 ว่า “บ้านนี้เป็นบ้านของพ่อค้าวาณิชเชื้อสายจีน ที่ถือสัญชาติสิงคโปร์ แต่เข้าอาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำการค้า ด้วยความเป็นชาวจีนกวางตุ้ง ที่สามารถสื่อสารกับคนในท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนได้เป็นอย่างดี ก็ส่งผลให้กิจการการค้าเจริญขึ้นเรื่อยๆ ในนามของบ.น่ำเฮงหลง ที่มีสาขาอยู่ที่ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลายประเทศทั่วเอเชีย และเริ่มต้นด้วยกิจการโรงเลื่อย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนเจริญกรุง 64 ที่เป็นธุรกิจให้เกิดการจ้างงานและเกิดชุมชนขึ้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้

เจ้าของบ้านมีชื่อว่า นายฮงหงี้ แซ่หว่อง เดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์สันนิษฐานว่าบ้านหลังดังกล่าว น่าจะมีมาก่อนที่นายฮงหงี้จะเข้ามาในประเทศไทย และเมื่อนายฮงหงี้ เข้ามาก็สร้างและต่อเติมบ้าน และเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยเต็มตัว โดยถือใบต่างด้าว และมีทายาทที่เกิดที่บ้านหลังนี้ และเป็นคนไทยเต็มตัวต่อมาอีกหลายรุ่นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพเข้าสู่สิงคโปร์ ประตูที่จะกลับไปทำธุรกิจในสิงคโปร์ถูกปิดตาย ธุรกิจของ นายฮงหงี้ ก็เจริญเติบโตในเมืองไทย ตลอดมา พร้อมๆ กับชุมชนเจริญกรุง 64 ที่ จวบจนถึงปัจจุบันซึ่งตนก็เป็นทายาทรุ่นที่ 3 แล้ว ยืนยันว่านายหงี้ฮงได้ทำงานและทำธุรกิจในประเทศไทย(หลักฐานใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าว ออกโดยทางราชการในปี 2516 เลขที่กธ.16739/2516)

บ้านหลังนี้สร้างขึ้นบนเนื้อที่ ที่จนวันนี้ก็ยังไม่มีเอกสารใดพิสูจน์ทราบได้ ว่าเป็นเนื้อที่ของใคร แต่สุดท้ายลงเอยตรงไปอยู่ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกำลังจะมีการพัฒนา ซึ่งรอบข้างซอยเจริญกรุง 64 และซอยเจริญกรุง 64 ถูกรื้อถอนและพัฒนาไปแล้วบางส่วน หลังบ้านถ้ามองจากหน้าบ้านก็จะเห็นคอนโดสองหลังสูงตระหง่าน ขณะที่ห่างจากบ้านอีกไม่ถึง 500 เมตรริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการรื้อถอนแล้ว

สำหรับบ้านหลังนี้ทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้อยู่อาศัยได้ถึงเดือนเม.ย.ปี 2551 แล้วก็จะทำการรื้อถอน ซึ่งถามความรู้สึกตนแล้ว ไม่อยากจะออกจากบ้านหลังนี้ ที่สำคัญหลังปี 2551 ชุมชนเจริญกรุง 64 จะเหลือแต่อดีต ที่ผ่านมากรมศิลปากรเคยมาขอขึ้นทะเบียน แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนที่ตนจะเข้ามาถือกรรมสิทธิ์ ไม่แน่ใจว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมตกลงกับทางกรมศิลป์ไว้อย่างไร เรื่องนี้ก็เลยเงียบหายไป ที่มาของบ้านหลังนี้ยังไม่ชัดเจนว่าบรรพบุรุษของตนเข้ามาสร้าง หรือมาบ้านมีอยู่แต่เดิมแล้วบรรพบุรุษของตนเข้ามาซื้อและต่อเติม แต่บ้านหลังนี้เป็นพยายามวัตถุที่บ่งบอกได้ว่าชุมชนเจริญกรุง 64 มีความเป็นมาอย่างไร ทำให้มองข้ามไปถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ว่า เหตุใดจึงตกไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินเพิ่งจะมาตั้งตามพรบ.หลังปี 2475 “นาง ศิริพร กล่าว

ขณะที่นายสันติ กาญจนวิกรัย อายุ 76 ปี ผู้อาวุโสประจำชุมชนเจริญกรุง 64 เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ”ว่า “ตนเดินทางเข้ามาประเทศไทยประมาณอายุ 16-17 ปี และมาอยู่ที่นี่เมื่ออายุ ประมาณ 20 ปี ตั้งแต่มาก็เห็นบ้านหลังนี้มาก่อนแล้ว แต่ที่มาของบ้านยังคลุมเครือ คนเก่าคนแก่ที่อยู่มาก่อนเคยเล่าให้ฟังว่า ที่มาของบ้านหลังนี้อาจจะมีอายุมากกว่า 90 ปี หรืออาจจะถึง 100 ปี และเจ้าของคือนายฮงหงี้ ที่เป็นชาวจีนเชื้อสายกวางตุ้งเช่นเดียวกันตน น่าจะมาทีหลังแล้วมาซื้อและต่อเติม เพราะฉะนั้นถ้ามองไปก่อนหน้านี้ ความเป็นเป็นชุมชนเจริญกรุง 64 น่าจะมีมาแล้วไม่น้อยกว่า 100 ปี ซึ่งตึกแถวด้านหน้าของซอยเจริญกรุง 64 ก็เป็นการก่ออิฐถือปูนศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 และบ้านหลังนี้ที่อยู่ในซอย น่าจะมีอายุมากน้อยกว่ากันไม่มาก”นายสันติกล่าว

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของบ้านหลังดังกล่าว แม้จะยังมีความคลุมเครือถึงที่มาและอายุที่แท้จริง แต่บ้านหลังนี้ที่เป็นประจักษ์พยานทางวัตถุชิ้นเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเจริญกรุง 64 กำลังจะกลายเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวชุมชน ที่จะลุกขึ้นมาปกป้อง และอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ และเป็นสิ่งเดียวที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาของตนเอง ก่อนที่พื้นที่ทั้งหมดจะถูกนำไปสร้างเป็นโรงแรมหรือคอนโดฯ หรู เช่นเดียวกันกับพื้นที่ใกล้เคียง

นายปฐมฤกษ์ เกตุทัด นักวิชาการอิสระ ด้านสิทธิชุมชน กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า “ส่วนตัวแล้วได้เคยลงพื้นที่เจริญกรุง 64 และเคยได้เห็นบ้านหลังนี้ สันนิษฐานเบื้องต้นของนักวิชาการหลายๆ คน ยังไม่ตรงกัน บางคนมองว่ามีอายุน่าจะถึงร้อยปี บางคนมองว่าอาจจะประมาณ 75-80 ปี แต่เกือบจะทั้งหมดก็ยืนยันได้ว่า บ้านหลังนี้คือประจักษ์พยานวัตถุเดียวที่จะบอกถึงที่มาของชุมชนเจริญกรุง 64 และเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณของคนในชุมชน

ที่สำคัญคือนักวิชาการหลายๆ รายยืนยันตรงกันว่า อย่างน้อยที่สุดอายุของบ้านหลังนี้คือ 70 ปี และมากที่สุดคือ 100 ปี ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนการจัดตั้งพรบ.ทรัพย์สินฯในปี 2475 ทั้งสิ้น คำถามจึงอยู่ที่ว่า ที่ดินของเจริญกรุง 64 ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อย่างไร คำตอบมองได้หลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุที่น่าสนใจ สันนิษฐานว่า พื้นที่ดังกล่าว อาจจะเป็นที่ดินพระราชทาน ที่มีมาก่อนพรบ.จัดสรรที่ดินในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางเอกสารเหลืออยู่แล้ว และถูกสำนักงานทรัพย์สินยึดพระราชทรัพย์ไปในภายหลัง

เช่นเดียวกับกรณีของโรงเรียนวชิราวุธ ที่เป็นที่ดินพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แต่ถูกยึดเอาไป และไปตกอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ คำตอบคือ การยึดเอาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ นั่นทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กรณีของโรงเรียนวชิราวุธ หรือแม้แต่บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 กำลังจะแสดงข้อเท็จจริงบางอย่างออกมา ข้อเท็จจริงที่มักถูกซ่อนไว้โดยประวัติศาสตร์ และลบล้างคำกล่าวอ้างที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ คือส่วนหนึ่งขอสถาบันออกไป เพราะการยึดพระราชทรัพย์ หรือเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาที่ดินที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นแล้วว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินพระราชทาน หรือแม้แต่ ที่ดินของเจ้านายบางพระองค์ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จะอยู่กับหน่วยงานอย่างพระคลังข้างที่ มีหน่วยงานรองรับชัดเจน และอยากให้ประชาชนเข้าใจว่า คำกล่าวอ้างใดๆ ที่เกี่ยวข้องไปถึงสถาบัน โดยมีการหยิบยกเอาสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 ที่เป็นหลักฐานเดียวที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นชุมชน ที่มีมาก่อนตั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังจะถุกไล่รื้อทำลาย สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่เพียงแต่เร่งเร้าการพัฒนาที่หลงทาง หากทำลายชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังเท่ากับว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังเร่งเร้าให้ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติศาสตร์ ของกรุงเทพถูกบิดเบือนไปอีก และการรื้อบ้านไม่สักทองหลังนี้ เสมือนสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังทำลายหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร ที่ทรงคุณค่า

“เรื่องนี้กรมศิลป์น่าจะลงมาดู มาคุยกับเจ้าของบ้าน ที่ผ่านมากรมศิลป์มักจะไม่ค่อยออกหน้ามาปกป้องโบราณสถานในส่วนที่มีปัญหากับหน่วยงานเท่าใดนัก โดยเฉพาะที่อยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ กรมศิลป์มักจะหลีกเลี่ยง หรือไม่ยอมที่จะลงมาเสาะหาข้อเท็จจริง บ้านไม้สักทองหลังนี้จะมีที่มาเป็นอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับวันนี้บ้านไม่สักทองหลังนี้คือประวัติศาสตร์ของที่นี่ และเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์กรุงเทพ และของชาติ ที่จะเป็นอีกหนึ่งแห่งที่กำลังจะถูกทำลายลง เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ชุมชนที่จากไปแล้วก่อนหน้านี้”นายปฐมฤกษ์กล่าว

นายสมชาย ว่องวัฒนโรจน์ ประธานเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน กล่าวว่า “การเปิดประเด็นเรื่องบ้านสี่แผ่นดิน เป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ที่จะปกป้องชุมชนจากการไล่รื้อทำลาย ด้วยการเสาะหาข้อมูล และกรลงมาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเจริญกรุง 64 ที่เป็นหนึ่งในแนวร่วมของเครือข่าย ชุมชนเจริญกรุง 64 และชุมชนสะพานปลากรุงเทพฯ มีความเกี่ยวพันกันในเชิงประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด และทั้งสองชุมชนเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ด้านพาณิชยกรรม บ้านไม้สักทองและการทำมาหากินของชาวจีนโพ้นทะเล

การไล่รื้อและการพัฒนาที่ไร้จุดหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ จะกลายเป็นการทำลายประวัติศาสตรืหน้านี้ลงอย่างน่าเสียดาย และสำหรับประชาชนที่สนใจกรณีศึกษาบ้านสี่แผ่นดิน และประเด็นทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ของที่ดินในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทางเครือข่ายฯ ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสร้างแนวร่วมในการพิทักษ์ปกป้องชุมชนต่างๆ ต่อไป”นายสมชายกล่าว

บ้านไม้สัก 4 แผ่นดิน ที่กลายมาเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางสถาปัตยกรรมที่ผ่านกาลเวลามายาวนานเกือบศตวรรษ วันนี้จะอยู่รอดจากเงื้อมมือของการพัฒนาที่ดิน อย่างไม่ลืมหูลืมตาของ สำนักงานทรัพย์สินฯ เจ้าของพื้นที่หรือไม่ คำตอบในวันนี้จะอยู่ในใจของลูกหลานชาวเจริญกรุง 64 ในวันข้างหน้า ที่อย่างน้อยจะถูกจารึกไว้ในฐานะของผู้พิทักษ์ความของบรรพชน และผู้พิทักษ์ประวัติศาสตร์ชุมชนที่หยัดยืนจนถึงวันสุดท้าย

ของบ้านสันนิษฐานว่า อาจจะถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 คือพยานหนึ่งเดียวที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงหลงเหลืออยู่บ่งบอกถึงความเป็นมาของชุมชนเจริญกรุง 64 บนความภูมิใจของชาวชุมชน ความน่าสนใจของบ้านหลังนี้อยู่ที่ เกือบทั้งหลังสร้างขึ้นจากไม้สักทองโบราณที่ยึดติดกันไว้ด้วยสลักแบบโบราณแท้ๆ ที่ปัจจุบันนอกจากวังของเจ้านาย หรือบ้านโบราณของขุนนางเก่าบางแห่งแล้ว ก็แทบจะไม่หลงเหลือบ้านลักษณะนี้ให้เห็นอีกในกทม.

นางศิริพร วงศ์พูลเชาว์ ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในปัจจุบัน เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของบ้านไม้สัก 5 แผ่นดินแห่งซอยเจริญกรุง 64 ว่า บ้านนี้เป็นบ้านของพ่อค้าวาณิชเชื้อสายจีน ที่ถือสัญชาติสิงคโปร์ แต่เข้าอาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำ การค้า เจ้าของบ้านมีชื่อว่า นายฮงหงี้ แซ่หว่อง เดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ สันนิษฐานว่าบ้าน หลังดังกล่าวน่าจะมีมาก่อนที่นายฮงหงี้จะเข้ามาในประเทศไทย และเมื่อนายฮงหงี้ เข้ามาก็สร้างและต่อเติมบ้าน และเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เต็มตัว โดยถือใบต่างด้าว และมีทายาทที่เกิดที่บ้านหลังนี้ และเป็นคนไทยเต็มตัวต่อมาอีกหลาย รุ่น

บ้านหลังนี้สร้างขึ้นบนเนื้อที่ ที่จนวันนี้ก็ยังไม่มีเอกสารใดพิสูจน์ทราบได้ ว่าเป็นเนื้อที่ของใคร แต่สุดท้ายลงเอยตรงไปอยู่ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกำลังจะมีการพัฒนา ซึ่งรอบข้างซอยเจริญกรุง 64 และซอยเจริญกรุง 64 ถูกรื้อถอนและพัฒนาไปแล้วบางส่วน หลังบ้านถ้ามองจากหน้าบ้านก็จะเห็นคอนโดฯ สอง หลังสูงตระหง่าน ขณะที่ห่างจากบ้านอีกไม่ถึง 500 เมตรริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการรื้อถอนแล้ว

อย่างไรก็ดี บ้านหลังนี้ทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้อยู่อาศัยได้ถึงเดือนเม.ย.ปี 2551 แล้วก็จะทำการ รื้อถอน ซึ่งถามความรู้สึกตนแล้ว ไม่อยากจะออกจากบ้านหลังนี้ ที่สำคัญหลังปี 2551 ชุมชนเจริญกรุง 64 จะเหลือแต่อดีตที่ผ่านมากรมศิลปากรเคยมาขอขึ้นทะเบียน แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนที่ตนจะเข้ามาถือกรรมสิทธิ์ ไม่แน่ใจว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมตกลงกับทางกรมศิลป์ไว้อย่างไร เรื่องนี้ก็เลยเงียบหายไป ที่มาของบ้านหลังนี้ยังไม่ชัดเจนว่าบรรพบุรุษของตนเข้ามาสร้าง หรือบ้านมีอยู่แต่เดิมแล้วบรรพบุรุษของตนเข้ามาซื้อและต่อเติม แต่บ้านหลังนี้เป็นพยานวัตถุที่บ่งบอกได้ว่าชุมชนเจริญกรุง 64 มีความเป็นมาอย่างไร ทำให้มองข้ามไปถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ว่า เหตุใดจึงตกไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เพิ่งจะมาตั้งตามพ.ร.บ.หลังปี 2475 นางศิริพร กล่าว

ขณะที่นายสันติ กาญจนวิกรัย อายุ 76 ปี ผู้อาวุโสประจำชุมชนเจริญกรุง 64 เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า “ตนเดินทางเข้ามาประเทศไทยประมาณอายุ 16-17 ปี และมาอยู่ที่นี่เมื่ออายุ ประมาณ 20 ปี ตั้งแต่มาก็เห็นบ้านหลังนี้มาก่อนแล้ว แต่ที่มาของบ้านยังคลุมเครือ คนเก่าคนแก่ที่อยู่มาก่อนเคยเล่าให้ฟังว่า ที่มาของบ้านหลังนี้อาจจะมีอายุมากกว่า 90 ปี หรืออาจ จะถึง 100 ปี และเจ้าของคือนายฮงหงี้ ที่เป็นชาวจีนเชื้อสายกวางตุ้งเช่นเดียวกันตน

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของบ้านหลังดังกล่าว แม้จะยังมีความคลุมเครือถึงที่มาและอายุที่แท้จริง แต่บ้านหลังนี้ก็เป็นประจักษ์พยานทางวัตถุชิ้นเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเจริญกรุง 64 กำลังจะกลายเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวชุมชน ที่จะลุกขึ้นมาปกป้อง และอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ และเป็นสิ่งเดียวที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาของตนเอง ก่อนที่พื้นที่ทั้งหมด จะถูกนำไปสร้างเป็นโรงแรมหรือคอนโดฯ หรู เช่นเดียวกันกับพื้นที่ใกล้เคียง

นายปฐมฤกษ์ เกตุทัด นักวิชาการอิสระ ด้านสิทธิชุมชน กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า “ส่วนตัวแล้วได้เคยลงพื้นที่เจริญกรุง 64 และเคยได้เห็นบ้านหลังนี้ สันนิษฐานเบื้องต้นของนักวิชาการหลายๆ คน ยังไม่ตรงกัน บางคนมองว่ามีอายุน่าจะถึงร้อยปี บางคนมองว่าอาจจะประมาณ 75-80 ปี แต่เกือบจะทั้งหมดก็ยืนยันได้ว่า บ้านหลังนี้คือประจักษ์พยานวัตถุเดียวที่จะบอกถึงที่มาของชุมชนเจริญกรุง 64 และเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณของคนในชุมชน

ที่สำคัญคือนักวิชาการหลายๆ รายยืนยันตรงกันว่า อย่างน้อยที่สุดอายุของบ้านหลังนี้คือ 70 ปี และมากที่สุดคือ 100 ปี ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนการจัดตั้งพ.ร.บ.ทรัพย์สินฯในปี 2475 ทั้งสิ้น คำถามจึงอยู่ที่ว่า ที่ดินของเจริญกรุง 64 ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อย่างไร คำตอบมองได้หลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุที่น่าสนใจ สันนิษฐานว่า พื้นที่ดังกล่าวอาจจะเป็นที่ดินพระราชทาน ที่มีมาก่อนพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางเอกสารเหลืออยู่แล้ว และถูกสำนักงานทรัพย์สินยึดพระราชทรัพย์ไปในภายหลัง เช่น เดียวกับกรณีของโรงเรียนวชิราวุธ ที่เป็น ที่ดินพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แต่ถูกยึดเอาไป และไปตกอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ คำตอบคือ การยึดเอาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ นั่นทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กรณีของโรงเรียนวชิราวุธ หรือแม้แต่บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 กำลังจะแสดงข้อเท็จจริงบางอย่างออกมา ข้อเท็จจริงที่มักถูกซ่อนไว้โดยประวัติศาสตร์ และลบล้างคำกล่าวอ้างที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ คือส่วนหนึ่งของสถาบันออกไป เพราะการยึดพระราชทรัพย์ หรือเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาที่ดินที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นแล้วว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินพระราชทาน หรือแม้แต่ ที่ดินของเจ้านายบางพระองค์ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จะอยู่กับหน่วยงานอย่างพระคลังข้างที่ มีหน่วยงานรองรับชัดเจน และอยากให้ประชาชนเข้าใจว่า คำกล่าวอ้างใดๆ ที่เกี่ยวข้องไปถึงสถาบัน โดยมีการหยิบยกเอาสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

“เรื่องนี้กรมศิลป์น่าจะลงมาดู มาคุยกับเจ้าของบ้าน ที่ผ่านมากรมศิลป์มักจะไม่ค่อยออกหน้ามาปกป้องโบราณสถานในส่วนที่มีปัญหากับหน่วยงานเท่าใดนัก โดยเฉพาะที่อยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ กรมศิลป์มักจะหลีกเลี่ยง หรือไม่ยอมที่จะลงมาเสาะหาข้อเท็จจริง บ้านไม้สักทองหลังนี้จะมีที่มาเป็นอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับวันนี้บ้านไม้สักทองหลังนี้คือประวัติศาสตร์ของที่นี่ และเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ และของชาติ ที่จะเป็นอีกหนึ่งแห่งที่กำลังจะถูกทำลายลง เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ชุมชนที่จากไปแล้วก่อนหน้านี้” นายปฐมฤกษ์ กล่าว

นายสมชาย ว่องวัฒนโรจน์ ประธานเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน กล่าวว่า “การเปิดประเด็นเรื่องบ้าน 5 แผ่นดิน เป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ที่จะปกป้องชุมชนจากการไล่รื้อทำลาย ด้วยการเสาะหาข้อมูล และ การลงมาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเจริญกรุง 64 ที่เป็นหนึ่งในแนวร่วมของเครือข่าย ชุมชนเจริญกรุง 64 และชุมชนสะพานปลากรุงเทพฯ มีความเกี่ยวพันกันในเชิงประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด และทั้งสองชุมชนเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ด้านพาณิชยกรรม บ้านไม้สักทองและการทำมาหากินของชาวจีนโพ้นทะเล

การไล่รื้อและการพัฒนาที่ไร้จุดหมายของสำนักงานทรัพย์สินฯ จะกลายเป็นการทำลายประวัติศาสตร์หน้านี้ลงอย่างน่าเสียดาย และสำหรับประชาชนที่สนใจกรณีศึกษาบ้าน 5 แผ่นดิน และประเด็นทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ของที่ดินในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทางเครือข่ายฯ ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสร้างแนวร่วมในการพิทักษ์ปกป้องชุมชนต่างๆ ต่อไป” นายสมชาย กล่าว
http://www.siamturakij.com/pda/display_news.php?news_id=7686


แค่ข่าวแปะอะคับ
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 13-01-2008, 18:47 »

คำถวายพระพร
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์ครบ ๘๐ พรรษา

๘๐ พรรษามหาราช
ขอให้คลาดแคล้วภัยพาลทั้งผอง
ขอให้กระจายทรัพย์สินและเงินทอง
เป็นกองๆ แจกราษฎรให้อยู่เย็น ฯ




หากพระราชานำในทางดี
พวกหลวงชีคงเลิกงกทางทรัพย์สิน
ไสยเวทต่างๆ ทางมลทิน
คงหมดสิ้นจากเมืองทองของพวกเรา ฯ

สยามคงหันเข้าหาสัจธรรม
เลิกทำตนตามก้นคนผิวขาว
หากเข้าหาภูมิธรรมของไทลาว
เลิกร้าวฉานกับมุสลิมมลายู ฯ


อันพรที่ว่านี้จักสัมฤทธิ์
จำต้องตั้งจิตอย่าอดสู
เดินตามคำสอนขององค์ครู
หาผู้รู้มาใกล้ชิดติดพระองค์ ฯ



กัลยาณมิตรจะพูดในสิ่งซึ่งสดับยาก
หากจะช่วยหันเหราชประสงค์
เพื่อรับใช้ราษฎรอย่างซื่อตรง
ธำรงราชบัลลังก์ให้เกริกไกร ฯ



พวกประจบสอพลอและตอแหล
ที่แห่ห้อมสรรเสริญเกินวิสัย
ที่คุมเงินทองของหลวงอย่างมากมาย
สุรุ่ยสุร่ายร้ายกาจอย่างบาดตา ฯ



ยังพวกทำรัฐประหารทั้งหลายเล่า
ควรห่างเหินพวกเขาจะดีกว่า
กระจายอำนาจออกไปในพารา
เริ่มแต่พระราชาเป็นต้นไป ฯ



ประชาธิปไตยของไทยเรานั้นเก่าแก่
มีมาแต่คณะสงฆ์ในบุราณสมัย
อยู่ในวัฒนธรรมไทยแต่ไหนแต่ไร
ช่วยให้ไพร่ฟ้าเป็นสุขสวัสดี ฯ



ก่อให้เกิดเสรีภาพอย่างแท้จริง
สิทธิมนุษยชนก็เป็นสิ่งควบคู่กับศักดิ์ศรี
มหาชนถูกเบียดเบียนอย่างย่ำยี
เพราะว่าโครงสร้างสมัยนี้พิกลพิการ ฯ



ถ้าแก้ไขความข้อนี้ได้อย่างสามารถ
นี่จะเป็นบรมราชกฤษฎาภินิหาร
ลบรอยร้าวรอยด่างตลอดรัชกาล
พระภูบาลจักสุขสบายเมื่อวายพระชนม์ ฯ



โรคาพาธทางพระวรกาย
ไม่เลวร้ายเท่าที่แอบแฝงอยู่ทุกหน
ทำให้เจ็บปวดรวดร้าวพระกมล
จำต้องฝนพระธรรมมาแก้ไขและเยียวยา ฯ



พุทธศาสนาไม่ใช่พิธีกรรม
หากจำต้องเดินตามไตรสิกขา
ควรยอมรับความผิดพลาดที่แล้วมา
แล้วความสัตย์จะกลับมาคู่พระบารมี ฯ



บ้านเมืองจะเรืองรุ่งในทางธรรม
เพราะทรงนำหนทางอย่างเป็นเกียรติเป็นศรี
จักเกิดสุขสำราญทั่วธาตรี
ราชสดุดีย่อมไม่ใช่คำลวง




ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ขอเดชะ

 



ป.ล.

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
จงขจัดออกไปให้ไกลในหลวง
เพื่อเป็นของขวัญแด่ราษฎรทั้งปวง
จะเกิดความช่วงโชติชัชวาลทั้งแผ่นดิน



************************************************

ใครจะกล้าวิจารณ์ในสังคมเช่นนี้ ยกเว้นเขาคนเดียว
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13-01-2008, 19:10 »

คนดี  ต้องไม่เป็นอีเเอบ เเอบยืมจมูกคนอื่นเขาหายใจไม่ว่าจะกระทำการอะไร ในทั้งมวล

คนกล้า ต้องไม่ใช่คนบ้า ที่ไร้หัวคิดในการปัญหา และอ้างเรื่องราวบ้าๆ เพื่อต้องการนำพาไปสู่จุดหมาย ต้องอ้างหลักกรูเป็นที่ตั้ง โดยมิสนใจหลักอื่นๆในสังคม




คนพวกนี้มันก็็พวกไร้ราคา ที่เสียเวลาที่จะไปเสวณาด้วย...

เพราะมันก็ดีเเต่อ้างโน่นอ้างนี้  และคอยจิ๊กคอยตอดเหมือนปลิงและหอยหลอด ที่ชอบมุดตัวอยู่ในทราย..
 
ที่พอโดยปูนขาวยอดใส่ก็ทำโผล่หัวออมาเป็นซ่า แต่พอปูนขาวหมดเชื้อความเเสบซ่า  มันก็เที่ยวมุดรูอยู่ในทรายตามเดิม..~
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 13-01-2008, 19:36 »

ข่าวคราวเกี่ยวกับ'ย่านนี้' ได้ลงหนังสือพิมพ์หลายครั้ง หลายฉบับแล้ว...
ถ้าบ้านเรือนในบริเวณนี้มี'คุณค่า'ให้อนุรักษ์ไว้ ก็ควรที่สำนักงานทรัพย์สินฯและกรมศิลปากรจะต้องพิจารณา
ไม่ควรจะให้รื้อถอนไปเป็นศูนย์การค้า ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มโลตัส-เทสโก้ เช่นเคย...




กระทู้มีเนื้อหาอย่างนี้ คุณ'อยากประหยัดฯ' ก็ตั้งได้.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 13-01-2008, 19:44 »

ไล่ที่คนจน ทุบบ้านโบราณ ขายที่นายทุน

คือคำขวัญของสำนัหนี้
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #5 เมื่อ: 13-01-2008, 19:49 »

ผมเคยอ่านเรื่องที่จะก่อสร้างอนุสาวรีย์14ตุลา

กว่าจะก่อสร้างได้นานมาก โครงการเกือบ30ปี

เพราะรัฐบาลผ่านๆมาไม่สนใจ

และสำนักทรัพย์ไม่ให้เช่าที่บริเวณสี่แยกคอกวัว

แต่สุดท้ายมีแรงบีบจากนายกสองคน คือท่านอานันท์ ปัญญารชุน และท่านชวน หลีกภัย

จนสุดท้ายอนุสาวรีย์แล้วเสร็จ

ผมไม่เข้าใจว่าสถานที่ดีๆแบบนี้ไม่ให้สร้าง แต่ห้างบ้าบอให้สร้าง
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 13-01-2008, 19:55 »

นายปฐมฤกษ์ เกตุทัด นักวิชาการอิสระ ด้านสิทธิชุมชน กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า “ส่วนตัวแล้วได้เคยลงพื้นที่เจริญกรุง 64 และเคยได้เห็นบ้านหลังนี้ สันนิษฐานเบื้องต้นของนักวิชาการหลายๆ คน ยังไม่ตรงกัน บางคนมองว่ามีอายุน่าจะถึงร้อยปี บางคนมองว่าอาจจะประมาณ 75-80 ปี แต่เกือบจะทั้งหมดก็ยืนยันได้ว่า บ้านหลังนี้คือประจักษ์พยานวัตถุเดียวที่จะบอกถึงที่มาของชุมชนเจริญกรุง 64 และเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณของคนในชุมชน

ที่สำคัญคือนักวิชาการหลายๆ รายยืนยันตรงกันว่า อย่างน้อยที่สุดอายุของบ้านหลังนี้คือ 70 ปี และมากที่สุดคือ 100 ปี ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นก่อนการจัดตั้งพรบ.ทรัพย์สินฯในปี 2475 ทั้งสิ้น คำถามจึงอยู่ที่ว่า ที่ดินของเจริญกรุง 64 ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อย่างไร คำตอบมองได้หลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุที่น่าสนใจ สันนิษฐานว่า พื้นที่ดังกล่าว อาจจะเป็นที่ดินพระราชทาน ที่มีมาก่อนพรบ.จัดสรรที่ดินในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางเอกสารเหลืออยู่แล้ว และถูกสำนักงานทรัพย์สินยึดพระราชทรัพย์ไปในภายหลัง

เช่นเดียวกับกรณีของโรงเรียนวชิราวุธ ที่เป็นที่ดินพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แต่ถูกยึดเอาไป และไปตกอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ คำตอบคือ การยึดเอาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ นั่นทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กรณีของโรงเรียนวชิราวุธ หรือแม้แต่บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 กำลังจะแสดงข้อเท็จจริงบางอย่างออกมา ข้อเท็จจริงที่มักถูกซ่อนไว้โดยประวัติศาสตร์ และลบล้างคำกล่าวอ้างที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ คือส่วนหนึ่งขอสถาบันออกไป เพราะการยึดพระราชทรัพย์ หรือเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาที่ดินที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นแล้วว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินพระราชทาน หรือแม้แต่ ที่ดินของเจ้านายบางพระองค์ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จะอยู่กับหน่วยงานอย่างพระคลังข้างที่ มีหน่วยงานรองรับชัดเจน และอยากให้ประชาชนเข้าใจว่า คำกล่าวอ้างใดๆ ที่เกี่ยวข้องไปถึงสถาบัน โดยมีการหยิบยกเอาสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อยากจะช่วยเน้นย้ำประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในบทความชุดนี้ นั่นคือ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์

การลากโยงทรัพย์สินในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

และการลากโยงเอาการดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเกี่ยวข้องเป็นการดำเนินงานของสถาบันกษัตริย์ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
แต่ถ้ารู้อยู่แล้วพยายามบิดเบือน ถือเป็นการกระทำชั่วร้ายเลวทรามครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #7 เมื่อ: 13-01-2008, 20:24 »

เช่นเดียวกับกรณีของโรงเรียนวชิราวุธ ที่เป็นที่ดินพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แต่ถูกยึดเอาไป และไปตกอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ คำตอบคือ การยึดเอาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ นั่นทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กรณีของโรงเรียนวชิราวุธ หรือแม้แต่บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 กำลังจะแสดงข้อเท็จจริงบางอย่างออกมา ข้อเท็จจริงที่มักถูกซ่อนไว้โดยประวัติศาสตร์ และลบล้างคำกล่าวอ้างที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ คือส่วนหนึ่งขอสถาบันออกไป[/color] -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อยากจะช่วยเน้นย้ำประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในบทความชุดนี้ นั่นคือ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์

การลากโยงทรัพย์สินในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

และการลากโยงเอาการดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเกี่ยวข้องเป็นการดำเนินงานของสถาบันกษัตริย์ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
แต่ถ้ารู้อยู่แล้วพยายามบิดเบือน ถือเป็นการกระทำชั่วร้ายเลวทรามครับ 

ยอดไปเลยคับทั่น ตานี้พวกหนูๆ มดๆ ในบอร์ดโปรดเข้าใจให้ถูกได้แล้ว ตามที่ทั่นกูรูประจำบอร์ดนี่ได้แจ้ง
ให้ทราบ และขอความกรุณาอย่าได้ลบซี้ซั้วในเรื่องสำนักงานทรัพย์สิน อีกต่อไปนะจ๊ะ เข้าทางเรย ขอบใจมากกกกกก

งั้นต่อเลยนะ ที่ดินตรงนี้มันต่อเนื่องจากสะพานปลาที่อยู่ซอย เจริญกรุง 58

ทรัพย์สินฯรุกหนักพัฒนาที่ดิน
กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--สยามรัฐ

** ตั้งเป้าไล่รื้อ 18 ชุมชนทั่วกรุง

กรรมการสิทธิฯหนุนตั้งเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดินงัดข้อทรัพย์สินฯ เหตุมีพลังในการต่อสู้-ไม่โดดเดี่ยว เผยมีผู้เช่าเข้าร้องเรียนเพียบแต่ผู้บริหารทรัพย์สินฯสวมบทเตมีย์ใบ้ ทำจดหมายถามแต่ปัดตอบ เมินให้ความร่วมมือ ปูดผลงานชิ้นโบดำ 18 ชุมชนเมืองกรุงอาการโคม่า สุ่มเสี่ยงถูกรื้อไล่ถอน

ภายหลังจากการเปิดเผยของนายวรินทร์ เทียมจรัส เลขาธิการองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยถึงแนวทางการตั้งเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดินของผู้เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการพัฒนาที่ดินตามแนวทางทุนนิยมของผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ส.ค.50 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าน.ส.อรุณี ไกรพยัคเฆนทร์ แกนนำผู้เช่าชุมชนบางกอกบาซาร์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน ได้เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความช่วยเหลือและปรึกษาหาแนวทางเรียกร้องความเป็นธรรมของผู้เช่า

จากนั้น น.ส.อรุณี ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ได้เข้าพบอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยเพื่อขอความช่วยเหลือ และปรึกษาหาแนวทางการต่อสู้ของชุมชนบางกอกบาซาร์ และชุมชนอื่นๆ ในเครือข่ายประชาชนพิทักษ์แผ่นดิน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี โดยอนุกรรมการฯเห็นด้วยกับแนวทางการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายฯ เพราะมีความเข้มแข็งในการต่อสู้เพราะที่ผ่านมาต้องต่อสู้กันอย่างโดดเดี่ยว และก็ต้องย้ายออกไปในที่สุด

"ทางอนุกรรมการฯยังกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีผู้มาขอความช่วยเหลือจากคณะอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ทั้งในส่วนที่การรถไฟ ที่ราชพัสดุ รวมไปถึงที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ อย่างไรก็ดี ในเรื่องการประสานข้อมูลไปยังต้นทางแต่ละองค์กร รู้สึกลำบากมากในการติดต่อไปที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เพราะเมื่ออนุกรรมการฯถามเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เช่าไปที่สำนักงานทรัพย์สิรฯ ก็จะไม่มีการตอบใดๆ กลับมาเลย หรือจะเรียกได้ว่า ไม่ให้ความร่วมมือก็ได้" น.ส.อรุณี กล่าว

น.ส.อรุณี กล่าวด้วยว่าทางอนุกรรมการฯยังเปิดเผยถึงข้อมูลของแต่ละชุมชนที่เดือดร้อนจากการไล่ที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯในกรุงเทพฯว่า ในขณะนี้ชุมชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนถึง 18 ชุมชน ซึ่งมีทั้งเป็นคดีความกับสำนักงานทรัพย์สินฯ และมีหนังสือส่งให้รื้อถอนแต่ไม่ยอมย้าย รวมไปถึงมีแผนให้รื้อย้าย และมีข่าวว่าจะรื้อย้าย ซึ่งทางอนุกรรมการฯ ได้รับการติดต่อขอความช่วยเหลือมาตลอด ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยกันโดยตลอดแต่เป็นสำนักงานทรัพย์สินฯเองที่เอาแต่นิ่งเงียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากอนุกรรมการสิทธิที่อยู่อาศัย ระบุว่า ชุมชนที่ได้รับการเดือดร้อนจากการไล่ที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ มีดังนี้ 1.ตลาดคลองถม วรจักร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และพลับพลาไชย เป็นคดีความ สวนลุมไนท์ บาซาร์ ปทุมวัน เป็นคดีความ (เตรียมทำคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่) 3.องค์กรสะพานปลา เจริญกรุง มีคดีความ (ให้เอกชนเข้ามาพัฒนาเป็นโรงแรม)4.ศูนย์การค้าบางกอก บาซาร์ ปทุมวัน เป็นคดีความ 5.ราชดำเนินกลาง พระนคร มีหนังสือให้รื้อถอนแต่ชาวบ้านไม่ยอมย้าย (มีโครงการพัฒนาเป็นชองเอลิเซ่) 6.เลื่อนฤทธิ์ สัมพันธวงศ์ 7.วัดสุนทรธรรมทาน ป้อมปราบศัตรูพ่าย 8.คลองไผ่สิงโต วรจักร มีหนังสือให้รื้อย้ายแต่ชาวบ้านไม่ยอมย้าย

9.ศุภมิตร 1-2 ป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักงานทรัพย์สินฯขอขึ้นค่าเช่าหากไม่จ่ายเพิ่มต้องย้ายออก 10.ซอยหลังสวน ปทุมวัน มีแผนให้รื้อย้าย 11.ซอยพระเจน 12.ซอยโปโล 13.สนามมวยลุมพินี 14.สน.ลุมพินีและแฟลตตำรวจ ปทุมวัน มีแผนให้รื้อย้าย (เตรียมพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในอนาคต) 15.ตลาดกรมภูธเรศ เจริญกรุง 18-16 (พ.ร.บ.เวนคืน เพื่อสร้างรถไฟฟ้า บนแฟลตไม่เก็บค่าเช่ามา 19 ปี) 16.ตลาดนางเลิ้งป้อมปราบศัตรูพ่าย มีข่าวว่าจะไล่รื้อ 17.เก้าพัฒนา บางกะปิ และ 18.พัฒนาบ่อนไก่คลองเตย อยู่ระหว่างการปรับปรุง
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #8 เมื่อ: 13-01-2008, 20:33 »

ยึดที่สะพานปลาอ.ส.ป.ถึงขั้นเจ๊ง โวยทรัพย์สินฯแรงงาน2พันเคว้ง       
แก้ไขโดย Webmaster     
วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2549 
ยึดที่สะพานปลาอ.ส.ป.ถึงขั้นเจ๊ง โวยทรัพย์สินฯแรงงาน2พันเคว้ง

องค์การสะพานปลาโอด หาก สำนักงานทรัพย์สินฯไล่ที่สะพานปลากรุงเทพ มีสิทธิ "เจ๊ง" เหตุเป็นแหล่ง "รายได้" จากค่าบริการถึง 30% ของรายได้ทั้งหมดที่ อ.ส.ป.มีอยู่ในปัจจุบัน แถมยังส่งผลกระทบไปถึงแรงงาน-กรรมกร-แพปลา-ผู้ค้า ในตลาดกลางอีกกว่า 2,000 คน เงินหมุนเวียนหายไปทันทีวันละ 300 ล้านบาท แฉสำนักงานทรัพย์สินฯไม่ยอมเปิดโอกาสให้มีการต่อสัญญา เซ็น MOU กับ "กลุ่มเตชะอุบล" ไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 แต่เพิ่งมาบอกให้ย้ายออกในเดือนกรกฎาคมนี้เอง

การตัดสินใจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเลขที่ อร. 576/2548 สะพานปลากรุงเทพ ในบริเวณองค์การสะพานปลา (อ.ส.ป.) ตามโฉนดเลขที่ 1681 เลขที่ดิน 1 ตำบลยานนาวา (บ้านทวาย) เขตยานนาวา (สาทร) อายุสัญญาปีต่อปี เพื่อนำที่ดินบริเวณดังกล่าวไปให้ "กลุ่มเตชะอุบล" ไปพัฒนา ด้วยการสร้างโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว-คอนโดมิเนียมริมน้ำ หรือศูนย์การค้า ได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งบุคลากรที่ทำงานอยู่ใน อ.ส.ป.-แพปลา-กรรมกร ตลอดจนการซื้อขายสัตว์น้ำที่มีมูลค่าผ่านสะพานปลากรุงเทพ วันละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

นายเอกชัย สุขโหตุ รองผู้อำนวยการ องค์การสะพานปลา (อ.ส.ป.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันสะพานปลากรุงเทพของ อ.ส.ป.มีพื้นที่ดำเนินการเพียง 16 ไร่ เช่าที่ดินดังกล่าวจากทั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และกรมธนารักษ์ โดยที่ดินที่ อ.ส.ป.เช่าจากกรมธนารักษ์ จะครอบคลุมตั้งแต่ปากซอยถนนเจริญกรุง 58 ซึ่งติดกับธนาคารกรุงไทย ยาวไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานของ อ.ส.ป. ส่วนที่ดินที่มีปัญหาถูกสำนักงานทรัพย์สินฯบอกเลิกเช่านั้น จะมีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ส่วนของตลาดประมูลปลา โรงงานน้ำแข็ง รวมไปถึงสะพานปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยก่อนหน้านี้ อ.ส.ป.ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจาก สนง.ทรัพย์สินฯ ในลักษณะการทำสัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี แต่หลังจากปี 2543 เป็นต้นมา สนง.ทรัพย์สินฯได้เปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าใหม่โดยลดอายุการต่อสัญญาเช่าเป็นทุกๆ 3 ปี

และล่าสุดได้เปิดโอกาสให้ต่ออายุสัญญาเช่าเป็นปีต่อปี โดย สนง.ทรัพย์สินฯเพิ่งทำหนังสือยกเลิกการต่ออายุสัญญาการเช่าที่ดินแก่ อ.ส.ป. อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี่เอง โดยอ้างเหตุผลว่า อ.ส.ป. ไม่ได้ดูแลปรับปรุงสุขอนามัยในพื้นที่สะพานปลา กทม.อย่างเหมาะสม สนง.ทรัพย์สินฯจึงใช้สิทธิ์ในสัญญาการเช่าที่ดินข้อที่ 19 ยกเลิกการเช่าที่ดินในปีต่อไปคือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549

นายเอกชัยกล่าวว่า ความจริง อ.ส.ป.ไม่ได้ "นิ่งเฉย" กับการแก้ไขปัญหาด้านสุขอนามัย แต่ สนง.ทรัพย์สินฯไม่เคยให้โอกาส อ.ส.ป. ได้รับสิทธิ์การเช่าที่ดินสะพานปลากรุงเทพในระยะยาวมาตั้งแต่ปี 2543 ดังนั้น อ.ส.ป.จึงไม่กล้าลงทุนปรับปรุงด้านสุขอนามัยอย่างเต็มที่เหมือนกับสะพานปลาแห่งอื่นๆ ซึ่ง อ.ส.ป.ได้ใช้งบประมาณปรับปรุง สุขอนามัยสะพานปลาที่อยู่ในความดูแลไปแล้วไม่ต่ำกว่า 4-5 แห่ง แห่งละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

"ที่ผ่านมาเราขอทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว 30 ปี และขอขยายพื้นที่เช่าที่ดินทรัพย์สินฯในบริเวณใกล้เคียงอีกประมาณ 4-5 ไร่ ครอบคลุมบริเวณซอยเจริญกรุง 64 ซึ่งเดิมเคยเป็นอาคารสำนักงานขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (ถูกยุบไปแล้ว) กับอาคารสำนักงานเดิมของกรมพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง (ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ที่บางเขน) เพื่อนำไปใช้เป็นพื้นที่จอดรถและก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากพื้นที่จำนวน 16 ไร่ของสะพานปลากรุงเทพค่อนข้างคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการรองรับการขยายธุรกิจของ อ.ส.ป. แต่ สนง.ทรัพย์สินฯก็ไม่อนุมัติตามข้อเสนอของเรา" นายเอกชัยกล่าว

ที่สำคัญก็คือ อ.ส.ป.พยายามที่จะสอบถาม สนง.ทรัพย์สินฯมาโดยตลอดว่า จะพัฒนาการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างไร หลังจากที่กระแสข่าวเข้ามาว่า สนง.ทรัพย์สินฯวางแผนที่จะพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ ด้วยการคัดเลือกนักลงทุนรายใหม่เข้ามาพัฒนาที่ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน จนล่าสุดทราบว่ามีการเซ็นสัญญาข้อตกลงพัฒนาที่ดินกับเอกชนรายหนึ่ง (กลุ่มเตชะอุบลในนามบริษัทแลนด์มาร์ค ดีเวลล็อปเม้นท์) ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2548

"เราได้ทำหนังสือแจ้งให้กับรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯรับทราบปัญหาแล้ว และเสนอให้มีการจัดประชุมบอร์ด อ.ส.ป.อย่างเร่งด่วนเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ให้เร็วที่สุดว่า จะย้ายสะพานปลากรุงเทพ หรือตลาดประมูลปลาไปอยู่ที่ใด แต่ปรากฏว่าประธานบอร์ดติดภารกิจ ไม่สามารถประชุมบอร์ดในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ได้ และต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปอีก" นายเอกชัยกล่าว

คุณหญิงหน่อยบอกก็แค่ข่าวร้าย

ล่าสุด ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ อ.ส.ป.เคยเสนอแผนปรับปรุงการใช้ประ โยชน์ที่ดินสะพานปลา วงเงิน 45 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ตนได้สั่งให้ไป "ทบทวน" แผนปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานอย่างครบวงจรในทุกด้าน

แต่ปรากฏว่า อ.ส.ป.มาเจอ "ข่าวร้าย" สนง.ทรัพย์สินฯไม่ต่ออายุสัญญาการเช่าที่ดินให้เสียก่อน อย่างไรก็ตาม จะเรียกให้มีการประชุมบอร์ดในเร็วๆ นี้เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดตั้งคณะทำงานเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองกับ สนง.ทรัพย์สินฯเพื่อขอยืดอายุสัญญาการเช่าที่ดินออกไป เพราะหากยกเลิกสัญญาเช่าในทันทีโดยไม่มีแผนรองรับ อาจจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการ แรงงานและผู้ประกอบการจำนวนมาก

ก่อนหน้านี้ อ.ส.ป.เคยทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาครั้งหนึ่งแล้ว (ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2549) เพื่อขอให้พิจารณา "ทบทวน" การคืนที่เช่าจาก อ.ส.ป. โดยให้เหตุผลว่า 1)สะพานปลากรุงเทพ เป็นแหล่งรายได้หลักของ อ.ส.ป.ถึงร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดที่ อ.ส.ป.ได้รับ หากไม่มี สะพานปลาแห่งนี้ ก็เท่ากับว่าองค์การสะพานปลาจะต้องเลิกกิจการไปโดยปริยาย

2)สะพานปลากรุงเทพ เป็นสถานที่รวบรวมสินค้าสัตว์น้ำจากชาวประมงทั่วประเทศ และเป็น "ตลาดกลาง" ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพทั้งคนขายและคนซื้อปลามาตลาดระยะเวลา 56 ปี โดย อ.ส.ป.เป็นองค์กรที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร ได้แบ่งเงินรายได้จากค่าบริการสะพานปลากรุงเทพ 25% กลับคืนไปสู่ชาวประมง ผ่านทางสถาบันประมง ซึ่งเป็นรากหญ้าตามนโยบายของรัฐบาล การที่ สนง. ทรัพย์สินฯขอพื้นที่เช่าคืนเท่ากับ "เป็นการทำลายองค์กรที่เป็นที่พึ่งของชาวประมง" และจะก่อให้เกิดปัญหามวลชนมุ่งเป้าไปที่ สนง.ทรัพย์สินฯโดยตรง

3)สะพานปลากรุงเทพเป็นแหล่งที่ประชาชน ในละแวกใกล้เคียงใช้ประกอบอาชีพ อาทิ กรรม การ-แรงงานรับจ้างขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำ-แพปลา-ผู้ขายส่ง/ขายปลีก ในวันหนึ่งๆ ไม่น้อยกว่า 2,000 คน มีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท/วัน หากสะพานปลาแห่งนี้ต้องปิดตัวลง เท่ากับเป็น การทำลายสภาพเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรเหล่านี้ในระดับอาชีพที่พอเพียงกับการดำรง ชีพแบบค่อยเป็นค่อยไป และ "จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สาเหตุดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจาก สนง.ทรัพย์สินฯ"

4)หาก อ.ส.ป.ต้องคืนพื้นที่ตามที่ สนง.ทรัพย์สินฯต้องการ เท่ากับ อ.ส.ป.ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เพราะเหลือพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และถ้าสะพานปลากรุงเทพต้องปิดตัวลง จะส่งผลกระทบไปถึงสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงของ อ.ส.ป.อีก 17 แห่งทั่วประเทศ

5)การย้ายสะพานปลากรุงเทพ ภายใต้สภาพการณ์ในปัจุจบันทำได้ยากมาก ที่สำคัญ อ.ส.ป. ไม่มีเงินงบประมาณที่จะโยกย้ายไปหาพื้นที่ใหม่ในกรุงเทพฯที่เหมาะสมอย่างปัจจุบัน ที่มีระบบคมนาคมสะดวกเช่นเดียวกับสะพานปลาในต่างประเทศที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโตเกียว-ซิดนีย์-เซี่ยงไฮ้

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


http://www.wikimapia.org/#lat=13.712495&lon=100.510612&z=18&l=0&m=a&v=2

ต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว พร้อมแผนที่
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #9 เมื่อ: 13-01-2008, 20:41 »





"เตชะอุบล"ซุ่มคว้าที่ดิน"สะพานปลา" พัฒนา35ไร่ริมเจ้าพระยา

จับตา "เตชะอุบล" ฮุบที่ผืนงาม สะพานปลากรุงเทพ 35 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำโครงการพัฒนา หลังสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำหนังสือแจ้งองค์การสะพานปลา (อสป.) ผู้เช่า ขอให้รีบส่งมอบสถานที่เช่าคืนก่อนอายุสัญญาเช่าที่จะหมดลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ส่งผลเดือดร้อนกันไปทั่ว ทั้งพนักงาน/แพปลากรุงเทพ ขณะที่กระทรวงเกษตรฯยังเฉย ทั้งๆ ที่เวลาเหลือน้อยเต็มทีแล้ว

ที่สุดสวยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านติดกับถนนเจริญกรุง จำนวน 35 ไร่ ที่เป็นสถานที่ตั้งขององค์การสะพานปลา (อสป.) รัฐวิสาหกิจเก่าแก่ที่มีอายุ 56 ปี กำลังจะถูกเปลี่ยนมือ เมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะเจ้าของที่ดินผืนนี้ได้ตัดสินใจบอก "ยกเลิก" สัญญาเช่ากับองค์การสะพานปลา เพื่อนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาทำโครงการพัฒนาที่ดิน ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันในวงการอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของประเทศว่า ที่ดินผืนนี้ได้ถูกยกให้กับ "กลุ่มเตชะอุบล" นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อเสียงโด่งดัง นำไปพัฒนาโครงการเรียบร้อยไปแล้ว

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทุกคนในวงการกำลังจับตามองไปที่โครงการพัฒนาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งขององค์การสะพานปลา (อสป.) ปัจจุบันในจำนวน 35 ไร่เศษ เนื่องจากมีข่าวออกมาเป็นระยะๆ ทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะเอาที่ดินแปลงนี้คืน เพื่อนำไปพัฒนาโครงการต่อ

ล่าสุดมีรายงานเข้ามาว่า เมื่อเร็วๆ นี้สำนัก งานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยนายประสงค์ บุญช่วยส่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารภูมิภาค ในฐานะผู้ดูแลบริหารพื้นที่บริเวณโครงการ

สะพานปลากรุงเทพ ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา อ้างถึงสัญญาเช่าที่ดินฉบับที่ อร.576/2548 ตามที่ องค์การสะพานปลาได้เช่าที่ดินบางส่วนของโฉนดที่ดินเลขที่ 1681 เลขที่ดิน 1 ตำบลยานนาวา (บ้านทวาย) เขตยานนาวา (สาทร) ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ใช้แปลงหมายเลข 1 มีกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปี นับจากวันที่ 1 ตุลาคม 2548

ปรากฏที่ดินแปลงนี้ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสะพานปลากรุงเทพของ องค์การสะพานปลาในปัจจุบันกำลังจะหมดอายุสัญญาการเช่าลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ดังนั้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะผู้ให้เช่า จึงแจ้งให้กับองค์การสะพานปลา ขอให้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯทันทีที่หมดอายุสัญญาการเช่า นั่นหมายความว่า สะพานปลากรุงเทพจะต้องย้ายออกไปจากที่ดินของ
สำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งๆ ที่ได้อาศัยทำประโยชน์ต่อ "สาธารณชน" มาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 56 ปี

สำหรับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ตกถังข้าวสารได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารและพัฒนา ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาผืนงามนี้ มีรายงานข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์เข้ามาว่า เป็น "กลุ่มเตชะอุบล" เตรียมที่จะลงนามในสัญญาการพัฒนาที่ดินกับสัญญาจดทะเบียนการเช่าที่ดิน
กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่เบื้องต้นได้มีการลงนามกันในบันทึกความเข้าใจ ไปแล้ว ในเดือนธันวาคม 2548

ปัญหาที่ตามมาก็คือ จะย้ายสะพานปลากรุงเทพที่ตั้งมาไม่ต่ำกว่า 56 ปีไปไว้ที่ไหน ทั้งๆ ที่ระยะเวลาการเช่าเหลืออยู่ไม่ถึง 3 เดือน จริงอยู่ที่ว่าในประเด็นนี้สำนักงานทรัพย์สินฯอาจพิจารณาได้ว่า "ธุระไม่ใช่" เพราะสำนักงานได้แจ้งเตือนและทำหนังสือบอกกล่าว
ให้ส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนเป็นการล่วงหน้ามาแล้ว ในขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของ อสป. ก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวหรือ "แกล้ง" ไม่รู้ถึงความเดือดร้อนของทั้ง

พนักงานใน อสป.และ ประชาชนที่ทำมาหากินหรือมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น (ซื้อขาย) ปลาที่สะพานปลากรุงเทพอีกเป็น 1,000 คนก็ได้

ทางด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในหลักการหากผู้เช่าที่ดินสำนักงานทรัพย์สินฯจะเปลี่ยนมือการเช่าหน้าดิน
จากผู้เช่าหนึ่งไปอีกผู้เช่าหนึ่ง เมื่อสัญญาครบหรือไม่ครบ ผู้เช่าแรกจะต้องแจ้งสำนักงานทรัพย์สินฯก่อนจะทำนิติกรรมใดๆ กับผู้เช่ารายอื่นๆ

แต่กรณีสัญญาเช่าที่ดินขององค์การสะพานปลาบริเวณถนนเจริญกรุงนั้น เข้าใจว่าสัญญาใกล้หมดอายุแล้ว ทางสำนักงานทรัพย์สินฯจึงได้บอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพราะที่ดินแปลงนี้สำนักงานทรัพย์สินฯมีนโยบายจะพัฒนาหารายได้ในเชิงพาณิชย์

"ปัจจุบันศักยภาพของทำเลแถบนี้มีความเจริญมากและอยู่ใกล้เมือง อยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS สถานีตากสิน (บางรัก) เมื่อครบสัญญาเช่าเราจึงจำเป็นต้องเรียกคืนที่ดินมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ตามมารยาทเราก็บอกกล่าวล่วงหน้า ส่วนสำนักงานทรัพย์สินฯจะให้ผู้ใดมาพัฒนาต่อ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง" แหล่งข่าวกล่าว

เปรียบไปก็เหมือนกับกรณีที่ดิน 120 ไร่ บริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม ถนนพระรามที่ 4 ติดกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี ล่าสุดทางสำนักงานทรัพย์สินฯได้ออกหนังสือประทับตราแจ้ง
เพื่อบอกกล่าวแก่ผู้เช่ารายใหญ่และรายย่อยอย่างเป็นทางการแล้ว ในการเรียกคืนที่ดินเช่า หลังครบสัญญาในกลางปี 2550

ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินฯจะพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ต่อไป โดยเปิดประมูลหาผู้สนใจไปแล้วเมื่อปีก่อน ปัจจุบันได้คัดเลือกแล้ว 3 รายคือ เซ็นทรัล-แสนสิริ และ ที.ซี.ซี.แลนด์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะให้รายเดียวหรือร่วมกันพัฒนาดี เพราะโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

นอกจากนี้พฤติการณ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ทยอยเรียกคืนที่เช่า ไม่ว่าที่ดินนั้นจะมีราษฎร์อาศัยทำมาหากินหรืออยู่อาศัยมาเป็นระยะเวลายาวนานเท่าใดก็ตาม ยัง สอดคล้องกับผลวิจัยของ รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในหัวข้อ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า ที่ดินเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งในแง่ของขนาดและศักยภาพในการ "สะสมความมั่งคั่ง" ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินประมาณ 1 ใน 3 ของที่ดินในกรุงเทพฯ มีหลายทำเลดังๆ เป็นที่ดินของทรัพย์สินฯทั้งสิ้น อาทิ สะพานขาว วรจักร พระรามที่ 4 สีลม เจริญกรุง หลังสวน ซอยต้นสน-เพลินจิต เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกลุ่มเตชะอุบล ซึ่งนำโดยนายสดาวุธ เตชะอุบล อดีตประธานกรรมการ บริษัท คันทรี่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท

เอเวอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน) นั้น ก่อนหน้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นกลุ่มธุรกิจที่เป็นที่รู้จักกันดี
ในวงการอสังหาริมทรัพย์และแวดวงการเงิน โดยเฉพาะในวงการอสังหาฯ กลุ่มคันทรี่เคยสร้างความฮือฮาด้วยการเปิดตัวโครงการคันทรี่มารีน่า ซิตี้ บ้านและคอนโดฯริมน้ำ มูลค่าการพัฒนากว่าหมื่นล้านบาท บนเนื้อที่ 150 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ติดถนนบางนาตราด ก.ม.48 ที่ตั้งเป้าจะให้เป็นเมืองใหม่ริมแม่น้ำ นอกจากนั้นยังพัฒนาโครงการคอนโดฯและบ้านเดี่ยวหลายโครงการ

ช่วงเกิดวิฤกตเศรษฐกิจกลุ่มคันทรี่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง มีหนี้สินล้นพ้นตัวกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้โครงการพัฒนาที่ดินที่อยู่ระหว่างดำเนินการทุกโครงการหยุดชะงัก ขณะที่ผู้บริหารอย่างนายสดาวุธต้องเก็บตัวเงียบนาน 7-8 ปี เพื่อหาทางเคลียร์ภาระหนี้ที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้หลายแห่ง ต่อมาได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ บมจ.

คันทรี่ โดยมีบริษัทพร็อพเพอร์ตี้แพลนเนอร์ ของนายสวิจักร์ โลจายะ บุตรเขยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้บริหารแผน และได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยตัดขายทรัพย์สินชำระหนี้ แปลงหนี้เป็นทุน ฯลฯ และกลุ่มโลจายะได้เข้าเทกโอเวอร์กิจการ บมจ.คันทรี่มาดำเนินการต่อ

ขณะที่นายสดาวุธ เตชะอุบล ก็มีแผนจะหวนคืนวงการอสังหาฯ เพื่อทวงคืนความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยประกาศชัดเจนว่าหลังจากสามารถพลิกฟื้นสถานะทางการเงิน
จากการเข้าลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ช่วงปลายปีนี้มีแผนจะลงทุนโครงการขนาดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ตามแผนจะก่อสร้างเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว พร้อมศูนย์การค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกสบายรองรับลูกค้า คิดเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาท เป้าหมายที่จะดำเนินการตามแผนคือ การพลิกที่ดินทำเลทองริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์การสะพานปลาในปัจจุบันนั่นเอง


เปิดใจ "ผอ.ทรัพย์สินฯ" กรณีที่ดินองค์การสะพานปลา

หลัง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตกเป็นข่าวกรณีการบอกเลิกสัญญาเช่า "ที่ดินองค์การสะพานปลา" ถนนเจริญกรุง

"จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึงได้เปิดอกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น

"ก่อนอื่นผมขอให้อ่านหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย (ยั่งยืนด้วยความพอเพียง) เผื่อให้คำแนะนำ เพราะคำตอบหลายส่วนอยู่ในนี้หมด"

พูดถึงองค์การสะพานปลา ที่ผมลงมาจัดการ เป็นช่วงที่มีปัญหาคลองถม เราได้เรียนรู้ปัญหาจากตรงนั้นและนำมาใช้กับองค์การสะพานปลา ก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่เห็นมีใครสนใจ เพิ่งมาสนใจหลังจากที่เราทำไปแล้วหลายเดือน

ก็ดี แต่เราไม่ควรจะไปปลุกอะไรมันขึ้นมา ถ้ามีความสนใจก็มาดูด้วยกัน มาช่วยกันประเมิน เพื่อแก้เท่าที่จะแก้ได้ และสำหรับอนาคตด้วย

นี่คือจุดเริ่มต้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักต่างๆ เราควรจะมีความรู้พอสมควรที่เหมาะสม

อาจจะเอาความรู้ง่ายๆ ว่าพื้นที่ที่กำลังพัฒนา 35 ไร่ เส้นทางคือถนนเจริญกรุง ผ่านมาด้านหน้า ในใจผมเริ่มต้นคิด ระหว่างที่เจรจากับผู้พัฒนา (แลนด์มาร์ค)

โอ้โห...อยู่ติดริมแม่น้ำ สวยเหลือเกิน น่าจะมีพรีเมี่ยมมากๆ เขาก็บอกว่า อย่าลืมนะว่าตรงนี้มันไกล กว่าจะมาถึงตรงนี้ จุดดีเด่นทั้งหลาย ซึ่งวงการอสังหาริมทรัพย์มีสุภาษิตมีปัจจัยยึด 3 อย่าง คือ โลเกชั่น โลเกชั่น และโลเกชั่น ทีนี้ต้องเถียงกันว่า โลเกชั่นตรงนี้ ใช่... ริมแม่น้ำ

แต่กว่าจะมาถึงตรงนี้ มันไกลพอสมควร นี่คือข้อโต้เถียง ก็รับฟังกัน

ประการที่ 2 ทางเข้าริมแม่น้ำเป็นถนนเล็กๆ ถ้าดูจากรูป ในหลักปรัชญาพอเพียง เราต้องมีความรู้ที่ดีและรู้เป็นธรรมด้วยในการประเมินและพัฒนาพื้นที่ตรงนี้

แต่ดูจากรูปแล้ว จะเห็นว่าถนนเล็กๆ ผ่านอะไรต่างๆ พอสมควร ความหมายคือผู้พัฒนาต้องออกแรงพอสมควรในการพัฒนาที่ตรงนี้ให้ประสบความสำเร็จ

ประเด็นคือ ทรัพย์สินฯเองในปัจจุบันไม่มีใครในสำนักงานที่มีความรู้เรื่องพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ที่จะมาพัฒนาเอง

"นโยบายผมไม่ว่าผิดหรือถูกก็ตาม ผมไม่เสี่ยงที่จะพัฒนาที่ดินเอง ฉะนั้น ที่แปลงนี้เป็นสัญญาการพัฒนาที่ดิน ให้เช่า 25 ปี ระยะยาวพอสมควร ปกติสัญญาเช่าของเราสูงสุด 30 ปี"

ที่ให้ผู้พัฒนาเช่า 25 ปี ไม่ว่าถูกหรือผิด เราให้น้อยที่สุด ในฐานะเจ้าของที่ดิน นี่คือสั้นที่สุดที่ผู้พัฒนาจะยอมรับ เพราะเขาก็อยากจะได้ (สัญญาเช่า) ยาวที่สุด ถ้าให้ 90 ปีเขายิ่งดีใจใหญ่ แต่อย่าให้เรา commit นานกว่านี้เลย นี่คือส่วนแรกของการเจรจา

ถ้ามองในแง่ของเวลา จริงๆ แล้วส่วนใหญ่ต้องยอมรับว่าทรัพย์สินฯเพิ่งเริ่มที่จะไปบอกว่าพื้นที่นี้เราอยากจะพัฒนา เราเพิ่งเริ่มมีความคิดอย่างนี้

คำว่าเพิ่งเริ่มคือภายใน 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีว่าเราอยากจะเป็นผู้ที่ริเริ่มในการที่จะพัฒนา อยากทำให้สิ่งแวดล้อมมันดีขึ้น

เมื่อก่อนมีแต่คนเข้ามาหาทรัพย็สินฯ และบอกว่าอยากจะพัฒนาที่ตรงนั้นตรงนี้

พอเราริเริ่ม การจัดทำข้อมูลก็ต้องมาเลย เชื่อหรือไม่ พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่เราอยากจะพัฒนา กว่าจะได้ตัวเลขชัดคือ 3 ปี เพราะต้องไปดูสัญญาที่แถวนั้น สถานะล่าสุดเป็นยังไง เรากลับพบว่า เอกสารไม่ครบ ไม่มีความทันสมัย ต้องเอาแผนที่ของ กทม. ส่งคนลงไปสำรวจ ประมวลข้อมูลตัวเลขขึ้นมา เพื่อสร้างระบบ

ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะพรวดขึ้นมาทำเลย เรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ไป

จุดเริ่มคือ ...สะพานปลามีพื้นที่กรมประมง องค์การสะพานปลา มีเอกชน ห้องเย็น อาร์ซีเค โรงเลื่อยเก่า ห้องเย็นเล็กๆ และผู้เช่ารายย่อย รวมพื้นที่ 35 ไร่

ถ้าผมจำไม่ผิดที่ข้างๆ ตรงโรงเรียนวัดสุทธิฯ ก็เป็นของทรัพย์สินฯ จะเห็นชัดว่า เราไม่แตะแน่นอน มีแต่จะส่งเสริมเรื่องสถานที่ศึกษา แต่ละเรื่องควรให้ความเป็นธรรมกับทรัพย์สินฯบ้าง

ส่วนคนที่อยู่เก่าที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ตรงนี้คือความเป็นธรรม 2 ฝ่าย ...กรมประมง เดิมเป็นหน่วยวิจัย เขาไม่ต้องการใช้ที่แล้ว เข้าใจได้เพราะจุดศูนย์กลางหรือส่วนสำคัญของการวิจัยไม่ได้อยู่ตรงนี้แล้ว ฉะนั้น เขาส่งพื้นที่คืน ไม่มีปัญหาเลย

เดิมเคยมีองค์กรห้องเย็น ล้มเลิกไปแล้วกำลังชำระบัญชีอยู่ เขาขอรอกระทั่งกระบวนการด้านชำระบัญชีเสร็จจะส่งคืนพื้นที่ตรงนี้หมด เมื่อเราเกิดความเป็นไปได้ตรงจุดนี้ นี่คือส่วนบวกที่เรากำลังจะได้พื้นที่ตรงนี้คืนมา เราก็ไปดู

เราไปดู ประเมินผิดหรือถูก ช่วยประเมินด้วย มันเป็น sunset activity เมื่อก่อนอาจจะมีความสำคัญ แต่ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ 1)ประมง ไม่ใช่เส้นทางที่จะมาจุดนี้แล้ว กิจกรรมเริ่มลง ...และพูดจริงๆ มองในแง่หนึ่ง อย่าไปทำให้มีความรู้สึกที่ไม่ดีกันเลย คือ เราคิดว่าเขาให้เช่าช่วงนะ ผมคิดว่า... แต่ผมไม่รู้ ..เรื่องเก่า ไม่ใช่สาเหตุสำคัญ

2)กิจกรรมตรงนี้เรารู้แล้ว ดูจากรูปยังรู้เลยว่าจริง กิจการสะพานปลาที่เอกชนหรือองค์การสะพานปลาทำเอง มีความหมายทางเศรษฐกิจ คนเอาปลามาขายและส่งตรงนี้

แต่วิธีที่เขาทำ ทำไมต้องอยู่ริมแม่น้ำ เพราะปั๊มน้ำเข้ามาและล้างลงไป ของเสียทั้งหมดลงแม่น้ำหมด ถ้าภายใต้การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เขาจะต้องลงทุนเพื่อมีการบำบัด ไม่งั้นไม่เป็นไปตามเกณฑ์กฎหมายสิ่งแวดล้อม

ที่มันเกี่ยวพันคือ ไม่ได้ใหญ่อะไร กิจการใหญ่คือ "ปลา" เป็น sunset อิงห้องเย็น ศูนย์วิจัยยิ่งเล็กลงไป สภาพที่อยากชี้ให้เห็นคือทรัพย์สินฯไม่ได้สนใจแต่เรื่องรายได้ ไม่ใช่ว่าคนมาออฟเฟอร์ก็เอาเลย

"เข้าสู่เรื่องผลประโยชน์ 35 ไร่ เราพยายามใช้วิธีแบบวิชาการ มองในเชิงสังคม ทุกๆ แง่ พอเริ่มต้นเจรจา ผมบอกก่อนว่า ขอคนกลางมาประเมินราคาที่ดิน แล้วก็ใช้เกณฑ์ 25 ปี ขอ 25% ของราคาที่ดิน ซึ่งเป็นเกณฑ์ทั่วไปที่ทรัพย์สินฯใช้"

เสร็จแล้วผมก็บอกว่า มาถึงอีกจุดหนึ่งของนโยบายทรัพย์สินฯ เพราะรูปแบบของการพัฒนาไม่มีอะไร 100% มีประเด็นว่าควรประมูลไหม คนเดินอาสาเข้ามาพัฒนา ถ้าเราเห็นว่าเหมาะสม โอเค คุณเก่งจริงประมูลกันไหม ถ้าตกลงกันไม่ได้ เหมือนไม่ยุติธรรมนิดหนึ่งตรงที่เขาอุตส่าห์ไปเตรียมข้อมูลมาแต่คนอื่นได้ประโยชน์

ไม่ใช่เหตุผลหลัก เวลาประมูลเวลาตัดสินใจมันยาก คลองถมที่เราทำได้เพราะเราเลือก เจรจาเงื่อนไข ประเมินผู้อาสาพัฒนาว่านอกจาก... ต้องทำที่เราอยากได้ด้วย

"นโยบายเราคือ ผู้เช่าโดยเฉพาะรายย่อยต้องได้รับความเป็นธรรม"

ทุกๆ กรณี ขอให้ได้รับความเชื่อมั่นว่า เราจะดูแลผู้เช่าเดิมตามสมควรเสมอ และดูแลดีกว่าแลนด์ลอร์ดคนอื่นแน่นอน มีความเชื่อมั่นอย่างนั้น ฉะนั้น ผลประโยชน์จะขึ้นกับการประเมินโดยคนกลาง คิดราคาตามสัญญา

แล้วผลประโยชน์เราได้ไม่ถึงพันล้านแน่นอน ในการเจรจาเขาต้องอ้างต่างๆ นานาเพื่อที่จะขอลด เราต้องบอกว่า frontage สวยนะ ในที่สุดก็ได้ข้อยุติ มันมากกว่าเดิมนะที่ได้มา

สะพานปลาเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ภาคเอกชนเสนอเข้ามาพัฒนาเอง โดยไม่ได้บิด (ประมูล) ซึ่งมีไม่เยอะ

แล้วดีลที่เกิดขึ้นถือว่าไม่นาน ก่อนหน้านี้ไม่มีใครสนใจ แต่เราศึกษาพบว่าเป็นที่ที่มีศักยภาพ แต่ไม่มีคนอาสา คนอาจจะเข้ามาว่าลองหาโอกาส เช็กราคาถูกไหม เป็นเรื่องธรรมดาของทุนนิยม

ผมเข้ามารับรู้ รับข้อเสนอและจัดการเรื่องนี้ นั่นคือมีคลองถมด้านหนึ่ง กับเจริญกรุงด้านหนึ่ง

พูดไปก็ไม่ต่างกับย่านสะพานขาว โบ๊เบ๊ ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดา มีผู้มีบารมีและ conect กันไปหมด ผมถึงบอกว่า เรารับความเป็นจริง รู้สึกว่าเราลอยตัวสบายๆ ในห้องแอร์...ไม่ใช่ เราต้องรับ นี่คือของจริงหมด ต้องจัดการให้ได้

ขอย้ำว่า มีนโยบายเรื่องพอเพียงแล้ว ต้องทำตามนั้นให้ได้มากที่สุด ทั้งรอบคอบและระมัดระวัง

"เงื่อนไขที่เอกชนเสนอเข้ามา เรารู้เพียงว่าเขามีทีมงาน มีความตั้งใจออกแบบให้ดี เงื่อนไขว่าถ้ามีแบบออกมาแล้ว เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ถ้าออกแบบได้ดีก็ถือว่าสำเร็จ แต่ก่อนที่เขาจะทำต้องเอามาให้เราดู"

แล้วชาวบ้าน-คนทำงานในที่ตรงนั้นจะทำยังไง ซึ่งตรงนี้ไม่เหมือนที่อื่น เพราะมีน้อย สิ่งที่คิดแต่ไม่กล้าแสดงความเห็นคือ คนส่วนใหญ่ที่มาใช้ตรงนี้กิจกรรมด้านสะพานปลา น่าจะไปเลือกโลเกชั่นใหม่ที่ไปมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เติบโตใหม่ เช่น มหาชัย สมุทรปราการ และควรเลือกในเชิงปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถแก้ได้โดยไม่แพง

เมื่อ "ประชาชาติธุรกิจ" ถามว่า เรื่องนี้มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวด้วยมั้ย

"ไม่มีเลย ไม่เกี่ยวเลย ตรงนี้ที่ผมรู้สึกแปลกใจ เท่าที่สัมผัสกับทีมงานเขา ถ้าผมไม่ได้เรียนรู้ประสบการณ์จากที่แปลงใหญ่ และถ้าไม่มีปัญหาคลองถม"

ผมอาจจะไม่ได้ลงมาดูละเอียดขนาดนี้ อาจปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำและมารายงาน ยอมรับว่าบางทีงานเยอะ และไม่ได้ถือตัวว่าเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์
บันทึกการเข้า
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #10 เมื่อ: 13-01-2008, 20:43 »

ถ้านำข้อเท็จจริงมานำเสนอโดยไม่มีอคติ ก็ถกเถียงกันได้ และหลายท่านคงมีข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่มีประโยชน์

แต่ถ้าคิดจะโจมตีสถาบันด้วยการตีวัวกระทบคราด ยืมมีดฆ่าคน อย่าลำพองคิดว่าแน่  Yell
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-01-2008, 20:47 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #11 เมื่อ: 13-01-2008, 20:49 »

ถ้านำข้อเท็จจริงมานำเสนอโดยไม่มีอคติ ก็ถกเถียงกันได้ และหลายท่านคงมีข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่มีประโยชน์

แต่ถ้าคิดจะโจมตีสถาบันด้วยการตีวัวกระทบคราด ยืมมีดฆ่าคน อย่าลำพองคิดว่าแน่  Yell


ข้อมูลขนาดนี้ไม่ใช่บังเอิญเดินเล่นแล้วไปเตะเจอแถวริมถนนเลยเอามาแปะนะจ๊ะ พอดีนิ้วเขี้ยคีย์บอร์ดไปเจอตะหาก
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #12 เมื่อ: 13-01-2008, 21:55 »



   อ่านๆแล้วงงจังเลย  มีใครทราบบ้างไหมว่า  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

 ไม่ใช่สังกัดแบบเดียวกับ สำนักพระราชวัง  ซึ่งอย่ในพระราชวัง  แบบนี้ไม่ทราบว่า

 สังกัดกับกระทรวงหรือทบวงกรมอะไร แล้วทำไมมาใช้ชื่อนี้ได้ เนี่ยผมงงตรงจุดนี้ครับ ?
   
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #13 เมื่อ: 13-01-2008, 22:21 »


   อ่านๆแล้วงงจังเลย  มีใครทราบบ้างไหมว่า  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

 ไม่ใช่สังกัดแบบเดียวกับ สำนักพระราชวัง  ซึ่งอย่ในพระราชวัง  แบบนี้ไม่ทราบว่า

 สังกัดกับกระทรวงหรือทบวงกรมอะไร แล้วทำไมมาใช้ชื่อนี้ได้ เนี่ยผมงงตรงจุดนี้ครับ ?
   

โห เป็นโชคดีของหนูนะเนี่ย เอานี่ไปอ่านเป็นความรู้นะจะได้ไม่เข้าใจผิดๆ อีก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search_result.jsp?SID=26DC9189488778AFD06347640C4BC366
บันทึกการเข้า
saopao
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 199



« ตอบ #14 เมื่อ: 13-01-2008, 22:28 »

อ้างถึง
เช่นเดียวกับกรณีของโรงเรียนวชิราวุธ ที่เป็นที่ดินพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 แต่ถูกยึดเอาไป และไปตกอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ คำตอบคือ การยึดเอาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปอยู่กับสำนักงานทรัพย์สินฯ นั่นทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กรณีของโรงเรียนวชิราวุธ หรือแม้แต่บ้านโบราณในซอยเจริญกรุง 64 กำลังจะแสดงข้อเท็จจริงบางอย่างออกมา ข้อเท็จจริงที่มักถูกซ่อนไว้โดยประวัติศาสตร์ และลบล้างคำกล่าวอ้างที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ คือส่วนหนึ่งขอสถาบันออกไป[/color] -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อยากจะช่วยเน้นย้ำประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในบทความชุดนี้ นั่นคือ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์

การลากโยงทรัพย์สินในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

และการลากโยงเอาการดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไปเกี่ยวข้องเป็นการดำเนินงานของสถาบันกษัตริย์ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
แต่ถ้ารู้อยู่แล้วพยายามบิดเบือน ถือเป็นการกระทำชั่วร้ายเลวทรามครับ 

ยอดไปเลยคับทั่น ตานี้พวกหนูๆ มดๆ ในบอร์ดโปรดเข้าใจให้ถูกได้แล้ว ตามที่ทั่นกูรูประจำบอร์ดนี่ได้แจ้ง
ให้ทราบ และขอความกรุณาอย่าได้ลบซี้ซั้วในเรื่องสำนักงานทรัพย์สิน อีกต่อไปนะจ๊ะ เข้าทางเรย ขอบใจมากกกกกก


แสดงว่าตั้งใจ จะดึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์  ให้คนทั่วไปเขาใจผิด แล้วเกลียดสถาบันกษัตริย์ ใช่มั้ยเนี่ย คิดอะไรดีๆ สร้างสรรค์ๆ เป็นบ้างอ่ะถามจริง [/size
อยากให้คุยกันคุยเรื่องการอนุรักษ์ สถาปัตยกรรม สมัยรัชการ ที่ 5 น่าจะดีกว่าครับ เพราะ อาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมันนี้ยังเห้นได้ชัดในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งควรอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 13-01-2008, 22:44 »

ไอ้หมอนี่คิดดีเป็นที่ไหน  สมองมีแต่ขยะ จ้องแต่ทำลาย

ที่ทักษิณมันยกขึ้นหิ้งบูชา ยังกะเทวดาก็ไม่ปาน

นี่อยู่แค่ 5 ปีนะ ถ้าอยู่อีก มันก็คงนับถือเป็นพ่อมันแล้วละ พูดอะไรก็เชื่อฟังหมด
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 14-01-2008, 13:08 »

หากตัดส่วนที่เป็น ข้อโต้แย้งออกไป

กระทู้นี้ก็ดีครับ มีสาระ

ทำให้เราได้รู้ว่า กทม ยังมีบ้านลักษณะนี้หลงเหลืออยู่

แม้ว่าจะกำลังสูญสลายไป ตามกาลเวลา

 Wink
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #17 เมื่อ: 14-01-2008, 17:13 »

ลักษณะผู้นำทางสังคมไทยในหลายๆรุ่น ชอบทำลายมากกว่ารักษาครับ

เช่นการรัฐประหารเป็นต้น

แล้วก็ชอบทุบพวกของเก่าๆสวยงาม
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Priateľ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 395



« ตอบ #18 เมื่อ: 14-01-2008, 17:33 »

ปกติเวลาที่ผมจะไปซื้อซีดีเถื่อนผมจะนั่งรถไฟฟ้าไปลงตรงราชเทวี และจากนั้นหากอยากจะไปพันทิพย์ผมก็จะเดินไปเลียบตามหัวโค้ง แถวนั้นจะมีร้านแว่นตาหลายร้าน ก่อนจะถึงร้านลาดหน้ายอดผัก(เจ้าแรกแห่งประเทศไทย) จะมีช่องว่างระหว่างตึกแถวเป็นทางเดินเข้าไป
พอมองเข้าไปข้างในจะเจอประมาณว่าตึกเก่าๆอยู่กลางสนาม หลังคาน่าจะเป็นกระเบื้องว่าวถ้าจำไม่ผิด จำได้ว่ามองครั้งแรกนั้นนิ่งเลย ว้าว สวยโว้ย อะไรประมาณนั้น เดินผ่านไปพันทิพย์ครั้งใดก็ต้องมองทุกครั้ง หลายครั้งพยายามเล็งจนตาเหล่บนรถไฟฟ้า บางครั้งนึกอยากจะเดินเข้าไปถามว่านี่คือตึกอะไร อยากรู้ประวัติ แต่ไม่กล้าเข้าไป กลัวหมากัด(ไม่รู้มีหรือเปล่า แต่พื้นที่มันเหมาะแก่การปิดประตูตีแมวมากเพราะมีทางเข้าออกทางเดียวคือช่องระหว่างตึกแถวช่องนั้นที่เหลือโดนโอบโดยตึกแถวทั้งหลาย)

อ้า ไม่กี่วันนี้เดินผ่านไป ไม่มีตึกนั้นแล้วครับ ราบพนาสูรกลายเป็นที่โล่งๆ คุณเคยชื่นชมอะไรสักอย่างแล้วฉับพลันนั้นมันกลายเป็นเศษกองๆกับพื้นไหมล่ะครับ อารมณ์ประมาณนั้นเลย

เฮ้อ เข้าใจว่าเขาจำเป็นต้องทำอย่างนั้น หากสร้างคอนโดปล่อยฝรั่งเช่าขี้หมูขี้หมาก็ห้องละห้าหมื่นเจ็ดหมื่น จะเก็บตึกเก่าๆไว้ทำซากอะไร

วันก่อนเดินผ่านช่องนั้น อดเผลอหันไปมองอย่างที่เคยทำไม่ได้ ต่างกันตรงที่เดินผ่านไปแล้วก็แล้วไป ไม่มีความชื่นชมเหมือนที่เคยเป็น

(ไม่มีตังค์ซื้อที่ตรงนั้นเก็บรักษาเองนี่หว่า ช่วยไม่ได้)
บันทึกการเข้า

If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.

ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #19 เมื่อ: 14-01-2008, 17:39 »

ปกติเวลาที่ผมจะไปซื้อซีดีเถื่อนผมจะนั่งรถไฟฟ้าไปลงตรงราชเทวี และจากนั้นหากอยากจะไปพันทิพย์ผมก็จะเดินไปเลียบตามหัวโค้ง แถวนั้นจะมีร้านแว่นตาหลายร้าน ก่อนจะถึงร้านลาดหน้ายอดผัก(เจ้าแรกแห่งประเทศไทย) จะมีช่องว่างระหว่างตึกแถวเป็นทางเดินเข้าไป
พอมองเข้าไปข้างในจะเจอประมาณว่าตึกเก่าๆอยู่กลางสนาม หลังคาน่าจะเป็นกระเบื้องว่าวถ้าจำไม่ผิด จำได้ว่ามองครั้งแรกนั้นนิ่งเลย ว้าว สวยโว้ย อะไรประมาณนั้น เดินผ่านไปพันทิพย์ครั้งใดก็ต้องมองทุกครั้ง หลายครั้งพยายามเล็งจนตาเหล่บนรถไฟฟ้า บางครั้งนึกอยากจะเดินเข้าไปถามว่านี่คือตึกอะไร อยากรู้ประวัติ แต่ไม่กล้าเข้าไป กลัวหมากัด(ไม่รู้มีหรือเปล่า แต่พื้นที่มันเหมาะแก่การปิดประตูตีแมวมากเพราะมีทางเข้าออกทางเดียวคือช่องระหว่างตึกแถวช่องนั้นที่เหลือโดนโอบโดยตึกแถวทั้งหลาย)

อ้า ไม่กี่วันนี้เดินผ่านไป ไม่มีตึกนั้นแล้วครับ ราบพนาสูรกลายเป็นที่โล่งๆ คุณเคยชื่นชมอะไรสักอย่างแล้วฉับพลันนั้นมันกลายเป็นเศษกองๆกับพื้นไหมล่ะครับ อารมณ์ประมาณนั้นเลย

เฮ้อ เข้าใจว่าเขาจำเป็นต้องทำอย่างนั้น หากสร้างคอนโดปล่อยฝรั่งเช่าขี้หมูขี้หมาก็ห้องละห้าหมื่นเจ็ดหมื่น จะเก็บตึกเก่าๆไว้ทำซากอะไร

วันก่อนเดินผ่านช่องนั้น อดเผลอหันไปมองอย่างที่เคยทำไม่ได้ ต่างกันตรงที่เดินผ่านไปแล้วก็แล้วไป ไม่มีความชื่นชมเหมือนที่เคยเป็น

(ไม่มีตังค์ซื้อที่ตรงนั้นเก็บรักษาเองนี่หว่า ช่วยไม่ได้)
ชีวิตในยุคทุนนิยมครับ ไม่มีอะไรสวยงามให้มอง มีให้มองแต่ตึกไร้ศิลปะสิ้นดี

แต่ผมเคยเจอบ้านเก่า ตรงข้างหน้าร้านอาหาร in love ของ พลเอก เฟื่องเฉลย หรือเฟื่อนวิทย์ อณิรุทเทวา น่าเสียดายมาก
บ้านอยู่ในสภาพแย่เอาการเลยทีเดียว แต่เค้าโครงยังมีความสวยงามอยู่
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Priateľ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 395



« ตอบ #20 เมื่อ: 14-01-2008, 18:02 »

หลายแห่งปล่อยไว้ทรุดโทรมน่าใจหายครับ ผมเคยไปดูซินแส จำไม่ได้แล้วว่าที่ไหน(เพราะคนอื่นพาไป แหะ แหะ) ระหว่างรอเข้าคิวเบื่อๆก็เลยเดินเล่น ไปเจอประตูวังเจ้าแห่งหนึ่ง เหลือแต่โครงประตูใหญ่ๆ ที่เหลือรอบข้างเป็นวินมอเตอร์ไซค์กับ ....อะไรไม่รู้พูดไม่ถูก แต่มันไกลกว่าคำว่าประตูวังเจ้า

ผมไม่ได้เสียดายแค่ว่ามันเป็นโบราณและศิลปวัตถุเท่านั้น แต่ผมเสียดายในแง่ว่าจริงๆแล้วของพวกนี้มันสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำเงินได้ หากจะคิดแบบทุนนิยม แต่ส่วนใหญ่หากปล่อยไปตามปัจเจก ก็คงไม่พ้นทุบสร้างตึกให้เช่าเพื่อความอยู่รอดกันครับ

กำลังลุ้นว่าเชียงใหม่จะเป็นอย่างไรต่อไป นับวันเหมือนกรุงเทพฯเข้าไปทุกทีครับ
บันทึกการเข้า

If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.

ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #21 เมื่อ: 14-01-2008, 18:06 »

ปกติเวลาที่ผมจะไปซื้อซีดีเถื่อนผมจะนั่งรถไฟฟ้าไปลงตรงราชเทวี และจากนั้นหากอยากจะไปพันทิพย์ผมก็จะเดินไปเลียบตามหัวโค้ง แถวนั้นจะมีร้านแว่นตาหลายร้าน ก่อนจะถึงร้านลาดหน้ายอดผัก(เจ้าแรกแห่งประเทศไทย) จะมีช่องว่างระหว่างตึกแถวเป็นทางเดินเข้าไป




หลังนี้ใช่มั้ยครับ
ไปซะแล้วเหรอ Rolling Eyes

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Priateľ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 395



« ตอบ #22 เมื่อ: 14-01-2008, 18:08 »

 Shocked

แม่นแล้วครับ หลังนี่แหละครับ ตรงกลางจะมีเหมือนรูปปั้นนักบุญเล็กๆ หันเข้าหาตึก ถ้ารถปิ๊กอัพนั่นไม่บังนะครับ

ตึกนี้โดนทุบแล้วครับ
บันทึกการเข้า

If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.

ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #23 เมื่อ: 14-01-2008, 18:11 »


เจอรูปเพิ่มเติมครับ Confused
มีอีกหลายรูปครับในลิงค์

http://2bangkok.com/08/losthouse/losthouse.shtml


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Priateľ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 395



« ตอบ #24 เมื่อ: 14-01-2008, 18:19 »

สวยเหมือนที่เคยจินตนาการไว้เวลามองจากข้างนอกเลยครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.

ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #25 เมื่อ: 14-01-2008, 19:11 »

ที่ตัวจังหวัดภูเก็ต มีตึกเก่าแก่สวยงามทีเป็นการผสมผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรมของโปรตุเกส และจีน ไม่ทราบจนถึงเวลานี้ ยังอยู่รอดปลอดภัยจากการรุกล้ำของความเจริญแบบทุนนิยมหรือป่าว  Undecided

ส่วนต่างประเทศที่น่าสนใจศึกษา ที่เด่น ๆ ก็ตรงใจกลางกรุงปารีส ซึ่งเคยได้ข่าวว่า ยังสามารถอนุรักษ์อาคารโบราณที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ได้ แต่ในขณะที่โบสถ์บางแห่งถูกขายไปแล้วก็มี เมื่อผู้คนละทิ้งศาสนา

ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจะสามารถประสานความโบราณที่มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรมซึ่งต้องจ่ายเงินจำนวนสูงในการบำรุงรักษา กับความเจริญแบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่สร้างผลกำไรให้ ได้อย่างไร  Undecided



บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #26 เมื่อ: 14-01-2008, 19:21 »

ที่ตัวจังหวัดภูเก็ต มีตึกเก่าแก่สวยงามทีเป็นการผสมผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรมของโปรตุเกส และจีน ไม่ทราบจนถึงเวลานี้ ยังอยู่รอดปลอดภัยจากการรุกล้ำของความเจริญแบบทุนนิยมหรือป่าว  Undecided

ส่วนต่างประเทศที่น่าสนใจศึกษา ที่เด่น ๆ ก็ตรงใจกลางกรุงปารีส ซึ่งเคยได้ข่าวว่า ยังสามารถอนุรักษ์อาคารโบราณที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ได้ แต่ในขณะที่โบสถ์บางแห่งถูกขายไปแล้วก็มี เมื่อผู้คนละทิ้งศาสนา

ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจะสามารถประสานความโบราณที่มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรมซึ่งต้องจ่ายเงินจำนวนสูงในการบำรุงรักษา กับความเจริญแบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่สร้างผลกำไรให้ ได้อย่างไร  Undecided





ผมไปภูเก็ตมาคราวที่แล้ว ผมได้เข้าไปบ้านของตระกูล ณ ระนอง ต้นตระกูลคือ คอซิมบี้ และ คอซูเจียง

ท่านเจ้าของบ้านเก็บค่าเข้าชมในอัตราคนละ100บาท เป็นค่าเข้าชมที่ผมยอมจ่ายทันที

เพราะศิลปะที่ภายในนั้น คุ้มกว่าเงินที่จ่ายไปมากนัก

ไม่ว่าจะเป็นเตียงในยุคสมัยรัชกาลที่5ที่ส่งมาจากจีน

หรือศิลปะในการทำให้บ้านเย็นสบายจากรูระบายอากาศ

ที่การสร้างบ้านในยุคนี้ไม่ปรากฎศิลปะในการสร้างแบบนั้น
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #27 เมื่อ: 14-01-2008, 19:42 »

เห็นกระทู้ ก็หอบแล้ว......มดช่วย เอาทู้ปักหมุดได้มั๊ย ครับ.....เดี๋ยว ขอเวลาอ่านซักอาทิตย์ จะแสดงความเห็น

 
บันทึกการเข้า
saopao
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 199



« ตอบ #28 เมื่อ: 15-01-2008, 01:39 »

ผมไปภูเก็ตมาคราวที่แล้ว ผมได้เข้าไปบ้านของตระกูล ณ ระนอง ต้นตระกูลคือ คอซิมบี้ และ คอซูเจียง

ท่านเจ้าของบ้านเก็บค่าเข้าชมในอัตราคนละ100บาท เป็นค่าเข้าชมที่ผมยอมจ่ายทันที

เพราะศิลปะที่ภายในนั้น คุ้มกว่าเงินที่จ่ายไปมากนัก

ไม่ว่าจะเป็นเตียงในยุคสมัยรัชกาลที่5ที่ส่งมาจากจีน

หรือศิลปะในการทำให้บ้านเย็นสบายจากรูระบายอากาศ

ที่การสร้างบ้านในยุคนี้ไม่ปรากฎศิลปะในการสร้างแบบนั้น

สถาปัตยกรรมแบบ ชิโนโปรตุกีส เห็นได้ชัดในภูเก็ตครับ เป็นส่วนผสมของสถาปัตยกรรมโปรตุเกส และ ศิลปะตกแต่งลวดลายแบบจีน ในยุคล่าอาณานิคม
(Colonial Style) ประมาณสมัยรัชการที่ 5
ใคร สนใจ อ่านได้ตามลิงค์ครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AA

บันทึกการเข้า

saopao
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 199



« ตอบ #29 เมื่อ: 15-01-2008, 02:25 »

ถ้าอยากหาอาคารเก่า ลักษณะถาปัตยกรรมแนวๆนี้ ให้ไปเดินเล่นที่ ถนนทรงวาดครับ









แล้วแวะเข้าไปดูในโรงเรียเผยอิง



สวยได้ใจ ...
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: