ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 22:53
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อีกครั้งกับรัฐธรรมนูญ แบบต่างๆ กับการเมืองไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อีกครั้งกับรัฐธรรมนูญ แบบต่างๆ กับการเมืองไทย  (อ่าน 3110 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 12-01-2008, 01:11 »


ตกลงมีใครอยากให้มีข้อความอะไร ตัด ย่อ ต่อ ขยายในรัฐธรรมนูญบ้าง?

รวมทั้งประเด็นสถาบันต่างๆ และสิทธิหน้าที่พลเมืองในแง่มุมการเมืองด้วย..

ผมคัดค้านประเด็นศาสนาประจำชาติ มันไม่ชัดเจนครับ..คือ คนไม่เชื่อศาสนาแต่เชื่อวิทยาศาสตร์ก็มี

บางคนก็อำนาจนิยม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-01-2008, 01:14 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12-01-2008, 01:16 »



เรื่องจารีตประเพณีก็อีกเรื่องหนึ่งต้องยืดหยุ่น เพราะมันเสื่อมและเกิดใหม่ได้เหมือนภาษา..

การดูแลทิศทางและครรลองน่าจะสำคัญกว่าความเด็ดขาดแข้งกร้าวในการทำลายล้างผู้ที่มีความเชื่อแตกต่าง
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12-01-2008, 01:20 »



แล้วเรื่องวัฒนธรรมกับโลกาภิวัฒน์อีก

หากผลักไสคนไทย เราจะไปทำให้คนไทยที่โตในต่างแดนเชื่อและเข้าใจ

ความรุนแรง ความเหลวไหลที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไร?
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12-01-2008, 01:28 »



ประเด็นสถาบันหลัก หากดูแลไม่ดี

ผมว่าแม้แต่ชาติก็รักษาไว้ไม่ได้

ในวัฒนธรรมหลากหลาย และอวัฒนธรรมแบบศรีธนญชัย

คอร์รัปชัน อำนาจนิยม บริโภคนิยม เห็นแก่ตัวประมาท แบ่งแยก ฯลฯ ที่ไม่ดีทั้งสิ้น

สถาบันกลายสภาพเป็นถึงขยะอารมณ์ของคนไทยไปโดยปริยาย..

รัฐธรรมนูญแก้ปัญหานี้ได้หรือเปล่า?

เป็นความผิดของใคร เอาตามปากหรือความคิดใครดี?


มีเหล่าสมมุติเทพช่วยคนไทยทางการเมืองได้หรือ?
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 12-01-2008, 17:48 »


จากรุงเทพธุรกิจ

"จรัญ"เชื่อทุจริตคอรัปชันเชื่อมโยงโกงเลือกตั้ง
 
11 มกราคม พ.ศ. 2551 12:48:00
 
"จรัญ" เชื่อทุจริตคอรัปชันเชื่อมโยงโกงเลือกตั้ง เพื่อหาช่องทางสู่อำนาจแล้วโกงต่อ เผยค่านิยมโกงแล้วแบ่งแพร่กระจายไปทั่วสังคมไทย 75 ปีประชาธิปไตยหาต้นแบบผู้นำซื่อสัตย์ได้น้อยกว่าคนชั่ว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องปัญหาอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรมและการแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นกับการติดตามทรัพย์สินคืน ว่า ปัญหาทุจริตโกงกินจัดว่ามีความเลวร้ายพอๆกับการรัฐประหาร แต่ถ้าเราหยุดการคอรัปชั่นไม่ได้ก็คงไม่สามารถหยุดยั้งการรัฐประหารได้เช่นกัน เพราะกลุ่มที่ทำการรัฐประหารจะอ้างว่าต้องการคืนอำนาจสู่ประชาชน สำหรับการเริ่มต้นปราบปรามคอรัปชั่นต้องทำให้สังคมมีความชัดเจนจริงจังในเรื่องการต่อต้านการทุจริตทุปรูปแบบ เพราะขณะนี้ประชาชนกว่า 90 % ไม่ชอบการทุจริตคอรัปชั่น แต่ในมุมมองต่อผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่กระทำการทุจริตคอรัปชั่น สังคมกลับให้ความยอมรับนับถือ มองว่าไม่เป็นเพราะ งานปราบปรามไม่ใช่หน้าที่เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ การทุจริตคอรัปชั่นยังแทรกซึมไปถึง เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กร ผู้บริหาร นับจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นเวลากว่า 75 ปี เรามีผู้นำที่เป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยมาก เมื่อเทียบกับคนทำชั่วแล้วได้ดี มีเงินเป็น 1,000 ล้านบาท บางคนไม่มีฐานะพอเข้าสู่แวดวงการเมืองหรือมีตำแหน่งสูง ก็มีเงินเป็น 100 ล้านบาท และยังได้รับความนับถือไปไหนมีแต่คนยกมือไหว้ แสดงถึงความเป็นสังคมธนบัตรนิยมสุดโต่ง

นายจรัญ กล่าวอีกว่า หากต้องการเริ่มต้นงานปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นต้องเริ่มสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ถึงพิษภัยของการทุจริตซึ่งเป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศชาติ แต่ปัจจุบันเรากลับมีมุมมองที่ว่า กินตามน้ำ รับคอมมิชชั่น วัดครึ่งกรรมการครึ่ง ไม่เป็นไร โกงแล้วแบ่งดีกว่าอมไว้คนเดียว จึงทำให้ระบบคอรัปชั่นกระจายไปทั่วประเทศ ระบบคิดแบบนี้ทำให้นักการเมืองโกงกินแล้วแบ่งเงินให้พรรคครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ตนเองกลายเป็นบุคคลสำคัญจะได้รับการผลักดันให้อยู่ในตำแหน่งสูงขึ้น และหาวิธีการทุจริตที่แยบยลมากขึ้น รวมถึงการนำเงินไปซุกซ่อนไว้ในต่างประเทศ เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ จากนั้นก็มาบอกประชาชนว่า การทุจริตดีต่อภาพรวม หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ เราจะแก้ปัญหาทุจริตไม่ได้ เพราะมิจฉาทิฐิแห่งการคอรัปชั่นจะได้รับความนิยมแพร่หลาย

"ผมขอตั้งสมมุติฐานว่าการทุจริตคอรัปชั่นเชื่อมโยงกับการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง แม้ขณะนี้จะยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่การทุจริตเลือกตั้งเพื่อเป็นช่องทางการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งแล้วก็ต้องถอนทุนด้วยการโกง เพื่อนำเงินมาซื้อเสียงให้ได้ตำแหน่งที่สูงกว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ชาวบ้านไม่รู้สึกอะไรที่เลือกคนโกงเข้าไป เพราะคนที่เลือกเข้าไปให้ผลประโยชน์แก่พวกเขา นอกจากเรื่องการทุจริตของนักการเมืองแล้ว ยังต้องระวังการซื้อขายตำแหน่งราชการ คนพวกนี้เมื่อเข้าสู่วงจรซื้อขายตำแหน่งก็ต้องโกงเพื่อให้ได้ตำแหน่งสูงขึ้น จนสุดท้ายต้องเข้าเป็นแนวร่วมของฝ่ายการเมือง"นายจรัญกล่าว

ส่วนกรณีที่กฎหมายที่ให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลพินิจซึ่งอาจเป็นช่องโหว่นำไปเป็นเครื่องมือคอรัปชั่น นายจรัญ กล่าวว่า ในอนาคตอาจต้องปรับกฎหมายหลายส่วนให้มีระบบตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ เช่นเดียวกับต่างประเทศที่มีระเบียบควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 13-01-2008, 19:19 »

ลิงค์ประกอบ ของเสรีไทยก็มีในห้องสมุดและตามกระทู้ต่างๆ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย     http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2+Google&meta=


http://www.concourt.or.th/constitution_01.html

http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=1&group=&lawCode=ร06

http://www.dopa.go.th/law/laws.htm

http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa_cons/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-01-2008, 19:30 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13-01-2008, 19:24 »



รัฐธรรมนูญต่างประเทศ

http://www.concourt.or.th/constitution_02.html
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13-01-2008, 19:52 »





อังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์
   อักษร  แต่อังกฤษได้สร้างกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่เป็น
   มรดกสำคัญ ซึ่งทิ้งไว้ให้แก่โลก  คือ  ระบอบประชาธิปไตยแบบ    รัฐสภาขึ้นดังที่มีประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ต่างพากันใช้ระบบ
   นี้ภายใต้ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของ  3  สถาบันหลัก   
 
 http://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/chapter2/Lesson7.htm#72



บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 13-01-2008, 20:34 »


http://www.concourt.or.th/download/constitution/2550.pdf

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

...............................
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความ
คุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ
หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป
ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

หมวด ๒
พระมหากษัตริย์
มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
มาตรา ๑๑ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มาตรา ๑๒ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี
คนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี
คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง
ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๑๓ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำ แหน่ง
ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือ
ให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้
องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๔ องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการ
การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ
ศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ
มาตรา ๑๕ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วย
ถ้อยคำ ดังต่อไปนี้
“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดี
ต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและ
ประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
มาตรา ๑๖ องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการ
ให้พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจาก
ตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา ๑๘ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหาร
พระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม
มาตรา ๑๘ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะ
ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรง
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
พระองค์
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา
ในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๐ ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการ
ชั่วคราวไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือใน
ระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสอง ประธานองคมนตรี
จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือก
องคมนตรีคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
มาตรา ๒๑ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙ ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมรัฐสภาด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้
“ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
(พระปรมาภิไธย) และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน
ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา
ตามมาตรานี้
มาตรา ๒๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓ การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล
ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใด ให้คณะองคมนตรี
จัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมี
พระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดำเนินการ
แจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนอง
พระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา
ในการรับทราบตามวรรคสอง
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง
พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว
ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ
และให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้
ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาท
ไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดา
ก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์
เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา
ในการรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง
มาตรา ๒๔ ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์
ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๒๓ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
พระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็น
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์
พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
พระองค์ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือทำหน้าที่
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม
มาใช้บังคับ
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่คณะองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๓
วรรคสอง หรือประธานองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือ
มาตรา ๒๔ วรรคสอง และอยู่ในระหว่างที่ไม่มีประธานองคมนตรีหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะองคมนตรีที่เหลืออยู่เลือกองคมนตรีคนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประธานองคมนตรี หรือปฏิบัติหน้าที่
ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 13-01-2008, 20:46 »



ขอบเขตของสถาบัน สิทธิและหน้าที่ ความรับผิดชอบของคนไทยสถานะต่างๆ ฐานันดรต่างๆ

ในบริบทต่าง ทุกฝ่ายและบุคคลคงต้องใช้ดุลยพินิจกันให้ดีครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13-01-2008, 21:06 »




มาตรา ๑๔ องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการ
การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ
ศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 13-01-2008, 21:12 »



มาตรา ๑๔ องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการ
การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ
ศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 13-01-2008, 21:15 »






มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 13-01-2008, 21:21 »



ลองหานิยามทั่วไปของคำว่าสถาบัน..




สถาบัน  [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น
 เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิต
 ของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบัน
 พระมหากษัตริย์สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบัน
 การเงิน. (ส.).




บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 13-01-2008, 21:27 »





มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้





หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  [หฺมิ่นพฺระบอรมมะเดชานุพาบ] ก. กระทําการ
 อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์.
 
 






ลองหานิยามทั่วไปของคำว่าสถาบัน..




สถาบัน  [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น
 เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิต
 ของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบัน
 พระมหากษัตริย์สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบัน
 การเงิน. (ส.).







บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 13-01-2008, 21:43 »




 
“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” อาวุธทรงพลังในหมู่ “ลูกแกะ” โดย อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
http://www.publichot.com/forums/showthread.php?t=1763


โดย อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, DEA de Droit public général et Droit de l’environnement (Université de Nantes)


“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” อาวุธทรงพลังในหมู่ “ลูกแกะ”

สงครามแย่งชิง “ความจงรักภักดี” ระหว่างทักษิณกับสนธิ โดยมีข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เป็นอาวุธกำลังดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อนและยากจะคาดเดาว่าจะลงเอยเช่นใด จนกระทั่งมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม เหตุการณ์ก็เริ่มคลี่คลายไปตามลำดับ ด้วยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเช่นนี้ จึงน่าสนใจว่าที่เรียกกันว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นมีจริงหรือไม่ และมีลักษณะอย่างไร

-๑.-
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ บัญญัติว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ความผิดตามมาตรา ๑๑๒ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำที่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน องค์ประกอบภายนอกก็คือ ต้องหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ส่วนองค์ประกอบภายในคือ ต้องมีเจตนา
มีถ้อยคำที่ควรพิจารณาอยู่ ๓ ถ้อยคำ ได้แก่ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย
อย่างไรจึงเรียก “หมิ่นประมาท”?
“หมิ่นประมาท” ตามมาตรา ๑๑๒ มีความหมายเดียวกับหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปตามมาตรา ๓๒๖ กล่าวคือ เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เมื่ออ่านมาตรา ๑๑๒ ประกอบกับมาตรา ๓๒๖ แล้ว การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หมายถึง การใส่ความพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สามโดยที่น่าจะทำให้พระมหากษัตริย์นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เช่น นาย ก.เล่าให้นาย ข.ฟังถึงเรื่องพระมหากษัตริย์อันทำให้พระมหากษัตริย์เสียชื่อเสียง ไม่ว่าเรื่องที่เล่ามานั้นจะจริงหรือเท็จก็ตาม ถ้าพระมหากษัตริย์เสียหาย ก็ถือว่านาย ก.หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์แล้ว
อย่างไรจึงเรียก “ดูหมิ่น”?
“ดูหมิ่น” หมายถึงการแสดงเหยียดหยาม อาจกระทำทางกริยา เช่น ยกส้นเท้า ถ่มน้ำลาย หรือกระทำด้วยวาจา เช่น ด่าด้วยคำหยาบคาย
ส่วน “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” หมายถึง การแสดงว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในอนาคต เช่น ขู่ว่าจะปลงพระชนม์ไม่ว่าจะมีเจตนากระทำตามที่ขู่จริงหรือก็ตาม
การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เท่านั้น ไม่รวมถึงเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆ
และเช่นกันไม่รวมถึงท่านผู้หญิง คุณหญิง ข้าราชบริพาร สิ่งของ หรือสัตว์เลี้ยง…
โดยทั่วไป การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ผู้กระทำอาจยกเหตุตามมาตรา ๓๒๙ มาอ้างว่าตนกระทำได้ เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามทำนองคลองธรรม หรือในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำหรือในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมหรือการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
นอกจากนี้ผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทอาจอ้างเหตุยกเว้นโทษได้ตามมาตรา ๓๓๐ หากพิสูจน์ได้ว่าที่หมิ่นประมาทไปนั้นเป็นความจริง แต่ห้ามพิสูจน์ในกรณีที่ข้อที่เป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์ไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
อย่างไรก็ตามคำพิพากษาฎีกายืนยันว่าเหตุให้หมิ่นประมาทได้ตามมาตรา ๓๒๙ และเหตุยกเว้นโทษตามมาตรา ๓๓๐ ไม่นำมาใช้บังคับกับกรณีพระมหากษัตริย์ เพราะ พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ มีสถานะแตกต่างจากบุคคลทั่วไปซึ่งมาตรา ๑๑๒ มุ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ ดังนั้นหากใครหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และจะอ้างต่อศาลว่าตนติชมด้วยความเป็นธรรม ศาลก็ไม่รับฟัง
อนึ่ง แม้กฎหมายจะไม่อนุญาตให้อ้างได้ว่าการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นไปเพื่อการวิจารณ์หรือติชมด้วยความเป็นธรรม แต่เราจะเห็นถึงน้ำพระทัยของในหลวงที่ทรงเปิดกว้างรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ในตัวพระองค์ ดังความบางตอนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่ว่า
“แต่ว่าความจริงก็ต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวว่าถ้าใครจะมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้น ตรงนั้นจะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน... ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ละเมิด ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิด เขาก็ถูกประชาชนบอก เป็นเรื่องขอให้เขารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิด ไม่ดี แต่เมื่อบอกว่าไม่ให้วิจารณ์ ละเมิดไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ลงท้ายพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบาก แย่ อยู่ในฐานะลำบาก ถ้าไม่ให้วิจารณ์ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวนี้ต้องวิจารณ์ ต้องละเมิด แล้วไม่ให้ละเมิด พระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไม่ดี”

-๒.-
ความผิดฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีในระบบกฎหมายไทยจริงหรือ ?

จากการสำรวจประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ ไม่พบคำว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นความผิดในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่แสดงถึงเดชานุภาพและบารมีของกษัตริย์ ที่พูดว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในปัจจุบันนั้นน่าจะเป็นการพูดที่ติดปากกันมากกว่า (ไม่ว่าจะติดมาเพราะจงใจหรือบังเอิญ)
ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ที่ “ลูกแกะ” เสื้อเหลืองกับ “ลูกแกะ” รัฐบาลยัดเยียดให้แก่กันและกันนั้น เอาเข้าจริงก็คือข้อหา “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” ตามมาตรา ๑๑๒ นั่นเอง
สมควรกล่าวด้วยว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ย่อมกินความกว้างกว่า “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์”
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในการประชุมอนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาของคณะกรรมการกฤษฎีกา วันที่ ๗ มกราคม ๒๔๘๔ หลวงประสาทศุภนิติได้ซักถามในที่ประชุมว่าหากจะใช้คำว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” จะเป็นอย่างไร หม่อมเจ้าสกลวรรณกร วรวรรณ ตอบว่า ปัจจุบันนี้ใช้ไม่ได้ ไม่มีข้อหาทางอาญา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีแต่ข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ดูhttp://www.midnightuniv.org/midnight...ument9554.html)

กล่าวให้ถึงที่สุด ในระบบกฎหมายไทยปัจจุบันไม่มีความผิดฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีเพียงแต่ “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” ซึ่งโดยเนื้อหาก็เหมือนกับความผิดฐานหมิ่นประมาทคนธรรมดา จะหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาก็ใช้นิยามเดียวกัน คือ “การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย” ที่แตกต่างกันก็มีสามประการ คือ หนึ่ง หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์มีโทษหนักกว่าหมิ่นประมาทคนธรรมดา สอง หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไม่อาจนำเหตุให้กระทำการได้ตามมาตรา ๓๒๙ และมาตรา ๓๓๐ มาอ้างได้ และสาม ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นความผิดเกี่ยวด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร บุคคลที่ มาตรา ๑๑๒ ประสงค์จะคุ้มครอง คือ พระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขณะที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา ๓๒๖ เป็นความผิดเกี่ยวด้วยเสรีภาพและชื่อเสียง มุ่งคุ้มครองบุคคลธรรมดา

-๓-
ยุติการยัดเยียดข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” กันเถิด

การฟ้องร้องโดยอ้างว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” แท้จริงแล้วเป็นการฟ้องร้องในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จึงต้องมาพิจารณากรณีฟ้องและขู่ว่าจะฟ้องทั้งหลายนั้นเข้าข่ายความผิดตามมาตรา ๑๑๒ หรือไม่
ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายแพทย์คนหนึ่งยกย่องโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคว่า ต่อไปนี้ชาวบ้านที่ถือบัตรทองไปโรงพยาบาลก็เสมือนนำธนบัตรมีพระบรมฉายาลักษณ์ติดหน้าผากไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็นกรณีนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์นำสติ๊กเกอร์พระราชดำรัสไปติดตามที่ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นกรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ยินยอมให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบบัญชีโดยอ้างว่าจะเป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”
ไม่ว่าจะเป็นกรณีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างสนธิกับทักษิณ
วิญญูชนพึงตรึกตรองดูเถิดว่า…
กรณีเหล่านี้เป็นการใส่ความพระมหากษัตริย์ให้ผู้อื่นทราบอันทำให้พระมหากษัตริย์เสียหายอันถือเป็น “การหมิ่นประมาท” พระมหากษัตริย์หรือไม่
กรณีเหล่านี้เป็นการแสดงเหยียดหยามทางกริยาหรือทางวาจาต่อพระมหากษัตริย์อันถือเป็น “การดูหมิ่น” พระมหากษัตริย์หรือไม่
กรณีเหล่านี้เป็นการแสดงว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายพระมหากษัตริย์อันถือเป็น “การแสดงความอาฆาตมาดร้าย” พระมหากษัตริย์หรือไม่
ถ้าไม่เป็น แล้วที่ฟ้องร้องกันทั่วบ้านทั่วเมืองนี่คืออะไร?
ทั้งหลายทั้งปวงเป็นการต่อสู้กันทางการเมืองและผลประโยชน์ โดยเอาข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มาเป็นอาวุธหรือเกราะกำบังทั้งนั้น การกล่าวอ้างลอยๆว่า “เอ็งกำลังจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนะเว้ย” กลายเป็นเพียงการข่มขู่ แบล็คเมล์ หรือหยิบยกขึ้นอ้างเพื่อผลประโยชน์บางประการโดยปราศจากซึ่งฐานทางกฎหมาย
เช่นนี้แล้วนักฟ้องร้องและแจ้งความข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ทั้งหลายนั้นจะกล้าประกาศว่าข้าจงรักภักดียิ่งกว่าใครได้เต็มปากอีกหรือ?
เอาเข้าจริงคนที่ฟ้องร้องก็ไม่ได้หวังผลว่าจะต้องมีใครติดคุก แต่ขอเพียงปักชนักติดหลังให้ศัตรูว่าโดนแจ้งความ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
กล่าวได้ว่าสังคมไทยปัจจุบันแปรสภาพโทษทางกฎหมายของข้อหา “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” (ภายใต้เสื้อคลุม “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”) ให้กลายเป็นโทษทางสังคม จะทำอย่างไรได้ก็บรรดา “ลูกแกะ” ช่างอ่อนไหวกับเรื่องพรรค์นี้เสียเหลือเกิน
ต้องไม่ลืมว่า ยิ่งมีการฟ้องร้องข้อหานี้มากเท่าไร ยิ่งทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศมากเท่านั้น เพราะถ้าเราตีความในมุมกลับ หากมีการกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาก ก็หมายความว่า เดชานุภาพของพระมหากษัตริย์มีข้อบกพร่อง จึงมีคนหมิ่นบ่อยๆ มิพักต้องกล่าวถึงกรณีหากเป็นคดีความขึ้นในศาลซึ่งคู่ความอาจต้องให้การบางอย่างบางประการอันอาจกระทบสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นไปอีก
ความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐเป็นความจำเป็นที่กฎหมายในทุกประเทศต้องมีเพื่อเป็นการคุ้มครองสถาบัน อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศ กฎหมายไม่เปิดโอกาสให้มีการฟ้องว่าบุคคลหนึ่งหมิ่นประมาทประมุขของรัฐอย่างพร่ำเพรื่อ หากแต่เจ้าหน้าที่จะสอบถามไปที่สำนักพระราชวัง (กรณีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) หรือสำนักงานประธานาธิบดี (กรณีประธานาธิบดีเป็นประมุข) ว่าเห็นควรจะให้ฟ้องร้องหรือไม่
น่าคิดว่ากฎหมายไทยควรถึงเวลาทบทวนประเด็นดังกล่าวหรือยังและสมควรกำหนดให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นคนแจ้งความหรือฟ้องจะดีกว่าหรือไม่ การเปิดโอกาสให้ใครก็ได้เดินไปแจ้งความแก่ตำรวจว่ามีคนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์แล้วตำรวจก็รับแจ้งความดำเนินคดีทุกครั้งไปนั้น ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ความจริงแล้ว กรณียัดเยียดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้กันในสังคมไทย หากเจ้าหน้าที่มีดุลพินิจสักนิด ก็ไม่เห็นมีความจำเป็นแต่ประการใดที่เจ้าหน้าที่จะต้องรับข้อหานั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
จากพระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และไม่สนับสนุนให้มีการฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กันอย่างพร่ำเพรื่อ พระองค์ทรงแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “...และมีแปลกๆ คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้อง ให้จับเข้าคุก อันนี้นักกฎหมายเขาสอน สอนนายกฯ บอกว่าต้องฟ้อง ต้องลงโทษ ก็ขอสอนนายกฯ ใครบอกว่าให้ลงโทษ อย่าลงโทษเขา ลงโทษไม่ดี ไม่ใช่นายกฯเดือดร้อน แต่พระมหากษัตริย์เดือดร้อน”
เช่นนี้แล้ว บรรดานักจงรักภักดีและหมู่ลูกแกะทั้งฟากเสื้อเหลืองและฟากรัฐบาลจะมิพึงสนองพระราชดำรัสหรอกหรือ




บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 14-01-2008, 04:25 »



คงต้องพิจารณาลักษณะของสังคมไทย ปัญหา และสภาพแวดล้อมในระยะยาวในการที่จะเลือก

แนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สมามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างได้ผล..


ซึ่งงแนวทางหลักๆก็คงต้องดูจากประเทศแม่แบบประชาธิปไตยต่างๆ

ตลอดจนประเทศซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควรมี่มีลักษณะสังคมและปัญหาคล้ายๆกับเรา


ตรงนี้อาจจะต้องเปิดรับฟังนักพัฒนาสังคมของต่างชาติประกอบด้วย เพื่อไม่ให้กรอบความคิดแก้ปัญหาของนักแก้ปัญหาของเราถูกจำกัด..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 14-01-2008, 05:12 »


เอาลิงค์กระทู้ที่ปิดไปแล้วมาแปะครับ....


การผลักดันให้การเมืองไทยดีขึ้น..  (อ่าน 874 ครั้ง)

http://forum.serithai.net/index.php?topic=17747.0
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 18-01-2008, 18:45 »




เรื่องสถาบันต่างๆ สถาบันชาติสำคัญที่สุด

การคุยเรื่องสถาบัน ต้องไม่ตีวัวกระทบคราด



ความศรัทธาเป็นเรื่องส่วนบุคคล

ส่วนเรื่องมารยาท ผมเชื่อว่าคนในบอร์ดการเมืองของเรานี้รู้กันทุกคน

ส่วนที่บอร์ดการเมืองอื่น ผมไม่ทราบครับ มันเป็นเฉพาะสังคมและเหตุการณ์แวดล้อม

การคุยกัน เรื่องของคนที่ไม่ใช่นักการเมือง มันก็เหมือนการนินทาอีแอบ ที่อาจจะมีตัวตนหรือไม่มีอยู่จริงก็ได้...

ไม่เกิดประโยชน์ ก็ว่าแนวคิดของตนเองไปตรงๆกันเลยดีกว่า มาตั้งกระทู้ล่อเป้าผิดกาละเทศะ

เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะไม่ทำให้ใครดูดีขึ้น...
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 18-01-2008, 18:48 »




เรื่องประมุขของชาติ ผมว่าเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

ส่วนสถาบันก็เป็นเรื่องของคนแวดล้อม และคนในสังคมนั้นๆครับ

จะเสื่อมหรือไม่เสือม ขึ้นอยู่กับความประพฤติ และการยอมรับในภาพรวม
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 26-01-2008, 16:38 »




อ่าน Federalist paper หมายเลข 10

คอลัมน์ มองซ้าย มองขวา โดย ปกป้อง จันวิทย์  pokpongj@econ.tu.ac.th  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3963 (3163)

Federalist paper เป็นเอกสาร ทางการเมืองที่เขียนขึ้นโดยกลุ่ม ผู้ใช้นามปากกาว่า "Publius" ในช่วง ปี 1787-1788 ท่ามกลางกระแสวิวาทะว่าจะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (Federal Convention) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของมลรัฐ 12 มลรัฐ ร่วมกันจัดทำขึ้น

Publius เป็นนามปากกาของ Alexander Hamilton James Madison และ John Jay ผู้มีส่วนสำคัญในการก่อร่าง สร้างอเมริกาใหม่ หลังการประกาศอิสรภาพ และการร่างรัฐธรรมนูญ Hamilton เป็นตัวแทนรัฐนิวยอร์ก ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนแรกของสหรัฐอเมริกา ด้าน Madison เป็นตัวแทนรัฐเวอร์จิเนีย ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา ส่วน Jay เป็นนักการเมือง นักการทูตคนสำคัญ และภายหลังดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุด ของสหรัฐอเมริกาคนแรก

Federalist paper มีจำนวนทั้งสิ้น 85 ชิ้น ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของมลรัฐนิวยอร์ก ได้แก่ Independent Journal และ New-York Packet และถูกรวบรวมเป็นหนังสือเล่มในปี 1788 ภายใต้ชื่อ The Federalist โดย John และ Archibald McLean เป้าหมายสำคัญคือ บทความเหล่านี้คือการชักจูงให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนและสาธารณชนตัดสินใจว่ายอมรับร่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน) แทนที่จะอยู่ ภายใต้ Articles of Confederation ซึ่งเป็น การรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของรัฐแต่ละรัฐดังเดิม

งานเขียนแต่ละชิ้นกล่าวถึงหลักการที่เป็นพื้นฐานในการผลิตสร้างรูปแบบการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกา และท้าทายความเชื่อเดิม ประเด็นที่กล่าวถึง เช่นการแบ่งแยกอำนาจ และตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ขอบเขตอำนาจและความสัมพันธ์ เชิงอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐ เป็นต้น

ใน Federalist paper หมายเลข 10 ซึ่งเป็นบทความที่มีผู้กล่าวถึงและอ้างอิงมากที่สุดชิ้นหนึ่ง James Madison ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นคือ ปัญหาทรราชของเสียงข้างมาก หรือการที่กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะที่ได้รับเสียง ข้างมาก (majority fraction) มีพฤติกรรมใน ทางที่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ และเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นเสียงข้างน้อย ซึ่ง Madison ชี้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมาก ในรัฐขนาดเล็ก ซึ่งมีกลุ่มผลประโยชน์ เฉพาะไม่หลากหลาย และมีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินระหว่างคนจนกับคนรวยมาก

คำว่า "กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ" (fraction) ของ Madison หมายถึง กลุ่มพลเมืองไม่ว่าจะเป็นเสียงส่วนใหญ่หรือเสียงส่วนน้อย ซึ่งรวมตัวกันมีความต้องการร่วมกัน และ มีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งขัดแย้งต่อสิทธิของพลเมืองกลุ่มอื่น หรือขัดต่อประโยชน์ส่วนรวม ที่ยั่งยืนของสังคม

Madison เสนอหลักการเรื่องการควบคุม ผลกระทบด้านลบจากกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะโดยเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นว่า มีวิธีจัดการปัญหา 2 วิธีที่แตกต่างกัน คือ (1) การจัดการที่ "สาเหตุ" (removing its causes) ของการเกิดกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ และ (2) การควบคุม "ผล" (controlling its effects) ที่เกิดขึ้นจาก กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ

สำหรับ Madison แล้ว การแก้ปัญหาด้วย วิธีแรก หรือการจัดการที่ต้นเหตุ เป็นวิธีที่ทั้ง "เลวร้าย" และ "เป็นไปไม่ได้"

แนวคิดแรกเชื่อว่า กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะสร้างปัญหาทางการเมือง วิธีแก้คือการจำกัดไม่ให้เกิดกลุ่มเสียแต่แรก ด้วยวิธีหลัก 2 ประการคือ

(1) การทำลายเสรีภาพ โดยไม่ให้มีการ จัดตั้งกลุ่ม ซึ่ง Madison มองว่าเป็นการกระทำ ที่ "เลวร้าย" กว่าผลร้ายที่เกิดจากกลุ่มเสียอีก เพราะเสรีภาพในการจัดตั้งกลุ่มเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ

(2) การทำคนให้เหมือนกัน คือ มีความคิดเห็นเหมือนกัน มีความต้องการเหมือนกัน มีผลประโยชน์เดียวกัน จนไม่มีความจำเป็นต้องแบ่งแยกเป็นกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ ซึ่ง Madison มองว่า วิธีนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีทางทำได้จริง เพราะสังคมมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจ คนเป็นมีทรัพย์สินไม่เท่ากัน และมีทรัพย์สินต่างชนิดกัน ผลประโยชน์ของแต่ละคนจึงไม่มีทางเหมือนกันได้ หากแต่แตกต่างกันตามชนชั้นที่ต่างกัน ยิ่งธรรมชาติของคนมีความรัก ตัวเองเป็นที่ตั้ง และพยายามแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเหนือส่วนรวมด้วยแล้ว ยิ่งเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่มีการร่วมกลุ่ม เพื่อกดดันหรือเคลื่อนไหว เพื่อแสวงหาหรือปกป้องหรือผลประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม

ดังนั้น การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะจึงเป็นธรรมชาติ และจิตวิญญาณของการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย

เช่นนี้แล้ว ทางออกในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะจึงมีทางเดียวคือ การพยายามควบคุมผลกระทบของมัน โจทย์ในการสร้างสังคมการเมืองที่ดีจึงอยู่ที่จะควบคุม ไม่ให้กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีอำนาจผูกขาดทางการเมือง จนสร้างปัญหาทรราชเสียงข้างมากได้อย่างไร

Madison แย้งว่าคำตอบต่อคำถามข้างต้น ไม่ได้อยู่ที่การทำลายเสรีภาพทางการเมือง ด้วยการจำกัด กีดกัน คุมกำเนิด หรือบั่นทอน การรวมกลุ่ม ในทางตรงกันข้าม ทางออกกลับ อยู่ที่การขยายพื้นที่เชิงอำนาจให้กว้างขวางขึ้น ทั้งพื้นที่เชิงกายภาพของรัฐ (เชิงรูปธรรม) และพื้นที่ทาง การเมือง (เชิงนามธรรม) นั่นคือการขยายให้ เขตเลือกตั้งมีขนาดใหญ่ขึ้น และการเปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยส่งเสริมให้มีกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะให้มากขึ้นและ หลากหลายขึ้น ทั้งนี้เพื่อ

(1) ให้กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งเข้าครองอำนาจได้ยากขึ้น เมื่อเขตพื้นที่ ในการเลือกตั้งใหญ่ขึ้น การรวมตัวกันเป็นเสียงข้างมากเพื่อขึ้นสู่อำนาจต้องประนีประนอม ต้องอาศัยการเจรจาต่อรอง และต้องประสาน ประโยชน์กับกลุ่มต่างๆ มากกลุ่มขึ้น จนไม่มี กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกลุ่มเดียว สามารถยึดกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือใช้อำนาจ เพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มของตัวเองเพียง ฝ่ายเดียวได้ โดยไม่คำนึงถึงกลุ่มอื่นหรือ กลุ่มข้างน้อย Madison เชื่อว่า การกำหนดขอบเขตของรัฐ หรือการกำหนดเขตเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น เช่นการใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จะทำให้ ได้ตัวแทนที่มุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ระดับ ประเทศ (ซึ่งกินพื้นที่กว้างขวางกว่า) เหนือกว่า ผลประโยชน์ของตัวเองหรือท้องถิ่นเล็กๆ ของตน นี่เป็นประเด็นหลักที่ Madison ใช้สนับสนุน การรวมตัวกันเป็นสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐบาลกลางทำหน้าที่บริหารประเทศ มีขอบเขตอำนาจกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศ

ในแง่นี้ รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามีส่วนผสม ที่ลงตัว โดยให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยใช้มลรัฐเป็นเขตเลือกตั้ง และสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง โดยใช้เขตเลือกตั้งย่อยภายในมลรัฐเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งสะท้อนกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ผู้แทนประชาชนในแต่ละสถาบันมีภารกิจ ในระดับที่แตกต่างกัน และตอบโจทย์ทาง การเมืองต่างกัน มิพักต้องพูดถึงกลไก ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

(2) ลดความสำคัญโดยเปรียบเทียบของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเมื่อเทียบกับทั้งหมดลง โดยส่งเสริม ให้มีกลุ่มมาก และหลากหลายเสียจน ไม่มีกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีอำนาจสิทธิขาดเหนือกลุ่มอื่นได้โดยง่าย เพราะยิ่งมีจำนวนกลุ่มมาก และหลากหลาย ยิ่งมีกลไกในการคานและถ่วงดุลอำนาจกันเองระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยธรรมชาติ การใช้อำนาจคุกคามส่วนอื่นของสังคมจึงเกิดขึ้นได้ยาก

ทั้งนี้ แนวคิดในการทำกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะให้มีความหลากหลายที่ Madison เสนอจะ ประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อประชาชน มีวัฒนธรรมเสรีประชาธิปไตย ความสัมพันธ์ ของผู้คนในสังคมเป็นแนวราบ เชื่อมั่นในความเท่าเทียมกัน ไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นมาก มีการกระจายทรัพย์สินที่ค่อนข้างเป็นธรรม ยอมรับและอดทนต่อความคิดที่แตกต่าง หวังพึ่งตัวเองมากกว่าพึ่งรัฐ มีทัศนคติด้านบวกต่อการรวมกลุ่ม และมีกฎกติกาที่ประกันสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกของประชาชน

อ่าน Federalist paper หมายเลข 10 แล้วมองเห็นอะไรในการเมืองไทยท่ามกลางความมืดมิดบ้างครับ

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 01-02-2008, 01:59 »



ดันกระทู้ ขึ้นไปอีกครั้ง เผื่อหาดูง่ายๆ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: