จากที่เราอ้างอิงข้อมูลคะแนน สส.แบบสัดส่วนกันว่า ทั้ง ปชป. และ พปช. ได้ 14 ล้านเสียงเท่าๆ กัน
เท่ากับว่าเพียง 2 พรรคใหญ่ก็ต้องมีผู้มาใช้สิทธิถึง 28 ล้านคน และเมื่อรวมกับคะแนนอีก 5 พรรคหลัก
จะกลายเป็นเกือบ 34 ล้านคะแนน โดยมีคะแนน สส.สัดส่วนรวมทุกพรรคมากกว่า 35 ล้านคะแนน
http://203.150.244.10/reports/index.php?showall=1&http://www.mcot.net/election/แต่จากแถลงผลการนับคะแนน โดยคุณอภิชาติ ประธาน กกต. บอกว่ามีผู้มาใช้สิทธิเพียง 32 ล้านคน??? -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กกต.แถลงผลการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ พปช.แชมป์ส.ส.-ลำพูนแชมป์ใช้สิทธิ์ (รายงานพิเศษ)http://www.naewna.com/news.asp?ID=88490หมายเหตุ:นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แถลงผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ดำเนินการเลือกตั้งไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 นั้น
ขณะนี้ กกต.ได้รับแจ้งผลการนับคะแนนจาก 76 จังหวัด 157 เขตเลือกตั้ง ครบถ้วนแล้ว จึงขอแถลง
ให้ทราบผลการนับคะแนนเลือกตั้งดังนี้
1. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้อมูลจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยล่าสุด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้มีการ
ปรับฐานข้อมูลจากที่เคยได้รับเมื่อเดือนตุลาคม 2550 โดยได้มีการสำรวจและปรับปรุงจากจำนวนผู้ที่ได้แจ้ง
เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ จากสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นทุกแห่ง รวมทั้งจากทะเบียนบ้านกลางด้วยนั้น จ
นถึง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2550 มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้นรวม 44,002,593 คน
2. การใช้สิทธิเลือกตั้งผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 32,759,009 คน คิดเป็น 74.45 %โดยแบ่งเป็น ใช้สิทธิ
แบบสัดส่วนบัตรเสีย คิดเป็น 5.57 %
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน คิดเป็น 2.85 %
แบบแบ่งเขตบัตรเสีย คิดเป็น 2.55 %
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน คิดเป็น 4.57 %
3. สถิติจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งแบบสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง มากที่สุด จ.ลำพูน 88.90 % น้อยที่สุด จ.สกลนคร 66.73 %
บัตรดี มากที่สุด จ.ระนอง 95.10 % น้อยที่สุด จ.ตาก 88.44 %
บัตรเสีย มากที่สุด จ.ตาก 9.06 % น้อยที่สุด จ.สมุทรสงคราม 2.54 %
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน มากที่สุด จ.พระนครศรีอยุธยา 5.05 % น้อยที่สุด จ.ชุมพร 1.49 %
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง มากที่สุด จ.ลำพูน 88.90 % น้อยที่สุด จ.สกลนคร 66.81 %
บัตรดี มากที่สุด จ.ร้อยเอ็ด 96.13 % น้อยที่สุด จ.ภูเก็ต 87.54 %
บัตรเสีย มากที่สุด จ.สิงห์บุรี 6.64 % น้อยที่สุด จ.มหาสารคาม 1.12 %
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน มากที่สุด จ.ภูเก็ต 9.90 % น้อยที่สุด จ.ร้อยเอ็ด 2.08 %
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์สูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่าการเลือกตั้ง
ครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเลือกตั้ง ปี 2548 มีผู้มาใช้สิทธิ 72.56 ซึ่งนับว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์กันมากแล้ว
ก็ยังน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้
สำหรับจำนวนบัตรเสียครั้งนี้นับว่าเป็นที่น่าพอใจโดยที่ไม่มีจำนวนบัตรเสียมากจนเกินไปนัก
ทั้งๆที่ผู้มาใช้สิทธิ์จะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และแต่ละใบก็จะทำเครื่องหมายกากบาทเลือก
ส.ส. จำนวนไม่เท่ากันอีกด้วย แต่จำนวนบัตรเสียแบบแบ่งเขตยังน้อยกว่าการเลือกตั้งในปี 2544
ซึ่งมีถึงร้อยละ 10.01 และปี 2548 ร้อยละ 5.99 เพราะในการเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเสียเพียงร้อยละ
2.55 ซึ่งไม่เกิน 3 % ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
4. จำนวนส.ส.ที่พรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง มีดังนี้1.พรรคพลังประชาชน สัดส่วน 34 ที่นั่ง แบ่งเขต 199 ที่นั่ง รวม 233 ที่นั่ง
2.พรรคประชาธิปัตย์ สัดส่วน 33 ที่นั่ง แบ่งเขต 132 ที่นั่ง รวม 165 ที่นั่ง
3.พรรคเพื่อแผ่นดิน สัดส่วน 7 ที่นั่ง แบ่งเขต 17 ที่นั่ง รวม 24 ที่นั่ง
4.พรรคชาติไทย สัดส่วน 4 ที่นั่ง แบ่งเขต 33 ที่นั่ง รวม 37 ที่นั่ง
5.พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา สัดส่วน 1 ที่นั่ง แบ่งเขต 8 ที่นั่ง รวม 9 ที่นั่ง
6.พรรคประชาราช สัดส่วน 1 ที่นั่ง แบ่งเขต 4 ที่นั่ง รวม 5 ที่นั่ง
7.พรรคมัชฌิมาธิปไตย ไม่ได้รับเลือกตั้งแบบสัดส่วน สำหรับแบบแบ่งเขต ได้รับ 7 ที่นั่ง รวม 7 ที่นั่ง
ขอเรียนว่า การแถลงในครั้งนี้มิใช่การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง แต่เป็นการแถลงผลการนับคะแนนเลือกตั้ง
ว่าพรรคใดจะได้รับ ส.ส. จำนวนเท่าใดและใครได้รับคะแนนเท่าใด ส่วนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งนั้น
กกต. จะพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลือกตั้ง
โดยที่ผู้นั้นต้องไม่มีเรื่องร้องเรียนร้องคัดค้านด้วย ซึ่ง กกต. จะพิจารณาประกาศรับรองผลให้เสร็จสิ้นภายใน
7 วันทำการนับแต่วันเลือกตั้ง (4 มกราคม 2551) ส่วนผู้ที่มีเรื่องถูกร้องเรียนร้องคัดค้าน กกต. จะต้องทำการ
พิจารณาต่อไป รวมทั้งหากมีกรณีที่ต้องสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก็จะดำเนินการ
ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
มาตรา 127 ที่กำหนดว่าต้องจัดให้มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิก-
สภาผู้แทนราษฎร หรือภายในวันที่ 22 มกราคม 2551
วันที่ 26/12/2007