ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 23:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==เรื่อง ปตท.ยังไม่จบ สุรยุทธ์และ 14 รมต.ถือหุ้นใน ปตท.ด้วย== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==เรื่อง ปตท.ยังไม่จบ สุรยุทธ์และ 14 รมต.ถือหุ้นใน ปตท.ด้วย==  (อ่าน 1871 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 17-12-2007, 15:40 »

เรื่อง ปตท.ยังไม่จบครับ ทางเครือข่ายระบุว่ามี พล.อ.สุรยุทธ์และ 14 รมต.ถือหุ้นใน ปตท.ด้วย 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขู่ฟ้องฮั้วซุกทรัพย์สินคืนชาติ แฉ สุรยุทธ์-14 รมต.ถือหุ้น ปตท.
โดย ผู้จัดการออนไลน์    17 ธันวาคม 2550 09:55 น.
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000149195


พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งถือหุ้นในบมจ.ปตท.ผ่านกองทุนฯ ด้วย

       ผู้จัดการออนไลน์ – องค์กรผู้บริโภคไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ และปตท. แบ่งแยกทรัพย์สินสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดิน สิทธิและอำนาจมหาชนคืนรัฐ เหตุเพราะคณะรัฐมนตรี 14 คน ในจำนวน 29 คนมีผลประโยชน์ทับซ้อน
โดยถือหุ้นอยู่ใน ปตท.
       
       นางสาวรสนา โตสิตระกูล กรรมการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ผู้ฟ้องคดี ปตท.เปิดเผยว่า ในวันนี้ (17 ธ.ค.)
เวลา 15.00 น. ผู้ฟ้องคดีจะเดินทางไปยังศาลปกครองสูงสุดเพราะศาลมีคำสั่งบังคับคดีในการแบ่งแยกทรัพย์สิน
ในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบท่อก๊าซฯ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิ
ในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 คือ ปตท.
       
       โดยจะขอให้มีกระบวนการและมาตรการที่โปร่งใสด้วยการตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นตรวจสอบ แบ่งแยก และโอน
ทรัพย์สิน เนื่องจากมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างรัฐบาล และ ปตท. เพราะรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจำนวน 14 คน
จากทั้งหมด 29 คนถือหุ้นอยู่ใน ปตท. ซึ่งอาจเกิดการเอื้อประโยชน์ให้แก่ ปตท.
       
       ผลประโยชน์ทับซ้อนในกิจการ บมจ.ปตท.ใน ครม.รัฐบาลสุรยุทธ์ ที่รัฐมนตรีเข้าถือหุ้นใน บมจ.ปตท. และหุ้น
ในบริษัทลูก รวมถึงกองทุนต่างๆ ที่ลงทุนถือหุ้นใน บมจ.ปตท. เช่น

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถือหุ้น ปตท.ผ่านกองทุนฯ มากกว่า 1 ล้านบาท,
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ถือหุ้น บมจ.ปตท.มากกว่า 1 ล้านบาท,
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงอุตสาหกรรม ถือผ่านกองทุนฯ มากกว่า 1 ล้านบาท,
       
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ถือผ่านกองทุนฯ มากกว่า 6 ล้านบาท,
นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ถือผ่านกองทุนมากกว่า 1 ล้านบาท,
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ถือหุ้นในบริษัทลูก ปตท. 400,000 บาท และถือผ่านกองทุน 900,000 บาท,
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.กระทรวงศึกษา ถือหุ้น ปตท. 600,000 บาท และถือผ่านกองทุนเกือบ 10 ล้านบาท
       
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.กระทรวงอุตสาหกรรม ถือผ่านกองทุน 600,000 บาท,
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.กระทรวงคมนาคม ถือผ่านกองทุนเกือบ 400,000 ล้านบาท,
นายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน ถือผ่านกองทุน 100,000 บาท,
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.กระทรวงเทคโนโลยีฯ ภรรยาถือหุ้นใน บมจ.ปตท. 40 ล้านบาท
                              และลงทุนผ่านกองทุนประมาณ 30 ล้านบาท,
       
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ถือผ่านกองทุน 40 ล้านบาท และภรรยาลงทุนในกองทุนบุคคล 40 ล้านบาท,
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ถือหุ้น ปตท.ผ่านกองทุน 100 ล้านบาท
                               ส่วนภรรยาลงทุนในบริษัทลูกของ ปตท.ประมาณ 26 ล้านบาท และลงทุนในกองทุนมากกว่า 10 ล้านบาท,
นายสวนิต คงสิริ รมช.การต่างประเทศ ถือหุ้นใน บมจ.ปตท. ประมาณ 6 ล้านบาท และบริษัทลูก ปตท.ประมาณ 1.5 ล้านบาท

   
รสนา โตสิตระกูล

       ผลประโยชน์ทับซ้อนในกิจการ บมจ.ปตท. ในคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ในรัฐบาลสุรยุทธ์ ที่ถือหุ้นอยู่ใน
ปตท. คือ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง ถือหุ้นใน บมจ.ปตท. 20 ล้านบาท ส่วนภรรยา 10 ล้านบาท
และยังถือผ่านกองทุนอีก 20 ล้านบาท ส่วนภรรยา 50 ล้านบาท
       
       การตรา พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้ง 2 ฉบับ (พ.ศ.2544 และ 2550)
และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 โดยไม่ชอบโดยกฎหมาย
เป็นการชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐบาลทักษิณ และ ปตท. และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาล คมช.
       
       ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคยังจะฟ้องร้องคณะรัฐมนตรี และ ปตท. หากยังงุบงิบแบ่งแยกผลประโยชน์
โดยไม่เปิดให้มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการที่เป็นอิสระ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 17-12-2007, 15:44 »

กำลังรวบรวมข้่อมูลคุณมิ่งขวัญ และเรื่องไม่ชอบมาพากลในการแปรรูป อสมท.
และผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ เสร็จแล้วจะเอามาลงแบ่งกันอ่านครับ
ตอนนี้ก็อ่านเรื่อง ครม.ปัจจุบันไปพลางก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17-12-2007, 15:50 »

ปตท.

ทำไมมันอีลุงตุงนังขนาดนี้เนี่ย 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 17-12-2007, 16:18 »

ปตท.

ทำไมมันอีลุงตุงนังขนาดนี้เนี่ย 

มีฉบับเต็มย้อนหลัีงไปถึงรัฐบาลทักษิณด้วยครับว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 17-12-2007, 16:20 »

อย่างไรก็ตามแนะนำว่าอย่าอ่านเลย มีแต่ชื่อคนเต็มไปหมด
ผมเอามาลงเป็นหลักฐานประกอบกระทู้ไว้ก่อนเท่านั้นครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เปิดโฉมหน้าคนเอี่ยว ปตท.-ประเคนทรัพย์แผ่นดินเข้ามือนายทุนหุ้น
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000149166
โดย ผู้จัดการรายวัน    17 ธันวาคม 2550 08:42 น.

ผู้จัดการรายวัน – เปิดโฉมหน้าขบวนการแปรรูป ปตท.ที่กระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมายโอนอำนาจรัฐ สิทธิ ประโยชน์ ทรัพย์สมบัติของแผ่นดินประเคนให้บริษัทเอกชนปตท.ผูกขาดสร้างรายได้นับล้านล้านฟันกำไรกว่าแสนล้านเข้ากระเป๋าแบ่งปันกันในหมู่ผู้ถือหุ้น นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงที่มีส่วนในการแปรรูป ไล่เรียงตั้งแต่รัฐบาลทักษิณยันรัฐบาลสุรยุทธ์ ล้วนอีหรอบเดียวกัน เผยผลงานโบว์ดำ “ปิยสวัสดิ์” มือสานผลประโยชน์ร่วมสองรัฐบาล
       
        คดี ปตท.ที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิเคราะห์ว่า พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ที่มิได้จำกัดอำนาจการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นอำนาจมหาชน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการออก พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ซึ่งศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา 4 วรรค 2 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสมควรเพิกถอน นั้น
       
       ในแง่ข้อกฎหมายแล้ว ถือว่าคำวินิจฉัยของศาลฯ ปรากฏชัดเจนถึงความผิดในการออกพ.ร.ฎ.ที่มารองรับการแปรรูป ปตท. แม้ว่าศาลจะไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอน พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับดังกล่าว และพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ทำให้ ปตท.ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป เนื่องจากการเพิกถอน พ.ร.ฎ. ข้างต้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ
       
       นอกจากนั้น คำพิพากษาของศาลฯ ที่ให้ผู้ถือฟ้องคดีทั้งสี่ คือ คณะรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รมว.กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งการแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจากอำนาจและสิทธิของผู้ถือฟ้องคดีทั้ง 4 ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ย่อมส่งผลสะเทือนมหาศาลต่อสถานะการทำธุรกิจในอนาคตของปตท.ที่เคยใช้อำนาจผูกขาดและอาศัยอำนาจ สิทธิ ของรัฐดำเนินธุรกิจสร้างรายได้นับล้านล้านและกำไรกว่าแสนล้านให้แก่องค์กรมาโดยตลอด
       
       เผยโฉมหน้าผู้เข้าข่าย กระทำมิชอบด้วยกม.?
        ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกว่าด้วยกฎหมายการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 และความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 มีกลุ่มบุคคลที่จะต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในระดับนโยบายและกระบวนการแปรสภาพ ปตท. ทั้งรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์
       
       การแปรสภาพ ปตท. คณะรัฐมนตรี (ครม.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2544 ในแนวทางการแปรรูป ปตท. ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2544 ที่เสนอต่อ ครม. มติ กพช.ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. มีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
       
       1) ในการแนวทางการแปรรูป ปตท. และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ซึ่งขณะนั้น นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สพช. เป็นแกนกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการจัดทำประเด็นนโยบายให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ สามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในเดือน พ.ย.2544
       
       2) เห็นชอบแนวทางการแปรรูป ปตท. โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการฯ), กระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการฯ), สพช. และ ปตท. (นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการฯ) รวมทั้ง คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) และคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. เร่งดำเนินการตามขั้นตอนแปรสภาพรัฐวิสาหกิจของ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดมทุนจากภาคเอกชน เพื่อทำหน้าที่ประเมินราคาสินทรัพย์ ราคาหุ้น และวิธีการขายหุ้น ฯลฯ
       
       เมื่อพิจารณาจากนโยบายและกระบวนการข้างต้นจะพบว่า มีคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ
       
       1) ครม.ทักษิณ ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ปรับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี 5 คน คือ พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ, นายสุวิทย์ คุณกิตติ, นายเดช บุญ-หลง, นายปองพล อดิเรกสาร, นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง, พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายกระแส ชนะวงศ์ และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.กลาโหม, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม
       
        นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง, นายวราเทพ รัตนากร, ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมช.คลัง, นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รมว.เกษตรฯ, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายนที ขลิบทอง รมช.เกษตรฯ, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม, นายประชา มาลีนนท์, นายพงศกร เลาหวิเชียร รมช.คมนาคม, นายอดิศัย โพธารามิก รมว.พาณิชย์, นายสุวรรณ วลัยเสถียร รมช.พาณิชย์, ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, นายสมบัติ อุทัยสาง รมช.มหาดไทย,
       
       นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม, นายเดช บุญ-หลง รมว.แรงงานฯ, นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ รมช.แรงงานฯ, นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วิทยาศาสตร์ฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รมว.ศึกษาฯ, นางสิริกร มณีรินทร์, นายจำลอง ครุฑขุนทด รมช.ศึกษาฯ, นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข, นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม, นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช. อุตสาหกรรม นายสุธรรม แสงประทุม รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย
       
       2) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ซึ่งเวลานั้น กพช. นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประธาน กพช. และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เป็นเลขาธิการ กพช. และกรรมการและเลขานุการ กพช.
       
       อาจกล่าวได้ว่า นายปิยสวัสดิ์ เป็นมือสำคัญชงเรื่องการแปรรูป ปตท. ให้กับ ครม.ทักษิณ เพราะมติ กพช.ครั้งที่ 3/2544 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2544 นั้น นายปิยสวัสดิ์ ในฐานะเลขาธิการ กพช. เป็นผู้นำเรื่องเสนอต่อประธาน กพช.ผ่านทางนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมต.ประจำสำนักนายกฯ
       
       นอกจากนั้น ช่วงปี 2546 นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงานได้ขอถอนเรื่องการแยกท่อก๊าซของ ปตท.ตามข้อกำหนดในการแปรรูปเสนอเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อเสนอเข้าครม.ตามหนังสือลงวันที่...ก.ค.2546
       
       คณะจัดตั้งบริษัทชงโอนอำนาจรัฐให้ ปตท.
        สำหรับกระบวนการตั้งแต่การกำหนดแนวทาง การพิจารณารายละเอียดแนวทางการจัดตั้งบริษัท และ ยกร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ทั้ง 2 ฉบับนั้น
       
       คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งจัดทำรายละเอียดการแปลงทุนของ ปตท. เป็นหุ้น ซึ่งกำหนดกิจการที่จะโอนไป บมจ.ปตท. , อำนาจ สิทธิ ประโยชน์ ภาระผูกพัน ความรับผิดต่าง รวมทั้งสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของทุนที่จะโอนไป บมจ.ปตท. ฯลฯ โดยพิจารณาจัดทำรายละเอียด ระหว่าง 18 ก.ค.-18 ก.ย. 2544
       
       จากนั้น คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ได้ส่งรายละเอียดเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) และกนท.อนุมัติรายละเอียดการจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2544 และส่งเรื่องไปยังครม.เพื่อขออนุมัติแปลงทุนเป็นหุ้นและรายละเอียดการจัดตั้งบริษัท โดยครม.อนุมัติตามที่ กนท. เสนอ เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2544 จากนั้นมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2544 ตามด้วยกระบวนการกำหนดมูลค่าหุ้น จัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำการตลาดเพื่อขายหุ้น ระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ย. 2544
       
       พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนฯ โดยเป็นคณะกรรมการฯ อยู่ภายใต้ สพช. เมื่อเดือน ต.ค. 2544 และกพช.และ ครม.ได้อนุมัติแนวทางการขายหุ้น ในเดือนเดียวกัน ก่อนเปิดขายหุ้นให้นักลงทุนในวันที่ 15 พ.ย.2544
       
       ภายใต้กระบวนการดังกล่าว จึงมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพ ปตท. และออก พ.ร.ฎ.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ
       
       1) คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำนวน 13 คน ประกอบด้วย นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ, นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง, นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผอ.สำนักงบประมาณ, นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า, นายประธาน ดาบเพชร ผู้ว่าการสนง.การตรวจเงินแผ่นดิน, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท., นายณฐกร แก้วดี ผู้แทนพนักงาน ปตท., นายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์,
       
       นายอารีพงศ์ ภูชอุ่ม สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ, นายอุทัย ปิยวณิชพงษ์ ผอ.กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, น.ส.เพ็ญจันทร์ จิรเกษม ผอ.ฝ่ายจัดหาและบริหารเงินทุน ปตท., นางพัลลภา เรืองรอง นักวิชาการคลัง 8 สำนักรัฐวิสาหกิจฯ และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ กพช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน (ภายหลังถอนตัว แต่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง)
       
        2) คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทั้งหมด 24 คน มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธาน และกรรมการ 22 คน ประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ประจำสำนักนายกฯ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ประจำสำนักนายกฯ, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.กลาโหม, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง, นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รมว.เกษตรฯ, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม, ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย, นายเดช บุญหลง รมว.แรงงาน, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม,
       
       นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รมว.สาธารณสุข, นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมช.คลัง, นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผอ.สำนักงบประมาณ, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการสภาพัฒน์, นายเอนก ศรีสนิท, นายสมเกียรติ โอสถสภา, นายสมศักดิ์ ยมะสมิต, นายระเฑียร ศรีมงคล, นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล, นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการและเลขานุการ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้ช่วยเลขานุการ
       
       สำหรับคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ที่ส่งผลให้หุ้นปตท.ขายเกลี้ยงในพริบตาเดียวนั้น มี นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และกรรมการ ประกอบด้วย นายสมหมาย ภาษี รองปลัดคลัง, นายสมบูรณ์ บริสุทธิ์ อัยการพิเศษ สนง.ที่ปรึกษากฎหมาย, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ คกก.นโยบายพลังงานแห่งชาติ, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท. และนายพิชัย ชุณหวชิร รองผู้ว่าการการเงินและบัญชีองค์กร ปตท.
       
       ไม่ทำตามหนังสือชี้ชวนขายหุ้น รัฐบาลสุรยุทธ์ ร่วมขบวน
        ขณะที่คดีปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฯ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลทักษิณ ได้ออกพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำวินิจฉัยของศาลฯ ที่ตัดสินคดี ปตท. เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา
       
       ความไม่ชอบของพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มีกระบวนการตั้งแต่การพิจารณารายละเอียดพระราชกฤษฎีกา โดย คณะกรรมการทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) กนท.อนุมัติรายละเอียดของ พ.ร.ฎ. และส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติ
       
       คณะกรรมการทุนรัฐวิสาหกิจที่อนุมัติรายละเอียดของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ประกอบด้วย มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ และกรรมการ คือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมว.ประจำสำนักนายกฯ, นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา, รมว.เกษตรฯ, พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม, นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์, นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงานฯ
       
       นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมว.อุตสาหกรรม, นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข, นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์, นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน, ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, นางพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, เลขาธิการสภาพัฒน์, นายกิตติรัตน์ ณ ระนองนางเกษรี ณรงค์เดช นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล, นายรพี สุจริตกุล, นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง, นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้ช่วยเลขานุการ
       
       สำหรับคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ ที่อนุมัติการออกพ.ร.ฎ.ดังกล่าว ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังมาเร่งรัดผลักดันออกพ.ร.บ.ประกอบการพลังงาน พ.ศ. 2550 ให้มีผลบังคับใช้ 3 วันก่อนศาลพิพากษาคดี เพื่อแก้ไขการออกพ.ร.ฎ. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลฯ สั่งยกคำร้องของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลฯ เพิกถอนพ.ร.ฎ.ทั้งสามฉบับ มีดังนี้
       
       พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี, หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯและรมว.คลัง, นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯและรมว.อุตสาหกรรม, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม, นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ, นายสวนิต คงสิริ รมช.ต่างประเทศ, นายสุวิทย์ ยอดมณี รมว.ท่องเที่ยว, นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว.พัฒนาสังคมฯ,
       
       นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตร, นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รมช.เกษตรฯ, พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม, นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม, นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรฯ, นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีฯ, นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน, นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย, นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มหาดไทย,
       
       นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม, นายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน, คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม,นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์, นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ, นายมงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข, นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม, นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง
       
       บอร์ด ปตท. – ผู้บริหาร เกี่ยวข้อง
        ในส่วนของ ปตท. ที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปรสภาพปตท.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น คณะผู้บริหารของ ปตท. ในช่วงนั้น ประกอบด้วย นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการปตท. หรือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท., นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ หรือ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซฯ บมจ.ปตท.
       
       สำหรับคณะกรรมการ ปตท. ที่เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการ บมจ.ปตท. ขณะนั้น มี นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย พล.อ.อัครเดช ศศิประภา รองผบ.สูงสุด, พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ รองผบ.ตร., นายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการ ครม., นายพละ สุขเวช ประธานกรรมการ บ.อะโรเมติกส์ฯ, นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ กรรมการอำนวยการบ.ไทยออยล์ฯ นายพิษณุ สุนทรารักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ.,
       
       นายจักราวุธ ศัลยพงษ์ วิศวกรอาวุโสและที่ปรึกษาบ.อินเตอร์ เอ็นจิเนียริงฯ นายจงรัก ระรวยทอง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมตลาดหลักทรัพย์, นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการธ.ไทยพาณิชย์, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี, นายสันทัด สมชีวิตา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท.
       
       สานผลประโยชน์ร่วมสองรัฐบาล
        การตรา พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม ปี 2550 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 โดยไม่ชอบโดยกฎหมาย เป็นการชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐบาลทักษิณ และปตท. และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาล คมช.
       
       หากจะกล่าวบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการตรา พ.ร.ฎ. ทั้ง 3 ฉบับ มาอย่างต่อเนื่อง คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งมีหลายบทบาทหลายหน้าที่ คือ
       
       หนึ่ง เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและพิจารณาอนุมัติแผนการแปรรูป ปตท. ในปี 2544
       
       สอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. ซึ่งทำหน้าที่ตราร่าง พรฎ. เพื่อแปลงสภาพ ปตท. เป็น บมจ. ในปี 2544
       
       สาม เป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่กำกับการประเมินทรัพย์สิน ราคาหุ้น และแนวทางการกระจายหุ้น ในปี 2544
       
       สี่ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นอยู่ด้วย
       
       ห้า เป็น รมต. กระทรวงพลังงาน และกรรมการ กพช. และกนท. ในปี 2549 – ปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนโดยตรงในการตรา พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งศาลปกครองสูงสุด พิพากษาว่าไม่ชอบโดยกฎหมายเช่นกัน
       
       อาจกล่าวได้ว่า นายปิยสวัสดิ์ มีบทบาทเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการผลักดันการแปรรูป ปตท. ในช่วงรัฐบาลทักษิณ และสานต่อ ปกป้องผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มในช่วงรัฐบาล คมช. ซึ่งตามข้อเท็จจริงหลังคำพิพากษาของศาล ทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย ใช่หรือไม่
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 17-12-2007, 16:39 »

  อาจกล่าวได้ว่า นายปิยสวัสดิ์ มีบทบาทเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการผลักดันการแปรรูป ปตท. ในช่วงรัฐบาลทักษิณ และสานต่อ ปกป้องผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มในช่วงรัฐบาล คมช. ซึ่งตามข้อเท็จจริงหลังคำพิพากษาของศาล ทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย ใช่หรือไม่

ตอนแรกก็แปลกใจว่าทำไมถึงอยู่ได้หลังปฏิวัติ ข้อมูลออกมาก็

อ้อ...เป็นอย่างนี้นี่เอง

 Confused
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 17-12-2007, 16:48 »

นายกฯ ยันไม่ถือหุ้น ปตท.- ครม.ถกพรุ่งนี้ เร่งคืนทรัพย์สู่แผ่นดิน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2550 16:29 น.
 

       พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยืนยัน ตนและภรรยา รวมถึงนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไม่มีหุ้นในบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้มีการตรวจสอบในรัฐบาลว่ามีใครถือหุ้นอีกหรือไม่ เพราะคิดว่า การซื้อหุ้นเป็นการกระทำที่ผิด หรือเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน นอกจากนี้ หุ้นของบริษัท ปตท. ถึงร้อยละ 70 เป็นของรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการนำผลประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชน ยืนยันการโอนท่อก๊าซเป็นไปตามขั้นตอนและตามคำสั่งของศาล ซึ่งจะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้เพื่อพิจารณา และจะมีการตั้งคณะกรรมการกลางเข้ามาบริหารจัดการความโปร่งใส
 
 
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000149513

ออกมาปฏิเสธแล้ว
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #7 เมื่อ: 17-12-2007, 17:52 »

การถือหุ้มนใน ป.ต.ท. นั้น อาจจะต้องมองด้วยว่า เป็นการถือหุ้นในลักษณะใด เนื่องจาก ป.ต.ท.ได้นำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ และมีการซื้อขายกันตามปกติ

หากผู้ที่เกี่ยวข้องถือหุ้นโดยได้รับจัดสรรตั้งแต่เมื่อครั้งแรกเริ่ม ก็น่าสงสัยค่ะ ว่าจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการแปรรูปหรือไม่ แต่หากถือหุ้นในลักษณะนักลงทุน ที่เข้าไปซื้อหุ้นภายในตลาด คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ฟังท่านนายกสุรยุทธออกมาพูดก็ยังไม่ชัดเจนนัก คล้ายๆกับว่าท่านเคยถือหุ้นนี้มาก่อนแต่ปัจจุบัญไม่มี อะไรประมาณนี้แหละค่ะ ต้องรอข่าวให้กระจ่างชัดอีกทีหนึ่ง

ส่วนรัฐมนตรีท่านอื่นๆก็เช่นกัน ถือหุ้นหรือไม่ ได้มาด้วยวิธีใด คงต้องนำมาพิจารณาค่ะ 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 17-12-2007, 19:27 »

เมื่อกี้นายกให้สัมภาษณ์ว่า ส่วนตัวไม่เคยเข้าไปซื้อขาย

ของภรรยา ขายไปนานแล้ว ลอง ๆ สืบค้นดูนะครับ
บันทึกการเข้า

ทิมมี่
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 709


« ตอบ #9 เมื่อ: 17-12-2007, 20:52 »


ธุรกิจ พลังงาน ของบ้านเมือง
ขนาดเขื่อง มโหฬาร กว่าด้านไหน
เมื่อนำเข้า ตลาดหุ้น ทุนเปลี่ยนไป
ใครก็ได้ ซื้อครอง เป็นของตน



ไยหมกเม็ด ประเคนทรัพย์ สมบัติชาติ
โกงฉลาด ก๊าซทั้งท่อ ขอฉ้อฉล
ต้องมาง้าง มางัด สมบัติปล้น
ถึงยอมจน คายออก ขอบอกเลว



ทุจริต นโยบาย ได้แทะกิน
เมื่อตายดิ้น หวังนรก ตกลงเหว
ไร้ความคิด ชาติมาก่อน ซ่อนแต่เลว
จึงต้องเย้ว ตามทวงต่อ ขอทรัพย์คืน

บันทึกการเข้า
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #10 เมื่อ: 18-12-2007, 14:09 »

ข้อมูล ปตท สมัยแม้วครับ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 เมษายน ที่กองบังคับการกองปราบปราม (บก.ป.) นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน เข้าพบ พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก. บก.ป. ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงพลังงาน และนายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระ ทรวงอุตสาหกรรม ฐานกระทำความผิดตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เนื่องจากทั้งสองคนซึ่งเป็นคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแปลงสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท. เข้าไปถือหุ้นในบริษัทดัง กล่าว ทั้งที่ยังอยู่ภายในระยะเวลาห้าม 3 ปีตามกฎหมาย โดยนายวีระได้มอบเอกสารประกอบการแจ้งความ อาทิ สำเนาเอกสารรายชื่อบัญชีผู้ถือหุ้น เอกสารคำสั่งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.สำเนาเอกสารรายงานประจำปีของบริษัท รวม 17 รายการให้พนักงานสอบสวน

นายวีระกล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ให้ตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีนายมนูซึ่งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท แต่เมื่อตรวจดูรายงานประจำปีของ บริษัท ปตท. ตั้งแต่ปี 2544-2546 พบว่า นายมนูมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในนามส่วนตัวด้วย โดยไม่มีรายละเอียดระบุว่า เป็นผู้ถือหุ้นแทนหน่วยงานราชการแต่อย่างใด มีปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดว่า นายมนูน่าจะเป็นเจ้าของหุ้นในนามส่วนตัวจริง คือเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2546 นายมนูได้ซื้อหุ้น ปตท. จำนวน 30,000 หุ้น ราคา 69 บาท วันที่ 23 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ซื้อหุ้นอีก 30,000 หุ้น ในราคาเดียวกัน ถัดมาอีก 5 วัน คือเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 68 บาท อีก 20,000 หุ้น

นายวีระกล่าวว่า การซื้อหุ้นของนายมนูทั้งหมดปรากฏอยู่ในข้อมูลแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ผู้บริหารบริษัท ปตท. ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหุ้นทั้งหมดรวม 80,000 หุ้น ได้นำไปรวมกับหุ้นจำนวน 300,000 หุ้น ที่นายมนูได้ถือไว้ตั้งแต่ปี 2544 โดยปรากฏในรายงานประจำปี 2546 และแบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 และวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งหลักฐานทั้งหมดทำให้เชื่อได้ว่า นายมนูได้กระทำผิดตามมาตรา 12 และ 18 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ โดยมาตรา 12 บัญญัติว่า ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่พ้นจากตำแหน่งกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท จะเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการของบริษัทนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีของข้าราชการประจำที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

"แต่การกระทำของนายมนูได้ฝ่าฝืนมาตรา 18 อย่างชัดเจน ซึ่งมาตรานี้ระบุว่าให้นำมาตรา 12 มาบังคับใช้แก่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทโดยอนุโลม แต่มิให้ใช้บังคับกับกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้แทนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เวลา 3 ปี นับจากพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งในกรณีของ ปตท.จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงครบกำหนด 3 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 แต่นายมนูเข้าไปมีหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าว จึงขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย" นายวีระกล่าว


ส่วนกรณีของนายวิเศษนั้น นายวีระกล่าวว่า ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.ในขณะนั้นคือ นายวิเศษ ซึ่งเป็นผู้ว่าการ ปตท. และเป็นกรรมการในคณะกรรม การเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. คณะกรรมการกำกับดูแลการแปรรูป และคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชน ซึ่งหลักฐานบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท. หน้า 3526 ณ วันที่ 9 เมษายน 2547 ของกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีชื่อของนายวิเศษ ซึ่ง เคยเป็นคณะกรรมการจัดตั้งบริษัท ปตท. เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใน ปตท. จำนวน 40,435 หุ้น เลขที่ใบหุ้น 06460180174025 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายในระยะเวลาห้าม 3 ปี คือวันที่ 1 ตุลาคม 2547

นายวีระกล่าวว่า แม้ว่าข้อห้ามไม่ให้กรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทถือหุ้นในระยะเวลา 3 ปี จะไม่บังคับใช้กับผู้บริหารสูงสุดตามมาตรา 18 ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายวิเศษเป็นผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2546 โดยมีนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ มาดำรงตำแหน่งแทนตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2546 เป็นต้นมา หลังจากนั้นนายวิเศษมิได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.แล้ว จึงมิอาจที่จะอ้างสิทธิที่จะไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายตามข้อยกเว้นในมาตรา 18 ได้อีกต่อไป และนายวิเศษก็ถือหุ้นในนามส่วนตัว ไม่ใช่ถือแทนหน่วยงานราชการ นายวิเศษจึงเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 18 อย่างชัดเจน

"นายวิเศษและนายมนูซึ่งเป็นคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. ตามมาตรา 16 จึงฝ่าฝืนมาตรา 12 และ 18 ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ต้องได้รับโทษตามมาตรา 30 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 หรือมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" นายวีระกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงาน ภายหลังรับแจ้งความร้องทุกข์แล้ว พล.ต.ต.วินัยได้มอบหมายให้ พ.ต.ต.สิงห์ สิงห์เดช พนักงานสอบสวน (สบ.2) กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ดำเนินการสอบปากคำนายวีระไว้เป็นหลักฐาน ก่อนที่จะเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ

ด้านนายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวยอมรับว่าถือหุ้น ปตท.จริง แต่ไม่ถือว่าขัดกับ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.ทุนฯที่ระบุว่า ยกเว้นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ เรื่องนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. และฝ่ายกฎหมายของ ปตท.ได้ชี้แจงมาแล้วถึง 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแจ้งความก็พร้อมจะไปชี้แจง

"การดำเนินการแปรรูป ปตท.ที่ผ่านมา เป็นไปตามขั้นตอน และถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง มันชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่มีอะไรผิด สามารถชี้แจงได้" นายมนูกล่าว

ด้านนายสรัญ รังคสิริ ผู้จัดการฝ่ายประชา สัมพันธ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า นายวิเศษ และนายมนู ไม่ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ทุนฯตามข้อกล่าวหาของนายวีระ เนื่องจากนายวิเศษ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ปตท. แต่ พ.ร.บ.ทุนฯ มาตรา 18 ระบุให้ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจที่เป็นคณะกรรม การเตรียมการจัดตั้งได้รับการยกเว้นมิให้นำข้อบังคับที่ห้ามคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งถือหุ้น ปตท. ภายใน 3 ปี มาบังคับใช้ ส่วนนายมนู ซึ่งขณะนั้นเป็นปลัดกระ ทรวงอุตสาหกรรม และเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งโดยตำแหน่ง ได้รับยกเว้นตามมาตรา 12 เนื่องจากเป็นข้าราชการประจำ ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้มาเป็นคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง

นางสาวรสนา โตสิตระกูล กรรมการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 25 เมษายน เครือข่ายสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคจะประชุมความคืบหน้าเตรียมการยื่นฟ้องบริษัท ปตท. โดยเฉพาะประเด็นผลประ โยชน์ทับซ้อนและการโอนทรัพย์สิน และอำนาจสิทธิที่เป็นขององค์กรรัฐให้กับบริษัท ขณะนี้กำลังหาข้อมูลอยู่

สำหรับกรณีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งหนังสือตอบกลับข้อหารือกระทรวงพลังงานว่า สามารถทบทวนคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดกับศาลรัฐธรรมนูญได้นั้น นางสาวรสนากล่าวว่า คำสั่งของศาลปกครองถือเป็นที่สุดแล้ว ในเมื่อประชาชนไม่ต้องการให้มีการแปรรูป กฟผ. ก็ไม่ควรตะแบงหาช่องทางการแปร รูปให้ได้ หากรัฐบาลพยายามหาช่องทางแปรรูป กฟผ. ให้ได้ ทางเครือข่ายก็จะแก้ไขที่ต้นทาง ด้วยการล่า รายชื่อประชาชน 50,000 รายชื่อ ล้ม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542

นางสาวรสนากล่าวว่า ทางเครือข่ายไม่ขัดข้องถ้ารัฐบาลจะมีการปรับประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.ให้มากขึ้น เพราะ กฟผ.ก็จะอยู่แบบนี้ตลอดไปไม่ได้ แต่ไม่ใช่การนำไปขายในตลาดหลักทรัพย์

http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=8940
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
หน้า: [1]
    กระโดดไป: