ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 18:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ชักธงรบ ไทยรัฐ เขียนเชียร์ปชป.ก็เป็นด้วย ไม่น่าเชื่อ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2] 3
ชักธงรบ ไทยรัฐ เขียนเชียร์ปชป.ก็เป็นด้วย ไม่น่าเชื่อ  (อ่าน 9469 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 17-12-2007, 23:49 »

นโยบาย "เปลี่ยนหน้าชน" ของ นักการเมืองเชื้อสาย ปชป. ครับ

ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เพราะ มรว.เสนีย์ ปราโมช ปกป้องสิทธิ์จอมพลถนอม ยินยอมฝืนกระแส จนอยู่ไม่ได้

ก็มีกรณี นายชวน สมัยรับรองการคืนยศจอมพลถนอม

และอย่าบอกว่า ในรัฐบาล เปรม 8 ปี นั้น

ไม่ใช่อยู่ "ใต้อุ้งเท้าท้อบบู๊ต"
อิงแอบบารมีป๋าเปรม ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ

ปชป. เลือกที่จะอยู่ใต้อุ้งเท้าท้อบบู๊ตของทหารบางพวก บางกลุ่ม

แม้ในปัจจุบันก็เถอะครับ ภาพแบบนี้ มีให้เห็นเป็นประจำ

แล้วแต่ว่า เหตุการณ์หรือกระแสสังคมช่วงนั้นเป็นอย่างไร

ปชป. เค้าก็จะจัดคน ปรับนโยบาย ให้เป็นไปตามกระแสนั้น

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยครับ

เพียงแต่อย่าเอาทองคำแปะหน้าผากให้มากนัก นักการเมืองมีดี มีเลวทุกพรรคนั่นแหละครับ

คือ เน่า พอ ๆ กัน
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #51 เมื่อ: 17-12-2007, 23:58 »

สำหรับสมัย พล.อ.เปรม ที่ประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาล..

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถูกโจมตีเรื่องอิงแอบทหาร
เพราะผมคิดว่ารัฐบาล พล.อ.เปรม เป็นรัฐบาลที่ดี
ไม่ได้ก่อปัญหากับประเทศ ทำไมจะเข้าร่วมไม่ได้

...

ใน รัฐบาลเปรม 1 (ครม. คณะที่ 42 : 3 มี.ค.2523 - 29 เม.ย.2526)
ปชป. มีเสียงแค่ 32 เสียง เมื่อได้รับการเชิญให้ร่วมรัฐบาลก็เข้าร่วม

พอมา รัฐบาลเปรม 2 (ครม. คณะที่ 43 : 30 เม.ย.2526 - 5 ส.ค.2529)
ปชป. มีเสียงแค่ 56 เสียง เมื่อได้รับการเชิญให้ร่วมรัฐบาลก็เข้าร่วมอีก

มาถึง รัฐบาลเปรม 3 (ครม. คณะที่ 44 : 5 ส.ค.2529 - 3 ส.ค.2531)
ปชป.ได้ สส. 100 เสียงมากที่สุดในสภา ก็พยายามจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้
พรรคราษฎรมาร่วมอีกเพียง 18 เสียง ได้ 118 เสียง ขณะที่ชาติไทย
63 เสียงไปรวมกับกิจสังคม 51 เสียง ได้ 114 เสียง

ทั้ง 2 ฝ่ายยันกันไม่มีใครยอมให้ใครเป็นนายกฯ สุดท้ายก็เลยต้องรวมกัน
ไปเชิญพล.อ.เปรมเป็นนายกฯ ต่ออีกสมัย

...

แต่ทำไมประชาธิปัตย์ถึงถูกโจมตีว่าหนุนหลัง พล.อ.เปรม จะต้องให้
ออกมาเป็นฝ่ายค้านมันทุกรัฐบาลหรืออย่างไร?

การเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ มันก็เป็นเป้าหมายหลัก
ของการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองอยู่แล้ว


การกล่าหา พรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.เปรม
เป็นการหาเรื่องโจมตีแบบไม่รู้จะหาเรื่องอะไรมาเล่นมากกว่า
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 00:01 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #52 เมื่อ: 18-12-2007, 00:10 »

นโยบาย "เปลี่ยนหน้าชน" ของ นักการเมืองเชื้อสาย ปชป. ครับ

พอผมยกคำพูดคุณชวนมา คุณแคนก็บอกว่าเขาเปลี่ยนหน้าชน ...

(เพื่อให้เข้ากับหัวกระทู้ ผมว่า ไทยรัฐนี่แหละ หลังๆพยายามแทงกั๊ก ไม่แน่จริงนิหว่า Laughing)

ส่วนนักการเมืองเชื้อสาย ปชป มีจำนวนมากนะครับ

วีระ สมัคร นพดล ทั้งนั้นเลยครับ ที่เป็นนักการเมืองเชื้อสาย ปชป

 Cool


เพียงแต่อย่าเอาทองคำแปะหน้าผากให้มากนัก

ใครเอาไปแปะไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ (คำนี้ผมเห็นมีแต่คนเกลียดปชปที่ใช้อยู่)

การที่เห็นว่าพรรคไหนคนไหนดีหรือไม่อย่างไรเป็นความเห็นของแต่ละปัจเจกบุคคลอยู่แล้วครับ


นักการเมืองมีดี มีเลวทุกพรรคนั่นแหละครับ

เห็นด้วยครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 00:22 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 18-12-2007, 00:11 »

หลังๆมานี่ คนเชียร์ปชป.มากขึ้น ไทยรัฐคงอยากตีตลาดพวกคนกลุ่มนี้ด้วยมังครับ

ไทยรัฐเขาขายตัวเองอยู่แล้วครับ ขอให้ถูกใจตลาด ถูกใจคนส่วนใหญ่ เรื่องอื่นไม่สำคัญ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #54 เมื่อ: 18-12-2007, 01:13 »

ผมเคยได้ยินคำโปรโมทประชาธิปัตย์ ยุคหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปชป. ต่อต้าน เผด็จการมาทุกยุค ทุกสมัย

มันมีแบบนั้นจริงหรือเปล่าครับ ลอง ๆ หาดูเรื่องการสร้าง ยุวประชาธิปัตย์นั่นก็ได้

กรณี สนับสนุนป๋าเปรม มันบอกเป็นอย่างอื่นไม่ได้หรอกครับ เพราะป๋าเปรม คือ คนที่มีบารมีสูงสุด ในกองทัพ ตั้งแต่วันนั้น มาจนวันนี้

ประเด็นพวกนี้แหละ ที่โดน สมัคร เอาไปตั้งเป็นข้อกล่าวหาว่า "สนับสนุนเผด็จการ"

เพราะถึงที่สุด เวลามีปฏิวัติ 19 กันยาน 2549 ก็ไม่เห็นท่าทีที่ต่อต้านจากพรรคประชาธิปัตย์

จาก 19 กันยายน 2549 มาจนวันนี้ มีอะไรที่ ประชาธิปัตย์ แสดงตัวว่าไม่ชอบเผด็จการทหาร หรือ ต่อต้านการปฏิวัติ

ผมยังไม่เห็น  การนิ่งเฉย ก็คือการยอมรับ นั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #55 เมื่อ: 18-12-2007, 01:21 »

หากจะมองถึงการล้วงลูกกองทัพ ก็ต้องมองว่า เหตุใด นายชวน ถึงไปล้วงเอา พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

ซึ่งหลุดพ้นวงโคจร ออกนอกกองทัพ กลับเข้ามาเป็น ผบ.ทบ.

เรื่องพวกนี้ สืบลงไปก็ไม่มีอะไรมาก พลเอกสุรยุทธ์ ก็คือ ทส. พลเอกเปรม ในอดีต

ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคประชาธิปัตย์ รู้มือ รู้ใจกันมาตั้งแต่สมัยป๋าเปรมครองอำนาจ

บางทีการล้วงลูก มีมาทุกยุค ทุกสมัย เพียงแต่ว่า "อำนาจแฝง" ยอมรับได้หรือไม่ เท่านั้นเอง

แม้ในปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์เอง ก้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้รับการวางตัวให้เป็นรัฐบาล จากกลุ่มอำนาจในปัจจุบัน

แล้วจะไปปฏิเสธทำไมว่า ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจท้อบบู๊ท

คนเรานะ อะไรที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเองก็มองๆ ข้ามความไม่ดี ความไม่ควร

สองมาตรฐานด้วยกันทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #56 เมื่อ: 18-12-2007, 01:24 »

ผมเคยได้ยินคำโปรโมทประชาธิปัตย์ ยุคหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปชป. ต่อต้าน เผด็จการมาทุกยุค ทุกสมัย

มันมีแบบนั้นจริงหรือเปล่าครับ ลอง ๆ หาดูเรื่องการสร้าง ยุวประชาธิปัตย์นั่นก็ได้

กรณี สนับสนุนป๋าเปรม มันบอกเป็นอย่างอื่นไม่ได้หรอกครับ เพราะป๋าเปรม คือ คนที่มีบารมีสูงสุด ในกองทัพ ตั้งแต่วันนั้น มาจนวันนี้

ประเด็นพวกนี้แหละ ที่โดน สมัคร เอาไปตั้งเป็นข้อกล่าวหาว่า "สนับสนุนเผด็จการ"

เพราะถึงที่สุด เวลามีปฏิวัติ 19 กันยาน 2549 ก็ไม่เห็นท่าทีที่ต่อต้านจากพรรคประชาธิปัตย์

จาก 19 กันยายน 2549 มาจนวันนี้ มีอะไรที่ ประชาธิปัตย์ แสดงตัวว่าไม่ชอบเผด็จการทหาร หรือ ต่อต้านการปฏิวัติ

ผมยังไม่เห็น  การนิ่งเฉย ก็คือการยอมรับ นั่นแหละครับ


แล้วกรณีไม่เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.สุจินดา พอจะนับได้ไหมครับ?
มาถึงปี 2535 ค่อยร่วมสมัยหน่อย สมัยเดือนตุลามันเก่าเกิน
ตรงจุดนั้นเทียบได้ชัดๆ ว่าพรรคประชากรไทยหนุนสุจินดา
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #57 เมื่อ: 18-12-2007, 01:31 »

หากจะมองถึงการล้วงลูกกองทัพ ก็ต้องมองว่า เหตุใด นายชวน ถึงไปล้วงเอา พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ซึ่งหลุดพ้นวงโคจร ออกนอกกองทัพ กลับเข้ามาเป็น ผบ.ทบ.
เรื่องพวกนี้ สืบลงไปก็ไม่มีอะไรมาก พลเอกสุรยุทธ์ ก็คือ ทส. พลเอกเปรม ในอดีต
ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคประชาธิปัตย์ รู้มือ รู้ใจกันมาตั้งแต่สมัยป๋าเปรมครองอำนาจ
บางทีการล้วงลูก มีมาทุกยุค ทุกสมัย เพียงแต่ว่า "อำนาจแฝง" ยอมรับได้หรือไม่ เท่านั้นเอง
แม้ในปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์เอง ก้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ได้รับการวางตัวให้เป็นรัฐบาล จากกลุ่มอำนาจในปัจจุบัน
แล้วจะไปปฏิเสธทำไมว่า ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจท้อบบู๊ท
คนเรานะ อะไรที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเองก็มองๆ ข้ามความไม่ดี ความไม่ควร
สองมาตรฐานด้วยกันทั้งนั้น


มาถึงยุคปัจจุบันน่าจะเรียกว่าเป็นพวกเดียวกัน
มากกว่าจะบอกว่าอยู่ใต้อำนาจท็อบบู๊ตนะครับ

เพียงแต่ไม่คิดครองอำนาจครอบงำทหารเท่านั้น
ทักษิณที่ล้ำเส้นจะยึดกองทัพมีแต่ผลเสีย 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #58 เมื่อ: 18-12-2007, 04:08 »

กรณี รัฐบาล พลเอกสุจินดา จะมองอีกแง่ก็คือ เป็นฝ่ายทหารที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ปชป.

ผมถึงบอกว่าปชป. เลือก ที่จะคบทหาร อยู่ใต้ท้อปบู๊ตทหาร แล้วแต่ว่าเป็นพวกใด

หากมอง พลตรีมนูญ รูปขจร เข้าพรรค ปชป. ก็จะเห็นได้ชัดว่า ปชป. ถือหาง จรป. 7 ( รุ่น มนูญกฤติ - ประจักษ์- จำลอง )

ส่วน พลเอก สุจินดา คือ จปร. 5 ซึ่งเป็นพวกสมัคร มันก็เท่านั้นเอง

ไม่งั้นคงไม่มีเรื่อง ล้างบาง พรรคเทพ พรรคมาร

การเมืองกับการทหาร แยกกันออกยากครับ ขึ้นอยู่กับว่ามีการแบ่งปันผลประโยชน์กันลงตัวหรือไม่ แค่นั้นเอง
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #59 เมื่อ: 18-12-2007, 04:22 »

ประวัติศาสตร์ ที่มันลบไม่ได้มีอยู่ 2 เรื่อง เกี่ยวกับ "ประชาธิปไตยในเมืองไทย" มีคำเรียกขานที่น่าคิด

1. "วีระบุรุษประชาธิปไตย" สังคมยกให้ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ที่กล้าฟ้องร้องจอมพลถนอม...ปชป. อยู่ที่ใหนครับทำไมไม่ร่วมกับเค้า
2. "เสาหลักประชาธิปไตย" สังคมยกให้ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช...ปชป. อยู่ที่ใหนครับ

ก็ได้แต่หวังว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่อายุยังน้อย จะมีฉายา เกี่ยวกับประชาธิปไตย ฝากไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เพราะคนรุ่นเก่าของ ปชป. ไม่ได้สร้างสมอะไรไว้ให้...


 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #60 เมื่อ: 18-12-2007, 07:46 »



ตีหน้าเสร้า เล่าความเท็จ เช็ดเมียเพื่อน

ยุคนีอาจะต้องต่อด้วย

ยังไม่อดนม กับ แอบจิต หาเสียงกับกระเทย

หมอดู แม่ยก พ่อยก...

ดูให้ดี กระดาษแผ่นเดียว อภิปรายได้หลายวัน จะกลับมา
 
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #61 เมื่อ: 18-12-2007, 10:18 »

เพิ่มเติมข้อมูล

จากค่าย manager online

อยากให้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แต่...
โดย สุรวิชช์ วีรวรรณ 29 พฤศจิกายน 2550 15:53 น
http://forum.serithai.net/index.php?topic=18596.0


จากค่าย มติชน

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมาะสมนั่งนายกในภาวะวิกฤติ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6064239/P6064239.html


กระทู้เกี่ยวเนื่อง กับ อ. นิธิ ในเรื่องนี้

นิธิ อีเดียต อีก หนุน อภิสิทธิ์ เหมาะสมเป็นนายกฯที่สุดในขณะนี้
http://forum.serithai.net/index.php?topic=18499.0


 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #62 เมื่อ: 18-12-2007, 10:24 »

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมาะสมนั่งนายกในภาวะวิกฤติ

นายกฯ ของวิกฤตการเมือง
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 26 พฤจิกายน 2550 เวลา 08:11:43 น.

คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ภายใต้สภาวการณ์ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ คือภายใต้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ) มาอย่างน้อยสามเรื่องแล้ว คุณอภิสิทธิ์เสนอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเสีย เมื่อจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม,คุณอภิสิทธิ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงและสัญญาว่าจะแก้ไขเมื่อได้เป็นรัฐบาล และไม่กี่วันมานี้ คุณอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับ กกต.ที่แนะนำมิให้นักการเมืองใช้ 111 อดีตผู้บริหาร ทรท.เป็นสื่อในการหาเสียง

เฉพาะประเด็นสุดท้ายนี้ พรรคการเมืองส่วนใหญ่กลับพร้อมจะปฏิบัติตาม แม้แต่พรรคพปช.ซึ่งแสดงให้ประจักษ์ว่าสืบทอดมาจากพรรค ทรท.ก็เพียงแต่มีผู้ใหญ่บางคนของพรรคแถลงว่าจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ

อันที่จริง ทุกพรรคการเมืองควรจับมือกันสู้ในประเด็นนี้ คือพร้อมใจกันที่จะไม่ฟังคำแนะนำนี้ของ กกต. แม้อาจมีโทษถึงยุบพรรค ก็เป็นการยุบพรรคทั้งหมด เพราะพรรคการเมืองจะมีประโยชน์อันใด หากไม่สามารถปกป้องสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานซึ่งให้หลักประกันไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ

แม้ว่าคำแนะนำนี้อาจสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบแก่พรรคการเมืองต่างๆ ก็ตาม แต่ความได้เปรียบจนทำให้ได้ร่วมรัฐบาลจะมีประโยชน์อันใด หากต้องเป็นรัฐบาลภายใต้อำนาจมืดบางอย่างที่ทำให้รัฐบาลไม่มีอำนาจในการดำเนินการใดๆ จริง... อำนาจมืดนี้มีอยู่แล้ว หรือกำลังก่อตัวขึ้นก็ตาม ล้วนเป็นอำนาจที่ไม่ต้องรับผิด (accountable) กับใครทั้งสิ้น ขืนปล่อยไว้ การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงก็เป็นแค่จำอวด

และนี่แหละที่ทำให้คุณอภิสิทธิ์เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุด

อะไรคือปัญหาใหญ่สุดซึ่งรัฐบาลใหม่อันใครๆ ก็รู้ว่าอ่อนแอต้องเผชิญ เวลานี้นักธุรกิจด้านอุตสาหกรรม,การเงิน,และการค้าพากันพร่ำบอกรัฐบาลใหม่ให้ทำโน่นทำนี่ หรือไม่ทำโน่นไม่ทำนี่ ในท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมัน,การแข่งขัน,และภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลก จนกำลังจะกลายเป็นคำตอบเดียวของสังคมไทยไปแล้ว ทั้งๆ ที่วิกฤตนี้มีคนไทยอีกมากต้องเผชิญร่วมกัน คำตอบของคนกลุ่มเดียวจะเป็นคำตอบของคนทั้งหมดได้อย่างไร

แต่ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่สุดที่สังคมไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้แน่หรือ แม้ไม่ปฏิเสธว่าปัญหานี้มีความสำคัญที่จะต้องจัดการอย่างรอบคอบและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่เพราะปัญหาเศรษฐกิจกระทบต่อผู้คนโดยตรง และทันตาเห็น จึงเป็นปัญหาที่ผู้ถูกกระทบมักมีปากเสียง (บ้างมีมาก บ้างมีน้อยเป็นธรรมดา) รู้จักแม้แต่การรวมตัวจัดองค์กรข้ามกลุ่มผลประโยชน์ เพื่อกดดันเชิงนโยบายอย่างได้ผล

ไม่ว่านักธุรกิจอุตสาหกรรม,การเงิน และการค้า หรือชาวประมงที่ต้องทนแบกรับราคาน้ำมัน หรือนักเรียนในกรุงเทพฯ ที่ไม่อาจแบกรับราคารถเมล์ได้ เอสเอมอีที่พากันหยุดกิจการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานบางกลุ่ม ฯลฯ ล้วนสามารถเคลื่อนไหวในเชิงนโยบายได้ทั้งสิ้น

ฉะนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีปัญหาใหญ่สักเพียงใด สังคมไทยดูเหมือนจะมีพลังในการจัดการได้ดีกว่าด้านอื่นๆ เสียอีก (แม้จัดการแล้วไม่ดีนักก็ตาม) เพราะอำนาจต่อรองกระจายไปยังคนหลากหลายกลุ่มกว่าเรื่องอื่นๆ

ความหลากหลายของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเลือกตั้ง มีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นธรรมอยู่บ้าง

ปัญหาที่ใหญ่กว่าเศรษฐกิจคือปัญหาการเมืองต่างหาก เพราะภายใต้ภาวการณ์ที่รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างขึ้น ระบบราชการซึ่งมีกองทัพนำ จะควบคุมความเคลื่อนไหวของนักการเมือง รวมทั้งในซีกรัฐบาลมิให้ทำได้ในทางหนึ่งทางใด แม้แต่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ไม่อาจกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทบริวารและพันธมิตรของระบบราชการและกองทัพได้ หากนักการเมืองโดยเฉพาะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จำนนต่อแรงกดดันเหล่านี้ การเมืองไทยจะถึงจุดอับจนยิ่งไปกว่าปัจจุบัน

วิกฤตที่ใหญ่ที่สุดของไทยเวลานี้ ไม่ใช่วิกฤตเศรษฐกิจ แต่เป็นวิกฤตการเมือง

เพียงเพราะเรามีนายกรัฐมนตรีที่แหยต่ออำนาจของกองทัพเพียงอย่างเดียว แม้แต่พลังของกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองเชิงนโยบายก็ไม่อาจทำได้อีกต่อไป เพราะอำนาจล้นฟ้าของ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะขวางกั้นการเคลื่อนไหวทุกอย่างที่ขัดผลประโยชน์ของระบบราชการและกองทัพ ด้วยข้อหาทำลายความมั่นคง

ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอะไรๆ ก็แก้ไม่ได้ทั้งนั้น ซ้ำร้ายระบบราชการและกองทัพเองก็ล้าหลังเกินกว่าจะแก้ปัญหาอะไรที่สังคมไทยต้องเผชิญได้อีกแล้ว อย่างเก่งก็ทำซ้ำรอยเดิม ซึ่งนอกจากไม่แก้ปัญหาแล้ว ยิ่งทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้นไปอีก

ฉะนั้น หากไม่หลุดออกไปจากวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ ไทยจะต้องเผชิญกับวิกฤตด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้

ความนุ่มนวลก็มีความสำคัญ แม้ว่าการปลดปล่อยการเมืองไทยออกจากระบบราชการและกองทัพเป็นภารกิจเร่งด่วนและสำคัญสุดยอด แต่เราควรหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดกับกองทัพอย่างที่เคยเกิดมาแล้วในเหตุการณ์ 14 ตุลาและพฤษภาทมิฬ ทั้งสองครั้งที่ผ่านมาล้วนอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรีที่เป็นคนของกองทัพเอง ซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงการปะทะได้ยากขึ้น ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้

และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่

แน่นอนคุณอภิสิทธิ์ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าพรรคการเมืองซึ่งทหารกลุ่มหนึ่งในคณะรัฐประหารหนุนหลัง เพราะภารกิจของพรรคนั้นย่อมไม่มีอะไรมากไปกว่าคอยรับใช้ระบบราชการซึ่งมีกองทัพเป็นผู้นำ อันเป็นเหตุให้เมืองไทยมืดมนลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ,สังคม หรือการเมือง

สิ่งเดียวที่ขาดไปสำหรับคุณอภิสิทธิ์ก็คือ คุณอภิสิทธิ์ต้องแสดงความนุ่มนวลและแกร่งกล้าในความถูกต้องกับพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์เองด้วย เพราะคนจำนวนมากยังจำได้ว่า พรรคนี้เคยมีคนดีเป็นผู้นำ แต่ความดีและความนิยมที่เขาได้รับไม่อาจทำให้เขาแกร่งกล้าพอจะจัดการปัญหาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากสมาชิกของพรรคเอง คุณอภิสิทธิ์ควรแสดงให้เห็นแต่แรกว่า ใบหน้าคุณอภิสิทธิ์นั้น เมื่อลูบไปแล้ว จะไม่ปะจมูกอันเป็นสมาชิกชั้นนำของพรรคเอง

เพราะนายกรัฐมนตรีที่จะนำประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตทางการเมืองไปได้ในครั้งนี้ ต้องแกร่งทั้งภายนอกและภายใน

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6064239/P6064239.html


 Cool
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #63 เมื่อ: 18-12-2007, 10:38 »

ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้

และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่


ในประเด็นนี้ อ.นิธิ ยกได้ชัดเจนมาก
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: 18-12-2007, 10:43 »

ที่แน่นอนคือนายพิชัย รัตตกุล เป็น สส.พรรคประชาธิปัตย์
มาตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2512 ครับ

...

ผมเช็คที่วิกิพีเดียแล้วในช่วง 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19
มรว.เสนีย์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นะครับ แต่ว่า
ไม่มีสภาผู้แทนเพราะจอมพลถนอมปฏิวัติตัวเองไปตั้งแต่
18 พ.ย. 2514 ไม่มีแม้แต่รัฐธรรมนูญครับ

หลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์
ตั้งสภาสนามม้า ต่อมามีเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 18
ปชป.ชนะ แต่รัฐบาล มรว.เสนีย์ แถลงนโยบายไม่ผ่าน
กลายเป็น มรว.คึกฤทธิ์ นำ สส. แค่ 18 คนตั้งรัฐบาล
อยู่ได้ประมาณ 1 ปีก็ยุบสภา

ถัดมา ปชป.ชนะเลือกตั้งวันที่ 4 เม.ย.2519 มรว.เสนีย์
เป็นนายกฯ แต่อยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก็เกิด
เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 และรัฐประหารในวันเดียวกันครับ

...

สำหรับ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ มาเป็นหัวหน้าพรรค
ช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ซึ่ง ปชป. ตกต่ำมี สส 32 คน
ช่วงนั้นคือรัฐบาลเกรียงศักดิ์ มาถึงรัฐบาลเปรม 1 ครับ

นายพิชัย กับ นายชวน เข้าสภาพร้อมกัน คือปี 2512

นายพิชัยลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

นายชวน ไปอยู่ที่ใหนของเหตุการณ์


นายอุทัย พิมพ์ใจชน สส. ปี 2512 เช่นกัน ยื่นฟ้องจอมพลถนอม เพราะล้มล้างรัฐธรรมนูญ จนตัวเองติดคุกติดตาราง

นายชวนหลีกภัย สส. หนุ่มที่สุดในสภาทำอะไรบ้างในห้วงเผด็จการถนอม หรือเก่งแค่ตีฝีปากในสภาเท่านั้น
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #65 เมื่อ: 18-12-2007, 10:47 »

ความนุ่มนวลแต่แกร่งกล้าของคุณอภิสิทธิ์อาจช่วยให้คุณอภิสิทธิ์สามารถนำทหารกลับกรมกองโดยสงบ และสร้างระบบราชการให้เป็นเครื่องมือที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองนโยบายที่ประชาชนสร้างขึ้นผ่านกระบวนการทางการเมืองได้

และนี่เป็นข้อได้เปรียบของคุณอภิสิทธิ์เหนือคู่แข่งที่แสดงอาการแข็งกร้าวหยาบคาย เพราะโอกาสที่เราจะดันทหารกลับกรมกองโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อนั้นมีอยู่


ในประเด็นนี้ อ.นิธิ ยกได้ชัดเจนมาก

ทหารเขาพยายามจะกลับเข้ากรมกองก่อนทราบผลเลือกตั้งอยู่แล้ว

ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์อยู่ก่อนแล้ว
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #66 เมื่อ: 18-12-2007, 10:56 »

คุณ นทร์

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมาะสมนั่งนายกในภาวะวิกฤติ (หัวกระทู้ - ชื่อกระทู้ )

นายกฯ ของวิกฤตการเมือง(หัวเรื่อง - ชื่อเรื่อง )
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชน วันที่ 26 พฤจิกายน 2550 เวลา 08:11:43 น.

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6064239/P6064239.html

กระทู้นี้ "เคือง ไทแมน" ขำกลิ้งกับลีลาแถของ "สินธร" จน "เจได" เข้าไปเบรค สินธนว่าเป็น "กากกระทู้" อิ อิ
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #67 เมื่อ: 18-12-2007, 11:01 »

ทหารเขาพยายามจะกลับเข้ากรมกองก่อนทราบผลเลือกตั้งอยู่แล้ว

ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์อยู่ก่อนแล้ว


วันก่อนสมัคร (เมถุน) ยังใช้คำผรุสวาทด่า "อีแอบผมขาว" บนเวทีหาเสียงอยู่เลยครับ

ผมถึงชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ อ.นิธิ ได้อธิบาย
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #68 เมื่อ: 18-12-2007, 11:05 »


วันก่อนสมัคร (เมถุน) ยังใช้คำผรุสวาทด่า "อีแอบผมขาว" บนเวทีหาเสียงอยู่เลยครับ

ผมถึงชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ อ.นิธิ ได้อธิบาย

พอดีสมัครเป็นแค่ตัวเชิด วีระอีกคน หลังเลือกตั้ง พวกนี้อาการน่าเป็นห่วง..
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #69 เมื่อ: 18-12-2007, 11:12 »

พอดีสมัครเป็นแค่ตัวเชิด วีระอีกคน หลังเลือกตั้ง พวกนี้อาการน่าเป็นห่วง..

ทั้ง สมัคร วีระ ... อีกหลายคนที่เป็นสายบู้ใน พปช ขณะนี้

ล้วนเป็นชนวนอย่างดี ที่อาจทำให้ทหารไม่สามารถกลับกรมกองได้ไงครับ

เหตุผลของ อ.นิธิ จึงเป็นคำอธิบายที่น่าสนใจยิ่ง

บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #70 เมื่อ: 18-12-2007, 11:15 »




จะพูดตรงๆ ทหารตำรวจ เสียเพราะนักการเมือง ไปดึงมาสร้างความได้เปรียบทางการเมือง

เพื่อความสะดวกทางการเมือง มันอยู่ในระบบ ผมไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อนๆก็ส่งคนมาช่วยอำนวยความสะดวก

ถ้าไม่มีการเมืองเรียกไม่ได้หรอก ก็ระบบอุปถัมภ์ แต่ทหารถ้าจะยุ่งการเมืองลาออกมาเล่นดีแล้ว

ตอนนี้อดึตทหารตำรวจก็มีทั้งสองขั้วใหญ่
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #71 เมื่อ: 18-12-2007, 11:21 »

จะแตกประเด็นไปอีกแล้วเหรอ คุณ Q

 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #72 เมื่อ: 18-12-2007, 11:23 »

จะแตกประเด็นไปอีกแล้วเหรอ คุณ Q

 

ถ้าจะคุมประเด็นไว้แคบๆ ต้องทุกกระทู้นะ สองข้างด้วย  
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #73 เมื่อ: 18-12-2007, 11:25 »



ชักธงรบ ไทยรัฐ เขียนเชียร์ปชป.ก็เป็นด้วย ไม่น่าเชื่อ

ผมว่าประเด็นเปิดมันกว้างมาก..
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #74 เมื่อ: 18-12-2007, 11:27 »

ถ้าจะคุมประเด็นไว้แคบๆ ต้องทุกกระทู้นะ สองข้างด้วย  

 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #75 เมื่อ: 18-12-2007, 11:31 »



เอาเป็นว่าผมจะระวังมากขึ้น.
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #76 เมื่อ: 18-12-2007, 13:36 »

กรณี รัฐบาล พลเอกสุจินดา จะมองอีกแง่ก็คือ เป็นฝ่ายทหารที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ปชป.

ผมถึงบอกว่าปชป. เลือก ที่จะคบทหาร อยู่ใต้ท้อปบู๊ตทหาร แล้วแต่ว่าเป็นพวกใด
หากมอง พลตรีมนูญ รูปขจร เข้าพรรค ปชป. ก็จะเห็นได้ชัดว่า ปชป. ถือหาง จรป. 7 ( รุ่น มนูญกฤติ - ประจักษ์- จำลอง )

ส่วน พลเอก สุจินดา คือ จปร. 5 ซึ่งเป็นพวกสมัคร มันก็เท่านั้นเอง

ไม่งั้นคงไม่มีเรื่อง ล้างบาง พรรคเทพ พรรคมาร

การเมืองกับการทหาร แยกกันออกยากครับ ขึ้นอยู่กับว่ามีการแบ่งปันผลประโยชน์กันลงตัวหรือไม่ แค่นั้นเอง


แต่ประเด็นก็คือ พล.อ.สุจินดา คือทหารที่ครองอำนาจอยู่ในขณะนั้นนะครับ
เป็นฝ่ายที่เพิ่งทำรัฐประหาร และตั้งพรรคการเมืองนอมินีจนชนะการเลือกตั้ง
มีสิทธิขึ้นครองอำนาจเป็นรัฐบาลตามกฎหมายทุกประการ

ในขณะที่ฝ่าย จปร. 7 ไม่มีอะไรเลย แต่ประกาศต่อต้านการสืบทอดอำนาจ
ของฝ่าย พล.อ.สุจินดา โดยมี พล.ต.จำลองเป็นแกนนำ ยืนฝ่ายประชาชน

จะบอกว่าตอนนั้น ประชาธิปัตย์อยู่ใต้ท็อปบู๊ต จปร. 7 ผมว่าก็เกินไปครับ
เพราะ จปร. 7 ไม่ได้เป็นฝ่ายครองอำนาจรัฐในขณะนั้น


อธิบายว่า เป็นพันธมิตรกัน เพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการ น่าจะถูกต้องกว่า
และค่อนข้างเด่นชัดว่าประชาธิปัตย์ มีฝ่าย พล.ต.จำลอง เป็นพันธมิตร
ในทางการเมืองมาโดยตลอด
จะเว้นไปก็คือช่วงที่ พล.ต.จำลอง คิดผิดไปหนุนทักษิณขึ้นมา 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 13:38 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #77 เมื่อ: 18-12-2007, 13:44 »

ประวัติศาสตร์ ที่มันลบไม่ได้มีอยู่ 2 เรื่อง เกี่ยวกับ "ประชาธิปไตยในเมืองไทย" มีคำเรียกขานที่น่าคิด

1. "วีระบุรุษประชาธิปไตย" สังคมยกให้ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ที่กล้าฟ้องร้องจอมพลถนอม...ปชป. อยู่ที่ใหนครับทำไมไม่ร่วมกับเค้า
2. "เสาหลักประชาธิปไตย" สังคมยกให้ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช...ปชป. อยู่ที่ใหนครับ

ก็ได้แต่หวังว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่อายุยังน้อย จะมีฉายา เกี่ยวกับประชาธิปไตย ฝากไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เพราะคนรุ่นเก่าของ ปชป. ไม่ได้สร้างสมอะไรไว้ให้...


แล้วจะว่ายังไงดีล่ะครัีบ ทั้ง นายอุทัย ทั้ง มรว.คึกฤทธิ์ ก็เคยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ถ้าจะแยกเป็นคนๆ นักการเมืองอาจจะถึงครึ่งหนึ่งเคยมีความสัมพันธ์ทางการเมือง
กับพรรคประชาธิปัตย์ทั้งนั้น แล้วจะมองว่าประชาธิปัตย์คืออะไรดี

พรรคการเมืองก็คือที่รวมของคน ดังนั้นในแต่ละยุค สมาชิกพรรคแต่ละคนเป็นอย่างไร
เมื่อรวมกันก็คือลักษณะของพรรคในขณะนั้นๆ


แม้แต่ สมัคร วีระ เฉลิม ยงยุทธ จาตุรนต์ ก็เคยสังกัดอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน

เราจะพูดถึง "พรรค" หรือพูดถึง "คน" ล่ะครับ? 

...

อดีตสมาชิกสภาผู้แทนฯ และผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ที่มีชื่อเสียง

* พล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคกิจสังคม (เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก)
* พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน (อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 11)
* นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่ม นปก. อดีตรัฐมนตรี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย (อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 10)
* นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย (อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์)
* ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตหัวหน้าพรรคมวลชน (อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์)
* นายประจวบ ไชยสาส์น อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)
* นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา อดีตหัวหน้าพรรคก้าวหน้าและพรรคเอกภาพ (อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์)
* ดร.พิจิตต รัตตกุล แกนนำกลุ่มรวมใจไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์)
* ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน (อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)
* นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 13)
* นายการุณ ใสงาม รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีต ส.ว.บุรีรัมย์ (อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์หลายสมัย)
* นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา แกนนำกลุ่มวาดะห์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ อดีตประธานรัฐสภา (อดีต ส.ส. ปชป.)
* นายอรรคพล สรสุชาติ รองหัวหน้าพรรคมหาชน อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (อดีต สส.กรุงเทพฯ และ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์)
* นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย รองนายกฯ รมต.ศึกษาฯ และรมต.ยุติธรรม (อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2529 และ 2531)
* นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ สส.พรรคประชาธิปัตย์)
* นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ทนายความประจำตระกูลชินวัตร (อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์)
* นายธวัชชัย สัจจกุล สมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย (อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ของพรรค)
* ร.ต.อ.พเยาว์ พูลธรัตน์ อดีตแชมเปี้ยนโลกชาวไทย และ อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองแดงโอลิมปิคคนแรกของไทย (อดีต ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ของพรรคประชาธิปัตย์)
* นายเอกพจน์ ปานแย้ม หรือ เอกพจน์ วงศ์นาค สมาชิกพรรคชาติไทย อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดัง (อดีต ส.ส.ปทุมธานี ของพรรคประชาธิปัตย์)
* ดร.มานะ มหาสุวีระชัย หัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดิน (อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ ของพรรคประชาธิปัตย์)
* ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ระดับนานาชาติ (อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์)
* ร.อ.หญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครบาลเชียงใหม่ (อดีตผู้สมัคร ส.ส. เชียงใหม่ ของพรรคประชาธิปัตย์)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 19:28 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #78 เมื่อ: 18-12-2007, 15:05 »

นายพิชัย กับ นายชวน เข้าสภาพร้อมกัน คือปี 2512

นายพิชัยลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

นายชวน ไปอยู่ที่ใหนของเหตุการณ์


นายอุทัย พิมพ์ใจชน สส. ปี 2512 เช่นกัน ยื่นฟ้องจอมพลถนอม เพราะล้มล้างรัฐธรรมนูญ จนตัวเองติดคุกติดตาราง

นายชวนหลีกภัย สส. หนุ่มที่สุดในสภาทำอะไรบ้างในห้วงเผด็จการถนอม หรือเก่งแค่ตีฝีปากในสภาเท่านั้น


อันนี้ผมก็สงสัยว่าเราควรมองเป็นเรื่องส่วนตัวของ  นายอุทัย หรือเปล่า
เหมือนกับกรณีลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ของนายพิชัย รัตตกุล

...

และกรณีของนายชวน ผมคิดว่าก็เป็นสไตล์การทำงานของเขาน่ะครับ

เพราะหน้าที่ของนักการเมืองก็คือไปเป็นตัวแทนของประชาชนในสภา
และผลักดันตัวเองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารประเทศเช่นเป็นรัฐมนตรี
และผมคิดว่านายชวน ก็ประสบความสำเร็จในแนวทางของตัวนะครับ

ส่วนการประท้วงใคร ยื่นฟ้องใคร อาจไม่ใช่หน้าที่ที่อาสาประชาชนมา
แต่เป็นการดำเนินการสนองความต้องการส่วนตัวก็เป็นไ้ด้ครับ

ส่วนการจะให้พรรคเคลื่อนไหว มันก็มีกรอบจำกัดของพรรคอยู่เหมือนกัน
ว่าสมาชิกในขณะนั้นเห็นอย่างไร

แต่ถ้าเป็นกรณีพรรคเผด็จการอื่นๆ ก็ไปอยู่ที่ว่าหัวหน้าพรรคว่าอย่างไร
แบบนั้นก็จะสะดวกหน่อย เพราะ สส.เป็นแค่ลูกจ้างในพรรค
 

...

พรรคที่เป็นสถาบันคือจะยังคงอยู่ตรงนั้น เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
บางคนผ่านมาแล้วจากไป บางคนเข้ามาแล้วอยู่เป็นเวลานาน

แต่ไม่ว่าอย่างไรสถาบันก็ยังคงอยู่ เป็นช่องทางทางการเมืองที่เปิด
สำหรับทุกคนที่ต้องการมีส่วนร่วมผ่านพรรคเสมอ

ถ้าจะิวิจารณ์พรรคคงต้องแบ่งเป็นช่วงเวลาว่าขณะนั้นใครมีบทบาท
และปัจจุบันนี้ก็แตกต่างจากยุค 60 ปีก่อน หรือ 20-30 ปีก่อนครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #79 เมื่อ: 18-12-2007, 15:32 »

สถาบันของคนส่วนน้อย

สถาบันของคน 60 กว่าคนทางใต้ ครอบงำคนทั้งประเทศยากครับ

ถ้ายังเดินแนวเดิมๆ ก็ตัดภาพ พรรคของคนใต้ไม่ได้


พูดถึงจำนวนสส. ยังไม่ถึงครึ่งภาคอีสานเลย

ถ้าจะอัดกันจริงๆ ทำยังไงก็ไม่ชนะทางอื่น ยังไม่รวมเหนือ กลาง ตะวันออก และ กทม.

ไม่ว่าจะสู้ยังไง ก็สู้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้

ก็ได้แต่หวังว่า ได้หัวหน้าใหม่ นโยบายปรับพรรคให้เป็นของคนไทยทั้งชาติได้

สิ่งเดียวที่ผู้คนยังกังขา นั่นก็คือ หนุ่มมาร์ค จะรอดพ้นจากการครอบงำได้หรือไม่เท่านั้นเอง


อันตรายที่มองเห็นตอนนี้ มันก็น่าอดสูอยู่เหมือนกัน ที่ใครไปหาเสียงทางอีสาน

ไม่มีใครประกาศว่าจะร่วมกับปชป. ซักราย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 15:38 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #80 เมื่อ: 18-12-2007, 15:43 »

เมื่อพูดถึงบทบาทของ ปชป. ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19
นายสุธรรม แสงปทุม ก็โดนหลอกให้ไปถูกจับที่บ้าน มรว.เสนีย์ ปราโมช
แต่โชคดีคือ นายสุธรรม รอดจากการถูกสังหาร ในเหตุการณ์วันล้อมปราบ
ส่วน รมต. หลายคน ที่อยู่ตรงข้ามนายสมัคร ก็หลบหนีหัวซุกหัวซุน

จนได้หนังสือ ออกมาเล่มหนึ่งชื่อ "เย็นลมป่า"...

ถ้าจะบอกว่า นายชวน หลีกภัย เป็น "พวกซ้าย" เป็นพวกเรียกร้อง "รัฐธรรมนูญ" ผมจะขำให้กลิ้ง

เว้นให้คุณพ่อคุณหญิงแอ๋ว แล้วมีอีกไม่กี่คนหรอกครับ ที่ยืนหยัดอยู่ข้างประชาชน

ที่บอกว่านายสุธรรม ถูกหลอกไปจับที่บ้าน มรว.เสนีย์ หมายถึงอะไรครับ
จะบอกว่า มรว.เสนีย์ อยู่ฝ่าย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หรือแค่เล่าให้ฟังเฉยๆ
ผมว่าเหตุการณ์ช่วงนั้นที่ชัดๆ ก็คือนายสมัครไปเข้ากับทหารมาถล่ม ปชป.

เรื่องนายชวน เป็นพวกเรียกร้องรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผมไม่มีข้อมูลเลยน่ะครับ
แต่คิดว่า นายชวน ที่เป็นนักการเมือง ก็น่าจะต้องการรัฐธรรมนูญนะครับ

ไม่งั้นจะลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรได้อย่างไร และผมไม่เห็นข้อมูลว่า
นายชวน มีประวัติเข้าสู่อำนาจด้วยวิธีอื่นๆ นอกจากผ่านการเลือกตั้ง

คุณพ่อคุณหญิงสุพัตรา ก็เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่หรือครับ
เท่ากับว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางพรรคหรือเปล่า หรือจะตัดออกมา
คิดเฉพาะว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของท่านคนเดียว ไม่เกี่ยวกับพรรค?
ผมว่าความจริงมันแยกกันไม่ออกครับ เพราะก็ต้องมีบทบาทในพรรคด้วย 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #81 เมื่อ: 18-12-2007, 15:54 »



ทนายหน้าหอ นพดลนี่ก็ศิษย์เก่าปชป.

ทำไมมันเกลียดพรรคนี้? ...
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #82 เมื่อ: 18-12-2007, 15:56 »

สุธรรม แสงปทุม ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่บ้าน

แต่นายกรัฐมนตรีก็แจ้งตำรวจไปดักจับ ก็เท่านั้น
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #83 เมื่อ: 18-12-2007, 16:10 »


เพราะ ปชป. อิงแอบ อำนาจทหารมาโดยตลอด ไม่ต้องนับ รัฐบาล 8 ปี ของ "ป๋าเปรม"
อันเป็นที่มาของพลัง "สะตอสามัคคี" มีเหตุต้องลาออกละรอกแล้วระลอกเล่า

เช่นกรณี กลุ่ม 10 มกรา ของนายวีระ
ประจวบ ไชยสานส์ และขุนพลอีสานอื่น ๆ ต้องถอนตัวออกไปสู่อ้อมอก "ชาติพัฒนา"

ทั้งหมดนั้นหากมองในภาพรวม ปชป. ก็อิงแอบอำนาจกองทัพ มาทุกยุคทุกสมัย


ไล่มาตั้งแต่ นายควง อภัยวงศ์ มรว.เสนีย์ ปราโมช ( นายก 4 สมัย )นายชวน หลีกภัย

มีใครบ้าง ไม่อิงแอบอำนาจกองทัพ เพื่อผลักดันพรรคของตัวเองขึ้นสู่อำนาจ

ถ้าจะบอกว่า อิงแอบ อำนาจทหารมาโดยตลอด คงไม่ตลอดหรอกครับ

อย่างกรณีหลังรัฐประหาร 6 ตุลา 19 ที่ต่อมามีการเลือกตั้ง 22 เม.ย.2522
และ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้เป็นนายกสืบต่อจากที่รักษาการ

พรรคประชาธิปัตย์มี 32 เสียง ก็เป็นพรรคฝ่ายค้าน รัฐบาลเกรียงศักดิ์นะครับ
ไม่ได้เข้าไปร่วมเป็นรัฐบาล และรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ก็หนุนโดยฝ่ายทหาร
ที่ครองอำนาจมาจากการรัฐประหารซ้ำ 2 รอบ

เพิ่งจะเข้าร่วมรัฐบาล ก็สมัย พล.อ.เปรม ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่าสร้างความเสียหาย
ในฐานะนักการเมืองก็ต้องเลือกสนับสนุนคนที่เหมาะสมให้เป็นนายกรัฐมนตรี
และ พล.อ.เปรม ก็เป็นคนหนึ่งที่เหมาะสมจริงๆ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ปชป.
เลือกสนับสนุนไม่ผิด

...

เรื่อง นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นการเมืองภายในพรรคยุคนั้น ที่น่าเสียดาย
เพราะกลุ่ม สส.อีสานเติบโตมากในการเลือกตั้ง 24 ก.ค. 2531 ได้มาถึง
17 เสียง มากกว่า สส.ภาคใต้เสียอีก ก็เลยเกิดศึกชิงอำนาจภายในกันขึ้น
และในที่สุดกลุ่มนายประจวบ ถอนตัวออกไป
ทำให ้ปชป. สูญพันธุ์จากภาคอีสานตั้งแต่นั้นมา และปลุกไม่ขึ้นจนถึงป่านนี้ 

...

กรณีนายควง อภัยวงศ์ ถ้าจะบอกว่าอิงแอบ อำนาจทหารมาโดยตลอด
จะหมายถึงตรงไหนล่ะครับ

เพราะนายควงก็เป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ สายพลเรือน มีส่วนร่วมในการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองมาตลอด และอยู่คนละกลุ่มกับ สายทหาร
ผมคิดว่าในตอนแรกนายควง ใกล้ชิดกับกลุ่มนายปรีดีมากกว่า

...

จนถึงหลังสงครามโลก ที่จอมพล ป. ต้องพ้นอำนาจไปชั่วคราวจาก
กรณีแพ้โหวตกฎหมายประหลาดๆ และนำประเทศไปแพ้สงครามโลก
นายควงก็มารับตำแหน่งนายกฯ ในขณะที่ใครๆ ก็ไม่กล้ารับตำแหน่ง
เพราะกลัว จอมพล ป. ทั้งนั้น  พระองค์เจ้าอาทิตย์ ผู้สำเร็จราชการ
ยังลาออกไม่กล้าตั้งนายควง เป็นนายกฯ

ตอนนั้นจะบอกว่านายควง ขึ้นเป็นนายกฯ โดยอิงแอบอำนาจทหาร
ผมว่าไม่ใช่นะครับ และในที่สุดนายควงก็ถูกรัฐประหารโดยฝ่ายของ
จอมพล ป. อีกด้วย

หลังจากนั้นประเทศก็ถูกยึดครองโดยฝ่ายทหารยาวนานกว่า 10 ปี
ผมไม่เห็นนายควง ไปอิงแอบทหารแสวงหาอำนาจอะไรเลยครับ
ลากยาวไปจนถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ด้วย

มีแต่ "พันเอกถนัด" ร่วม ครม. แต่ในขณะนั้นก็ยังไม่เป็นสมาชิกพรรค

...

มาถึงยุคหม่อมเสนีย์ (2511-2522) ผมก็ไม่เห็นว่ามีการเข้าร่วมกับ
รัฐบาลจอมพลถนอม มีแต่ประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน
กับไม่ได้ทำอะไรในบางช่วงเพราะรัฐธรรมนูญถูกฉีก พรรคถูกยกเลิก 

...

เรื่องของนายชวนผมก็วิเคราะห์ไปแล้วนะครับ ว่าคงเป็นสไตล์ทำงาน
ของนายชวน ที่ทำงานเป็นตัวแทนประชาชนในสภาผู้แทนราษฎร
ทำหน้าที่ด้านกฎหมาย และเข้าร่วมบริหารประเทศในตำแหน่งรัฐมนตรี
และนายกรัฐมนตรี

ซึ่งผมคิดว่านายชวน ก็ประสบความสำเร็จในแนวทางของเขานะครับ
ผมไม่เห็นนายชวนเข้าสู่อำนาจโดยวิธีอื่นนอกจากผ่านการเลือกตั้ง 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #84 เมื่อ: 18-12-2007, 16:14 »


ทนายหน้าหอ นพดลนี่ก็ศิษย์เก่าปชป.

ทำไมมันเกลียดพรรคนี้? ...

ไม่ได้เกลียดพรรค แต่ว่า "รักแม้ว" น่ะครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #85 เมื่อ: 18-12-2007, 16:17 »

สุธรรม แสงปทุม ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่บ้าน

แต่นายกรัฐมนตรีก็แจ้งตำรวจไปดักจับ ก็เท่านั้น


นั่นสิครับ ตกลงหมายความว่า มรว.เสนีย์ สนับสนุนการปฏิวัติ
หรือว่าลุงแคนแค่เล่าให้ฟังเฉยๆ

อยากรู้.. เพราะเรื่องนี้ผมไม่มีข้อูลน่ะครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #86 เมื่อ: 18-12-2007, 16:24 »

พรรคประชาธิปัตย์มี 32 เสียง ก็เป็นพรรคฝ่ายค้าน รัฐบาลเกรียงศักดิ์นะครับ
ไม่ได้เข้าไปร่วมเป็นรัฐบาล และรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ก็หนุนโดยฝ่ายทหาร
ที่ครองอำนาจมาจากการรัฐประหารซ้ำ 2 รอบ

*****

สส. 32 คน ก็สมควรเป็นฝ่ายค้านครับ ( ปี 22 )

เพราะช่วงรับงานมาจาก มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ใช่ว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้น

แต่ดันทำให้เกิดปฏิวัติรัฐประหาร 6 ตุลา 19

ผมมองว่า รัฐบาลใด ถูกปฏิวัติ ย่อมไม่ใช่พรรคการเมืองที่ดีนักหรอก
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #87 เมื่อ: 18-12-2007, 16:29 »


ไม่ได้เกลียดพรรค แต่ว่า "รักแม้ว" น่ะครับ 


ศิษย์เก่าแสบๆที่ออกจากพรรคเยอะครับ

พรรคแตกบ่อยๆ...คือเสียงไม่ถึงครึ่งก็ออกมาตั้งพรรคใหม่ ไม่หวนกลับไปเหยียบเงา เผาผีกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 16:51 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #88 เมื่อ: 18-12-2007, 16:59 »

นั่นสิครับ ตกลงหมายความว่า มรว.เสนีย์ สนับสนุนการปฏิวัติ
หรือว่าลุงแคนแค่เล่าให้ฟังเฉยๆ

อยากรู้.. เพราะเรื่องนี้ผมไม่มีข้อูลน่ะครับ 

อิ อิ สนับสนุนได้ยังไงล่ะ เช้าตรู่วันที่ 6 ก็ล้อมปราบ ( ไม่รู้นายกรู้เรื่องกับเค้าหรือเปล่า ยังเป็นปัญหาคาใจครับ )

รัฐบาลตั้งได้เมื่อเย็นวันที่ 5 ตุลา โดยตัด รมต. 2 คนเจ้าปัญหา ทีทำให้หม่อมพี่ น้อยใจลาออกเมื่อ 23 กันยายนมาหมาด ๆ

ก็เพราะการเข้ามาของเณรถนอมนี่ไง ตอบคำถามในสภาไม่ได้ แถมโดน สส.จอมเนรคุณ อภิปรายจวกหัวหน้าพรรคอีก

เลยน้อยใจลาออก

**************

นายสุธรรม แสงปทุม นั้นขอเข้าเจรจากับนายกรัฐมนตรี เพราะเหตุการณ์ร้ายแรง วันที่ 6 ตุลาคม 19

แต่นายกก็ไม่รู้ทำอีท่าใหน แจ้งตำรวจจับซะนี่ ที่หน้าบ้านนายกนั่นแหละ

มาประชุม ครม. ( ที่ยังไม่ได้ถวายสัตย์ ปฏิญาณ ) ลูกเสือชาวบ้านก็บุกทำเนียบ บีบให้เปลี่ยนตัว รมต.

พอย่ำค่ำ คณะทหารก็ทำการปฏิรูป

ปชป. กับทหาร แยกกันไม่ออก แต่ทหารแต่ละยุคแต่ละสมัย ปชป. เลือกคบเป็นราย ๆ

ผมก็ไล่เรียงให้ฟังมาแล้ว แต่อยู่ในสาย พลเอกเปรม มาตลอด นั่นแหละ ไม่ว่ากลุ่มยังเติร์ก

หรือ สายงานป๋าเปรม ฯ ยกเว้น พ่อใหญ่จิ๋ว ที่ฉีกตัวมาทำงานการเมืองของตัวเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-12-2007, 17:05 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #89 เมื่อ: 18-12-2007, 17:41 »

พรรคประชาธิปัตย์มี 32 เสียง ก็เป็นพรรคฝ่ายค้าน รัฐบาลเกรียงศักดิ์นะครับ
ไม่ได้เข้าไปร่วมเป็นรัฐบาล และรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ก็หนุนโดยฝ่ายทหาร
ที่ครองอำนาจมาจากการรัฐประหารซ้ำ 2 รอบ

*****

สส. 32 คน ก็สมควรเป็นฝ่ายค้านครับ ( ปี 22 )

เพราะช่วงรับงานมาจาก มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ใช่ว่าจะทำอะไรให้ดีขึ้น

แต่ดันทำให้เกิดปฏิวัติรัฐประหาร 6 ตุลา 19

ผมมองว่า รัฐบาลใด ถูกปฏิวัติ ย่อมไม่ใช่พรรคการเมืองที่ดีนักหรอก


ความจริงเหตุการณ์ช่วงนั้น ผมโทษ มรว.คึกฤทธิ์ เหมือนกันนะครับ
นึกยังไงไม่สนับสนุนพี่ชายตัวเอง แต่แย่งอำนาจกันในสภา

และเอาเข้าจริงตัว มรว.คึกฤทธิ์ก็บริหารรัฐบาลสหพรรคไปไม่รอด
อยู่ได้แค่เพียงปีกว่าๆ เท่านั้น


การเมืองที่แตกแยกไ่ม่มีเสถียรภาพ จนในที่สุดทำให้ทหารเข้าแทรก
ถ้าจะว่าผิดก็ต้องโทษนักการเมืองยุคนั้นทั้งหมด ที่ไม่ทำเพื่อชาติ
แต่แย่งอำนาจกันเอง จนบ้านเมืองวุ่นวาย พาให้ล้มเหลวทั้งระบบ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #90 เมื่อ: 18-12-2007, 17:50 »

หาเสียงเลือกตั้ง 18 ก็ด่าชาวบ้านไม่มีคุณภาพ

หาเสียง 2522 ก็ไปด่าคนอื่นเค้าไว้เยอะไงครับ เย่อหยิ่ง จองหอง อารมณ์เดียวกับพรรคพลังประชาชนตอนนี้นี่แหละครับ

ตอนนั้นประชาชนฝั่งขวาครองเมือง ยังไม่กลับมากลางๆ หรอกครับ

ปชป. พลาดที่ เดินซ้ายไม่ไป เดินขวาก็ไม่มีพวก โดนทหารปฏิวัติมาก็เข้าหน้าทหารไม่ติด

จำเป็นต้องตกกระไดพลอยโจน ด่าทหาร ด่าคณะปฏิรูป เหมือน พลังประชาชนตอนนี้

แต่บารมีของ ปชป. ยังทำไม่ได้โดยเฉพาะในเขตอีสาน

พอป๋าเปรมเบ่งบารมีนี่แหละ ถึงได้เกิดสะตอสามัคคี พวกคนเก่ง คนกล้าก็ถอนตัวไปเยอะ

"คุณประจวบ ไชยสานส์" เฉพาะที่ อุดร จังหวัดเดียวก็กวาดมา 11 ที่นั่ง

น่าเสียดายมั๊ยล่ะ เจ้าของโครงการ โขง ชี มูล อันลือลั่น

"ปั้นข้าวเหนียวให้ติด" จึงเป็นสโลแกน ที่ต้องล้างอาย ปชป. มาจนวันนี้
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #91 เมื่อ: 18-12-2007, 19:35 »

หาเสียงเลือกตั้ง 18 ก็ด่าชาวบ้านไม่มีคุณภาพ

หาเสียง 2522 ก็ไปด่าคนอื่นเค้าไว้เยอะไงครับ เย่อหยิ่ง จองหอง อารมณ์เดียวกับพรรคพลังประชาชนตอนนี้นี่แหละครับ
ตอนนั้นประชาชนฝั่งขวาครองเมือง ยังไม่กลับมากลางๆ หรอกครับ
ปชป. พลาดที่ เดินซ้ายไม่ไป เดินขวาก็ไม่มีพวก โดนทหารปฏิวัติมาก็เข้าหน้าทหารไม่ติด
จำเป็นต้องตกกระไดพลอยโจน ด่าทหาร ด่าคณะปฏิรูป เหมือน พลังประชาชนตอนนี้
แต่บารมีของ ปชป. ยังทำไม่ได้โดยเฉพาะในเขตอีสาน
พอป๋าเปรมเบ่งบารมีนี่แหละ ถึงได้เกิดสะตอสามัคคี พวกคนเก่ง คนกล้าก็ถอนตัวไปเยอะ

"คุณประจวบ ไชยสานส์" เฉพาะที่ อุดร จังหวัดเดียวก็กวาดมา 11 ที่นั่ง
น่าเสียดายมั๊ยล่ะ เจ้าของโครงการ โขง ชี มูล อันลือลั่น

"ปั้นข้าวเหนียวให้ติด" จึงเป็นสโลแกน ที่ต้องล้างอาย ปชป. มาจนวันนี้


พูดถึงเรื่องข้าวเหนียว ผมเคยเจอเขาพูดกันว่ากลุ่ม ปชป. เสียคะแนน
ทางภาคอีสานมาตั้งแต่กรณีค้าน กฎหมายปักป้ายข้าวเหนียว เข้าใจว่า
เป็นเรื่องเก่ามากตั้งแต่หลังสงครามโลกใหม่ๆ
แต่ผมก็ไม่มีข้อมูลเหมือนกัน ลุงแคนมีอะไรจะเล่าเรื่องนี้ไหมครับ? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
doctor
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


« ตอบ #92 เมื่อ: 18-12-2007, 21:02 »

โห กระทู้นี้ไปกันซะไกลเชียว

แต่ก็สนุกดี

เพิ่งเคยได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลแบบนี้ ขอบคุณทุกท่านครับ

แต่ยังไงก็เลือกอนาคต หวังว่าจะไม่ทำให้ผิดหวัง
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #93 เมื่อ: 18-12-2007, 21:34 »

โต้แย้ง ทำให้เกิดปัญญา

โต้เถียงก็จะมีแต่ปัญหา

ทุกอย่างเป็นไปตามมุมมอง และ ข้อมูลที่นำมาประกอบ

อย่างมากก็แค่ความคิดเห็นส่วนตน ที่รอให้คนรุ่นหลัง ลองหันหลังกลับไปมองประวัติศาสตร์

เพื่อเรียนรู้จุดบกพร่อง เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม พัฒนาชาติ

ถ้าเราเชื่อ "ผลเกิดจากเหตุ" ก็ต้องบอกว่า ที่หนุ่มมาร์ค ออก "นิวส์อาว" ASTV วันนี้

บอกว่าน่าเสียดายที่ 10 ปี มานี้ พี่น้องชาวอีสานไม่ค่อยให้โอกาสพรรคประชาธิปัตย์

ก็ต้องมองย้อนกลับไปว่า สาเหตุที่ความนิยมพรรค ปชป. ตกต่ำใน อีสานเพราะอะไร

หากแก้ที่เหตุได้ ทำให้เหตุดี ผลก็จะดีเอง


สำคัญว่าสมัชชาประชาธิปัตย์ สมัชชาประชาชน หากทำตกๆ หล่นๆ ผลก็คงเดิม ๆ

หากบอกว่า ชาวอีสานโง่ ที่เข้าไม่ถึง ไม่เข้าใจนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องกลับไปคิดใหม่

เพราะบางที คนลงคะแนนเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่คนโง่เสมอไป

แต่เค้ามองว่า พรรคการเมืองใหน ทำให้พวกเค้าได้ประโยชน์มากกว่ากัน


ไม่เช่นนั้นคงไม่มีใครเสนอตัวว่าเป็นพรรคของคนอีสาน...
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #94 เมื่อ: 18-12-2007, 21:44 »

โห กระทู้นี้ไปกันซะไกลเชียว

แต่ก็สนุกดี

เพิ่งเคยได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลแบบนี้ ขอบคุณทุกท่านครับ

แต่ยังไงก็เลือกอนาคต หวังว่าจะไม่ทำให้ผิดหวัง

หลายจุดที่ลุงแคนพูดถึง ผมก็เพิ่งได้ทราบนี่แหละครับ

เพราะลุงแคนจะอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งข่าวและข้อมูลตรง
ในขณะที่ผมเอง คงรับรู้ชัดเจนแค่ประมาณ 20 ปีหลัง
ที่เหลือก็คือข้อมูลที่สะสมเอาไว้เท่านั้นเอง

บางทีข้อมูลอย่างเดียวก็ตีความชัดเจนอะไรไม่ได้
ดังนั้นคุยกับลุงแคนก็ไ้ด้มุมมองเพิ่มขึ้นเยอะครับ
มีโอกาสพูดคุยแล้ว ก็เลยคุยจนไกลไปสักหน่อย 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #95 เมื่อ: 18-12-2007, 21:55 »

ถ้าคุณจีฯ อยากเก็บข่าวช่วง 14 ตุลา ลองเสิร์ชชื่อ "ถนัด คอมมันต์" นั่นแหละครับ

มี URL ที่เค้าเก็บข่าวหนังสือพิมพ์พวกนี้เรียงตามวันเลยครับ
(เยอะมั๊กมาก )
*********************


ส่วนประเด็นของกระทู้

ชักธงรบ ไทยรัฐ เขียนเชียร์ปชป.ก็เป็นด้วย ไม่น่าเชื่อ  

*********

ได้ตอบไปบ้างแล้วและได้บอกที่มาที่ไป ของคนเขียนคอลัมน์ของไทยรัฐว่า "เป็นความคิดเห็นส่วนตน"

มิใช่ความเห็นของ "ไทยรัฐ" ในนามสถาบัน เพราะหากจะมองทิศทางของ หนังสือพิมพ์ ต้องดูที่ "บทบรรณาธิการ" เท่านั้น

ส่วนคอลัมน์อื่นๆ ล้วนแต่เป็นวิจารณญาณของคนเขียนแต่ละคน

แม้คนเขียนการ์ตูน 2 คน ก็มีแนวทางแตกต่างกัน

ส่วนใหญ่ คนเชียนคอลัมน์ในไทยรัฐ โดยเฉพาะฝ่ายการเมือง บอกได้เลยว่า อายุ 50 ขึ้นทุกคน

ดังนั้นความขัดแย้งในอดีต การถูกดูหมิ่นจากนักการเมืองในอดีต การถูกเชือดเฉือนบางเวลา

จึงเป็นที่มาของ ทัศนคติ ที่ไม่ค่อยดีนักกับพรรค ปชป.

แต่ที่เห็นก้ไม่เห็นมีใครทำตัวเป็นศัตรูของประชาธิปัตย์

หากเค้าเห็นว่านักการเมืองอื่น พรรคการเมืองอื่น ที่พอจะเชียร์ได้ เค้าก็เชียร์ได้ ไม่น่ากังขาแต่อย่างใด

เพราะจะว่าไป 30 ปีที่ผ่านมา ปชป. ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในอาณัติของนักการเมืองรุ่นเก่านั่นเอง

เรียกว่า พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ นั่นแหละครับ มวยมันทันกัน ไม่มีไรมาก


กรณีวกกลับมาที่หนุ่มมาร์คผมก็แปลกใจอยู่เหมือนกัน เพราะเล่นเรื่องบารมีพ่อ

ถ้าให้ผมมอง ผมว่าเค้าอยากเชียร์ลูกชายคุณชัช เตาปูนมากกว่า อิ อิ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #96 เมื่อ: 18-12-2007, 22:10 »

เมื่อกี้ คุณกร ทัพรังส้ ให้ข้อมูลบนเวทีหาเสียงว่า เมื่อคราว เลือกตั้งปี 2526

พรรคชาติไทย ได้ สส. มากที่สุด แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล

ดังนั้น การได้เสียงมากที่สุด แต่ไม่เกินครึ่ง ก็ใช่ว่าจะได้เป็นรัฐบาล
บันทึกการเข้า

doctor
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


« ตอบ #97 เมื่อ: 18-12-2007, 22:32 »

เมื่อกี้ คุณกร ทัพรังส้ ให้ข้อมูลบนเวทีหาเสียงว่า เมื่อคราว เลือกตั้งปี 2526

พรรคชาติไทย ได้ สส. มากที่สุด แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล

ดังนั้น การได้เสียงมากที่สุด แต่ไม่เกินครึ่ง ก็ใช่ว่าจะได้เป็นรัฐบาล



ฟังอยู่เหมือนกันครับ เหมือนจะส่งสัญญาณอะไรซักอย่างนะครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #98 เมื่อ: 18-12-2007, 22:58 »

ก็บอกแล้วไง นี่มิใช่ครั้งแรก ที่พรรคที่ได้คะแนนที่ 1 อาจไม่ได้เป็นรัฐบาล

เช่นสมัย อาจารย์ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

เช่นสมัยพรรค ปชป. เฉือน ชาติไทย ในปี 2526

หรือกรณี งูเห่า ฝีมือ เสธ.หนั่น

มันจึงมิใช่เรื่องแปลกใหม่แต่ประการใด สส. ในสส.เลือกใครมากกว่า คนนั้นก็ชนะ
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #99 เมื่อ: 18-12-2007, 23:49 »

เมื่อกี้ คุณกร ทัพรังส้ ให้ข้อมูลบนเวทีหาเสียงว่า เมื่อคราว เลือกตั้งปี 2526

พรรคชาติไทย ได้ สส. มากที่สุด แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล

ดังนั้น การได้เสียงมากที่สุด แต่ไม่เกินครึ่ง ก็ใช่ว่าจะได้เป็นรัฐบาล


ความจริงการเลือกตั้ง 18 เมษายน 2526 พรรคที่ได้ สส.มากที่สุด
คือ กิจสังคม ได้ถึง 92 ที่นั่ง จากจำนวน สส.ทั้งสภา 324 คน

..แต่มีปัญหาคือ มรว.คึกฤทธิ์ หัวหน้าพรรคกลับสอบตก..

พรรคชาติไทยเป็นพรรคที่ได้เสียงรองลงมาคือ 73 ที่นั่ง ตามด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ 56 ที่นั่ง และพรรคประชากรไทย 36 ที่นั่ง
ที่เหลือ 67 ที่นั่งเป็นของพรรคเล็กพรรคน้อยอีก 10 พรรค

ก็เลยต้องถือว่าพรรคที่น่าจะมีสิทธิตั้งรัฐบาล คือพรรคชาติไทย

แต่ในที่สุดกลายเป็นว่า พรรคกิจสังคมจับมือกับประชาธิปัตย์
ทำให้คราวนั้นพรรคชาติไทยต้องไปเป็นฝ่ายค้านครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: 1 [2] 3
    กระโดดไป: