ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 07:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปราสาททรายใต้เกลียวคลื่น 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปราสาททรายใต้เกลียวคลื่น  (อ่าน 1507 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 14-12-2007, 20:40 »

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q4/2007november09p4.htm

อ้างถึง
หน้าต่างความคิด : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว  กรุงเทพธุรกิจ  วันศุกร์ที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

น้ำมันแพงทีไรก็ได้มีเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผุดขึ้นมาเป็นประจำ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเอย นักเศรษฐศาสตร์เอย ต่างทยอยออกมาพูดถึงความสำคัญของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เหตุผลหลักหนีไม่พ้นเรื่องความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งพลังงานทางเลือกของเราเหลืออีกไม่มาก น้ำมันราคาแพง ทำให้ค่าไฟแพง สุดท้ายก็กระทบกับต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของพ่อแม่พี่น้องชาวไทย จากนั้นก็จบลงด้วยการฟันธงว่า ทางออกแบบม้วนเดียวจบ คือประเทศไทยต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แน่นอนว่า กว่าโรงไฟฟ้าจะเกิดขึ้นมาได้ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประเมินความเสี่ยง ความคุ้มค่าในการลงทุน การเลือกทำเลที่ตั้ง การทำประชาพิจารณ์ และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักวิชาการเข้ามาจับ เพื่อให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

ตรงนี้แหละที่น่าห่วง โดยปกติหลักการประเมินความเสี่ยงและความคุ้มค่าในการลงทุน ผู้ประเมินจะต้องตีค่าผลตอบแทน และต้นทุนออกมาในรูปของตัวเงิน เอาความน่าจะเป็นเข้ามาถ่วงน้ำหนักผลได้ผลเสีย เสร็จแล้วเอามาหักลบกลบกันดู ถ้าได้มากกว่าเสียก็ถือว่าโครงการนั้นคุ้มค่า ถ้าเสียมากกว่าได้ โครงการจะนำไปแก้ไข ถูกเก็บเข้ากรุ หรืออาจโดนโละทิ้งไปเลย

หลักการประเมินโครงการแบบนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก เพราะโครงการส่วนใหญ่สามารถตีค่าประโยชน์ และต้นทุนได้ชัดเจน จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า หลักการประเมินโครงการแบบนี้ใช้ได้กับโครงการทุกประเภท แม้กระทั่งโรงงานนิวเคลียร์

ในความเป็นจริงแล้ว หลักการนี้เหมาะกับโครงการที่มีขอบเขตในการลงทุนชัดเจน ต้นทุนสามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงินได้อย่างค่อนข้างถูกต้องแน่นอน มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง และโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ค่อนข้างครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เราไม่ควรเอาหลักการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนแบบที่ใช้กันทั่วไปมาเป็นตัวตัดสินว่าจะ "เอา" หรือ "ไม่เอา" โครงการนี้

เหตุผลสำคัญคือ ถึงแม้ทีมงานประเมินโครงการจะสามารถคำนวณประโยชน์ในรูปของตัวเงินได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ แต่คงไม่มีใคร (โดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์) ในบ้านเมืองเราหรือแม้แต่ในโลกที่เก่งพอจะประเมินต้นทุนรวมที่แท้จริง ของโครงการนี้ได้

ต้นทุนของการมีโรงไฟฟ้าไม่ได้มีเฉพาะค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าเวนคืน ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ความวิตกกังวลของคนที่อยู่ใกล้ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ถือว่าเป็นต้นทุนเหมือนกัน ใครจะบอกได้ว่า การนอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นตอนกลางดึก ความเป็นห่วงเป็นใยสมาชิกในครอบครัวรวมกันแล้วมีค่าสักเท่าไร แม้แต่เจ้าตัวเองยังบอกไม่ได้เลย

นี่ยังไม่นับกรณีเกิดอุบัติเหตุ สมาชิกชมรมคนรักโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักจะบอกเราเสมอว่า โรงงานนี้มีความปลอดภัยสูง โอกาสจะเกิดอุบัติเหตุมีน้อย กากนิวเคลียร์ก็จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่มีทางรั่วไหลออกมาได้ ดังนั้น ตามหลักสถิติแล้ว โอกาสจะเกิดอุบัติเหตุมีน้อยมากจนแทบจะเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์

สมมติว่าบังเอิญโชคร้ายสุดๆ เกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง ความเสียหายจะมากมายขนาดไหน หลายคนน่าจะจำได้ว่า ตอนที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนเบิลเกิดอุบัติเหตุ กัมมันตภาพรังสีลอยไปไกลถึงยุโรป นั่นแสดงว่า ต่อให้เอาโรงงานไปตั้งไว้เหนือสุดที่แม่ฮ่องสอน หรือใต้สุดแถวนราธิวาส หากลมเป็นใจคนกรุงเทพฯ และคนไทยทั่วทุกภาคก็มีโอกาสได้รับกัมมันตภาพรังสีได้พอๆ กัน ลองนึกถึงจำนวนคนที่ต้องเจ็บป่วยล้มตาย ลูกเล็กเด็กแดงรุ่นต่อไปที่ต้องพิกลพิการ แล้วลองถามตัวเองว่า ความเสียหายระดับนี้จะตีค่าออกมาเป็นเงินได้ไหม? ถ้าตีค่าออกมาได้จริงก็คงจะมหาศาล ถึงจะเอาไปถ่วงน้ำหนักด้วยความน่าจะเป็นที่น้อยนิด ต้นทุนก็ยังสูงกว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่ดี

ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน มีฝนตกน้ำท่วมตลอดปี หากเกิดมีการรั่วไหลของกากกัมมันตภาพรังสีไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน ปนเปื้อนแหล่งน้ำสาธารณะ คนเอาน้ำไปใช้เจ็บไข้ได้ป่วย ผักปลาอาหารก็มีการปนเปื้อน ความเสียหายเหล่านี้จะคิดออกมาเป็นเงินได้หรือเปล่า?

ว่ากันตามหลักวิชาการล้วนๆ การวิเคราะห์โครงการจะต้องนำเอาเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งหมดในทุกกรณีมาคิดด้วยเสมอ ไม่ว่าโอกาสจะมีน้อยสักแค่ไหน เพราะโอกาสเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดต้นทุนมหาศาลได้ เชื่อขนมกินได้เลยว่า ทีมประเมินโครงการคงไม่ยอมเอาเหตุการณ์เหล่านี้ไปคิดด้วยแน่นอน เพราะไม่ว่าจะเปิดตำราสักกี่เล่มก็ไม่มีใครบอกได้ว่า ต้นทุนจริงๆ มันจะสักเท่าไรกันแน่

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งน่าคิดคือ เราขาดพลังงานหรือว่าเราบริหารจัดการพลังงานไม่ดีกันแน่? ถ้าเราขาดพลังงานจริง จำเป็นด้วยหรือที่ต้องจบลงด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การยกเอาเหตุผลว่าประเทศพัฒนาแล้วเขามีกันมานานแล้ว ทำไมเราจะมีบ้างไม่ได้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตสำนึกของการเป็นผู้ตาม อยากจะไปอยู่แนวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่เดินตามเขาตลอด อีกกี่สิบกี่ร้อยปีก็ไม่มีทางจะเทียบชั้นกับใครได้ หากศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการเมืองโลกจะพบว่า ประเทศเหล่านี้เป็นใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยการเลิกเดินตามก้น ไม่ยอมให้คนอื่นจูงจมูก รู้จักแสวงหาโอกาสด้วยตัวเอง

จริงอยู่แหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ มีต้นทุนสูง แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองต้องใช้เงินทุนมหาศาลเหมือนกัน หากโรงไฟฟ้าเป็นแผนระยะยาว แสดงว่าเรายังพอมีเวลา ถ้ามีเวลา ก็แสดงว่ายังมีโอกาสมองหาทางเลือกใหม่ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมไม่เอาเงินเหล่านี้มาทุ่มกับการวิจัยและพัฒนาหาทางออกในแบบของเราเอง?

อย่าดูถูกสติปัญญาของคนไทยนะครับ ผมเชื่อว่าบ้านเมืองเรามีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ นักคิดนักวิจัยที่มีวิสัยทัศน์อยู่เป็นจำนวนมาก หากให้การสนับสนุน ให้เวลา ให้โอกาส คงไม่เกินความสามารถของคนเหล่านี้ ที่จะหาทางออกแบบไม่ต้องมาเสียวสันหลังให้กับประเทศได้ เผลอๆ จะถูกกว่าเอาเงินไปจ้างฝรั่งมาสร้างโรงไฟฟ้ามาให้เราเสียอีก หากกล้าจะเอาประเทศไทยเสี่ยงกับโรงไฟฟ้าก็น่าจะกล้าเดิมพันกับคนเก่งในบ้านในเมืองเราเหมือนกัน เสี่ยงน้อยกว่าเยอะ

เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยงระดับมหันตภัยแบบนี้ ไม่ต่างอะไรกับการสร้างปราสาททรายบนชายหาด ตอนลมฝนสงบก็ดูสวยงามดี วันไหนลมแรงคลื่นสูง ปราสาทจะโดนซัดจนเสียหาย จะซ่อมให้เหมือนเดิมคงเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าเกิดโชคร้ายเจอกับสึนามิตูมเดียวปราสาทก็หายวับไปกับตา ไม่ต้องถามว่าชะตากรรมของคนในปราสาทจะเป็นอย่างไร

บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14-12-2007, 20:51 »

เข้ามาดู
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #2 เมื่อ: 14-12-2007, 20:52 »

ผมขี้เกียจเถียงเรื่องนี้แล้วละ

เอาภาคปฎิบัติจริงเลยดีกว่า

มาเถียงในบอร์ดไม่มัน ลงไปหามวลชนเลยดีกว่า
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14-12-2007, 21:10 »

ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน มีฝนตกน้ำท่วมตลอดปี หากเกิดมีการรั่วไหลของกากกัมมันตภาพรังสีไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน ปนเปื้อนแหล่งน้ำสาธารณะ คนเอาน้ำไปใช้เจ็บไข้ได้ป่วย ผักปลาอาหารก็มีการปนเปื้อน ความเสียหายเหล่านี้จะคิดออกมาเป็นเงินได้หรือเปล่า?

มะยมจะออกลูกมาใหญ่เท่ามะพร้าว แบบที่ตะกวดกลายเป็น ก๊อซซิลล่า 555555
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 14-12-2007, 21:23 »

ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน มีฝนตกน้ำท่วมตลอดปี หากเกิดมีการรั่วไหลของกากกัมมันตภาพรังสีไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน ปนเปื้อนแหล่งน้ำสาธารณะ คนเอาน้ำไปใช้เจ็บไข้ได้ป่วย ผักปลาอาหารก็มีการปนเปื้อน ความเสียหายเหล่านี้จะคิดออกมาเป็นเงินได้หรือเปล่า?

มะยมจะออกลูกมาใหญ่เท่ามะพร้าว แบบที่ตะกวดกลายเป็น ก๊อซซิลล่า 555555
และ *** กลายเป็น สมัคร
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 14-12-2007, 21:25 »

และ *** กลายเป็น สมัคร

อันนี้ขำนะเนี่ย อย่าทำบ่อยนะครับ เด๊วหัวเราะไม่หยุด  555
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 14-12-2007, 21:27 »

และ *** กลายเป็น สมัคร

 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #7 เมื่อ: 14-12-2007, 22:23 »

คำถามที่ต้องตอบให้ได้สำหรับผู้สนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็คือ
กรณีเกิดการรั่วไหลของรังสีขึ้น (ไม่ว่ามันจะมีโอกาสเกิดเท่าไหร่
มันก็ไม่ได้มีโอกาสเป็นศูนย์นะครับ เคยรั่วกันมาแล้วหลายหน)

ถามว่าถ้าเกิดการรั่วไหลของรังสีจริงๆ เราสามารถยอมรับได้แค่ไหน
กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สูงสุดที่จะเสียหายคืออะไร และเรา
สามารถรับความเสียหายนั้นได้ไหม?
ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้ก็อย่าคิดสร้างเลยดีกว่าครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 14-12-2007, 22:31 »

คำถามที่ต้องตอบให้ได้สำหรับผู้สนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็คือ
กรณีเกิดการรั่วไหลของรังสีขึ้น (ไม่ว่ามันจะมีโอกาสเกิดเท่าไหร่
มันก็ไม่ได้มีโอกาสเป็นศูนย์นะครับ เคยรั่วกันมาแล้วหลายหน)

ถามว่าถ้าเกิดการรั่วไหลของรังสีจริงๆ เราสามารถยอมรับได้แค่ไหน
กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สูงสุดที่จะเสียหายคืออะไร และเรา
สามารถรับความเสียหายนั้นได้ไหม?
ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้ก็อย่าคิดสร้างเลยดีกว่าครับ 


พูดอย่างนี้ ไม่ถูก เพราะคนสนับสนุนก็มีมากกว่าครับ  คนตายบนโลกมีทุกวัน มันมีหลายสาเหตุ สาเหตุใหญ่ๆก็เอดส์ มะเร็ง

กรณีเชอร์โนบิล ก็มีรายงานของWHO นั่นรั่วไหลจริง เท่าที่เคยเกิดมา ถือว่าร้ายแรงที่สุดแล้ว
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 14-12-2007, 22:33 »




ที่ยังตอบกันไม่ได้ชัดเจน เช่นรายการสารก่อมะเร็ง..และความร้ายแรงของแต่ละชนิด
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #10 เมื่อ: 14-12-2007, 23:06 »

พูดอย่างนี้ ไม่ถูก เพราะคนสนับสนุนก็มีมากกว่าครับ  คนตายบนโลกมีทุกวัน มันมีหลายสาเหตุ สาเหตุใหญ่ๆก็เอดส์ มะเร็ง

กรณีเชอร์โนบิล ก็มีรายงานของWHO นั่นรั่วไหลจริง เท่าที่เคยเกิดมา ถือว่าร้ายแรงที่สุดแล้ว


นั่นแหละครับถ้าเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยเกิดรั่วไหลขึ้นมาเหมือนเชอร์โนบิล
ผมถามว่า ความเสียหายมากที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไร เรารับได้หรือครับ ? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 15-12-2007, 03:26 »



นั่นแหละครับถ้าเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยเกิดรั่วไหลขึ้นมาเหมือนเชอร์โนบิล
ผมถามว่า ความเสียหายมากที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไร เรารับได้หรือครับ ? 

ผมว่ามีกระทู้เดียวก็ดีแล้ว ...ไม่รู้จะดิ้นตั้งหลายกระทู้ทำไม...
บันทึกการเข้า

นกกระสากวนน้ำ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 140


"ผมจะทำให้คนไทยรวยแต่เขือ"


« ตอบ #12 เมื่อ: 15-12-2007, 03:49 »


เรื่องการรั่วไหลของสารกััมมันตรังสี  ไม่น่าจะมีปัญหาเฉพาะกรณีปฎิกรณ์นิวเคลียส์หรอก
จำไม่ได้เหรอเรื่อง"ซาเล้งกะPokไหม้้" ?
...เหตุเพราะกัมมันตรังสีเหมือนกัน
แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันกับนิวเคลียส์สักนิด

ถ้าจะไม่เหมาะสมกับเมืองไทย
ก็น่าจะเป็นเพราะสันดานคนไทย
โดยเฉพาะ"ความมักง่าย"ของพวก"รากเน่า-อยากกระเด้าในท่าของคนรวย"
และ"ความมักมาก"ของพวก"นายทวยหัวคุน"
ที่ไม่ว่าจะรวมตัวกันเมื่อไหร่  ก็กลายเป็น"ไทยรักไทย-พลังประชาชน"
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยม
คือ  การปกครองที่ผู้คนจำนวนน้อยซึ่งมีสติและความรับผิดชอบ จำต้องอดทนและรับผลกรรมจากกระทำของผู้คนจำนวนมากกว่าซึ่งไม่เคยรู้สึกรู้สาและจมปลักอยู่กับตัณหาทิฐิ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 15-12-2007, 03:54 »

เรื่องการรั่วไหลของสารกััมมันตรังสี  ไม่น่าจะมีปัญหาเฉพาะกรณีปฎิกรณ์นิวเคลียส์หรอก
จำไม่ได้เหรอเรื่อง"ซาเล้งกะPokไหม้้" ?
...เหตุเพราะกัมมันตรังสีเหมือนกัน
แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันกับนิวเคลียส์สักนิด

ถ้าจะไม่เหมาะสมกับเมืองไทย
ก็น่าจะเป็นเพราะสันดานคนไทย
โดยเฉพาะ"ความมักง่าย"ของพวก"รากเน่า-อยากกระเด้าในท่าของคนรวย"
และ"ความมักมาก"ของพวก"นายทวยหัวคุน"
ที่ไม่ว่าจะรวมตัวกันเมื่อไหร่  ก็กลายเป็น"ไทยรักไทย-พลังประชาชน"


คงยอมให้คนไทยใช้นิสัยเดิมๆ แก้ปัญหาของชาติไม่ได้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15-12-2007, 04:09 »


คอร้ปชัน นี่ต้องแก้ให้ได้มากที่สุด

การถกเถียงกันเอง ก็ต้องมีจิตสำนึก ไม่คิดเอาเปรียบคู่สนทนา

สือสารกระจายออกไปแล้ว ที่แก้ไขยากที่สุดคือชาวบ้านที่แตกตื่น..

เล่นพรรคเล่นพวก ไม่อย่างนั้นจะได้ข้อมูลเข้าใจผิดๆกระจายไปในระดับชาวบ้าน

แล้วก็เอามาปลุกปั่นเพื่อผลประโยชน์หรือความคิดทางการเมืองอีกที


เรื่องง่ายที่สุดเช่น หวยใต้ดินจึงเลิกไม่ได้ ถ้ายังเป็นอย่างนี้ประชานิยมและปัญหาความยากจนก็จะแก้ไม่ได้

ถูกนักการเมืองและนายทุนเอาเปรียบ เพราะความดื้อรั้นในทางที่ผิดของคนไทยส่วนใหญ่เอง

ในระดับนักวิชาการไทยก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา ต้องแก้รากเหง้านิสัยวิธีคิดและความเชื่อครับ


เสรีภาพต้องมีขอบเขต ต้องมีจิตสำนึก..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-12-2007, 04:13 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 15-12-2007, 05:30 »


ผมว่ามีกระทู้เดียวก็ดีแล้ว ...ไม่รู้จะดิ้นตั้งหลายกระทู้ทำไม...

เอาน่า คุณเองก็ตั้งทีละหลาย ๆ กระทู้ โพสท์ตอบทีละบรรทัด หลาย ๆ ครั้งในเวลาติด ๆ กัน ตั้งเองตอบเองบ้าง ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร หยวน ๆ กันไปเถอะ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15-12-2007, 06:04 »



เอาน่า คุณเองก็ตั้งทีละหลาย ๆ กระทู้ โพสท์ตอบทีละบรรทัด หลาย ๆ ครั้งในเวลาติด ๆ กัน ตั้งเองตอบเองบ้าง ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร หยวน ๆ กันไปเถอะ

นี่มันประเด็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ล้วนๆ เวลาวันเดียวกันด้วย..

แปลว่าอะไร?
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 15-12-2007, 06:07 »


เอาน่า คุณเองก็ตั้งทีละหลาย ๆ กระทู้ โพสท์ตอบทีละบรรทัด หลาย ๆ ครั้งในเวลาติด ๆ กัน ตั้งเองตอบเองบ้าง ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร หยวน ๆ กันไปเถอะ

ส่วนของผมถ้าคิดว่าผิดระเบียบต้องการเปลี่ยนบรรทัดฐาน ปรึกษากันได้

บางที่ตอบยาวก็ไม่ได้อะไร? แต่คงไม่ใช่คำเดียว จริงไม่จริง?
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: