ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 15:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คำตัดสินคดี ปตท. ในวันนี้ คือแนวทางคำตัดสินคดีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในวันหน้า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 [10]
คำตัดสินคดี ปตท. ในวันนี้ คือแนวทางคำตัดสินคดีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในวันหน้า  (อ่าน 39694 ครั้ง)
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #450 เมื่อ: 19-12-2007, 10:02 »

อันนั้นคุณคิดเอง อีกฝ่ายเขาคงไม่เห็นด้วยหรอก เขาก็มีนิยามคำว่า "คนดี" ของเขาเองซึ่งไม่เหมือนของคุณ


อ้า  คนดี  แบบว่า  โกง นิดหน่อย ก็ไม่เป็น ไร  แต่ขอให้ทำงาน

หรือ  แบบว่า   โกง มา ไม่เป็นไร  แต่ แบ่งมาให้ ตรู ใช้มั่ง

หรือ แบบว่า  เอ็งโกง ได้ ตรู ก็ โกงได้ มั่ง

หรือ แบบว่า  โกงแบบบูรณาการ ... ฯลฯ

แบบนี้  โทษตายสถานเดียว

ยังจำ speech  คุณ อนันต์ ปันยารชุน ได้ แต่ หาไฟล์ไม่เจอ นะ ท่านพูดทำนองว่า

โกง  บาท เดียว ก็ โกง ไม่ใช่ โกงน้อยได้ โกงมากไม่ได้  ทำนองนี้  เป็น misconcept  ภาษาพระบอก
มิจฉาทิฐิ นะ

และ คำว่า  ดี  --------------- มีคำนิยามเดียว  นะ หมายความว่า  มีหลายความหมาย แต่ คือ  สัมมา...----

 
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #451 เมื่อ: 19-12-2007, 10:08 »

เรื่องเยอรมันถ้าเป็นแบบคุณ sleepless ว่า มันก็น่าแปลกนะ
หรือเกี่ยวกับเรื่องการเมือง (อาวุธนิวเคลียร์)
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
ใบไม้ทะเล
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,321


In politics stupidity is not a handicap


« ตอบ #452 เมื่อ: 19-12-2007, 10:20 »

คำตัดสินคดี ปตท. ในวันนี้ คือแนวทางการโต้เถียงที่เสรีไทยในวันหน้า 

หนุกดีค่ะ เข้ามาบอกว่าคอยอ่านเสมอ พอดีเรื่องนิวเคลีย หนูอนาไม่รู้ รู้แต่ระเบิดอะตอมมิกบอมที่ลงฮิโรชิมาอ่ะค่ะ

โรงไฟฟ้าที่นี่เยอะนะค่ะ เมื่อไม่นานเกิดแผ่นดินไหว มีรั่วนิดโน้ย แต่เขาก็คุมอยู่มั่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเทศญี่ปุ่นกับไทย มันต่างกันมากค่ะ ตราบใดแค่โรงไฟฟ้าจากเขื่อนหรือถ่านหิน ยังคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนไม่ได้ อย่าไปคิดถึงโรงไฟฟ้านิวเคีร์ย เลยนะค่ะ

เอารูปฮโรชิมา เมื่อไปเที่ยวมาฝากค่ะ






บันทึกการเข้า

立てばしゃくやく、座ればぼたん、歩く姿はゆりの花
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #453 เมื่อ: 19-12-2007, 16:11 »

ใจเย็นๆ โชคดีที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้คุยกันได้โดยไม่ต้องเจอตัว ไม่งั้นได้ฆ่ากันตายไปก่อนได้เจอนิวเคลียร์แน่ 

ประเทศไทยเป็นของทุกคน แต่ละคนก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของลูกหลานในอนาคค
ผมว่าแต่ละคนในที่นี้ก็รู้ดีเท่าๆ กันว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฝรั่งมันพัฒนามาพอสมควร และก็มีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไปมากมายจนระบบปัจจุบันน่าจะปลอดภัยกว่าระบบแรกๆ มากแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ระดับความปลอดภัยที่ว่า มันก็ยังไม่ถึง 100% อยู่ดี สิ่งที่อีกหลายคนในที่นี้เป็นห่วง ไม่ใช่ว่าจะ paranoid อะไรหรอก ระดับความปลอดภัยที่คนหนึ่งเห็นว่าปลอดภัยอาจจะไม่ใช่ระดับที่อีกคนหนึ่งเห็นว่าปลอดภัยก็ได้

ผมขับรถในเมือง 60-80กม/ชม ผมก็ว่าผมขับเร็วแล้ว เร็วกว่านี้มันเสียว แต่แท๊กซี่ที่จี้ตูดตามหลังมา มันคิดว่าผมขับช้าอย่างกะเต่า (ไม่รู้มันจะขับรถหาลูกค้า หรือขับรถแข่งกันแน่) และผมจะไม่ยอมขับให้เร็วไปกว่านี้เพื่อให้แท๊กซี่ข้างหลังสบายใจแน่นอน (มันชีวิตผมนี่ ไม่ใช่ชีวิตเขา)

ฉันใดก็ฉันนั้น บางคนอาจจะบอกว่าเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มันปลอดภัยระดับ 90+% ปลอดภัยเพียงพอที่จะนำมาใช้ แต่สำหรับคนอื่นๆ 90+% มัน "ไม่ปลอดภัยเพียงพอ" และเขาน่าจะมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ ตราบเท่าที่ยังมี "ทางเลือก"

หากมันไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว แน่นอนทุกคน (แม้แต่ในเยอรมัน) ก็ย่อมจำยอมใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ผมว่าในนี้ทุกคนไม่เคยมีใครเคย operate โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก่อนหรอก รู้แบบงูๆ ปลาๆ เหมือนกันทุกคนนั่นแหล่ะ ข้อมูลส่วนใหญ่ก็หาอ่านจากในอินเตอร์เน็ตเนี่ยแหล่ะ มีทั้งจริงบ้าง เท็จบ้าง แล้วแต่ว่าฝ่ายใหนเป็นฝ่ายเขียน และก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งถูกโปรแรกมมาให้เชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากจะเชื่อ ดังนั้น สำหรับคนที่เห็นด้วยมาก่อนกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็จะอ่านและศึกษาแต่เรื่องที่สนับสนุนความเห็นของตนเองว่าโรงไฟฟ้านี้ปลอดภัยมาก และอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่ำ แต่สำหรับคนที่แขยงกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก่อน ก็จะคอยหาแต่ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ และประเทศไหนเลิกใช้ไปแล้วบ้าง

สำหรับผม เป็นประเภทหลัง ผมไม่เคยขับรถเกิน 80 ในเมือง ก่อนหน้านี้ ยังไม่กลัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เท่าไหร่ สองสามวันนี้มาเจอกระทู้นี้เข้า เลยไปดูตามเว็บต่างๆ เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย ผมเลยอาศัยดู side effect จากประเทศที่เคยใช้แล้วเป็นหลัก และที่สะดุดความรู้สึกมากมีสองประเทศคือ ฝรั่งเศส ที่มีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันเป็นว่าเล่น กับ เยอรมัน ที่ประกาศยกเลิกและเริ่มทยอยปิดโรงงานที่มีอยู่ ทั้งๆ ที่ผลโหลตออกมาว่าคนเยอรมันต้องการให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อ

ประเทศฝรั่งเศสผมไม่แคลงใจ เพราะรัฐบาลตัดสินใจไปทางเดียวกับที่ประชาชนต้องการ

แต่ที่เยอรมันนี่สิที่ทำให้ผมเสียว (จะหาว่า paranoid ก็ตามใจ) รัฐบาลมันดันมีนโยบายสวนทางกับความต้องการของประชาชน และทั้งๆ ที่เยอรมันมีเทคโนโลยีในด้านนี้ที่ไม่แพ้ใคร เป็นหนึ่งในผู้ขายด้วยซ้ำ และยิ่งบอกว่ามันมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ และปลอดภัยระดับสุดยอดอีก ผมอธิบายด้วยตรรกะไม่ได้ว่าทำไมเยอรมันถึงได้ตัดสินใจแบนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศของตนเอง

ผมไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรอก ไม่รู้ว่าอันไหนเอาไปต้มน้ำปั่นไฟได้ อันไหนปั่นไม่ได้ แต่ที่มีความรู้มาคือเรื่องทางด้านวิศวกรรม เยอรมันไม่เป็นสองรองใครแน่ และขนาดเยอรมันมันยังไม่ยอมใช้ของที่มันเองเป็นผู้ผลิตเลย แล้วผมจะเดินไปขอซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากมัน แล้วบอกคนเยอรมันว่า "คุณโง่อิ๋บหาย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลอดภัยจะตาย คุณไม่ใช้ ผมใช้เอง" อันนี้ผมรับรองว่าคนที่ขับรถช้าๆ อย่างผมคงไม่กล้าทำแน่ ใครจะหัวเราะเยาะก็ตาม 

สรุปคือ ทุกคนในกระทู้นี้ไม่มีใครผิด ใครถูกหรอกครับ เรื่องความปลอดภัยมันเป็นเรื่องสัมพัทธ์ เช่นเดียวกับการที่สองฝ่ายนั่งเถียงกันว่าทักษิณเป็นคนดีหรือเลวนั่นแหล่ะ 

ค่ะ หนึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันคือ อันตรายมากน้อยแค่ไหน

ส่วนอีกประเด็นคือ จำเป็นหรือไม่ และความต้องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น เพื่อใคร หรือเพื่ออะไรกันแน่

ดูตัวอย่างค่า FT ที่ปล้นประชาชนอยู่ในทุกวันนี้สิคะ  ธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นตัวทำให้เกิดความต้องการไฟฟ้าจนเกินกำลังการผลิตพิ้นฐานที่มี จึงต้องใช้พลังงานที่มีราคาไม่แน่นอน  แต่ภาระนั้นผลักมาให้ประชาชนทั้งประเทศ

เหมือนที่กำลังจะผลักความเสี่ยง อันตราย และเอาเงินของประชาชนไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ามหาภัยนี้ เพื่อนายทุนค่ะ   
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #454 เมื่อ: 19-12-2007, 17:55 »


 


ครับทุกวันนี้ประชาชนก็รับภาระจนหลังแอ่นอยู่แล้ว

ไปถามประชาชนดีกว่า อย่าไปชี้นำประชาชนนอกเขตของตนในทางที่ผิดครับ..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #455 เมื่อ: 19-12-2007, 17:56 »




ครับทุกวันนี้ประชาชนก็รับภาระจนหลังแอ่นอยู่แล้ว

ไปถามประชาชนดีกว่า อย่าไปชี้นำประชาชนนอกเขตของตนในทางที่ผิดครับ..


ลืมไปขอแถมให้จขกท...
บันทึกการเข้า

ใบไม้ทะเล
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,321


In politics stupidity is not a handicap


« ตอบ #456 เมื่อ: 19-12-2007, 17:58 »

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลุงคิวมาแล้ว

มวยยกที่หนึ่งเริ่มได้ ............

ให้เสียงๆๆ ............. แอ อิแอ่แอ..........


บันทึกการเข้า

立てばしゃくやく、座ればぼたん、歩く姿はゆりの花
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #457 เมื่อ: 19-12-2007, 18:03 »




ครับทุกวันนี้ประชาชนก็รับภาระจนหลังแอ่นอยู่แล้ว

ไปถามประชาชนดีกว่า อย่าไปชี้นำประชาชนนอกเขตของตนในทางที่ผิดครับ..

ผมโดนยัดหัวเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาตั้งกะเด็กแล้วครับ 555
จากการทำการ์ตูนของ การไฟฟ้า
ไม่รู้ทุกวันนี้มันก็ยังยัดอยู่ 5555
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #458 เมื่อ: 19-12-2007, 18:05 »

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลุงคิวมาแล้ว

มวยยกที่หนึ่งเริ่มได้ ............

ให้เสียงๆๆ ............. แอ อิแอ่แอ..........



ผมโดนยัดหัวเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาตั้งกะเด็กแล้วครับ 555
จากการทำการ์ตูนของ การไฟฟ้า
ไม่รู้ทุกวันนี้มันก็ยังยัดอยู่ 5555



 
บันทึกการเข้า

ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #459 เมื่อ: 04-01-2008, 12:27 »

จะมาบอกว่า กาต้มน้ำผม ปั่นไฟไม่ได้แล้วครับ มันเสีย
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #460 เมื่อ: 04-01-2008, 13:23 »

ถ้าเป็นแนวโน้มในอนาคตในการหาพลังงานทดแทนพลังงานน้ำมันซึ่งใช้เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว พลังงานนิวเคลียก็เป็นสิ่งที่น่าเลือกเป็นอันดับแรกหากควบคุมได้ดี ทั้งนี้เพราะให้พลังงานมหาศาล เหมาะที่จะรองรับการขยายตัวของเมือง เศรษกิจ อย่างยิ่ง

ไม่งั้นก็ต้องหาพลังงานธรรมชาติมาทดแทน สร้างกังหันลมเยอะๆแบบในยุโรปบางประเทศก็เจ๋งดี แต่ก็จะมีปัญหาอื่นตามมาอีกกับพวกฝูงนกหรือเครื่องบิน
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #461 เมื่อ: 11-01-2008, 15:13 »



ครม.อังกฤษเห็นชอบสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่
 
11 มกราคม พ.ศ. 2551 09:32:00
 
คณะรัฐมนตรีอังกฤษมีมติสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีกหลายแห่ง เพื่อหวังลดพึ่งพาน้ำมันต่างชาติและลดโลกร้อน ขณะที่โรงไฟฟ้าเก่าหลายแห่งใกล้ถึงกำหนดปิดตัว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รัฐบาลอังกฤษมีมติเห็นชอบเมื่อวันพฤหัสบดีให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่อีกหลายแห่ง โดยให้เหตุผลว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์จะช่วยลดปัญหาโลกร้อน และสร้างความมั่นใจว่าประเทศจะมีพลังงานเพียงพอสำหรับความต้องการในภาวะที่โลกไร้เสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

นายจอห์น ฮัตตัน รัฐมนตรีพลังงาน แถลงต่อสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ปลอดภัย รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ในขณะที่อังกฤษกำลังจะถึงจุดเปลี่ยนจากการผลิตเชื้อเพลิงเองเป็นส่วนใหญ่เป็นต้องนำเข้าและน้ำมันและก๊าซจากต่างประเทศภายในปี 2563 เพราะปริมาณน้ำมันและก๊าซในทะเลเหนือกำลังจะหมดลง ซึ่งจะทำให้ประเทศเผชิญความเสี่ยงต้องพึ่งพาน้ำมันจากต่างชาติในขณะที่หลายพื้นที่ของโลกไม่มีเสถียรภาพ

นายฮัตตัน คาดว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ซึ่งจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งหมดจะสามารถเปิดดำเนินการได้ก่อนปี 2563 และขณะนี้บริษัทในฝรั่งเศสและเยอรมนีให้ความสนใจที่จะลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในอังกฤษ

ปัจจุบันปริมาณไฟฟ้าเกือบ 1 ใน 5  ที่ใช้ในอังกฤษมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่โรงไฟฟ้าที่สร้างล่าสุดเปิดขึ้นตั้งแต่ปี 2538 และโรงไฟฟ้าทั้งแบบพลังนิวเคลียร์และแบบพลังถ่านหินเกือบทุกแห่งจะต้องถูกปิดภายในปี 2566 
 
 
บันทึกการเข้า

ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #462 เมื่อ: 12-01-2008, 01:48 »

เอาข่าวมาแปะให้อ่านกันเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ


จากนี้ไปคำถามเรื่องสร้าง-ไม่สร้าง "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" ไม่ใช่เพียงหัวข้อสนทนาใน "สภากาแฟ" อีกต่อไป จากวิกฤติพลังงานที่ลดน้อยและแพงขึ้นมหาศาลผลักดันให้คนไทยต้องมายืนตรงปากทางระหว่าง "เอา" หรือ "ไม่เอา" ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่าจำเป็น ขณะที่ฝ่ายคัดค้านมองเห็นความน่าสะพรึงที่จะตามมา
       
       การถกเถียงเรื่องนี้ดังขึ้นและชัดเจนขึ้นเมื่อ “แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2550-2564” (พีดีพี 2007) ของกระทรวงพลังงานผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยแผนดังกล่าวเสนอ 9 ทางเลือกในการหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ของไทยให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ในปี 2563 อีกทั้ง ครม.ยังเห็นชอบให้ตั้งสำนักงานโครงการไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งใช้งบประมาณแผ่นดิน 1,800 ล้านบาทในการดำเนินงานระหว่างปี 2551-2553 เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       
       นับเป็นการผลักดันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยคนไทยมีเวลา 3 ปีในการรับรู้ข้อมูลทั้งด้านบวกและลบก่อนจะตัดสินใจ "รับ" หรือ "ไม่รับ" อย่างเป็นทางการ
       
       ลดโลกร้อน-ต้นทุนต่ำ-ความมั่นคงพลังงานลงตัวที่ "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
       
       ทำไมต้องเป็น "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" คงเป็นคำถามที่หลายคนข้องใจซึ่งฝ่ายที่เห็นว่านิวเคลียร์คือคำตอบนั้นได้ชี้แจงว่าเป็นความต้องการความมั่นคงทางพลังงานที่ต้องใช้พลังงานอย่างผสมผสาน (energy mixed) โดยปัจจุบันไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในสัดส่วน 70% และยังไม่สามารถคาดการณ์ราคาเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมที่ราคาถีบสูงขึ้นทุกวัน ขณะเดียวกันแหล่งพลังงานลดลงสวนทางความต้องการใช้พลังงานก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยคาดว่าอยู่ในอัตราเฉลี่ยปีละ 5-6% ซึ่งบังคับให้ต้องเลือกใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเลี่ยงไม่ได้
       
       คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าของปี 2550 อยู่ที่ 22,000 เมกะวัตต์และเชื่อว่าต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และตามแผนพีดีพีนั้นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ 25,000 เมกะวัตต์ภายในอีก 15 ปี ในปริมาณนั้นเป็นกระแสไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์และพลังงานทดแทน 1,700 เมกะวัตต์ แต่ส่วนจะหันไปพึ่งพิงพลังงานทดแทนอย่างเดียวตามที่หลายฝ่ายสนับสนุนมานั้นบุคลากรในกระทรวงพลังงานชี้แจงว่า พลังงานทางเลือกนั้นไม่สามารถตอบสนองอุตสาหกรรมและธุรกิจบางประเภทที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าคงที่ อีกทั้งคาดว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกจะไม่เป็นไปตามเป้า 8% ของการใช้ในประเทศในปี 2554 โดยปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ 4-5% ขณะที่ประเทศซึ่งมีความก้าวหน้ากว่าไทยก็ทำได้เต็มที่เพียง 10%
       
       เรื่องโลกร้อนเป็นอีกจุดขายหนึ่งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าพลังงานอย่างถ่านหิน แต่ก็มีเสียงโต้แย้งมาว่าระหว่างการทำเหมืองยูเรเนียมซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นก็ได้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปกับการเผาไหม้ของเครื่องยนต์กลไกต่างๆ และมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีระหว่างการทำเหมืองด้วย และหลังจากใช้งานในโรงไฟฟ้าก็จะเหลือเป็นกากนิวเคลียร์ที่ไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงได้อีกแต่ยังสามารถแผ่รังสีได้จึงเป็นปัญหาที่ต้องหาแหล่งเก็บให้ปลอดภัย
       
       ต้นทุนต่ำจริงหรือ? หากรวมค่าเสียโอกาส
       
       ราคาของต้นทุนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่คำนวณว่าน่าจะอยู่ที่หน่วยละ 2.08 บาทก็เป็นอีกแรงจูงใจของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แม้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายพลังงานจะยอมรับว่าต้นทุนของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้นสูงกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างกรีนพีซก็ได้ออกโรงโต้พร้อมกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะผ่านรายงาน "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์: อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ" ว่าต้นทุนจริงๆ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ที่ค่าเสียโอกาสเป็นสำคัญ
       
       หากค่าเสียโอกาสอยู่ที่ 5% ต้นทุนกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จะอยู่ที่หน่วยละ 1.71-2.00 บาท ซึ่งแข่งขันได้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่หากค่าเสียโอกาสเพิ่มขึ้นไปเป็น 10% ต้นทุนจะขึ้นไปเป็นหน่วยละ 2.38-2.84 บาทซึ่งไม่สามารถแข่งขันได้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ทั้งยังมีปัญหาเรื่องงบบานปลายเนื่องจากต้องดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัย ยกตัวอย่างอินเดียที่ต้องลงทุนกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่ม 2-4 เท่า
       
       อีกประเด็นที่น่าสนใจนั่นคือการแสวงหาลูกค้าใหม่ของบริษัทรับจ้างผลิตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ข้ามชาติ สถิติที่มีการพูดถึงคือการชะลอตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดใหม่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ขณะที่บางประเทศอย่งเยอรมนีก็ตั้งเป้าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในปี 2564 และมือสำรวจรายชื่อประเทศที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ก็ล้วนเป็นประเทศที่ในแถบเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย หรือแม้กระทั่งเวียดนามก็ตั้งเป้าสร้างโรงไฟฟ้าในปี 2563 เช่นเดียวกับไทย และกลายเป็นตัวเปรียบหนึ่งในการนำเสนอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       
       เทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยแต่ยังหนีปัญหารั่วไหวไม่พ้น
       
       ในเรื่องความปลอดภัยของของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการันตีจากฝ่ายสนับสนุนว่าเทคโนโลยีได้ก้าวหน้ากว่าเมื่อครั้งเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่รัสเซียระเบิดไปมากโข โดยเรียนรู้ข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุในอดีตทำให้ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พัฒนาสู่ยุค 3 ซึ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยในโรงไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติ และกำลังจะก้าวไปสู่ยุค 3+ ที่เน้นสร้างกระแสไฟฟ้าและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น
       
       ทั้งนี้มีโรงไฟฟ้าที่นิยม 3 ประเภทคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressure Water Reactor: PWR) ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 66.1% โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor: BWR) ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 20.0 % และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก (Pressurized Heavy Water Reactor: PHWR) หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แคนดู (Candu) ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 6.0%
       
       กรณีอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผ่านมาทั้งเล็กและใหญ่มักเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของมนุษย์ หากย้อนดูสถิติในช่วงปี 2542-2550 ก็จะพบว่าเกิดอุบัติเหตุกับโลกไฟฟ้านิวเคลียร์เฉลี่ยเกือบทุกปี อาทิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชิกะของญี่ปุ่นที่แท่งควบคุมหล่นระหว่างเตรียมทดสอบทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นทันทีเมื่อปี 2542 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แพกส์ (Paks) ของฮังการีที่เกิดกัมมันตรังสีรั่วไหลในโรงไฟฟ้าเมื่อปี 2546 หรือโรงไฟฟ้าเบรควูดส์ในสหราชอาณาจักรเกิดการปนเปื้อนของตริเตียมในแหล่งน้ำใต้ดินจากเมื่อปลายปี 2549 เป็นต้น
       
       ล่าสุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาชากิของญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็เกิดการรั่วไหลของน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวใกล้เตาปฏิกรณ์ ซึ่งกรณีหลังแสดงให้เห็นว่าแม้จะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองแต่ได้ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาอย่างรัดกุมนั้นจะรองรับอุบัติเหตุได้มากน้อยเพียงใด
       
       แม้ว่าจะไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใดใช้เทคโนโลยีเดียวกับเชอร์โนบิลแล้วแต่อุบัติเหตุเมื่อ 20 กว่าปีได้ทำให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 28 ชีวิตที่จบลงในในเหตุการณ์ครั้งนั้น 14 ประเทศในยุโรปเกิดการปนเปื้อนซีเซียม-137 ในสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกัมมันตรังสีที่เล็ดลอด ออกมาจากอุบัติเหตุและได้เกิดผลกระทบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจทั่วโลก และบางพื้นที่ของการปนเปื้อนยังไม่ปลอดภัยไปอีกหลายร้อยปี องค์การอนามัยโลกประเมินผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเนื่องด้วยอุบัติเหตุดังกล่าวในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจริงๆ 90,000 คน ส่วนกลุ่มกรีนพีซประเมินว่าทั่วยุโรปมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 6.5 ล้านคน สิ่งที่กลัวของโรงไฟฟ้าประเภทจึงไม่เพียงอุบัติเหตุหากแต่เป็นความเสียหายที่ยากแก่การประเมินได้แน่ชัด
       
       คุณภาพ "คน" น่าห่วงกว่าเทคโนโลยี
       
       ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบการเตรียมกำลังคนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยกล่าวว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้า 1 โรงนั้นต้องใช้กำลังคนราว 4,000-5,000 คน จากนั้นจำนวนกำลังคนในการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าเหลือ 500 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าว 30-40 คนเป็นผู้ที่ดูแลการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาจจะเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์โดยหรืออาจจะเป็นผู้ที่มีความในสายวิทยาศาสตร์อื่นๆ ก็ได้ เช่น ฟิสิกส์ เคมี สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องได้ได้รับการฝึกอบรมก่อนควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนกำลังที่เหลือก็แบ่งเป็น อาทิ เจ้าที่ฝ่ายกฎหมาย ธุรการและฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
       
       "ปัจจุบันเรามีวิศวกรนิวเคลียร์หลายร้อยคน โดยส่วนใหญ่จบปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสาขานิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งมีสอนอยู่แห่งเดียวในไทย บางส่วนก็จบจากเมืองนอก ซึ่งวิศวกรเหล่านี้สามารถที่จะเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ เนื่องจากได้ฝึกซ้อมการใช้เครื่องปฏิกรณ์ที่บางเขนอยู่แล้ว เป็นการฝึกคำนวณปริมาณเชื้อเพลิง การเปลี่ยนตำแหน่งเชื้อเพลิงซึ่งวิศวกรนิวเคลียร์จำเป็นต้องทำในโรงไฟฟ้าทุกวัน แม้จะเล็กกว่าแค่ 2 เมกกะวัตต์แต่ก็คล้ายกันเหมือนรถยนต์เครื่องเล็กกับเครื่องใหญ่" ดร.สมพรกล่าว
       
       อย่างไรก็ดีนอกจากกำลังของเครื่องปฏฺกรณ์ที่แตกต่างกันหลายเท่าแล้ว เครื่องปฏิกรณ์ของ สทน.ซึ่งตั้งอยู่ที่บางเขนยังเป็นเครื่องปฏิกรณ์วิจัยที่ต้องการประยุกต์ใช้ประโยชน์รังสีจากปฏิกิริยาที่แกนเครื่องปฏิกรณ์และระบายความร้อนทิ้ง ขณะที่เครื่องปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องปฏิกรณ์กำลังที่ให้ความร้อนเป็นสำคัญ ซึ่งความแตกต่างนี้เคยใช้เป็นข้อเปรียบเทียบเพื่อการยอมรับเครื่องปฏิกรณ์วิจัยของศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ที่อื้อฉาว ดังนั้นประชาชนจะมั่นใจได้แค่กับประสบการณ์ของวิศวกรณ์นิวเคลียร์ที่ฝึกปรือฝีมือบนเทคโนโลยีที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
       
       แม้หลายคนจะยืนยันถึงความปลอดภัยในเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ปัญหาสำคัญของความเชื่อมั่นที่คนไทยมีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พุ่งไปที่ "คน" มากกว่า จากบทเรียนอันเจ็บปวดซ้ำซากแม้จะเป็นคนละเรื่องแต่ก็สะท้อน "วัฒนธรรมแบบไทยๆ" ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกรณี "รันเวย์ร้าว" ที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิหรือกรณี "เครื่องปฏิกรณ์" ของศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ที่เป็นเพียงเครื่องปฏิกรณ์วิจัยและมีกำลังแค่ 10 เมกะวัตต์ก็ไม่สามารถสร้างให้แล้วเสร็จได้
       
       การกำจัดกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นอีกเรื่องใหญ่ที่จะติดตามโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาเป็นเงา แม้ฝ่ายสนับสนุนจะชี้แจงว่าปริมาณกากนิวเคลียร์นั้นน้อยนิดเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมหาศาล อย่างสหรัฐฯ ซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับปัญหากากยูเรเนียม 55,000 ตันที่ต้องนำไปฝังในอุโมงค์ลึกใต้ภูเขาตั้งแต่ปี 2541 แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการได้ และยิ่งเป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับไทยที่เคยประสบเหตุการณ์ "โคบอลต์ 60" อันสะท้อนภาพของความหละหลวมในการกำกับดูแลกากกัมมันตรังสีแม้ในปริมาณน้อยนิด
       
       เวลานี้ปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับคนไทยจึงไม่ใช่เรื่องความปลอดภัยของเทคโนโลยีหากแต่เป็นความปลอดภัยบนพื้นฐานของการบริหารจัดการ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นกันเองแล้วว่าเรามีความสามารถในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #463 เมื่อ: 12-01-2008, 01:50 »

เพิ่มเติมข้อมูลอีกนิดครับ 


นักวิจัยนิวเคลียร์ฝรั่งเศสเผย ประชากร 4,000 ล้านคนทั่วโลกต่างได้อานิสงส์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลายชาติในเอเชีย–ออสเตรเลียมียูเรเนียมเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ย้ำหลายประเทศสนใจก่อสร้างและขยายกำลังการผลิต รวมถึงเวียดนามและอินโดนีเซีย ส่วนไทยยังอยู่ระหว่างการศึกษาความจำเป็น
       
       นายอแลง ทูวร์โนล ดูว์ คลอส (Alain Tournyol Du Clos) อดีตนักวิจัยจากสำนักงานปรมาณูฝรั่งเศส กล่าวถึงสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกว่า ในกว่า 30 ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วจะผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์กว่า 21% ของความต้องการในประเทศ
       
       ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีส่วนแบ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกกว่า 16% และเป็น 7% เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทั้งหมดของโลก โดยมีประชากรโลกที่ได้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 2 ใน 3 หรือ 4,000 ล้านคนทั่วโลก
       
       ปัจจุบัน นานาชาติมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว 440 โรง แบ่งเป็น 147 โรงใน 13 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 104 โรงในสหรัฐอเมริกา และอีก 105 โรงในเอเชีย โดยมีที่กำลังก่อสร้างเพิ่ม 30 แห่ง และมีแผนการสร้างแน่นอนแล้วอีก 35 แห่ง
       
       ด้านเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ “ยูเรเนียม” มีปริมาณกว่า 2.6 ล้านตันทั่วโลก ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียมีประเทศออสเตรเลียครอบครองยูเรเนียมมากที่สุดของโลกที่ 27% ของทั้งหมด รองลงมาคือ คาซัคสถาน 14.3% รัสเซีย 5% อุสเบกิสถาน 2.2% และมองโกเลีย 1.7%
       
       “ญี่ปุ่นจะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์อีก 21 กิกะวัตต์ใน 5 ปีข้างหน้า เกาหลีจะขยายเพิ่มอีก 9 กิกะวัตต์ในปี พ.ศ.2558 ส่วนสหรัฐฯ มีแผนสร้างโรงไฟฟ้ากว่า 1,500 โรงในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างน้อย 50 กิกะวัตต์ ขณะที่รัสเซีย อินเดีย จีน จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์อีกมากภายในปีเดียวกัน” นายอแลงกล่าว
       
       นายอแลง เผยด้วยว่า ในระยะหลังมีหลายประเทศที่เพ่งความสนใจไปที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยกัน ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง อาทิ บราซิล แอฟริกาใต้ แคนาดา ยูเครน สหราชอาณาจักร และโปแลนด์ ที่มีแผนจะสร้างเป็นแห่งแรกของประเทศเช่น โมรอคโค เวียดนาม อินโดนีเซีย และตุรกี
       
       “ส่วนที่อยู่ระหว่างการศึกษาเช่น ไทย ออสเตรเลีย มาเลเชีย ชิลี ตูนิเซีย ลิเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” นักวิจัยฝรั่งเศส กล่าว

บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #464 เมื่อ: 12-01-2008, 01:53 »

อังกฤษนอกจากจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วยังหาพลังงานอื่นทดแทนอีกด้วยครับ ซึ่งมีผลดีในการลดมลพิษและช่วยลดภาวะดลกร้อนได้


เอเยนซี/บีบีซีนิวส์ - รัฐบาลผู้ดีประกาศสู้โลกร้อนด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาด ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก วางแผนแปลงลมทะเลเป็นกระแสไฟฟ้าป้อนบ้านเรือนประชาชนทั่วประเทศทุกหลังคาเรือนภายในปี 2563
       
       นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าวิธีลดโลกร้อนที่ได้ผลมากที่สุดคือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ รัฐบาลอังกฤษเลยสนองตอบด้วยการให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนจากลมทะเลที่มีอยู่รอบประเทศ
       
       นายจอห์น ฮัตตัน (John Hutton) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของอังกฤษ เปิดเผยในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการเมืองทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจำเป็นต้องใช้พลังงานที่ทำให้เกิดคาร์บอนน้อยลง เพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ขณะนี้
       
       "ผมเชื่อว่าพลังงานจากลมทะเลที่มีอยู่รอบเกาะอังกฤษมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนบ้านเรือนประชาชนทั่วทั้งอังกฤษได้" นายฮุตตัน กล่าว
       
       ขณะนี้ประเทศอังกฤษมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แล้วทั่วประเทศคิดเป็น 2% ซึ่งรวมทั้งพลังงานลมขนาดต่ำกว่า 0.5 กิกะวัตต์ด้วย อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลประสงค์จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมให้ได้ 8 กิกะวัตต์ ในปี 2557 และเพิ่มเป็น 33 กิกะวัตต์ ภายในปี 2563 ซึ่งต้องใช้กังหันลมมากถึง 7,000 ตัว และต้องติดตั้งตลอดแนวชายฝั่งราว 1.5 กิโลเมตรต่อกังหัน 2 ตัว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนของสหภาพยุโรปให้ได้ 20% ในปี 2563
       
       ฮุตตันบอกอีกว่า การติดตั้งกังหันลมอาจมีผลทำให้แนวชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และก็คงไม่มีเทคโนโลยีไหนหรอกที่สามารถลดคาร์บอนได้โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
       
       ผู้สื่อข่าวตั้งคำถามต่อฮุตตันว่า หากเกิดปัญหากรณีไม่มีลมพัดสัก 2-3 วัน จะเกิดผลกระทบหรือไม่ ซึ่งฮุตตันก็ตอบว่านั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีแหล่งพลังงานทดแทนหลายชนิด รวมทั้งพลังงานนิวเคลียร์ที่สามารถทดแทนพลังงานลมได้เมื่อยามที่สภาพอากาศปราศจากคลื่นลม
       
       อย่างไรก็ดี มาร์ค เอเวอรี (Mark Avery) สมาคมอนุรักษ์นกแห่งอังกฤษ (Royal Society for the Protection of Birds) กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่ฮุตตันให้สัมภาษณ์ว่า การสร้างโรงไฟฟ้าและการติดตั้งกังหันลมตามแนวชายฝั่งจะต้องดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผลและไม่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
       
       "หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ทั้งฝูงนก วาฬ โลมา และปลาอื่นๆ อีกหลายชนิดคงต้องจบชีวิตด้วยน้ำมือมนุษย์แน่นอน" เอเวอรี ฝากให้รัฐบาลพิจารณา
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #465 เมื่อ: 12-01-2008, 02:08 »



ข้อมูลมาเพิ่มเติม ขอบคุณแทนทุกคนครับ..

คัดค้านก็ไม่ว่ากัน ขอให้มีข้อมูลน่าเชื่อถือ
บันทึกการเข้า

taecu
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63



« ตอบ #466 เมื่อ: 12-01-2008, 05:00 »

ผมก็เห็นด้วยที่น่าจะสร้าง

แต่มาสร้างประเทศไทย มันต้องเกิดอุบัติเหตุแน่ๆๆๆเลย

ถ้าประเทศนี้ ไม่มี คอรัปชั่น ค่อยสร้างละกันครับ

  คือ ไม่มีโอกาสสร้างอยู่ดี

ถ้าสร้างคงต้องสร้างด้านอ่าวไทยหรือเปล่าครับ หรือ รอฝรั่งเศสรวมทุนอีกสี่ประเทศทดลองโรงไฟฟ้า ฟิวชั่น ให้ได้ก่อน = =

คนไทยขอประมาทอ่ะ ถ้าระเบิดมาเนี้ย ดังนะเนี้ย lol
บันทึกการเข้า

เราต้องการความจริงจากท่าน
ไม่ใช่ต้องการคำโกหกจากท่าน
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #467 เมื่อ: 12-01-2008, 08:35 »

ถ้าบ้านเราจะสร้างจริง ๆ คงอีกนานนนนนนนนนนล่ะค่ะ

มีรถไฟฟ้าเป็นตัวอย่าง 

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #468 เมื่อ: 12-01-2008, 10:50 »

ผมก็เห็นด้วยที่น่าจะสร้าง

แต่มาสร้างประเทศไทย มันต้องเกิดอุบัติเหตุแน่ๆๆๆเลย

ถ้าประเทศนี้ ไม่มี คอรัปชั่น ค่อยสร้างละกันครับ

  คือ ไม่มีโอกาสสร้างอยู่ดี

ถ้าสร้างคงต้องสร้างด้านอ่าวไทยหรือเปล่าครับ หรือ รอฝรั่งเศสรวมทุนอีกสี่ประเทศทดลองโรงไฟฟ้า ฟิวชั่น ให้ได้ก่อน = =

คนไทยขอประมาทอ่ะ ถ้าระเบิดมาเนี้ย ดังนะเนี้ย lol

หากมีการสร้างจริง และเลือกโรงไฟฟ้าของฝรั่งเศส ประเทศอมิตรตลอดกาลของไทย เท่ากับยื่นดาบให้โจรแท้ๆ

หากมีปัญหาในภูมิภาค โดยเฉพาะกับเขมรและลาว ฝรั่งเศสจะอยู่ฝ่ายใด ไม่ต้องคิดก็รู้ค่ะ เราเอาระเบิดมาวางไว้ในบ้าน โดยฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง และกุมกลไกสำคัญไว้ ผลจะเป็นอย่างไร ตรองเอาเองค่ะ

ถ้าบ้านเราจะสร้างจริง ๆ คงอีกนานนนนนนนนนนล่ะค่ะ

มีรถไฟฟ้าเป็นตัวอย่าง 

นานค่ะคุณเม่ย นานจนเขาเลิกใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบสกปรกนั่นแหละ   
บันทึกการเข้า
goolnw
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 460


new goolnw


« ตอบ #469 เมื่อ: 12-01-2008, 10:56 »

ข่าวดีแล้วนี้เห็นว่าจะปรับค่าไฟเพิ่มสนุกกันใหญ่เลย ไม่เอา
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ได้ไม่มีใครว่า อิอิรอดตัวเพราะที่ผมอยู่
มานมีอะครับ ค่าไฟมิใช่ปัณหา ค่าน้ำยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ต้องจ่าย

เกี่ยวป่าวนะ ขี้เกรียจอ่านแปะกันยาวกันจริง ค้านเพราะกระแส
นิยมหรือไง พอมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปก็พัฒนาเป็นอาวุธ
แล้วก้มีเจรจา 6 ฝ่าย อิอิ มั่วไปนิด
 
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/goolnw
Goolnw ชอบสมัคร รักทักษิณ
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #470 เมื่อ: 12-01-2008, 10:58 »

ข่าวดีแล้วนี้เห็นว่าจะปรับค่าไฟเพิ่มสนุกกันใหญ่เลย ไม่เอา
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ได้ไม่มีใครว่า อิอิรอดตัวเพราะที่ผมอยู่
มานมีอะครับ ค่าไฟมิใช่ปัณหา ค่าน้ำยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ต้องจ่าย

เกี่ยวป่าวนะ ขี้เกรียจอ่านแปะกันยาวกันจริง ค้านเพราะกระแส
นิยมหรือไง พอมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปก็พัฒนาเป็นอาวุธ
แล้วก้มีเจรจา 6 ฝ่าย อิอิ มั่วไปนิด
 
อยู่ประเทศไหนรึ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 [10]
    กระโดดไป: