ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 02:00
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แผ่รังสีอำมหิต เล่นงานเด็กบ้าน ใกล้ให้เป็นมะเร็ง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แผ่รังสีอำมหิต เล่นงานเด็กบ้าน ใกล้ให้เป็นมะเร็ง  (อ่าน 16648 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 12-12-2007, 09:00 »

http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=71397

อ้างถึง
รายงานการศึกษาในประเทศเยอรมนีพบว่าเด็กเล็ก ที่อาศัยอยู่ในบ้านใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีโอกาสเสี่ยงสูงอย่างเห็นได้ชัดว่าจะกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งในรูปแบบอื่น

“การศึกษาของเราตอกย้ำว่าในเยอรมนีนั้นมีความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางของถิ่นที่พักอาศัยที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่สุด...กับปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งขึ้น เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ก่อนที่จะครบรอบวันเกิด 5 ปี” หนังสือพิมพ์ “ซุดดอยทช์ เซตุง” อ้างรายงานการศึกษาที่นักวิชาการมหาวิทยาลัยเมนซ์ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อสำนักเพื่อการปกป้องรังสีแห่งสห-พันธรัฐเยอรมัน (BFS) ซึ่งร่างรายงานดังกล่าวยังไม่ได้มีการเผยแพร่โดยทั่วไป

นักวิจัยพบว่าเด็ก 37 คน ที่อาศัยอยู่ในรัศมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 กิโลเมตร ได้พัฒนาเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2523-2546 ในขณะที่สถิติโดยเฉลี่ยของโรคนี้ในช่วงเวลานั้นอยู่ที่ 17

หนังสือพิมพ์ “ซุดดอยทช์ เซตุง” ยังอ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันรังสี ที่ทราบถึงการศึกษาครั้งนี้ ระบุว่าข้อสรุปในการศึกษายังกล่าวถึงปัญหาน้อยไป จากข้อมูลแสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่แสดงถึงการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ทางการเยอรมนีวางแผนจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดก่อนกำหนด ในต้นปี พ.ศ. 2563


มีคนไทยบ้าๆกลุ่มหนึ่ง กำลังจะผลักดันให้เอามหันตภัยนี้เข้ามาในบานเรา โปรดช่วยกันต่อต้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ด้วยค่ะ 
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #1 เมื่อ: 12-12-2007, 09:25 »

http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=71397


มีคนไทยบ้าๆกลุ่มหนึ่ง กำลังจะผลักดันให้เอามหันตภัยนี้เข้ามาในบานเรา โปรดช่วยกันต่อต้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ด้วยค่ะ 


  ใช่ครับเห็นด้วยกับคุณ พรรณชมพู  ครับ แต่ถ้าหากต่อต้านไม่อยู่

ก็ช่วยกันผลักดันพวกบ้าๆ  ไปปลูกบ้านใกล้ๆโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วกันดีไหมครับ
 


บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #2 เมื่อ: 12-12-2007, 10:09 »

สำหรับผม ถ้าอยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดีกว่า อยู่ใกล้โรงถ่านหิน ครับ
อยากจะต่อต้านเหมือนกัน แต่หาคำตอบไม่ได้ว่า ถ้าไม่เอานี่ จะใช้อะไร
แล้วถ้าไฟฟ้ามันขึ้น ไป 5-6 เท่า จะยอมจ่ายไหม? เพราะสักจะเชื่อแล้วว่า
น้ำมันจะขึ้นไปถึง 200 เหรียญแน่ๆ ภายใน 5-6 ปีนี้

ผมชอบความคิดเห็นของของอภิสิทธิ์นะครับ ที่ว่า มีคำตอบหรือเปล่า
สำหรับทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเอา จะสร้างที่ไหน ฝ่ายไม่เอา จะเอาอะไรมา
ทดแทน หรือยอมให้ขึ้นราคา
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12-12-2007, 15:58 »



ทุกวันนี้ ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น

ราคาค่าไฟ  แพงไป

ส่วนเรื่องนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีเก่าก็สมควรทะยอยปิด..

รังสีที่มากับแสงแดดทุกวันนี้ก็มีปัญหา

แต่ข้อมูลข่าวที่ไม่ละเอียด มักจะบิดเบือนเอาใจพวกโลกจิตหวาดระแวง แม้แต่เงาตัวเอง...



สนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วเลิกงมงาย หลับตาอ้าปากพะงาบๆ เอาพวกระแวงไปอยู่ห่างๆโรงไฟฟ้าก็ดีแล้ว

 
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 12-12-2007, 16:47 »

โรงงานไฟฟ้านิวเคลีย

เป็นปัฐหาที่เรื้อรัง และน่ากลัว

ผมไม่เห็นด้วยที่จะเปิดในเมืองไทย

ขนาดเยอรมันเองที่ประเทศมาตรฐานสูงยังมีปัญหา

ถ้าเมืองไทยมิตายเหรอ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12-12-2007, 17:01 »

แล้วเราจะเอาไฟฟ้าจากไหนใช้ครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 12-12-2007, 17:04 »

โรงงานไฟฟ้านิวเคลีย

เป็นปัฐหาที่เรื้อรัง และน่ากลัว

ผมไม่เห็นด้วยที่จะเปิดในเมืองไทย

ขนาดเยอรมันเองที่ประเทศมาตรฐานสูงยังมีปัญหา

ถ้าเมืองไทยมิตายเหรอ


เป็นการปิดโรงงานเก่ามากกว่า.. ทะยอยปิด

แยกโซนไปใครที่ไม่อยากใช้ๆไฟฟ้าถูก และคิดว่ามีความเสี่ยงมากมายอะไร?


ที่สำคัญการค้านต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ หากจะทำให้คนอื่นเชื่อว่าจำเป็นต้องคัดค้าน แบบไม่ใช่การปลุกระดม หรือหวาดระแวงไปเอง
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12-12-2007, 17:09 »



แล้วเราจะเอาไฟฟ้าจากไหนใช้ครับ 

การใช้ไฟฟ้าต่อหัวของเราก็ไม่สูง ยังผลิตไม่พอใช้

เครื่องไฟฟ้าที่กินไฟมากๆ ก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #8 เมื่อ: 12-12-2007, 17:16 »

เรายังไม่มีมาตรฐานอะไรที่บอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลีย ปลอดภัย 100เปอร์เซ็น

นอกจากการยัดหัวของเหล่าคนที่มีผลประโยชน์

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 12-12-2007, 17:17 »



ทุกวันนี้ต้องกันพวกบุกรุกป่า บุรุกพื้นที่สาธารณะ

ไม่อย่างนั้นคงหนีภัยธรรมชาติไม่พ้น

ส่วนเรื่องมลภาวะ เรื่องโลกร้อนดูจะเป็นปัญหาใหญ่

รวมทั้งพวกสารก่อมะเร็งที่ยังระบุกันไม่ได้แน่อน

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญอายุเฉลี่ย ยืนกว่าศตวรรษที่ผ่านมา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 17:21 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #10 เมื่อ: 12-12-2007, 17:19 »

เรายังไม่มีมาตรฐานอะไรที่บอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลีย ปลอดภัย 100เปอร์เซ็น

นอกจากการยัดหัวของเหล่าคนที่มีผลประโยชน์



โรงไฟฟ้าอะไรที่ปลอดภับชัวร์ครับ สร้างเขื่อน ยังมีโอเกาสเขื่อนแตกได้เลย
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 12-12-2007, 17:20 »



เรายังไม่มีมาตรฐานอะไรที่บอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลีย ปลอดภัย 100เปอร์เซ็น

นอกจากการยัดหัวของเหล่าคนที่มีผลประโยชน์



มีตัวอย่างในประเทศต่างๆมากมาย เลือกใช้มาตรฐานที่ดีที่สุด

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 12-12-2007, 17:23 »





เรื่องคอร์รัปชัน นี่พุดจริงๆ ผมอยากให้มีโทษประหาร ทันที ณจุดเกิดเหตุ สำหรับเมืองไทยสักสิยปีทดลองดู
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #13 เมื่อ: 12-12-2007, 17:25 »

พลังงานนิวเคลียร์แก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้


ใจ อึ๊งภากรณ์


โลกเรากำลังร้อนขึ้นกว่าเดิมเพราะมีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์ในบรรยากาศ อัตราการสะสมยุคนี้ 30 เท่าระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่ม 1-1.5°C และถ้าไม่ทำอะไรเพื่อรีบแก้ไขปัญหาจะเพิ่มอีก 5°C ถ้าอุณหภูมิเพิ่มอีกแค่ 2°C จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมพื้นที่โลกที่อยู่ในระดับต่ำ เพราะน้ำแข็งในขั้วโลกจะละลายมากขึ้น   120ล้านคนในบางกลาเทศ และประชาชนคนยากคนจนตามเกาะต่างๆจะไม่มีที่อยู่อาศัยและทำกิน นอกจากนี้จะมีผลร้ายต่อการผลิตในภาคเกษตร และมีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้นทั่วโลก เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ


     ในสถานการณ์แบบนี้รัฐบาลเผด็จการไทย ฉวยโอกาสเสนอว่าพลังงานนิวเคลียร์จะดีกว่าการเผาน้ำมันหรือก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้า เพราะสร้างคาร์บอนไดออคไซท์น้อยกว่า กระทรวงพลังงานของรัฐบาลเผด็จการได้อนุมัติเงิน 200 ล้านบาทเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเห็นชอบกับการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ ก.ฟ.ผ. ผลิตหนังสือโฆษณาหลอกลวงเพื่อส่งเสริมไฟฟ้านิวเคลียร์ 1แสนเล่ม และมีการโกหกว่าพลังงานนิวเคลียร์ “ราคาถูกและสะอาด” กว่าพลังงานรูปแบบอื่น โฆษกรัฐบาลพูดว่าเราต้อง”ล้าง”ภาพพจน์ไม่ดีของอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า Chernobyl ออกจากความทรงจำของประชาชน  มีการวางแผนที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของไทยระหว่างปี ๒๕๕๓และ๒๕๕๘ คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี ๒๕๖๔ หนึ่งในผู้ที่คลั่งไฟฟ้านิวเคลียร์คือ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นักวิชาการเสรีนิยมสุดขั้วที่ต้องการขายรัฐวิสาหกิจทุกชนิดให้เอกชน โดยได้รับการสนับสนุนจาก ไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตคนก่อน


     การที่นักเสรีนิยมสุดขั้วอย่าง ปิยสวัสดิ์ส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเป็นการนำการผลิตไฟฟ้าที่อันตรายที่สุดไปไว้ในมือของเอกชนที่แสวงหากำไรเหนือความปลอดภัย บริษัทเอกชนเป็นกลุ่มคนที่เราควบคุมไม่ได้เลย ในญี่ปุ่นในปี 2003 บริษัท Tokyo Electric Power (Tepco) ถูกสั่งให้ปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 17 แห่งชั่วคราวเพราะถูกจับได้ว่าปลอมแปลงเอกสารรายงานความปลอดภัยและปกปิดอุบัติเหตุ และขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องติดสินบน อ.บ.ต. ในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อชักชวนให้ยอมรับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในตำบลของตน เพราะประชาชนไม่ไว้ใจว่านิวเคลียร์ปลอดภัย



 


ปัญหาของการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์มีดังนี้


1.      กากหรือของเสียจากกระบวนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์มีกัมมันตรังสีร้ายแรง มันผลิตรังสีที่เป็นภัยต่อมนุษย์เป็นเวลาแสนๆ ปี เตานิวเคลียร์หนึ่งแห่งผลิตกากนิวเคลียร์ประมาณ 25-30 ตัน ซึ่งเรายังไม่มีวิธีการใดๆ ที่จะจัดการหรือเก็บกากนี้ได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะที่ไหนในโลก สารอันหนึ่งจากกากนิวเคลียร์คือยูเรเนี่ยมเสื่อม Depleted Uranium สารนี้ใช้เป็นโลหะในกระสุนเจาะรถถังในสงครามอิรัก มีผลให้ทหารและพลเรือนป่วยเป็นแสน พลูโทเนี่ยม Plutonium เป็นสารกัมมันตรังสีอีกชนิด ซึ่งเป็นพิษร้ายแรง


2.      กากกัมมันตรังสีเกิดจากการทำเหมืองยูเรเนี่ยม เพื่อผลิตเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม


3.      กระบวนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์จากต้นจนจบมีส่วนที่ผลิตคาร์บอนไดออคไซท์ เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า การทำเหมือง การขนส่งสารรังสี รายงานขององค์กร Friends of the Earth สรุปว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะผลิตคาร์บอนไดออคไซท์มากกว่าการผลิตไฟฟ้าจากลม 50%


4.      ปัญหาความปลอดภัยเป็นเรื่องใหญ่ โรงไฟฟ้าที่อังกฤษมีอุบัติเหตุเป็นประจำอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 1957 ถึง1985  ที่สหรัฐอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า 3 Mile Island Pennsylvania ในเดือนมีนาคม 1979  ทำให้เกือบระเบิดทั้งโรงและสารรังสีรั่วออกมามากมาย สหรัฐหยุดการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลังจากนั้น ต่อมาในวันที่  26 เมษายน 1986 โรงไฟฟ้า Chernobyl ของโซเวียดรัสเซียระเบิดขึ้น กระจายสารรังสีขึ้นไปในบรรยากาศในปริมาณสูงกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima ในสงครามโลก 400 เท่า คนตาย 4000 คน และป่วยร้ายแรงจากมะเร็งอีก 30,000 คน ในที่สุดยอดคนตายอาจสูงถึง 500,000 คน  ต่อมาที่ Toki Mura ในญี่ปุ่น เมื่อปี 1999 มีอุบัติเหตุที่ทำให้พนักงานตายสองคนและป่วยอีก 400 คน ปีนี้มีแผ่นดินไหวใกล้ๆ โรงไฟฟ้า Kashiwazaki-Kariwa ทำให้รังสีรั่วออกมาและเกิดไฟไหม้ ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงจากรอบโลกที่รัฐบาลต้องการ “ล้างออกจากสมอง” เรา


5.      ราคาการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์สูงกว่าวิธีอื่นและอาศัยภาษีจากประชาชนเสมอ มันแพงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากลมสองเท่า จากการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซและน้ำมันหนึ่งเท่า มันอาจถูกกว่าแสงแดดตอนนี้ แต่ถ้าลงทุนเพียงพอในระบบแสงแดดระบบนี้จะถูกลงมาก ยิ่งกว่านั้นไม่เคยมีการคำนวณ “ราคา” ของการเกิดอุบัติเหตุและการจัดการกับกากนิวเคลียร์เลย


6.      ทุกรัฐบาลที่ต้องการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์พร้อมจะทำเพราะมันช่วยในการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ การผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์แยกไม่ออกจากการทหาร ประเด็นสุดท้ายนี้คือสาเหตุหลักที่รัฐบาลทหารและนักวิทยาศาสตร์ที่รับใช้ทหาร ต้องการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย



 


จะเห็นได้ว่า ถ้าการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปัญหา ทั้งเรื่องราคาและความปลอดภัย สาเหตุหลักที่ชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะรัฐบาลทหารต้องการผลิตก็เพราะอยากจะพัฒนาเทคโนโลจีและทรัพยากรเพื่อที่จะมีระเบิดนิวเคลียร์ของไทยเอง ซึ่งนอกจากจะอันตรายอย่างถึงที่สุดแล้ว ยังเปลืองทรัพยากรสำคัญที่ควรจะนำมาใช้เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ ระเบิดนิวเคลียร์ไม่สามารถใช้ป้องกันประเทศได้ เพราะมีผลด้านเดียวคือประชาชนจะล้มตายเป็นแสนๆ ล้านๆ ในวินาทีเดียวเท่านั้น และบ้านเมืองของทั้งสองฝ่ายก็จะพินาศในขณะที่คนชั้นสูงหลบอยู่ในบังเกอร์ใต้ดิน


     สำหรับปัญหาโลกร้อนทางออกคืออะไร? เชื้อเพลิงชีวะ Biofuel เป็นส่วนหนึ่งของคำตอบเพราะการปลูกพืชจะดูดคาร์บอนไดออคไซท์จากบรรยากาศ แต่ไม่ใช่ทางออกทั้งหมด เพราะถ้าการผลิตอยู่ภายใต้บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมจะมีปัญหาการแย่งที่ดินจากเกษตรกรคนจน และถ้าเน้นการปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงแทนการผลิตอาหารมากเกินไป จะทำให้ราคาอาหารในตลาดโลกสูงขึ้น คนจนก็จะอดอยากทั่วโลก


     เราต้องลดการใช้พลังงานที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์โดยการประหยัด วิธีประหยัดสำคัญคือการสร้างระบบคมนาคมมวลชน เช่นรถไฟหรือรถรางที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อนำมาใช้แทนรถยนต์ส่วนบุคคลและเครื่องบิน การออกแบบตึกให้ประหยัดไฟฟ้า การไม่ใช้ไฟประดับเป็นพันๆ ดวงตามถนนหนทางในกรุงเทพฯ เพื่อฉลองวันสำคัญๆ ของคนชั้นสูง การลดแอร์ในตึกราชการ รัฐสภา และที่อื่นโดยยกเลิกวัฒนธรรมการใส่สูดของพวกชนชั้นนำ ล้วนแต่เป็นทางออก แต่การรณรงค์ให้คนประหยัดไฟอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์และ กทม. ทำไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ เพราะเป็นเพียงการสร้างภาพ นอกจากนี้การกดดันให้คนลดการใช้ไฟหรือลดการใช้น้ำมันด้วยการขึ้นราคาหรือภาษีก็ไม่ใช่คำตอบอีก เพราะจะมีผลกระทบต่อคนจนมากที่สุดในขณะที่คนรวยเป็นผู้ใช้พลังงานมากที่สุดอยู่แล้ว


     ประเทศไทยควรจะร่วมลงทุนกับประเทศอื่นในแถบนี้เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าแบบยั่งยืนที่ไม่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออคไซท์หรือกากนิวเคลียร์ ในเมื่อการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไม่ใช่คำตอบ อย่างที่สมัชชาคนจนพิสูจน์มานานแล้ว เราต้องผลิตไฟฟ้าจากลม คลื่นทะเล และแสงแดด ในอนาคตทุกบ้านเรือนควรจะมีแผงโซล่าที่จะผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด และเราจะสามารถเริ่มแก้ปัญหาโลกร้อน


     ปัญหานิวเคลียร์เป็นอีกเหตุผลหนึ่งในหลายๆ เหตุผล ที่เราต้องคัดค้านรัฐประหารและเผด็จการทหาร
 
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #14 เมื่อ: 12-12-2007, 17:26 »

หาดใหญ่โพล


โดยสำนักวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ ความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,248  ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่  8-10  พฤศจิกายน  2550  สรุปผลการสำรวจ  ดังนี้




สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง


กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.4)  มีอายุระหว่าง  31-40 ปี  (ร้อยละ 51.4)  รองลงมา อายุ  21-30 ปี  (ร้อยละ  24.4 )  และอายุ  41-50  ปี  (ร้อยละ 19.7) ตามลำดับ นอกจากนี้  ร้อยละ 35.1  มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี   ร้อยละ 26.7  การศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.  และร้อยละ 21.1  การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และเมื่อพิจารณาสถานภาพด้านอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง ร้อยละ  45.0  รองลงมา ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย  ร้อยละ 30.5  และร้อยละ 8.6 เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ   




สรุปผลการสำรวจ


          1.  ภาวะราคาน้ำมันและการประหยัดพลังงาน


ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ  78.6  เห็นด้วยกับการลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันดีเซล  (1 บาทต่อลิตร) ร้อยละ  7.6  ไม่เห็นด้วยกับการลดเงินเข้ากองทุนน้ำมัน  และร้อยละ 13.7  ไม่แสดงความคิดเห็น  ประชาชนร้อยละ  91.0   เห็นว่าการปรับราคาน้ำมันของตัวแทนผู้จำหน่ายน้ำมัน ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ร้อยละ 4.4 เห็นว่าการปรับราคาน้ำมันเป็นธรรมกับผู้บริโภค และร้อยละ 4.4  ไม่แสดงความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อสอบถามประเด็นผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพง  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.9  ได้รับผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 26.8 ได้รับผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 3.5 ได้รับผลกระทบปัญหาราคาน้ำมันแพง อยู่ในระดับน้อย  มีเพียงร้อยละ 0.9 ที่เห็นว่ามีผลกระทบน้อยที่สุด  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของราคาน้ำมันทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน  พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.5 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำมัน โดยส่วนใหญ่หันมาใช้แก๊สโซฮอล์  มากที่สุด (ร้อยละ 59.9) รองลงมา เป็นก๊าซ NGV  (ร้อยละ 25.4) และร้อยละ 36.5 ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำมัน 


 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรณรงค์การประหยัดน้ำมันของกระทรวงพลังงาน  พบว่า  ประชาชนร้อยละ 50.7  ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำมันของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.1 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้น้ำมันของประชาชนอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และร้อยละ 11.1 ส่งผลต่อการใช้น้ำมันของประชาชนอยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุด  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวลของประชาชนในการมาใช้พลังงานทดแทน พบว่า ประชาชนร้อยละ 37.8  กังวลใจเกี่ยวกับความเสียหายของเครื่องยนต์  มากที่สุด รองลงมา ความไม่เพียงพอของสถานีบริการ   (ร้อยละ 37.1) และกังวลใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์   (ร้อยละ 17.9) จากสภาพการผันแปรของราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบให้ประชาชนมีการประหยัดพลังงานด้วยวิธีที่ต่างกัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 33.0   มีการประหยัดพลังงานโดยวิธีการดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถ  มากที่สุด รองลงมา เป็นการศึกษาแผนที่ก่อนการเดินทาง  การปิดไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน และมีการตรวจเช็คเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ  คิดเป็นร้อยละ 15.2   12.9  และ 12.4   ตามลำดับ




2.  การตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


        ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ร้อยละ 9.1 เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 13.3 ไม่แสดงความคิดเห็น  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในชุมชนที่อาศัย พบว่า ประชาชนร้อยละ 75.1 ไม่สนับสนุนให้ดำเนินการในชุมชนได้  แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรี ให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ได้เสนอแนะสถานที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  โดยประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นว่าสถานที่เหมาะที่สุดในการจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นสถานที่อยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 10 กม. รองลงมา เป็นพื้นที่บริเวณเกาะที่ไม่มีผู้พักอาศัย (ร้อยละ 30.1) และบริเวณหุบเขาต่างๆ  (ร้อยละ 22.1) ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในระดับมากและมากที่สุด  และประชาชนร้อยละ 66.7 จากการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวลใจเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  พบว่า ประชาชนร้อยละ 28.8  มีความกังวลใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานของคนไทย มากที่สุด รองลงมา เป็นความกังวลใจเกี่ยวกับการกำจัดกากนิวเคลียร์  สารพิษรั่วไหลจากโรงงาน และการคอร์รัปชั่นของคนในรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 27.2   19.3  และ 14.8  ตามลำดับ  นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 73.1 เห็นว่าพฤติกรรมการทำงานของคนไทย มีส่วนเกี่ยวข้องและส่งผลต่อกับความปลอดภัยในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในระดับมากและมากที่สุด และยังไม่เชื่อว่าหากมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริง     จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกกว่าปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 77.3   มีเพียงร้อยละ 12.3 ที่เชื่อว่าราคาไฟฟ้าจะถูกลง  และ    ร้อยละ 10.4 ไม่แสดงความคิดเห็น



 

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 12-12-2007, 17:29 »






เรื่องคอร์รัปชัน นี่พุดจริงๆ ผมอยากให้มีโทษประหาร ทันที ณจุดเกิดเหตุ สำหรับเมืองไทยสักสิบปีทดลองดู

จะใหญ่โตบุญหนักศักดิ์ใหญ่แค่ไหน ก็ไม่ต้องละเว้น หากทำผิดหนักต่อสาธารณชน จีนคุมคนจำนวนมากได้เพราะความเด็ดขาดในขั้นแรก

ส่วนสหรัฐ เพราะความเจริญในเทคโนโลยี ของไทยเราคุมได้เพราะสังคมเราเพิ่งจะเริ่มก้าวร้าวมากขึ้นในช่วงหลัง แต่ก็เริ่มวุ่นวายเพราะศรีธนญชัย

กับพวกเน้นอนุรักษ์นิยมปะทะกัน
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #16 เมื่อ: 12-12-2007, 17:29 »

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาอีกแล้ว แม้ IRPC ยอมล้มโรงไฟฟ้าถ่านหิน
Posted by vickie , ผู้อ่าน : 194 , 15:45:54 น.   | หมวดหมู่ : บ้านเมืองเรื่องของทุกคน  
 พิมพ์หน้านี้

และแล้ว การจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ จ.ระยอง ของ ไออาร์พีซี ก็ได้ข้อยุติ เมื่อผู้บริหาร ไออาร์พีซี ยืนยันไม่ยื่นซองประกวดราคาโรงไฟฟ้า วันที่ 19 ต.ค. นี้ แล้วขอร๊าบบพี่น้อง

นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทฯ ได้เข้าซื้อซองประกวดราคาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) พร้อมกับบริษัทเอกชนรายอื่นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา และมีกำหนดยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ แต่เมื่อสร้างความไม่สบายใจต่อประชาชนในจังหวัดระยองนั้น ไออาร์พีซีรู้สึกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นตรงกัน และตกลงร่วมกันว่า ไออาร์พีซี จะไม่ร่วมยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 19 ตุลาคมนี้แน่นอน และขอยืนยันว่าจะยังคงยืนหยัดดำรงเจตนารมณ์ตามปณิธาน "เรารักระยอง" ต่อไป

 แถมด้วยยาหอมขวดใหญ่ ว่า บริษัทฯ จะมุ่งดำเนินงานเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ประเทศชาติ จะดูแลรักษาแผ่นดินระยองร่วมกับพี่น้องชาวระยอง ให้เป็นสมบัติของชาวระยองและลูกหลานสืบไป แต่ก็ทิ้งท้ายให้หวาดเสียวว่า "ระหว่างนี้ คงจะต้องศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าต่อไป"

แต่รัฐมนตรีพลังงาน ย้ำชัด เดินหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป โดยมีกำหนดไว้ในแผนระยะยาวแล้ว ซึ่งคาดว่าการเตรียมการจะใช้เวลา 7 ปี ก่อนที่มีตัดสินใจก่อสร้างขั้นสุดท้ายโดยรัฐบาลในสมัยนั้น เพราะถ้าไม่เตรียมการไว้ ก็จะไม่สามารถคิดเริ่มทำได้

สำหรับสิ่งที่รัฐบาลต้องเตรียมการ เช่น การเตรียมการเรื่องกฎระเบียบ การตั้งองค์กรกำกับดูแล การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย การเตรียมบุคลากร การกำหนดสถานที่ก่อสร้าง และการสร้างความยอมรับจากประชาชน ขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่างพ.ร.บ.พลังงาน นิวเคลียร์ พ.ศ...

แต่ถ้าในอนาคต มีทางเลือกที่ดีกว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ถูกลง หรือมีเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่ดีกว่าผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ รัฐบาลสมัยนั้นอาจตัดสินใจที่จะไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์ก็ได้ แต่ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และสามารถตอบคำถามได้ว่า เหตุใดจึงไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เชื่อว่า เพียงคิด คนก็คงจะออกมาต่อต้านเสียยิ่งกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแน่ ผลพวงผลกระทบมันเคยมีให้เห็นอยู่แล้ว ทุกครั้งที่พูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ชื่อของ "เชอร์โนบิล" โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศยูเครน ก็จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างทุกครั้งไป


                  

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล" หน่วยที่ 4 เกิดระเบิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2529 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันที 30 คน ในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดเนื่องมาจากการได้รับสารกัมมันตรังสีความแรงสูงในเวลาเฉียบพลัน ผลของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้นยังส่งผลกระทบอีกเนิ่นนานต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณโดยรอบ รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ

เชอร์โนบิลหมายเลข 4 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุถูกถม กลบด้วยโบรอนโดโลไมท์ ทราย ดินและตะกั่ว จากเฮลิคอปเตอร์ เพื่อปิดกั้นสารรังสีที่ฟุ้งกระจายออกมา แต่บางส่วนก็แพร่ไปยัง เบลารุส รัสเซีย รวมไปถึงประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียน และยุโรป สารที่สำคัญได้แก่ ไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 ซึ่งเป็นสารที่มีครึ่งอายุสั้น แต่มีความแรงของรังสีสูง หลังจากนั้นมีการอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรวบ ในจำนวนนี้มีบางส่วนค่อย ๆ อพยพกลับมาอาศัยอยู่ที่เดิมในเวลาต่อมา

หลังเหตุการณ์ตรวจสอบพบว่า มีรังสีปริมาณมากแผ่ออกสู่ภายนอก เพราะไม่มีอาคารคลุมปฏิกรณ์ ความรุนแรงของเหตุกาณณ์เทียบเท่าระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด มีผู้เสียชีวิต 31 ราย บาดเจ็บ 203 ราย

ขณะที่ผลการสอบสวนในเวลาต่อมา สรุปออกมาว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ขาดการฝึกอบรมอย่างเพียงพอ สืบเนื่องจากปั๊มน้ำเครื่องหนึ่งหยุดทำงาน ส่งผลให้กังหันไอน้ำปั่นกระแสไฟฟ้าหยุดการทำงานทันที ทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หยุดการทำงานอัตโนมัติ แต่เจ้าหน้าที่ตัดสินใจผิดพลาดโดยการตัดระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ด้วยตนเอง ทำให้ขาดน้ำหล่อเย็น กระทั่งเกิดความร้อนสะสมอิ่มตัว จนเกิดการหลอมละลาย กราไฟท์เกิดการลุกไหม้ และเกิดการระเบิดของไอน้ำอย่างรุนแรง ดันทะลุหม้อปฏิกรณ์ และอาคารปฏิกรณ์ ทำให้กัมมันตรังสีกระจายและส่งผลเสียหายในวงกว้าง  


        
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4 ถูกปิดถาวรด้วยคอนกรีต ป้องกันการแผ่รังสี

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลหน่วยที่ 4 ถูกปิดอย่างถาวร ด้วยคอนกรีตเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี  โดยมีเพียงหน่วยที่ 3 ที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า มีพนักงานปฏิบัติงานเกือบหกพันคน ซึ่งได้รับการดูแลสุขภาพตามมาตรฐานสากลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งประเทศยูเครนอาศัยพลังงานหลักจากน้ำมัน ก๊าซ และนิวเคลียร์ซึ่งมีสัดส่วนถึง 45% ในอนาคตมีโครงการพัฒนาการใช้พลังนิวเคลียร์อย่างครบวงจร
 
ที่มาของข้อมูล : http://www.world-nuclear.org/info/chernobyl/info7.htm
                      กองวิศวกรนิวเคลียร์ - EGat  

NSTKC (Nuclear Science & Technology Knowledge Center) เปิดเผยว่า หลังจากเหตุระเบิดที่เชอร์โนบิล ในปี 2529 จนถึงปัจจุบันมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพิ่มขึ้นอีก 69 โรง เพราะประเทศที่สร้างเพิ่มนั้น เข้าใจสาเหตุของอุบัติเหตุ ที่เชอร์โนบิลและมั่นใจ ในเทคโนโลยีความปลอดภัย มาตรการประกันคุณภาพ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  

ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก ไม่ต่ำกว่า 440 เครื่อง
โดยสหรัฐอเมริกา มีมากที่สุด  110 เครื่อง ฝรั่งเศส 57 และญี่ปุ่น 53 เครื่อง

ทัศนะส่วนตัว :  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็คล้ายกับการก่อสร้างเขื่อน แม้จะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจจะมีผลกระทบร้ายแรงกว่าเพื่อน แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ถึงประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้เช่นกัน หากเพียงสิ่งเหล่านี้จะต้องอยู่ถูกที่และถูกเวลา และสิ่งสำคัญคือการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม สนองตอบประชาชน มิใช่ทำเพื่อสนองนายทุน

  ว่าแต่รัฐบาลจะมีอะไรมาการันตี ?
 
http://www.oknation.net/blog/vickie/2007/09/06/entry-2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 22:18 โดย amalit1990 » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 12-12-2007, 17:34 »



ถ้าเชื่อข้อมูลชั้นสองก็ ได้แต่แปะครับ..

แต่อย่าทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด


ข้อมูลชั้นหนึ่งคือประเทศต่างๆ มีและใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันมานานแล้ว ไม่ได้มีปัญหาที่ควบคุมไม่ได้
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #18 เมื่อ: 12-12-2007, 17:41 »

สำหรับผม ถ้าอยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดีกว่า อยู่ใกล้โรงถ่านหิน ครับ
อยากจะต่อต้านเหมือนกัน แต่หาคำตอบไม่ได้ว่า ถ้าไม่เอานี่ จะใช้อะไร
แล้วถ้าไฟฟ้ามันขึ้น ไป 5-6 เท่า จะยอมจ่ายไหม? เพราะสักจะเชื่อแล้วว่า
น้ำมันจะขึ้นไปถึง 200 เหรียญแน่ๆ ภายใน 5-6 ปีนี้

ผมชอบความคิดเห็นของของอภิสิทธิ์นะครับ ที่ว่า มีคำตอบหรือเปล่า
สำหรับทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเอา จะสร้างที่ไหน ฝ่ายไม่เอา จะเอาอะไรมา
ทดแทน หรือยอมให้ขึ้นราคา

ได้ฟังเหมือนกันครับ มีอีกประเด็นที่อภิสิทธิ์พูดถึงก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากคน และสำหรับ
ประเทศไทยมีจุดที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมความปลอดภัย"

และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่มีใครอยากให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
มาตั้งอยู่ในพื้นที่ของตัวเองครับ แม้แต่กลุ่มผู้สนับสนุนให้สร้างก็ตาม
 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 12-12-2007, 17:43 »




หลักประกันสำหรับอนาคตคือการพัฒนา

และการกำหนดกรอบมาตรฐานชีวิตให้รับรู้และมีสิทธิ์เลือกได้มากเท่าที่จะทำได้

บางกรณีไม่ทีทางเลือก การไม่ตัดสินใจทำอะไร หรือตัดสินใจผิดคือหลักประกันที่เลวที่สุด
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 12-12-2007, 17:47 »

ได้ฟังเหมือนกันครับ มีอีกประเด็นที่อภิสิทธิ์พูดถึงก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากคน และสำหรับ
ประเทศไทยมีจุดที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมความปลอดภัย"

และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่มีใครอยากให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
มาตั้งอยู่ในพื้นที่ของตัวเองครับ แม้แต่กลุ่มผู้สนับสนุนให้สร้างก็ตาม
 

ตรงนี้ก็มีคนบอกรับได้ ผมก็เหมือนกันไม่ได้มีปัญหา อยู่ที่คัดเลือกคนและควบคุมได้

อย่าให้พวกมือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ หรือไม่รับรู้ความรู้ที่จำเป็นต่องานมาทำงานเท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 17:50 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #21 เมื่อ: 12-12-2007, 17:57 »

ตรงนี้ก็มีคนบอกรับได้ ผมก็เหมือนกันไม่ได้มีปัญหา อยู่ที่คัดเลือกคนและควบคุมได้

อย่าให้พวกมือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ หรือไม่รับรู้ความรู้ที่จำเป็นต่องานมาทำงานเท่านั้น


คราวก่อนแค่ศูนย์นิวเคลียร์องครักษ์ยังจัดการไม่ได้เรื่องเลยครับ
แค่เตาปฏิกรณ์ทดลองขนาดเล็กๆ เท่านั้นเองยังมีปัญหานะครับ

แล้วคุณ Q คิดยังไงกับความเห็นคุณอภิสิทธิ์กับแนวโน้มพลังงาน
อีกสิบกว่าปีข้างหน้า กว่าที่จะสามารถเปิดใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ถึงตอนนั้นอาจมีพลังงานทางเลือกอื่นที่น่าสนใจกว่าได้ไหมครับ? 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 12-12-2007, 18:05 »


คราวก่อนแค่ศูนย์นิวเคลียร์องครักษ์ยังจัดการไม่ได้เรื่องเลยครับ
แค่เตาปฏิกรณ์ทดลองขนาดเล็กๆ เท่านั้นเองยังมีปัญหานะครับ

แล้วคุณ Q คิดยังไงกับความเห็นคุณอภิสิทธิ์กับแนวโน้มพลังงาน
อีกสิบกว่าปีข้างหน้า กว่าที่จะสามารถเปิดใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ถึงตอนนั้นอาจมีพลังงานทางเลือกอื่นที่น่าสนใจกว่าได้ไหมครับ? 


ก็ต้องเดินงานไปจนถึงจุดสุดท้าย หากมีทางเลือกที่ดีกว่าตอนนั้นก็ระงับโครงการได้ครับ

ปัญหาถ้าอยุ่ในวิสัยที่ควบคุมได้ก็ไม่มีปัญหา บ่อยครั้งที่ควบคุมไม่ได้ก็เพราะต้องการสิ่งที่ตัวเองก็ทำไม่ได้

ตัวเองก็ไม่มีทางออก แต่ขอค้าน แล้วก็เรียกหาหลักประกันและการตอบสนองจากคนอื่นๆในสังคม

หนักข้อกว่านั้นปลุกระดมด้วยข้อมูลและหลักการที่บิดเบือน หลอกลวงเพื่อหวังผลอย่างที่ต้องการ

บางกรณีก็เป็นเพราะความซับซ้อนของโครงสร้างสังคม การเข้าผิดช่องทาง ฯลฯ
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #23 เมื่อ: 12-12-2007, 18:07 »

มันคล้ายกับ เรื่อง อธิปดีกรมน้ำบาดาล โดนทักษิณปลดตอนเรื่องผันน้ำในระยองตอนนั้นละครับ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #24 เมื่อ: 12-12-2007, 18:10 »

ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ  คำถามมีอยู่ว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ต้องการไปทำไมและเท่าไหร่ ????

คำตอบก็คือ พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยม และใช้เพื่อความฟุ่มเฟือย มิใช่ใช้เพื่อประโยชน์อันแท้จริงของประชาชน

ระบบทุนนิยมนั้น ต้องการปัจจัยสี่อย่างในการเจริญเติบโต หรือดำเนินชีวิตต่อไปได้

1. แรงงานราคาถูก
2. พลังงานราคาถูก
3. วัตถุดิบราคาถูก
4. เงินทุนราคาถูก

ทั้งหมดนี้เพื่อนายทุน โดยนายทุน เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประชาชน

ปัจจุบัญนี้ แรงงานราคาถูกในประเทศไทย ถูกแก้ปัญหาด้วยวิธีขายชาติ ด้วยการนำเข้าแรงงานเถื่อนจากต่างประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงและความปลอดภัย อีกทั้งไม่คำนึงถึงประชาชนไทยเองที่จะต้องตกงาน เพราะไม่ยอมรับค่าจ้างแรงงานราคาถูก นายทุนที่จ้างแรงงานต่างชาติ คือพวกหนักแผ่นดินและพวกทรยศชาติโดยแท้

วัตถุดิบราคาถูกนั้น แทบจะไม่เหลืออีกแล้ว การขาดแคลนวัตถุดิบ การแย่งชิงวัตถุดิบ ทำให้ราคาของมันสูงขึ้นในทุกชนิด

เงินทุนราคาถูก ถูกแก้ปัญหาด้วยการกดดอกเบี้ยเงินฝาก การเปิดตลาดลักทรัพย์ เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนนำเงินเข้าไปเล่นหุ้น ทั้งนี้เพื่อที่กลุ่มนายทุนจะได้มีเงินทุนราคาถูกใช้

สุดท้ายคือปัญหาที่เรามาพูดกันในกระทู้นี้ พลังงานราคาถูก

พลังงานสำหรับประชาชนโดยทั่วไปนั้น ความสามารถในการผลิตของประเทศมีอย่างเหลือเฟือ ทั้งก๊าซธรรมชาติ และพลังงานชีวภาพ แต่ที่ก๊าซธรรมชาติกำลังร่อยหรอ และพลังงานไม่พอใช้นั้น เกิดจากภาคนายทุน ที่ต้องการผลาญพลังงานเพื่อผลกำไร และเมื่อก๊าซและน้ำมันมีราคาสูง ไม่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าราคาถูกสนองความโลภได้ นายทุนก็นำเสนอโดยแหกตาประชาชนว่าพลังงานกำลังจะขาดแคลน และจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพื่อประชาชน แต่เพื่อนายทุน

ห้างสรรพสินค้าหนึ่งห้าง ใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่คนชนบทใช้ทั้งตำบล โรงงานอุตสาหกรรมหนึ่งโรง ใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ชาวบ้านใช้หลายตำบล

แต่ชาวบ้าน ต้องเสี่ยงกับมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ เพื่อให้นายทุนยังคงกอบโกยผลกำไรได้

อย่าถามว่า เราจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้

ถามตัวเองว่า เราจะทนให้นายทุนตะกลาม แย่งไฟฟ้าเราไปใช้อีกนานแค่ไหน ????????
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 12-12-2007, 18:16 »


เรื่องประหยัดพลังงานทุกชนิด ผมว่าน่าจะพยายามทำให้เป็นนิสัยประจำชาติ

ประหยัดคือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช่น้อยจนไม่พอใช้

นิสัยฟุ่มเฟือย เอาแต่ความสะดวกของตนเองอย่างเดียวก็ต้องเลิกเสีย

การประดิษฐ์คิดค้น เครื่องไฟ้ฟ้าทดแทนที่ใช้ไฟฟ้าน้อยลง ก็ต้องทำต่อไป

การบริโภคนิยมก็ต้องมีปรรทัดฐานที่สมดุลมากขึ้น

โครงสร้างที่อยู่อาศัย เมือง ผังเมือง ต้องวางกันให้ดียิ่งขึ้น

ผมยังเห็นด้วยกับแนวคิดเมืองใหม่ ที่คนในบริเวณโครงการ ต้องปรับตัวเพื่อนาคตของประเทศ

ไม่ก็ต้องอพยพกันได้บ้าง..จะมาทำเป็นหน้ามึนรากงอกกันอย่างเดียว คงทำอะไรไม่ได้เลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 18:20 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 12-12-2007, 18:24 »




จุดอ่อนของพวกต่อต้านที่รับฟังไม่ขึ้นคือ

ไม่เข้าใจ ไม่รู้ปริมาณที่แท้จริงของเรื่องต่างๆ

อ้างเหตุผลคลุมเครือ ไปเรื่อยๆ

เดี๋ยวสึนามิก็พัดไป เท่านั้นเอง

ศาสตร์หลายอย่างแม่นยำมากกว่าที่เอามาอ้างกันมาก


ผมแนะนำให้รณรงค์คุมกำเนิด ง่ายที่สุดแล้ว... 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 12-12-2007, 18:31 »





ยืนยันว่าปริมาณการใช้ไฟต่อหัวทั้งทางตรงทางอ้อมของไทยเราต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน

เตรียมหาพลังงานกันให้พอเพียงได้เลย มิฉะนั้นก็ต้องจ่ายแพง ทำให้เงินที่จะเหลือไปใช้ด้านอื่นต่อหัวน้อยลง

ซึ่งลักษระสังคมแบบนี้ จะเป็นรัฐบาลเตี้ยอุ้มค่อม หากแก้ไขไม่ทันจริงๆ ให้คุมกำเนิดกันไปก่อน..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 12-12-2007, 18:37 »



ส่วนพวกต่อต้าน ผมแค่ขอถามว่าคัวเอง เดือนหนึงใช้ทรัพยากรของชาติตีค่าเป็นเงินเท่าไร?

รับสวัสดิการอะไรจากรัฐบ้าง..ใช้เงินเดือนละเท่าไร?

ถ้าตอบไม่ได้ ก็หัดอายบ้างก็ดี ก่อนจะไปเรียกให้ใครประหยัดอะไร?
บันทึกการเข้า

เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #29 เมื่อ: 12-12-2007, 18:40 »

โรงงานไฟฟ้านิวเคลีย

เป็นปัฐหาที่เรื้อรัง และน่ากลัว

ผมไม่เห็นด้วยที่จะเปิดในเมืองไทย

ขนาดเยอรมันเองที่ประเทศมาตรฐานสูงยังมีปัญหา

ถ้าเมืองไทยมิตายเหรอ


 จริงๆแล้วผมนะกลัวที่สุดว่า  เป็นอย่างที่คุณ amalit1990

พูดไว้เป็นที่สุด   กลัวว่าสร้างแล้วจะเป็นวัดครึ่งกรรมการครึ่งครับ
 


บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 12-12-2007, 18:54 »




 จริงๆแล้วผมนะกลัวที่สุดว่า  เป็นอย่างที่คุณ amalit1990

พูดไว้เป็นที่สุด   กลัวว่าสร้างแล้วจะเป็นวัดครึ่งกรรมการครึ่งครับ
 






ตัวเลวๆถ้ากฎหมายเอื้อ ยิงทิ้งแป๊บเดียวก็หมดแล้ว..เมืองนี้มีแต่พวกปากว่าตาขยิบ

เก่งแต่จีบปากจีบปากจีบคอ เวลาให้ไปจับผูร้ายก็จะสวดมนต์ผิดบท ถ้าอย่างนั้นก็สวดเงียบๆ คงไม่เดือดร้อนใคร
บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #31 เมื่อ: 12-12-2007, 19:36 »

คงค้องถึงขั้นแบ่งโซนดับไฟ และค่าไฟแพงกว่านี้สัก 10-100 เท่าก่อนกระมัง
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 12-12-2007, 20:02 »




ใครคิดว่ามีพลังงานทางเลือกอื่นๆ

หรือมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น

ก็รณรงค์กันได้เต็มที่ รัฐคงไม่ได้ปิดกั้น และน่าจะส่งเสริมด้วย..


อย่างไรก็ตาม ขอให้ดูแลโรงเรียนและสถานพยาบาลก่อนอื่น

นอกนั้นก็คงมีเรื่องการสือสาร ข่าวสารที่จำเป็นต่างๆ อันนี้ต้องคงเอาไว้

พวกโฆษณาต่างๆควรจัดระเบียบ  เรื่องลอจิสต์ติกต่างๆคงช่วยได้บ้าง

พวกเขตอุตสหากรรมควรมีแหล่งพลังงานสำรองในนิคมของตนเอง..






บันทึกการเข้า

ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #33 เมื่อ: 12-12-2007, 20:25 »

ท่านท้าวเคยบอกเอาไว้ว่า

แหล่งพลังงานของคนกรุงเทพที่ดีที่สุดและสะสมได้ทุกวันคือของที่ท่านๆได้ระบายมันออกมา

เอาง่ายๆว่า ทุกๆวัน คนกรุงน่าจะถ่ายได้โดยเฉลี่ย สองขีด ต่อคน ต่อวัน

คนกรุงมีประมาณหกล้านคน ไม่รวมประชากรแฝง ก็น่าจะได้เชื้อเพลิงประมาณ สิบสองล้านขีดต่อวัน (ถ้ามีปัญญาไปดูดมาหมด)

คิดเป็นมาตราเมตริกก็ประมาณ 1.2 ล้านเมตริกตันต่อวัน กากล้วนๆ ไม่รวมน้ำเสีย

ปริมาณมูลขนาดนี้ถ้าลงบ่อหมัก(บ่อหมักปฏิกูล มิใช่ บ่อเก็บศพสมัคร) ก็สามารถที่จะผลิตมีเธนได้จำนวนมหาศาล

มีเธนเหล่านี้จะใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า แต่เพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมไม่ให้เกิดมลภาวะ

จึงควรใช้มีเธนเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงในระบบ Fuel Cell ที่ไม่เกิดการเผาไหม้ใดๆ

มีของเสียเพียง ไอน้ำร้อนอุณหภูมิสูง ที่จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการปั่นไฟในเครื่องแกสเทอร์ไบน์อีกรอบ

และ แกสบางประเภทที่มีมลพิษน้อยกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิง

ส่วนกากจากบ่อหมัก ก็สามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้อย่างดี

ปริมาณกระแสไฟฟ้าอาจจะไม่ได้มากมายเท่ากับไฟฟ้าจากเขื่อนหรือจากนิวเคลียร์ แต่เป็นกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากของเสียที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกวัน

ดังนั้น กินเยอะๆ ถ่ายเยอะๆ เชื้อเพลิงทั้งนั้นครับ
บันทึกการเข้า
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #34 เมื่อ: 12-12-2007, 20:38 »

ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ  คำถามมีอยู่ว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ต้องการไปทำไมและเท่าไหร่ ????

คำตอบก็คือ พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยม และใช้เพื่อความฟุ่มเฟือย มิใช่ใช้เพื่อประโยชน์อันแท้จริงของประชาชน

ระบบทุนนิยมนั้น ต้องการปัจจัยสี่อย่างในการเจริญเติบโต หรือดำเนินชีวิตต่อไปได้

1. แรงงานราคาถูก
2. พลังงานราคาถูก
3. วัตถุดิบราคาถูก
4. เงินทุนราคาถูก

ทั้งหมดนี้เพื่อนายทุน โดยนายทุน เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประชาชน

ปัจจุบัญนี้ แรงงานราคาถูกในประเทศไทย ถูกแก้ปัญหาด้วยวิธีขายชาติ ด้วยการนำเข้าแรงงานเถื่อนจากต่างประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงและความปลอดภัย อีกทั้งไม่คำนึงถึงประชาชนไทยเองที่จะต้องตกงาน เพราะไม่ยอมรับค่าจ้างแรงงานราคาถูก นายทุนที่จ้างแรงงานต่างชาติ คือพวกหนักแผ่นดินและพวกทรยศชาติโดยแท้

วัตถุดิบราคาถูกนั้น แทบจะไม่เหลืออีกแล้ว การขาดแคลนวัตถุดิบ การแย่งชิงวัตถุดิบ ทำให้ราคาของมันสูงขึ้นในทุกชนิด

เงินทุนราคาถูก ถูกแก้ปัญหาด้วยการกดดอกเบี้ยเงินฝาก การเปิดตลาดลักทรัพย์ เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนนำเงินเข้าไปเล่นหุ้น ทั้งนี้เพื่อที่กลุ่มนายทุนจะได้มีเงินทุนราคาถูกใช้

สุดท้ายคือปัญหาที่เรามาพูดกันในกระทู้นี้ พลังงานราคาถูก

พลังงานสำหรับประชาชนโดยทั่วไปนั้น ความสามารถในการผลิตของประเทศมีอย่างเหลือเฟือ ทั้งก๊าซธรรมชาติ และพลังงานชีวภาพ แต่ที่ก๊าซธรรมชาติกำลังร่อยหรอ และพลังงานไม่พอใช้นั้น เกิดจากภาคนายทุน ที่ต้องการผลาญพลังงานเพื่อผลกำไร และเมื่อก๊าซและน้ำมันมีราคาสูง ไม่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าราคาถูกสนองความโลภได้ นายทุนก็นำเสนอโดยแหกตาประชาชนว่าพลังงานกำลังจะขาดแคลน และจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพื่อประชาชน แต่เพื่อนายทุน

ห้างสรรพสินค้าหนึ่งห้าง ใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่คนชนบทใช้ทั้งตำบล โรงงานอุตสาหกรรมหนึ่งโรง ใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ชาวบ้านใช้หลายตำบล

แต่ชาวบ้าน ต้องเสี่ยงกับมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ เพื่อให้นายทุนยังคงกอบโกยผลกำไรได้

อย่าถามว่า เราจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้

ถามตัวเองว่า เราจะทนให้นายทุนตะกลาม แย่งไฟฟ้าเราไปใช้อีกนานแค่ไหน ????????

ขอตัวเลขหน่อยสิครับ ที่ว่าคนใช้น้อยกว่าภาคธุรกิจ แล้วคนที่ใช้ในภาคธุรกิจ
นั่นไม่ใช่ประชาชนหรือครับ ถ้าหากภาคธุรกิจจะประหยัด ไม่เปิดแอร์ แล้วประชาชน
จะเข้าไปซื้อ แถมได้ราคาถูกลง เพราะไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า จะมีคนไปห้างไหมครับ?
จะมีคนดูโรงหนังที่ไม่เปิดแอร์ไหมครับ

ไม่ใช่ธุรกิจหรอกครับ ที่ชอบของถูก ชาวบ้านก็ชอบครับ เชื่อไหมว่า ห้างขายราคา
ถูกกว่าโชห่วย แค่ 4-5 บาท คนก็นั่งรถไปซื้อแล้ว พอบวกค่ารถ ก็แพงกว่าโชห่วย
บางที แม่ค้าขาย ต่อแล้วต่ออีก แค่บาทสองบาท ด่ากันเป็นวรรคเป็นเวรแล้วล่ะ

ไม่ชอบแนวคิดที่ว่า ถ้าเป็นชาวบ้านจะดีเป็นเทวดา ถ้าเป็นนักลงทุนแล้วมันจะเป็น
พวกปีศาจ




ถ้าคิดว่าโรงไฟฟ้ามันไม่ดี มีวิธีครับ อย่าใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่จำเป็น อย่างเปิดแอร์
อย่าเปิดพัดลม ใช้พัดมือแทน อย่าเล่นคอม อย่าดูทีวี อย่าไปเดินห้าง อย่าดูหนัง
อย่าทำกิจกรรมอะไรที่ใช้ไฟฟ้า อย่าซื้อสินค้ามากเกินความจำเป็น เพราะนั่นเท่า
กับเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เติบโต แล้วกินพลังงานของประเทศไป มีอะไร
ทำเองครับ สบู่ก็ทำเอง ผงซักฟอกทำเอง อาหารปลูกเอง ไม่อย่างนั้น ทุกอย่าง
ที่เราซื้อ มันจะกลายเป็นกำไร ให้พวกธุรกิจมันเอาไปทำลายประเทศครับ

เลิกเล่นคอมเล่นเน็ต เลิกใช้มือถือ เลิก.............. ทุกอย่าง เมื่อนั้น ไม่ต้องมา
บ่นเรื่องโรงงานนิวเคลียร์อีกเลย เพราะเขาไม่รู้จะสร้างเอาไฟฟ้าไปขายให้ใคร
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #35 เมื่อ: 12-12-2007, 20:49 »

ขอตัวเลขหน่อยสิครับ ที่ว่าคนใช้น้อยกว่าภาคธุรกิจ แล้วคนที่ใช้ในภาคธุรกิจ
นั่นไม่ใช่ประชาชนหรือครับ ถ้าหากภาคธุรกิจจะประหยัด ไม่เปิดแอร์ แล้วประชาชน
จะเข้าไปซื้อ แถมได้ราคาถูกลง เพราะไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า จะมีคนไปห้างไหมครับ?
จะมีคนดูโรงหนังที่ไม่เปิดแอร์ไหมครับ

ไม่ใช่ธุรกิจหรอกครับ ที่ชอบของถูก ชาวบ้านก็ชอบครับ เชื่อไหมว่า ห้างขายราคา
ถูกกว่าโชห่วย แค่ 4-5 บาท คนก็นั่งรถไปซื้อแล้ว พอบวกค่ารถ ก็แพงกว่าโชห่วย
บางที แม่ค้าขาย ต่อแล้วต่ออีก แค่บาทสองบาท ด่ากันเป็นวรรคเป็นเวรแล้วล่ะ

ไม่ชอบแนวคิดที่ว่า ถ้าเป็นชาวบ้านจะดีเป็นเทวดา ถ้าเป็นนักลงทุนแล้วมันจะเป็น
พวกปีศาจ




ถ้าคิดว่าโรงไฟฟ้ามันไม่ดี มีวิธีครับ อย่าใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่จำเป็น อย่างเปิดแอร์
อย่าเปิดพัดลม ใช้พัดมือแทน อย่าเล่นคอม อย่าดูทีวี อย่าไปเดินห้าง อย่าดูหนัง
อย่าทำกิจกรรมอะไรที่ใช้ไฟฟ้า อย่าซื้อสินค้ามากเกินความจำเป็น เพราะนั่นเท่า
กับเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เติบโต แล้วกินพลังงานของประเทศไป มีอะไร
ทำเองครับ สบู่ก็ทำเอง ผงซักฟอกทำเอง อาหารปลูกเอง ไม่อย่างนั้น ทุกอย่าง
ที่เราซื้อ มันจะกลายเป็นกำไร ให้พวกธุรกิจมันเอาไปทำลายประเทศครับ

เลิกเล่นคอมเล่นเน็ต เลิกใช้มือถือ เลิก.............. ทุกอย่าง เมื่อนั้น ไม่ต้องมา
บ่นเรื่องโรงงานนิวเคลียร์อีกเลย เพราะเขาไม่รู้จะสร้างเอาไฟฟ้าไปขายให้ใคร

เอาเป็นว่า คุณคงมีตัวเลขกลับกับที่นำเสนอไป ก็ไม่ว่ากันค่ะ 

อย่างน้อยคุณก็ได้อ่านที่เขียนไปแล้ว 

บันทึกไว้นะคะ หากมันเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ จะได้เอาไว้ด่าให้ถนัดๆ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว 

แต่ถ้าวันหนึ่งคุณเข้าใจ ข้อความบนบรรทัด และ ระหว่างบรรทัด ที่เขียนไว้ จะได้เอาไว้ทบทวนว่า วันนั้น เราเข้าใจผิดตรงไหน 

แนะนำให้ไปหาหนังสือชื่อ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ , คลื่นลูกที่สาม เอาสักสองเล่มนี้มาอ่านก่อนนะคะ สนุกดีค่ะ 

บันทึกการเข้า
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #36 เมื่อ: 12-12-2007, 21:03 »

ถ้าเรายังไม่ลดการใช้ไฟฟ้า ลดภาคอุตสาหกรรมลงยังไงก็ต้องเจอซักอย่างนึงล่ะครับ...

คุณไม่เอานิวเคลียร์...อันตราย กลัวไทยทำชุ่ย

คุณไม่เอาถ่านหิน...โหย มลพิษ โลกร้อน

คุณไม่เอาเขื่อน...กินที่เยอะ ตัดต้นไม้เยอะ

แล้วคุณยอมที่จะไม่ใช้ไฟฟ้าไหม?

หากประเทศยังต้องการไฟฟ้าแล้ว หน้าที่ของ กฟผ.ก็คือการทำยังไงก็ตามที่สมควรเพื่อหาไฟฟ้ามาให้ใช้เพียงพอในประเทศ...

ถ้าเราปิดประเทศตอนนี้ ไฟฟ้าไม่พอใช้แน่นอน คุณรู้หรือไม่...เราซื้อไฟเขาใช้อยู่ทุกวันเพราะเราสร้างโรงไฟฟ้าจากอะไรก็ไม่ได้เลย...

ยอมมั้ยครับ ที่หน้าร้อนจะไม่เปิดแอร์ ที่จะไม่ดูทีวี ไม่เล่นเน็ต ใช้ไฟฟ้าเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเดียว...

ถ้ายอมกันก็โอเคครับ...ไม่สร้างก็ไม่สร้าง

แต่ถ้าต้องใช้ล่ะก็ คุณต้องยอมกันซักทางไม่งั้นไม่รอดครับ...
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 12-12-2007, 21:13 »



อ่านดูก็รู้ว่า พวกต่อต้าน ไม่มีกึ๋นครับ

อ่านหนังสือเล่มสองเล่มก็คิดว่าเข้าใจ

หากเข้าใจจริงๆ ต้องเสนอข้อเท็จจริงและทางออกได้..


การบ่นไม่ได้ช่วยอะไรได้  รังแต่ทำลายบรรยากาศของคนที่พยายามแก้ปัญหา

เหมือนพวกเชื่อว่าโลกแบนสมัยโบราณอย่างไงอย่างงั้น

หิวก็ร้อง อิ่มก็ร้อง...


เรื่องข้อเสนอเรื่อง อุจจาระ หน่วยต้องเป็น หนึ่งจุดสองล้านกิโลกรัมต่อวันครับ..

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 21:16 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #38 เมื่อ: 12-12-2007, 21:15 »

ถ้าเรายังไม่ลดการใช้ไฟฟ้า ลดภาคอุตสาหกรรมลงยังไงก็ต้องเจอซักอย่างนึงล่ะครับ...

คุณไม่เอานิวเคลียร์...อันตราย กลัวไทยทำชุ่ย

คุณไม่เอาถ่านหิน...โหย มลพิษ โลกร้อน

คุณไม่เอาเขื่อน...กินที่เยอะ ตัดต้นไม้เยอะ

แล้วคุณยอมที่จะไม่ใช้ไฟฟ้าไหม?

หากประเทศยังต้องการไฟฟ้าแล้ว หน้าที่ของ กฟผ.ก็คือการทำยังไงก็ตามที่สมควรเพื่อหาไฟฟ้ามาให้ใช้เพียงพอในประเทศ...

ถ้าเราปิดประเทศตอนนี้ ไฟฟ้าไม่พอใช้แน่นอน คุณรู้หรือไม่...เราซื้อไฟเขาใช้อยู่ทุกวันเพราะเราสร้างโรงไฟฟ้าจากอะไรก็ไม่ได้เลย...

ยอมมั้ยครับ ที่หน้าร้อนจะไม่เปิดแอร์ ที่จะไม่ดูทีวี ไม่เล่นเน็ต ใช้ไฟฟ้าเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเดียว...

ถ้ายอมกันก็โอเคครับ...ไม่สร้างก็ไม่สร้าง

แต่ถ้าต้องใช้ล่ะก็ คุณต้องยอมกันซักทางไม่งั้นไม่รอดครับ...

อ่านแล้วทราบว่า คุณไม่เข้าใจอะไรเลย

ไม่เป็นไรค่ะ ยินดีที่มาแจมในกระทู้ 
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 12-12-2007, 21:18 »




เอ้าใครเข้าใจกระทู้บ้าง เชิญสาธยายครับ..  
บันทึกการเข้า

GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #40 เมื่อ: 12-12-2007, 21:21 »

ส่วนตัวผมอยากให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินครับ...

ผมได้ไปฝึกงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะมา ผมว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ก่อมลภาวะมากเวอร์อย่างที่คิดกันซะอีกครับ...

อากาศข้างๆโรงไฟฟ้ายังดีกว่ากรุงเทพฯมากมาย...

ที่ออกมาบ่นๆกันผมว่าไม่ได้ตังค์ อยากได้ตังค์มากกว่า....

เพราะตอนเริ่มสร้างก็เป็นที่เปล่าๆ ก็หนีออกมาจากเมือง แล้วยังตามมาอยู่กันใกล้ๆเอง...

วิศวกรสิ่งแวดล้อมงานหนักมาก ตรวจอากาศ ควัน เสียง แรงสั่นสะเทือน ทุกอย่างอยู่ในระดับมาตรฐานโลกทั้งนั้น...

จริงๆโรงไฟฟ้าของเอกชนก็ขึ้นกันโครมคราม แต่ไม่มีใครเคลื่อนไหวเลยใช่มั้ยครับ...

"มีเงิน ไม่มีมลพิษ มีเงิน ไม่มีซัลเฟอร์ มีเงินไม่มีเรื่อง" นี่คือคำที่ผมได้ยิมมากับหูตัวเองจากปากของ "ผู้ประสบเคราะห์กรรมจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน"

แต่เรื่องโลกร้อนไม่เถียง จริง...

สร้างอีกซักโรงก็ได้ มันไม่ได้เสียหายมากหรอก...

ไม่ต้องบอกให้มาสร้างข้างบ้านผมนะ บ้านผมอยู่ข้างนี่โรงนึงแล้ว...
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #41 เมื่อ: 12-12-2007, 21:28 »

ผมรู้ว่าคุณหมายถึงการที่รัฐบาลยอมให้ห้างเปิดโครมๆ โรงงานเปิดโครมๆ ใช่มั้ยครับ...

ก็"คุณยอมมั้ยล่ะ"...

ไม่งั้นก็ต้องหาไฟใช้...นี่เรื่องจริง
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #42 เมื่อ: 12-12-2007, 21:36 »

เอาเป็นว่า คุณคงมีตัวเลขกลับกับที่นำเสนอไป ก็ไม่ว่ากันค่ะ 

อย่างน้อยคุณก็ได้อ่านที่เขียนไปแล้ว 

บันทึกไว้นะคะ หากมันเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ จะได้เอาไว้ด่าให้ถนัดๆ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว 

แต่ถ้าวันหนึ่งคุณเข้าใจ ข้อความบนบรรทัด และ ระหว่างบรรทัด ที่เขียนไว้ จะได้เอาไว้ทบทวนว่า วันนั้น เราเข้าใจผิดตรงไหน 

แนะนำให้ไปหาหนังสือชื่อ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ , คลื่นลูกที่สาม เอาสักสองเล่มนี้มาอ่านก่อนนะคะ สนุกดีค่ะ 

จุดเปลี่ยนมันมี 3 เล่มไม่ใช่หรือ หนังสือแนวนี้ผมอ่านหมดละครับ
ไม่ต้องแนะนำก็ได้ เวลาอ่านก็เชื่อเหลือเกิน แต่พอมาเจอพวกที่
เขาพูดถึงชีวิตจริงกัน อย่างเช่น นอนไม่เปิดแอร์ได้ไหม? ไม่ใช้
ไฟฟ้าในสิ่งที่ฟุ่มเฟือยได้ไหม? มีคำตอบให้เขาไหม?

เรื่องตัวเลข ผมรู้ล่ะน่า ว่าคุณไม่มี แต่สำหรับผม มองอะไร ต้องมอง
ทั้งองค์ประกอบ อย่างที่คุณว่า ห้าง 1 ห้าง ใช้ไฟมากว่าทั้งตำบล
ผมก็สงสัยว่า คุณให้ข้อมูลแบบ ความจริงครึ่งเดียว เพราะว่าห้าง
เปิดแอร์ให้แต่พนักงานหรือเปล่าครับ คุณก็รู้ว่ามันไม่ใช่ แต่เปิด
ให้กับประชาชนคนที่เข้าไปเดินซื้อของในห้างนั่นแหละ อย่างนั้น
คนที่ใช้ไฟฟ้าในห้างไม่ใช่ประชาชนหรือครับ

หรือคุณซื้อ มาม่า สักซอง ในนั้นไม่มีไฟฟ้าที่โรงงานทำหรือครับ
ไฟฟ้าทั้งโรงงานนี้เขาเอาไว้ให้ ลูกจ้างแรงงานในโรงงานอย่าง
เดียวหรือ หากคุณเลือกแต่ข้อมูลที่ถูกใจ เอามาเพื่อตัดสินใจ
ส่วนข้อมูลใดที่มันทิ่มแทงใจ ก็ตัดมันทิ้งเสีย คนที่จะเสียใจ
ก็ตัวคุณนั่นแหละ

อ้ายพวกที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ทุกวันนี้ ก็มีมืออีกข้างหนึ่งของคุณ
ที่คอยช่วยเหลือพวกเขาอยู่เสมอ คุณเตรียมตัวที่จะไปอยู่ได้โดย
ไม่เบียดเบียนธรรมชาติหรือยัง ถ้าทำไม่ได้ อย่าเรียกร้องให้คน
อื่นเขาทำเลย เพราะคนอื่นๆ เขาก็เหมือนคุณนั่นแหละ ที่พยายาม
จะให้คนอื่นเขารักษาลิ่งแวดล้อม แต่ตัวเองก็ไม่ทำ

อ้อ....... หนังสือจะผลิตได้สักเล่ม คุณรู้ไหมว่า ต้องตั้งต้นไม้กี่ต้น
ต้องใช้สารเคมีในการฟอกสีเท่าไหร่ แล้วหมึกพิมพ์นี่ มันเต็มไปด้วย
สารตะกั่วเท่าไหร่ ดังนั้น ควรจะรณรงค์ ไม่ให้คนไทยอ่านหนังสือ
กันนะ เรียนหนังสือก็ไม่ควรด้วย มันทำลายสิ่งแวดล้อม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-12-2007, 22:12 โดย eAT » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #43 เมื่อ: 12-12-2007, 21:55 »

ทำท่าจะเปิดประเด็นโต้กันรอบใหม่ .. 

เพราะส่วนตัวผมเชียร์โรงไฟฟ้าถ่านหินครับ
และก็แสดงความเห็นแบบนี้มานานแล้ว

ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ก่อมลภาวะ-
ทางอากาศมากมายอย่างที่โหมประโคมกัน
โดยเฉพาะถ้าจะสร้างโรงใหม่ๆ ที่ใช้ถ่านหิน
จากต่างประเทศ ไม่ได้ใช้ลิกไนต์
แต่ผมคัดค้านเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #44 เมื่อ: 12-12-2007, 22:04 »

การลดการเบียดเบียนธรรมชาติทำได้โดยสำนึกคุณ

ถ้าคุณคิดว่าคนอื่นไม่ได้ลด แล้วมาต่อต้าน คุณคิดผิดแล้วละ

คุณไม่ต้องรอให้คนอื่นลดเลย

ลดที่ตัวคุณเองก่อน

คนเราดูที่สำนึก
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 12-12-2007, 22:10 »

ทำท่าจะเปิดประเด็นโต้กันรอบใหม่ .. 

เพราะส่วนตัวผมเชียร์โรงไฟฟ้าถ่านหินครับ
และก็แสดงความเห็นแบบนี้มานานแล้ว

ยืนยันว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ก่อมลภาวะ-
ทางอากาศมากมายอย่างที่โหมประโคมกัน
โดยเฉพาะถ้าจะสร้างโรงใหม่ๆ ที่ใช้ถ่านหิน
จากต่างประเทศ ไม่ได้ใช้ลิกไนต์
แต่ผมคัดค้านเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ 

ความรู้เรียนทันกันหมด แต่ทรัพยากรต้องคิดให้หนัก

เรื่องถ่านหินสำรองมีมากอะไรนี่ เพราะตลาดไม่ได้ใช้ถ่านหินมากกว่าปัจจุบัน

เมื่อพลังงานขาดแคลน พลังงานที่พอทดแทนกันได้จะขาดแคลนตามไปด้วย

สำหรับนิวเคลียร์ มีเทคโนโลยีผนวกเข้าไปด้วย การขาดแคลนคงจะน้อยกว่า

จึงต้องมีส่วนผสม เข้าไปในสัดส่วนของแหล่งที่มาของพลังงาน

ถ้าจะใช้ถ่านหินระวังเรื่องต้นทุนในระยะยาว อาจจะมีปัญหาไม่ต่างจากน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 12-12-2007, 22:12 »

การลดการเบียดเบียนธรรมชาติทำได้โดยสำนึกคุณ

ถ้าคุณคิดว่าคนอื่นไม่ได้ลด แล้วมาต่อต้าน คุณคิดผิดแล้วละ

คุณไม่ต้องรอให้คนอื่นลดเลย

ลดที่ตัวคุณเองก่อน

คนเราดูที่สำนึก


ผมว่าประเด็นมันน่าจะอยุ่ที่มาตรฐานชีวิตของคนไทยมากกว่า..

ส่วนชาติไหน ทำลายธรรมชาติมาก เราก็ไม่ต้องไปสนับสนุนหรือทำแบบเขาโดยไม่จำเป็น..
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #47 เมื่อ: 12-12-2007, 22:16 »

ผมว่าประเด็นมันน่าจะอยุ่ที่มาตรฐานชีวิตของคนไทยมากกว่า..

ส่วนชาติไหน ทำลายธรรมชาติมาก เราก็ไม่ต้องไปสนับสนุนหรือทำแบบเขาโดยไม่จำเป็น..

ผมคงต้องขอดูข้อมูลก่อนว่า กากที่เหลือของแต่ละปีมันมีจำนวนเท่าไหร่
สามารถกำจัดได้แค่ไหน
แต่หากข้อมูลจำนวนนี้ออกมาเกินจริง
ผมว่าแน่นอน ต้องมีคนค้าน
และไม่ใช่แค่ผม หรือใครไม่กี่คน
อาจจะมากเท่าที่แม่กรอง ที่ระยอง และที่อื่นๆ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #48 เมื่อ: 12-12-2007, 22:18 »

ไหนๆ แนะนำหนังสือมา ขอแนะนำกลับคืนบ้าง
Earth Maiden Arjuna
http://en.wikipedia.org/wiki/Earth_Maiden_Arjuna


บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #49 เมื่อ: 12-12-2007, 22:19 »

ตอนนี้เกี่ยวกับถ่านหินมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจแต่อาจออกนอกเรื่องไปสักหน่อย
ก็คือประเทศจีนสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันจากถ่านหินขนาดใหญ่มากๆ ขึ้นมา

ผมประมาณคร่าวๆ ว่าโรงงานที่จีนสร้างเพียงแห่งเดียว สามารถป้อนน้ำมัน
ให้กับประเทศไทยได้ทั้งประเทศแบบเหลือๆ ครับ

ไม่แน่ว่าต่อไปประเทศจีนอาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันจากการกลั่นถ่านหิน
และที่น่าสนใจก็คือต้นทุนผลิตตอนนี้ต่ำกว่าน้ำมันจริงๆ ไปแล้วครับ

ถึงไม่เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้าโดยตรง แต่ก็เกี่ยวกับเรื่องพลังงานเหมือนกัน
ต่อไปไม่แน่ว่าที่ไหนๆ ในโลกก็อาจลงทุนกลั่นน้ำมันจากถ่านหินได้นะครับ
ไม่ใช่ว่าถ่านหินจะต้องเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงตรงๆ ในโรงไฟฟ้าอย่างเดียว 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1] 2 3
    กระโดดไป: